ผู้เขียน หัวข้อ: พบ 5 ปี ค่ารักษา รพ.เอกชนพุ่งกระฉูดกว่าเท่าตัว ขยายหลอดเลือดหัวใจจาก 2.5 แสน เป็  (อ่าน 545 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
ทีมศึกษา สนช.พบค่ารักษา รพ.เอกชนพุ่งกระฉูดกว่าเท่าตัว หลังศึกษาค่าใช้จ่าย 2 กลุ่มโรคใน รพ.เอกชน 6 แห่ง รพ.รัฐ 3 แห่ง ระหว่างปี 2552 และ 2557 ขยายหลอดเลือดหัวใจจาก 2.5 แสนบาท ขึ้นเป็น 8.1 แสนบาท ระบุเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้นจากค่าครองชีพ ขณะที่ รพ.รัฐเพิ่มขึ้นไม่มาก เหตุมีงบประมาณรัฐหนุน เผย รพ.เอกชนทั่วไปแบ่งเบาภาระ รพ.รัฐได้ แต่ต้องคุมราคาไม่แพงเวอร์
       
       นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาค่ารักษาพยาบาลใน รพ.เอกชน กรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า นอกจากการศึกษาเปรียบเทียบค่ารักษาพยาบาลระหว่าง รพ.รัฐ 3 แห่ง คือ รพ.ราชวิถี รพ.รามาธิบดี และรพ.จุฬาลงกรณ์ และ รพ.เอกชน 6 แห่ง แบ่งเป็น รพ.เอกชนระดับ 5 ดาว ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และกลุ่มเมดิคัล ฮับ 2 แห่ง รพ.เอกชนที่มูลนิธิสนับสนุน 2 แห่ง และ รพ.เอกชนทั่วไปในหัวเมืองต่างๆ 2 แห่ง ใน 5 กลุ่มโรค พบว่า รพ.เอกชนมีค่ารักษาสูงกว่าภาครัฐแล้วนั้น ยังทำการศึกษาเปรียบเทียบราคาระหว่างปี 2552 และ 2557 ด้วย โดยพบว่า รพ.เอกชนมีการขึ้นราคา แต่เป็นไปตามปัจจัยด้านค่าครองชีพที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
       
       นพ.สรณ กล่าวว่า ในการศึกษาได้เปรียบเทียบค่ารักษา 2 กลุ่มโรค คือ 1.การขยายหลอดเลือดหัวใจอุดตันฉับพลัน และ 2.การผ่าตัดไส้ติ่ง ระหว่างปี 2552 และปี 2557 พบว่า รพ.รัฐ มีราคาเพิ่มไม่มาก อาจเพราะมีงบประมาณภาครัฐสนับสนุน ขณะที่ รพ.เอกชนมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยค่ารักษาการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ พบว่า ปี 2552 รพ.เอกชนระดับ 5 ดาว อยู่ที่ 255,528 -295,997 บาท ขณะที่ปี 2557 ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 422,058 -811,806 บาท ส่วน รพ.เอกชนระดับอื่นๆ ในปี 2552 อยู่ที่ 80,440 -149,055 บาท และปรับเพิ่มขึ้นในปี 2557 เป็น 164,870 -178,743 บาท เป็นต้น ขณะที่รพ.ภาครัฐ พบว่า ปี 2552 มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 65,226 บาท และเพิ่มขึ้นในปี 2557 เป็น 89,375 บาท แต่ รพ.รัฐบางแห่งมีราคาลดลง จากปี 2552 อยู่ที่ 159,989 บาท เหลือเพียง 142,917 บาทในปี 2557
       
       นพ.สรณ กล่าวว่า ส่วนการผ่าตัดไส้ติ่ง พบว่า รพ.เอกชนระดับ 5 ดาว ในปี 2552 มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 136,266 บาทเพิ่มเป็น 180,943 - 211,765 บาท ในปี 2557 ส่วน รพ.เอกชนระดับอื่น พบว่าในปี 2552 มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 38,981-76,388 บาท และเพิ่มขึ้นในปี 2557 เป็น 57,682 - 111,931 บาท ส่วน รพ.รัฐ ในปี 2552 มีราคาที่ 16,841 -24,489 บาท และเพิ่มขึ้นในปี 2557 เป็น 22,313 - 26,964 บาท เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าค่ารักษา รพ.เอกชนแพงจริง แต่มีสาเหตุ อย่างปี 2552 และปี 2557 ต้นทุน ค่าครองชีพ เงินเดือน ทุกอย่างต่างกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายแพงขึ้นตามเศรษฐกิจ จึงเกิดภาพว่า รพ.เอกชนมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากปี 2552 มาปัจจุบันเกือบเท่าตัว แต่ในบางกลุ่มก็ไม่ชัดเจน เพราะค่าใช้จ่ายคงที่ก็มี ซึ่งตรงนี้ต้องมีการแยกให้ชัด
       
       "สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ รพ.เอกชนในระดับทั่วไป ประชาชนส่วนหนึ่งสามารถไปใช้บริการได้ ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระ รพ.ภาครัฐได้ เพราะปัจจุบันมีคนไปใช้บริการ รพ.รัฐถึง 24 ล้านคน ขณะที่คนมีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากถึง 48 ล้านคน เป็นไปไม่ได้ที่ รพ.ภาครัฐจะรองรับได้ทั้งหมด เข้าใจว่า รพ.เอกชนก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะคิดค่ารักษาพยาบาลแพงจนเกินไป จึงสมควรต้องมีการควบคุมราคาให้เหมาะสม แต่ก็ต้องคำนึงถึงต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งหากผลการศึกษาแล้วเสร็จก็น่าจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาได้บ้าง” นพ.สรณ กล่าวและว่า ส่วนนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นอีกกรณี ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐต้องพัฒนาระบบส่งต่อ เนื่องจากเมื่อเอกชนช่วยจนพ้นวิกฤต แต่หากไม่มีการส่งต่อที่ดีไป รพ.รัฐ ผู้ป่วยก็ต้องรักษาเอกชน
       

ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 พฤษภาคม 2558