ผู้เขียน หัวข้อ: ข่าวเก่าน่าจดจำ...หมอรพ.ทั่วประเทศแต่งดำค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ  (อ่าน 2384 ครั้ง)

power

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 27
    • ดูรายละเอียด


แพทย์รพ.ทั่วประเทศ แต่งชุดดำค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ที่จะนำเข้าบรรจุในวาระ1เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา3ส.ค.

นอกจากแพทย์หลายโรง พยาบาลออกมาคัดค้านแล้ว ยังเรียกร้องให้มีการถอดร่างพรบ.ฉบับนี้ออกมาก่อน เพื่อนำมาพิจารณาใหม่ เพราะจะทำให้ทั้งแพทย์ และผู้ป่วยที่มารับบริการได้รับความเสียหาย

หมอรพ.ราชบุรีค้านร่าง เหตุเกิดความเสียหายทั้งแพทย์ และคนป่วย

นพ.ยงยุทธ กิตติโชติกุล แพทย์เชี่ยวชาญด้าน หู คอเกิดความเสียหายผู้บริการและจมูก และเป็นหัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหารสุขภาพของโรงพยาบาล จ.ราชบุรี กล่าวถึง ร่างพรบ.ฉบับนี้ว่า ถ้าปล่อยให้ให้ร่าง พรบ.ฉบับนี้ออกมาจะเกิดความเสียหายทั้งกับผู้ให้บริการและผู้มารับบริการ และหากปล่อยให้ผ่านร่างพรบ.ฉบับนี้ไปโดยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะยิ่งทำให้การแก้ไขนั้นยุ่งยากมากกว่า ทางแพทย์และพยาบาลจึงได้ออกมาแต่งชุดดำเพื่อคัดค้าน ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับร่างพรบ.ฉบับนี้ แต่มีข้อความในบางตอนที่จะต้องมีการแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของผู้ให้บริการและผู้มารับบริการ

นพ.สมบัติ หัสชลีฬหา กุมารแพทย์ของโรงพยาบาลราชบุรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลนั้นก็มีมากพออยู่แล้ว และความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับหมอนั้นแย่ลง และพรบ.ฉบับนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ยิ่งจะมีมีปัญหามากกว่าเดิมอีก และตอนนี้หมอทุกคนก็ระวังตัวกันสุดๆ คนไข้ ก็จ้องแต่ว่าเมื่อไหร่หมอพลาด ก็จะมีช่องให้ฟ้องร้องและจะมีผลประโยชน์เข้ามา

"โดยสรุปแล้วจะไม่ได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ตามที่เขียนไว้ในร่างพรบ.เลย"

พญ.รจนา ภาสกรนิรินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ กล่าวว่าหากปล่อยให้ ร่างพรบ.ฉบับนี้ออกมานั้นในอนาคตคาดว่าจะต้องขาดแคลนแพทย์ เนื่องด้วยงานหนักและเงินเดือน ถ้าเทียบกับผู้ที่จบมาในระดับเดียวกันนั้นเงินเดือนน้อยกว่า แต่งานเยอะกว่ามีความรับผิดชอบมากกว่า ต่อไปก็คงจะไม่มีคนเรียนแพทย์ ซึ่งพรบ.ที่จะออกมานั้นควรมีการปรับปรุงให้ความเป็นธรรมกับวิชาชีพและ บุคคลากรทางด้านสาธารณสุขให้มากกว่านี้

นพ.เกรียงจิต มะระยงค์ แพทย์ด้านจักษุ กล่าวว่า ทุกวันนี้คนไข้จำนวนมากตรวจไม่ทัน หมอต้องใช้เวลากับคนไข้น้อยลง ซึ่งคงจะไม่มีมาตราฐานตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อตรวจเร็ว ก็จะเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้จากบางส่วน ในส่วนของ พรบ.ฉบับนี้ข้อดีก็คือ ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นคนไข้จะได้รับการชดใช้เลยโดยไม่มีการสอบสวนใดๆทั้ง สิ้น แต่ก็มีข้อเสีย ถ้าหมอระวังตัวตลอดก็จะเกิดความรู้สึกห่างเหินกับคนไข้ ซึ่งจะกลายเป็นผู้ตรวจและผู้เข้ารับบริการเมื่อเกิดความผิดพลาดและมีการฟ้อง ร้องกันเงินคนไข้ก็ได้ไปแล้ว แต่ยังมีเรื่องของคดีอาญาเข้ามาอีกทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับหมอห่าง กันออกไป

แพทย์ พยาบาล รพ.อุดรฯค้าน เสนอให้แก้ร่างบางมาตรา

นพ.ณรงค์ ธาดาเดช ตัวแทนเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ ประธานองค์กรแพทย์ และตัวแทนเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี พร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล จำนวนกว่า 100 คน ร่วมกันแต่งชุดดำ รวมตัวกันที่หน้าอาคารอำนวยการ พร้อมถือป้ายผ้าคัดค้านร่าง พ.ร.บ.กฏหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

นพ.ณรงค์ กล่าวว่า การรวมตัวของคณะแพทย์และพยาบาล พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้ใช้เวลานอกราชการที่เป็นเวลาพักเที่ยง ที่แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ไม่ได้ทำการรักษาคนไข้ เพราะทราบดีถึงความเดือดร้อน หากใช้เวลางานมารวมตัวกัน ซึ่งการรวมตัวครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการคัดค้านไม่เห็นด้วยกับพรบ.ดังกล่าว แต่เราแพทย์ พยาบาล ทั่วประเทศ ต้องการให้มีการแก้ไขในบางมาตราฯ เท่านั้น เพื่อให้การบริการของแพทย์และพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

จี้ถอนร่างออกจากสภาทบทวนเพิ่ม 3 ประเด็น

พญ.ฤทัย อ่านแถลงการณ์เจตนารมณ์ของบุคลากรทางการแพทย์ว่า ขอคัดค้านและแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวและเห็นควรให้ถอนร่างกฏหมายฉบับนี้ออกจากสภาและให้มีการทบทวน เพิ่มเติม จำนวน 3 ประเด็น ประกอบด้วยมาตรา 7 มาตรา6(1)(2)(3) มาตรา 21 และมาตรา 34   เนื้อหาของแถลงการณ์ส่วนหนึ่งต้องการให้มีการตั้งคณะกรรมการดูแลกองทุนและ คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พร้อมพิจารณาเนื้อหาการกระทำ เพื่อประกอบการจ่ายเงินชดเชย

เนื้อหาแถลงการณ์ยังได้กล่าวถึง การคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข หมวด 4 มาตรา 34 สถานพยาบาลต้องรับภาระจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่วนหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน สถานพยาบาลของรัฐได้รับงบประมาณที่จำกัดอยู่แล้ว สถานพยาบาลหลายแห่งของรัฐมีงบประมาณขาดดุลไม่เพียงพอที่จะจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เมื่อต้องส่งเงินเข้าสมทบกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ย่อมทำให้ลดค่าใช้จ่ายโดยการตัดงบประมาณค่ายา ค่าเวชภัณฑ์รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ประชาชนที่มารับการรักษาต่อเนื่องก็จะได้รับการบริการที่ด้อยลงหรือไม่ได้ มาตรฐาน

สำหรับประเด็นสุดท้ายในแถลงการณ์ระบุถึงการคุ้มครองผู้เสียหาย หมวด 1 มาตรา 6 ว่า เป็นมาตราที่บอกว่าไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย หากต้องชดเชยความเสียหาย ผู้รับบริการต้องไปฟ้องร้องทางอาญาว่า เจ้าหน้าที่มีความผิดจริงหรือไม่เข้าข่ายตามมาตรา 6 และเมื่อบุคลากรทางสาธารณสุขได้รับคำตัดสินว่ามีความผิด

จึงจะกลับมาชดเชยความเสียหายได้ ส่งผลทำให้บุคลากรทางสาธารณสุขอาจต้องถูกพักใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือ ถูกออกจากราชการได้ ซึ่งจะส่งผลถึงความหวาดกลัวว่าจะเกิดความเสี่ยงหรือรักษาผิดมาตรฐาน ไม่กล้าให้การรักษาผู้ป่วย เช่น โรงพยาบาลชุมชน ก็จะส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลจังหวัดก็จะส่งไปที่ศูนย์หรือศูนย์ส่งต่อโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ทำให้ผู้ป่วยเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและต้องรอคิวรับบริการนานขึ้น ในประเด็นสุดท้ายนี้ที่ทางคณะแพทย์และพยาบาลมีความเป็นห่วงและต้องการให้มี การแก้ไขมากที่สุด

แพทย์รพ.ยะลาต้าน เหตุร่างบิดเบือนบุคลากรแพทย์

นพ.ประชา ชยาภัม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ยะลา พร้อมด้วยคณะแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจำนวนกว่า 30 คน ได้รวมตัวกันถือป้ายผ้า และป้ายเขียนข้อความเพื่อแสดงออกถึงการคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ที่ผ่านมติของคณะรัฐมนตรีแล้ว เนื่องจากว่า พรบ.ดังกล่าวเป็นการเบียดเบียนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์

นพ.ประชา ชยาภัม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าวว่า ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ยะลาทุกคน ขอแสดงความคัดค้านพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยจริงๆแล้วชื่อนี้เป็นชื่อที่สวยหรู แต่จะขอเปลี่ยนเป็น"พรบ.เบียดเบียน บุคลากรทางการแพทย์" มากกว่า

ทั้งนี้ คำพูดที่สวยหรูที่หลุดออกมาจากผู้ที่ร่าง พรบ.ฉบับนี้ ที่ชี้ให้เห็นว่าประชาชน หรือ ผู้ป่วย จะได้รับการเยียวยา แต่ข้อเท็จจริง แพทย์ และพยาบาลทุกคนก็อยู่ข้างประชาชน อยู่ข้างผู้ป่วยอยู่แล้ว ผู้ที่ร่างพรบ.ฉบับนี้ แอบอ้างความเป็นพวกเดียวกับผู้ป่วยส่วนใหญ่ และประชาชนทั่วไป

โดยทราบว่า เคยไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากกรณีความพิการของบุตรตัวเองถึง 50 ล้าน ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่ร่าง พรบ.นี้ทำเพื่อแก้แค้นในเรื่องส่วนตัวมากกว่า ใช้จุดยืนที่มีความรุนแรง เช่นจะไปนอนขวางกลางสภาพ หากพรบ.นี้ไม่ผ่าน

"พรบ.ฉบับนี้ถ้าออกมา ก็จะทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ กับผู้ป่วย รวมทั้งแพทย์ที่เคยปฎิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต ก็จะต้องหันหลังกลับ เพราะมีกรณีตัวอย่างที่ต้องติดคุกมาแล้ว"นพ.ประชา กล่าว

นพ.ประชา กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นก็จะมีการตั้งกองทุน โดยเรียกเก็บภาษีจากประชาชนและเงินอุดหนุนจากสถานบริการ ในระยะยาว พรบ.เบียดเบียนบุคลากรทางสาธารณสุข ฉบับนี้ จะทำให้ แพทย์ทั้งหลายออกมาป้องกันตัวเอง ซึ่งจะมีผลเสียในระยะยาว เช่น ผลักภาระให้ผู้อื่น เช่น แพทย์ท่านหนึ่งสามารถให้บริการรักษาอาการป่วยของคนไข้ได้
แต่เนื่องจาก มีการฟ้องร้องสูง แพทย์ท่านนั้นก็อาจจะผลักภาระไปให้โรงพยาบาลอื่นที่สูงกว่า โดยอ้างเรื่องมาตรฐาน นอกจากนั้น ก็อาจจะมีการวินิจฉัยในสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็น เพื่ออ้างให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งหมดก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูง ทรัพยากรขาดแคลน และไม่ได้รับการรักษาบริการอย่างถ้วยหน้า รวมทั้งจะมีการฟ้องร้องสูงเช่นที่ อเมริกา

รพ.พุทธชินราชพิษณุโลกค้านร่างไม่สอดคล้องเจตนารมณ์

บุคลากร แพทย์พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่ ของโรงพยาบาลร่วมกันแต่งกายด้วยชุดดำเพื่อร่วมกันคัดค้านพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ เสียจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... เพื่อความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน ที่คณะรัฐมนตรีจะนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร ในวาระที่ 1 วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งทางสมาพันธ์แพทย์ โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป ต้องการแสดงออกเพื่อแสดงเจตจำนงค์ของประชาคมสาธารณสุข ให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ได้ทราบ

เนื่องจากถึงแม้ว่าเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.จะเพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแต่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ อาจส่งผลกระทบบริการสาธารณสุขและประชาชนส่วนใหญ่ได้ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจึงต้องการแสดงเจตนารมณ์ที่สอดคล้อง กับประชาคมสาธารณสุขส่วนใหญ่ 80 %ที่ต้องการให้ถอน ร่าง พ.ร.บ.นี้ออกจากสภาถึงแม้ว่าทางรัฐมนตรีจะรับปากว่าจะถอนแล้วก็ตาม

แพทย์-พยาบาลรพ.อุตรดิตถ์ค้านร่าง ติดป้ายผ้าทั่วสถานบริการของรัฐ

นพ.ดิเรก งานวาสีนนท์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ฝ่ายการแพทย์ ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขของจังหวัดอุตรดิตถ์คัดค้านและให้ มีการถอนร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวออกจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1 เพราะเนื้อหาส่งผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุขและประชาชนผู้รับบริการในระยะ ยาว ทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานและบั่นทอนกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน รัฐบาลต้องมีการทบทวนพิจารณาแก้ไขเป็นการด่วน

นพ.ดิเรก กล่าวว่า การที่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของจังหวัดอุตรดิตถ์ออกมาคัดค้าน พรบ.ดังกล่าว ใช่ว่าไม่รักหรือห่วงใยประชาชน หากแต่ต้องการให้รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแก้ไขรายละเอียดในแต่ ละมาตราและบทเฉพาะกาลดังกล่าว ที่มีเนื้อหาขัดแย้งกับเจาตนารมณ์ของร่าง พรบ.โดยสิ้นเชิง

โรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์ โรงพยาบาลอำเภอ และสถานบริการสาธารณสุขทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดไม่เพียงจะมีการแต่งชุดดำเท่านั้น ยังมีการขึ้นป้ายที่มีข้อความคัดค้าน พรบ.ดังกล่าวอีกด้วย

แพทย์-พยาบาลรพ.สุโขทัย ค้านร่าง เหตุความสัมพันธ์แพทย์ กับผู้ป่วยสูญเสีย

คณะ แพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลสุโขทัยกว่า 100 คน ร่วมชุมนุมอย่างสงบภายในโรงพยาบาลสุโขทัย ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.สุโขทัย โดยคณะแพทย์และบุคลากรประจำโรงพยาบาลแต่งกายในชุดสีดำส่วนพยาบาลแต่งกายชุด พยาบาลสีขาวสวมทับด้วยเสื้อแจ๊คเก็ตสีดำพร้อมออกแถลงการณ์คัดค้านความพยายาม ในการออกพรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

แถลงการณ์ดังกล่าวมีใจความสำคัญว่า พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับที่ผู้เสียหายเป็นผู้ร่างผ่านมติ ครม.แล้ว แต่อยู่ระหว่างการนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฏรในอีกไม่นาน สาเหตุที่คณะแพทย์พยาบาล รพ.สุโขทัย ออกมาคัดค้าน เนื่องจากสาระสำคัญของพรบ.ฉบับนี้ คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการบริการจากสถานพยาบาลจะร้องสถานพยาบาล หรือผู้ให้บริการในกรณีที่คิดว่าตนเองได้รับผลเสียต่อร่างกายจากการรักษา พยาบาล ซึ่งนอกจากจะมีการร้องขอเงินทุนชดเชยจากสถานพยาบาลและยังอาจร้องทางอาญาเอา ผิดผู้ให้บริการได้ และคณะกรรมการที่ตัดสินถูกผิดเรื่องของการร้องนั้น มีคณะกรรมการ 21 คน ตัดสินโดยใช้เสียงข้างมากและไม่มีบุคคลในสาขาวิชาชีพเป็นคณะกรรมการ

ดังนั้นจะทำให้การตัดสินนั้น ๆ อาจไม่มีหลักอ้างอิงตามหลักวิชาการ อีกทั้งทำให้สูญเสียเงินของสถานบริการและไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ให้บริการ เป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจของผู้ให้บริการ อีกทั้งเป็นการทำให้สัมพันธภาพอันดีของผู้ให้บริการและผู้ป่วยสูญเสียไป คณะแพทย์และพยาบาลสุโขทัยจึงขอออกมาคัดค้าน พรบ.ฉบับดังกล่าว

แพทย์รพ.สงขลาประท้วงรัฐบาล วางพวงหรีดหน้าเสาธงโรงพยาบาล

นพ. เฉลิมพงษ์ สุคนธผล รองผอ.ฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลสงขลา กล่าวว่า เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนต่อการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งหากผ่านการพิจารณาของสภาฯ และมีผลบังคับใช้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่วงการแพทย์และสาธารณ สุขอย่างมหาศาล เพื่อแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ. ดังกล่าว ทางแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ จึงได้ร่วมกันแต่งชุดดำเพื่อคัดค้าน"พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับ บริการสาธารณสุข" และวางพวงหรีดที่บริเวณเสาธงหน้าโรงพยาบาลสงขลาด้วย

แพทย์รพ.พระนั่งเกล้าจ.นนทบุรี แถลง5ประเด็นไม่รับร่าง

นพ. โชดศักดิ์ เจนพานิชย์ กรรมการแพทยสภา นายแพทย์ เจมวิทย์ พิรัตน์ นายแพทย์ ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ พร้อมคณะแพทย์พยาบาลกว่า 20 คน ได้ร่วมตัวกันแต่งชุดดำ คัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...โดยนายแพทย์เจมวิทย์ ได้นำน้ำยาฟอร์มาลีนมาเทใส่ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขที่บรรจุอยู่ในโหล

จากนั้นนพ.เจิมวิทย์ พิรัตน์ อ่านแถลงการณ์ไม่รับ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขคือ 1. เครือข่ายผู้ให้บริการสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี เห็นด้วยกับแนวคิดในการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างผู้ให้-ผู้รับบริการสาธารณ สุข รัฐต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเร่งสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมให้ประชาชนทุก หมู่เหล่ารู้จักหน้าที่ของตนและเคราพสิทธิของผู้อื่น

2.หากรัฐประสงค์ใช้ช่องทางของกฎหมายในการชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผล อันไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาลสามารถกระทำได้ผ่านทางกฎหมายหลายฉบับที่ บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

3.ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขมีบท บัญญัติเกี่ยวกับการให้อำนาจคณะกรรมการในการกำหนดระเบียบการรับจ่ายเงิน เงินและทรัพย์สินของกองทุนนี้ไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มีโอกาสให้คณะบุคคลบุคคลทุจริตหรือใช้ช่องโหว่ของกฎหมายกระทำการใดๆอันก่อ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือพวกพ้องหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน

4.ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขมีบท บัญญัติเงื่อนไขการห้ามจ่ายเงิน ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลอันไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาลในหลายกรณีและไม่ ระงับการฟ้องผู้ให้บริการสาธารณสุขหลังจากผู้ที่ได้รับผลอันไม่พึงประสงค์ จากการรักษาพยาบาลรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ซึ่งขัดกับหลักการและเหตุผลของร่างกฎหมายฉบับนี้

5.เครือข่ายผู้ให้บริการสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีขอให้รัฐบาลระงับการนำ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนี้เข้าสู่การ พิจารณาของรัฐสภา

นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ กล่าวว่า วันนี้เราจะดองร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขและในวันพรุ่งนี้ 30 กรกฎาคม เวลา 09.00 น.เราจะนำร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขไปเผาที่หน้า กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเรียกร้องให้ถอนร่างดังกล่าวออกมาก่อน

แพทย์-พยาบาล รพ.ลำปางค้านร่าง เพราะเนื้อหาและสาระขัดแย้งกัน

หน้าพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตสาริเบศ พระบรมราชนกและสมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบบรมราชชนนี โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง คณะแพทย์ของโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง  ประมาณ 50 คน พากันถือป้าย แต่งชุดดำ และชุดพยาบาล พร้อมติดริบบิ้นสีดำ ที่แขน ออกมาชุมนุมเพื่อแถลงจุดยืน เพื่อค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

นพ.นิพนธ์ ปันทะรส ประธานองค์กรแพทย์จังหวัดลำปาง อ่านแถลงการณ์ผ่านเครื่องขยายเสียง เพื่อว่า คณะแพทย์ และพยาบาลของจังหวัดลำปาง ขอแสดงจุดยืน ค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข แม้เจตนารมณ์ของ พรบ.ดังกล่าว จะเป็นสิ่งดี แต่สาระและเนื้อหา ขัดแย้งกัน ซึ่งจะกลับทำลายสัมพันธ์ภาพที่ดี ระหว่างผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ที่มีมาอย่างยาวนาน ที่สำคัญยังกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุขโดยรวม ซึ่งพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข จะเป็นการซ้ำเติมภาวะขาดทุนแก่โรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งปัจจุบันเกิดภาวะขาดทุนแล้วกว่า 500 แห่ง และประชาชนผู้รับบริการจากโรงพยาบาลเอกชน ก็จะแบกรับภาระค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น โดยที่ไม่จำเป็น สำหรับคลินิก ร้านขายยาขนาดเล็ก ที่บริการประชาชน อาจจะต้องปิดตัวลง เพราะถูกบังคับให้เข้าร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ทั้ง ๆ ที่ต้องเสียภาษีให้รัฐอยู่แล้ว

แนะหาทางออกร่วมกันแก้ขัดแย้ง

พล.ต.ท. จงเจตน์   อาวเจนพงษ์  นายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ   ในฐานะนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย    กล่าวว่าจุดยืนของแพทยสมาคม ที่มีการประชุมในวันนี้(29ก.ค.) โดยทางแพทยสมาคมไม่ได้คัดค้านหรือไม่ได้ เห็นด้วยกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม เราเห็นด้วยกับทั้งสองฝ่าย  แต่แทนที่จะออกมาประท้วงกันควรที่จะหันหน้าเข้าหากันเพื่อหาแนวทางออกร่วม กัน ไม่ใช่เหมือนตอนนี้ที่ดูเหมือนมีฝ่ายหนึ่งชนะฝ่ายหนึ่งแพ้


โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  29 กรกฎาคม 2553