ผู้เขียน หัวข้อ: ทส.ค้นพบซากลิงโบราณอายุ 13 ล้านปี ที่แม่เมาะ ตั้งชื่อ"ทาร์เซียส สิรินธรเน"  (อ่าน 1542 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
นายภิมุข สิมะโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และนางพรทิพย์ ปั่นเจริญ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกันเมื่อวันที่ 9 มีนาคมแถลงข่าวพบซากดึกดำบรรพ์ชนิดใหม่ของโลก ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)


นายภิมุขกล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณีค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไพรเมตชนิดใหม่ของโลกอายุ 13 ล้านปี ที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ทาร์เซียส สิรินธรเน (Tarsius sirindhornae) ตั้งชื่อเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงสนพระทัยในงานด้านซากดึกดำบรรพ์ โดยพบกรามบนด้านซ้ายพร้อมฟันกราม 17 ซี่ และฟันกรามล่างพร้อมฟัน 1 ซี่ จากการศึกษาพบว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ทาร์ซิอิเด มีน้ำหนักตัวราว 90-180 กรัม


ทางด้านนางพรทิพย์กล่าวว่า ทาร์เซียจัดอยู่ในกลุ่มไพรเมต พวกจมูกแห้ง หรือฮาโปลรีน อยู่ในวงศ์ทาร์ซิอิเด มีเพียงสกุลเดียว ทาร์เซียมีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นไพรเมตที่มีลักษณะดึกดำบรรพ์แต่อยู่ร่วมสายพันธุ์เดียวกับไพร เมตชั้นสูงพวกลิงเอป และมนุษย์ ทาร์เซียเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นปัจจุบันเหลืออยู่จำนวนน้อยพบกระจายอยู่เฉพาะที่ เกาะบอร์เนียว สุมาตรา สุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ทาร์เซียมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากไพรเมตชนิดอื่นคือ มีขนาดเล็กมากโดยมีน้ำหนักตัวเพียง 80-150 กรัม มีเบ้าตาขนาดใหญ่มาก มีกระดูกข้อเท้าหลังที่ยาวใช้ในการกระโดดและกระโดดได้ไกล มีนิ้วมือเรียวยาวมาก และมีเล็บแบน เว้นแต่นิ้วที่ 2-3 จะมีกรงเล็บ และสามารถหมุนคอได้ 180 องศา ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ กินแมลงเป็นอาหาร และหากินในเวลากลางคืน


ขณะที่นางเยาวลักษณ์ ชัยมณี นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ สำนักคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ซากดึกดำบรรพ์ทาร์เซียเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่หายากมาก เพราะมีจำนวนน้อยและขนาดเล็กมาก เคยมีการค้นพบเพียง 2 แห่งในโลกนี้ ได้แก่ กรามล่างของทาร์เซียอายุ 45 ล้านปี พบที่ประเทศจีน และฟันราว 5 ซี่ของทาร์เซียอายุ 13 ล้านปี พบที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไพรเมตจำพวกทาร์เซียยุคไมโอซีนจำนวนมากที่เหมืองถ่าน หินแม่เมาะครั้งนี้ เป็นการค้นพบที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก แสดงว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงตั้งแต่ในอดีต 13 ล้านปีมาแล้ว บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์

มติชนออนไลน์
9 มีนาคม พ.ศ. 2554