แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - pani

หน้า: 1 ... 48 49 [50] 51
736
ข่าว รพศ./รพท. / คนไทย google อะไรบ้าง-mars magazine no.90
« เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2010, 08:14:22 »
บันทึก ประวัติศาสตร์ 'คนไทย...' ฉบับ Google > No.90
เรื่อง > เสงี่ยม เหนียมสตรี

พ.ศ.2553, วันที่ผู้คนต่างจ้องจอคอมพ์มากกว่ามองหน้ากันและกัน

          คงไม่ใช่เรื่องประหลาด หากจะคิดถามเอาความจาก Google--เว็บไซต์ที่คนไทยนิยมเข้าไปสืบค้นข้อมูลมากที่สุด ว่าคนไทยทุกวันนี้กำลังอยู่และเป็นอย่างไร โดยดูจากตัวเลขผลการค้นหาในหน้าเว็บไซต์ที่จะโชว์ขึ้นอัตโนมัติเมื่อเรา เริ่มพิมพ์คำใดคำหนึ่ง

          ไม่มากก็น้อย ตัวเลขผลการค้นหานั้นมีนัยแห่งความสงสัย และสนใจของผู้คนที่ช่วยบ่งบอกกระแส สังคมในขณะนั้นๆ ได้ เนื่องจากผลการค้นหาบอกให้รู้ว่าภายในโลกไซเบอร์มีเรื่องราวต่างๆ อยู่ตามหน้าเว็บเพจมากน้อยเพียงใด คำไหนที่มีผลการค้นหามาก น่าจะแปลได้ว่าความสนใจของผู้คนต่อเรื่องนั้นก็มากตาม

          ถ้ามองโดยสวมแว่นของคนทำ(ไร้)สารานุกรม, Google น่าจะมีสถานะไม่ต่างหรืออาจคล้ายบันทึกประวัติศาสตร์ เพราะความสนใจและสงสัยย่อมบอกความคิดของผู้คน และความคิดย่อมบอกตัวตนและความเป็นไปของยุคสมัย

          28 กุมภาพันธ์ (วันและเดือนตรงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลง เพราะจะมีพิมพ์เช็คข้อมูลต่างๆ จาก Google อีกที ก่อนฝ่ายศิลป์จะเลย์ต้นฉบับครับ), ผมลงมือพิมพ์ถามมันว่าอะไรคือสิ่งที่คนไทย... มากที่สุด ณ พ.ศ.นี้

          บนหน้าจอคอมพ์ Google ตอบว่า 'คนไทย...
 
• คอมเมนท์... คอมเมนท์ยาวๆ                                      1,760,000,000 ผลการค้นหา
• ซื้อ... ซื้อ iphone 3gs                                         511,000,000 ผลการค้นหา
• สนใจ... สนใจเปิดเซเว่น                                         476,000,000 ผลการค้นหา
• ขาย... ขาย iphone 3gs                                         466,000,000 ผลการค้นหา
• ดูด... ดูด flash จากเว็บ                                         177,000,000 ผลการค้นหา
• ต่อย... ต่อยกันโหด                                                 144,000,000 ผลการค้นหา
• แลก... แลก pin bb                                                   53,300,000 ผลการค้นหา
• แก้... แก้ window genuine(แก้จากของปลอมเป็นของแท้) 45,400,000 ผลการค้นหา
• พา... พารากอน                                                           39,600,000 ผลการค้นหา
• ลง... ลงประกาศฟรี                                                   37,800,000 ผลการค้นหา
• ตบ... ตบหน้าแอ๊บแบ๊ว                                                   26,200,000 ผลการค้นหา
• ได้กับ... ได้กับน้า                                                   25,700,000 ผลการค้นหา
• หา... หางาน                                                           25,600,000 ผลการค้นหา
• ร้อน... ร้อนเงินค่ะ                                                    20,600,000 ผลการค้นหา
• ตาม... ตามหาคน                                                    18,800,000 ผลการค้นหา
• ชอบ... ชอบง่ายแต่รักยาก                                            16,200,000 ผลการค้นหา
• หน้า... หน้า 7หลัง 7                                                    15,700,000 ผลการค้นหา
• อยาก... อยากขาว                                                    14,700,000 ผลการค้นหา
• ขอ... ขอ username และ password nods32            13,000,000 ผลการค้นหา
• เข้า... เข้า msn ไม่ได้                                                    11,300,000 ผลการค้นหา
• พูด... พูดในใจ                                                            10,800,000 ผลการค้นหา
• นัก... นักเรียนขายค่ะ                                                    10,500,000 ผลการค้นหา
• เสริม... เสริมดั้ง                                                              9,670,000 ผลการค้นหา
• เบื่อ... เบื่อ ทำไรดี                                                      9,550,000 ผลการค้นหา
• ดู... ดูดวง                                                              8,710,000 ผลการค้นหา
• แอบ... แอบดูคนใช้                                                      7,820,000 ผลการค้นหา
• ร่วม... ร่วมรัก ครั้งแรก                                                      7,600,000 ผลการค้นหา
• เชื่อ... เชื่อมั่นประเทศไทย                                              7,400,000 ผลการค้นหา
• เขียน... เขียนเว็บ                                                      7,400,000 ผลการค้นหา
• ลด... ลดต้นขา                                                              7,370,000 ผลการค้นหา
• เล่น... เล่น msn ผ่านเว็บ                                              6,750,000 ผลการค้นหา
• นอน... นอนกรน                                                              6,110,000 ผลการค้นหา
• ให้... ให้โอกาส                                                              5,610,000 ผลการค้นหา
• นวด... นวดสปา                                                              5,440,000 ผลการค้นหา
• ออก... ออกรถวันไหนดี                                                      5,060,000 ผลการค้นหา
• เสีย... เสียตัวเพราะอยากลอง                                              4,880,000 ผลการค้นหา
• วิเคราะห์... วิเคราะห์ชื่อ                                              4,830,000 ผลการค้นหา
• ใส่... ใส่เสื้อตามวัน                                                      4,700,000 ผลการค้นหา
• ร้อง... ร้องเรียน                                                              4,540,000 ผลการค้นหา
• อู้... อู้งาน                                                              4,520,000 ผลการค้นหา
• อ่าน... อ่านนิยาย                                                      4,490,000 ผลการค้นหา
• ตั้ง... ตั้งชื่อลูกตามวันเกิด                                              4,470,000 ผลการค้นหา
• เอา... เอากับคนแปลกหน้า                                              4,420,000 ผลการค้นหา
• ส่ง... ส่งเพลงให้เพื่อน                                                      4,370,000 ผลการค้นหา
• ล้ม... ล้มเจ้า                                                              4,300,000 ผลการค้นหา
• เที่ยว... เที่ยวเกาหลี                                                      4,200,000 ผลการค้นหา
• เกิด... เกิดมาเพื่อสิ่งนี้                                                      4,200,000 ผลการค้นหา
• อยากเป็น... อยากเป็นนักร้อง                                              4,170,000 ผลการค้นหา
• เพิ่ม... เพิ่มขนาด                                                              4,120,000 ผลการค้นหา
• ฉลอง... ฉลองปีใหม่ที่ไหนดี                                              4,090,000 ผลการค้นหา
• อาบ... อาบน้ำรวม                                                      4,010,000 ผลการค้นหา
• ตรวจ... ตรวจหวย                                                      3,990,000 ผลการค้นหา
• กด... กดจุด                                                              3,960,000 ผลการค้นหา
• เครียด... เครียดมาก                                                      3,860,000 ผลการค้นหา
• นิ้ว... นิ้วซ้น                                                              3,470,000 ผลการค้นหา
• ปวด... ปวดใจ                                                              3,430,000 ผลการค้นหา
• จีบ... จีบผู้ชายก่อน                                                      3,390,000 ผลการค้นหา
• เงิน... เงินด่วนนอกระบบ                                              3,000,000 ผลการค้นหา
• ติดหนี้... ติดหนี้ค่าโทรศัพท์                                              2,530,000 ผลการค้นหา
• เกลียด... เกลียดเพลงรัก                                              2,450,000 ผลการค้นหา
• คลั่ง... คลั่งชาติ                                                              2,310,000 ผลการค้นหา
• ฉีด... ฉีดผิดขาว                                                              2,260,000 ผลการค้นหา
• กินยา... กินยาคุม                                                      2,240,000 ผลการค้นหา
• ลุ้น... ลุ้นบอล                                                              2,000,000 ผลการค้นหา
• อวด... อวดบ้าน                                                              1,990,000 ผลการค้นหา
• เสพ... เสพดราม่า                                                      1,770,000 ผลการค้นหา
• เตะ... เตะบอล                                                              1,440,000 ผลการค้นหา
• ไหว้... ไหว้พระหน้าคอม                                              1,350,000 ผลการค้นหา
• เร่ง... เร่งสปีดเน็ต                                                         763,000 ผลการค้นหา
• ฟอร์เวิร์ดเมล... ฟอร์เวิร์ดเมลความรัก                                         754,000 ผลการค้นหา
• โกน... โกนขนขา                                                         702,000 ผลการค้นหา
• ปลอม... ปลอมเอกสาร                                                         667,000 ผลการค้นหา
• บูชา... บูชาชูชก                                                         641,000 ผลการค้นหา
• รักแร้... รักแร้ขาวทำไง                                                         480,000 ผลการค้นหา
• ไถ่... ไถ่ถอนบ้านจากธนาคาร                                                 146,000 ผลการค้นหา









































737
โจรจีนจับเด็ก เป็นตัวประกันในห้องแห่งหนึ่งบนอาคารสูง
เรียกร้อง 3 ข้อ มิฉะนั้นจะฆ่าเด็กเสีย

ที่ห้องติดกัน รัฐบาลจีนส่งนักเจรจาไปต่อรองเพื่อแก้สถานการณ์
หัวหน้านักเจรจาของรัฐบาลจีนเข้าเจรจา
เมื่อการเจรจาเริ่มขึ้น หัวหน้านักเจรจาได้ที ก็เอาปืนยิงโจร ตกจากอาคาร เสียชีวิต
การเจรจาเป็นที่ยุติ เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 35 เซ็นต์ (ค่าลูกปืน)

ถ้าเป็นในสหรัฐอเมริกาจะเป็นดังนี้
•ต้องปิดถนนไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง
•ใช้เวลาราว 12 ชั่วโมงในการเจรจา
•ใช้เงิน 5 ล้านเหรียญในกระบวนการยุติธรรม
•และต้องจ่ายเป็นค่าอาหารค่าดูแลสุขภาพของโจร ในคุกอีกด้วย

นี่คือ เหตุผลที่อธิบายว่า เหตุใดสินค้าจีนจึงมีราคาถูกกว่าสินค้าอย่างเดียวกันของสหรัฐอเมริกามาก!!

แล้วการเจรจาแบบไทยๆ ล่ะเป็นยังไง
(เสียค่าเยียวยา ค่าฟื้นฟู ค่าปลอบขวัญ ค่าโง่ ค่าอะไรๆอีก....)

738
เชอรีล ดิงเกส ทหารยศสิบเอกวัย 29 ปี จากเมืองเซนต์ลูอิส  เป็นครูผู้สอนศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าให้ทหาร  เธอเป็นหนึ่งในผู้หญิงเพียงไม่กี่คนที่ได้รับการรับรองจาก กองทัพว่ามีความสามารถในการต่อสู้ระดับสอง ซึ่งรวมถึงการฝึกฝนการต่อสู้แบบสองต่อหนึ่งอย่างหนักหน่วง แต่เธออาจต้องเผชิญกับการต่อสู้ที่หนักหนาสาหัสกว่าในอนาคต ดิงเกสอยู่ในครอบครัวที่มียีนของโรคนอนไม่หลับถึงตายที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (fatal familial insomnia: FFI) อาการหลักของโรคเอฟเอฟไอคือ ผู้ป่วยจะไม่สามารถนอนหลับได้ โดยมีอาการเริ่มแรกคือไม่สามารถงีบหลับ จากนั้นก็จะนอนไม่หลับตลอดทั้งคืน จนกระทั่งผู้ป่วยไม่สามารถนอนได้เลย กลุ่มอาการนี้มักเริ่มขึ้นเมื่อผู้ป่วยย่างเข้าสู่วัย 50 ปี และโดยทั่วไปแล้วจะดำเนินไปเป็นระยะเวลาราวหนึ่งปีก่อนจะเสียชีวิตลงตามชื่อโรค  ดิงเกสปฏิเสธการตรวจหายีนของโรคนี้ “ฉันกลัวว่าหากรู้ว่าฉันมียีนนี้อยู่ ฉันอาจถอดใจยอมแพ้ ไม่ต่อสู้ดิ้นรนกับอะไรอีกแล้วในชีวิต”

เอฟเอฟไอเป็นโรคที่น่าพรั่นพรึง  และการที่เรามีความรู้เพียงน้อยนิดเกี่ยวกับกลไกของโรค ยิ่งทำให้มันฟังดูน่ากลัวยิ่งขึ้น นักวิจัยคิดว่า โปรตีนรูปร่างผิดปกติชื่อว่าพรีออน (prion) โจมตีทาลามัส (thalamus) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่อยู่ลึกเข้าไปในสมองของผู้ป่วยโรคเอฟเอฟไอ และทาลามัสที่เสียหายก็รบกวนการหลับ แต่พวกเขาไม่รู้ว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่รู้ว่าจะหยุดโรคหรือบรรเทาอาการอันโหดร้ายเช่นนี้ได้อย่างไร  เอฟเอฟไอเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โดยมีรายงานเพียง 40 ครอบครัวในโลกเท่านั้น แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งมันยังเป็นปริศนาพอๆกับการนอนไม่หลับอีกหลายประเภทที่มีความรุนแรงน้อยกว่ามาก

ความเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจจากภาวะ นอนไม่หลับนั้นมีมหาศาล  สถาบันแพทยศาสตร์ของสหรัฐฯ (Institute of Medicine) ประเมินว่า อุบัติเหตุบนท้องถนนเกือบร้อยละ 20 มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ขับขี่ง่วงนอน ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับการอดนอนสะสมหรือ “หนี้การนอน” (sleep debt) สูงถึงหลายหมื่นล้านดอลลาร์ สหรัฐต่อปี  ความเสียหายในแง่ของประสิทธิภาพการผลิต นั้นยิ่งสูงกว่า นอกจากนี้ยังมีความเสียหายที่ประเมินค่ามิได้ ทั้งสัมพันธภาพที่ได้รับผลกระทบและที่หายไป  การที่ทำให้ผู้คนอ่อนล้าเกินกว่าจะทำงานได้  รวมถึงความสุขในการใช้ชีวิตที่หมดไปด้วย

เป็นที่รู้กันมานาน 50 ปีแล้วว่า การนอนหลับแบ่งออกได้เป็นสองช่วง ได้แก่ ช่วงหลับลึก (deep-wave sleep) และช่วงหลับฝันหรือเร็ม (rapid eye movement: REM)  ซึ่งสมองมีการทำงานอย่างตื่นตัวใกล้เคียงกับตอนตื่น แต่กล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจอยู่ในสภาพไม่ไหวติง  เรารู้ว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกล้วนนอนหลับ โลมาเองก็นอนหลับโดยที่สมองอีกซีกหนึ่งตื่นอยู่เพื่อรับรู้โลกใต้น้ำรอบตัว ทั้งปลา สัตว์เลื้อยคลาน และแมลงต่างมีประสบการณ์ของการนอนหลับพักผ่อนเช่นกัน

ทฤษฎีการนอนหลับอันโด่งดังเชื่อว่า สมองต้องการการพักผ่อน การวิจัยที่ฮาร์วาร์ดซึ่งนำโดยโรเบิร์ต สติกโกล์ด เมื่อเร็วๆนี้ ได้ทำการทดลองกับนักศึกษาด้วยแบบทดสอบความถนัดในรูปแบบต่างๆ และอนุญาตให้นักศึกษางีบหลับก่อนจะกลับมาทดสอบอีกครั้ง ผลวิจัยพบว่า ผู้ที่หลับจนถึงช่วงหลับฝันจะทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการจดจำรูปแบบ เช่นไวยากรณ์ได้ดีกว่า  ขณะคนที่หลับลึกจะท่องจำได้ดีกว่า นักวิจัยคนอื่นๆพบว่า ในช่วงที่หลับ สมองพยายามจะสร้างความทรงจำระยะยาวเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนั้น การวิจัยดังกล่าวเสนอว่า หน้าที่หนึ่งของการนอนหลับอาจได้แก่การเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้นเป็นความทรงจำระยะยาว

นอกจากนี้  การนอนหลับยังน่าจะมีจุดประสงค์ทางสรีรวิทยาอีกด้วย  กล่าว คือการที่ผู้ป่วยโรคเอฟเอฟไอมีอายุสั้นเป็นตัวบ่งชี้ว่า การนอนหลับมีความสำคัญต่อความอยู่รอดของร่างกาย งานวิจัยหลายชิ้นมุ่งไปที่การค้นหาสาเหตุของการเสียชีวิต ผู้ป่วยโรคนี้เสียชีวิตเพราะอดนอนหรือไม่  ถ้าหากไม่ แล้วการนอนไม่หลับทำให้เกิดสภาวะใดที่คร่าชีวิตพวกเขา นักวิจัยบางคนพบว่า การอดนอนทำให้แผลของหนูทดลองหายช้า ขณะที่บางคนกล่าวว่า การนอนช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แต่การศึกษาเหล่านี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดในปัจจุบัน

บ่ายวันหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ผมไปเยี่ยมชมศูนย์เวชศาสตร์การนอนที่สแตนฟอร์ด  ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1970 และเป็นแห่งแรกในประเทศที่ มุ่งรักษาปัญหาการนอนไม่หลับ  ศูนย์แห่งนี้รักษาผู้ ป่วยกว่า 10,000 รายต่อปี  เครื่อง มือหลักที่ใช้ในการวินิจฉัยของศูนย์คือ  เครื่องโพลีซอมโนแกรม (polysomnogram: เครื่องตรวจและบันทึกสภาพสรีรวิทยาช่วงการนอนหลับ) ที่บันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalograph: EEG) ซึ่งจะจับกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากสมองของผู้ป่วยที่กำลังหลับ เมื่อเราเริ่มหลับ สมองจะทำงานช้าลงและลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองจะเปลี่ยนจากคลื่นแหลมเล็กไปเป็น ลูกคลื่นขนาดใหญ่ขึ้น  เช่นเดียวกับทะเลที่ยิ่งห่าง ฝั่งคลื่นก็ยิ่งราบเรียบ  คลื่นสมองที่เงียบสงบนี้จะ ถูกคลื่นที่รวดเร็วและรุนแรงของการหลับช่วงเร็มแทรกเป็นระยะๆ เวลาที่เราฝันเกือบทั้งหมดจะอยู่ในช่วงเร็ม โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ

การวินิจฉัยโรคเอฟเอฟไอและภาวะง่วงเกิน (narcolepsy หรือโรคที่ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนเวลากลางวันมากผิดปกติ ชนิดหนึ่ง) จะไม่สามารถทำได้หากปราศจากการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองและเครื่องตรวจวัดอื่นๆ แต่คลีต คูชิตะ ผู้อำนวยการศูนย์ บอกผมว่า เขาสามารถระบุปัญหาการนอนหลับของผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ตั้งแต่การสัมภาษณ์เบื้องต้น นั่นเป็นเพราะมีทั้งคนที่ต้องคอยถ่างตาให้ตื่นตลอดเวลา และคนที่เล่าถึงความอ่อนล้าแต่ก็ไม่ได้เผลอหลับขณะสัมภาษณ์ กลุ่มแรกมักเป็นพวกที่หยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) หรือผู้มีอาการกล้ามเนื้อคลายตัวขณะนอนหลับ ทำให้เนื้อเยื่ออ่อนในคอและหลอดอาหารปิดลง ทางเดินอากาศหายใจของผู้นอนจึงถูกปิดกั้น เมื่อสมองรับรู้ว่าไม่ได้รับออกซิเจน ผู้ที่หลับอยู่จึงตื่นขึ้นและสูดลม หายใจเข้า  สมองก็จะได้รับการเติมออกซิเจนและหลับต่อ ได้อีกครั้ง ส่วนกลุ่มหลังมีอาการที่คูชิตะเรียกว่า “การนอนไม่หลับที่แท้จริง” หรือคนที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทางด้านการนอนหลับว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ จากสรีรวิทยาทางจิต (psychophysiological insomnia) หมาย ถึงคนที่ไม่สามารถนอนหลับได้หรือหลับๆตื่นๆโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด คนเหล่านี้เมื่อตื่นนอนจะรู้สึกว่าไม่ได้พัก และเมื่อล้มตัวลงนอนสมองก็เริ่มหมกมุ่นครุ่นคิด คนกลุ่มนี้คิดเป็นร้อยละ 25 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์การนอน

ในขณะที่การหยุดหายใจสามารถรักษาด้วย อุปกรณ์ที่อัดอากาศเข้าไปในลำคอของผู้นอนเพื่อเปิดทางเดินหายใจ แต่การรักษาการนอนไม่หลับแบบดั้งเดิมนั้นยังไม่มีวิธีการที่ชัดเจน การฝังเข็มอาจช่วยได้เพราะใช้กันมานานแล้วในเอเชีย และศูนย์การนอนหลับแห่งมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์กกำลังศึกษาวิธีนี้อยู่

โดยทั่วไปการรักษาโรคนอนไม่หลับจาก สรีรวิทยาทางจิต มีสองส่วน ส่วนแรกคือการใช้ยานอนหลับ ซึ่งส่วนใหญ่ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นการทำงานของกรดแกมมา-แอมิโนบิวทรีริกหรือ กาบา (gamma-aminobutryric acid: GABA) ซึ่งเป็น สารส่งผ่านประสาทที่ควบคุมความวิตกกังวลและการตื่นตัวโดยรวมของร่างกาย แม้ว่ายานอนหลับจะปลอดภัยกว่าสมัยก่อน แต่ก็ก่อให้เกิดการติดยาทางด้านจิตใจ (psychological addiction)ได้ ผู้ใช้ยานอนหลับหลายรายกล่าวว่า การนอนหลับโดยใช้ยาแตกต่างจากการนอนหลับตามปกติ และจะมีอาการเมาค้างเมื่อตื่นนอน

ขั้นที่สองในการรักษาผู้ที่นอนไม่หลับ ที่แท้จริงคือ การบำบัดความคิดและพฤติกรรมหรือซีบีที (cognitive behavioral therapy: CBT) ในการบำบัดแบบซีบีที นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญจะสอนให้ผู้นอนไม่หลับคิดว่า ปัญหานี้แก้ไขหรือจัดการได้ นั่นคือส่วนของการรับรู้ และร่วมกับการฝึกให้มี “สุขอนามัยการนอน” ที่ดี ซึ่งระบุว่า เราควรนอนในห้องมืด เข้านอนเฉพาะเวลาที่ง่วงนอน และอย่าออกกำลังกายก่อนนอน การศึกษาหลายชิ้นเผยว่า ซีบีทีมีประสิทธิภาพในการรักษาการนอนไม่หลับในระยะยาวมากกว่าการใช้ยา แต่ผู้ป่วยหลายรายก็ยังไม่มั่นใจ

การ ที่เรานอนไม่หลับอาจเป็นเพราะเราลืมไปว่าจะหลับอย่างไร โดยเฉลี่ยแล้วเรานอนน้อยกว่าคนในศตวรรษที่แล้วประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง การนอนไม่หลับหรือการอดนอนที่แพร่ระบาดอาจเป็นเพียงเพราะเราไม่ใส่ใจความ ต้องการของร่างกาย จังหวะการนอนตามธรรมชาติ ของวัยรุ่นระบุว่า พวกเขาควรนอนตื่นสาย แต่เด็กๆกลับต้องเข้าเรียนตอนแปดโมงเช้า คนที่ทำงานกะกลางคืนเข้านอนตอนเช้า และนั่นเป็นการต่อสู้กับจังหวะชีวิตที่มีมาแต่โบราณของร่างกาย ซึ่งสั่งการ ให้เราตื่นเพื่อล่าสัตว์หรือหาของป่าในเวลาที่ท้องฟ้าเต็มไปด้วยแสงสว่าง แต่คนเหล่านั้นก็ไม่อาจเลือกได้ เราต่อสู้กับแรงขับดันทางธรรมชาตินี้โดยเดิมพันกับสวัสดิภาพของเราเอง ชาร์ลส์ ไซส์เลอร์ จากฮาร์วาร์ด กล่าวว่า การไม่ได้นอนติดต่อกัน 24 ชั่วโมงหรือนอนเพียงคืนละ 5 ชั่วโมง ติดต่อกันหนึ่งสัปดาห์มีค่าเท่ากับการมีแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด ร้อยละ 0.1 แต่การทำธุรกิจใน ปัจจุบันยกย่องการที่พนักงานทำงานติดต่อกันโดยไม่ได้หยุดพักผ่อน

ในทศวรรษ 1980 เรคต์ชาฟเฟนทำการทดลองโดยกระตุ้นให้หนูตื่นอยู่ตลอดเวลาในห้องปฏิบัติการ เขาวางพวกมันลงบนจานที่ตั้งอยู่บนแกนหมุนเล็กๆเหนือแท็งก์น้ำ ถ้าหนูหลับ จานจะพลิกและทำให้หนูตกน้ำ พอตกน้ำ มันก็จะตื่นขึ้นทันที หลังจากสองสัปดาห์ พวกมันก็ตาย แต่เมื่อเรคต์ชาฟเฟนผ่าชันสูตรศพ เขากลับไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆชัดเจน อวัยวะของหนูไม่ได้เสียหาย และดูเหมือนว่าพวกมันจะตายเพราะเหนื่อยจนหมดแรงมากกว่า ซึ่งนั่นเป็นผลจากการไม่ได้นอน การทดลองครั้งต่อมาในปี 2002 ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยขึ้นก็ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการตายที่แน่ชัดของ หนูได้
ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดผม ได้พบกับ วิลเลียม เดเมนต์ หนึ่งในผู้ค้นพบการหลับช่วงเร็ม ผมถามถึงสิ่งที่เขาเรียนรู้จากการค้นคว้าวิจัยเรื่องเหตุผลของการนอนหลับมา ตลอด 50 ปี เดเมนต์ตอบว่า “เท่าที่รู้ในตอนนี้ เหตุผลที่แท้จริงเพียงประการเดียวที่เราต้องหลับก็คือ เพราะเราง่วงนอนครับ”

เรื่องโดย ดี. ที. แมกซ์

739
ข่าว รพศ./รพท. / ใครมี IQ 120 ขึ้นไป ยกมือขึ้น!
« เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2010, 17:21:54 »
ตามตำรา บอกว่า คนที่มี IQ 120 ขึ้นไปถึงจะตอบได้
ถ้า

2 + 3 = 10
7 + 2 = 63
6 + 5 = 66
8 + 4 = 96

แล้ว

9 + 7 = ?

มีค่า เท่าไหร่?

740
นายกรัฐมนตรีแถลง ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (3 พ.ค.เวลา 21.15 น.)
เชิญชวนประชาชนทุกกลุ่ม เข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับบ้านเมือง ด้วยการสร้างกระบวนการการปรองดองใน 5 องค์ประกอบ
..............
...............
องค์ประกอบที่ 2 หรือข้อที่ 2 ของกระบวนการของการปรองดองนั้น ผมถือว่าเป็นหัวใจของสิ่งที่มีการพูดกันในขณะนี้ ว่าจะเป็นการปฏิรูปประเทศ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรานั้น อาจจะถูกมองว่าเป็นเรื่องการเมือง แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วก็มีรากฐานมาจากความไม่เป็นธรรมที่มีอยู่ในสังคม................................................................................................

ถึงเวลาแล้ววันนี้ ที่พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจะได้รับการดูแลด้วยระบบสวัสดิการที่ดี และมีโอกาสเท่าเทียมกัน จะเรื่องการศึกษา จะเรื่องการสาธารณสุข จะเรื่องของการมีอาชีพ มีรายได้ มีความมั่นคงในชีวิตนั้น จะต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ กระบวนการปรองดองหรือการปฏิรูปประเทศที่มีการพูดกันในขณะนี้ จะมีการดึงเอาทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามาดำเนินการในการที่จะแก้ไขปัญหานี้ .........................................................................................
............................................................
.............................................
(พวกเราก็เป็นประชาชนกลุ่มหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งในสังคม
พวกเราก็ไม่รับความเป็นธรรม(บางเรื่อง)เหมือนกัน
ประชาชนทั่วไป  พวกประกันสังคม ข้าราชการ ก็มีอะไรๆที่ไม่เป็นธรรมในเรื่องสาธารณสุขเหมือนกัน
...............มาปฏิรูประบบสาธารณสุขกันเถอะ)

741
 เป็นที่ทราบกันดีว่าขณะนี้ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ผู้นำคน ใหม่แล้ว หลังจากที่ได้สูญเสียเลขาธิการคนเก่าไป สำหรับท่านที่มารับตำแหน่งหน้าที่สำคัญในครั้งนี้ ท่านเป็นคนที่ร่วมยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ มาโดยตลอด เป็นผู้ที่ช่วยกันบุกเบิกในเรื่อง 30 บาท รักษาทุกโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีและเข้าถึงการเข้ารับ บริการให้มากที่สุด
        หลายคนคงจะรู้จักนายแพทย์ท่านนี้ดีอยู่แล้ว เนื่องจากท่านเป็นผู้มีบทบาทไม่น้อยในแวดวงสาธารณสุข และกองบรรณาธิการวารสารวงการแพทย์ก็ได้รับเกียรติจาก "นพ.วินัย สวัสดิวร" เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คนใหม่ มาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน รวมไปถึงแนวคิดต่าง ๆ ในการบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
        นพ.วินัย ได้เริ่มเล่าถึงการเข้ามาทำงานที่ สปสช. แห่งนี้ว่า "ผมเริ่มเข้ามาทำงานที่ สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) เมื่อเดือนมิถุนายน 2546 เข้ามาทำงานในตำแหน่งรองเลขาธิการ มีหน้าที่หลัก ๆ ในการบริหารกองทุน งานของที่นี่มีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นงานในเรื่องของการที่จะมีส่วนร่วมกับ ภาคประชาชน หรือการขยายกองทุน เป็นต้น แต่ตัวผมเองนั้นมีหน้าที่หลักก็คือการคำนวณงบประมาณ อย่างการเหมาจ่ายรายหัวควรจะเป็นเท่าไร ได้เงินมาแล้วจะจัดสรรอย่างไร นั่นก็คือหน้าที่หลักที่ผมรับผิดชอบมาโดยตลอด ส่วนเรื่องอื่นก็จะเป็นเรื่องของการบริหารบุคคล ผมก็จะมีส่วนร่วมด้วยเพราะจะเป็นคณะกรรมการ การคัดเลือกคน การจัดหาบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผู้อำนวยการสำนักงาน และที่สำคัญคือ เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการขยายสำนักงาน สาขาเขต เนื่องจากตอนที่เราเริ่มนั้นไม่มีเขต ขณะนี้เราก็มีอยู่ทั้งหมด 12 สาขา ผมก็มีส่วนในการวางโครงสร้าง ของเขตว่าควรจะเป็นอย่างไร ควรมีคนกี่คน และเขตจะทำหน้าที่อะไร ควรจะตั้งอยู่ที่ไหน จังหวัดใด งานพวกนี้ก็เป็นแบบคร่าว ๆ แต่ ก่อนหน้าที่จะมาทำงานที่นี่ ผมทำงานอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการแพทย์ และเคยดำรงตำแหน่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์และยโสธร (สสจ.) เคยทำงานที่โรงพยาบาลจังหวัดและ โรงพยาบาลอำเภอ โดยภูมิหลังนั้นเรียกได้ว่าทำมาหมดแล้วที่เกี่ยวกับด้านสาธารณสุข และเข้าใจถึงระบบสาธารณสุขดี เพราะได้ทำมาทุกระดับ ก่อนที่จะได้รับหน้าที่ที่ สปสช."
        "มีหลายคนถามผมว่าอะไรที่ทำให้ผมตัดสินใจลาออกจากงานราชการ ทั้งที่การเป็นข้าราชการมีความก้าวหน้าให้ผมอย่างแน่นอน ซึ่งท่านอธิบดีกรมการแพทย์ในสมัยนั้น ท่านเสรีก็ได้ถามผมว่าแน่ใจแล้วหรือที่จะลาออกและตัดสินใจแบบนั้น อย่างผมนี้ซี 10 คงไม่หนีไปไหนอย่างแน่นอน ท่านกล่าวอย่างนั้น เราก็ตอบไปว่าเรามั่นใจ สิ่งที่ผมตัดสินใจออกมาทำอาจจะเป็นเพราะท่านสงวนก็ว่าได้ ผมเชื่อมั่นในแนวคิดในเรื่องของความตั้งใจที่จะสร้างระบบขึ้นมา และอีกเหตุผลหนึ่งก็คงจะเป็นตอนที่ผมได้เป็น สสจ. ที่ จ.ยโสธร ตอนนั้นผมได้เข้าร่วม Health Care Reform ตอนนั้นได้ประสบการณ์ที่ว่าหากเราทำในเรื่องของการจัดระบบการจัดการงานแบบใหม่ที่เป็นแนวคิดปัจจุบันให้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากพอ เราจัดการงบประมาณแบบนี้แล้ว จะทำให้หน่วยบริการรู้สึกถึงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของประชาชนที่เขาดูแล มากกว่า ย้อนกลับไปถึงตอนที่ท่านสงวนได้ชักชวนให้มาทำงานที่นี่ ผมก็รู้สึกว่าน่าสนใจเพราะว่าผมเชื่อว่าองค์กรนี้จะเป็นองค์กรที่มีบทบาท สำคัญในการพัฒนาระบบบริหารสาธารณสุขของประเทศไทย ผมต้องเรียนว่าในการตัดสินใจแบบนี้ในเรื่องของโอกาสความก้าวหน้านั้นจบไปเลย ผมไม่ได้คิดว่าท่านสงวนจะเสียชีวิตและไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น เราสูญเสียบุคลากรที่มีค่าของประเทศไปท่านหนึ่ง ในเรื่องของการก้าวหน้าในการทำงานของผม ขอบเขตของผมก็คงจะเป็นแค่รองเลขาธิการเท่านั้น ซึ่งมันต่างจากที่อยู่ที่กระทรวงสาธารณสุขที่จะสามารถไปได้อีกไกล ผมเชื่อว่าหากเรามองไป กว่าที่เราจะเป็นระดับซี 10 นั้นมันอยู่ที่การเมืองเป็นหลัก ผมไม่ถนัดในเรื่องนั้น ก็เลยคิดว่าหากอยู่ตรงนี้คงจะสบายใจกว่า ข้อดีอีกข้อที่ตัดสินใจมาคือพอได้มาทำงานแล้วผมก็จะสะสมประสบการณ์ ผมจะมีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้เป็นอย่างดี เข้าใจในระบบการทำงานในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง 5 ปีที่ผมทำงานมา ผมก็จะเข้าใจกระบวนการในการคำนวณว่าจะเหมาจ่ายเท่าไร ทำการเจรจาต่อรองต่อไปกับสำนักงานว่าจะทำอย่างไร และจะทำการเจรจาอย่างไรทั้งภาคเอกชนและทางกระทรวงสาธารณสุข เพราะเราต้องทำทุก ๆ ปี"
        เมื่อถามถึงนโยบายและวิสัยทัศน์ในการบริหารสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ว่าท่านมีแนวคิดอย่างไร นพ.วินัย กล่าวว่า "ต้องกล่าวก่อนว่าวิสัยทัศน์ของ สปสช. ตั้งแต่แรกเริ่มมาแล้ว เราจะสร้างระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้เข้าถึงด้วยความมั่นใจ ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการมีความสุขทั้งสองฝ่าย แต่ทีนี้คำว่า เข้าถึง หมายความว่าเวลาที่เจ็บป่วย หากมีหน่วยบริการใกล้ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริการปฐมภูมิหรือการบริการที่ดีเยี่ยม ในโรคหัวใจ โรคมะเร็ง เราก็จะต้องมาจัดระบบให้มันดี ไม่ว่าจะเป็นคนภาคเหนือ ภาคอีสาน ทำอย่างไรให้มีการขยายหน่วยบริการ ทำอย่างไรจะให้มีแพทย์ มีเจ้าหน้าที่เข้าไปอยู่ตรงนั้นได้ บางอย่างก็ไม่สามารถทำเองได้ ต้องเข้าไปร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะช่วยประสานงาน ผลักดันให้หน่วยงานอื่นในการทำงาน โดยเฉพาะในเรื่องของคน ในส่วนของโรงเรียนแพทย์ แพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข เราอยากที่จะมีส่วนร่วมในการที่ไปช่วยผลักดัน การเข้าถึงของประชาชน ทั้งหน่วยบริการและผู้ให้บริการ เรื่องของเครื่องมือ ยารักษา ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับงบประมาณ เราก็พยายามทำหน้าที่ในการที่จะทำให้สิ่งเหล่านั้นเพียงพอกับความต้องการ ประชาชนจะมั่นใจในการเข้าถึงบริการได้ก็ต้องมีคุณภาพของการบริการเข้ามาด้วย เราก็ต้องกลับไปดูเรื่องของการกำกับดูแลคุณภาพของผู้ให้บริการด้วย หากทำสองอย่างนี้ได้ ประชาชนก็จะเข้าถึงระบบบริการด้วยความมั่นใจ หรือสร้างหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนด้วยความมั่นใจ ส่วนทางด้านผู้ให้บริการก็จะต้องมีความสุข ผมคิดว่าหากผู้ให้บริการไม่มีความสุขระบบก็จะไม่ยั่งยืน และหากผู้ให้บริการมีความสุขในการทำงาน ประชาชนก็จะเป็นผู้รับความสุขนั้นด้วย ในเรื่องที่จะทำให้แพทย์ พยาบาล หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่มีความสุข ก็จะต้องร่วมมือกัน ในเรื่องนี้ สปสช. ไม่สามารถทำคนเดียวได้ คงจะต้องร่วมมือกัน เรื่องแรกเป็นเรื่องของเงินที่ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เราก็จะต้องทำให้พอและต้องจ่ายให้ทางโรงพยาบาลรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน นั่นเป็นแนวคิดที่อยากจะทำ ไม่ใช่ว่าได้เงินมาก็มากองไว้ที่เราไม่ยอมแจกจ่ายไป เพราะฉะนั้นทางเราจะต้องจัดระบบจัดสรรเงินให้เกิดสภาพคล่องด้วย ในส่วนของโรงพยาบาลเอง หากดูเรื่องของงบประมาณในตอนเริ่มเราได้งบประมาณ 1,200 บาทต่อหัว แต่ตอนนี้เราได้ 2,100 บาทต่อหัว ซึ่งทุก ๆ 1 บาทเท่ากับ 46 ล้าน เราเพิ่มมา 900 บาทในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมาเราเพิ่มงบประมาณถึง 4 หมื่นกว่าล้านบาท หากถามว่าตรงนี้พอหรือไม่ ผมคิดว่าภาพรวมคงน่าจะพอ แต่ว่าการกระจายนั้นมันอาจจะไม่ได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ทั้งหมด เพราะเมื่อเรามีเงินพอดี แต่เผอิญว่าแบ่งแล้วโรงพยาบาล นี้ได้มากหน่อย หรือบางโรงพยาบาลอาจจะได้น้อยหน่อย ทีนี้กระบวนการในการแบ่งเนื่องจากจะต้องใช้ข้อมูลพื้นฐานเยอะหน่อย และมีปัจจัยที่แตกต่างของแต่ละโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลที่อยู่ในเมืองอาจจะมีรายได้จากอย่างอื่น มีข้าราชการประกันสังคมมากกว่า แต่โรงพยาบาลที่อยู่ต่างจังหวัดอาจจะมีรายได้จากพวกข้าราชการ ประกันสังคมน้อยกว่า เหล่านี้เป็นรายละเอียดที่จะต้องค่อย ๆ ทำให้ไฟล์จูนให้เหมาะ เมื่อเราทำไปเรื่อย ๆ แล้วเข้มแข็ง สามารถที่จะดูได้ว่าในพื้นที่ของโรงพยาบาลไหนที่มีปัญหา โรงพยาบาลไหนที่ได้เยอะไป เพราะฉะนั้นมันเป็นรายละเอียดที่ผมจะต้องทำให้มันไฟล์จูนให้ได้ว่าจะทำอย่างไรที่จะให้ระบบงบประมาณของ โรงพยาบาลทุกแห่งมันไม่ติดขัด แต่ในส่วนของผมนั้นไม่ค่อยจะวิตกกังวลเรื่องของงบประมาณมากนัก ผมเชื่อว่าอนาคตของวงการสาธารณสุขหรือการบริการสาธารณสุขจะเป็นวิกฤตที่คน มากกว่าเรื่องเงิน เพราะคนจะเป็นปัญหาหัวใจหลัก ปัจจุบันนี้เนื่องจาก Medical Hub มันรุ่งเรือง ลองนึกภาพว่าแพทย์ที่มีความสามารถไปอยู่ที่โรงพยาบาลเอกชนกันหมด เนื่องจากได้รับค่าตอบแทนสูง ซึ่งอาจจะดึงมาจากโรงเรียนแพทย์ หรือดึงมาจากหัวเมืองใหญ่ และต่อจากนั้นจะมีแพทย์ที่ไหนไปอยู่ชนบท ที่สำคัญคือว่าระบบของเรานั้นเรารู้แน่นอนว่าจะต้องมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น คนเข้าถึงบริการได้ดีขึ้น ที่นี่ทำงานมากขึ้นแต่ว่าบุคลากรผู้ให้บริการอาจจะไม่พอและลดน้อยถอยลงไป สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัญหาใหญ่ไม่ใช่แค่ปัญหาเล็ก ๆ แต่เป็นปัญหาระดับชาติ เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤตเลยก็ว่าได้ แต่เรื่องเหล่านี้มันแก้ไขได้ยาก ก็จะต้องใช้หน่วยงานหลายแห่ง เพราะ สปสช. เองก็ไม่ได้รับผิดชอบโดยตรง พอพูดเรื่องคนต้องดูแล้วว่าจะเพิ่มการผลิตได้อย่างไร อย่างไรก็ต้องใช้คน เมื่อผลิตแล้วและส่งไปอยู่จะให้เขาสามารถอยู่ตรงนั้นได้อย่างไร ระบบการจ่ายค่าตอบแทนจะเป็นอย่างไร ความก้าวหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร รายได้จะสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ระบบให้คนอยู่ในภาครัฐ มันไม่ง่าย ไหนจะมีแรงดูดจากภาคเอกชนอีก วิสัยทัศน์ภาครวมก็คือ 1. ให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้วยความทั่วถึงและด้วยความมั่นใจ 2. ผู้ให้บริการต้องมีความสุขในการทำงาน ผู้ให้บริการอาจจะไม่มีความสุขใน เรื่องของภาระงานและจำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอ ดังนั้น เรื่องนี้ถือว่าเป็นปัญหาที่จะต้องช่วยกันแก้ไขให้ได้ วิงวอนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่เช่นนั้นระบบบริการสาธารณสุขของเราจะเกิด วิกฤตอย่างแน่นอน"
        "ในเรื่องของเป้าหมายในการดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สปสช. ภายใน 4 ปีนี้ ผมเปรียบการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประชาชนเหมือนกับเรากำลังจะไปออกรบ เราต้องจัดทัพของเราให้ดี จัดแม่ทัพนายกอง จัดขบวนทัพ พัฒนาคนของเราให้เป็นนักรบ หรือใช้คำว่าพัฒนาให้เป็นมืออาชีพ และองค์กรของเราจะต้องเป็นองค์กรที่ High Performance จริง ๆ แล้วมีเรื่องมากมายที่จะทำ แต่หลัก ๆ แล้วอยากให้เป็นอย่างนั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วปัญหาสาธารณสุขนั้นมีมากมาย อย่างเรื่องโรคไตที่เรารับมาอยู่ในความดูแล ก็ต้องไปพัฒนาตรงนั้นให้ดี หากถามว่าจะทำอะไรให้สำเร็จ ผมมองในเรื่องของการผลิต เรื่องของระบบบริการสาธารณสุข ผมอยากจะพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่เรียกว่า "ใกล้บ้านใกล้ใจ" ให้เห็นเป็นรูปธรรมให้ชัดเจน เพราะจุดนั้นเป็นจุดที่ผมคิดว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน ผมจินตนาการว่าหากเราสร้างหน่วยบริการที่ทำให้ประชาชนรู้สึกใกล้ชิดกับ ผู้ให้บริการ แพทย์เคยไปเยี่ยมบ้าน รู้จักทุกคนในครอบครัว ผู้ป่วยหนึ่งคนมีที่ปรึกษา เข้ามาที่โรงพยาบาลแล้วรู้สึกอบอุ่นใกล้ชิดเหมือนมาหาญาติ สิ่งเหล่านี้เป็นหลักสำคัญในการพัฒนาระบบใกล้บ้านใกล้ใจ หน่วยบริการนั้นไม่ต้องใหญ่ มีพยาบาล 2-3 คน มีแพทย์ครอบคลุมคนในละแวกนั้นประมาณ 5,000-10,000 คนเท่านั้น หากพัฒนาระบบนี้ให้ดีเราจะเห็นภาพของการที่ประชาชนจะเข้าถึงบริการได้ง่าย เราสามารถจัดระบบส่งต่อตรงนั้นไปให้หน่วยที่มีบริการที่มากกว่า เราไม่จำเป็นต้องไปสร้างทุกอย่างให้พร้อมในอำเภอใดอำเภอหนึ่ง ผมเน้นย้ำเสมอว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงบริการ"
        เมื่อถามถึงเรื่องของงานที่จะสานต่อจาก นพ.สงวน นพ.วินัย กล่าวว่า "ประเด็นที่ท่านเลขาธิการคนก่อนได้สอนไว้ก็คือในเรื่องของการทำมิตรภาพบำบัด ท่านกล่าวเสมอว่าต้องการที่จะส่งเสริมในด้านจิตอาสา โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง อย่างโรคมะเร็งจะต้องเผชิญความทุกข์อย่างมีความอบอุ่น เป็นในรูปแบบของเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่องนี้เป็นประโยชน์ของ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง คนที่เป็นโรคเหล่านี้น่าจะมีโอกาสได้มีเพื่อน ให้กำลังใจกัน ได้พูดคุยกัน ให้ความทุกข์นั้นมันคลายลงได้ ในโครงการมิตรภาพบำบัด เพื่อนช่วยเพื่อน จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความสุขได้ ทางเราก็จะไปร่วมกับมูลนิธิของท่านเลขาธิการที่ได้ตั้งขึ้นเพื่อจะช่วยให้ โรงพยาบาลต่าง ๆ ได้มีกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้"
        ต่อข้อซักถามว่าในมุมมองของท่านนั้น ขณะนี้ สปสช.เป็นอย่างไร นพ.วินัย กล่าวอีกว่า "ผมมองว่า สปสช. เป็นองค์กรที่มีทีมที่เข้มแข็ง มีเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถเยอะ มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการที่ดี โดยรวมถือว่าเป็นองค์กรที่ดี เราได้รับการประเมินในทางที่ดี แต่มันก็มีเรื่องที่จะต้องไฟล์จูน เช่น การพัฒนาระบบการตัดสินใจของส่วนนำที่จะต้องรอบคอบ รวดเร็ว โดยที่มีความเป็นเอกภาพ เพื่อที่จะได้นำพาองค์กรให้ไปได้ดี ถูกทาง และจะต้องเข้าใจในทิศทางเดียวกัน เจ้าหน้าที่หรือระบบที่เราวางไว้มันดูลงตัวแต่มีอีกหลายเรื่องที่จะต้อง พัฒนา เช่น ข้อมูลจาก โรงพยาบาลต่าง ๆ ข้อมูลจากรายบุคคล หากมีข้อมูลเยอะมันก็จะสามารถคาดการณ์อะไรได้ดี เหมือนกับรู้เขารู้เรา เรารู้ว่าปัญหาคืออะไร แนวโน้มจะเป็นอย่างไร เรารู้ว่าจะต้องใช้งบประมาณเท่าไร หากเราวางแผนได้ดีทุกอย่างก็ดีตามมา เพราะมีการเตรียมการมาเป็นอย่างดี ดังนั้น ในเรื่องของความผิดพลาดก็น่าจะน้อยลง"
        เมื่อถามถึงปัญหาในเรื่องของ CL นพ.วินัย ได้ให้คำตอบว่า "ในเรื่องของ CL นั้น ต้องบอกก่อนว่า ภารกิจของผมคือจะทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงบริการ ยานั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าถึงบริการ ในเมื่อภารกิจของเราต้องพยายามทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการ เราก็จะต้องมาคิดให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงยา การจะใช้มาตรการเจรจาต่อรอง การจัดการการต่อรองในส่วนกลางเพื่อให้มีพลังในการเจรจาต่อรองนั้นมีมากขึ้น คือบางอย่างอาจจำเป็นต้องซื้อ หรือให้องค์การเภสัชกรรมมาช่วยในการจัดการเรื่องของยาที่มีราคาแพง หรือแม้กระทั่ง CL ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ แต่เราก็ไม่คิดว่าจะมีความจำเป็นต้องทำ หากเราเจรจาต่อรอง แต่อย่างไรก็ตาม เรื่อง CL เป็นเรื่องที่ใหญ่เกินไปสำหรับ สปสช. เราอาจจะเป็นคนทำข้อมูลว่า ผู้ป่วยที่เราดูแลมีผู้ป่วยประเภทใดที่ยังต้องการยาที่มีราคาแพง และยานั้นยังอยู่ในสิทธิบัตรหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นในขั้นแรกเราอาจจะรวมกันเจรจากับทางบริษัทยาว่า เรามีผู้ป่วยอยู่ 10,000 คน ยาของคุณที่เราต้องการใช้มีเท่านี้ ทางคุณเคยขาย 100 บาท หากรวมกันซื้อโดยไม่ต้องไปทำการตลาด ขอลดเหลือ 10 บาทได้หรือไม่ เมื่อถึงตอนนั้นการเจรจาทุกอย่างตกลง เราก็จัดระบบ หากทางเขามั่นใจว่ามีการซื้อจริงก็ไม่จำเป็นต้องมาเดินขายซื้อบ้างไม่ซื้อ บ้าง เขาอาจจะมีการลดราคาให้ได้ หลักการก็คือว่า สปสช. มีหน้าที่ในการทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการ และยาก็เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าถึงบริการ นั่นคือหน้าที่และภารกิจหลักของ สปสช."
        ต่อข้อซักถามในเรื่องของการลดเบี้ยการประชุมของทาง สปสช. ที่รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุขประกาศว่าควรจะลดลง นพ.วินัย เสนอความคิดเห็นว่า "เรื่องที่ รมว.สาธารณสุขได้ให้ข่าวว่าจะลดเบี้ยการประชุมของทาง สปสช. จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้เกี่ยวกับผมสักเท่าไร เนื่องจากผมไม่ได้เบี้ยประชุม ผมเป็นเลขาธิการของคณะกรรมการ ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการ ในกฎหมายเขียนชัดเจนว่าผมดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ไม่มีสิทธิโหวต ไม่มีสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้นในกรรมการ เป็นเพียงเลขานุการในคณะกรรมการและไม่ได้รับเบี้ยการประชุมตรงนั้น ในส่วนของเบี้ยประชุมนั้นท่านรัฐมนตรีมีอำนาจตามมาตรา 23 ของ พ.ร.บ. ในการกำหนดเบี้ยประชุม ในส่วนของเบี้ยประชุมมีระเบียบในส่วนของกระทรวงการคลัง กรรมการที่มีรัฐมนตรีเป็นประธานและกรรมการที่ลงท้ายด้วยแห่งชาติ อัตราจะอยู่ที่เท่าไรมันก็จะมี Rate ของมัน และหากลงท้ายด้วยแห่งชาติต้องทำหน้าที่ในการดูแลเรื่องเงินด้วย มีความเสี่ยงอาจจะต้องรับผิดชอบทางแพ่ง ก็จะมีอัตราของมัน เพราะฉะนั้นใน พ.ร.บ.มาตรา 23 ได้บอกไว้ว่ารัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดเบี้ยประชุมให้แก่คณะกรรมการและอนุกรรมการ ที่เกี่ยวข้อง ผมมีหน้าที่เพียงแต่ให้ข้อมูล หากท่านต้องการข้อมูล และท่านจะเป็นผู้ตัดสินใจเอง"
        นพ.วินัย กล่าวปิดท้ายว่า "ผมทราบดีว่าผู้ให้บริการทุกคนเหนื่อยกับการทำงาน ท้อแท้ และน่าเห็นใจเป็นอย่างมาก บางครั้งเหมือนกับว่า สปสช. ได้หน้า แต่เมื่อบริการมีปัญหาก็มาต่อว่าโรงพยาบาล สปสช. ไม่ต้องมารับรู้ ไม่ต้องมาเกี่ยวข้อง แต่มันไม่ใช่อย่างนั้น เราทำคนละหน้าที่กัน มีบทบาทที่ต่างกัน และเราพยายามที่จะช่วยในเรื่องของมาตรา 41 หน้าที่ของเราก็คือหางบประมาณและจัดงบประมาณช่วยเสริมในสิ่งที่จะช่วยเสริมได้ และพยายามที่จะจัดในส่วนของการสมานฉันท์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ผมเข้าใจดีถึงความยากลำบากในการทำงาน มองภาพและเป็นห่วงถึงวิกฤตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่ากำลังคนของเรากำลังจะไม่พอ หากระบบยังเป็นเช่นนี้ต่อไปก็จะไม่มีใครมาอยู่ทำงาน รัฐบาลต้องลงมาแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ไม่ใช่เพียงแค่กระทรวงสาธารณสุข แต่มันกลายเป็นปัญหาระดับประเทศไปแล้ว สุขภาพที่ดีของประชาชนเป็นหน้าที่ของรัฐบาล เพราะฉะนั้นหากจะให้ผู้รับบริการมีความสุข ผมก็จะต้องมีเงินงบประมาณพอและการกระจายเป็นไปอย่างรวดเร็ว"

742
 เลขาธิการสปสช. เสนอวาระแห่งชาติแก้ระบบสาธารณสุข ชี้ใช้เงินแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้ ส่วนมาตรการจัดเก็บภาษีผู้ป่วยต่างชาติ ชะลอรอการเมืองนิ่ง

เมื่อวันที่19 พฤศจิกายนที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานทำบุญครบ6 ปีวัน ก่อตั้ง สปสช.ว่าปัญหาระบบสาธารณสุขของไทยอยู่ที่บุคลากรทางการแพทย์ไม่ เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในประเทศ ส่วนงบประมาณมีเพียงพอ โดยจากการ สอบถามนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด พบว่าสถานบริการสุขภาพที่ให้บริการผู้ป่วย ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองไม่ประสบปัญหาเรื่องการเงิน เหมือน 2-3 ปีแรกที่ใช้สิทธิบัตรทองฉะนั้นการแก้ปัญหารัฐบาลต้องประกาศให้ เรื่องการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์เป็นวาระแห่งชาติ

นพ.วินัยกล่าวอีกว่าการดำเนินการนโยบายเรื่องศูนย์กลางการแพทย์หรือเมดิเคิลฮับ ที่ส่งเสริมการรักษาผู้ป่วยชาวต่างชาติ ต้องทำควบคู่กับการเพิ่ม จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนมาตรการจัดเก็บภาษีผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ามา รักษาพยาบาลในประเทศไทย ต้องเสนอนโยบายนี้ในช่วงที่การเมืองนิ่ง เพราะเป็น เรื่องใหญ่ที่มีความสำคัญมาก ดังนั้นระหว่างนี้จะศึกษาข้อมูลเชิงวิชาการถึง ตัวเลขที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับการแข่งขันของธุรกิจให้บริการรักษา พยาบาล

นพ.วินัยกล่าวด้วยว่าสปสช.จะพัฒนาเพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยบัตรทองให้ เท่าเทียมกับสิทธิของสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม ในเบื้องต้นเน้นจัด ทำฐานข้อมูลผู้ป่วยของคนไทยทั่วประเทศ เพราะคนไทยมีการย้ายสิทธิประกัน สุขภาพตลอดเวลา หากมีข้อมูลประวัติการรักษาสุขภาพของประชาชนที่ดีจะช่วยให้ ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ได้รับ การคุ้มครองสิทธิประกันสุขภาพทุกระบบ แต่การจ่ายยาของแต่ละโรงพยาบาล รวมถึง ระบบประกันสุขภาพต่างกัน ทั้งนี้ปีที่ 7 ของสปสช.จะเน้นให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้นโดย เฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน

(โดย คม ชัด ลึก วัน พฤหัสบดี ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)

743
เผลอแผล็บเดียว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็ก้าวสู่ปีที่ 7 แล้ว ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา สปสช.ได้สร้างหลักประกันสุขภาพครอบคลุมคนไทย 47 ล้านคน ให้ได้รับหลักประกันสุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และการส่งเสริมป้องกันโรคอย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเท่าเทียม ด้วยระบบการให้บริหารที่ไม่น้อยหน้าระบบประกันสุขภาพอื่นๆ ของไทย
      
       ปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ นพ.วินัย สวัสดิวร ซึ่งต้องรับภาระหนักในการดูแลสุขภาพของคนเกือบทั้งประเทศ ต่อจาก นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ อดีตเลขาธิการ สปสช.คนแรกที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย
      
       ในวันสบายๆ นพ.วินัย ได้เปิดใจกับ ASTVผู้จัดการรายวัน ถึงการทำงานในช่วงเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา
      
       การรับไม้ต่อจากคุณหมอสงวน เป็นเรื่องที่น่าหนักใจ เพราะหมอสงวนเป็นคนที่มีความสามารถสูง เป็นคนดีมีบารมี มีคนรู้จัก และให้ความสนใจ นั่นคือ ข้อหนักใจ แต่ข้อสบายใจ คือ หมอสงวน ได้วางรากฐาน ระบบต่างๆ ไว้อย่างดีเยี่ยม ทีมงาน สปสช.ก็ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้งานที่ต้องสานต่อเชื่อมโยงกันได้อย่างสบาย อย่างไรก็ตาม ก็มีความกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับกรณีที่อาจเกิดการเปรียบเทียบระหว่างเลขาฯ คนเก่า และเลขาฯคนใหม่ นพ.วินัย บอกยิ้มๆ
      
        และภายหลังจากลงมือสู้งานหนักตลอด 1 ปี นพ.วินัย มองว่า ภาระงานต่างๆ ในการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อประชาชน มีเรื่องอีกมากมายที่ต้องทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถึงแม้ประชาชนจะมีสิทธิในการรักษาพยาบาลอยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัติการเข้าถึงบริการจริงๆ ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุที่สำคัญ เนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากร ทำให้บุคลากรที่ให้บริการไม่เหมาะสมกับภาระงาน ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดสิทธิประโยชน์เรื่องไตวาย ผู้ป่วยไตวายเรื้องรังสามารถฟอกเลือดหรือเปลี่ยนไตได้ จึงถือว่ามีสิทธิเต็มที่ แต่การเข้าถึงกลับยังคงเป็นปัญหา
      
       นพ.วินัย อธิบายเพิ่มว่า ขณะนี้การมีสิทธิกับการเข้าถึงยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการมีระบบบริการที่ดีจะต้องมีบุคลากร มีการวางระบบการบริหารจัดการที่ดี เช่น การรักษามะเร็ง หัวใจ ก็ต้องมีแพทย์เฉพาะทาง หรือการมีระบบปฐมภูมิที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม แต่ละเรื่องไม่ใช่ สปสช.สามารถทำคนเดียวได้ เช่น การเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ การกระจายบุคลากร ฯลฯ เป็นเรื่องนอกเหนือจากสิ่งที่ สปสช.รับผิดชอบทั้งหมดโดยตรง แต่ก็ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลยเพราะปัญหานี้เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องยากที่จะต้องทำ โดยที่ผ่านมา สปสช.จะใช้วิธีพยายามกระตุ้น ผลักดัน ส่งเสริม ทั้งทางตรง และทางอ้อม
      
       ในโรงพยาบาลเล็กๆ มีหมออยู่เวรคนเดียวก็ไม่ไหว หากมีผู้ป่วยที่เป็นโรคไต มะเร็ง ผ่าตัดฉายแสง ผ่าตัดสมอง เส้นเลือดแตก ก็จำเป็นต้องส่งต่อ แต่กว่าจะหาเตียงได้เป็นเรื่องยากลำบากมาก ต้องอาศัยการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลหลายๆ แห่ง เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรในโรคที่ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเครื่องมือที่มีความพร้อม โรงพยาบาลรัฐบางแห่งจึงต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลเอกชนใกล้เคียงในพื้นที่ในการส่งต่อเพื่อรักษาคนไข้ ถือเป็นข้อจำกัดที่ปัญหาระบบบริการที่ไม่สามารถรองรับความต้องการได้ นพ.วินัย ให้ภาพของปัญหาใหญ่ในระบบสาธารณสุข

 เลขาธิการ สปสช.บอกอีกว่า จะเห็นว่า ปัญหามันโยงใยเชื่อมโยงกระทบถึงกันไปหมด รวมถึงนโยบายเมดิคอลฮับ หรือศูนย์การแพทย์ในภูมิภาค โดยการดำเนินการนโยบายนี้จำเป็นต้องหันมามองคนไทยด้วยว่า หากผลักดันเมดิคอลฮับให้ต่างชาติมารักษาที่ไทยมากขึ้น จะต้องคิดด้วยว่าจะทำอย่างไรกับการขาดหมอในโรงพยาบาลอำเภอ
      
       ขณะที่ปัญหาด้านงบประมาณ ซึ่งที่ผ่านมา ดูเหมือนเป็นปัญหาใหญ่ของระบบสุขภาพมาโดยตลอด แต่ปัจจุบัน นพ.วินัย มองว่า เรื่องงบประมาณ น่าจะเพียงพอ กับการให้บริการประชาชน เพราะตอนนี้ถึงจะมีเงินมากขึ้นเท่าไร่แต่โรงพยาบาลก็ไม่สามารถจัดบริการได้มากขึ้น เพราะจำนวนบุคลากรที่จำนวนเท่าเดิม ทุกวันนี้การให้บริการของผู้ให้บริการถือว่าเต็มกำลังแล้ว แม้ความต้องการรับบริการมีมากขึ้น แต่โรงพยาบาลก็เต็มพิกัดแล้ว ดังนั้น ด้วยข้อจำกัดนี้ การเพิ่มเงินเท่าตัวก็ให้บริการเพิ่มเท่าตัวไม่ได้
      
       ในมุมมองของหน่วยบริการงบประมาณที่ได้รับจึงน่าจะพอ แต่หากเราสามารถขยายบริการเพิ่มขึ้น มีหมอ พยาบาล เพิ่มขึ้น เงินก็ต้องเพิ่มมากขึ้น ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการผลิตบุคลากร และรักษาบุคลากรเหล่านั้นให้อยู่ในระบบด้วย ปัญหาในปัจจุบันจึงไม่ใช่เรื่องของเงินเพียงอย่างเดียว การเพิ่มเงินเหมาจ่ายรายหัวเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ทางแก้ระบบสาธารณสุขอย่าง แน่นอน สำหรับวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ เพิ่มจำนวนแพทย์ให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการที่ดีขึ้นได้ โดยการประกาศเป็นวาระชาติ มีการแก้ไขกันอย่างครบวงจร
      
       นพ.วินัย บอกถึงความคาดหวัง และความตั้งใจในการทำงาน เมื่อก้าวสู่ปีที่ 7 ว่า สปสช.จะเน้นให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ซึ่งเป็นหัวใจของระบบสาธารณสุข เพื่อประชาชนมีสถานพยาบาลใกล้บ้านใกล้ใจ ที่เป็นหน่วยบริการประจำของครอบครัวอย่างแท้จริง พัฒนาระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ง่าย และสะดวก เป็นระบบส่งต่อที่ไม่ปล่อยให้คนไข้หรือญาติต้องเคว้งคว้าง รวมทั้งการวางระบบการส่งเสริมป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง โดยพยายามวางระบบบูรณาการให้สมบูรณ์ในทุกระดับ และมุ่งเน้นการบริหาร สปสช.ให้เป็นองค์กรโปร่งใส มีประสิทธิภาพ เป็นองค์กรที่จิ๋วแต่แจ๋ว เพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพที่มีคุณภาพ เป็นธรรม และยั่งยืน

11/02/09

744
จาก
"Old-fashioned Doctering Keeps Cubans Healthy" โดย Sarah Lunday


กรุงฮาวานา - ในออฟฟิซของนายแพทย์ อเล็ก คาเรราซ ใกล้ใจกลางกรุงฮาวาน่า มีน้ำ้ซึมหยดลงมาจากเพดาน บานกระจกหายไปจากหน้าต่าง เครื่องอบฆ่าเชื้อโรคที่พังไปนานแล้วนอนสงบนิ่งไม่ติงไหว โทรศัพท์กรีดกริ่งไม่ยอมหยุดพัก ขณะที่ คุณหมอคาเรราซตอบครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าพยาบาลคนเดียวของคลีนิค ลาพักเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์

นายแพทย์คาเรราซ และพยาบาล รับผิดชอบรักษาสุขภาพให้ ๑๒๐ ครอบครัวในละแวกใกล้เคียงกับคลีนิค การอยู่ร่วมกับชุมชนที่ให้การรักษาพยาบาล เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในการทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการของคนไข้ คุณหมอคาเรราซเล่าว่า คนไข้คนหนึ่งบอกว่า หยุดสูบบุหรี่ตามที่หมอสั่งแล้ว แต่เมื่อคุณหมอแวะไปที่บ้านโดยไม่บอกล่วงหน้า "ผมยังเห็นก้นบุหรี่เต็มถาดอยู่เลย" ว่าพลางคุณหมอก็ยักไหล่ไปด้วย

นายแพทย์คาเรราซ มีเพียงผังคนป่วยที่เขียนด้วยมือ เพื่อบันทึกข้อมูลและความต้องการของคนไข้ เช่น คนนั้นมีระดับคอเลสเตอรอลสูง คนนี้เป็นเบาหวาน หรือใครมีโรคติดสุราเรื้อรัง "แค่นี้คุณก็มีข้อมูลเพียงพอแล้ว ก็รู้ได้ทุกอย่าง" คุณหมอกล่าว

แม้ว่า แพทย์ชาวคิวบา จะไม่อาจรู้สภาพผู้ป่วยได้หมดสิ้น แต่เมื่อเทียบกับแพทย์ในประเทศอื่นแล้วก็ยังกินขาด โดยเฉพาะแพทย์ในประเทศเพื่อนบ้านเศรษฐี คือ สหรัฐอเมริกา การที่นายแพทย์ไปใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนที่ตนทำการรักษา ช่วยให้สามารถติดตามความเคลื่อนไหว และรู้จักคนไข้ในสังกัดได้เป็นอย่างดี เป็นแบบอย่างที่ประเทศยากจนหรือแม้แต่บางท้องที่ในสหรัฐเอง ควรนำไปศึกษา

ระบบสาธารณสุขของคิวบานั้น มีองค์ประกอบหลักคือ เครือข่ายแน่นหนาของแพทย์ประจำบ้าน(family doctor ไม่ใช่ resident) ที่กระจัดกระจายไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้าน ไม่ว่าจะในชนบทหรือในเมือง แพทย์ประจำบ้านชาวคิวบาจึงคุ้นเคยกับชุมชนเป็นอย่างดี และมีประชากรในความดูแลไม่เกิน ๕๐๐ คน เมื่อเทียบกับแม้ประเทศอย่างสหรัฐแล้ว หมออเมริกันมีคนไข้ในความดูแลมากกว่าหลายต่อหลายเท่านัก ถ้าคนไข้ต้องการการรักษาที่สลับซับซ้อนเกินกำลัง หมอประจำบ้านเหล่านี้ ก็จะส่งไปให้โรงพยาบาลประจำชุมชนนั้นๆ

แต่ระบบของคิวบาก็มีจุดอ่อนไม่น้อย โดยเฉพาะ ความขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์และยา หากป่วยหนักต้องไปโรงพยาบาลก็ต้องรอกันนานๆ แต่ความต้องการทางแพทย์ขั้นพื้นฐานของประชากร ๑๑.๒ ล้านคนในประเทศคิวบา ก็ได้รับการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ ไม่มีใครขาดการดูแลรักษา ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกาเอง ยังมีประชากรคนยากจนอีกถึง ๔๐ ล้านคน ที่ต้องใช้ชีวิตโดยขาดการเหลียวแลทางการแพทย์ เพราะว่าไม่มีประกันสุขภาพ

"ประชากรทุกคน อย่างน้อยๆก็ได้รับการดูแลด้านสุขภาพ ทุกคนอยู่ในระบบสาธารณสุข ชาวคิวบาเน้นด้านการป้องกันโรคก่อนที่มันจะเกิดได้ดีมากๆกว่าในหลายๆประเทศ" เป็นความเห็นของ นายแพทย์ สตีเฟน เอ เชนเดล หัวหน้าฝ่ายศัลยกรรมตกแต่ง แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งได้เดินทางไปอาสาสมัครให้การผ่าตัดให้เด็กๆชาวคิวบา (เช่น ซ่อมอาการ ปากแหว่ง เพดานโหว่) และช่วยฝึกอบรมแพทย์ชาวคิวบา ในด้านเทคโนโลยี่การผ่าตัดใหม่ๆ มา ๕ ปีแล้ว

แพทย์ชาวคิวบาหลายๆท่าน เช่น คุณหมอคาเรราซกล่าวว่า ประเทศของเขาขาดปัจจัยเรื่องอุุปกรณ์และเทคโนโลยี่สมัยใหม่ก็จริงอยู่ แต่ก็อุดช่องโหว่นั้น ด้วยความเอาใจใส่คนไข้อย่างทั่วถึง ของแพทย์ประจำบ้านที่เข้าถึงประชาชนจริงๆและที่มีจำนวนมาก เฉลี่ยแล้ว ในประชากร ๑๐,๐๐๐ คน จะมีแพทย์ประจำบ้าน ๕๘.๒ คน เทียบกับสหรัฐที่มีแพทย์เพียง ๒๗.๙ คนต่อประชากรจำนวนเท่ากัน ตามสถิติของ Pan American Health Organization

บ๊อบ ชว้อร์ทซ์ ผู้อำนวยการ Disarm Education Fund ซึ่งเป็นกองทุนให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์อนามัยอาสาสมัคร ตั้งอยู่ในนิวยอร์ค ให้ข้อสังเกตว่า ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างหมอกับคนไข้ที่ได้รับการดูแล ช่วยตัดปัญหาที่จะเกิดโรคร้ายแรงตามมาในภายหลังได้มาก เช่น ลดอัตราการสูบบุหรี่ ทารกเกิดมาแข็งแรงสุขภาพดี ช่วยให้ประชากรมีคุณภาพสูง แม้ว่าคิวบาจะขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่ง แต่ระบบสาธารณสุขอนามัย ดีเทียบเท่าหรือดีกว่าที่มีในประเทศเศรษฐีเสียอีก เช่น อายุเฉลี่ยของประชากรอเมริกันเท่ากับ ๗๗ ปี ในขณะที่ของชาวคิวบาเท่ากัน ๗๖ ปี อัตราตายของเด็กแรกเกิด ๖.๔ ต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน ในขณะที่ของอเมริกา มีถึง ๗.๓ ต่อประชากรพันคน และอัตราของเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีนของทั้งสองประเทศก็มีพอๆกัน คือ ๙๕ เปอร์เซ็นต์

ระบบอนามัยของคิวบาเป็นผลมาจากการปฏิรูประบบสาธารณสุขที่ ฟิเดล คาสโตร ได้เริ่มอย่างเอาจริงเอาจังมาตั้งแต่ยึดครองประเทศได้ ในปี คษ ศ ๑๙๕๙ ทุกวันนี้ ระบบสาธารณสุขของคิวบาก็เป็นแบบอย่างให้ศึกษานานาชาติ โดยเฉพาะการอนามัยในชนบท ชุมชนยากจนในเหล่าประเทศละตินอเมริกา ตลอดจนในอัฟริกา ได้อิทธิพลจากแบบอย่างของคิวบา จากการสรุปของศูนย์ศึกษาคิวบาในนิวยอร์ค ประเทศคิวบาส่งแพทย์นับพันๆคนไปทำงานและใช้ชีวิตในต่างประเทศเหล่านี้ และให้การรักษาพยาบาลฟรี เช่นในประเทศ นิคะรากัว เอล ซัลวาดอร์ ฮินดูรัส และ ประเทศอัฟริกาใต้

ในทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ระบบการแพทย์และสาธารณสุขในชนบทของอเมริกา สำหรับชนพื้นเมืองชาวอินเดียน ก็ได้รับอิทธิพลแบบอย่างจากคิวบา มารีโอ กุเทียเรซ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยในชนบทแห่งรัฐคาลิฟอร์เนีย อยู่ห้าปี (ขณะนี้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปทำงานสาธารณสุขระดับรัฐแล้ว) ให้ข้อสังเกต สำนักงานอนามัยในชนบทของอเมริกา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลท้องถิ่น มีลักษณะคล้ายศูนย์กลางของชุมชนมากกว่าที่จะเป็นโรงพยาบาล โดยทางศูนย์ตั้งตัวแทนสาธารณสุขให้ไปรับใช้ประชากรโดยใกล้ชิด เช่น ขับรถพาไปส่งหมอ แวะไปเยี่ยมดูแลที่บ้านหลังการผ่าตัด และกำชับดูแลให้เด็กๆได้รับการฉีดวัคซีนตามเวลา

แพทย์หญิง เดบรา จอห์สัน แพทย์ศัลยกรรมตกแต่งอีกผู้หนึ่ง ซึ่งได้อาสาสมัครไปช่วยเด็กคิวบามาสามปีแล้วกล่าวว่า "ระบบของเค้าก็เป็นคล้ายๆการแพทย์แบบหยิบฉวยเอาของใกล้ตัวมารักษา ชาวคิวบามีความสามารถเป็นเยี่ยม ในการประดิษฐ์สร้างสรรค์อะไรขึ้นมา จากความไม่มีอะไรเลย"

แพทย์ชาวคิวบาอีกท่านหนึ่ง คือ นายแพทย์ เฮนรี วาซเควซ อายุ ๒๗ ปี ดูแลชาวบ้านในความรับผิดชอบประมาณ ๔๘๐ คน อยู่ที่หมู่บ้านเชิงเขาที่เรียกว่า Boquerones เขาไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเอ๊กซเรย์ บางครั้งยังต้องทำยาสมุนไพรใช้เอง จากสวนผักที่ปลูกสมุนไพรใกล้ๆบ้านด้วยซ้ำ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หารถหาราไม่ได้ ก็พาคนไข้ขี่ฬ่่อไปโรงพยาบาลที่อยู่ไกลออกจากหมู่บ้านไป ๔ ไมล์ เมื่อคุณหมอวาซเควซเดินผ่านหมู่บ้านเล็กๆแห่งนี้ ผ่านบ้านห้องแถวหลังคาสังกะสี ต้นมะม่วง และฝูงไก่จิกหาอาหารบนลานดิน เด็กหนุ่มๆก็หยุดทักทาย แม่บ้านโบกมือไหวๆในประตูบ้าน เขาก็หยุดตบหลังชาวบ้านเบาๆเป็นการทักทาย แล้วไต่ถามทุกข์สุขความเจ็บไข้ได้ป่วยที่เคยมี หรืออาจมี

คุณหมอวาซเควซสามารถร่ายสถิติเกี่ยวกับคนไข้ได้อย่างขึ้นใจ - มีคนไข้ ๔๕ คนที่อายูเกิน ๖๐ อีก ๘ คนอ่อนกว่าหนึ่งขวบ ในหมู่บ้านนี้มีเด็กเกิดปีละประมาณ ๒๐ คน และไม่มีคนไข้โรคเอดส์หรือที่ติดเชื้อ HIV คุณหมอบอกว่า เขาชอบให้การดูแลแบบปฐมรักษาแบบนี้ คิดว่าไม่ว่าจะมีเหตุฉุกเฉินเพียงไร ก็จะสามารถรับมือได้ในคลีนิคในหมู่บ้านเล็กๆแห่งนี้ แต่อีกสักสองสามปี ก็อยากหาประสบการณ์ด้านอื่นบ้างที่มันตื่นเต้น เช่น ไปทำงานในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลในเมืองบ้าง "ถ้าผมเลือกที่ยะย้ายไป ผมก็ยังรู้สึกว่า ได้ทำอะไรๆที่มีประโยชน์ต่อชุมชนแห่งนี้ไว้แล้ว" คุณหมอสรุป



745
ใครๆ ก็ประนามกันทั้งนั้นแหละ แม้แต่พวกเสื้อแดงเอง(บางส่วน)
พวกเราจะออกมาประนามพวกเสื้อแดงหรือไม่ เสียงสะท้อนของสังคมก็คงไม่มากไปกว่านี้หรอก
(มันมากมายมหาศาลอยู่แล้ว)

สิ่งที่น่าตำนิ น่าจะเป็นรัฐบาล และกลไกของรัฐ
นอกจากไม่รู้จักป้องกัน (ก็เห็นๆอยู่แล้วแถวนั้นมีรพ.อยู่ ก็ยังปล่อยให้พวกนั้นปิดกั้น
อย่างนี้ คือ ไม่ทำ primary prevention)
แล้วยังไม่รักษาอีก (ถ้าบอกว่าอีกไม่นาน ให้อดทนๆ อีกสักหน่อย
อย่างนี้ก็ delay-treatment)
คอยแต่จะฟื้นฟูเยียวยา (ให้มีผู้เสียหายก่อนแล้วค่อยดำเนินการ
อย่างนี้ rehabilitation ยัีงไงก็ทุพพลภาพ หลงเหลือ deficit มากมาย)

ก็เหมือนปัญหาสาธารณสุขนั่นแหละ รัฐทำอะไรบ้าง
ล้มเหลวตั้งแต่ป้องกัน
แก้ไขก็ไม่เป็น
แล้วเยียวยาก็ไม่เป็นธรรมอีก

นี่แหละภาระกิจของสมาพันธ์ฯ ขยับกันหน่อย ตื่นตัวกันได้หรือยัง

746
โรงงานผลิตสบู่ในญี่ปุ่นประสบปัญหา
เมื่อส่งสินค้าไปแล้วลูกค้าบ่นเรื่องบางกล่อง ไม่มีสบู่ เป็นกล่องเปล่าๆ

ทางโรงงานติดตั้งเครื่อง X-Ray เพื่อตรวจสอบ
ใช้เงินลงทุนไปหลายล้านเยน กล่องไหนไม่มีสบู่ก้อตรวจจับได้
ทำให้สามารถส่งสบู่ที่ไม่มีกล่องเปล่าอีก

แต่โรงงานเล็กๆ อีกโรงประสบปัญหาเดียวกัน
ช่างคุมงานใช้พัดลมตัวใหญ่ๆ เป่าลมบนสายพาน
กล่องเปล่าก็ปลิวออกไป

เมื่อคุณเจอปัญหา ลองเปลี่ยนวิธีคิด
แล้วคุณจะประหลาดใจ

747
อเมริกาส่งนักบินไปในอวกาศเจอปัญหาปากกาเขียนไม่ออก
ไม่สามารถเขียนบันทึกได้
นักวิทยาศาสตร์ระดมปัญญาเพื่อประดิษฐ์ปากกา
ที่สามารถเขียนในภาวะไร้แรงโน้มถ่วงได้
ต้องทุ่มเงินหลายร้อยล้านเหรียญและใช้เวลาไปหลายปี

ในที่สุดได้ปากกาที่สามารถเขียนได้ทุกพื้นผิว
แม้ใต้น้ำก้อเขียนได้
ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง

แต่นักบินอวกาศรัสเซีย ประสบปัญหาเดียวกัน
ใช้ดินสอเขียนแทนปากกา

เมื่อคุณเจอปัญหา ลองเปลี่ยนวิธีคิด
แล้วคุณจะประหลาดใจ


748
20 อย่างที่สุดของชีวิตคนเรา
กวีนิรนาม

1. ศัตรูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนเรา คือ ตัวเอง
คนเราส่วนใหญ่มักนึกว่า คนที่ไม่ดีกับเรา คือศัตรูของเรา
แต่ว่าโดยความเป็นจริงแล้ว ศัตรูที่สำคัญที่สุดไม่ใช่คนอื่น แต่เป็นตัวเราเอง
เพราะว่า ศัตรูนอกกายเรามองเห็นได้ง่าย ง่ายที่จะป้องกัน
แต่สำหรับตัวเองแล้ว ยากที่จะรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้
ยากที่จะบังคับตัวเองได้ ตัวเราไม่สามารถจะห้าม กิเลสและความโลภได้
นิสัย ความโกรธแค้นก็ไม่สามารถระงับได้
เลยกลายมาเป็น ตัวเองเป็นศัตรูกับตัวเอง เที่ยวไปหาเรื่องและนำความเดือดร้อนมาใส่ตัว

2. โรคประจำตัวที่ร้ายแรงที่สุดของเรา คือ ความเห็นแก่ตัว
ร่างกายของ คนเรามีเลือดเนื้อ ย่อมจะหลีกหนีไม่พ้นที่จะ
มีการแก่ ป่วย ตาย แต่ว่าความเจ็บป่วยในใจร้ายแรงกว่า
ความเจ็บป่วยในใจคืออะไร คือความเห็นแก่ตัว เพราะความเห็นแก่ตัวจึงทำให้มีจิตใจคับแคบ
ดังนั้น นอกจากเราจะต้องดูแลรักษาสุขภาพ ไม่ให้เจ็บป่วยแล้ว
ยังต้องรักษาความ เห็นแก่ตัวในใจให้หายด้วย

3. สิ่งที่น่าเศร้าที่สุดของคนเรา คือ ความไม่รู้
คนเราไม่ใช่ไม่มีทรัพย์สินเงินทอง ไม่มีอำนาจวาสนา
ไม่ มีงานทำ แต่เป็นความไม่รู้ ไม่เข้าใจความเป็นจริงของโลก
ไม่รู้ว่าสิ่ง ต่างๆในโลก ล้วนเกิดจากเหตุและปัจจัย มีเหตุต้นผลกรรม

4. สิ่งที่ผิดพลาดที่สุดในชีวิตของคนเรา คือ การมีมุมมองที่ผิด
คนเรา เมื่อทำความผิดแล้ว หากเป็นความผิดพลาดเรื่องงาน ยังทำการแก้ไขได้
มุม มองที่ผิด ความคิดที่ผิด ไม่แต่ไม่รู้จักแก้ไขให้ถูก แต่ยังคิดว่าตัวเองคิดถูกทำถูก
นี่เป็นสิ่งที่คนในสังคมยุคปัจจุบันเป็น กันมากที่สุด เป็นเรื่องที่น่ากลัวจริงๆ

5. ความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ของคนเรา คือ ความเย่อหยิ่ง
ดังคำที่ว่า “ความอ่อนน้อมถ่อมตนมักจะนำผลประโยชน์มาให้ แต่ความเย่อหยิ่งจองหองมักจะนำโทษมาให้”
คนเราไปไหนหากนึกแต่ว่าตัวเอง เก่ง ตัวเองเลอเลิศ
ไม่ว่าจะไปที่ไหน ย่อมไม่ได้การต้อนรับจากที่นั่น
ดัง นั้นความเย่อหยิ่ง จองหอง จึงเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่

6. สิ่งที่ทำให้เราทุกข์กังวลที่สุดในชีวิตของ คือ กิเลส
มีคนบอกว่า โลกของเราเต็มไปด้วยความทุกข์ เศร้า กังวล
อะไรคือความทุกข์ที่สุดหรือ? บางคนบอกว่า ปากท้อง บางคนบอกว่าความรัก
แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่ทำให้เราทุกข์กังวลมากที่สุดคือ กิเลส
ทรัพย์สินเงินทอง รูปร่างหน้าตา อาหารการกิน ลาภยศ วาสนา
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เรา อยากมี อยากเป็น เมื่ออยากได้ไม่รู้จักพอ
ย่อมเกิดความทุกข์กังวล จึงเป็นเหตุให้เราทุกข์ไม่มีสิ้นสุด

7. สิ่งที่ทำให้เราไม่รู้ที่สุด คือ ความโกรธแค้น
ไม่รู้คือความไม่ เข้าใจในเหตุผลต่างๆ เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่สมหวัง
ดังใจ ก็โกรธ เพ่งโทษผู้อื่น โกรธเคืองฟ้าดิน
แม้แต่แม้กับคนในครอบครัว สังคม หรือประเทศชาติ
หรือขณะที่เคืองแค้นก็ขว้างปา ทำลายสิ่งของของตัวเอง
นี่ คือความไม่รู้ที่สุดของคนเรา ไม่เคยโทษตัวเอง ได้แต่โทษผู้อื่น

8. สิ่งที่คนเราเป็นห่วงกังวลที่สุด คือ ความเป็นความตาย
ยังมีชีวิต อยู่ก็ชิงดีชิงเด่น อยากมีชื่อเสียง กลั่นแกล้งผู้อื่น
ครั้นเมื่อ อนิจจังมาถึง ก็กลัว หน้าที่การงาน ทรัพย์สมบัติ
ความรัก จะหายไปในชั่วพริบตา ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นหรือตาย
ก็เป็นห่วงกังวลได้ทุก ขณะ

9. ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนเรา คือ การไปทำร้ายผู้อื่น
ทำลายชีวิตของผู้อื่น ทำลายชื่อเสียง ขโมย หรือล่วงละเมิดทางเพศ
หรือทำสิ่งไม่ดีต่างๆนานา

10. สิ่งที่ลำบากใจที่สุดในชีวิตของคนเรา คือ ถูกผิด
มีคนพูดว่าอยู่ที่ ไหนก็ต้องมีถูกผิด ถูกหรือผิด
สร้างความลำบากใจให้เราได้ไม่มากก็น้อย ความถูกผิดมีได้ทุกที่
หากเราไม่ไปฟังเรื่องราวของผู้อื่น ก็ย่อมจะไม่เกิดอะไรขึ้น
เพียงแต่เราไม่ไปฟังเรื่องราวของผู้อื่น ไม่ไปต่อความยาวสาวความยืดของผู้อื่น
ก็ไม่ต้องนำความลำบากใจให้กับตนเอง
จึงเป็นความพ่าย แพ้ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของคนเรา

11. คุณธรรมอันดีงามที่สุดของคนเรา คือ ความเมตตา
ความดีงามของคนเราไม่ ได้อยู่ที่ความสวยงาม
การมีทรัพย์สินมากมาย มีความสามารถล้นเหลือ
ดัง นั้นยอมที่จะเป็นคนไม่มีความสามารถอะไร
ไม่มีการศึกษา แต่จะไม่ยอมให้ขาดความเมตตา
เพราะความเมตตา คือ คุณธรรมอันแท้จริง

12. ความกล้าหาญที่สุดของคนเรา คือ กล้ายอมรับผิด
คนเราต้องมีความกล้า ความกล้าไม่ใช่กล้าชกต่อยกับผู้อื่น
และก็ไม่ใช่ไปชิงดีชิงเด่นกับผู้ อื่น เอาชนะคะคานกับผู้อื่น
แต่เป็นการรู้สำนึกว่าบางสิ่งตัวเองไม่ควร พูด ไม่ควรทำอย่างนั้น
ไม่ควรไปขัดขวางอย่างนี้ คนที่สามารถรู้สำนึกว่าตัวเองผิด
จึงจะเป็นผู้กล้าหาญที่สุด

13. รายรับที่มากที่สุดของคนเรา คือ ความรู้จักพอ
ทุกๆคนก็หวังแต่จะ ให้ตัวเองได้ ตัวเองประสบผลสำเร็จ ได้รับผลประโยชน์
หากไม่รู้จักพอ แม้จะนอนอยู่บนวิมาน กับเหมือนกับนอนอยู่ในนรก
หากรู้จักพออยู่ในนรก ก็เหมือนกับอยู่บนวิมาน
ดังนั้นความรู้จักพอจึงเป็น เป็นรายรับที่มากที่สุด

14. การบุกเบิกทรัพยากรที่มีอยู่ของตัวเองที่มีค่ามากที่สุด คือความศรัทธา
ใครๆ ก็พูดกันว่า ต้องบุกเบิกทรัพยากรมาใช้
ทรัพยากรนั้นไม่ได้หมายถึง สินแร่ในป่า สิ่งล้ำค่าในทะเล และก็ไม่ใช่ก๊าซธรรมชาติ
แต่ในความศรัทธา มีทรัพย์สิน มีคุณธรรม มีสิ่งล้ำค่า

15. สิ่งที่คนเราควรมีให้มากที่สุด คือ ความรู้สำนึกในบุญคุณของผู้อื่น
คน ประเภทไหนร่ำรวยที่สุด คนประเภทไหนยากจนที่สุด
คนยากจนคือคนที่อยากจะ ได้อยู่ร่ำไป คนมั่งมีคือคนที่มีแต่ความรู้สึกขอบคุณ
และคิดแต่จะเจือจาน ช่วยเหลือผู้อื่น
ดังนั้น ผู้ที่มีความรู้สึกสำนึกในบุญคุณ ถนอมสิ่งที่ตนมีอยู่ จึงเป็นผู้ที่มีมากที่สุด

16 . สิ่งที่ควรบ่มเพาะให้มีมากที่สุด คือ ความใจกว้าง
ทุกคนก็หวังจะให้ ตัวเองเป็นผู้มีการศึกษาอบรม
ดังมีคำกล่าวว่า “ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความนุ่มนวล แต่จะต้องเคร่งครัดต่อตัวเอง”
คน อื่นจะปฏิบัติต่อเราดีหรือไม่ เราก็สามารถเข้าใจ
และยอมรับได้ นี่คือสิ่งที่ควรบ่มเพาะให้มีมากที่สุด

17. ต้นทุนที่มากที่สุดของคนเรา คือ ศักดิ์ศรี
คนจะเป็นคนได้ต้องมี ศักดิ์ศรี ก็เพราะว่าคนเรามีศักดิ์ศรี
ด้วยเหตุนี้อะไรก็เสียสละได้ แต่ว่าเมื่อผ่านการบีบคั้นของ
ความเสียสละก็ยังคงเหลือศักดิ์ศรีไว้ ดังนั้นสำหรับศักดิ์ศรีความ
เป็นคนของทุกคนจึงต้องให้ความสำคัญ และรักษามันไว้

18. ความปลื้มปีติที่มากที่สุดของคนเรา คือ ความสุขจากรสพระธรรม
คนส่วนใหญ่มักจะหาความสุขจากสิ่งล่อที่เป็น กิเลสและวัตถุ
เช่นจากคำชมเชยเพียงคำเดียว ก็เป็นปลื้มไปเสียครึ่งวัน
แต่ ความสุขจากคำชมเชยเดี๋ยวเดียวก็ผ่านไปแล้ว
ความสุขที่ได้จากการมี ทรัพย์สิน แต่ว่าทรัพย์สินก็เหมือนสายน้ำไหล ชั่วประเดี๋ยวก็ใช้หมดแล้ว
ความ สุขที่ได้จากการท่องเที่ยว แต่ว่าพันลี้หมื่นลี้กระพริบตาผ่านไป ความสุขก็ผ่านไป
มีความปลื้มปีติเพียงสิ่งเดียวที่จะยังอยู่ตลอดไปคือ ความสุขจากรสพระธรรม
ปีติสุขจากธัมมะ ได้จาก ปัญญา ตัวรู้ และการภาวนา
เป็น สิ่งที่สามารถมีได้ตลอดชีวิต ไม่สูญสลายตลอดไป

19. ความหวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนเรา คือ ความปลอดภัย
ทรัพย์สินเงิน ทองและเกียรติยศ เป็นสิ่งที่คนปรารถนาอยากมีมากที่สุด
แต่ว่าเมื่อได้ ทรัพย์สินและชื่อเสียงแล้ว ก็ขาดความปลอดภัย
ชีวิตอย่างนี้ย่อมไม่มี ความหมาย ดังที่กล่าวว่า
ความปลอดภัย สงบสุขคือวาสนา

20 . สิ่งที่ควรจะสร้างให้มีมากที่สุด คือ เพื่อประโยชน์สุขของมวลชน
ประโยชน์ สุขของมวลชนได้จาก เมตตาจิต ความมีน้ำใจที่ดีงาม
เช่นพูดในสิ่งที่มี ประโยชน์ให้กับทุกคน
ทำในสิ่งที่มีประโยชน์ให้กับทุกคน
จะสร้างถนน หรือสร้างสะพาน ขอเพียงให้เป็นประโยชน์กับทุกคน
ตัวเองก็ยินดีที่จะเสีย สละแรงงานและแรงใจที่จะไปช่วย

749
น่าเสียดาย ที่เรามีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
         แต่ เรากลับศรัทธาไสยศาสตร์หัวปักหัวปำ   
 น่า เสียดาย ที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่แสนดี
         แต่ เรากลับมีคนโกงกินเต็มบ้านเต็มเมือง   
น่าเสียดาย ที่เรามีวัดอยู่เกือบทุกหมู่บ้าน/ตำบล
         แต่ เรากลับมากด้วยคนขาดจริยธรรมอยู่ทั่วไป
น่าเสียดาย ที่เราสถาปนาประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475
         แต่ เรากลับมีปฏิวัติ/รัฐประหารมาแล้ว 14 ครั้ง   
   น่าเสียดาย ที่เรามีมหาวิทยาลัยมากมายติดอันดับโลก
         แต่ เรากลับโชคร้ายที่คนไทยชอบดูดวงบวงสรวงเทพยดา 
น่าเสียดาย ที่เรามีป่าไม้-แม่น้ำ-ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
         แต่ เรากลับเทิดทูนการทำลายแทนการรักษา   
น่าเสียดาย ที่เรามีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
         แต่ เรากลับเก่ง "การลอกเลียนแบบ" เป็นที่สุด
น่าเสียดาย ที่เรามีสื่อมวลชนมากมายไร้พรมแดน
         แต่ เจ็บปวดเหลือแสนเมื่อสื่อมวลชนมุ่งแต่การขายสินค้า 
น่าเสียดาย ที่เรามีกฎหมาย
         แต่ เรากลับปล่อยให้มี การใช้กฎหมู่จนเป็นเรื่องธรรมดา  
น่าเสียดาย ที่เรามีหนังสือมากมายหลายพันเล่มในห้องสมุด
         แต่ สถิติสูงสุดคือเราอ่านหนังสือกันปีละ 8 บรรทัด 
น่าเสียดาย ที่เรามีอินเทอร์เน็ตใช้ก่อนประเทศในโลกที่สาม
         แต่ เรากลับเสื่อมทรามเพราะใช้ส่งภาพถ่ายคลิปโป๊   
น่าเสียดาย ที่เรามีโทรทัศน์หลายสิบช่อง
         แต่ เรากลับจ้องจะดูแต่ละครน้ำเน่า   
น่าเสียดาย ที่เรามีพ่อแม่อยู่ในบ้าน
         แต่ เรากลับปล่อยให้ท่านอยู่อย่างเปลี่ยวเหงา
น่าเสียดาย ที่เราสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้
         แต่ เรากลับชอบใจที่จะเป็นคนเลวตลอดกาล   
น่า เสียดาย ที่เราเป็นอิสระจากความอยากได้
         แต่ เรากลับพึงใจอยู่กับการสนองความอยาก
น่าเสียดาย ที่เราบรรลุนิพพานได้ในชาตินี้
         แต่ เรากลับยินดีอยู่แค่การทำบุญให้ทาน



750
คำทำนายที่เคยมีช้านานนัก               เริ่มประจักษ์ให้เห็นเร้นไม่ได้
หลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยทำนาย            เมื่อถึงปลายรัชกาลผ่านเข้ามา

ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง       น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า
พวกกาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา               เป็นประชาจนเต็มพระนคร

ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน             ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุก สิงขร
ออกพระนามลือ ชื่อดั่งทินกร              องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน

ชาวประชาจะปิติยิ้มสดใส                 แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น
จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน                 เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสม จินตนา

จะมีการต่อ ตีกันกลางเมือง                ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า
คอรัปชั่นจะกัดกร่อนทั้งพารา              ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร

ข้าราชการ ตงฉินถูกประณาม              สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้
เกิดวิกฤติผิดเพี้ยนโดยทั่วไป               โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี

ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว                 ถ้วนทุกทั่วจะหมุดขุดรู หนี
ไม่แน่ใจสิ่ง ที่ทำนำความดี                 เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน

พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ                  มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ
เกิดวิกฤติธรรมชาติอุบาทว์ครัน            พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย

แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก    เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำ ระสาย
เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย            เลือดเป็นสายน้ำตานองสอง แผ่นดิน

ข้าเป็นนายนายเป็นข้าน่าสมเพช           ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น
ทั้งพฤฒาอาจารย์ลือระบิล                  จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสาย ลม

ความระทมจะถมทับนับเทวศ              ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม
คนที่ดีจะก้ม หน้าสุดระทม                  ส่วนคนชั่วหัวร่อร่าทำท่าดัง

จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว              ควงคฑามุ่งสู่ดาวสร้าง ความหวัง
ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง              สายน้ำหลั่งกรากเชี่ยวหวาดเสียวใจ

ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม                    หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืน ได้
จะเข้าสู่ ยุคมหาชนพาไป                    เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา

คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น     แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา
ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา         ยามเมื่อฟ้าศรีทองผ่องอำไพ...   


หน้า: 1 ... 48 49 [50] 51