แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - pani

หน้า: 1 ... 47 48 [49] 50 51
721

ตอนที่แอนดรูว์ สแตนตัน คิดสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันสำหรับเด็ก ซึ่งเค้าโครงเรื่องเกิดขึ้นในมหาสมุทร อีกทั้งยังซื่อตรงต่อ “กฎธรรมชาติอย่างแท้จริง”  เขามองหาปลาที่เหมาะจะรับบทเป็นตัวเอกของเรื่องด้วยการเปิดหนังสือภาพเล่มโตเกี่ยวกับชีวิตในท้องทะเลเล่มแล้วเล่มเล่า กระทั่งมาสะดุดตากับภาพปลาสองตัวที่เยี่ยมหน้ามองออกมาจากดอกไม้ทะเล ภาพปลาในแหล่งซ่อนตัวตามธรรมชาติสื่อถึงปริศนาแห่งมหาสมุทรที่เขาต้องการถ่ายทอดได้อย่างยอดเยี่ยม “และในฐานะผู้ให้ความบันเทิงแล้ว การที่พวกมันมีชื่อว่า ปลาการ์ตูน (clownfish) ก็ยิ่งสมบูรณ์แบบครับ” สแตนตันเล่า    

และแล้วดาวจรัสแสงก็ถือกำเนิดขึ้น นีโม ปลาเล็กหัวใจโต๊...โต (Finding Nemo) ภาพยนตร์ของบริษัทพิกซาร์ ที่สแตนตันเป็นผู้กำกับและเขียนบท  ได้รับรางวัลออสการ์ประจำปี 2003  สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม  ปลาน้อย      นีโมซึ่งเป็นปลาการ์ตูนชนิด Amphiprion percula แนะนำให้เด็กๆหลายล้านคนทั่วโลกได้รู้จักกับระบบนิเวศเขตร้อน        อันแสนมหัศจรรย์  นั่นคือแนวปะการังและเหล่าผู้อาศัย

ปลาการ์ตูนได้ชื่อมาจากสีสันฉูดฉาดบนลำตัว (มีตั้งแต่สีน้ำตาลอมม่วงเข้ม ไปจนถึงสีส้มสดใส สีแดง และสีเหลือง) และมักจะตัดด้วยแถบสีขาวหรือดำ  ปลาการ์ตูน 29 ชนิดอาศัยอยู่ท่ามกลางแนวปะการัง  ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออกไปจนถึงเฟรนช์โปลินีเซีย และจากญี่ปุ่นจรดชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย โดยมีความหลากหลายมากที่สุดบริเวณชายฝั่งด้านทิศเหนือของเกาะนิวกินีในทะเลบิสมาร์ก  ในการเดินทางไปดำน้ำที่ฟิจิเมื่อไม่นานมานี้ เจอรัลด์ อัลเลน  ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลาการ์ตูนคนหนึ่งของโลก  ค้นพบปลาการ์ตูนชนิดที่ยี่สิบเก้า คือ Amphiprion barberi  นั่นช่วยเพิ่มสถิติปลาการ์ตูนที่เขาค้นพบมาตลอดชีวิตรวมแล้วมากถึง 7 ชนิด

ในหมู่นักวิทยาศาสตร์และนักเลงปลาตู้ทั่วโลก ปลาการ์ตูนยังเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ปลาดอกไม้ทะเล (anemonefish) เนื่องจากพวกมันไม่อาจอยู่รอดได้หากปราศจากดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นเจ้าบ้านผู้ให้แหล่งพักพิง หนวดที่มีเข็มพิษของดอกไม้ทะเลช่วยปกป้องปลาการ์ตูนและไข่ที่กำลังพัฒนาจากนักล่าผู้รุกราน  ทว่าในจำนวนดอกไม้ทะเลราว 1,000 ชนิด      มีเพียงสิบชนิดเท่านั้นที่เป็นแหล่งอาศัยของปลาการ์ตูน  ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปลาการ์ตูนหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกเข็มพิษของดอกไม้ทะเลทำร้ายได้อย่างไร  แต่เป็นไปได้ว่าชั้นเมือกซึ่งปลาการ์ตูนอาจสร้างขึ้นหลังจากได้สัมผัสหนวดดอกไม้ทะเลในครั้งแรกๆ อาจช่วยปกป้องพวกมัน  อัลเลนอธิบายว่า  “เมือกพิเศษนี่เองครับที่ยับยั้งดอกไม้ทะเลไม่ให้ขับเซลล์เข็มพิษออกมา ถ้าคุณเคยเฝ้าดูปลาการ์ตูนตัวเล็กๆหน้าใหม่เข้าหาดอกไม้ทะเลแล้วละก็  คุณจะเห็นว่ามันค่อยๆสัมผัสดอกไม้ทะเลเพื่อหยั่งเชิงดูก่อน  ที่ทำเช่นนั้นก็เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการทางเคมีที่ว่านี้” ดังนั้น ปลาการ์ตูนที่มีเกราะป้องกันตัวจึงกลายเป็นส่วนเสริมของดอกไม้ทะเล โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องป้องกันอีกชั้นหนึ่งและคอยกันพวกปลากินดอกไม้ทะเลอย่างปลาผีเสื้อไม่ให้เข้ามากล้ำกราย  

                ปลาการ์ตูนใช้ชีวิตทั้งชีวิตวนเวียนอยู่กับดอกไม้ทะเลที่มันอาศัยพักพิง และแทบไม่ออกห่างเกินกว่า 2-3 เมตร พวกมันวางไข่ประมาณเดือนละสองครั้งบนพื้นผิวแข็งๆที่อยู่ใกล้ที่สุดซึ่งมีฐานของดอกไม้ทะเลปกปิดไว้ และจะคอยพิทักษ์ตัวอ่อนที่กำลังพัฒนาเหล่านี้อย่างเด็ดเดี่ยว  หลังฟักออกจากไข่ได้ไม่นาน  ตัวอ่อนโปร่งใสขนาดกระจิ๋วหลิวของปลาการ์ตูนจะล่องลอยอยู่ใกล้ผิวน้ำเป็นเวลาหนึ่งถึงสองสัปดาห์  จากนั้นจึงกลายร่างเป็นปลาการ์ตูนตัวจิ๋วขนาดยาวไม่ถึงหนึ่งเซนติเมตรและว่ายลงไปยังแนวปะการัง  ในระยะนี้  ถ้าปลาวัยเยาว์หาดอกไม้ทะเลไม่พบและไม่สามารถปรับตัวให้ชินกับชีวิตใหม่ภายในหนึ่งถึงสองวันมันจะพบจุดจบในที่สุด

ปลาการ์ตูนชนิดเดียวกันราวสิบกว่าตัว  ซึ่งมีตั้งแต่ปลาวัยกระเตาะไปจนถึงปลาโตเต็มวัยความยาวถึง 15 เซนติเมตร สามารถอยู่ร่วมกันในดอกไม้ทะเลตัวเดียวกันได้ (อัลเลนเคยพบปลามากถึง 30 ตัวในดอกไม้ทะเลชนิด Stichodactyla haddoni) ปลาการ์ตูนจะแหวกว่ายไปรอบๆดอกไม้ทะเลอันเป็นถิ่นพำนักของมันและไล่กินแพลงก์ตอน สาหร่าย รวมทั้งสิ่งมีชีวิตกระจิริดอย่างโคพีพอด และมักจะซ่อนตัวอยู่ตามซอกหลืบของดอกไม้ทะเลเพื่อกินอาหารที่มีขนาดใหญ่กว่า ในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติซึ่งมีศัตรูอย่างปลากะรังและปลาไหลมอเรย์คอยคุกคาม ปลาการ์ตูนแทบไม่มีโอกาสอยู่รอดเกิน 7-10 ปี แต่ในสถานเพาะเลี้ยงที่ปลอดภัย พวกมันอาจมีชีวิตยืนยาวกว่านั้นมาก

ในหมู่ปลาการ์ตูนที่ครอบครองดอกไม้ทะเลร่วมกันมีการจัดลำดับชั้นอย่างเคร่งครัด โดยจะมีปลาเพียงคู่เดียวเท่านั้นที่มีอำนาจปกครอง  จ่าฝูงเพศเมียถือว่าใหญ่สุดใน “ครอบครัว” ตามมาด้วยคู่ของมันและปลาวัยเยาว์ตัวอื่นๆ  คู่ผัวตัวเมียที่เป็นใหญ่จะรักษาอำนาจของพวกมันโดยการไล่กวดปลาวัยกระเตาะ เพื่อสร้างความกดดันและลดเรี่ยวแรงในการออกหาอาหารของฝ่ายหลัง  “โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์   ปลาคู่จ่าฝูงจะยิ่งไล่กวดกันมากขึ้นครับ”  อัลเลน เล่า ปลาตัวเมียจะคอยเตือนตัวผู้ว่าใครกันแน่ที่เป็นใหญ่ด้วยการงับครีบเข้าให้เป็นครั้งคราว

ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง (reef fish) หลายชนิดมีความสามารถในการเปลี่ยนจากเพศหนึ่งไปเป็นอีกเพศหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจากเพศเมียเป็นเพศผู้  อย่างเช่นปลานกขุนทองและปลานกแก้ว แต่ปลาการ์ตูนเป็นปลาหนึ่งในไม่กี่ชนิดเท่าที่ทราบที่เปลี่ยนจากเพศผู้เป็นเพศเมีย  เพราะถ้าปลาเพศเมียที่เป็นจ่าฝูงตายไป  ปลาเพศผู้ที่เป็นใหญ่จะกลายเป็นจ่าฝูงเพศเมียแทน  และปลารุ่นเยาว์ตัวใหญ่ที่สุดก็ขึ้นมารับตำแหน่งปลาเพศผู้ที่เป็นใหญ่ไปโดยปริยาย  ยังไม่มีใครเคยระบุ   ฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนเพศ (sexual plasticity) ดังกล่าว  อัลเลนบอกว่า “นี่เป็นกลยุทธ์การปรับตัวที่เยี่ยมยอดเพื่อให้แน่ใจได้ว่าชนิดพันธุ์ของพวกมันจะคงอยู่ตลอดไป”

ในตอนแรกความหวาดกลัวแพร่สะพัดไปทั่ววงการอุตสาหกรรมเลี้ยงปลาตู้ว่า โครงเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเชิงลบอย่างรุนแรง ทั้งนี้เพราะเจ้านีโมถูกจับมาจากแหล่งที่อยู่ในธรรมชาติและถูกนำไปเลี้ยงไว้ในตู้ปลาที่ร้านหมอฟัน ขณะที่พ่อของเจ้าปลาน้อยต้องใช้เวลาตลอดทั้งเรื่องในการทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยลูกออกมา แต่กระแสหนังเรื่องนี้ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงและขายส่งปลาสวยงามหันมาเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดมากขึ้น เนื่องจากวิธีการจับปลาจากแหล่งธรรมชาติที่มีต้นทุนถูกกว่าการเพาะเลี้ยง กำลังทำลายแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตที่ได้อาศัยพักพิงพวกมัน ภาพยนตร์เรื่อง นีโม จึงมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการเพาะและขยายพันธุ์ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังในสถานเพาะเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น                                                                                                                                                  
                แม้อัลเลนจะได้พบเห็นและรับรู้ถึงความเสื่อมโทรมของแนวปะการังตลอดอายุการทำงานนาน 40 ปี แต่เขา     กลับพบว่าในบางพื้นที่นั้น “มีความหวังอย่างไม่น่าเชื่อครับ แนวปะการังหลายแห่งอยู่ในสภาพเกือบจะบริสุทธิ์และ   สมบูรณ์มาก” ในฐานะที่ปรึกษาขององค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนานาชาติ  สิ่งที่อัลเลนให้ความสนใจในปัจจุบันคือ “การระบุพื้นที่เหล่านั้นและช่วยรักษาพวกมันไว้ก่อนจะสายเกินไป”

 มกราคม 2553

722

ในฤดูร้อนปี 2008 จระเข้พันธุ์อเมริกันตัวหนึ่งได้ออกเดินทางจากอ่าวบิสเคย์นในรัฐฟลอริดา โดยว่ายน้ำไปตามคลองที่เรียงรายไปด้วยเรือยอชต์  ก่อน จะมายึดหัวหาดที่มหาวิทยาลัยไมแอมี บางครั้งมันจะพักจากการอาบแดดบนชายฝั่งทะเลสาบโอซีโอลาเพื่อไปหาเต่ากินเป็น อาหาร

นี่ไม่ใช่จระเข้ตัวแรกที่ปรากฏโฉมในมหาวิทยาลัย  แต่ เจ้าตัวนี้กลับโด่งดังที่สุด ผู้คนเริ่มเรียกมันว่า ดอนนา ตามชื่อ อธิการบดีมหาวิทยาลัยและอดีตรัฐมนตรี ดอนนา ชาลาลา แม้จะมารู้ทีหลังว่ามันเป็นจระเข้เพศผู้ก็ตาม

จนเช้าตรู่ของวันที่ 1 ตุลาคม ปี 2008 ใครบางคนได้ฆ่าดอนนา ซึ่งไม่เพียงเป็นการกระทำที่สร้างความเดือดดาลให้เหล่านักศึกษาและคณาจารย์ แต่ยังเป็นการละเมิดกฎหมายทั้งของรัฐและรัฐบาลกลาง ทั้งนี้เพราะกฎหมายของรัฐฟลอริดาถือว่าจระเข้พันธุ์อเมริกันเป็นสัตว์ที่ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และรัฐบัญญัติของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกฎหมายระดับประเทศ ก็จัดให้เป็นสัตว์ที่ถูกคุกคาม

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับดอนนาอาจเป็นอุทาหรณ์ที่สะท้อนชะตากรรม ของสัตว์จำพวกจระเข้ (crocodilian) เท่าที่เรารู้จักทั้งหมด 23 ชนิดในโลก ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นเครือญาติกัน ได้แก่ จระเข้ (crocodile) อัลลิเกเตอร์ (alligator) เคแมน (caiman) และตะโขงหรือกาเรียล (gharial) หลังจากยืนหยัดผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้วสารพัดนับเนื่องได้หลายล้านปี พวกมันก็ต้องเผชิญกับภัยคุกคามอย่างใหม่ที่ท้าทายต่อความอยู่รอด ซึ่งก็คือมนุษย์เรานั่นเอง

ในช่วงทศวรรษ 1970 ประชากรจระเข้ในฟลอริดาอาจลดลงจนเหลือน้อยกว่า 400 ตัว เนื่องจากจำนวนประชากรของรัฐที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา  ผลักไสให้พวกมันต้องออกจากถิ่นอาศัยในพื้นที่อ่าว น้ำเค็มส่วนใหญ่ที่ได้รับการคุ้มครอง มีอยู่ไม่น้อยที่ถูกลักลอบฆ่าเพื่อเอาหนัง นำไปสตัฟฟ์เพื่อตั้งโชว์ในพิพิธภัณฑ์ หรือถูกจับเป็นเพื่อนำไปจัดแสดง หลายปีนับจากนั้น มาตรการอนุรักษ์ต่างๆได้ช่วยให้ประชากรจระเข้ในฟลอริดาฟื้นตัวขึ้น โดยปัจจุบันอาจมีประมาณ 2,000 ตัว สตีฟ เคลตต์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติคร็อกโคไดล์เลก (Crocodile Lake National Wildlife Refuge) ในฟลอริดา กล่าวว่า “การจัดการปัญหาเรื่องจระเข้ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนเลยครับ ถ้าคุณปกป้องถิ่นอาศัยของพวกมันและดูแลไม่ให้ถูกไล่ล่าได้ พวกมันก็จะเพิ่มจำนวนขึ้น แต่ปัญหาข้อใหญ่ตอนนี้คือ ถิ่นกระจายพันธุ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด ถ้าพวกมันครอบครองถิ่นอาศัยที่มีอยู่จนหมด แล้วทีนี้พวกมันจะไปอยู่ที่ไหนกันล่ะครับ”

ในกรณีของดอนนา คำตอบคือเข้าไปอยู่ในเมืองซึ่งเป็นที่ที่มันไม่ควรเข้าไปอยู่แต่แรก เว้นเสียแต่ว่าไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้

สัตว์จำพวกจระเข้ในปัจจุบันคือผู้รอดชีวิตจากยุคไดโนเสาร์ เป็นคำกล่าวที่เรามักได้ยินเสมอ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็จริงในระดับหนึ่ง จระเข้ที่เรารู้จักในปัจจุบันอยู่บนโลกมานานร่วม 80 ล้านปีแล้ว แต่พวกมันเป็นเพียงตัวอย่างกลุ่มเล็กๆของเครือญาติสัตว์จำพวกจระเข้ที่เคย ท่องไปทั่ว และถ้าจะให้ถูกคงต้องพูดว่า เคยครองผืนพิภพแห่งนี้ด้วย

ครูโรทาร์ซาน (Crurotarsan – ศัพท์ที่นักบรรพชีวินวิทยาใช้เรียกเครือญาติจระเข้ทั้งหมด) ปรากฏขึ้นบนโลกเมื่อราว 240 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับไดโนเสาร์ในยุคไทรแอสซิก บรรพบุรุษจระเข้วิวัฒน์สายพันธุ์เป็นสัตว์บกหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่สัตว์ขายาวหุ่นเพรียวลมรูปร่างคล้ายหมาป่า ไปจนถึงนักล่าขนาดใหญ่ยักษ์ผู้น่าพรั่นพรึงที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร บางชนิดเช่นเจ้าตัวที่เรียกว่า เอฟฟิเกีย (Effigia) เป็นสัตว์เดินสองขาอย่างน้อยก็ในบางช่วงบางเวลาและน่าจะเป็น สัตว์กินพืช ในสมัยนั้นครูโรทาร์ซานครองความเป็นเจ้าเหนือผืนดิน

ทว่าในช่วงปลายยุคไทรแอสซิกเมื่อราว 200 ล้านปีก่อน มหันตภัยอย่างหนึ่งที่เรายังไม่รู้แน่ชัดได้กวาดล้างเผ่าพันธุ์ครูโรทาร์ซาน ไปจนแทบหมดสิ้น เมื่อไร้คู่ต่อกร ไดโนเสาร์จึงผงาดขึ้นครองพิภพแทน ในช่วงเวลาเดียวกัน นักล่าขนาดใหญ่ยักษ์ซึ่งว่ายน้ำได้เก่งกาจอย่างเพลซิโอซอร์ (plesiosaur) ก็วิวัฒน์ขึ้นในมหาสมุทร เผ่าพันธุ์จระเข้ที่เหลือรอดค่อยๆพัฒนาไปสู่รูปร่างใหม่ที่หลากหลาย แต่สุดท้าย พวกมันก็ได้พักพิงในถิ่นที่อยู่ซึ่งพอจะอาศัยอยู่ได้เท่านั้น อันได้แก่แม่น้ำลำคลองและหนองบึง เฉกเช่นเดียวกับลูกหลานของพวกมันในปัจจุบัน

ถิ่นอาศัยที่จำกัดอาจปิดกั้นโอกาสในการวิวัฒน์ตัวเองของสิ่งมี ชีวิต แต่ขณะเดียวกันก็อาจช่วยให้พวกมันมีชีวิตรอดได้ จระเข้หลายชนิดเอาตัวรอดจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคครีเทเชียส-เทอร์เชีย รี (Cretaceous-Tertiary: K-T) เมื่อ 65 ล้านปีก่อนมาได้ ตอนที่ดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ (ยกเว้นนก ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นไดโนเสาร์ยุคใหม่ไปแล้ว) และขยายวงกว้างไปถึงสิ่งมีชีวิตบนบกและในทะเลชนิดอื่นๆด้วย ไม่มีใครรู้ว่าเพราะเหตุใดจระเข้จึงมีชีวิตรอดขณะที่สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ ปลาสนาการไป แต่ถิ่นอาศัยน้ำจืดของพวกมันเป็นคำอธิบายประการหนึ่ง กล่าวคือโดยทั่วไปสัตว์น้ำจืดมีแนวโน้มปรับตัวได้ดีกว่าสัตว์ทะเลหลังเกิด เหตุการณ์ในครั้งนั้น โดยเฉพาะเมื่อฝ่ายหลังสูญเสียถิ่นอาศัยบริเวณน้ำตื้นไปเป็นบริเวณกว้างหลัง ระดับทะเลลดลง นอกจากนี้ ความที่จระเข้สามารถกินอาหารได้หลากหลาย และคุณสมบัติของสัตว์เลือดเย็นที่ช่วยให้พวกมันดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานาน แม้จะกินอาหารเพียงน้อยนิด ก็อาจมีส่วนช่วยเช่นกัน

ในเมื่อไดโนเสาร์เจ้าปฐพีและอสุรกายแห่งห้วงสมุทรพากันล้มหายตาย จากจนแทบหมดสิ้น แล้วเพราะเหตุใดจระเข้จึงไม่ครองโลกอย่างเบ็ดเสร็จในท้ายที่สุดเล่า คำตอบคือเมื่อถึงตอนนั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็เริ่มวิวัฒน์สู่ความยิ่งใหญ่ บนพื้นพิภพแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป เผ่าพันธุ์อันหลากหลายส่วนใหญ่ของจระเข้ก็ค่อยๆปลาสนาการไป เหลือเพียงพวกที่มีรูปร่างเตี้ยม่อต้อและขาสั้นที่เราคุ้นเคย

“แนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปในการอนุรักษ์ สัตว์จำพวกจระเข้ในระยะหลังคือ การล่าที่ผิดกฎหมายเพื่อเอาหนังลดลงครับ” จอห์น ทอร์บจาร์นาร์สัน จากสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า และผู้เชี่ยวชาญด้านจระเข้ชั้นแนวหน้า ให้ความเห็นสิ่งที่มาแทนที่คือการเพาะเลี้ยงที่มีการจัดการอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งช่วยให้จระเข้บางสายพันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้น

จระเข้อย่างอัลลิเกเตอร์พันธุ์จีนและจระเข้พันธุ์ฟิลิปปิน แทบจะพูดได้เลยว่าไม่เหลือถิ่นอาศัยตามธรรมชาติอีกแล้ว เนื่องจากถิ่นกระจายพันธุ์ดั้งเดิมของพวกมันถูกรุกรานโดยพื้นที่การเกษตรและ เขตเมือง และแม้แต่จระเข้ชนิดพันธุ์ที่ตอบสนองต่อมาตรการในการอนุรักษ์เป็นอย่างดี ก็ยังเผชิญปัญหาเช่นเดียวกับดอนนา เพียงแต่เป็นระดับที่ใหญ่กว่า นั่นคือการสัมผัสใกล้ชิดกับมนุษย์ และบ่อยครั้งก็นำไปสู่ความขัดแย้ง

ตะโขงอินเดียหรือตะโขงจมูกเรียวมีจำนวนลดลงอย่างน่าเป็นห่วงใน ช่วงกลางของศตวรรษที่ยี่สิบ พวกมันเพิ่มจำนวนขึ้นในทศวรรษ 1980 และ 1990 ซึ่งเป็นผลมาจากการลักลอบล่าที่ลดลงและการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครอง จนเป็นเหตุให้นักอนุรักษ์เชื่อว่าปัญหานี้หมดไปแล้ว แต่การสำรวจเมื่อไม่นานมานี้กลับชี้ว่า ประชากรตะโขงได้ลดฮวบฮาบลงอีกครั้ง และครั้งนี้สถานะของพวกมันอยู่ในขั้นเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง

สัตว์จำพวกจระเข้บางชนิดซึ่งพบในพื้นที่ห่างไกลของโลกยังอยู่ใน สถานะปลอดภัย ขณะที่บางชนิดอย่างอัลลิเกเตอร์พันธุ์อเมริกันก็ฟื้นจำนวนขึ้นอย่างมาก กระนั้น เราก็ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าวงศ์วานชาละวันเหล่านี้จะยืนหยัดต่อไปได้อย่างไรใน โลกที่ซึ่งบ้านอันชื้นแฉะของพวกมันเป็นที่หมายปองของผู้คนมากมาย ตั้งแต่เกษตรกรไปจนถึงนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งจระเข้บางชนิดยังเป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์เนื่องจากไปกินสัตว์ เลี้ยงและแม้กระทั่งผู้คน

เผ่าพันธุ์จระเข้และบรรพบุรุษเผชิญความเปลี่ยนแปลงที่แทบคาดไม่ ถึงมาแล้วสารพัด และสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมาได้ ทว่าในยุคสมัยที่ความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมเกิดเร็วขึ้นเช่นในปัจจุบัน ความท้าทายอันใหญ่หลวงที่สุดของพวกมันอาจยังมาไม่ถึง
มีนาคม 2553

723

ท่ามกลางเสียงอึงคะนึงจากเครื่องดนตรีไทยใหญ่  ขบวน เสด็จของบรรดา “เจ้าชาย” เคลื่อนมาลิบๆ เมื่อมาถึงปะรำพิธี แสงตะวันบ่ายก็ฉายให้เห็นอาภรณ์แสนวิจิตร เครื่องทรงอันงดงาม และเสื้อแขนกระบอกสีทองวาววับโทนเดียวกับโจงกระเบน เจ้าชายบางองค์สะบัดพัดโบกไล่อากาศร้อนจากผิวกาย ทว่าตะแปผู้แบกหามเจ้าชายเหล่านั้นเล่า กลับ ร่ายลีลาสะบัดฟ้อนไปตามจังหวะดนตรีเร้าใจราวกับไม่เคยได้ยินมาก่อนในชีวิต และไม่แยแสแดดระอุตอนบ่ายสามเลยแม้แต่น้อย
                ขอต้อนรับสู่งานปอยส่างลอง หรืองานบวชลูกแก้ว การบรรพชาสามเณรหมู่ของชาวไทยใหญ่ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีเมื่อย่างเข้าสู่หน้าร้อนราวเดือนมีนาคมและเมษายน ในวันนี้เด็กผู้ชายหลายคนก้าวมาถึงช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต พวกเขาจะเดินเข้าสู่รั้วพัทธสีมา และอุทิศช่วงเวลาปิดเทอมภาคฤดูร้อนให้กับพุทธศาสนา แต่ก่อนจะเปลี่ยนเสื้อตัวเก่งแล้ว   โกนผมห่มผ้าไตร  ตามความเชื่อของคนไทใหญ่ เด็กๆจะต้องเข้าสู่สถานะของ    “ส่า งลอง” หรือเจ้าชายตามอย่างเจ้าชายสิทธัตถะในพุทธประวัติ เสียก่อน แล้วจึงค่อยออกผนวชเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นเอกลักษณ์นี้เองที่ทำให้การบรรพชา สามเณรภาคฤดูร้อนของที่นี่แตกต่างจากที่อื่น
                กระนั้นคนไทยใหญ่กลับมองปอยส่างลองในมิติที่ลึกซึ้งกว่านั้น พวกเขาใช้การบวชสามเณรเป็นกุศโลบายเพื่อให้เด็กชายก้าวเข้าสู่พุทธศาสนา ควบคู่ไปกับโอกาสในการศึกษาวิชาการอ่านการเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยก่อนที่โรงเรียนและการศึกษายังไม่ทั่วถึงเหมือน ศาสนา
                ความผูกพันระหว่างชาวไทย ใหญ่และพุทธศาสนาเริ่มต้นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ชาวไทยใหญ่ตั้งรกรากในรัฐฉานทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าและในเขตแดนไทยก็ มีชุมชนไทยใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและตาก พวกเขานับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทในรูปแบบที่ผสมผสานกับการนับถือผีและพราหมณ์ ตามความเชื่อดั้งเดิม
                แม้จะ นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับคนไทยน้อย (อย่างผม) ทว่าคนไทยใหญ่ก็มีศรัทธาอันแรงกล้าในพุทธศาสนา ถึงขนาดมีคนกระทบกระเทียบว่าถ้าคนไทยใหญ่มีเงินอยู่ 4 บาท พวกเขาจะทำบุญถึง 8 บาท นั่นเพราะพุทธศาสนาของคนไทยใหญ่เป็นเครื่องมือในการจัดระดับชนชั้นในสังคม ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆว่า สมมติผมจัดงานบวชส่างลองให้กับลูกชาย ผมจะมีตำแหน่งในสังคมเป็น พ่อส่าง และถ้าผมจัดบวชภิกษุ ชาวบ้านจะเรียกผมว่า พ่อจาง แล้วถ้าบังเอิญว่าผมร่ำรวยขึ้นมา (สักวัน) จนอุปถัมภ์สร้างวัดวาอารามได้ ผมจะได้อัพเกรดเป็น พ่อจอง ซึ่ง ตำแหน่งเหล่านี้มีความสำคัญมากในระบบสังคมของคนไทยใหญ่ เพราะเป็นการจัดลำดับชนชั้นทางสังคมและเป็นการสร้างระบบจารีตที่มีนัยสำคัญ เลยทีเดียว
                ทว่าในทางกลับกัน เมื่อผมมีตำแหน่งแห่งที่ในสังคมหรือเป็นที่นับหน้าถือตาแล้ว แต่หากกระทำผิดศีลธรรมหรือขนบธรรมเนียมในสังคม ระบบจารีตที่ว่านี้ก็จะย้อนกลับมาลงโทษผมด้วยการประณามแทน

ย่างเข้าหน้าร้อนปีนั้น ย้อน หลังกลับไปเมื่อกว่า 70 ปีก่อน สงครามโลกครั้งที่สองยังระอุอยู่ แม่ฮ่องสอนในช่วงนั้นความเจริญยังเข้าไปไม่ถึงนัก เส้นทางสู่เชียงใหม่เป็นทางเท้าที่ต้องใช้เวลาเดินถึงสิบวัน ขณะนั้นเด็กชายสามารถ หิมะนันท์ อายุได้ 10 ขวบเต็ม และร่วมอยู่ในพิธีปอยส่างลองที่วัดหัวเวียง เขาแต่งองค์เครื่องด้วยชุดเจ้าชายไทยใหญ่และตื่นเต้นเป็นที่สุดเมื่อกำลังจะ ถ่ายภาพหมู่                                                                                       

                  มา วันนี้  จากเด็กชายวัยสิบขวบมาเป็นคุณปู่สามารถในวัย 82 ทว่าตะกอนความทรงจำของเขายังแจ่มชัดถึงบรรยากาศอันครื้นเครงของงานปอยส่า งลองเมื่อวันวาน "มันก็อยากกลับไปอายุเท่านั้นอีก เพราะว่ามันสนุก” ปู่สามารถพูดถึงบรรยากาศวันนั้นผ่านภาพถ่ายสีซีดที่อยู่ในมือ
                ปู่สามารถเป็นอดีตส่างลองรุ่นเก่าที่สุดใน เมืองแม่ฮ่องสอนที่ผมได้พบด้วย ปู่เป็นคนที่ลึกซึ้งในประเพณีความเป็นไทยใหญ่ชนิดหาตัวจับยากคนหนึ่ง และเป็นคลังข้อมูลรุ่นเดอะของสภาวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอนเลยทีเดียว "คนไทยใหญ่อย่างเราเค้าถือว่าบวชเณรนี่สำคัญกว่าบวชพระ เพราะเด็กมันยังไม่รู้เรื่อง มันบริสุทธิ์ คนบวชพระ เมาเหล้าเมายามาก็มี" ปู่สามารถบอก นี่คือกุศโลบายสำคัญของการบวชสามเณร นั่นเพราะเด็กๆใสบริสุทธิ์ดุจผ้าขาว การอบรมบ่มนิสัยผ่านธรรมะย่อมกระทำได้ดีกว่าผู้ใหญ่เสมือนเป็นไม้อ่อนดัด ง่าย
                ทว่าในโลกปัจจุบันที่โลกการ เรียนรู้ของเด็กๆไม่ได้จำกัดแค่ในตำราหรือรั้ววัดเช่นในอดีต ความเคร่งครัดในศาสนาอาจแตกต่างกันไปบ้าง วันหนึ่งผมอยู่ที่วัดม่วยต่อ กำลังนอนอ่านหนังสือเช่นเดียวกับเด็กน้อยอีกสิบกว่าชีวิต ที่มาเข้า “ค่าย” อบรมบ่มนิสัยและฝึกท่องคำขอบรรพชาก่อนบวช เด็กๆเหล่านั้นส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวอย่างลิง และนอนกลิ้งทับกันไปมาอย่างสนุกสนาน เด็กน้อยคนหนึ่งก็เดินมาเอ็ดผม "พี่รู้ไหม ที่วัดเค้าไม่ให้นอนอย่างนี้นะครับ มันบาป" ผมสะดุ้งโหยง พลางชี้ไปเด็กๆคนอื่น “แล้วพวกนั้นล่ะ”               
               "นั่น ก็บาปกันหมด"                                                                                                                                   

                เด็กคนนี้ น่าสนใจทีเดียว
                เด็กชายตัวผอมบางคนนั้น ชื่ออาทิ เขาไม่มีนามสกุล เป็นเด็กไทยใหญ่รุ่นพ่อแม่อพยพ เขากำพร้าพ่อ อาศัยอยู่กับป้าและยายที่แถวชานเมือง ปีนี้เขาได้บวชส่างลองสมใจอยาก หลังรอมานานหลายปี ใจหนึ่งนอกจากจะได้เข้าร่วมพิธี         อันสนุกสนาน และศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว อีกใจหนึ่งเขายังปลาบปลื้มที่จะได้พบแม่บังเกิดเกล้าที่ไปทำงานที่จังหวัด สมุทรปราการเสียที ความเคร่งครัดในธรรมะของอาทิส่วนหนึ่งได้มาจากการปลูกฝังของผู้เป็นยาย ที่เพิ่งอพยพข้ามฝั่งมาจากรัฐฉาน ผู้เป็นคนปลูกฝัง เรื่องธรรมะ รวมทั้งสอนมารยาทในวัดและความผิดชอบชั่วดีให้หลานชายหัวแก้วหัวแหวน 
                มีผู้ตั้ง ข้อสังเกตว่าคนไทยใหญ่รุ่นอพยพค่อนข้างเคร่งในวิถีชีวิต ประเพณีดั้งเดิมและศาสนามากกว่าคนไทยใหญ่ ในเมือง สังเกตได้จากจำนวนส่างลองที่เข้ารับการบวชในงานประจำปีล่าสุดของจังหวัด แม่ฮ่องสอนทั้งหมด 33 องค์ ในจำนวนนี้มากกว่า 20 องค์เป็นลูกหลานคนไทยใหญ่อพยพ   
                แม้ในระยะหลัง ความเคร่งครัดในสายเลือดของคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าจะแตกต่างกัน แต่งานบุญอย่างปอยส่างลองไม่เพียงช่วยลดช่องว่างระหว่างคนไทยใหญ่ดั้งเดิมใน พื้นที่กับคนไทยใหญ่ต่างด้าวได้เป็นอย่างดี นั่นเพราะทุกคนมีสิทธิและมีส่วนร่วมในขบวนแห่ และทุกคนก็เท่าเทียมกันโดยไม่มีแบ่งสี 
                แม้จะ เป็นประเพณีที่ชาวไทยใหญ่ร่วมแรงร่วมใจกัน กระนั้น ความอลังการของขบวนแห่ก็ดึงดูดนักท่องเที่ยวมามากเสียจนปอยส่างลองเกือบจะ กลายเป็นสินค้าการท่องเที่ยวไปแล้ว โดยเฉพาะในเมืองแม่ฮ่องสอน หลายปีที่ผ่านมา  มีคนหัว ใส (บางคน) พยายามเปลี่ยนปอยส่างลอง ให้กลายเป็นสินค้าท่องเที่ยวและช่องทางแสวงหาผลประโยชน์             
                ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา งานปอยส่างลองไม่เคยต้องติดป้ายโอ้อวด ไม่ต้องพึ่งพาประธานเปิดงาน หรือรายชื่อสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนยาวเหยียด ปอยส่างลองเป็นงานร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน ไม่ใช่งานจัดตั้ง ซ้ำร้ายกว่านั้น ความหวังดีแบบขาดการไตร่ตรองได้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในประเพณีดั้งเดิม ที่ทำให้คนเก่าแก่บางคนถึงกับหัวเสีย ตั้งแต่การนำเอาเครื่องดนตรีล้านนาเข้ามาในขบวนแห่ เชิญหมอทำขวัญนาคจากภาคกลางมาทำพิธี ไปจนถึงการเปิดคาราโอเกะ เป็นต้น               
                ไม่ เชื่อลองถามป้าเทพินท์แห่งชุมชนป๊อกกาดเก่า (ประธานจัดงานปี 2553) ดูก็ได้ "ที่นี่เราเคร่งมากค่ะ ส่างลองปีนี้เราจะพยายามอนุรักษ์วัฒนธรรมของเราไว้ให้ได้มากที่สุด ถ้าคุณอยากมาร่วมงานกับเรา ก็ต้องทำตามอย่างเรา"

ริ้วขบวนอันงดงามในวันแห่โคหลู่ หรือ วันแห่เครื่องไทยธรรม ส่วนหนึ่งคือผลลัพธ์ จากการเตรียมงานอย่าง ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตลอดหลาย เดือนก่อนหน้าของเจ้าภาพ  ส่า งลองซึ่งบัดนี้แต่งองค์อย่างหรูหรา ประทับบนบ่าตะแป  ผู้ กรำน้ำเมาจนดวงตาแดงก่ำและร่ายรำไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เสียงดนตรีเร้าเร่งท้ายขบวนชวนให้ใครต่อใครออกมาฟ้อนรำไปกับจังหวะลูกขัดของ มือกลองก้นยาว
                ส่วนหน้าขบวนส่า งลองนั้นเล่า แม่อุ๊ยพ่ออุ๊ยหลายคนพูดคุยเรื่องลุกหลานกันสนุกปาก ส่วนสาวๆหลายคนก็ใส่ซิ่นนุ่งชุดไทยใหญ่แบบเข้ารูปให้ชวนมอง พวกเขาช่วยกันหามหาบเครื่องอัฐบริขาร และข้าวของเครื่องใช้ของเจ้าชาย ส่วนผู้ชายกำยำเสียหน่อยก็เป็นคนแบกหามต้นตะเปส่า และเครื่องหาบหามที่มีน้ำหนักมาก เอ้าๆๆ ขบวนเริ่มเคลื่อนแล้ว "โม่ง ตึงๆ โม่ง" กลองมองเซิง ฆ้องและฉาบ เริ่มบรรเลง ขบวนเคลื่อนไปช้าๆ ตามจังหวะ ระหว่างทางชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงออกมาโปรยข้าวตอกดอกไม้ใส่ขบวนเพื่อเฉลิม ฉลองวาระอันเป็นมงคล
                บรรยากาศ วันนี้อบอวลไปด้วยความสุข ไม่มีการแยกชนชั้น ไม่แบ่งสี ไม่แบ่งเชื้อชาติ พวกเขายึดโยงกันไว้ด้วยหัวใจ ศรัทธา และพุทธศาสนา ส่วนส่างลองน่ะหรือ หลังงานในวันนี้จบลง รุ่งขึ้นพวกเขาจะสละพัสตราภรณ์ของเจ้าชายไทยใหญ่ซึ่งเปรียบ ได้กับโลกียทรัพย์ เหลือแต่เพียงผ้าสีฝาดที่ห่มคลุมร่างน้อยๆ และแสวงหาหนทางแห่งมรรคผลนิพพานเฉกเช่นเจ้าชายสิทธัตถะในครั้งพุทธกาล
มิถุนายน 2553

724

เมื่อมองแวบแรกจาก เบื้องบน กรีนแลนด์คือผืนแผ่นดินกว้างใหญ่สีขาวโพลน แต่เมื่อเฮลิคอปเตอร์ที่ผมนั่งมาด้วยโฉบลงใกล้เกาะ สีสันต่างๆก็ผุดโผล่ขึ้นมา  ทางน้ำสีน้ำเงินที่เกิด จากน้ำแข็งละลายลัดเลาะไปตามขอบพืดน้ำแข็งเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ทุ่งน้ำแข็งสีขาวมีแม่น้ำไหลคดเคี้ยวและหุบเหวแทรกตัวอยู่เป็นระยะๆ บางช่วงเกิดเป็นทะเลสาบน้อยใหญ่ แล้วยังมีน้ำแข็งที่ดูจะไม่ใช่ทั้งสีขาวและสีน้ำเงิน แต่ออกไปทางสีน้ำตาลหรือกระทั่งกะดำกะด่างจากสารไครโอโคไนต์ (cryoconite) น้ำแข็งสีตุ่นๆนี้เป็นหัวใจสำคัญของการเดินทางมาศึกษาหาคำ ตอบของเพื่อนร่วมทีมสำรวจ ทั้ง 4 คนของผม อันได้แก่ เจมส์ บาลอก ช่างภาพ กับแอดัม เลอวินเทอร์ ผู้ช่วย และมาร์โก เตเดสโก นักธรณีฟิสิกส์ กับนิก สไตเนอร์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก สองคนหลังนี้มาจากวิทยาลัยซิตีคอลเลจออฟนิวยอร์ก

บาลอกถ่ายภาพน้ำแข็งและ สภาพซึ่งไร้น้ำแข็ง เขาเป็นผู้ก่อตั้งโครงการสำรวจน้ำแข็งสุดขั้ว หรืออีไอเอส (Extreme Ice Survey: EIS) ขึ้นเมื่อปี 2006 โดยมีวัตถุประสงค์ “เพื่อสร้างความทรงจำของสิ่งที่กำลังลบเลือนไป” ที่ผ่านมา อีไอเอสได้ติดตั้งกล้องถ่ายภาพมากกว่า 35 ตัวที่ทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และสามารถปฏิบัติงาน ท่ามกลางสภาพอากาศเลวร้ายอย่างพายุหิมะ เพื่อบันทึกภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลับธารน้ำแข็งใน อะแลสกา มอนแทนา ไอซ์แลนด์ และกรีนแลนด์ กล้องเหล่านี้จะเก็บภาพอย่างช้าๆและต่อเนื่อง (time-lapse) โดยทำหน้าที่ “เหมือนดวงตาเล็กๆที่คอยจับตาดูโลกแทนเรา” บาลอกเปรียบเปรย

เราตั้งแคมป์บนผืนแผ่นดิน ห่างจากหมู่บ้านอีลูลิสแซตบนชายฝั่งตะวันออกไป 70 กิโลเมตร ในบริเวณที่เป็นส่วนหนึ่งของเขตน้ำแข็งละลาย (melt zone) ของกรีนแลนด์ ที่ซึ่งการละลายของพืดน้ำแข็งชั้นบนสุดเผยให้เห็นสิ่งที่เรียกกันว่า น้ำแข็งสีน้ำเงิน (blue ice) น้ำแข็งเก่าแก่นี้ถูกบีบอัดจนถึงจุดที่ฟองอากาศส่วนใหญ่ถูกบีบออกมา เมื่อมีฟองอากาศน้อยลง น้ำแข็งก็จะดูดซับแสงสีแดงตรงปลายสเปกตรัม เหลือไว้แต่แสงสีน้ำเงินสะท้อนออกมา

แคมป์ของเราตั้งอยู่ข้าง ทะเลสาบน้ำหิมะละลาย (meltwater lake) ขนาดใหญ่ เตเดสโกและสไตเนอร์ศึกษาระดับความลึกของทะเลสาบ เพื่อนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับค่าระดับความลึกของทะเลสาบเหนือธารน้ำแข็ง (supraglacial lake) ในกรีนแลนด์ที่ได้จากดาวเทียม ทุกๆเช้าทั้งสองจะนำเรือเล็กออกไปเก็บข้อมูล เรือลำนี้ติดตั้งอุปกรณ์อย่างเครื่องควบคุมจากระยะไกล โซนาร์ สเปกโทรมิเตอร์ที่สั่งงานผ่านแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ จีพีเอส เทอร์โมมิเตอร์ และกล้องถ่ายภาพใต้น้ำ

ทะเลสาบน้ำหิมะละลาย ของกรีนแลนด์อาจมีระดับน้ำลดต่ำลงอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ไม่ได้เป็นครั้ง คราว บาลอกเองเคยเห็นทะเลสาบลดระดับลงชั่วข้ามคืน เมื่อก้นปล่องน้ำแข็งหรือที่เรียกว่าระแหงน้ำธารน้ำแข็ง (moulin – รอยแตกระแหงบนผิวธารน้ำแข็ง) แยกตัวออกพร้อมกับดูดน้ำทะเลสาบลงสู่ก้นธารน้ำแข็ง

เมื่อปี 2006 ทีมนักวิทยาศาสตร์บันทึกการลดระดับลงของทะเลสาบเหนือธารน้ำแข็งขนาด 5 ตารางกิโลเมตรไว้ได้ เมื่อน้ำปริมาตรมากกว่า 40 ล้านลูกบาศก์เมตรอันตรธานไปในระแหงน้ำธารน้ำแข็งภายในเวลา 84 นาที ซึ่งเป็นอัตราการไหลที่เร็วยิ่งกว่าน้ำตกไนแอการาเสียอีก

ทะเลสาบน้ำหิมะละลายที่เต เดสโกศึกษาอยู่มีทางระบายน้ำไปสู่ระแหงน้ำธารน้ำแข็ง เลอวินเทอร์กับผมตั้งใจว่าเราต้องหาระแหงน้ำธารน้ำแข็งที่ว่านี้ให้พบ พวกเราออกสำรวจพร้อมขวานเจาะน้ำแข็ง สกรูเจาะน้ำแข็ง และเชือกจำนวนหนึ่ง เรายังเดินทางไปได้ไม่ถึงครึ่งกิโลเมตรดีตอนที่พบหลุมในน้ำแข็งขวางทางไว้ จนเราต้องกระโดดข้ามหลุมที่มีเพียงขอบน้ำแข็งบางๆคั่นไว้

เราตัดสินใจใช้อีกเส้นทาง หนึ่ง ถึงตอนนี้ เราเดินทางข้ามพืดน้ำแข็งมาได้หลายกิโลเมตรแล้ว แต่ก็ยังหาระแหงน้ำธารน้ำแข็งไม่พบ ทว่าเราสังเกตเห็นอะไรบางอย่างที่น่าทึ่ง นั่นคือในตอนขามานั้น หลุมหลายหลุมที่เรากระโดดข้ามมีลักษณะเป็นหลุมกลมๆ แยกตัวไม่ติดกัน แต่เพียงครึ่งวันให้หลัง น้ำแข็งละลายมากพอจนทำให้หลุมเหล่านั้นเชื่อมต่อกันด้วยธารน้ำไหลรี่และกลาย เป็นแอ่งขนาดใหญ่

พอกลับถึงแคมป์ในคืนวัน นั้น เราก็พบสิ่งที่เตเดสโกและสไตเนอร์ยืนยันว่าอยู่ตรงก้นทะเลสาบน้ำหิมะ ละลาย นั่นคือชั้นไครโอโคไนต์ที่ปกคลุมอยู่อย่างไม่สม่ำเสมอ

ไครโอโคไนต์กำเนิดจาก ตะกอนที่ลมพัดพามาและแพร่กระจายอยู่บนน้ำแข็ง องค์ประกอบมีทั้งฝุ่นแร่ (mineral dust) ที่ลอยมาไกลจากทะเลทรายในแถบเอเชียกลาง อนุภาคจากการระเบิดของภูเขาไฟ และเขม่าควัน อนุภาคของเขม่านั้นมาจากทั้งไฟป่าตามธรรมชาติและไฟที่มนุษย์ก่อขึ้น เครื่องยนต์ดีเซล และโรงไฟฟ้าถ่านหิน นักสำรวจอาร์กติกนาม นิลส์ เอ. อี. นูร์เดนเชิลด์ เป็นผู้ค้นพบและตั้งชื่อให้กับฝุ่นผงละเอียดสีน้ำตาลเหล่านี้ระหว่างไปเยือน พืดน้ำแข็งกรีนแลนด์เมื่อปี 1870 กิจกรรมของมนุษย์ทำให้ปริมาณเขม่าสีดำในไครโอโคไนต์เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ยุค ของนูร์เดนเชิลด์เป็นต้นมา และภาวะโลกร้อนก็ทำให้การศึกษาเรื่องไครโอโคไนต์มีความสำคัญมากขึ้น

คาร์ล เอเย บอกกิลด์ เป็นชาวกรีนแลนด์โดยกำเนิด และนักธรณีฟิสิกส์ผู้ศึกษาพืดน้ำแข็งที่นี่มาตลอด 28 ปีที่ผ่านมา เมื่อไม่นานมานี้ เขาหันมาสนใจไครโอโคไนต์เป็นพิเศษ โดยบอกว่า “ถึงแม้ว่าไครโอโคไนต์จะมีเขม่าเป็นองค์ประกอบไม่ถึงร้อยละห้า แต่เขม่าพวกนี้แหละครับที่ทำให้มันกลายเป็นสีดำ” สีที่เข้มดำส่งผลให้อัตราส่วนรังสีสะท้อน (albedo) หรือ การสะท้อนแสงของน้ำแข็งลดลง ทำให้น้ำแข็งดูดซับความร้อนได้มากขึ้นจึงละลายเร็วขึ้น

แต่ละปีมีทั้งหิมะและ ละอองไครโอโคไนต์ที่ตกลงบนพืดน้ำแข็ง เมื่อหิมะทับถมและแข็งตัว มันจะดักจับฝุ่นละอองไว้ ในช่วงที่ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นกว่าปกติเช่นหลายปีที่ผ่านมา ชั้นน้ำแข็งละลายที่ทับถมกันหลายชั้นจะปลดปล่อยไครโอโคไนต์ที่ถูกดักจับไว้ ออกมามากเป็นพิเศษ ทำให้เกิดชั้นไครโอโคไนต์ที่หนาแน่นและมีสีเข้มมากขึ้นบนพื้นผิวน้ำแข็ง บอกกิลด์บอกว่า “สิ่งที่เกิดตามมาคือวัฏจักรการละลายที่เร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

แม้เราจะออกสำรวจเป็นเวลา สั้นๆ แต่ดูเหมือนว่าเราได้เห็นผลกระทบนั้นกับตา ภายในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว น้ำแข็งละลายทำให้แคมป์ของเราแปรสภาพเป็นพรุที่เจิ่งนองไปด้วยหิมะละลาย ไกลออกไป ทะเลสาบน้ำหิมะละลายไหลลงสู่ระแหงน้ำธารน้ำแข็งที่เรามองหาอยู่ กล้องถ่ายภาพที่บาลอกติดตั้งไว้จับภาพปรากฏการณ์นี้ไว้ได้ทั้งหมด

ก่อนที่การสำรวจจะสิ้นสุด ลง บาลอกชักชวนผมให้ไต่ลงไปยังระแหงน้ำธารน้ำแข็งที่อยู่ถัดจากแคมป์ของเราซึ่ง เป็นระแหงน้ำธารน้ำแข็งใหญ่พอที่จะกลืนกินขบวนรถขนสินค้าได้ทั้งขบวน แต่ผมก็อดไม่ได้ที่จะไต่ลงไปตามปากหุบเหวที่บาลอกตั้งชื่อให้ว่า “เจ้าสัตว์ร้าย”

ผมหย่อนตัวลงไปตามเชือก ที่มีน้ำแข็งเกาะ ลึกลงไป 30 เมตรในปล่อง ผนังน้ำแข็งสีน้ำเงินโอบล้อมผมไว้ และเนื้อตัวผมก็เปียกโชกด้วยละอองน้ำเย็นเฉียบ ท้องฟ้าสีครามเบื้องบนของอาร์กติกมีน้ำแข็งย้อยเป็นหยักๆสูงเท่าตึกสามชั้น ล้อมกรอบไว้ เบื้องล่างคือน้ำตกที่ถั่งโถมครืนครั่นลงสู่ก้นเหวลึกสุดหยั่ง

ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ ทดลองหย่อนเป็ดยางสีเหลืองหลายตัว ลูกบอลติดเซนเซอร์ และสีย้อมปริมาณมากลงไปในระแหงน้ำธารน้ำแข็ง เพื่อตามรอยการเดินทางของพวกมันและค้นหาว่า ระแหงน้ำธารน้ำแข็งสิ้นสุดตรงจุดใดตามแนวชายฝั่งกรีนแลนด์ ลูกบอลและสีย้อมยังมีผู้พบเห็นบ้าง แต่เป็ดยางนั้นหายลับ ผมอยากจะหย่อนตัวลงไปอีกสักหน่อยเพื่อสำรวจลึกลงไป แต่ก็ยับยั้งชั่งใจไว้ และแล้วหลังจากห้อยโหนอยู่บนเชือกนาน 20 นาที ผมก็ตัดสินใจปีนกลับขึ้นมา
มิถุนายน 2553

725

แหล่งโบราณคดีมิดเดิล อาวาช (Middle Awash) ในเอธิโอเปีย คือบริเวณที่มีผู้คนอาศัยต่อเนื่องยาวนานที่สุดในโลก สมาชิกสาแหรกตระกูลของมนุษย์มีชีวิตอยู่ ล้มตาย และถูกกลบฝังที่นั่นตลอดระยะเวลาเกือบหกล้านปี ตอนนี้กระดูกของพวกเขากำลังผุดโผล่ขึ้นจากผืนดิน        พร้อม บันทึกทางวิวัฒนาการต่างยุคสมัยที่ช่วยให้เราเห็นภาพไพรเมตสมองเล็กๆ พัฒนามาเป็นผู้พิชิตโลกใบนี้ได้อย่างไร จะมีที่ใดดีกว่านี้ในการศึกษาเส้นทางสู่การเป็นมนุษย์ของเรา
           
              ใน ทะเลทรายอะฟาร์ของเอธิโอเปีย  ความตายอาจมาในหลายรูป แบบ ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ถูกสัตว์ป่าทำร้าย งูกัด ตกหน้าผา หรือถูกยิงในการต่อสู้ระหว่างชนเผ่าในอะฟาร์กับชาวอิสซาที่อยู่คนละฝั่งแม่ น้ำอาวาชไปทางตะวันออก แต่จะว่าไปแล้วชีวิตก็ช่าง เปราะบางทั่วทั้งแอฟริกา  ความ พิเศษของสถานที่แห่งนี้คือการที่ซากศพอาจคงทนได้อย่างไม่น่าเชื่อ แอ่งอะฟาร์ตั้งอยู่บนขอบรอยแยกของเปลือกโลกที่ขยายตัวออก เมื่อเวลาผ่านไป ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว และการสะสมตัวอย่างช้าๆของตะกอนได้ร่วมกันกลบกลืนกระดูกต่างๆ จากนั้น อีกเนิ่นนานต่อมา จึงค่อยๆคายกระดูกเหล่านั้นคืนกลับสู่พื้นผิวโลกในรูปของฟอสซิล ทิม ไวต์ นักมานุษยบรรพกาลวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์กลีย์บอกว่า “ผู้คนล้มตายที่นี่มาหลายล้านปีแล้วครับ บางทีเราก็โชคดีและได้พบเจอสิ่งที่เหลืออยู่”

              โครงการวิจัยมิดเดิลอาวาชซึ่งไวต์เป็นผู้อำนวยการร่วมกับเบอร์เฮน อัสฟาว และกีเดย์ โวลเดเกเบรียล สองเพื่อนร่วมงานชาวเอธิโอเปีย ประกาศข่าวความสำเร็จครั้งใหญ่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วว่า พวกเขาพบโครงกระดูกสมาชิกสาแหรกตระกูลมนุษย์อายุ 4.4 ล้านปีเมื่อ 15 ปีก่อน (หรือปี 1994) ในบริเวณที่เรียกว่า อะรามิส (Aramis) ซึ่งอยู่ห่างจากทะเลสาบยาร์ดีในปัจจุบันไปทางเหนือ 30 กิโลเมตร โครงกระดูกของ อาร์ดิพิเทคัส รามิดัส (Ardipithecus ramidus)   เพศเมียโตเต็มวัยที่เรียกสั้นๆว่า   “อาร์ดี”  ไม่เพียงเก่าแก่กว่าโครงกระดูก   “ลูซี”   หรือ ออสตราโลพิเทคัส อฟาเรนซิส  อายุ 3.2 ล้านปี ผู้โด่งดังถึงกว่าหนึ่งล้านปี  แต่ยังให้ข้อมูลมากกว่าเกี่ยวกับความลับแห่งวิวัฒนาการที่ มีผู้พยายามแสวงหาคำตอบมากที่สุดข้อหนึ่ง นั่นคือธรรมชาติของบรรพบุรุษร่วมระหว่างมนุษย์กับชิมแปนซี

              แม้จะฟังดูน่าตื่นเต้น แต่ อาร์ดิพิเทคัส รามิดัส ก็เป็นเพียง “ชั่วขณะหนึ่ง” บนถนนสายวิวัฒนาการอันยาวนานของเราจากเอปปริศนาชนิดหนึ่งมาสู่เผ่าพันธุ์ที่ กุมชะตากรรมของโลกไว้ในมือ  นักวิทยาศาสตร์พบ คุณลักษณะที่มีลักษณะผสมผสานกันอย่างน่าประหลาด ขณะที่บางอย่างดูดึกดำบรรพ์มาก อีกหลายอย่างกลับมีลักษณะก้าวหน้าและเป็น  คุณลักษณะเฉพาะของโฮมินิด  อาร์ ดีไม่ใช่เป็นเพียงสัตว์สองเท้าหรือสัตว์สี่เท้า แต่เป็นทั้งสองอย่าง

              ผม ถามไวต์ว่ารูปลักษณ์ที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของอาร์ดี อาจทำให้เราเรียก อา ร์ดิพิเทคัส รามิดัส ว่าเป็น “ตัวเชื่อมที่ขาดหายไป” (missing link) ได้หรือไม่ เขาไม่เห็นด้วยกับคำถามนี้

              “วลี นี้ไม่ถูกต้องในหลายแง่มุมครับ บอกยากนะครับว่าจุดเริ่มต้นอยู่ตรงไหน ที่แย่ที่สุดก็คือความเชื่อที่ว่า เมื่อถึงจุดหนึ่งเราจะมีอะไรบางอย่างที่อยู่กึ่งกลางระหว่างชิมแปนซีกับ มนุษย์ ตัวเชื่อมที่ขาดหายไปคือความเชื่อผิดๆ ที่ครอบงำแนวคิดว่าด้วยวิวัฒนาการมาตั้งแต่ต้น และการพบอาร์ดีก็น่าจะฝังความคิดพวกนี้ไปให้หมดได้แล้ว” เขาบอก

              หาก ทีมมิดเดิลอาวาชตีความถูกต้อง อาร์ดิพิเทคัส รามิดัส ก็ไม่น่าจะมี คุณลักษณะอะไรเหมือนชิมแปนซีหรือกอริลลาในปัจจุบันเลย แน่นอนว่าเอปและมนุษย์มาจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่สาแหรกตระกูลของทั้งสองมีวิวัฒนาการแยกจากกันไปคนละทิศละทางนับตั้งแต่ บัดนั้น

              “สิ่ง ที่เราได้จากการค้นพบอาร์ดีก็คือ การมองวิวัฒนาการของมนุษย์เป็นสายพานการผลิตสามขั้น” ไวต์ อธิบาย อาร์ดิ พิเทคัส อาจเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของขั้นแรก นี่คือสัตว์สองเท้าดึกดำบรรพ์ที่เท้าส่วนหนึ่งอยู่ในอดีต และอีกส่วนหนึ่งอยู่ในอนาคต ฟันเขี้ยวของ อาร์ดิพิเทคัส เพศผู้ลดขนาดลงและมีลักษณะ “เหมือนของเพศหญิง” ส่วนถิ่นอาศัยนั้นยังจำกัดอยู่ในป่า จากนั้น ตลอดกว่าสองล้านปีต่อมาเป็นยุคของ ออสตราโลพิเทคัส (Australopithecus) ซึ่งยังคงมีสมองเล็ก แต่เดิน  สองเท้าเต็มรูปแบบ ถิ่นที่อยู่ไม่จำกัดเฉพาะในป่า แต่ขยายขอบเขตออกไปถึง 2,500 กิโลเมตรทางตะวันตกของเกรตริฟต์แวลลีย์ในเคนยา ถือเป็นโฮมินิดที่ประสบความสำเร็จใหญ่หลวง ทั้งในแง่ของเวลาและพื้นที่

              เป็นไปได้หรือไม่ว่า ออสตราโลพิเทคัส วิวัฒน์จาก อาร์ดิพิเทคัส  คำถามนี้ยากจะตอบได้  จนกว่าเราจะพบหลักฐานมากกว่านี้   ไม่ว่าจะเป็นที่มิดเดิลอาวาชหรือที่อื่นใด  เราก็ยังไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่า อาร์ดีคือ “แม่” ของลูซี  หรือเป็นเพียงป้า “สาวแก่” ที่สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปโดยไม่มีลูกหลานสืบทอดวงศ์วาน
         
              แต่ ไวต์บอกว่ามีคำถามที่ดีกว่านั้น นั่นคือ เป็นไปได้หรือไม่ที่ ออสตราโลพิเทคัส จะวิวัฒน์ตัวเองจากส่วนต่างๆของ อาร์ดิพิเทคัส นักวิทยาศาสตร์บางคนเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ไวต์เห็นต่าง ทุกวันนี้ เรารู้จากการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ว่า การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยในยีนอาจส่งผล กระทบทางกายวิภาคได้ในระยะเวลาสั้นๆ ไวต์ให้เหตุผลว่า ถ้าการเดินสองเท้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นข้อ ได้เปรียบสำคัญ กระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติคงใช้เวลาไม่กี่พันปีในการวิวัฒน์นิ้วหัวแม่ เท้าให้เรียงตัวในแนวเดียวกับนิ้วอื่นๆ หรือไม่ก็ปรับเปลี่ยนการออกแบบโครงกระดูกเสียใหม่ให้รู้แล้วรู้รอด

              กฎเกณฑ์ เดียวกันนี้ยังประยุกต์ใช้ได้กับการเปลี่ยนผ่านจาก ออสตราโลพิเทคัส สู่สายพานการผลิตขั้นที่สามของเรา เริ่มต้นจากการกินอาหารแคลอรีสูง บำรุงสมองให้เติบโตขึ้น ว่าแล้วเราก็มีมนุษย์สกุลโฮโมตามมาอย่าง โฮโม อิเร็กตัส และโฮโม เซเปียนส์ จนมาถึงพวกเราในที่สุด
กรกฎาคม 2553

726

สถานที่บางแห่งบนโลกใบนี้ช่างน่าอัศจรรย์และแสนเปราะบางจนบางทีเราอาจไม่ สมควรไปที่นั่น บางทีเราควรปล่อยมันไว้ตามลำพังและชื่นชมจากระยะไกล โดยส่งเพียงตัวแทนไปสังเกตการณ์เพื่อเรียนรู้ให้ได้มากที่สุดโดยไม่รบกวน ภูมิทัศน์แห่งนั้น และรายงานกลับมาเหมือนกับที่นีล อาร์มสตรอง เคยทำเมื่อครั้งไปเหยียบดวงจันทร์ ขณะที่พวกเราที่เหลือคอยอยู่ที่บ้าน แนวคิดนี้นำมาใช้ได้กับโครนอตสกีซาโปเวดนิค (Kronotsky Zapovednik) เขตอนุรักษ์ธรรมชาติอันห่างไกลทางตะวันออกของคาบสมุทรคัมชัตคาในรัสเซียซึ่ง ทอดยาวไปตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก กว่า 1,500 กิโลเมตรทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ที่นี่เป็นภูมิทัศน์อันงดงามตระการตา มีชีวิตชีวาและรุ่มรวย โกลาหลและเปราะบาง ครอบคลุมพื้นที่ 11,000 ตารางกิโลเมตรซึ่งประกอบไปด้วยแนวภูเขาไฟ ป่าไม้ ภูมิประเทศแบบทุนดรา และแม่น้ำ เป็นแหล่งพักพิงของหมีสีน้ำตาลกว่า 700 ตัว สิงโตทะเลสเตลเลอร์ฝูงใหญ่บนชายฝั่ง ฝูงปลาแซลมอนโคคานีในทะเลสาบโครนอตสโกเย ส่วนปลาแซลมอนซีรันก็ว่ายตีคู่ไปกับปลาสตีลเฮดในแม่น้ำ นอกจากนี้ยังมีอินทรีและเหยี่ยวเจอร์ รวมไปถึง วูลเวอรีนและสัตว์ชนิดอื่นอีกมากมาย ทำให้ดินแดนแห่งนี้มีค่าเกินกว่าจะถูกลดคุณค่าจนกลายเป็นเพียงแหล่งท่อง เที่ยว เนื่องจากที่นี่มีพืชและสัตว์มากมาย ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในการอนุรักษ์ อีกทั้งยังถูกทำลายได้อย่างรวดเร็วแต่ฟื้นฟูได้ช้า (ด้วยเหตุที่อยู่ในละติจูดสูง พืชพรรณเติบโตช้า ความสลับซับซ้อนของแหล่งความร้อนใต้พิภพ ระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษและความเปราะบางของภูมิประเทศแถบนี้) ควรหรือไม่ที่โครนอตสกีจะมีผู้คนอยู่อาศัย หรือแม้กระทั่งผู้มาเยือน ผมตั้งคำถามนี้ ทั้งๆที่รู้ดีว่ามันอาจฟังดูปากว่าตาขยิบหรือดูขัดแย้งกันเอง เมื่อนึกถึงว่าเมื่อไม่นานมานี้ผมเพิ่งประทับรอยรองเท้าบู๊ตไว้บนพื้นผิวของ โครนอตสกี รัฐบาลรัสเซียเองก็ยอมรับถึงความงามอันแสนเปราะบางเช่นนี้ สมกับชื่อ ซาโปเวดนิค ที่อาจแปลคร่าวๆได้ว่า “เขตควบคุมที่สงวนไว้สำหรับการศึกษาและปกป้องพรรณพืช พันธุ์สัตว์ และธรณีวิทยา จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวหรือไม่อนุญาตให้เข้า ขอบคุณที่ให้ความสนใจ แต่กรุณาอยู่ห่างๆ” นี่คือคำประกาศรับรองสถานะอย่างมองการณ์ไกล กล้าหาญ และไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างชอบธรรม ในประเทศที่มีประวัติศาสตร์ การต่อต้านประชาธิปไตยอันยาวนาน บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในซาโปเวดนิคได้ แต่ก็เพื่อการค้นคว้าวิจัยและอยู่ภายใต้ข้อบังคับที่เข้มงวดเท่านั้น จากการประเมินครั้งล่าสุด โครนอตสกีเป็นเขตอนุรักษ์หนึ่งใน 101 แห่งของรัสเซีย และเป็นเขตอนุรักษ์แห่งแรกๆ ด้วย ก่อนหน้านี้ที่นี่เคยเป็นแหล่งพักพิงของเซเบิล (Martes zibellina - สัตว์สี่เท้าเลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในสกุลหมาไม้) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1882 จากการผลักดันของคนในท้องถิ่น ความที่คาบสมุทรคัมชัตคาอยู่ห่างไกลจากกรุงมอสโกมาก และไกลหูไกลตารัฐบาลโซเวียต ยุคโจเซฟ สตาลิน ในช่วงกลางทศวรรษ 1930 (ซึ่งมีเรื่องสำคัญอื่นๆให้ทำอีกมากมาย) ค่าเสียโอกาสในการกำหนดให้ผืนป่าแห่งนี้เป็นเขตที่ได้รับการปกป้องจึงอาจดู เหมือนไม่สูงนัก ทว่าพอถึงปี 1941 สินทรัพย์อย่างที่สองของเขตอนุรักษ์ก็เผยโฉมออกมา เมื่อนักอุทกวิทยานามตาเตียนา ไอ. อุสตีโนวา ได้ค้นพบกีย์เซอร์ (พุน้ำร้อน) หลายแห่งที่นั่น ในฤดูใบไม้ผลิอันหนาวเย็นของปีนั้น อุสตีโนวาและมัคคุเทศก์ของเธอกำลังใช้เลื่อนสุนัขสำรวจต้นน้ำของแม่น้ำชุมนา ยา พวกเขาหยุดพักใกล้กับจุดที่ธารน้ำมาบรรจบกันและสังเกตเห็นโดยบังเอิญว่า บริเวณ ริมฝั่งแม่น้ำที่ห่างไกลออกไปมีไอน้ำกลุ่มใหญ่พวยพุ่งขึ้นมา อุสตีโนวาย้อนกลับมาในอีกหลายเดือนต่อมาเพื่อทำแผนที่และศึกษาสิ่งที่ถูกค้น พบในภายหลังว่าเป็นลักษณะภูมิประเทศอันซับซ้อนของแหล่งความร้อนใต้พิภพ ซึ่งรวมถึงกีย์เซอร์ราว 40 แห่ง เธอตั้งชื่อกีย์เซอร์แห่งแรกที่พบว่า เปียร์เวเนตส์ แปลว่า “ลูกคนโต” ส่วนลำน้ำ สาขาที่เธอปีนขึ้นไปปัจจุบันนี้เรียกว่า แม่น้ำเกย์เซียร์นายา ส่วนลาดเขาที่อยู่เหนือโค้งน้ำแห่งหนึ่งของแม่น้ำสายนี้ก็ได้ชื่อว่า วิตรัช หรือกระจกสี เนื่องจากสีสันอันหลากหลายที่ตกค้างมาจากพุก๊าซน้อยใหญ่บนพื้นดิน โดลีนาเกย์เซรอฟ (Dolina Geyserov – หุบเขาแห่งกีย์เซอร์) ในโครนอตสกีกลายเป็นพื้นที่กีย์เซอร์ที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เทียบชั้นได้กับอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนของสหรัฐฯ, เอลตาเตียวในชิลี, ไวโอตาปูบนเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ และไอซ์แลนด์ โดยทั่วไปกีย์เซอร์มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของภูเขาไฟ และในกรณีของ โครนอตสกีก็เป็นเช่นนั้น คาบสมุทรคัมชัตคาปกคลุมไปด้วยภูเขาไฟมากมาย ในจำนวนนี้กว่า 20 ลูก ซึ่งบางลูกเป็นภูเขาไฟไม่มีพลังตั้งอยู่ในเขตซาโป- เวดนิคหรือทอดตัวไปตามพรมแดนของเขตอนุรักษ์แห่งนี้ ภูเขาไฟ โครนอตสกีเป็นลูกที่สูงที่สุดโดยเป็นทรงกรวยสมบูรณ์แบบสูงถึง 3,521 เมตร ส่วนภูเขาไฟคราเชนินนีคอฟ (ตั้งชื่อตามสเตปัน เปโตรวิช คราเชนินนีคอฟ นักธรรมชาติวิทยาผู้กล้าหาญซึ่งเคยสำรวจคาบสมุทรคัมชัตคาเมื่อต้นศตวรรษที่ สิบแปด) ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ โดยอยู่ตรงข้ามกับ แม่น้ำโครนอตสกายา กระนั้นไกลออกไปอีกทางตะวันตกเฉียงใต้คือยอดเขาที่เคยเป็นหนึ่งในสามยอดเขา ขนาดใหญ่สามยอดเรียงต่อกัน แต่ตอนนี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้ว เพราะยอดสูงรูปกรวยถูกแทนที่ด้วยแอ่งต่ำๆขนาดกว้างใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์ กลางถึง 13 กิโลเมตร แอ่งนี้เต็มไปด้วยพุก๊าซ น้ำพุร้อน ทะเลสาบกำมะถัน ป่าไม้และพืชพรรณแบบทุนดรา ทั้งหมดนี้ล้อมรอบด้วยสันเขารูป วงกลมที่หลงเหลือมาจากตอนที่ภูเขาไฟลูกยักษ์เกิดระเบิดขึ้นเมื่อราว 40,000 ปีก่อน แอ่งนี้เรียกว่า แอ่งภูเขาไฟอูซอน ตั้งชื่อตามอูซอน เทวดาผู้มีเมตตาและทรงอำนาจในตำนานของชาวพื้นเมืองคอร์ยัค เช่นเดียวกับการค้นพบหุบเขาแห่งกีย์เซอร์ของอุสตีโนวา การสำรวจและศึกษาแอ่งภูเขาไฟอูซอนของนักวิทยาศาสตร์ได้เพิ่มเหตุผลที่ทำให้ เราต้องปกป้องซาโปเวดนิค นั่นคือ เพื่อ ปกปักความมหัศจรรย์ทางธรณีวิทยาและทางชีววิทยาเอาไว้ เรื่องเล่าของชาวคอร์ยัคเกี่ยวกับเทพอูซอนและแอ่งภูเขาไฟของเขานั้นฟังดู เหมือนนิทานสอนใจทั่วๆไป เขาเป็นมิตรกับมวลมนุษย์ เป็นผู้สยบยามพสุธาสะเทือน ใช้มือยับยั้งการปะทุของภูเขาไฟ รวมทั้งสร้างคุณงามความดีอื่นๆอีกมากมาย แต่เขามีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว เร้นกายอยู่บนยอดเขาของตนเอง ที่ซึ่งภูตผีปีศาจไม่อาจย่ำกรายเข้ามาทำลายล้าง ต่อมาอูซอนตกหลุมรักมนุษย์คนหนึ่ง เธอเป็นหญิงสาวแสนสวยชื่อนายุน ผู้มีดวงตาสุกใสเหมือนดวงดาว ริมฝีปากแดงเหมือนผลแครนเบอร์รี คิ้วดำขลับราวกับขนเซเบิล เธอเองก็มีใจให้อูซอนเช่นกัน เขาจึงพาเธอกลับไปยังภูเขา ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี แต่หลังจากครองรักกันอย่างมีความสุขตามลำพังอยู่นานหลายปี นายุนก็เริ่มโหยหาครอบครัวมนุษย์ที่จากมา อูซอนต้องการเอาใจเธอ จึงทำสิ่งผิดพลาดร้ายแรงและน่า สลดใจ นั่นคือการแยกภูเขาด้วยแขนอันทรงพลังของตนและสร้างถนนขึ้น จากนั้นผู้คนที่ทั้งอยากรู้อยากเห็นและชอบก่อความวุ่นวายก็เข้ามา ตอนนี้ทุกคนต่างรู้จักที่ซ่อนตัวอันลึกลับของอูซอน ซึ่งรวมถึงเหล่าภูตผีปีศาจด้วย “พื้นดินแยกออกพร้อมกับเกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว และกลืนกินภูเขามหึมาลูกนั้นลงไป แล้วอูซอนผู้ทรงพลังก็กลายเป็นหินไปตลอดกาล” จี. เอ. คาร์ปอฟ เล่าตำนานเรื่องนี้ให้ฟังในแบบหนึ่ง เรายังเห็นเขาอยู่ที่นั่นแม้กระทั่งทุกวันนี้ อูซอนกลายเป็นหินอยู่บนภูเขาสูงทางขอบด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอ่งภูเขาไฟ อูซอน ศีรษะของเขาค้อมลงมา ส่วนแขนก็เหยียดออกโดยรอบก่อให้เกิดเป็นขอบแอ่ง...
มกราคม 2552

727
๗๖ จังหวัดจัดเป็นกลอน

ลพบุรี บุรีรัมย์ กำแพงเพชร                      ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร
สมุทรสงคราม ลำปาง สมุทรปราการ           สระแก้ว น่าน ชัยภูมิ สมุทรสาคร

เพชรบุรี ระนอง นครปฐม                         นครพนม ระยอง แม่ฮ่องสอน
ฉะเชิงเทรา อุบล ยโสธร                           ขอนแก่น อุดร อยุธยา

นครนายก เพชรบูรณ์ พะเยา ตราด             นราธิวาส กระบี่ สงขลา 
มหาสารคาม ลำพูน สตูล ยะลา                  เลย พังงา หนองคาย เชียงราย จันท์

นครราชสีมา ปราจีน พิจิตร                       อุตรดิตถ์ ประจวบคิรีขันธ์
สระบุรี กาฬสินธุ์ สุรินทร์ สุพรรณ               นครสวรรค์ อ่างทอง ราชบุรี

อำนาจเจริญ พิษณุโลก ชัยนาท                  สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรี
ภูเก็ต หนองบัวลำภู สิงห์บุรี                      ปัตตานี พัทลุง สุโขทัย

กรุงเทพธนบุรี สกลนคร                           ปทุม นนท์ ชุมพร แพร่ เชียงใหม่
กาญจนบุรี ชลบุรี ตาก อุทัย                      เจ็ดสิบหกได้ครบจังหวัดจัดเป็นกลอน

(จาก ต่วยตูน 2550)

728
ทำไม คนญี่ปุ่นจึงไม่ดื่มชาเขียวแช่เย็นอย่างเด็ดขาด
เรื่องจริง ที่คนไทยไม่รุ้...............

ชาเขียว เป็นชาที่คนญี่ปุ่นรู้จักกันมานานกว่า 100 ปี ในขณะที่คนไทยเพิ่งรู้จัก กันไม่เกิน 10 ปีมานี้เอง คนญี่ปุ่นนิยมดื่มชาเขียวร้อนร้อนกัน เพราะได้พิสูจน์ แล้วว่าชาเขียวร้อนมีคุณสมบัติลดอนุมูลอิสระที่เป็นพิษในร่างกายคนเราให้ขับ ออกมาทางอุจจาระ และขับไขมันส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะและอุจจาระ

ชาเขียวชึ่งทำให้ร่างกายสามารถขับพิษและลดไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะของชาเขียวร้อน ที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มกันตั้งแต่เด็กจนแก่ แต่คนไทยนิยมดื่มชาเขียวแช่เย็น

ซึ่งคนไทยส่วนมากไม่เคยรู้จักคุณสมบัติที่แท้จริงของชาเขียวเลย ทำให้คนญี่ปุ่นรุ้สึกขบขันในใจแถมหัวเราะเยาะในใจว่าในอนาคตอันใกล้นี้ คนไทยจะมีร่างกายที่อ่อนแอกว่าคนญี่ปุ่น เพราะอะไรงั้นหรือ...เพราะว่าชาเขียวที่มีคุณอนันต์นั้น ย่อมมีโทษมหันต์เช่นกัน เพราะชาเขียว จะมีประโยชน์ต่อร่างกายในขณะที่ร้อนอยู่เท่านั้น ในทางกลับกันหากดื่มชาเขียวตอนที่เย็นแล้วกลับทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย กล่าวคือ การดื่มชาเขียวแช่เย็น นอกจากไม่ช่วยในการลดอนุมูลอิสระสารพิษออกจากร่างกายได้แล้วยังก่อให้เกิด การเกาะตัวแน่นของสารพิษดังกล่าวอันเป็นสาเหตุของมะเร็ง

นอกจากนี้ชาเขียวเย็นยังส่งผลให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และอุดตันตามผนังลำไส้ ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา อาทิเช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ เส้นเลือดตีบ ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น

เรายังมีการทดสอบให้เห็นอย่างง่าย ๆและชัดเจนเกี่ยวกับอันตรายที่กล่าวมาเบื้องต้นนี้ให้ท่านเห็นได้ด้วยตนเอง โดยการนำชาเขียวแช่เย็น ยิ่งเย็นยิ่งเห็นชัด นำมาเทลงในชามก๊วยเตี๊ยว จะพบว่าหลังจากเทชาเขียวแช่เย็นลงไปได้ครู่เดียว จะมีคราบไขมันลอยเห็นเป็นคราบบนน้ำซุป หรือเกาะเป็นคราบที่ชามก๊วยเตี๊ยวทันที แล้วร่างกายท่านล่ะ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อดื่มชาเขียวแช่เย็นเข้าไปสยองไหมละ

ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงไม่ดื่มชาเขียวแช่เย็นอย่างเด็ดขาด แต่จะดื่มชาเขียวร้อนอย่างชาญฉลาด ในขณะที่คนไทยที่คิดว่าตนเองฉลาดกลับดื่มชาเขียวแช่เย็นกันอย่างเอร็ดอร่อย แบบฉล๊าด ฉลาด......

ข้อมูลจาก กรมอนามัย

729
สี่เหลี่ยม A และ B เป็นสีเทาเฉดเดียวกัน แต่ตาเราถูกลวง ว่า สี่เหลี่ยม A เข้มกว่า B 

เหตุที่เราเห็นเฉดสีสี่เหลี่ยมทั้งสองต่างกัน เพราะสมองของเราไม่ได้รับรู้ความสว่าง และสีที่แท้จริงหากแต่เราประเมินความสว่าง และสี จากการเปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่รอบๆ

ไม่น่าเชื่อใช่ไหม แต่มันเป็นเรื่องจริง
เหมือนหลายๆอย่างในสังคม บางครั้งเราก็ไม่ได้พิจารณาบุคคล เรื่องราว หรืออื่นๆ อย่างลึกซึ้ง จริงจัง
แต่ดูเพียงผิวเผิน แล้วเราก็ถูกลวงโดยไม่รู้ตัว หลงเชื่อ หลงผิด หลงทิศทาง หลงทำสิ่งที่ผิดพลาด

ก้าวผ่านภาพลวงตาในสังคมกันได้แล้วเพื่อนๆ

730
ขั้นไหนอยู่สูงที่สุด (เหตุผลใช้ไม่ได้เลย)

731
จ้องมองจุดตรงกลาง แล้วเคลื่อนศีรษะเข้าออก
(ตัวเราเคลื่อน แต่ตาเห็นว่าจุดบริเวณรอบวงกลมเคลื่อน)

732
เส้นขนานกัน แต่ทำไมตาเ้ห็นเอียงไปเอียงมา

733
ของมีอยู่ แต่หายไปเฉยๆ
(จ้องมองจุดตรงกลางสักพัก)



734
สวัสดีครับ บางท่านอาจยังคงจำได้ว่าเมื่อปีก่อน มีกรณีการกักสินค้ายาที่ชื่อ Losartan ระหว่างจอดแวะท่าที่ท่าเรือรอตเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต และประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดียและบราซิล ซึ่งเป็นต้นทางและปลายทางของสินค้ายาดังกล่าว พร้อมทั้งองค์กรภาคประชาสังคมหลายแห่ง

อาทิ หมอไร้พรมแดน ได้ออกมาแสดงความกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมายศุลกากรของสหภาพยุโรป หรือ "อียู" ซึ่งอาจมีผลเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งยาชื่อสามัญ (generic drug) เนื่องจากเมื่อยาดังกล่าวแวะท่า (transit) ในประเทศที่มีการคุ้มครองสิทธิบัตรสูตรยาดังกล่าวไว้ ก็อาจโดนกล่าวหาว่าเป็นสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้
 เรื่องนี้ บราซิลและอินเดียมองว่า Lorsartan ผลิตโดยถูกกฎหมายที่อินเดียและสามารถนำเข้าบราซิลได้โดยถูกกฎหมาย เนื่องจากบริษัทยาอเมริกันไม่มีสิทธิบัตรที่บราซิลหรืออินเดีย และยาดังกล่าวควรได้รับเสรีภาพในการแวะท่า (freedom of transit) ดังนั้น ศุลกากรเนเธอร์แลนด์ ซึ่งดำเนินการตามข้อบังคับของสหภาพยุโรป ไม่ควรที่จะแทรกแซงการขนส่งยาดังกล่าว ขณะที่อียูยืนยันหนักแน่นว่าเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่พรมแดน (border measure) ที่ศุลกากรเนเธอร์แลนด์นั้น ทำได้ตาม TRIPS (ความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้องค์การการค้าโลก)และแม้จะเป็นสินค้า แวะท่า (goods in transit) อียูก็มีสิทธิบังคับใช้กฎหมายของตนในอาณาเขตของตน โดยไม่ผิดกติกาการค้าระหว่างประเทศ
 ตามคาดครับ อินเดียและบราซิลกัดไม่ยอมปล่อย หลังจาก "หารือ" กับอียูและเนเธอร์แลนด์มาปีที่แล้วตลอดปี ในที่สุดก็ฟ้องร้องทั้งสองสมาชิกที่องค์การการค้าโลก(WTO) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเริ่มกระบวนการหารืออย่างเป็นทางการภายใต้องค์การ ซึ่งก็ทราบกันดีว่า คือก้าวแรกของการฟ้องคดี เพื่อสร้างแรงกดดัน และจะสามารถนำไปสู่การขอจัดตั้ง dispute settlement panel ในที่สุด เรื่องนี้เนเธอร์แลนด์พลอยติดร่างแหไปด้วยครับ ในฐานะประเทศสมาชิกที่บังคับใช้ border measures ตามข้อบังคับของอียู
 อินเดียกับบราซิลพักหลัง ๆ นี้ ดูจะหงุดหงิดกับอียูเหลือทน เพราะไม่ว่าจะหารือกันมากี่เดือน อียูใช้วิธีแก้ตัวปากเปล่าอยู่เรื่อย ไม่มีหลักฐานมาสนับสนุน แถมที่พูดปาวๆ เอาไว้ว่ามาตรการศุลกากรของตนจะช่วยตรวจสอบไม่ให้ยาปลอมเข้ามาในเส้นทางการ ค้า ถือเป็นประโยชน์ด้านสาธารณสุข ฝ่ายอียูก็ไม่เคยบอกได้ซักทีว่าเคยจับยาปลอมที่มาแวะท่าได้กี่รายแล้ว มิหนำซ้ำยังไม่มีทีท่าว่าจะแก้กฎหมายศุลกากรของตนในเรื่องนี้อีกด้วย เหมือนจะยั่วโมโหกันแท้ๆ แบบนี้อาบังกับพี่แซมบ้าจึงต้องจับมือกันฟ้องเสียให้รู้เรื่องไปเลย
 หากมองในบริบทกว้าง ท่านผู้อ่านคงเห็นตรงกับผมว่าในช่วงหลายปีมานี้ มีความตึงเครียดอยู่มากระหว่างการรักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญากับมาตรการ ด้านสาธารณสุข ซึ่งแฝงอยู่ในความตึงเครียดเหนือ-ใต้ โดยแม้ว่าความตกลง TRIPS จะให้ความยืดหยุ่นในการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข แต่ก็ดูเหมือนมีความพยายามจากประเทศพัฒนาแล้วที่จะตอบโต้ด้วยการเพิ่มการปก ป้องทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีอื่น อาทิ การเสนอพันธกรณีปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินกว่าในความตกลง TRIPS หรือที่เรียกว่ากันติดปากว่า "TRIPS-plus" ในการเจรจาเอฟทีเอ นอกจากนี้ บางประเทศยังจับกลุ่มเพื่อเจรจา Anti-Counterfeit Trade Agreement เพื่อเสริมสร้างการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยไม่ยอมเปิดเผยเนื้อหาการเจรจาให้ภายนอกรับรู้ ทำให้มีการคาดการณ์ต่างๆ นานาเกี่ยวกับการใช้มาตรการศุลกากรปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและดูเหมือนยิ่ง สร้างความหวาดระแวงระหว่างกันมากขึ้นอีก
กรณีการกัก Lorsartan ที่ท่าเรือรอตเตอร์ดัมข้างต้นจึงเสมือนเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่โลกเหนือ-ใต้
หวาดระแวงกันอยู่นั้น น่าจะมีมูลอยู่ ดังนั้น แม้เนเธอร์แลนด์จะไม่ใช่เป้าหมายหลักของการโต้ตอบจากอินเดียและบราซิล แต่ก็ไม่วายถูกดึงเข้าไปอยู่ท่ามกลางความตึงเครียดนี้ครับ แถมอยู่ฝ่ายที่ต้องตั้งรับอีกด้วย คงต้องติดตามกันต่อไปครับ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,531   16-19  พฤษภาคม พ.ศ. 2553

735
มีโอกาสได้เรียนรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ที่สรพ. ส่งเสริมให้รพ.ได้มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เยียวยาผู้คนที่เกี่ยวข้องใน โรงพยาบาล

สิ่งแวดล้อมที่ปรับปรุงนั้น มาจากแนวคิดที่จะรับรู้ความรู้สึก ความทุกข์ ของคนไข้ การสัมผัสแสง เสียง กลิ่น รสชาติ นำมาปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เกิดความอบอุ่น ซึ่งแต่ละรพ.ได้มีการจัดสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย บางรพ. ส่งผลงานการจัดสวนสวยมาเลยค่ะ ปรับปรุงโครงสร้างสวยงาม แต่ดูแล้วยังไม่ตรง concept ของการเยียวยา  ขอนำทฤษฎีมาฝากและมีตัวอย่างจากโรงพยาบาลมาฝากด้วยค่ะ
สรพ.ได้ มีการส่งเสริมให้รพ.พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากสิ่งแวดล้อมที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน เช่นเรื่องของการกำจัดขยะ น้ำเสีย ระบบสำรองฉุกเฉินต่างๆ จนถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จนถึงการต่อยอดด้วย สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา
Healing Environment หมายถึงการจัดสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลที่ทำให้ผู้ใช้สอยรู้สึกดี สบาย ผ่อนคลาย ซึ่งความรู้สึก สัมผัส ถึงความต้องการ ความทุกข์ของผู้ป่วย เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การบำบัดและเยียวยาที่ได้ผล

จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า องค์ประกอบต่างๆ ในสภาพแวดล้อม เช่น แสง สี เสียง กลิ่น ทัศนียภาพ งานศิลปะ เสียง วัสดุและพื้นผิวต่างๆ มีอิทธิพลอย่างมากต่อการบำบัดเยียวยาผู้ป่วย
สภาพแวดล้อมที่ดี มีผลต่อผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิผลของการรักษาและเร่งการฟื้นตัวของผู้ป่วย รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ด้วย ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมด้วยการเลือกใช้ สี แสง พื้นผิววัสดุ และเสียง เพื่อสร้างบรรยากาศของสภาพแวดล้อมเพื่อการเยียวยานี้จึงต้องระมัดระวังเป็น อย่างยิ่ง

การจัดสภาพแวดล้อมที่ เยียวยานี้ เราใช้ประสาทสัมผัส (ผัสสะ) ทั้ง 5 ของเราในการตีความ ซึ่งได้แก่ การมองเห็น-รูป Sight, การรู้รส Taste, การได้กลิ่น Smell, การได้ยิน-เสียง Hearing และการสัมผัส Touch ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเงื่อนไขทางกายภาพของผู้ใช้สอยพื้นที่ ดังนั้น การสร้างความเข้าใจในเรื่องของผัสสะทั้งหลายนี้ จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมเพื่อการเยียวยาที่ได้ผล ซึ่งจะแยกอธิบายได้ดังนี้
การมองเห็น Sight  องค์ประกอบที่ให้เรามองเห็นนั้น ได้แก่ 
•       แสง Light แสงที่พอเหมาะ แสงธรรมชาติ แสงประดิษฐ์ หรือแสงแดด
•       สี Colour สีสรรที่ใช้ประกอบอาคาร
•       รูปทรง Form ลักษณะรูปทรงของวัตถุที่มองเห็น
•       ทัศนียภาพ Views ภาพที่ปรากฏต่อสายตา
•       งานศิลปะ The arts ซึ่งแบ่งออกเป็น
         ทัศนศิลป์ Visual arts ภาพวาด จิตรกรรม ปฏิมากรรม
         ศิลปการแสดง Performing arts ละคร การเล่นดนตรี
การรู้รส Taste
          รสชาติของอาหารในสถานพยาบาล
การได้ กลิ่น Smell
          กลิ่นที่เกิดขึ้น เช่นกลิ่นยา กลิ่นน้ำยาเคมี หรือ กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ
การได้ยิน-เสียง Hearing
          เสียงจากแหล่งต่างๆมากมายในสถานพยาบาล ทั้งที่เกิดจากมนุษย์ เครื่องมือ เครื่องจักร เสียงที่เกิดจากธรรมชาติ และเสียงเพลง
การสัมผัส Touch
          พื้นผิว/ความหยาบ ละเอียด ลื่น ความสะอาด

          นอกจากองค์ประกอบในเรื่องของการจัดการผัสสะทั้ง 5 แล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งยวดอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของใจ Mind การบริหารอารมณ์ในการรับมือกับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ การรับรู้ทางใจระหว่างผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการแสดงออกทางอารมณ์ด้วยการกระทำ คำพูด ที่เป็นผลความรู้สึกนึกคิดของทุกๆฝ่าย ก็ดูเหมือนจะมีความสำคัญต่อการเยียวยาไม่น้อยไปกว่าผัสสะทั้ง 5 เลย

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเรื่อง นี้มากยิ่งขึ้น สรพ.จึงรณรงค์ให้รพ. ส่งผลงานที่เยียวยาผู้คน ในรพ.เพื่อเข้ารับรางวัลในการประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ที่อิมแพค เมืองทองธานี  จึงเห็นความตั้งใจของรพ.ที่จะพัฒนาเรื่องนี้ คณะกรรมการฯของสรพ.ได้คัดเลือกผลงานที่สามารถเป็นตัวอย่างได้ จำนวน 5 รพ. เพื่อเรียนรู้ ซึ่งมีทั้งรพ.เอกชนและรพ.ชุมชน คณะกรรมการของเรามีแนวทางการพิจารณา คัดเลือกและดูแนวคิดของรพ.ที่พัฒนาเรื่องนั้น วันนี้ขอนำเสนอแนวคิดของรพ.แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นรพ.เอกชน ในกทม. ที่ผ่านรอบแรกของการคัดเลือกมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับรพ.ที่สนใจที่จะพัฒนาเรื่องนี้ เพราะหากพัฒนาเรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาอย่างเข้าใจแล้ว ทำให้เรื่องกระบวนการดูแลรักษา การเข้าใจ เข้าถึงความรู้สึก ความทุกข์ ของผู้ป่วยได้รับการพัฒนามากขึ้นไปด้วยค่ะ

มีตัวอย่างจากรพ.แห่ง หนึ่งค่ะ รพ.นี้ ท่านผอ.รพ.มีแนวคิดที่จะทำให้รพ.เป็นเหมือนบ้านที่อบอุ่น สมาชิกทุกคนในรพ. มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ โครงสร้างร่วมกับสถาปนิก ที่มีความคุ้นชินกับองค์กรนั้นๆ เก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ จนเกิดเป็นรพ. ที่อบอุ่น เหมือนบ้าน จนทำให้ความรู้สึกรักในบ้านของตนเอง แผ่ขยายไปยังผู้รับบริการไปด้วย

คณะ ผู้บริหาร และบุคลากรทุกคนของโรงพยาบาล ร่วมกันสร้างบ้านหลังใหญ่หลังนี้ ให้เสร็จสมบูรณ์ขึ้น ด้วยความรัก และความเอาใจใส่ เราตั้งใจ และมุ่งมั่นที่จะให้ทุกคนที่เข้ามาใช้บริการที่บ้านของเรา ได้รับการต้อนรับ และการบริการอย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาในโรงพยาบาล คุณจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่อบอุ่น การต้อนรับที่น่าประทับใจ ซึ่งทุกคนตระหนักถึงหลักการบริการของโรงพยาบาล  ที่ว่า เราจะดูแลทุกคนที่เข้ามาหาเรา ประดุจว่า เสมือนดั่งเป็นครอบครัวของเราเอง เรามั่นใจว่า ทุกท่านจะได้รับการบริการที่ดี ตรงกับความต้องการ อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และยังได้รับความรัก ความประทับใจ เอาใจใส่จากพวกเรา กลับไปอีกด้วย
บริเวณที่ก่อสร้างรพ.แห่งนี้ เป็นบ้านของคุณพ่อท่านเจ้าของรพ. มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น มากมาย แม้จะอยู่ในเมืองหลวง ต้นไม้ใหญ่ถูกอนุรักษ์ไว้ไม่ให้ตัด แม้จำเป็นต้องสร้างตึก หรือสระน้ำ เพิ่มเติมก็ตาม ทำให้บรรยากาศของที่นี่ ร่มรื่น สดชื่น เป็นอย่างยิ่ง

วินาทีแรกที่เดินเข้าไปที่รพ.แห่งนี้ บริเวณตึกผู้ป่วยนอก ออกแบบด้วย concept ของ cowboy เสาอาคารออกแบบเหมือนถังนมวัว เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งอย่างมีสไตล์ (อันนี้ สไตล์พอลล่านะคะ) เรามีสถาปนิกไปเยี่ยมด้วยค่ะ ท่านก็คิดเหมือนกัน เราเข้าชมห้องตรวจสูตินรีเวช ที่ออกแบบให้มีต้องตรวจภายในอยู่ภายในห้องนั้น ทำให้ผุ้รับบริการไม่รู้สุกเขินอาย เมื่อต้องตรวจภายใน มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องน้ำเฉพาะไม่ต้องเดินออกมาภายนอกห้อง บริเวณที่ซักประวัติมีความเป็นส่วนตัวพอสมควร แสดงถึงการเข้าใจความรู้สึกขอผู้รับบริการ แล้วนำมาร่วมกันออกแบบโครงสร้าง นอกจากนี้ ห้องตรวจเด็ก ห้องพักผู้ป่วย บริเวณทางเชื่อมล้วนแต่ออกแบบมาอย่างประณีต ใส่ใจรายละเอียด ห้องพักผู้ป่วยมีระเบียง มีสวนหย่อมให้สามารถออกมาเดินเล่นได้ด้วย

นอกจากนี้บริเวณ รพ.ยังมีสระว่ายน้ำ ห้องเรียน ดนตรี ศิลปะ ไว้บริการคนภายนอกและเจ้าหน้าที่อย่างครบวงจร เป็นการทำงานการออกแบบ ที่สอดรับกับการขยายโครงสร้างของตึกเป็นอย่างดี
ที่ นำเสนอมาไม่ได้ให้รพ.อื่นๆ ลงทุนก่อสร้างแบบนี้ นะคะ อยากให้เรียนรู้วิธีคิด ของการออกแบบ การทำงาน การให้บริการผู้ป่วยด้วยความรักและความเข้าใจ จนทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยาแบบนี้ค่ะ โรงพยาบาล จึงเป็นบ้านที่อบอุ่นได้

หน้า: 1 ... 47 48 [49] 50 51