แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - pani

หน้า: 1 ... 45 46 [47] 48 49 ... 51
691
บทที่ 3
New frontiers : onto the land
จากมหาสมุทร…สู่แม่น้ำแห่งชีวิต-วิวัฒน์เพื่อการอยู่รอด

โลกเมื่อประมาณ 450 ล้านปีก่อน ไม่มีสัตว์หรือพืชชนิดใดที่อาศัยอยู่บนผืนดิน พื้นดินเป็นดั่งโลกอันแห้งแล้งที่มีเพียงทะเลทรายครอบคลุมพื้นที่อันกว้างใหญ่
ไพศาล ในทางตรงกันข้ามมหาสมุทรเป็นโลกที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตบรรพบุรุษ
ของมนุษย์ในอดีตกาลเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายปลาในยุคดึกดำบรรพ์ แต่เมื่อแผ่นดิน
ทวีปเริ่มเคลื่อนไหวและมหาสมุทรเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ส่งผลให้
สิ่งมีชีวิตเริ่มถูกผลักดันออกมาสู่พื้นดิน

และต่อมาพื้นดินแห่งนี้ก็ได้กลายเป็นเวทีใหญ่แห่งการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งนำไปสู่มนุษย์ในที่สุด พืชได้ย้ายไปสู่พื้นดินก่อนพวกสัตว์ และปกคลุม พื้นผิวดินไว้

692
บทที่ 2
Snowball earth : first of our past
วิกฤตยุคโลกก้อนหิมะ - มิติซับซ้อนของต้นกำเนิดมนุษย์

ณ สองช่วงเวลาในประวัติศาสตร์โลก คือ เมื่อ 600 ล้านปีก่อน และ 2 หมื่น
2 พันล้านปีก่อน โลกได้ถูกกลบฝังอยู่ภายในน้ำแข็ง ซึ่งมีลักษณะเหมือน
ลูกบอลหิมะขนาดยักษ์ พื้นดินถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งหนาเหมือนกับดินแดน
แอนตาร์กติก้าในปัจจุบัน น้ำทะเลเย็นยะเยือกกลายเป็นน้ำแข็งจนถึงระดับ
ความลึก 1,000 เมตรในช่วงนี้บรรพบุรุษของมนุษย์ยังคงเป็นแบคทีเรียที่
ไม่สามารถ มองเห็นด้วยตาเปล่า แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณพันเท่า
เมื่อเทียบกับขนาดที่เคยเป็นมาก่อน
ซึ่งหลังจากสภาวะโลกกลายเป็นลูกบอลหิมะได้สิ้นสุดลง บรรพบุรุษของมนุษย์
ก็สร้างวิวัฒนาการอันยิ่งใหญ่ แบบก้าวกระโดดไกลไปจากสิ่งมีชีวิต ในรูปแบบอื่นๆ
สิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้วิวัฒนาการไปเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถ
มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ความแข็งแกร่งของสิ่งมีชีวิตซึ่งอยู่รอดจากสภาวะโลก
เป็นลูกบอล หิมะทั้งสองครั้งได้ทำให้ดาวเคราะห์ดวงนี้ พร้อมที่จะเริ่มบทบาทใหม่

ในประวัติศาสตร์ของตัวมันและมนุษย์ คือ ผลพวงจากวิวัฒนาการนั้นๆ
ซึ่งบทพิสูจน์ดังกล่าวได้ถูกทำเครื่องหมายเอาไว้อย่างชัดเจนในร่างกาย
ของเราแล้ว


693
บทที่ 1
Violent planet : secret of past
ดวงดาวแห่งการทำลายล้าง-ปริศนาการกำเนิดชีวิต

โลกของเราเกิดขึ้นมาแล้วเป็นเวลาถึง 4 พัน 6 ร้อยล้านปี ในช่วงเริ่มแรก สิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นเพียงแค่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นในมหาสมุทร และกระจายสู่ที่ต่างๆ และบ้างก็อยู่ลึกไปสู่ใต้ดิน


ในอดีตลูกอุกกาบาตขนาดยักษ์พุ่งเข้าชนโลกมากกว่า 6 ครั้ง ทำให้โลกต้อง ถูกปกคลุมด้วยไอหิน ที่มีความร้อนอันบ้าคลั่ง

มหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด ของชีวิต ก็ไม่สามารถรอดพ้นจากหายนะภัย
ครั้งนี้ได้ มันเดือดระอุและระเหยจนเหือดแห้ง ซึ่งได้ทำลายกวาดล้างสิ่งมีชีวิต
ทั้งหมดที่ก่อตัวในมหาสมุทรไป

แต่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นดินนั้นยังคงอยู่รอด ถึงแม้เหตุการณ์การระเหยทั้งหมดจะทำให้ดาวเคราะห์กลายเป็น ลูกบอลไฟขนาดยักษ์

แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปไอหินอาจจะสามารถหายไป และอุณหภูมิอาจจะค่อย ๆ ลดลง การระเหยของน้ำทะเล ในที่สุดก็จะเกิดการควบแน่นกลายเป็นฝนที่เชี่ยวกราดไหลลง สู่อ่างมหาสมุทรอันว่างเปล่า ณ จุดหนึ่งของเวลา โลกใหม่ของมหาสมุทรก็ได้ เกิดขึ้นอีกครั้ง และลึกลงไปใต้พื้นมหาสมุทรนั้นเอง

จะมีจุลินทรีย์มากมายที่ดำรงชีวิตอยู่รวมถึงบรรพบุรุษของมนุษย์ แม้จะมีขนาดที่มอง ไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ด้วยการยืนหยัดของชีวิตพวกเขา ค้นหาทุกสถานที่ที่เป็นไปได้ ที่จะอาศัยและดำรงชีวิตอยู่ และด้วยการผจญภัยของพวกเขานั้นเอง วงล้อแห่ง วิวัฒนาการ ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเราได้ดำเนินผ่านมา 4พันกว่าล้านปี ก็จะเริ่มต้นขึ้น
และเริ่มหมุนอีกครั้ง

694
อ้าว เฮ้ย...เอ็ง...ลองของ...มันก็เข้าสิวะ เขาให้บอกบูชาครู บอกใหม่... บูชาครู” เสียงลูกศิษย์หลวงพ่อสั่งให้เด็กหนุ่มเปลี่ยนคำพูด ซึ่งเขาก็รีบกุลีกุจอทำตามอย่างว่าง่าย แม้จะดูตื่นเต้นอยู่ไม่น้อย “ครับขอบูชาครูครับ” กลุ่มคนจำนวนหลายสิบที่เข้ามาขอบูชาตะกรุดชุดแรกของช่วงบ่ายและกำลังทยอยออกจากห้องต่างหันหลังกลับในทันทีที่ได้ยินเสียงยืนยันชัดเจน แล้วการเบียดตัวหาที่ว่างภายในกุฏิก็เกิดขึ้น คำพูดตะกุกตะกักสั้นๆแต่หนักแน่นของหนุ่มร่างสูง หน้าจืด แต่แววตาดูเอาเรื่องคนนี้ ได้เปลี่ยนบรรยากาศอบอ้าวของช่วงบ่ายกลางเดือนมิถุนายน ที่สมานกับพลังศรัทธาในตัวหลวงพ่อจำลองแห่งวัดเจดีย์แดง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ด้านคงกระพันชาตรีจากตะกรุดลงอาคมของหลวงพ่อให้ทวีร้อนแรงมากยิ่งขึ้น

        สำหรับสุขสันต์ กลบกลิ่น หนุ่มชาวนครสวรรค์วัย 27 ปี การลองของคงถือเป็นวิธีการเรียกศรัทธาได้ดีที่สุดของเขา แม้จะดูบ้าบิ่นและไร้เหตุผลสำหรับคนทั้งกุฏิในวันนั้น นี่ไม่ใช่การลองของครั้งแรก ย้อนหลังไปราวสิบปี สุขสันต์ผู้บ้าบิ่นเคยเดินทางไปรับการสักน้ำมันกับหลวงพ่อเปิ่นแห่งวัดบางพระที่เมืองนครชัยศรี และปิดฉากด้วยการทดสอบความขลังโดยให้หลวงพ่อใช้ดาบเล่มยาวคมกริบฟันที่กลางหลัง แต่ไม่ระคายผิวของเขาแม้แต่น้อย และเช่นเดียวกันสำหรับหลวงพ่อจำลองการบูชาครูครั้งนี้หาได้เป็นการพยายามค้นคำตอบและเรียกศรัทธาครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของผู้คน ทั้งชาวบ้านและพระลูกวัดที่ตั้งโต๊ะให้บริการสวมปลอกตะกรุดอยู่ข้างกุฏิเก่าโทรมของหลวงพ่อ ยืนยันว่าการปลุกเสกพร้อมเปิดให้บูชาตะกรุดมีขึ้นทุกวัน วันละหลายร้อยดอก และการบูชาครูเช่นนี้เกิดขึ้นแทบทุกอาทิตย์

        ที่ข้างอาสนะ มีดหมอวาววับเสียบแช่อยู่ในขวดแอลกอฮอล์ล้างแผล โค้งคมของมันทำให้รู้สึกเสียววาบถึงสันหลัง “กำไว้แน่นๆ” เสียงหลวงพ่อกำชับ ก่อน ตามมาด้วยเสียงร่ายคาถาสะกดคนดูให้เงียบงัน นักลองของใจหาญถอดเสื้อหมอบลงกับพื้นให้หลวงพ่อประพรมน้ำมนต์จนเปียกโชก เขากำดอกตะกรุดหุ้มยางรักสีดำมะเมื่อมปิดส่วนกลางด้วยแผ่นทองคำเปลวไว้ในมือ และทันทีที่เสียงร่ายอาคมจบลง หลวงพ่อก็ลุกพรวดขึ้นพร้อมฉวยมีดหมอข้างกายปักปลายแหลมลงที่สะบักไหล่ซ้ายแล้วกรีดยาวลงไปจนถึงบั้นเอวอย่างรวดเร็วและหนักหน่วง เสียงออกแรงกดของหลวงพ่อดังผสานเสียงมีดโลหะกรีดผิวเนื้อดังก้องไปทั่วทั้งกุฏิอย่างต่อเนื่อง กลุ่มคนดูยืนจ้องตัวเกร็งราวกับจะลืมหายใจ หลายคนครางด้วยความเสียวไส้ ไม่กี่อึดใจเสียงมีดกรีดเนื้อก็หยุดลง รอยสีแดงเรื่อเป็นทางยาวนับ 30 รอยก็ประทับบนแผ่นหลังของเจ้าหนุ่ม เลือดสีแดงสดเริ่มซึมออกมาเหมือนยางมะตูม “นี่...ของแท้”หลวงพ่อพูดพลางหายใจหอบ ก่อนทรุดนั่งและหย่อนมีดหมอลงในแอลกอฮอล์ล้างแผลขวดเดิม

        เรื่องราวของตะกรุดรวมทั้งเครื่องรางของขลังที่คนไทยรู้จักดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยันต์ ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด รวมทั้งว่านยา มีหลักฐานกล่าวถึงสรรพคุณต่างๆ ทั้งความคงกระพันหนังเหนียวและเมตตามหานิยม ตั้งแต่ช่วงปลายสมัยอยุธยา จากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน หากความเชื่อดังกล่าวปรากฏขึ้นก่อนหน้านั้น จารึกในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ยี่สิบสาม กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งเจ้าพระยาโกษา-ปานเป็นทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจฝรั่งเศส และได้จัดแสดงความคงกระพันชาตรีของหน่วยทหารกองอาทมาตจำนวน 100 นาย ผู้ขึ้นชื่อว่าเชี่ยวชาญวิชชาชาตรี เจนจบในตำรับพิชัยสงคราม แต่อ้างเพียงว่าเป็นกะลาสีเรือทั่วไปเท่านั้น ครั้งนั้นเจ้าพระยาโกษาปานจัดให้บรรดากะลาสีเข้าไปนั่งรวมกลุ่มในวงล้อมสายสิญจน์ โดยมีปะขาวเป็นผู้ทำพิธีปักธงธวัชและตั้งศาลเพียงตา ก่อนให้สัญญาณแก่บรรดานายทหารจำนวน 200 นายของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ ซึ่งยืนถือปืนห่างออกไปราวยี่สิบวา ระดมยิง จารึกกล่าวว่า “เสียงปืน 200 กระบอกดังสนั่นหน้าพระที่นั่ง ควันปืนอบอวลคลุ้งกระจาย ลูกกระสุนปืนทั้ง 200 นัดมิได้ระคายแม้ชายเสื้อทหารสยามทั้งหลาย เป็นที่อัศจรรย์”


     สิงหาคม 2550

695
เมื่อเดือนกันยายน ปี 1994 เกิดโรคร้ายในคอกม้าแข่งชานเมืองบริสเบนของออสเตรเลีย ในย่านที่พักอันเก่าแก่และเงียบสงบชื่อเฮนดรา ซึ่งมีทั้งสนามม้า คอกม้า แผงขายโพยม้าแข่ง ร้านกาแฟมุมถนนมีชื่ออย่างเดอะฟีดบิน และคนในวงการแข่งม้า เหยื่อรายแรกเป็นม้าท้องชื่อดรามาซีรีส์  มันเริ่มมีอาการในทุ่งหญ้านอกเขตชุมชนและถูกนำตัวมารักษาที่คอก แต่กลับทรุดลง แม้คนฝึกม้า หัวหน้าคนงานของคอกม้า และสัตวแพทย์ จะพยายามอย่างไร มันก็ตายในอีกสองวันถัดมา ทิ้งปริศนาการตายไว้ จะเป็นเพราะถูกงูกัดหรือกินพืชที่มีพิษในทุ่งหญ้าหรือเปล่า สองสัปดาห์ต่อมา สมมติฐานเหล่านั้นก็ตกไปเมื่อม้าอีกหลายตัวในคอกเริ่มป่วย นี่ไม่ใช่งูกัดหรืออาหารเป็นพิษ แต่เป็นโรคติดต่อแน่นอน
     ม้าตัวอื่นๆมีไข้ หายใจติดขัด หน้าบวม และเชื่องช้า บางตัวมีเลือดออกจากปากและจมูกเป็นฟองฟอด ทั้งที่สัตวแพทย์พยายามอย่างเต็มที่ แต่ม้าอีก 12 ตัวก็ตายในไม่กี่วัน ระหว่างนั้นคนฝึกม้าและหัวหน้าคนงานก็เริ่มป่วย แต่สัตวแพทย์ที่ทำงานอย่างระมัดระวังกลับสบายดี ไม่กี่วันต่อมาคนฝึกม้าก็เสียชีวิตที่โรงพยาบาลเพราะไตวายและหายใจไม่ออก ส่วนเรย์ อันวิน หัวหน้าคนงานใจอารีที่กลับไปรักษาตัวตามลำพังที่บ้านรอดชีวิต เขากับสัตวแพทย์เล่าเหตุการณ์ให้ฟังตอนที่ผมไปเฮนดราเมื่อปีที่แล้ว เรย์ อันวิน ชายวัยกลางคนผู้มีผมหางม้าสีทองแดงและนัยน์ตาหมองเศร้า บอกว่าเขาไม่ได้ "สำออย" แต่สุขภาพของเขา "ผิดปกติ" ตั้งแต่เกิดเรื่อง
     ผลวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการเผยว่า ทั้งม้าและคนติดเชื้อไวรัสที่ไม่รู้จักมาก่อน ตอนแรกเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเรียกไวรัสนี้ว่า อีไควน์มอร์บิลลิไวรัส หมายถึงไวรัสของม้าที่มีลักษณะใกล้เคียงไวรัสโรคหัด ต่อมาเมื่อเข้าใจลักษณะเฉพาะของไวรัสมากขึ้น พวกเขาก็เรียกมันว่าเฮนดราตามที่เกิดเหตุ ปีเตอร์ รีด สัตวแพทย์รูปร่างสูง ท่าทางสุภาพ บอกว่า "การติดต่อระหว่างม้านั้นเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ" ในช่วงวิกฤติของเหตุการณ์ มีม้า 7 ตัวตายอย่างทุกข์ทรมานหรือต้องทำการุณยฆาตในช่วงเวลาแค่ 12 ชั่วโมง ม้าตัวหนึ่งดิ้นทุรนทุรายและหอบหนักจนไม่อาจเข้าไปฉีดยาให้ตายได้ "ผมไม่เคยเห็นไวรัสทำอะไรแบบนี้มาก่อนครับ" เขาบอก ชายที่พูดน้อยกว่าความเป็นจริงเรียกเหตุการณ์นั้นว่า "ช่วงเวลาที่ค่อนข้างสยดสยอง"
     การชี้ตัวไวรัสชนิดใหม่เป็นเพียงขั้นแรกในการไขความลับของเฮนดราเท่านั้น ยังมีเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจอีกมากในภาพรวม ขั้นที่สองคือการแกะรอยว่าไวรัสซ่อนตัวที่ไหนยามไม่ได้ฆ่าม้าและคน ขั้นที่สามคือการระดมคำถามเป็นชุด นั่นคือ มันออกจากที่ซ่อนได้อย่างไร ทำไมจึงเป็นที่นี่ และตอนนี้   
     หลังจากคุยกันครั้งแรก ปีเตอร์ รีด ได้ขับรถพาผมไปดูจุดที่ (ม้า) ดรามาซีรีส์เริ่มป่วย บ้านชานเมืองที่เป็นระเบียบสร้างขึ้นบนทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์เก่า มองไม่เห็นภูมิประเทศดั้งเดิมเท่าใดนัก กลางวงเวียนคัลลีออปเซอร์กิตสุดถนนสายหนึ่งมีต้นมะเดื่อพื้นเมืองต้นใหญ่ยืน ตระหง่านอย่างโดดเดี่ยว นางม้าคงอาศัยร่มเงาต้นไม้นี้หลบแสงอาทิตย์อันแผดเผาของออสเตรเลียตะวันออก

     รีดบอกว่า "นั่นไงครับต้นไม้ตัวการ" เขาหมายถึงต้นไม้ที่ค้างคาวมารวมกัน

     โรคติดเชื้อมีอยู่รอบตัวเรา เป็นเหมือนปูนขาวธรรมชาติที่เชื่อมสิ่งมีชีวิตต่างชนิดเข้าด้วยกันภายในโครง ข่ายอันประณีตที่ชื่อระบบนิเวศ โรคติดเชื้อเป็นกระบวนการพื้นฐานหนึ่งที่นักนิเวศวิทยาศึกษา ควบคู่กับการล่า การแข่งขัน และการสังเคราะห์แสง สัตว์นักล่ามักเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่กินเหยื่อจากภายนอก ส่วนจุลชีพก่อโรค (สิ่งที่ทำให้เกิดโรค เช่นไวรัส) เป็นสัตว์ขนาดเล็กที่กินเหยื่อจากภายใน แม้โรคติดเชื้อจะดูน่ากลัวและร้ายกาจ แต่ในสถานการณ์ปกติ นี่เป็นกระบวนการธรรมชาติ เหมือนสิงโตล่าวิลเดอบีสต์ ม้าลาย และกาเซลล์ ทว่าสถานการณ์ไม่ปกติเสมอไป
      สัตว์นักล่ามีเหยื่อชนิดโปรดที่ล่าเป็นประจำ จุลชีพก็เช่นกัน และเมื่อบางครั้งสิงโตอาจมีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ฆ่าวัวแทนวิลเดอบีสต์ ฆ่าคนแทนม้าลาย จุลชีพก็เปลี่ยนเป้าหมายใหม่ได้เช่นกัน อุบัติเหตุและความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน โอกาสและความต้องการก็เปลี่ยนไป เมื่อจุลชีพแพร่กระจายจากสัตว์ไปสู่มนุษย์และก่อโรคได้สำเร็จ ผลที่ตามมารู้จักกันในชื่อ โรครับจากสัตว์
     คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นกับคำว่าโรครับจากสัตว์ แต่คำนี้ช่วยอธิบายข้อเท็จจริงทางชีววิทยาเบื้องหลังข่าวพาดหัวที่น่ากลัว อย่างไข้หวัดนก ซาร์ส และโรคร้ายชนิดใหม่อื่นๆ รวมถึงอันตรายของการระบาดไปทั่วโลก คำนี้ชี้นัยสำคัญเกี่ยวกับกำเนิดเอชไอวี และเป็นคำแห่งอนาคตที่จะใช้กันมากในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด
     โรครับจากสัตว์ได้แก่อีโบลา กาฬโรคต่อมน้ำเหลืองไข้เหลือง ไข้ทรพิษลิง วัณโรควัว โรคไลม์ ไข้เวสต์ไนล์ โรคมาร์บวร์ก ไข้หวัดใหญ่หลายชนิด โรคพิษสุนัขบ้า กลุ่มอาการทางปอดจากไวรัสฮันตา และโรคร้ายชนิดใหม่ชื่อนิปาห์ที่ฆ่าหมูและเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในมาเลเซีย หลายคน แต่ละโรคแสดงการแพร่กระจายของจุลชีพก่อโรคจากสัตว์สู่มนุษย์ การกระโดดข้ามสายพันธุ์เช่นนี้พบบ่อย ไม่ถือว่าเกิดขึ้นยาก โดยโรคติดเชื้อที่พบทั้งในมนุษย์และสัตว์คิดเป็นร้อยละ 60 ของโรคติดเชื้อในมนุษย์ที่รู้จักกันในปัจจุบัน บางโรคซึ่งเป็นที่รู้จักดีและมีอันตรายถึงตาย เช่น พิษสุนัขบ้า ยังคงคร่าชีวิตผู้คนหลายพันคน ทั้งที่เราหาวิธีรักษามาหลายร้อยปีและมีการร่วมมือระหว่างประเทศในการกำจัด หรือควบคุมโรค ทั้งยังเข้าใจการทำงานของโรคในเชิงวิทยาศาสตร์อย่างถ่องแท้แล้ว ส่วนโรคอื่นๆนั้นยังใหม่และเกิดขึ้นไม่บ่อย มีเหยื่อไม่กี่ราย (เช่นไวรัสเฮนดรา) หรือมีไม่กี่ร้อยรายในบางจุด ก่อนจะเงียบหายไปหลายปี
       ไข้ทรพิษเป็นตัวอย่างหนึ่งของโรคที่ไม่ได้รับจากสัตว์ แต่เกิดจากไวรัสที่ติดต่อในมนุษย์หรือ โฮโมเซเปียน  และในบางกรณีที่พิเศษมากๆ อาจติดต่อไปถึงไพรเมตบางชนิดได้ แต่จะไม่ติดต่อไปยังม้า หนู หรือสัตว์อื่นๆ จึงทำให้การรณรงค์กำจัดโรคนี้ทั่วโลกขององค์การอนามัยโลกสำเร็จลงได้ในปี 1979 เรากำจัดไข้ทรพิษได้เพราะไวรัสก่อโรคนี้ไม่อาจอาศัยอยู่ที่อื่นได้นอกจากใน มนุษย์ และไม่อาจหลบซ่อนได้ ในขณะที่จุลชีพของโรครับจากสัตว์นั้นซ่อนตัวได้

 ตุลาคม 2550

696

พนักงานธุรการหญิงวัย 41 ปีจากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งรู้จักกันในชื่อทางการแพทย์ว่า "เอเจ" จดจำชีวิตประจำวันตั้งแต่อายุ 11 ปีเป็นต้นมา ในขณะที่เจ้าหน้าที่เทคนิคปลดเกษียณวัย 85 ปีที่รู้จักกันในชื่อ "อีพี" จำได้เพียงปัจจุบันขณะ ถ้าเธอมีความจำดีที่สุดในโลก เขาก็มีความจำแย่ที่สุด

"ความจำของฉันหลั่งไหลเหมือนหนังที่ต่อเนื่องและควบคุมไม่ได้" เอเจบอก เธอจำได้ว่าในวันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม ปี 1986 เวลา 12.34 น. เด็กหนุ่มที่เธอหลงรักโทรศัพท์มาหาเธอ เธอจำรายละเอียดของรายการ เมอร์ฟีบราวน์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ปี 1988 ได้ และจำได้ว่า เธอกินมื้อเที่ยงกับพ่อที่โรงแรมเบเวอร์ลีฮิลส์เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ปี 1992 เอเจจำเหตุการณ์สำคัญของโลก การเดินไปซื้อของที่ร้านขายของชำ สภาพอากาศ และอารมณ์ของเธอได้ จะว่าไปแล้วเวลาเกือบทุกวันบันทึกอยู่ในหัวเธอ การหลอกให้เธองงคงไม่ง่ายนัก คนที่มีความจำดีผิดปกติเช่นนี้มีไม่มากนัก

ว่ากันว่าคิม พีก อัจฉริยบุคคลวัย 56 ปี ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดภาพยนตร์เรื่อง เรนแมน ท่องจำหนังสือได้เกือบ 12,000 เล่ม (เขาใช้เวลาอ่านหนังสือแต่ละหน้าเพียง 8-10 วินาที) "เอส" นักข่าวชาวรัสเซียที่อะเล็กซันเดียร์ ลูเรีย นักประสาทจิตวิทยา (neuropsychologist) ชาวรัสเซีย ทำการศึกษาเป็นเวลา 30 ปี สามารถจดจำคำ ตัวเลข และพยางค์ที่ไม่มีความหมายอันยาวเหยียดได้นานหลายปีหลังจากได้ฟังเพียงแค่ ครั้งเดียว แต่เอเจไม่เหมือนใคร ความทรงจำพิเศษของเธอไม่ได้มีไว้สำหรับจดจำข้อเท็จจริงหรือตัวเลข แต่เป็นชีวิตของตัวเธอเอง อันที่จริงการจำรายละเอียดของประวัติชีวิตที่ไม่หมดสิ้นนี้ยังไม่เคยมีมาก่อน และยังมีการศึกษาน้อยมากเสียจนกระทั่งเจมส์ แมกกาฟ, เอลิซาเบท พาร์กเกอร์ และแลร์รี คาฮิลล์ นักประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscientist) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เออร์ไวน์ ผู้ติดตามศึกษาเอเจตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ต้องบัญญัติศัพท์ทางการแพทย์ขึ้นใหม่เพื่อเรียกลักษณะอาการของเธอว่า กลุ่มอาการไฮเปอร์ไทเมสติก (hyperthymestic syndrome ) หรือการจดจำมากเกินไป

อีพีสูง 180 เซนติเมตร ผมขาวแสกเรียบร้อย และมีหูยาวกว่าปกติ เขามีบุคลิกดี เป็นมิตร สุภาพ และหัวเราะง่าย ดูเผินๆเหมือนคุณตาใจดี แต่เมื่อ 15 ปีก่อน เขาถูกไวรัสโรคเริมทำลายสมองจนเหลือแต่แกนเหมือนผลแอปเปิลโดนแทะ เมื่อเริ่มทุเลา เนื้อสมองส่วนกลางของกลีบขมับขนาดเท่าผลองุ่นสองก้อนก็หายไปพร้อมความทรงจำ ส่วนใหญ่ของเขา เชื้อไวรัสโจมตีเข้าเป้าอย่างไม่น่าเชื่อ

สมองส่วนกลางของกลีบขมับซึ่งมีอยู่สองฝั่งของสมอง ประกอบด้วยโครงสร้างโค้งเรียกว่าฮิปโปแคมปัสและส่วนใกล้เคียงที่ร่วมกัน ปฏิบัติภารกิจอัศจรรย์ในการเปลี่ยนการรับรู้ของเราไปเป็นความทรงจำระยะยาว ความทรงจำไม่ได้เก็บไว้ในฮิปโปแคมปัส แต่อยู่ในรอยหยักของสมองชั้นนอก หรือนีโอคอร์เทกซ์ แต่ฮิปโปแคมปัสเป็นส่วนของสมองที่ทำให้ความทรงจำคงอยู่ ฮิปโปแคมปัสของอีพีถูกทำลาย และเมื่อไม่มีฮิปโปแคมปัส เขาก็เหมือนกล้องยันทึกภาพวิดีโอไร้หัวอัด นั่นคือมองไม่เห็น แต่จำไม่ได้ ภาวะสูญเสียความจำของอีพีมี 2 แบบคือ แบบเคลื่อนไปข้างหน้า ซึ่งหมายความว่าเขาสร้างความทรงจำใหม่ขึ้นไม่ได้ และแบบย้อนหลัง นั่นคือเขาจำเรื่องเก่าๆไม่ได้เช่นกัน อย่างน้อยก็ตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา

เขาจำชีวิตวัยเด็กและการเป็นลูกเรือสินค้าสมัยสงครามโลกครั้งที่สองได้ชัด แต่เท่าที่เขาจำได้ น้ำมันราคาลิตรละ 25 เซนต์ และมนุษย์ยังไม่เคยไปดวงจันทร์ เอเจ และอีพีนั้นอยู่คนละขั้วของความทรงจำมนุษย์ และอาการของพวกเขาก็ทำให้เราเข้าใจได้ดีกว่าการตรวจสมองใดๆว่า ความทรงจำอาจส่งผลต่อเราอย่างไรได้บ้าง ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะอยู่ตรงไหนสักแห่งระหว่างขั้วความทรงจำทั้งสอง นั่นคือการจำได้ทุกอย่างหรือจำอะไรไม่ได้เลย แต่เราต่างมีประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมอย่างเอเจ และเผชิญชะตากรรมที่น่ากลัวอย่างอีพีด้วยกันทั้งนั้น

ก้อนเนื้อยับย่นน้ำหนักราว 1.3 กิโลกรัมที่อยู่ตอนบนของกระดูกสันหลังสามารถเก็บรายละเอียดที่เล็กน้อยที่ สุดเกี่ยวกับประสบการณ์วัยเด็กไว้ได้ชั่วชีวิต แต่กลับไม่อาจจำหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญที่สุดไว้แค่สองนาทีได้ ความทรงจำแปลกเช่นนี้เอง ความทรงจำคืออะไร สิ่งที่นักประสาทวิทยาศาสตร์บอกได้ดีที่สุดในตอนนี้ก็คือ ความทรงจำคือรูปแบบของการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทในสมองที่ถูกบันทึกไว้

สมองของคนทั่วไปมีเซลล์ประสาทอยู่ราว 100,000 ล้านเซลล์ แต่ละเซลล์สามารถเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทอื่นๆได้อีก 5,000 ถึง 10,000 จุด ซึ่งทำให้มนุษย์มีจุดประสานประสาททั้งหมดประมาณ 500 ถึง 1,000 ล้านล้านจุด เป็นจำนวนมหาศาลเมื่อเทียบกับห้องสมุดรัฐสภาที่มีข้อมูลสิ่งพิมพ์ทั้งหมด เพียง 32 ล้านล้านไบต์ ทุกๆความรู้สึกที่เราจดจำได้และทุกความคิดคำนึงของเราจะเปลี่ยนแปลงการ เชื่อมต่อภายในเครือข่ายอันมหาศาลนี้ จุดประสานประสาทอาจแข็งแรงขึ้น อ่อนแอลง หรือก่อตัวขึ้นใหม่ได้ สภาวะทางกายภาพของเรามีการเปลี่ยนแปลงไป อันที่จริงมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแม้ขณะที่เราหลับ

พฤศจิกายน 2550

697

แม้โลกทุกวันนี้จะเต็มไปด้วยความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยี ชนิดที่มองไปทางไหนเจอะเจอแต่ความกล้าวล้ำ ทันสมัย อินเทรนด์(ที่ส่วนหนึ่งมักจะมาแบบฉาบฉวยประเดี๋ยวประด๋าว)
       
       กระนั้นเมืองไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมาได้เกิดกระแสย้อนยุค(เรโทร)ขึ้นมา กลายเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ใหม่ของคนในสังคมควบคู่ไปกับความทันสมัยไว เร็ว แรง ของเทคโนโลยีสมัยใหม่
       
       สำหรับกระแสย้อนยุคที่มาแรงมากๆในช่วงแรกเริ่ม เห็นจะหนีไม่พ้นภาพยนตร์หรือหนังย้อนยุคเรื่อง"แฟนฉัน"เมื่อไม่กีปีก่อน ที่นอกจากจะทำรายได้ถล่มทลายยังปลุกกระแสย้อนยุคให้กลับมาโด่งดังอีกครั้ง
       
       ส่งผลให้เมืองไทยในระยะหลัง อบอวลไปด้วยกระแสย้อนยุคต่างๆนานา อาทิ เรื่องของการแต่งกาย เพลง หนัง(ภาพยนตร์) รวมถึงเรื่องของอาหารการกินที่เดี๋ยวนี้ใครมีคำว่าโบราณพ่วงท้าย มักจะขายดิบขายดีเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น ไอติม(ไอศกรีม)โบราณ น้ำหวานโบราณ ก๋วยเตี๋ยวโบราณ ผัดไทโบราณ และกาแฟโบราณที่มีขายกันเกร่อไปหมด(แต่ถึงยังไงพวกหัวโบราณก็ยังคงไม่ได้รับความนิยมอยู่ดี)
       
       ในขณะที่แหล่งร่วมสินค้าของกินอย่างตลาดโบราณนั้น ถือว่ามาแรงมากๆ ถึงขนาดที่มีคนสร้างตลาดใหม่ในบรรยากาศโบราณย้อนยุคขึ้นมาดึงดูดผู้คนกันเลยทีเดียว
       
       อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของความเก่าแก่โบราณนั้น ในแวดวงท่องเที่ยวมีมาช้านานแล้วเพราะการไปเที่ยวชมโบราณสถาน โบราณวัตถุ ชมวัดโบราณ ชมตึกโบราณ รวมถึงการเที่ยวชมเมืองโบราณหรือเมืองเก่าที่ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการท่องเที่ยวทั่วไป
       
       แต่สำหรับการชมป่าโบราณหรือป่าดึกดำบรรพ์นี่สิ ถือว่ามีเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่ไม่น้อย เพราะในบ้านเรามีป่าโบราณให้ชมอยู่ไม่กี่แห่ง โดยป่าโบราณหรือป่าดึกดำบรรพ์ที่ถือว่าได้รับความยอดนิยมมากในช่วง 4-5 ปีหลัง เห็นจะหนีไม่พ้นที่"หุบป่าตาด"แห่ง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ที่นอกจากจะมีความพิเศษโดดเด่นกว่าป่าแห่งอื่นๆแล้ว ยังเป็นป่าในระดับ"อันซีนไทยแลนด์"ของ ททท.อีกด้วย

หุบป่าตาด เป็นส่วนหนึ่งของเขาห้วยโศก กลุ่มเขาหินปูน 5 ลูกแห่งอุทัยธานีที่ประกอบไปด้วย เขาฆ้องชัย เขาปลาร้า เขาน้อย เขาน้ำโจน และเขาห้วยโศก โดยพื้นที่ของหุบป่าตาดจะอยู่ก่อนที่จะถึงทางขึ้นเขาปลาร้าประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งเมื่อเดินทางเข้าไปใกล้จะถึงหุบป่าตาด ในเบื้องหน้าจะมองเห็นภูเขาหินปูนตั้งตระหง่านมาแต่ไกล และเมื่อเข้าไปใกล้ทางเข้าป่าตาด 2 ข้างทางก็จะเป็นสวนป่าอันร่มรื่น

จากนั้นก็จะเป็นบริเวณทางเข้าหุบป่าตาด ที่มีลานจอดรถ ป้อมยาม และเจ้าหน้าที่คอยให้บริการข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปเที่ยวในหุบป่าตาด ซึ่งแรกที่ "ตะลอนเที่ยว"มองเห็นจากภายนอก ดูไม่รู้เลยว่าภายในมีผืนป่าดึกดำบรรพ์ซ่อนเร้นอยู่ เพราะเห็นเป็นเพียงขุนเขาหินปูนธรรมดา แต่พอเราเดินขึ้นบันไดปูนจากพื้นที่ให้บริการนักท่องเที่ยวไปสักหน่อย ก็จะเห็นทางเดินเข้าสู่ปากถ้ำเป็นโพรงมืดหายไป
       
       สำหรับการเดินในโพรงถ้ำนี้เหม็นและฉุนเอาเรื่อง เพราะข้างในเต็มไปด้วยขี้ค้างคาวที่หากใครพกไฟฉายเข้าไปก็ให้ฉายไฟไปที่เพดานถ้ำจะเห็นค้างคาวเกาะห้อยหัวอยู่เต็มไปหมด ทำให้เวลาที่เดินผ่านโพรงถ้ำแห่งนี้ "ตะลอนเที่ยว"จะรีบเดินจ้ำอ้าวเพื่อให้พ้นกลิ่นเหม็นนี้ไปไวๆ ซึ่งก็ใช้เวลาเดินเพียงแป๊บเดียวเท่านั้น ก็จะเห็นแสงสว่างรออยู่เบื้องหน้า เป็นป่าดึกดำบรรพ์ในพื้นที่กว่า 30 ไร่

เดิมทีไม่มีใครรู้ว่าเบื้องหลังของเขาหินปูนที่สูงชันจะมีป่าดึกดำบรรพ์ซ่อนอยู่ แต่เมื่อพระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง มีเหตุบังเอิญต้องปีนลงไปในหุบเขานี้เมื่อปี พ.ศ. 2522 (สมัยนั้นยังไม่ได้ระเบิดภูเขาทำเป็นถ้ำทางเข้า) ท่านพระครูก็ถึงกับตะลึงเพราะพบว่าในหุบเขาเต็มไปด้วยต้นตาด และพืชดึกดำบรรพ์อื่นๆอีกหลายชนิด

เมื่อรู้ว่าในหุบเขามีของดีซ่อนกายอยู่ทางผู้ที่เกี่ยวข้องในจังหวัดอุทัยจึงเจาะเป็นถ้ำทางเข้า ก่อนที่กรมป่าไม้(สมัยนั้น)จะเข้ามาประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในปี พ.ศ. 2527 และพัฒนาหุบป่าตาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันสำคัญของอุทัยธานี
       
       หลังจากนั้นหุบป่าตาดก็เริ่มสะสมชื่อเสียงเรื่อยมา ก่อนที่โด่งดังขึ้นมาหลังการได้รับเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ให้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ 2 ใน ปีพ.ศ.2547

หุบป่าตาด นอกจากจะเป็นป่าที่มีความสวยงามแล้วยังมีความแปลกและโดดเด่นไม่น้อย โดยเมื่อเดินผ่านความมืดของโพรงถ้ำเข้าไป เราเจอกับบันไดปูนทอดตัวยาวลงสู่หุบเขาเบื้องล่าง ที่พอเดินลงไปก็จะได้พบกับลักษณะของป่าดิบชื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินปูน ซึ่งมีลักษณะเป็นปล่องมีแสงแดดรำไรส่องลงมาตรงกลาง
       
       แน่นอนว่าต้นไม้ที่เป็นพระเอกของผืนป่าแห่งนี้ก็คงจะหนีไม่พ้น "ต้นตาด" (Areaga penata) ที่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจนกลายเป็นที่มาของหุบป่าตาด

สำหรับต้นตาดหรือที่ชาวบ้านในบางพื้นที่เรียกขานกันว่าต้นตาวหรือต้นต๋าว จัดเป็นพืชตระกูลปาล์ม มีใบเป็นแฉกแผ่กว้างสยาย ลักษณะคล้ายต้นสละหรือระกำ โดยใบตาดสามารถนำไปทำไม้หวาดได้ มีลูกออกมาเป็นทะลายกลมๆเล็กๆคล้ายลูกจาก ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่บอกว่าลูกอ่อนของตาดนั้นนำไปต้มจิ้มน้ำพริกกินอร่อยนัก

ส่วนใครที่เมื่อมาเดินเที่ยวป่าตาดก็จะได้สัมผัสกับบรรยากาศของหุบป่าตาดที่ร่มรื่นชุ่มชื้นตลอดปี เนื่องเพราะสภาพผืนป่าตาดนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ และยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่ช่วยเติมเต็มให้หุบป่าตาดน่าเดินน่าเที่ยวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สายลมโชยอ่อนที่พัดผ่านหุบเขาอยู่เรื่อยๆ เสียงเจื้อยแจ้วของนกป่าหลากหลาย
       
       ใครที่โชคดีบางทีอาจจะได้พบกับสัตว์ที่อาศัยอยู่ในหุบป่าตาดอย่างพวกกระรอก ลิง นกหลากหลายชนิด ส่วนใครที่โชคดีมากขึ้นอาจจะได้พบกับเลียงผาและไก่ฟ้าพญาลอก็เป็นได้

และก็ใช่ว่าป่าดึกดำบรรพ์จะมีแต่เฉพาะต้นตาดเท่านั้น แต่ในป่าแห่งนี้ยังมีพันธ์ไม้อีกหลายชนิดให้เดินชม ไม่ว่าจะเป็น เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก กะพง ยมหิน และต้นไทรที่รูปร่างดูประหลาดตา โดยต้นไม้ที่น่าสนใจหลายๆต้นทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปลาร้า ผู้ดูแลผืนป่าแห่งนี้ได้ทำป้ายสื่อความหมายไว้ให้นักท่องเที่ยวอ่าน ซึ่งใครสนใจต้นไม้ชนิดไหนคงต้องไปยืนอ่านเอาเอง

นอกจากป่าดึกดำบรรพ์จะเต็มไปด้วยต้นตาดและพันธุ์ไม้อันหลากหลายแล้ว ในป่าแห่งนี้ยังมีโถงถ้ำที่มีลักษณะเป็นช่องประตูขนาดใหญ่ที่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ และนักท่องเที่ยวก็สามารถเดินเข้าไปชมบรรยากาศในโถงถ้ำได้
       
       ในโถงถ้ำแห่งนี้ถือเป็นไฮไลท์แห่งหุบป่าตาดที่นอกจากจะมีหินรูปร่างแปลกตาทั้งจากเพดานถ้ำ ผนังถ้ำ และตามพื้นถ้ำแล้ว ยังถือเป็นมุมถ่ายรูปชั้นดีของหุบป่าตาด ที่หากมองย้อนกลับออกไปยังบริเวณผืนป่าตาดก็จะเห็นฉากของโถงถ้ำเป็นกรอบภาพผืนใหญ่ และบรรดาต้นตาดและพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดเป็นจุดสนใจของภาพ ที่หากใครได้มาเดินเที่ยวชมหุบป่าตาดแล้ว ในบางซอกบางมุมของป่าแห่งนี้จะให้ความรู้สึกคล้ายๆกับว่ากำลังเดินอยู่ในป่าของหนังเรื่องจูราสสิคปาร์คยังไงยังงั้น แต่ว่าการเดินเที่ยวที่ป่าตาดนี่ถือว่าปลอดภัยหายห่วง เพราะป่าแห่งนี้ไม่มีไดโนเสาร์ออกมาวิ่งไล่งับก้นเหมือนในหนังแต่อย่างใด...

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 กันยายน 2553 

698
ข่าว รพศ./รพท. / คำสอนของแม่...ฉบับ ป.ป.ช.
« เมื่อ: 31 สิงหาคม 2010, 21:50:26 »
"   ก่อนไปรับราชการทำงานหลวง
แม่เป็นห่วงลูกหญิงชายทำขายหน้า
เฝ้าพร่ำสอนเสียหนักก่อนจากมา
เกรงกิเลสตัณหาจะพาไป
แม่ว่าคนจนคนบ้านนอก
เคยซ้ำชอกแสนเข็นดั่งเป็นไพร่
เจ้าได้ดีภายหน้าอย่าเริงใจ
อย่าหลงไหลลืมเงาว่าเราจน
อย่าหยิ่งดื้อถือดีว่ามีเกียรติ
คนจะเหยียดหยันได้ไม่เป็นผล
อย่าแบ่งชั้นให้ต่างระหว่างชน
ให้พลีตนรับใช้ชาติไม่เป็นพาล
อย่าริโกงกินสินบนราษฎร์
เงินของชาติอย่าเอาไปเผาผลาญ
คนที่รวยกับอำนาจราชการ
อยู่ไม่นานก็ยับด้วยอัปรีย์
คนเขาจะจริงใจนบไหว้เจ้า
ใช่เพราะเอายศใหญ่ไปข่มขี่
ราษฎร์จะรักศรัทธาบารมี
ก็ด้วยดีที่เจ้าทำจงจำนาน
จะกินอยู่รู้ประมาณการประหยัด
ถึงอึดอัดขัดสนทนไม่ไหว
ก็อย่าโกงให้เสนียดมัดเสียดใจ
รีบกลับไปบ้านเรามีข้าวกิน"

ฐานิต  พิงค์เจริญ
จากหนังสือ  สุจริต  ประจำเดือน  ก.ค.-ก.ย. 2553

699
ที่ที่ลมพัดวู่หวิว อากาศเย็นโดยไม่ต้องควานหารีโมตเพื่อลดอุณหภูมิ ที่ที่วอลล์เปเปอร์รอบๆมุ้งลวดลายเป็นต้นไม้จริงๆ ที่ที่เพดานห้องคือท้องฟ้าและดวงดาวส่องแสงระยิบระยับ ความมืดค่อยๆคืบคลานเข้ามาดั่งการเคลื่อนตัวของทาก หย่อนเปลือกตาให้คล้อยลงช้าๆ จะมีแรงบันดาลใจอันใดเล่า ที่เป็นพลังอันยิ่งใหญ่ เท่าธรรมชาติ ทิวไม้หนาทึบที่ผลิยอดสลับสล้างตลอดแนวขุนเขา ผนวกกับความชื้นเย็นจากการคายน้ำของพืชตลอดปี ยังความหนาวเหน็บแก่ผู้ผ่านทาง ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำลำธารสายสำคัญของประเทศมากสายอย่างที่เรานึกไม่ ถึง ใครจะรู้ว่าห้วยบางสายจากป่าผืนนี้เป็นจุดกำเนิดส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้า พระยา สายน้ำค่อยๆไหลลงสู่ที่ต่ำ เลื้อยลดคดเคี้ยวอ้อมขุนเขาโขดหินและไหลออกจากป่าเข้าสู่เมือง หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนตลอดสองฝั่งลำน้ำ น้ำที่กระเด็นใส่ขณะนั่งเรือข้ามฟากอาจเป็นมวลหนึ่งที่มาจากป่าแห่งนี้ก็ เป็นได้ ป่าศักดิ์สิทธิ์ คำกะเหรี่ยงโบราณบอกไว้ "คนกะเหรี่ยงเชื่อว่า ป่าทุ่งใหญ่แห่งนี้คือป่าศักดิ์สิทธิ์ที่ประกอบด้วย ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ-พืช-สัตว์-มนุษย์ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะไม่ครบเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์" เมื่อปี พ.ศ. 2508 ป่าไม้เขตบ้านโป่งขอให้กรมป่าไม้ประกาศห้ามการล่าสัตว์ป่าในบริเวณป่าทุ่ง ใหญ่ เนื่องจากเห็นว่ามีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุมและมีคนเข้าไปล่าสัตว์ป่ามาก สองปีต่อมา กองบำรุง กรมป่าไม้ ซึ่งรับผิดชอบงานด้านการสงวนและคุ้มครองสัตว์ในขณะนั้น ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจตรวจสอบ และเห็นว่าสมควรจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เนื่องจากผืนป่ามีพื้นที่กว้างใหญ่ มีประทานบัตรและการอนุญาตทำประโยชน์อื่นอีกหลายอย่าง กรมป่าไม้จึงทำหนังสือถึงจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตาก ขอความร่วมมือให้ระงับใบอนุญาตใดๆที่อาจกระทบกระเทือนแผนการจัดตั้งเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า และส่งเจ้าหน้าที่ออกไปเตรียมการตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2516 หนังสือพิมพ์วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 ลงข่าวเฮลิคอปเตอร์ของทางราชการประสบอุบัติเหตุตกที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีผู้เสียชีวิต 6 คน และพบซากสัตว์ป่าปะปนอยู่กับซากปรักหักพังของเฮลิคอปเตอร์ อันเชื่อมโยงไปถึงกรณีที่สื่อมวลชนและนิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งได้พบคณะล่าสัตว์ออกล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่อย่างอุกอาจโดยยืนยันว่า คณะล่าสัตว์ดังกล่าวเป็นคณะเดียวกับเผู้โดยสารในเฮลิคอปเตอร์ลำที่ตก ทำให้กรณีทุ่งใหญ่กลายเป็นข่าวสำคัญที่ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจจนลามไปเป็น เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง ล่วงถึงวันที่ 13 มิถุนายน คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติจัดการประชุมและมีมติประกาศตั้ง ป่าทุ่งใหญ่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยมีชื่อว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงหยุดพัก ณ ป่าแห่งนี้ระหว่างที่ทรงยกทัพไปรบพม่า และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 91 ตอนที่ 72 ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2517 ปัจจุบันที่นี่ได้รับการขึ้นทะเบียนร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขา แข้งให้เป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกเมื่อ พ.ศ. 2534 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตั้งอยู่ในเขตรอยต่อของอำเภอสังขละ บุรี จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีเนื้อที่ประมาณ 33,647 ตารางกิโลเมตร หรือราว 2,280,000 ไร่ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ของแม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ ลำน้ำแควใหญ่ยังแบ่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรออกเป็น 2 ส่วน ผืนป่าด้านตะวันออกนั้นมีเนื้อที่ราวหนึ่งในสามของทั้งหมด โดยมีเขาใหญ่วึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีความสูง 1,800 เมตร ตั้งอยู่ตอนกลางของพื้นที่ การผสมผสานของทุ่งหญ้าและป่าไม้นานาชนิดต่างๆทำให้ผืนป่าแห่งนี้อุดมไปด้วย มีแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และที่ป้องภัยแก่สัตว์ป่าอย่างสมบูรณ์ จึงปรากฏว่ามีสัตว์ป่ามากมาย ทั้งชนิดและปริมาณ โดยเฉพาะสัตว์ป่าสงวน เช่น เลียงผา ควายป่า กระซู่ สมเสร็จ
เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก
พฤศจิกายน 2550

700
ในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนขั้นแรกคือการคำนวณตัวเลข
   วิกฤติคาร์บอนมีสมการดังนี้ ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ชั้นบรรยากาศของโลกมีคาร์บอนไดออกไซด์ราว 280 พีพีเอ็ม (parts per million) ซึ่งเป็นจำนวนที่ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้หมายถึง "ที่เราเคยชิน" เนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ดักจับความร้อนบริเวณผิวโลก ไม่ให้ลอยกลับสู่อวกาศ อารยธรรมต่างๆจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นในโลกที่กำหนดค่าตัวควบคุมอุณหภูมิไว้ เท่านั้น เท่ากับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอยู่ในราว 14 องศาเซลเซียส ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของเมืองทุกเมืองที่เราสร้างขึ้น พืชผลทุกชนิดที่เราปลูกและกิน แหล่งน้ำทุกแห่งที่เราพึ่งพาอาศัย กระทั่งการเปลี่ยนฤดูกาลในช่วงละติจูดที่สูงขึ้น ส่งผลต่ออารมณ์และสภาพจิตใจของเรา
   แต่ทันทีที่เราเริ่มเผาถ่านหิน แก๊ส และน้ำมันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ตัวเลข 280 ก็เพิ่มขึ้น เมื่อเราเริ่มวัดค่าใหม่ในปลายทศวรรษ 1950 ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มสูงถึง 315 และ 380 ในปัจจุบัน หรือเพิ่มขึ้นคร่าวๆปีละ 2 พีพีเอ็ม แม้จะฟังดูไม่มากเท่าไร แต่ปรากฏว่า ความร้อนส่วนเกินที่คาร์บอนไดออกไซด์กักเก็บไว้ ซึ่งมีค่าเพียง 2 วัตต์ต่อตารางเมตรบนผิวโลก ก็ทำให้โลกร้อนขึ้นได้อย่างมาก และเราได้ทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงไปแล้วกว่าครึ่งองศาเซลเซียส เราไม่อาจคาดการณ์ได้ว่า การเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจะส่งผลกระทบใดได้อย่างแน่ชัด แต่ความร้อนที่เราได้เห็นจนถึงขณะนี้ก็เริ่มส่งผลให้องค์ประกอบที่เป็นน้ำ แข็งส่วนใหญ่บนโลกละลาย ฤดูกาลและวัฏจักรฝนแปรปรวน ระดับทะเลสูงขึ้น
    ไม่ว่าเราจะทำอะไรตอนนี้ ความร้อนก็ยังจะเพิ่มขึ้นต่อไปอีก เนื่องจากความร้อนที่มีในชั้นบรรยากาศต้องใช้เวลากว่าจะจางไป พูดง่ายๆก็คือเราไม่สามารถยุติภาวะโลกร้อนได้ ภารกิจของเรามีเป้าหมายไม่เร้าใจนัก เพราะเราทำได้เพียงจำกัดความเสียหาย ไม่ให้สถานการณ์แย่ไปมากกว่านี้ และนั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะก่อนหน้านี้เราไม่มีข้อมูลบ่งชี้จุดวิกฤติที่ชัดเจน แต่ตอนนี้เราเริ่มเห็นภาพชัดขึ้น เมื่อสองสามปีที่ผ่านมามีรายงานหลายฉบับบ่งชี้ว่า คาร์บอนไดออกไซด์ 450 พีพีเอ็มคือจุดวิกฤติ หากตัวเลขสูงกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หลายร้อยปีนับจากนี้จะเกิดปัญหาพืดน้ำแข็งในกรีนแลนด์และทางตะวันตกของแอ นตาร์กติกาละลาย ตามมาด้วยระดับทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างใหญ่หลวง ตัวเลข 450 พีพีเอ็มเป็นการคาดการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด (นี่ไม่รวมแก๊สเรือนกระจกอื่นๆที่มีปริมาณน้อยกว่า เช่น มีเทนและไนตรัสออกไซด์) แต่ตัวเลขนั้นควรเป็นเป้าหมายที่โลกพยายามหลีกเลี่ยง แต่เป้าหมายนั้นเปลี่ยนแปรอย่างรวดเร็ว หากเรารักษาระดับการเพิ่มของคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ที่ปีละ 2 พีพีเอ็ม เราก็เหลือเวลาอีกแค่ 35 ปีเท่านั้น
    ตัวเลขนั้นไม่ซับซ้อน แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่น่ากลัว ปัจจุบันมีเพียงยุโรปและญี่ปุ่นเท่านั้นที่เริ่มลดการปล่อยคาร์บอน และยังไปไม่ถึงเป้าหมายแสนต่ำที่ตั้งไว้ ขณะที่การปล่อยคาร์บอนของสหรัฐอเมริกา ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสี่ของโลก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตอนต้นปี สหรัฐฯแจ้งองค์การสหประชาชาติว่า ในปี 2020 จะปล่อยคาร์บอนมากกว่าปี 2000 ถึงร้อยละ 20 ขณะที่จู่ๆ จีนและอินเดียก็ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากขึ้นด้วย หากคิดเทียบปริมาณต่อหัว (ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะมองปัญหานี้อย่างเป็นธรรม) ยังไม่มีใครปล่อยคาร์บอนมากเท่าสหรัฐฯ แต่ประชากรของสหรัฐฯมีจำนวนมากและเศรษฐกิจก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนทำให้การลด ปริมาณการปล่อยปริมาณคาร์บอนของโลกดูน่าเป็นห่วงกว่าเดิม ตอนนี้จีนสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินราวหนึ่งโรงต่อสัปดาห์ นั่นหมายถึงคาร์บอนจำนวนมหาศาล
เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก
ตุลาคม 2550

701
ตามตำนานในพระไตรปิฎกกล่าวว่า เมื่อครั้งพระสงฆ์ชาวเมืองปาฐา 30 รูปทราบ ข่าวว่าพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร จึงพากันรอนแรมมาเฝ้าแหนด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า แต่การ เดินทางมีอันต้องสะดุดลงกลางคันเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูพรรษาหน้าฝน ภิกษุเหล่า นั้นต่างพบว่าตัวเองอยู่ในสถานะแขกจรผู้ลำบาก ต้องอยู่ในพรรษาด้วยความร้อน ใจ ทันทีที่ออกพรรษา จึงรีบรุด เดินทางต่อ ทั้งๆที่ถนนหนทางเฉอะแฉะเป็นหล่มโคลน ครั้นพอถึงเชตวันจึงอยู่ในสภาพสกปรกมอมแมม พระพุทธองค์ทรงไถ่ถามทุกข์สุขตามธรรมเนียม เมื่อทรงสดับตรับฟังเรื่องราวทั้งหมด ก็ทรงวินิจฉัยตามเหตุผลว่า พระสงฆ์ที่ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตลอดกาลพรรษา ควรมีผ้าใหม่ทดแทนของเก่าที่อาจเปรอะ เปื้อนเสียหายในช่วงฤดูฝน จึงตรัสอนุญาตแก่คณะสงฆ์ให้มีการ ”กรานกฐิน„ หรือการแสวงหาผ้าใหม่ โดยกำหนดให้เป็นสังฆกรรมหนึ่งแม้จะเป็นพุทธานุญาต พิเศษ แต่พระองค์ก็ทรงบัญญัติอย่างมีกฎเกณฑ์ จึงเป็นที่มาและจุดเริ่มต้นของ ประเพณีบุญกฐินในกาลต่อมา เรื่องของกฐิน ”ไม่ได้หมายถึงต้นไม้หรอกหรือ„ น้ำเสียงงงๆไม่แน่ใจของพัตนรี ชะตาถนอม พยาบาลสาวจากเมืองสุรินทร์ ที่เล่าว่า เธอได้ไปร่วมงานบุญอยู่บ่อยครั้ง แต่ ละครั้งก็ได้สรวลเสเฮฮา ร้องรำทำเพลงไปตามจังหวะเพลงพื้นเมือง มาก กว่าจะเข้าใจในแก่นสารสาระ นี่คือความเป็นจริงในหมู่ชาวพุทธรุ่นใหม่จำนวน ไม่น้อย ที่เข้าใจความหมายของบุญกฐินคลาดเคลื่อนไปจากคุณค่าและความหมายที่ แท้จริง ”กฐิน„ ในทางพระพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงพืชหรือชื่อต้นไม้ หากความหมายนั้น ถูกระบุไว้หลายนัย ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลตรงกันว่าหมายถึง ”กรอบไม้„ หรือเครื่องมือตัดเย็บที่เรียกว่า ”สะดึง„ และอีกนัยหนึ่งคือ ”ผ้า„ หรือ ”ผ้านุ่ง„ ของพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังหมายความถึงพิธีการและขั้นตอน ของการถวายและรับกฐิน หรือ”สังฆกรรม„ด้วย ส่วนคำว่า ”กรานกฐิน„ คือ การลาดไม้แบบหรือสะดึงลงไป แล้วเอาผ้าทาบเพื่อตัดให้ได้ขนาดตามแบบ ก่อน จะช่วยกันเย็บเป็นจีวรนักประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนาอธิบายว่าการกรานกฐิน เป็นพิธีกรรมว่าด้วยการจัดทำผ้านุ่งผืนใหม่ เริ่มแรกนั้นน่าจะทำกันเฉพาะใน หมู่สงฆ์ มีลักษณะกิริยาแบบลงแรง ลงขัน เพื่อช่วยกันผลิตผ้าขึ้นมาผืนหนึ่ง  ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ว่า พระสงฆ์ที่มา ร่วมนั้นต้องจำพรรษาครบ 3 เดือน และมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูปในการประกอบ พิธีกรรม ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในหนึ่งวัน แม้จะเป็นเพียงผ้าแค่ผืนเดียว  แต่ด้วยปัจจัยจำกัดหลายอย่างในยุคนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ภิกษุแต่ละรูป ต้องช่วยกันอย่างแข็งขัน ทั้งการกรอด้าย ตัดเย็บ ย้อม และหากไม่ชำนาญ ก็ ย่อมต้องใช้เวลาและความพยายามมากขึ้นตามไปด้วย การทำผ้านุ่งของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลนั้นมุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง บนพื้นฐาน ของข้อจำกัดที่เรียกว่า ”พระวินัย„ ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ เช่น ผ้า ที่ได้มานั้น ต้องบริสุทธิ์ ซึ่งไม่เพียงหมายถึงผ้าผืนใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผ้าเก่า  ถูกทิ้งเพราะขาดหรือสกปรก ไปจนถึงผ้าที่ใช้ห่อศพ หรือ ”ผ้าบังสุกุล„ นอกจาก นี้ คำว่า ”บริสุทธิ์„ ยังเน้นที่การได้มาเป็นสำคัญ ทั้งหมดเหล่านี้ วิจิตร  สมบัติบริบูรณ์ ระบุไว้ในหนังสือ ”กฐินทาน„ ว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่มีความ หมายมากกว่าการได้มาซึ่งผ้าผืนหนึ่ง เพราะเป็นข้อกำหนดที่แฝงไว้ด้วยคำสอน ทั้งเรื่องของการละกิเลส ความเสียสละ สามัคคี และพึ่งพาตนเองโดยไม่รบกวนผู้ อื่นส่วนผ้าที่เกิดขึ้นนั้นจะมอบให้แก่ภิกษุที่เห็นว่าสมควรเกิดจากความเห็น ชอบร่วมกันในหมู่สงฆ์ โดยขั้นตอนที่เรียกว่า ”สวดญัตติ„ ส่วนใหญ่ผู้ถูก เลือกมักเป็นผู้ที่ครองผ้าเก่าใช้การไม่ได้แล้ว หรือพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติ ชอบตลอดช่วงเข้าพรรษา หรือเป็นพระที่มีอาวุโสสูงสุด กระทั่งต่อมา พระ พุทธองค์ทรงเริ่มอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าจากคหบดีหรือฆราวาสได้ ตามคำร้องขอ ของชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระองค์ และประจำสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัด ออกไป ทานก็หลั่งไหลมาจากผู้มีศรัทธาทั่วทุกสารทิศ จึงช่วยแบ่งเบาภาระของ สงฆ์ในการเสาะหาและตัดเย็บจีวรได้อย่างมาก ส่งผลให้สงฆ์มีผ้ามากขึ้นจนต้อง จัดตั้งคลังผ้าขึ้น เพื่อจัดระเบียบการใช้ผ้าของพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมี เรื่องเล่าว่า ในสมัยแรกๆนั้นการตัดเย็บจีวรยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนเพียง ต่อเศษผ้าที่ได้รับบริจาคหรือหามาได้ให้เป็นผืนก็ถือว่าใช้ได้ พระพุทธองค์ ทรงเห็นว่าผ้านุ่งของพระสงฆ์นั้นหาเอกภาพไม่ได้ จึงทรงมอบหมายให้พระอานนท์ เป็นผู้ออกแบบเพื่อให้จีวรของพุทธสาวกเป็นไปในรูปแบบเดียว กัน พระอานนท์ออกแบบผ้าเป็นตารางสี่เหลี่ยม โดยได้แรงบันดาลใจจากผืนนาใน แคว้นมคธ จนกลายเป็นต้นแบบที่ใช้สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน 700 ปีก่อน...กฐินบนแผ่นดินสยาม ตลอดระยะเวลากว่า 2,500 ปี นับจากครั้งพุทธกาลพุทธศาสนาแบบเถรวาทเผยแผ่เข้า สู่ลังกาและดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมๆกับการเสื่อมถอยไปจากชมพูทวีปพิธีกรรม ต่างๆสอดประสานไปกับวิถีชีวิตและประเพณีในท้องถิ่นสันนิษฐานว่าระยะแรกกฐิน ยังเป็นกิจกรรมที่ทำเฉพาะในหมู่สงฆ์ และพระพุทธองค์ได้กำหนดให้ดำเนินการภาย ในหนึ่งเดือน นับจากวันออกพรรษา คือ แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 12 เท่านั้นสำหรับในแผ่นดินสยาม หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงงาน บุญกฐิน ย้อนกลับไปถึงดินแดนรุ่งอรุณแห่งความ สุขนามสุโขทัย โดยมีบันทึกไว้ในหลักศิลาจารึกอย่างชัดเจนถึงศรัทธาปสาทะใน บวรพุทธศาสนา ตั้งแต่ผู้ปกครองจนถึงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ดังความว่า ”คนใน เมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้ง สิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อ พรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนม เบี้ยมีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้วญิบล้าน„นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า พิธีกรรม ทางพุทธศาสนา รวมทั้งงานบุญกฐินถูกสืบทอดเรื่อยมา นอกจากหลักฐานที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรแล้วยังมีประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆที่เชื่อมโยงกัน ด้วย ปัจจัยหลายด้าน ทั้งสภาพแวดล้อมและสถานการณ์บ้านเมือง ส.พลายน้อย ผู้รู้ทางไทยคดีศึกษา  กล่าวว่า บรรพบุรุษไทยเลือกชัยภูมิที่มีแม่น้ำลำคลองเป็นที่ตั้ง ในสมัยกรุง ศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีมีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้เรือรบในสงครามอยู่เนืองๆจน เกิดมีประเพณีการใช้กระบวนเรือในการพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินของพระมหา กษัตริย์ กฐินหลวงกับกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า ประเพณีการถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทาง ชลมารคเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไร แต่ในปีพุทธศักราช 2505 กระบวนเรืออัน วิจิตรอลังการก็กลับมามีชีวิตโลดแล่นอีกครั้ง หลังจากว่างเว้นไปกว่า 30 ปี  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเล็งเห็นว่าขนบประเพณีนี้ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ฟื้นฟู ขึ้น นับจากนั้นเป็นต้นมา ภาพกระบวนเรือ กลางลำน้ำเจ้าพระยา ที่มีพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามเป็นฉากหลังก็ติดตาตรึง ใจผู้คนทั่วโลกล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา มหานครอันจอแจอย่างกรุงเทพฯก็แทบจะหยุดนิ่ง และสายน้ำเจ้าพระยาได้หวนคืนสู่ ความเกรียงไกรอีกครั้ง เมื่อฝ่ายเตรียมงานได้ปิดเส้นทางเดินเรือชั่วคราว เพื่อประกอบพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม  เป็นการเสด็จพระ-ราชดำเนินรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะจัดขึ้นเฉพาะในวาระพิเศษอัน เป็นมหามงคลเท่านั้น นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเดิมทีเรือเหล่านี้ถูกใช้ ในการศึกสงคราม แต่เมื่อบ้านเมืองว่างเว้นจากการศึก จึงมีการรวมพลเพื่อฝึก ซ้อม ซึ่งประจวบเหมาะกับช่วงเวลาของบุญกฐิน จึงได้มีการใช้กระบวนเรือรบแห่ ในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ นำพาความรื่นเริงบันเทิงใจมา สู่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่มารอเฝ้าชมพระบารมี และอิ่มบุญที่ได้โดย เสด็จพระราชกุศล ตลอดสองฝั่งแม่น้ำ กฐินที่เป็นการเสด็จพระราชดำเนินโดยพระมหากษัตริย์จัดเป็น ”กฐินหลวง„ ทั้ง สิ้น ซึ่งรวมถึง ”กฐินต้น„ ด้วย ในส่วนกฐินหลวงนั้นจะมีพระอารามหลวงรวม 16  พระอารามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์ เอง หรือทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์หรือผู้แทนพระองค์ไปทอดถวาย โดยส่วนใหญ่อยู่ ในกรุงเทพมหานคร ในต่างจังหวัดมีเพียงจังหวัดนครปฐม (วัดพระปฐมเจดีย์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วัดนิเวศธรรรมประวัติและวัด สุวรรณดาราราม) และจังหวัดพิษณุโลก (วัดพระศรีรัตน-มหาธาตุ) ส่วนการเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพระราชประสงค์ที่จะ ถวายเป็นพิเศษ ไม่เจาะจงว่าเป็นพระอารามหลวงหรือไม่ จัดเป็น พระกฐินต้น และเนื่องจากเมืองไทยมีวัดหลวงอีกมากมาย จึงมีการเปิดโอกาสให้ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ องค์การ สมาคม มูลนิธิ บริษัท ห้างร้าน และประชาชนทั่วไป สามารถขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน ไปถวายได้ โดยมีหน่วยงานกลางคือ กรมการศาสนา เป็นผู้ประสานดูแล กฐินดัง กล่าวเรียกว่า ”กฐินพระราชทาน„ กฐินราษฎร์ ไกลออกไป 400 กิโลเมตรจากเมืองหลวง ชาวบ้านที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัด สุรินทร์ กำลังร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน พวกเขามารวมตัวกันในขบวนแห่เล็กๆ ที่มีข้าวของเครื่องใช้มากมาย ธนบัตรหลากสีสันและมูลค่าประดับตกแต่งเป็น ต้นไม้ และที่ขาดไม่ได้คือผ้ากฐินที่บรรจงวางไว้อย่างดี ประเพณีทอดกฐินของชาวบ้านที่นี่ก็ไม่ต่างจากท้องถิ่นชนบทอื่นๆ เพราะถือเป็น งานบุญประจำปีที่พวกเขาร่วมแรงร่วมใจกันจัด ศรัทธามากล้นนำพาให้เกิดงานบุญ เอิกเกริก วัดวาได้รับการปัดกวาด ประดับประดาไปด้วยธงทิวและดอกไม้ บรรยากาศ ครื้นเครงด้วยงานมหรสพรื่นเริง ลูกหลานทั้งที่อาศัยอยู่ในชุมชนและที่อพยพไป ทำงานต่างถิ่นพร้อมใจกันกลับบ้านเกิด หอบหิ้วของฝากและเงินทำบุญครอบครัวได้ อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา ส่วนหนุ่มสาวก็ถือโอกาสเที่ยวชมมหรสพทั้งคืน”แรกเริ่ม เดิมทีเจ้าภาพถวายผ้ากฐินคงมีเพียงรายเดียว„ อาภาอรเศรษฐสิทธากุล พุทธศาสนิกชนที่เคยเป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐิน เล่า ”ต่อมา คงมีคนศรัทธาอยากทำบุญมากขึ้น เลยเปิดโอกาสให้เป็นเจ้าภาพร่วมกันกลายเป็น กฐินสามัคคี„ เธอเล่าต่อว่า การเตรียมงานบุญกฐินไม่ใช่ เรื่องยากเลย เมื่อปวารณาหรือจองกฐินไว้เรียบร้อยแล้วมีเพียงองค์กฐินหรือ ผ้ากฐินก็ถือว่าใช้ได้ แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มบริวารกฐิน เช่น อัฐบริขาร และ จตุปัจจัยไทยธรรมอื่นๆ ที่จัดเตรียมไปถวายวัดร่วมกับองค์กฐินด้วย”องค์กฐิน และบริวารไม่ว่าจะมาจากเจ้าภาพรายเดียวหรือหลายรายก็นับว่าเป็นมหากฐิน ค่ะ„ อาภาอรให้ความเห็นในฐานะคนใกล้วัด ส่วนการเพิ่มคำว่า ”มหา„ เข้าไปนัย ว่าเพื่อให้พึงระลึกถึงผลของบุญ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงกฐินอีกรูปแบบหนึ่งที่ว่ากันว่าทำยาก แต่ให้ผลบุญ หรืออานิสงส์สูง คือ ”จุลกฐิน„หรือ  ”กฐินแล่น„ ซึ่งนิยมทำกันในสมัยโบราณ เมื่อมีผู้เห็นว่าวัดบางแห่งยังไม่ได้ กฐิน และใกล้จะหมดกฐินกาลจึงต้องช่วยกันเตรียมผ้ากฐิน ตั้งแต่เก็บฝ้าย ปั่น ฝ้าย ทอผ้า ย้อม และเย็บ) ให้เสร็จและทอดภายในวันเดียวกัน การทำบุญกฐินแบบนี้จึง ต้องอาศัยคนหมู่มาก และเป็นไปอย่างไม่รีรอ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ”กฐิน แล่น„ซึ่งเรียกตามกิริยา คือ ”แล่น„ เป็นคำอีสาน ที่แปลว่า เร่งรีบ ต้องแล่น (วิ่ง) จึงจะเสร็จทันกาล กฐินอีกอย่างที่มีลักษณะคล้ายกัน คือ ”กฐินโจร„ บางท้องถิ่นเรียก ”กฐินตก„) ที่ต้องรีบดำเนินการ โดยมากมัก เป็น วัดที่ตกค้างยังไม่ได้รับกฐิน และใกล้สิ้นหน้าทอดกฐินหรือกฐินกาลแล้วเช่น กัน แต่พิธีการไม่ยุ่งยากเท่าจุลกฐิน ที่เรียกว่ากฐินโจร สันนิษฐานว่ามักทำกันแบบไม่ให้รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆก็ไป ทอด ไม่บอกกล่าวให้ทางวัดรู้ล่วงหน้า
เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก
ตุลาคม 2551

702
 มด ผึ้ง และนก สอนให้เรารู้จักวิธีรับมือโลกที่ซับซ้อน ผมเคยคิดว่า มดรู้ตัวว่าพวกมันทำอะไร การเดินตบเท้าข้ามเคาน์เตอร์ในห้องครัวของผมอย่างมั่นอกมั่นใจทำให้ผมคิดว่า มันต้องมีแผนการ รู้ว่าจะไปไหน และต้องทำอะไร ไม่เช่นนั้นมดจะเดินแถวเป็นระเบียบ สร้างรังที่สลับซับซ้อน จู่โจมอย่างห้าวหาญ และทำสารพัดสิ่งที่พวกมันทำได้อย่างไร แต่ปรากฏว่าผมคิดผิด มดไม่ใช่วิศวกร สถาปนิก หรือนักรบตัวจิ๋วผู้ชาญฉลาด อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในฐานะมดแต่ละตัว เมื่อถึงคราวที่ต้องตัดสินใจว่าจะทำอะไรต่อไป มดส่วนใหญ่ไม่รู้อะไรเลย "ถ้าเรานั่งดูมดตัวหนึ่งพยายามทำอะไรสักอย่าง เราจะเห็นเลยค่ะว่ามันเงอะงะแค่ไหน" เดบราห์ เอ็ม. กอร์ดอน นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าว

ถ้าอย่างนั้นเราจะอธิบายความสำเร็จของมดราว 12,000 ชนิดที่มีอยู่ในโลกได้อย่างไร มดเหล่านี้น่าจะต้องเรียนรู้อะไรบ้างในช่วง 140 ล้านปีที่ผ่านมา กอร์ดอนบอกว่า "มดไม่ฉลาดหรอกค่ะ ฝูงมดต่างหากที่ฉลาด" เมื่ออยู่รวมกัน ฝูงมดจะแก้ปัญหาที่มดตัวเดียวแก้ไม่ได้ เช่น หาเส้นทางที่สั้นที่สุดเพื่อเดินไปยังแหล่งอาหารที่ดีที่สุด มอบหมายงานต่างๆให้มดงาน หรือป้องกันอาณาเขตของตนจากเพื่อนบ้าน มดเพียงตัวเดียวอาจเป็นเจ้าทึ่มตัวจิ๋ว แต่เมื่ออยู่รวมกัน ฝูงมดสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์แวดล้อมได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยสิ่งที่เรียกว่าปัญญารวมฝูง (swarm intelligence) การหาที่มาของปัญญารวมฝูงทำให้เกิดคำถามสำคัญในธรรมชาติว่า การกระทำที่เรียบง่ายของสมาชิกแต่ละตัวผนวกกันเป็นพฤติกรรมอันสลับซับซ้อน ของฝูงได้อย่างไร

ผึ้งหลายร้อยตัวจะตัดสินใจเลือกรังอย่างไรถ้าสมาชิกเห็นไม่ตรงกัน อะไรทำให้ฝูงปลาเฮร์ริงเคลื่อนไหวร่วมกันได้เป็นหนึ่งเดียวจนกระทั่งสามารถ เปลี่ยนทิศทางได้ในพริบตาราวกับเป็นปลาตัวเดียว ความสามารถในการรวมฝูงของสัตว์ที่ไม่มีตัวหนึ่งตัวใดเข้าใจภาพรวมทั้งหมด แต่กลับร่วมกันสร้างความสำเร็จของกลุ่มได้นี้ ดูมหัศจรรย์ แม้กระทั่งในความคิดของนักชีววิทยาที่รู้จักพวกมันดีที่สุด ซึ่งได้พบสิ่งที่น่าทึ่งหลายประการในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น หลักการสำคัญในการรวมฝูงของมดคือการไม่มีผู้นำ ไม่มีนายพลคอยสั่งการมดทหาร ไม่มีผู้จัดการคอยสั่งมดงาน มดราชินีไม่มีบทบาทอะไรนอกจากวางไข่ แม้จะมีสมาชิกถึงห้าแสนตัว แต่ฝูงมดก็ยังทำงานได้อย่างราบรื่นโดยไม่มีการจัดการใดๆ อย่างน้อยก็ไม่ใช่การจัดการแบบที่เรารู้จัก การดำเนินการต่างๆขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์นับครั้งไม่ถ้วนระหว่างมดแต่ละตัว ซึ่งทุกตัวต่างปฏิบัติตามกฎพื้นฐานง่ายๆ นักวิทยาศาสตร์เรียกระบบนี้ว่าเป็นระบบที่มีการจัดการภายในตัวเอง (self-organizing)

ลองนึกถึงปัญหาในการมอบหมายงาน ทุกเช้าฝูงมดนักเก็บเกี่ยว (Pogonomyrmex barbatus) ในทะเลทรายแอริโซนาซึ่งเดบราห์ กอร์ดอน กำลังวิจัยอยู่ จะพิจารณาว่าต้องส่งมดงานออกหาอาหารกี่ตัว จำนวนดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ ถ้าหากทีมหาอาหารพบว่ามีแหล่งเมล็ดพืชแสนอร่อย ก็จะมีการส่งมดออกไปขนอาหารกลับมาเพิ่ม หรือถ้ารังถูกพายุทำลายไปเมื่อคืน ก็อาจต้องจัดสรรมดงานไปซ่อมแซมรังมากกว่าปกติ มดตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ซ่อมรังในวันนี้อาจไปเก็บขยะในวันถัดมา แล้วฝูงมดจะปรับเปลี่ยนหน้าที่อย่างไรถ้าไม่มีผู้นำคอยสั่งการ กอร์ดอนมีทฤษฎีอธิบายได้ มดสื่อสารโดยการสัมผัสและดมกลิ่น เมื่อมดตัวหนึ่งพบมดอีกตัว มันจะใช้หนวดสัมผัสว่า มดอีกตัวมาจากรังเดียวกันหรือไม่ และไปทำงานที่ไหนมา (มดที่ทำงานนอกรังจะมีกลิ่นแตกต่างจากพวกที่อยู่ในรัง)

ทุกวันก่อนจะออกจากรัง มดที่มีหน้าที่หาอาหารจะรอให้ทีมลาดตระเวนตอนเช้ากลับมาก่อน เมื่อทีมลาดตระเวนกลับเข้ารังก็จะใช้หนวดแตะทีมหาอาหารสั้นๆ กอร์ดอนกล่าวว่า "การสื่อสารกับทีมลาดตระเวนช่วยกระตุ้นให้ทีมหาอาหารอยากออกไปข้างนอกค่ะ แต่มันจะต้องสื่อสารกับชุดลาดตระเวนหลายๆครั้ง โดยแต่ละครั้งห่างกันไม่เกินสิบวินาทีก่อนจะออกไป" เพื่อศึกษาการทำงานของระบบดังกล่าว กอร์ดอนและไมเคิล กรีน เพื่อนร่วมงานจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดที่เดนเวอร์ ได้จับมดลาดตระเวนขณะออกจากรังในเช้าวันหนึ่ง หลังจากรออยู่ครึ่งชั่วโมง ทั้งสองก็จำลองการกลับรังของมดโดยหย่อนลูกปัดเข้าไปในรังอย่างสม่ำเสมอ ลูกปัดบางอันเคลือบกลิ่นมดลาดตระเวน บางอันเคลือบกลิ่นมดงาน บางอันไม่มีกลิ่นเลย ปรากฏว่าเฉพาะลูกปัดที่มีกลิ่นมดลาดตระเวนเท่านั้นที่กระตุ้นให้มดหาอาหาร ออกจากรัง ทั้งคู่จึงสรุปว่า มดหาอาหารใช้อัตราการพบมดลาดตระเวนเป็นตัวบอกว่าปลอดภัยหรือไม่ที่จะออกไป (ถ้าได้พบมดลาดตระเวนในอัตราเหมาะสมก็แปลว่าออกหาอาหารได้ แต่ถ้ายัง ควรรออีกหน่อย เพราะลมอาจแรงเกินไปหรือมีจิ้งจกหิวรออยู่ข้างนอก)

เมื่อทีมหาอาหารนำอาหารกลับรัง มดตัวอื่นจะตามออกไปช่วยขนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับอัตราการกลับมาของมดหาอาหาร กอร์ดอนบอกว่า "มดหาอาหารจะไม่กลับมาจนกว่าจะเจออาหารค่ะ ถ้ามีน้อย ก็ต้องใช้เวลาค้นหาและเดินทางนานขึ้น แต่ถ้ามีมาก ก็จะกลับเร็วขึ้น ดังนั้นจึงไม่มีใครตัดสินว่าวันนี้หาอาหารได้ดีหรือไม่ คือเมื่อรวมกันจึงจะบอกได้ แต่ไม่ใช่มาจากมดตัวใดตัวหนึ่ง" และนั่นอธิบายการทำงานของปัญญารวมฝูง สมาชิกแต่ละตัวจะปฏิบัติตามกฎพื้นฐานง่ายๆ โดยทำตามข้อมูลแวดล้อม ไม่มีมดตัวไหนเข้าใจภาพรวมทั้งหมด ไม่มีมดตัวไหนคอยสั่งให้มดตัวอื่นทำอะไร
เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก
กรกฎาคม 2550

703

 ความรุ่งเรืองที่ไม่จีรังของอาณาจักรมายากำเนิดขึ้นในป่าฝนทางตอนใต้ของเม็กซิโกและอเมริกากลาง ณ ดินแดนแห่งนี้ อารยธรรมมายายุคคลาสสิกเจริญถึงขีดสุด เราจะเริ่มติดตามอารยธรรมที่สืบสาวรากเหง้ายุคก่อนคลาสสิกกลับไปถึง 3,000 ปีด้วยหลักฐานใหม่ที่เสนอว่า การเยือนของจอมทัพผู้หนึ่งจากตอนกลางของเม็กซิโกเป็นการเปิดศักราชแห่งความอลังการและศิลปวัตถุที่วิจิตรพิสดารยิ่ง เช่น หน้ากากมรณะของกษัตริย์ปาคาล ผู้ครองนครปาเลงเก หรือวิหารอันงดงามจำนวนมากท่ามกลางป่าดงพงพฤกษ์ที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันล้ำเลิศของชาวมายา ทว่าอาณาจักรต่างๆล้วนรุ่งเรืองเฟื่องฟูเพื่อที่จะล่มสลาย ดังที่เห็นได้จากสารคดีตอนที่สองว่า มหันตภัยระลอกแล้วระลอกเล่า ทั้งจากธรรมชาติและน้ำมือมนุษย์ ส่งผลให้อารยธรรมมายายุคคลาสสิกถึงกาลอวสาน และปล่อยให้ธรรมชาติช่วงชิงความยิ่งใหญ่กลับคืนผู้สถาปนากษัตริย์
         จอมทัพผู้นั้นมาถึงในฤดูแล้งเมื่อเส้นทางเดินในป่าแห้งและแข็งพอจะเดินทัพได้ เขาเดินเข้าสู่นครวากาของชาวมายาอย่างสง่างามขนาบข้างด้วยเหล่าขุนศึก ขบวนเคลื่อนผ่านวิหาร ตลาด และตัดข้ามจัตุรัสกว้าง ชาวเมืองคงไม่เพียงตื่นตะลึงกับแสนยานุภาพของกองทัพแต่ยังประทับใจกับเครื่องแต่งกายอันอลังการของขุนศึกจากมหานครอันไกลโพ้น ตั้งแต่เครื่องประดับศีรษะขนนก แหลนยาว และโล่อันวาววับ   จารึกโบราณระบุว่า วันนั้นคือวันที่ 8 มกราคม ปี 378 และนามของชายผู้นั้นคือ อัคคีจุติ (Fire Is Born) เขามาถึงนครวากาซึ่งปัจจุบันอยู่ในกัวเตมาลา ในฐานะทูตจากอาณาจักรเรืองอำนาจแห่งที่ราบสูงเม็กซิโก หลายสิบปีต่อมา ชื่อของเขาปรากฏอยู่ในศิลาจารึกทั่วอาณาจักรของชาวมายาซึ่งเป็นอารยธรรมดงดิบแห่งเมโสอเมริกาชายผู้นี้ได้ทิ้งมรดกที่ทำให้มายาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดนานถึงห้าศตวรรษ    
        ชาวมายาเป็นชนเผ่าลึกลับมาตลอด เมื่อหลายปีก่อน ความยิ่งใหญ่ของเหล่านครที่ล่มสลาย และอักษรภาพแกะสลักที่สวยงาม แต่ไม่มีใครอ่านออก ทำให้นักวิจัยไม่น้อยจินตนาการถึงสังคมสันติสุขที่เต็มไปด้วยนักบวชและอาลักษณ์ แต่เมื่อนักอ่านจารึกเริ่มถอดอักษรภาพเหล่านั้นได้ภาพที่เห็นกลับโหดร้ายกว่าที่คิด มีทั้งการสู้รบของราชวงศ์ต่างๆ การแก่งแย่งชิงดีในราชสำนัก และการเผาทำลายพระราชวัง      
        กระนั้นก็ยังมีปริศนาลี้ลับอีกหลายประการ เช่น อะไรที่ส่งผลให้ชาวมายาก้าว
กระโดดขึ้นสู่จุดสูงสุด ในช่วงที่อัคคีจุติเริ่มมีชื่อเสียง คลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงได้กระจายไปทั่วอาณาจักรมายาแล้ว กลุ่มนครรัฐที่ไม่นิยมสุงสิงกับโลกภายนอกได้ขยายความสัมพันธ์กับนครข้างเคียงและวัฒนธรรมอื่นๆ และสร้างงานศิลปะที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจนถือว่าเป็นวัฒนธรรมมายายุคคลาสสิก      
        หลักฐานใหม่ๆที่ขุดพบจากซากปรักหักพังใต้ป่ารกเรื้อและการตีความใน
จารึกที่เพิ่งอ่านออกชี้ว่า อัคคีจุติคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังความเปลี่ยนแปลงนี้ แม้หลักฐานที่พบตลอดสิบปีที่ผ่านมาจะไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็พอจะบอกได้ว่า ชายแปลกหน้าผู้ลึกลับผู้นี้สร้างบทบาทผู้นำทางการเมืองใหม่ในอาณาจักรมายา เขาสร้างพันธมิตรโดยผนวกวิธีทางการทูตเข้ากับการใช้กำลัง สถาปนาราชวงศ์ใหม่ๆและขยายอิทธิพลของนครรัฐเตโอตีอัวกันอันยิ่งใหญ่ที่เขาเป็นตัวแทน มหานครแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเม็กซิโกซิตีในปัจจุบัน      
       นักวิชาการยังไม่เห็นพ้องต้องกันเรื่องมรดกที่เขามอบให้ชาวมายาในประเด็น
ว่า อัคคีจุติเป็นผู้เริ่มต้นยุคอิทธิพลจากต่างแดนอันยาวนานหรือเป็นเพียงผู้เร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในดินแดนที่มีเชื้ออยู่แล้ว และเป็นไปได้เช่นกันว่า ชาวมายาอาจกำลังก้าวไปสู่ความยิ่งใหญ่ด้วยตนเองแล้ว ทว่าสิ่งที่ไม่มีใครกังขาก็คือ การมาของอัคคีจุติคือจุดเปลี่ยนของเหตุการณ์ ก่อนที่อัคคีจุติจะเข้ามา ชาวมายาก็เจริญรุ่งเรืองอย่างไม่น่าเป็นไปได้ในดินแดนแร้นแค้นอยู่แล้ว ปัจจุบันที่ราบต่ำในภูมิภาคเปเตนซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเม็กซิโกติดกับกัวเตมาลาให้ผลิตผลแค่พอประทังชีวิตชาวเมืองเท่านั้น
อาร์เทอร์ เดมาเรสต์ นักวิชาการด้านมายาจากมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์บอกว่า “อารยธรรมที่สูงส่งไม่น่าจะเกิดขึ้นที่นี่ได้”
       ภูมิประเทศของนครวากาโบราณซึ่งปัจจุบันคือเอลเปรู ไม่น่าจะต่างจากครั้ง
ที่ชาวมายาคนแรกเดินทางมาถึงเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล นั่นคือเป็นป่าดิบชื้นที่มีนกมาคอว์สีแดง นกทูแคน และแร้งทำรังอยู่บนไม้ยืนต้นเขตร้อนที่สูงชะลูด ที่นี่คือดินแดนแห่งความรกเรื้อ โคลนเลน งูพิษ ความอับชื้นและเสือสาง โดยเฉพาะ บาลัม หรือเสือจากัวร์ซึ่งชาวมายาถือว่าเป็นเจ้าป่า  
        พวกที่อพยพมาแรกๆอาจไม่มีทางเลือกเพราะเมืองอื่นๆที่แออัดบีบให้พวกเขามายังดินแดนอันแสนกันดารนี้ แต่เมื่อมาถึงแล้ว พวกเขาก็เอาชนะความยากลำบากได้ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำ ทะเลสาบ และหนองบึง เพิ่มผลผลิตจากผืนดินที่ขาดความสมบูรณ์ ถางป่าเพื่อปลูกข้าวโพด ฟักแฟง และพืชผลต่างๆด้วยการเพาะปลูกสลับกับการเผาคล้ายวิธีของชาวมายาปัจจุบัน จากนั้นก็เติมความสมบูรณ์ให้ดินด้วยการปลูกพืชชนิดอื่นและพักดินจากการเพาะปลูกบ้าง    
        ครั้นเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ชาวมายาก็หันมาใช้วิธีเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น เช่น การใส่ปุ๋ยคอก การปลูกพืชแบบขั้นบันได และการชลประทานพวกเขาถมหนองบึงเพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก นำเลนและดินตะกอนก้นหนองไปทำสวน ล้อมรั้ว ขุดบ่อเลี้ยงปลา กั้นคอกเลี้ยงกวางและสัตว์อื่นๆที่จับได้จากป่า ชาวมายาโบราณเค้นผลผลิตจากดินที่ไม่สมบูรณ์นี้จนพอเลี้ยงผู้คนหลายล้านคน ซึ่งมากกว่าปัจจุบันหลายเท่าตัว        
        ชาวมายาดำรงชีพอย่างผาสุกในป่าดิบชื้นหลายร้อยปี ชุมชนขยายเป็นนครรัฐ และวัฒนธรรมก็ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น แม้ชาวมายาจะไม่มีวงล้อหรือเครื่องมือโลหะ แต่ก็มีระบบการเขียนอักษรภาพที่สมบูรณ์ และยังเข้าใจเรื่องค่าของศูนย์จนนำไปใช้ในการคำนวณต่างๆในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้พวกเขายังมีปีที่มี 365 วัน และชาญฉลาดพอที่จะแก้ไขความคลาดเคลื่อนของปีด้วยวิธีการที่คล้ายกับการเพิ่มปีอธิกสุรทิน      
       กษัตริย์ปกครองที่ชาวมายาเรียกว่า คูฮูล อะคอว์ หรือเทวกษัตริย์ ทรงเป็นสื่อกลางระหว่างสวรรค์กับโลก ทรงได้อำนาจจากทวยเทพ เป็นทั้งพ่อมดหมอผีที่อธิบายเรื่องศาสนาและคตินิยมแก่ประชาชน และเป็นทั้งผู้ปกครองซึ่งนำเหล่าประชาทั้งในยามศึกและยามสงบ  
        เบื้องหลังเสื้อคลุมแห่งพิธีกรรม นครรัฐของมายาก็ไม่ต่างจากนครอื่นๆที่แสวงหาพันธมิตร ทำสงคราม และค้าขายในอาณาจักรที่แผ่กว้างไปทั่วดินแดนตอนใต้ของเม็กซิโกในปัจจุบัน จากที่ราบต่ำเปเตนไปจรดชายฝั่งทะเลแคริบเบียนในฮอนดูรัส แม้จะมีเส้นทางเก่าแก่และถนนปูนเชื่อมตัดกันทั่วผืนป่าและมีเรือแคนูขึ้นล่องตามแม่น้ำ แต่ในทางการเมืองแล้ว นครรัฐต่างๆเหล่านี้ยังต่างคนต่างอยู่ก่อนที่อัคคีจุติจะมาถึง
        
         ล่วงถึงปี 378 นครวากากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญที่สำคัญแห่งหนึ่งมีจัตุรัสใหญ่สี่แห่ง อาคารหลายร้อยหลัง วิหารซึ่งมีความสูง 90 เมตร ปราสาทราชวังสำหรับประกอบพิธีตกแต่งด้วยภาพวาดบนผนังปูน บนลานประดิษฐานแท่นบูชาและอนุสาวรีย์ทำด้วยหินปูนสลักลวดลาย นครซึ่งเป็นมหาอำนาจด้านการค้านี้ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์บนแม่น้ำซันเปรโด สินค้าหายากจากต่างแดนก็มีขาย เช่น หยกสำหรับงานประติมากรรมและเครื่องประดับ และขนนกเก็ตซัลสำหรับประดับเครื่องแต่งกาย ซึ่งมาจากเทือกเขาทางใต้ หินออบซิเดียนสำหรับทำอาวุธ แร่ไพไรต์สำหรับทำกระจกเงาจากที่ราบสูงเม็กซิโกทางตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหานครเตโอตีอัวกัน      
        ถึงแม้มหานครเตโอตีอัวกันอันไพศาลจะมีพลเมืองอย่างน้อย 100,000 คน และอาจเป็นนครที่ใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้น แต่กลับไม่เหลือบันทึกใดๆไว้ให้นักอ่านจารึกไขปริศนาได้ แต่เหตุผลที่เตโอตีอัวกันส่งอัคคีจุติไปยังดินแดนมายาดูจะชัดเจน นครวากามีทำเลที่ตั้งอยู่บนแหลมที่ยื่นออกไปเหนือลำน้ำแขนงหนึ่งของแม่น้ำซันเปโดรและมีท่าเรือที่ปลอดภัย เหมาะสำหรับจอดเรือขนาดใหญ่“เป็นจุดยุทธศาสตร์การรบชั้นยอดเลยครับ” เดวิด ฟรีเดล นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นเมโทดิสต์ และผู้อำนวยการร่วมในการขุดสำรวจที่นครวากา กล่าว ซึ่งนี่คงจะตรงกับสิ่งที่อัคคีจุติคิดพอดี  
เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก
สิงหาคม 2550

704
ขอบคุณ คุณs2010023
ที่เฉลยวิธีคิดให้เสร็จ

705
เมื่อ 37 ล้านปีก่อน สัตว์รูปร่างคล้ายงูยาว 15 เมตร  มีขากรรไกรที่เปิดกว้างและฟันที่แหลมคม ตายและจมสู่ก้นมหาสมุทรทีทิสในยุคดึกดำบรรพ์ ตะกอนค่อยๆก่อตัวทับถมร่างของมันต่อเนื่องยาวนานนับล้านปี เมื่อน้ำทะเลลดลงและพื้นทะเลกลายเป็นทะเลทราย ลมก็เริ่มพัดพาหินทรายและหินดินดานที่ปกคลุมกระดูกออกไป โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกส่งผลให้แผ่นเปลือกโลกอินเดียชนเข้ากับแผ่นเปลือก โลกเอเชีย ยกตัวขึ้นเป็นเทือกเขาหิมาลัย ขณะที่ในแอฟริกา บรรพบุรุษมนุษย์คนแรกยืนบนขาหลังเพื่อออกเดิน เหล่าฟาโรห์สร้างพีระมิดขึ้นมา อาณาจักรโรมันรุ่งเรืองและล่มสลาย ตลอดช่วงเวลานั้นสายลมได้ทำหน้าที่ขุดค้นด้วยความอดทนเรื่อยมา จนวันหนึ่ง ฟิลิป กิงเกอริช ได้ปรากฏตัวขึ้นเพื่อสานต่อปฏิบัติภารกิจนี้ให้ลุล่วง เย็นวันหนึ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กิงเกอริช นักบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน นอนเหยียดยาวอยู่ข้างชุดกระดูกสันหลังของเจ้า บาซิโลซอรัส (Basilosaurus) กลางทะเลทรายที่รู้จักกันในนาม วาดิไฮตัน ของประเทศอียิปต์ ทรายรอบตัวเขาเต็มไปด้วยฟอสซิลฟันฉลาม หนามเม่นทะเล และกระดูกปลาจำพวกปลาดุกขนาดยักษ์

แท้จริงแล้ว บาซิโลซอรัส คือวาฬชนิดหนึ่ง แต่มีขาหลังสองข้างอันบอบบางยื่นออกมาจากด้านข้างลำตัวขาแต่ละข้างมีขนาดพอๆ กับขาของเด็กหญิงอายุ 3 ขวบ ขาเล็กๆน่ารักที่มีรูปทรงสมบูรณ์แต่ใช้ประโยชน์ไม่ได้เลยแม้แต่จะใช้เดิน นี้   เป็นเงื่อนงำสำคัญในการทำความเข้าใจว่า  วาฬในปัจจุบันซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเครื่องจักรว่ายน้ำที่ผ่านการปรับแต่งจน สมบูรณ์แบบนั้นสืบสายพันธุ์มาจากสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมที่ครั้งหนึ่งเคย เดินสี่ขาได้อย่างไร กิงเกอริชทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ ในหน้าที่การงานไปกับการอธิบายเรื่องการเปลี่ยนรูปร่าง (metamorphosis) ซึ่งว่ากันว่าเป็นเรื่องลึกล้ำที่สุดในอาณาจักรสัตว์

วาดิไฮตัน ซึ่งแปลตามตัวได้ว่า “หุบเขาแห่งวาฬ” รุ่มรวย ไปด้วยหลักฐานที่ช่วยปะติดปะต่อปริศนาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของวาฬในครั้ง บรรพกาล บรรพบุรุษร่วมของวาฬและสัตว์บกที่เหลือทั้งหมด คือสัตว์สี่ขาหัวแบน รูปร่างคล้าย  แซลาแมนเดอร์ ซึ่งลากตัวเองขึ้นจากท้องทะเลสู่ชายฝั่งที่เต็มไปด้วยโคลนเมื่อประมาณ 360 ล้านปีก่อน ลูกหลานของพวกมันค่อยๆพัฒนาประสิทธิภาพ   การทำงานของปอดแบบเดิม  เปลี่ยนครีบเป็นขา และปรับข้อต่อขากรรไกรให้สามารถรับเสียงในอากาศแทนที่จะเป็นในน้ำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลายเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการ ดำรงชีวิตบนพื้นดิน ราว 60 ล้านปีก่อน พวกมันครองพิภพ ขณะที่วาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนน้อยที่มีวิวัฒนาการย้อนกลับไปสู่การ ดำรงชีวิตใต้น้ำ โดยพัฒนาร่างกายให้กลับไปสามารถรับสัมผัส กินอาหาร เคลื่อนไหว และผสมพันธุ์ใต้น้ำได้

ไม่ว่าขาเล็กๆของ บาซิโลซอรัส จะมีไว้เพื่อการใดก็ตาม การค้นพบกระดูกขาเหล่านี้เป็นการยืนยันว่า บรรพบุรุษของวาฬเคยเดิน ย่ำ และกระโดดบนพื้นดินมาก่อน แต่โฉมหน้าของของบรรพบุรุษเหล่านี้ยังคงไม่ชัดเจน โครงสร้างกระดูกบางอย่างของวาฬโบราณ โดยเฉพาะชุดฟันกรามสามเหลี่ยมขนาดใหญ่มีลักษณะคล้ายคลึงกับฟันของเมโซไนคิด (mesonychid) สัตว์ กีบกินเนื้อพวกหนึ่งในสมัยอีโอซีน ย้อนหลังไปในช่วงทศวรรษ 1950 นักวิทยาภูมิคุ้มกันค้นพบคุณลักษณะบางอย่างในเลือดวาฬที่บ่งชี้ว่าพวกมันอาจ สืบสายพันธุ์จากสัตว์กีบคู่เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมถึง หมู กวาง อูฐ และสัตว์จำพวกกีบเท้าคู่อื่นๆ พอถึงทศวรรษ 1990 นักชีววิทยาโมเลกุลทำการศึกษารหัสพันธุกรรมของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมนี้ และลงความเห็นว่า ญาติใกล้ชิดที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ของวาฬคือ สัตว์กีบอย่างฮิปโปโปเตมัส

กิงเกอริชเชื่อว่า สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมตัวแรกๆอาจมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับพวกสกุลแอนแทรโคแดร (anthracothere) สัตว์ กินหญ้ารูปร่างสะโอดสะองคล้ายฮิปโป ซึ่งอาศัยอยู่ตามหนองน้ำในสมัยอีโอซีน ไม่ว่าจะมีขนาดหรือรูปร่างหน้าตาอย่างไรก็ตาม วาฬในยุคแรกเริ่มก็ปรากฏขึ้นประมาณ 55 ล้านปีก่อน เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมปัจจุบันอื่นๆ ในช่วงที่อุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้นตอนต้นสมัยอีโอซีน พวกมันอาศัยอยู่ตามชายฝั่งด้านตะวันออกของมหาสมุทรทีทิส  ที่ซึ่งสายน้ำเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการไม่ว่าจะเป็น ความอบอุ่น ความเค็ม ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเล และการปลอดจากไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อ 10 ล้านปีก่อนหน้านั้น การหาแหล่งอาหารใหม่ลึกลงไปในน้ำส่งผลให้สัตว์ที่หากินตามน้ำตื้นเหล่านี้ ค่อยๆพัฒนาปากที่ยาวขึ้นและฟันที่แหลมคมขึ้นเพื่อให้เหมาะกับการจับปลา   จนเมื่อราว  50  ล้านปีก่อน    พวกมันได้เข้าสู่ระยะของ   ปากีเซตัส ที่มีสี่ขาและว่ายน้ำได้อย่างช่ำชอง แต่ยังคงใช้ชีวิตบนพื้นดิน

การ ปรับตัวเข้าหาแหล่งน้ำ ทำให้วาฬยุคแรกเริ่มได้เข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ เข้าไม่ถึง สิ่งแวดล้อมใหม่นี้เพียบพร้อมไปด้วยอาหารและแหล่งพักพิง ขณะที่ศัตรูและสัตว์นักล่ามีไม่มากนัก ซึ่งเป็นเงื่อนไขและปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับวิวัฒนาการ สิ่งที่เกิดตามมาคือมหกรรมการทดลองทางวิวัฒนาการขนานใหญ่ของเผ่าพันธุ์วาฬ     ซึ่งส่วนใหญ่ลงเอยด้วยการสูญพันธุ์ไปยาวนานก่อนจะถึงยุคปัจจุบัน   ไม่ว่าจะเป็น แอมบูโลเซตัส (Ambulocetus)   ขนาดใหญ่โตหนัก  725  กิโลกรัม ซึ่งเป็นสัตว์นักล่าที่ซุ่มทำร้ายเหยื่อด้วยแข้งขาที่ป้อมสั้น ขากรรไกรขนาดใหญ่ หน้าตาคล้ายจระเข้น้ำเค็มมีขน ดาลานิสต์ (Dalanist) ที่มีลำคอยาวและหัวคล้ายนกกระสา หรือ มาคาราเซตัส (Makaracetus) ที่มีงวงสั้นโง้งแข็งแรง ซึ่งอาจใช้ในการกินมอลลัสก์

ราว 45 ล้านปีก่อน ขณะที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยของโลกใต้น้ำดึงดูดให้วาฬออกสู่ทะเลไกลยิ่งขึ้น คอของมันก็หดสั้นลงและแข็งขึ้น เพื่อให้แหวกว่ายในน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนหลังใบหน้ายาวและเรียวแหลมขึ้นคล้ายหัวเรือ ขาหลังหนาขึ้นไว้ช่วยในการว่ายน้ำ นิ้วเท้าเหยียดและค่อยๆกลายเป็นพังผืด โดยมีลักษณะคล้ายเท้าเป็ดขนาดใหญ่ส่วนตรงปลายยังคงเป็นกีบเท้าเล็กๆที่ได้ รับมาจากบรรพบุรุษสัตว์กีบ วิธีการว่ายน้ำก็พัฒนาขึ้นเช่นกัน กล่าวคือวาฬบางชนิดพัฒนาช่วงหางที่แข็งแรงและหนาเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ไป ข้างหน้าอย่างคล่องแคล่ว ด้วยการกระเพื่อมร่างกายส่วนล่างขึ้นลง กระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติที่โน้มเอียงไปสู่รูปแบบการเคลื่อนที่อย่างมี ประสิทธิภาพเช่นนี้ นำไปสู่การวิวัฒน์กระดูกสันหลังที่ยาวและยืดหยุ่นมากขึ้น รูจมูกเลื่อนไปด้านหลังของปากขึ้นสู่ด้านบนหัว กลายเป็นช่องหายใจหรือรูพ่นน้ำ (blowhole) เมื่อ เวลาผ่านไปและวาฬดำน้ำได้ลึกขึ้น ตาของมันเริ่มเคลื่อนจากส่วนบนสู่ด้านข้างของหัวเพื่อให้มองเห็นด้านข้างใน น้ำได้ดีขึ้น ขณะที่หูของวาฬจับสัญญาณเสียงใต้น้ำได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากแผ่นไขมันที่ทอดตัวตามแนวความยาวของร่องขากรรไกร โดยทำหน้าที่จับการสั่นสะเทือนราวกับสายอากาศใต้น้ำ และส่งผ่านไปยังหูชั้นกลาง

แม้ จะปรับตัวเข้ากับโลกใต้น้ำได้เป็นอย่างดี แต่บรรพบุรุษวาฬอายุ 45 ล้านปีเหล่านี้ ยังคงต้องพาตัวเองขึ้นฝั่งด้วยนิ้วมือและนิ้วเท้าที่เป็นพังผืด เพื่อหาน้ำจืดดื่ม หาคู่ หรือหาที่ปลอดภัยในการตกลูก แต่ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ล้านปี วาฬได้ก้าวผ่านจุดที่ไม่อาจหวนกลับไปเป็นอย่างเดิมอีก ดังจะเห็นได้จาก บาซิโลซอรัส, โดรูดอน และญาติของพวกมันที่ไม่เคยย่างกรายขึ้นมาบนฝั่งอีกเลย วาฬยุคบุกเบิกเหล่านี้แหวกว่ายอยู่ในน้ำด้วยความมั่นใจในท้องทะเลอันกว้าง ใหญ่ และถึงกับว่ายข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปถึงชายฝั่งประเทศเปรูและสหรัฐอเมริกา ตอนใต้ในปัจจุบัน ร่างกายของพวกมันปรับให้เข้ากับการใช้ชีวิตในน้ำโดยเฉพาะ กล่าวคือขาหน้าสั้นลงและแข็งขึ้นเพื่อเป็นครีบสำหรับว่ายน้ำ ส่วนปลายหางแผ่ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อช่วยในการดันหรือยกตัว (หลักการเดียวกับเรือไฮโดรฟอยล์) กระดูกเชิงกรานแยกออกจากกระดูก สันหลังเพื่อให้หางสามารถเคลื่อนที่ในแนวดิ่งได้มากขึ้น กระนั้นขาหลังของพวกมันก็ยังคงอยู่ โดยมีเข่า เท้า ข้อเท้า และนิ้วเท้าขนาดเล็กครบถ้วน ซึ่งถึงตอนนี้ไม่สามารถใช้เดินได้อีกต่อไป แต่อาจช่วยสำหรับการผสมพันธุ์
              การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงสุดท้ายจากบาซิลโลซอริดสู่วาฬปัจจุบัน เริ่มต้นขึ้นราว 34 ล้านปีก่อน ในช่วงที่สภาพอากาศหนาวเย็นลงอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นการสิ้นสุดสมัยอีโอซีน การลดลงของอุณหภูมิน้ำใกล้ขั้วโลก การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำมหาสมุทร และการลอยตัวขึ้นของน้ำทะเลที่อุดมไปด้วยสารอาหารตามแนวชายฝั่งตะวันตกของ ทวีปแอฟริกาและยุโรป นำพาวาฬเข้าสู่สภาพแวดล้อมใหม่อย่างสิ้นเชิง และผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงสรีระอื่นๆ เช่น สมองขนาดใหญ่ การระบุตำแหน่งจากเสียงสะท้อน ชั้นไขมันห่อหุ้มร่างกาย และในบางชนิดพันธุ์ บาลีน (baleen) หรือแผ่นกรองกินได้เข้าแทนที่ฟันสำหรับการดักจับคริลล์ คุณลักษณะเหล่านี้เองที่สืบทอดต่อมาจนถึงสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมในปัจจุบัน

สิงหาคม 2553

หน้า: 1 ... 45 46 [47] 48 49 ... 51