ผู้เขียน หัวข้อ: ร่างพรบ.คุ้มครองฯ : ร่างแก้ไขเพิ่มเติม ม. ๔๑  (อ่าน 421 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9789
    • ดูรายละเอียด
เนื่องจากได้มีการให้ข่าวกล่าวหากรรมการแพทยสภาบางคนในสื่อต่างๆหลายรูปแบบเกี่ยวกับเรื่องการไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข (หรือในชื่ออื่นๆ) และการเสนอแก้ไขปรับปรุงมาตรา 41 และ 42 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ผมจึงขอเรียนความจริงให้ทราบดังนี้ครับ

ในการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาครั้งที่ 5/2557
วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 มีมติดังนี้

1.ยืนยันตามความเห็นเดิม ไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....

2.เห็นชอบให้แก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41 โดยขยายการคุ้มครองทั้ง3 ระบบตามที่ได้เคยเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไปแล้วตั้งแต่ 23 มกราคม 2555 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ครับ
ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา41และ 42 ) พ.ศ. ....

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.....

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกข้อความในมาตรา ๔๑ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

“ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้รับบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ในกรณีที่ผู้รับบริการสุขภาพได้รับ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการโดยหาผู้กระทำผิดมิได้ หรือหาผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด”

มาตรา ๔ ให้ยกเลิกข้อความในมาตรา ๔๒ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
“ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการและได้ตกลงรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้วให้สิทธิการฟ้องร้องต่อศาลเป็นอันระงับสิ้นไป”
----------------------

ผลดีของร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔๑ และ ๔๒ ) พ.ศ. ....
ข้อ ๑.ผู้เสียหายทางการแพทย์ได้รับการเยียวยาอย่างถูกต้องและเหมาะสม (ทำโดยมืออาชีพของสำนักงานหลักประกันฯที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศ)
ข้อ ๒. แพทย์มีความกล้าที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยโดยไม่ต้องวิตกกังวล (เพราะยุติการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญา)
ข้อ ๓. ไม่ต้องสิ้นเปลื้องภาษีอากรของประชาชนในการจัดตั้งกองทุนใหม่

จะเห็นได้ว่าร่าง(แก้ไขเพิ่มเติม) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ พ.ศ. .... ซึ่งมีเพียง 4 มาตรา และแก้ไขข้อบังคับฯ อีกเพียงเล็กน้อย(ตามร่างฯที่ได้แพทยสภาได้เสนอแก้ไขไปแล้ว)ก็จะคุ้มครองประชาชนและแพทย์ทั้งประเทศได้อย่างแท้จริง และสามารถยุติการฟ้องร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องจัดตั้งกองทุนใหม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณของชาติ
------------------

ร่าง(แก้ไขเพิ่มเติม) ข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการจ่ายเงินช่วยเหลือกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ. ....

ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
“การรักษาพยาบาล” หมายความว่า การรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
“หน่วยบริการ” หมายความว่า หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ

ข้อ ๖ “ประเภทของความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการและ อัตราจ่ายเงินช่วยเหลือ แบ่งเป็น
(๑) เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงินช่วยเหลือได้ ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๒) สูญเสียอวัยวะหรือพิการ จ่ายเงินช่วยเหลือได้ ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือได้ ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท”

ข้อ ๑๐
ในกรณีผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะของบุคคลดังกล่าว เห็นด้วยกับการวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการที่สั่งจ่ายเงินช่วยเหลือ ให้ผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะของบุคคลดังกล่าว รับเงินพร้อมทำบันทึกกับคณะอนุกรรมการสละสิทธิ์การดำเนินคดีในศาลทันทีที่รับเงินช่วยเหลือ

ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์
ประธานฝ่ายกฎหมายและจริยธรรมแพทยสภา

https://www.facebook.com/ittaporn/posts/830941520299989:0