แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 455 456 [457] 458 459 ... 535
6841
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ สธ.ยังอึด ตรวจรักษาผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่น้ำท่วมและจุดพักพิงทั้งต่างจังหวัดและกทม. วันละกว่า200 ทีม ขณะยอดผู้เจ็บป่วยสะสมจำนวน กว่า 1 ล้าน 3 แสนราย ผู้ประสบภัยเครียด 1 แสนกว่าราย ซึมเศร้ากว่า 7,000 ราย
       
       นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางไปตรวจเยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ออกปฏิบัติการตรวจรักษาผู้ประสบภัยที่เจ็บป่วย และดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในบ้านที่อยู่ในตรอกซอย ในเขตบางพลัด กทม.วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2554) ว่า สถานการณ์ขณะนี้ ยังคงเหลือพื้นที่น้ำท่วมอีก 25 จังหวัด มีผู้ประสบภัย 3 ล้านกว่าคน พื้นที่ในต่างจังหวัดระดับน้ำทรงตัวและแนวโน้มลดลง เข้าสู่ระยะการฟื้นฟู จุดที่ต้องเน้นหนักในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยขณะนี้ก็คือ กทม. เนื่องจากพื้นที่ขยายวงกว้างขึ้น กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานการทำงานร่วมกับ กทม.อย่างใกล้ชิด โดยวันนี้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งหมด 8 ทีม ใน 6 เขต ได้แก่ เขตบางพลัด บริการจุดที่ 1.สี่แยกบางพลัด มีผู้เจ็บป่วย วันละ 400-500 ราย 2.แฟลตตำรวจ สน.บางพลัด 3. วัดเทพากร และ 4. วัดเทพนารี ซึ่งอยู่ในซอยจรัลสนิทวงศ์ 68  5 เขตดอนเมือง 1 จุดที่สี่แยกศรีสมาน มีผู้เจ็บป่วย 700-800 รายต่อวัน 6.เขตหลักสี่ บริการที่ห้างไอทีสแควร์ เขตลาดพร้าว บริการที่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว และเขตจตุจักร ที่บริเวณกระทรวงแรงงาน ส่วนเขตทวีวัฒนา ได้ให้ทีมของโรงพยาบาลราชบุรี เข้าไปให้บริการเนื่องจากสามารถเข้าพื้นที่ได้สะดวกกว่า ในภาพรวมกระทรวงสาธารณสุขได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการทั้งต่างจังหวัดและกทม.ทุกวัน วันละกว่า 200 ทีม บริการที่ให้จะดูแลทั้งประชาชนที่อยู่ตามบ้านเรือน จุดพักพิงต่าง ๆ และดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันปัญหาขาดยา
       
       นายวิทยากล่าวต่อไปว่า ในส่วนของสถานสงเคราะห์ประจวบโชค อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้รับย้ายผู้ที่อยู่ในสงเคราะห์ที่พึ่งหญิงธัญบุรี และบ้านกึ่งวิถีชายจากจังหวัดปทุมธานี เข้าไปพักพิง 310 คน และมีปัญหาขาดยารักษาโรคทางจิตนั้น ได้สั่งการให้กรมสุขภาพจิตประสานงานกับโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเข้าไปดูแลในเรื่องดังกล่าว
       
       สำหรับเซรุ่มป้องกันงูเขียวแมมบ้า ในวันนี้ได้รับเรียบร้อยแล้วเมื่อเวลา 11.00 น. จำนวน 50 หลอด ซึ่งจะจัดส่งให้สถานเสาวภา สภากาชาดไทย 20 หลอด โรงพยาบาลศิริราช 10 หลอด โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 10 หลอด และองค์การเภสัชกรรม 10 หลอด สรุปแล้วขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมีเซรุ่มป้องกันพิษงูรวมทั้งหมด 8 ชนิด ที่ผ่านมาได้รับรายงานผู้ประสบภัยน้ำท่วมถูกงูกัดจำนวน 127 ราย ในจำนวนนี้เป็นงูเห่า 17 ราย งูเขียวหางไหม้ 53 ราย นายวิทยากล่าว
       
       นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตั้งแต่หลังน้ำท่วมวันที่ 25 ก.ค.2554 จนถึงวันนี้ พบผู้เจ็บป่วยทั้งหมด 1,356,128 ราย ส่วนใหญ่เจ็บป่วยทั่ว ๆ ไป เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคไข้หวัด โรคผิวหนังผื่นคัน อาการปวดเมื่อย ส่วนด้านสุขภาพจิต ได้ตรวจคัดกรองผู้ประสบภัยใน 37 จังหวัดที่น้ำท่วม พบมีปัญหาเครียด 113,938 ราย เครียดสูง 6,003 ราย มีอาการซึมเศร้า 7,132 ราย เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 1,096 ราย ต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษ 1,686 ราย และต้องรักษาโดยการให้ยาคลายเครียดคลายกังวล 5,277 ราย โดยในศูนย์พักพิงและจุดอพยพมีทีมสุขภาพจิตประจำการดูแลทั้งหมด 23 ทีม ซึ่งจะมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การฝึกหายใจคลายเครียด การนวดคลายเครียด การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ การให้ความรู้สุขภาพจิต
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า เรื่องที่เป็นห่วงหลังน้ำท่วมคือเรื่องปริมาณของขยะ ทั้งเปียกและแห้ง มีจำนวนมาก อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ ทำให้โรคแพร่ระบาด โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงและโรคฉี่หนู การเฝ้าระวังที่ผ่านมาเริ่มพบผู้ป่วย 2 โรคนี้ ประปราย แม้จะไม่พบการระบาด แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนจะต้องเข้มงวดในการป้องกันควบคุม

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 พฤศจิกายน 2554

6842
เครือข่ายภาคประชาชนโวย รัฐทอดทิ้งที่พักพิง ซ้ำกลุ่มแพทย์เคลื่อนที่ไม่ทั่วถึง รมว.สธ.โต้แจ้งจุดไม่ชัดเจน...

นายชาญ รูปสม ประธานชุมชนการเคหะทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ เปิดเผยว่า เครือข่ายประชาชนผู้จัดตั้งสถานที่พักพิงที่อยู่ใกล้บ้าน จำนวน 8 แห่ง ได้จัดประชุมผ่านทางโทรศัพท์ร่วมกัน เนื่องจากชุมชนต่างๆ ที่รวมตัวกันจัดสถานที่พักพิงใกล้บ้าน เช่น ศูนย์พักพิงเดิมที่รัฐบาลประกาศ แต่ต่อมาได้สั่งปิดศูนย์ฯ และส่วนใหญ่ คือ โรงเรียน วัด ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนมาตั้งแต่อดีต โดยต้นทุนทางสังคมนี้ต่างเอื้อเฟื้อกันมายาวนาน แต่ขณะนี้ รัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ได้ทอดทิ้งพลังทางสังคม โดยได้แต่ประกาศว่าให้อพยพ จึงอยากถามว่าบทเรียนการอพยพที่ผ่านมา เป็นทางออกทางเดียวหรือไม่


"เครือข่ายประชาชนขอเรียกร้องให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ใช้พลังชุมชนที่พักพิงใกล้บ้านเหล่านี้ โดยขอให้จัดตั้งคณะทำงานมีรองผู้ว่าฯ เป็นประธาน มีหน้าที่เพื่อเสริมพลังที่พักพิงใกล้บ้าน ทำการสำรวจจำนวน จัดตั้งผู้ประสานงานที่พักพิง ซึ่งภาคประชาชนกำลังรวบรวมกันอยู่แล้ว จากนั้นให้ทำการสนับสนุนการช่วยเหลือตามความจำเป็น ของแต่ละแห่ง เพราะที่พักพิงเหล่านี้เป็นสถานที่สมัครใจ มีการจัดตั้งตัวเองได้ในระดับหนึ่ง และกรุงเทพมหานคร ควรใช้โอกาสนี้ในการเสริมพลังตามเจตนารมณ์ของผู้ว่าฯ ที่จะสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และขอให้เชื่อมั่นว่า ที่พักพิงเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูชุมชนหลังน้ำลด ตลอดเวลาที่น้ำท่วม บางแห่ง 10 วัน บางแห่ง 15 วันมาแล้ว ยังไม่เห็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปตามจุดต่างๆ ของชุมชน โดยเฉพาะประชาชนที่สมัครใจอยู่ในบ้าน ทั้งที่ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่ามีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ แต่ตนไม่รู้ว่าหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปอยู่ที่ไหน เพราะอย่างน้อยควรมีทีมแพทย์ พยาบาลเวียนเข้ามาทางเรือ หรือตั้งจุดปฐมพยาบาลในชุมชนต่างๆ จะทำให้ประชาชนอุ่นใจมากขึ้น เพราะในความทุกข์ยากนี้ คนที่ชาวบ้านนึกถึงอีกคนคือ แพทย์ พยาบาล อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ ทางเครือข่ายฯ จะทำจดหมายข้อเรียกร้องแจ้งไปยังรัฐบาล และกรุงเทพมหานครต่อไป


ด้านนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า การตั้งทีมแพทย์เคลื่อนที่เพิ่มเติมนั้น ขณะนี้ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่ไม่ยอมอพยพ และบางส่วนที่ กทม.ประกาศให้อพยพ ก็ไม่มีการแจ้งจุดอพยพที่ชัดเจนว่า จะให้ประชาชนไปที่ไหน อย่างไร ทำให้ทีมแพทย์ตามไปให้การรักษาไม่ถูก จึงอยากให้กรุงเทพมหานครกำหนดพื้นที่ให้ชัดเจน ส่วนเรื่องการเพิ่มทีมแพทย์ ขณะนี้พื้นที่ที่ประสบภัยเหลือเพียง 7 จังหวัด ทำให้สามารถกระจายผู้ป่วยไปยังจังหวัดที่เปิดให้บริการทางการแพทย์ได้แล้ว รวมถึงยังสามารถระดมทีมแพทย์ช่วยเหลือเพิ่มได้โดยจะร่วมกับทีมของกรุงเทพมหานคร

"ขณะนี้การอพยพผู้ป่วยหนักที่อยู่ใน รพ.ได้กระจายออกไปแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่ง รพ.ที่ยังไม่ได้รับผลกระทบ ก็ยังสามารถเปิดให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินได้ตามปกติ และจะขอความร่วมมือไปยัง รพ.เอกชน ว่าต้องไม่ปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉิน เพราะจะถือว่ามีความผิด ขอให้รับผู้ป่วยไว้ดูแลเบื้องต้นก่อน หากไม่สามารถให้การรักษาได้ค่อยประสานงานเพื่อส่งต่อ ซึ่งที่ผ่านมามีการร้องเรียนเพียง 1 รายถึงการปฏิเสธคนไข้ ซึ่งหากพบว่ามีการปฏิเสธผู้ป่วยอีก จะดำเนินการอย่างเข้มงวด ด้วยการให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นผู้อนุญาตใบสถานประกอบโรคศิลปะตักเตือน" นายวิทยากล่าว

ไทยรัฐออนไลน์ 5 พย 2554

6844

การประชุมสัมมนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมร้อยกว่าคน แต่เนื่องจากอยู่ในช่วงที่หลายจังหวัดประสบอุทกภัยอย่างร้ายแรง และผู้บริหารกระทรวงฯไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมสัมมนาได้ แนวทางการประชุมสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นการพูดคุยกันในแง่วิชาการ  

สรุปเนื้อหา...ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และเหมาะสมกับภาระงาน

1. ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม …ค่าตอบแทนที่เหมาะสม...หลักการ

2. ค่าตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านมา...วิเคราะห์เปรียบเทียบ

3. ค่าตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุขในวันข้างหน้า...หลักการ

4. P4P ที่เป็นธรรม และเหมาะสม...วิเคราะห์เปรียบเทียบ
...

เริ่มด้วยความเคลื่อนไหวล่าสุดจากผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับค่าตอบแทน คือ

1.หนังสืออนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่าย...เพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุข



...
2.งบประมาณของ สป.ที่จัดสรรลงจังหวัด ปีงบประมาณ 2554 (รายการ ค่าตอบแทนกำลังคนด้านการสาธารณสุข)
(จังหวัดไหน โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ไหนได้งบเท่าไหร๋ ดูกันได้เลย)













...

6845
นายรัตนาวุธ วัช​โรทัย ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมพิ​เศษ สำนักพระราชวัง กล่าวว่า ตั้ง​แต่วันที่ 1 พ.ย.​เป็นต้นมา พระราชวังบางประอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ​ได้​เปิดศูนย์รักษาพยาบาล​เบื้องต้น​ให้กับประชาชน ​โดย​การจัด​แพทย์พระราชทาน จากกอง​แพทย์หลวง สำนักพระราชวัง ​ให้บริ​การประชาชนที่อาศัยอยู่บริ​เวณ​โดยรอบพระราชวังบางประอิน ที่​เจ็บป่วยอัน​เกิดจากภาวะน้ำท่วม ​ได้​เข้ารับ​การรักษา​ได้ทุกวัน ตั้ง​แต่​เช้า-​เย็น ​และหากอา​การหนัก​ก็จะส่ง​ไปยัง​โรงพยาบาล​ใกล้​เคียง ​ทั้งนี้ ​เพื่อช่วยฟื้นฟู​เยียวยา​ผู้ที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ​เนื่องจากขณะนี้ประชาชนยัง​ไม่สามารถ​เดินทาง​เข้า-ออก​ได้สะดวก ​เพราะบริ​เวณดังกล่าวน้ำยังคงท่วมอยู่

​แนวหน้า  4 พฤศจิกายน 2554

6846
ในช่วงเวลาน้ำท่วมเมือง อาหารเป็นปัจจัยแรกที่ทุกคนต่างกลัวว่าจะขาดแคลน ผู้คนจึงพากันกักตุนอาหารที่คิดว่าจำเป็นต่อการยังชีพ นี่เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่มและอาหารสะดวกรับประทานซึ่งไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยากในการประกอบเป็นอาหาร
       
       อาหารที่ผู้คนส่วนใหญ่เลือกกักตุนคือ อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกระป๋อง อาหารกระป๋องในน้ำเกลือ เช่น ปลากระป๋อง ผักดองกระป๋อง ขนมขบเคี้ยวที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบสูง อาหารที่มีไขมันสูง เช่น กุนเชียง หมูหยอง อาหารทอดน้ำมัน น้ำอัดลม โดยที่ไม่รู้ว่าอาหารประเภทเหล่านี้ถ้ารับประทานในปริมาณมากและเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และผู้สูงอายุ การขาดสารอาหารจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วยและติดเชื้อโรคได้ง่าย สำหรับกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ก็จะยิ่งทำให้อาการของโรคแย่ลงไปอีก ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพตามมาหลังจากน้ำลดหรือในกรณีเจ็บป่วยในขณะที่น้ำยังท่วมอยู่ก็จะทำให้ลำบากมากขึ้นในการเดินทางไปหาหมอหรือหายามารักษา
       
       คำแนะนำสำหรับอาหารที่ดีและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในยามน้ำท่วม
       
       • น้ำดื่มสะอาดร่างกายควรได้รับน้ำในแต่ละวันเฉลี่ยประมาณ 2-3 ลิตร หรือ 8 แก้วต่อวัน
       
       • ซีเรียล ธัญพืชอบแห้ง หรือข้าวอบแห้ง เช่น ซีเรียลที่นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า ควรใส่รวมกับนมหรือนมถั่วเหลืองหรือหากใส่ผลไม้เพิ่มก็ยิ่งมีประโยชน์มากขึ้น ซีเรียลควรที่จะเป็นชนิดโฮลเกรน น้ำตาลและไขมันต่ำ ข้าวอบแห้งที่สามารถหาได้ง่ายๆ ในบ้านเรา ได้แก่ข้าวตังหน้าธัญพืช ลูกเดือยอบกรอบ ข้าวพอง ข้าวแต๋น
       
       • เมล็ดธัญพืชพร้อมรับประทาน เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วแดงกระป๋อง หรือจะเป็นธัญพืชอัดแท่งก็ได้ อาหารในกลุ่มนี้จะให้พลังงานสูงและทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน
       
       • ถั่วเปลือกแข็งเช่น อัลมอนด์ แมกคาเดเมีย พิสตาชิโอ วอลนัท พีแคน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง อาหารในกลุ่มนี้ให้คุณค่าทางอาหารสูงเนื่องจากมีไขมันไม่อิ่มตัว โปรตีน ใยอาหาร และสารพฤกษาเคมีที่ช่วยขับสารอนุมูลอิสระที่จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ลดระดับไขมันในเลือดและควบคุมระดับในตาลในเลือดให้คงที่ซึ่งดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน
       
       • เส้นหมี่แห้งก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของอาหารประเภทข้าวแป้งที่สะดวกในนำมาปรุงประกอบอาหาร ในกรณีที่ไม่มีไฟฟ้าและมีเพียงเตาถ่านหรือเตาแก๊ส เส้นหมี่จะช่วยเราประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่มีอยู่จำกัด แค่นำเส้นหมี่มาแช่น้ำก็สามารถนำมาผัด หรือต้มก็ได้ตามชอบ
       
       • ข้าวเหนียวเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างข้าวสวยกับข้าวเหนียว ข้าวเหนียวจะสามารถทำให้อิ่มได้นานกว่าและมีอายุการเก็บรักษาได้นาน ข้าวสวยปกติจะเก็บได้ 4-5 ชั่วโมงก็จะเริ่มบูด ในขณะที่ข้าวเหนียวเก็บได้ประมาณ 1 วันและเหมาะกับการนำเป็นอาหารกล่องไปแจกให้กับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมโดยแยกข้าวเหนียวกับตัวกับข้าวคนละถุงกันก็จะทำให้อาหารเก็บได้นานขึ้นอีก
       
       • เนื้อสัตว์แห้งหรือกระป๋องเช่นปลากรอบ หมูฝอย เนื้อฝอยโปรตีนเกษตรพร้อมรับประทานแผ่นแห้ง รวมถึงสาหร่ายอบแห้ง เหล่านี้เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดี
       
       • น้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง
       
       • ขนมปังกรอบแห้ง จะเก็บได้นานกว่าขนมปังสดเนื่องจากอายุการเก็บของขนมปังโดยทั่วไปอยู่ประมาณ 3-7 วัน ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นแม้ว่าจะตัดบริเวณที่เป็นเชื้อราทิ้งไปแล้วก็ไม่ควรที่จะรับประทานเพราะเชื้อราส่วนใหญ่จะแพร่กระจายไปทั่วแม้ว่าจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
       
       • น้ำผลไม้ 100% หรือน้ำสมุนไพรกระป๋องเช่นน้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำแอปเปิ้ล น้ำองุ่น ดื่มแทนน้ำหรือแทนผลไม้สด
       
       • นม นมถั่วเหลือง หรือผลิตภัณฑ์ธัญพืชพร้อมดื่มบรรจุกล่อง ในภาวะที่น้ำท่วมและอาหารขาดแคลนการเลือกเครื่องดื่มเช่น นมกล่องอาจเลือกประเภทที่มีไขมันปกติหรือนมที่ให้พลังงานสูงเพราะจะทำให้อิ่มได้นาน 3-4 ชั่วโมงและให้ของเหลวแก่ร่างกายแทนที่น้ำได้บางส่วน
       
       • น้ำผึ้ง น้ำหวานหรือลูกอมเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ควรเก็บกักตุนไว้บ้างเพราะพื้นฐานของร่างกายจะต้องการน้ำตาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง หากไม่มีอาหารอย่างอื่นรับประทานได้แล้วและไม่มีแรงหรือรู้สึกจะเป็นลม ให้รับประทานน้ำผึ้ง น้ำหวาน หรือลูกอมก็จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีลูกอมหรือน้ำหวานแบ่งใส่ขวดเล็กๆเอาไว้ใช้เมื่ออยู่ในภาวะขาดน้ำตาล
       
       • ช็อกโกแลตแบบดำ หรือ Dark Chocolate ก็เป็นสิ่งที่ควรมีติดบ้านไว้บ้าง เนื่องจากในโกโก้มีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระสารคาเฟอีนเล็กน้อยทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า และมีสารที่ช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินทำให้มีอารมณ์ดีและลดความเครียดลงได้
       
       • ถั่วเขียวดิบ เป็นโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตชั้นดี สามารถน้ำมาต้มกับน้ำตาลเพื่อให้พลังงานทำให้อิ่มได้นานหรือจะใช้ถั่วเขียวมาเพาะเป็นถั่วงอกก็ได้หากไม่มีผักจะรับประทาน
       
       • ผักที่เก็บได้นานโดยไม่ต้องแช่เย็น เช่นกระเทียม หัวหอม แครอท ฟักเขียว ฟักทองกะหล่ำปลีมันฝรั่งหรือจะเป็นผักอบแห้ง เช่น มะเขือเทศแห้ง หรือผักที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งแบบ Freeze – Dry ผักจะมีลักษณะแห้งและกรอบ เช่น ถั่วฝักยาว แครอท บล็อกโคลี่ กระเจี๊ยบ
       
       • ผลไม้ที่เก็บได้นาน เช่น กล้วย(เลือกแบบที่ยังเขียวอยู่จะสามารถเก็บได้ 1 อาทิตย์) ส้มแอปเปิ้ล หรือจะเป็นผลไม้แห้ง เช่น ลูกพรุน ลูกเกด ฝรั่งอบแห้ง มะม่วงกวน มะม่วงอบแห้งมะขามแห้งเป็นต้น
       
       • น้ำพริกแห้งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนำมาคลุกกับข้าวเพื่อเพิ่มรสชาติและได้ประโยชน์จากพริกที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น และมีวิตามินซี
       
       • สมุนไพรตากแห้ง หรือสมุนไพรป่นในขวดที่วางขายกันอยู่ เช่น พริกไทย ขมิ้น ใบมะกรูด ตะไคร้ผง ข่าผง เป็นต้น หากจะนำมาปรุงประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติก็ทำได้ง่ายและยังเพิ่มคุณค่าให้กับอาหารอีกด้วย
       
       
ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล
       อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์
       มหาวิทยาลัยมหิดล

ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 พฤศจิกายน 2554

6847
รมว.สธ.ย้ำชัด หาก รพ.เอกชนปฏิเสธคนไข้ฉุกเฉิน จะดำเนินการอย่างเข้มงวด โทษ กทม.ประกาศให้คนอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยง แต่ไม่ระบุพิกัดใด ปลอดภัย ทำ สธ.ลำบากต่อการแสตนด์บาย ทีมแพทย์
       
       นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการที่ สธ.ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการอพยพผู้ป่วยวิกฤติหนักที่อยู่ในพื้นได้กระจายออกไปแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่ง รพ.ที่ยังไม่ได้รับผลกระทบ ก็ยังสามารถเปิดให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินได้ตามปกติ และจะขอความร่วมมือไปยัง รพ.เอกชน ว่าต้องไม่ปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉิน เพราะจะถือว่ามีความผิด ขอให้รับผู้ป่วยไว้ดูแลเบื้องต้นก่อน หากไม่สามารถให้การรักษาได้ค่อยประสานงานเพื่อส่งต่อ ซึ่งที่ผ่านมามีการร้องเรียนเพียง 1 รายถึงการปฏิเสธคนไข้ ซึ่งหากพบว่ามีการปฏิเสธผู้ป่วยอีก จะดำเนินการอย่างเข้มงวด ด้วยการให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นผู้อนุญาตใบสถานประกอบโรคศิลปตักเตือน
       
       รมว.สธ.กล่าวด้วยว่า สำหรับการตั้งทีมแพทย์เคลื่อนที่เพิ่มเติมนั้น ขณะนี้ยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่ไม่ยอมอพยพ ขณะที่บางส่วนนั้น กทม.ประกาศให้อพยพ ก็ไม่มีการแจ้งจุดอพยพที่ชัดเจน ว่าจะให้ประชาชนไปที่ไหน อย่างไร ทำให้ทีมแพทย์ตามไปให้การรักษาไม่ถูก จึงอยากให้ กทม.กำหนดพื้นที่ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถสนับสนุนทีมแพทย์ได้ง่ายขึ้นและตรงจุด
       
       นายวิทยากล่าวว่า สำหรับการประเมินความเสียหายของสถานพยาบาลในพื้นที่น้ำลดแล้ว คาดว่า จะประเมินได้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า แต่เบื้องต้นคาดว่ามีความเสียหายไม่มากนัก เพราะมีการเตรียมการป้องกันอย่างดี ทำให้ไม่น่าจะได้รับความเสียหายมากนักและบางอย่างก็สามารถซ่อมบำรุงได้ เช่น แหล่งกำเนิดไฟ ส่วนเครื่องมือทางการแพทย์คาดว่าจะไม่ได้รับความเสียหายมากนัก

ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 พฤศจิกายน 2554

6848
 กรมสุขภาพจิตปล่อยคาราวานเยียวยาจิตใจ เหยื่อน้ำท่วม รับปัญหาจิตของคนไทยถึงขั้นวิกฤตหนัก แต่บุคลากรน้อย ย้ำ หากไม่พออาจร่วมมือภาคเอกชน ขณะสถานการณ์ความเครียดพุ่งกว่า 1 แสนราย
       
       วันนี้ (4 พ.ย.) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในการปล่อยคาราวาน ทีมเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี และ กทม.โดยนายต่อพงษ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นการปล่อยคาราวานบุคลากรที่เป็นทีมเสริมที่มีบุคลากรหลายด้าน เช่น นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่จิตเวช และนักศึกษาด้านจิตแพทย์จำนวนกว่า 30 ชุด ชุดแรกมีบุคลากรประมาณ 100 คน ลงพื้นที่ร่วมกับทีมเยียวยาสุขภาพจิตชุดเดิมที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งทางกรมสุขภาพจิตได้มอบหมายงานไปแล้ว เพื่อจะได้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นชุดเสริมชุดแรก และจะจัดส่งชุดที่ 2 ในวันอังคารที่ 8 พ.ย.นี้ ส่วนชุดที่ 3 และ 4 จะทยอยส่งไปทีละทีม เพื่อบรรเทาปัญหาสุขภาพจิตแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยหลักๆ จะเป็นการให้คำปรึกษาแก่ที่มีภาวะความเครียดสูง ส่วนผู้ที่เสี่ยงฆ่าตัวตายนั้นคงต้องอาศัยจิตแพทย์เป็นหลัก โดยคาดว่าน่าจะต้องใช้เวลาเยียวยาผู้ป่วยเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ต่อราย
       
       นายต่อพงษ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการประเมินปัญหาสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเวชเดิม ผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล ผู้พิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้สูญเสียทั้งญาติพี่น้องและทรัพย์สิน รวมทั้งผู้ที่ขอรับบริการด้านสุขภาพจิตตลอดจนผู้ช่วยเหลือเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต ใน 37 จังหวัด นับแต่เดือน ก.ค.-3 พ.ย.2554 จำนวน 111,128 ราย พบเครียดสูง 5,652 ราย ซึมเศร้า 6,769 ราย เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 1,021 ราย ต้องติดตามดูแลพิเศษ 1,598 ราย และจากการออกหน่วยบริการด้านสุขภาพจิต ณ ศูนย์พักพิง 17 แห่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ชัยนาท นครปฐม และนครสวรรค์ ปัญหาสุขภาพจิตที่พบ ได้แก่ เครียด นอนไม่หลับ ท้อใจ ซึมเศร้า และคิดฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยจิตเวชขาดยาและผู้ติดสุรามีอาการทางจิตจากการอดสุรา ซึ่งกรมสุขภาพจิตร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ให้บริการด้านสุขภาพจิตให้คำปรึกษา ช่วยผ่อนคลายความเครียดตลอดจนสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ
       
       “วิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นได้ขยายลุกลามไปหลายจังหวัดของประเทศ ส่งผลกระทบต่อจิตใจประชาชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น และคาดการณ์ว่า ประชาชนอีกจำนวนมากจะต้องอยู่กับสถานการณ์น้ำท่วมขังอีกไม่น้อยกว่า 2-3 เดือน ดังนั้น จึงขอให้บุคลากรทำหน้าที่อย่างดีที่สุด” นายต่อพงษ์ กล่าว
       
       รมช.สธ.กล่าวด้วยว่า ครั้งนี้ยอมรับว่าบุคลากรยังมีน้อย แต่หากแนวโน้มของสถานการณ์เริ่มแย่ลงก็อาจจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนให้มากขึ้น เพื่อจะได้เยียวยาประชาชนอย่างทั่วถึง เนื่องจากหายคนกังวลกับการสูญเสียทรัพย์สินมหาศาล
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า วิกฤตครั้งนี้สะท้อนว่าบุคลากรยังน้อยอยู่ ในอนาคตจะมีการนำกรณีภัยพิบัติครั้งนี้เพื่อประกอบการพิจารณาในการผลิตกำลังจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพิ่มหรือไม่ นายต่อพงษ์กล่าวว่า ต้องยอมรับว่า ช่วงภาวะปกติจิตแพทย์นั้นไม่อยู่ในความต้องการของตลาด แต่ในภาวะวิกฤตินั้น บุคลากรด้านดังกล่าวจำเป็นอย่างมาก ทางกรมฯ จึงต้องดำเนินโครงการสำคัญต่างๆ เป็นระยะๆ เช่น โครงการ “อึด ฮึด สู้” เป็นต้น เพื่อประคองสถานการณ์ไปก่อน แต่ถ้าหากในอนาคตสถานการณ์ดูน่าห่วงมากขึ้นก็ค่อยตัดสินตามนโยบาย
       
       วันเดียวกัน เวลาประมาณ 11.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รมช.สธ.พร้อมด้วย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ปาสบภัยน้ำท่วมที่ศูนย์พักพิง วายุภัค สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี
       
       อนึ่ง กรมสุขภาพจิตยังคงบริการปรึกษาสายด่วนสุขภาพ 2 เบอร์หลัก คือ 1323 และ 1667 ตลอด 24 ชั่วโมง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 พฤศจิกายน 2554

6849
ภ.ญ.ศรีนวล กรกชกร รอง​เลขาธิ​การคณะกรรม​การอาหาร​และยา ​เปิด​เผยว่า ​เมื่อ​เร็วๆ นี้ สำนักงาน-คณะกรรม​การอาหาร​และยา (อย.) ​ได้รับ​แจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หนองคาย ว่ามีร้านค้าบริ​เวณตลาดท่า​เสด็จ อ.​เมือง จ.หนองคาย นำกา​แฟสำ​เร็จรูป​ซึ่งมีชื่อภาษาจีน ​และภาษาอังกฤษว่า Slimming Coffee ​และซองบรรจุผลิตภัณฑ์ลักษณะคล้ายกา​แฟ มีลักษณะ​เป็นผงสีน้ำตาล​เทา บรรจุซองพลาสติกทึบ​แสงสีดำ สกรีนตัวอักษรว่า Splrultna อวดอ้าง​เป็นกา​แฟลด​ความอ้วน นำ​เข้าจากประ​เทศจีนมาจำหน่าย ​ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าว​เมื่อนำ​ไปรับประทานจะมีอา​การผิดปกติ คือ ​ทำ​ให้หัว​ใจ​เต้น​แรงขึ้น ​แน่นหน้าอก สสจ.หนองคาย ​จึง​ได้ส่งผลิตภัณฑ์กา​แฟดังกล่าวตรวจ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์​การ​แพทย์ ผล​การตรวจวิ​เคราะห์ปรากฏพบสาร​ไซบูทรามีน

ขณะนี้​ได้มี​การดำ​เนินคดีทางกฎหมาย​แก่​ผู้จำหน่าย กรณี​แสดงฉลาก​ไม่ถูกต้อง มี​โทษปรับ​ไม่​เกิน 30,000 บาท ​และกรณีพบยา​ไซบูทรามีน​ในอาหารถือว่ามีสิ่งที่น่าจะ​เป็นอันตรายต่อสุขภาพ​เจือปนอยู่ จัด​เป็นอาหาร​ไม่บริสุทธิ์ ​ซึ่ง​ผู้​ใดผลิต นำ​เข้า​เพื่อจำหน่าย ​หรือจำหน่ายอาหาร​ไม่บริสุทธิ์ จะมี​โทษจำคุก​ไม่​เกิน 2 ปี ​หรือปรับ​ไม่​เกิน 20,000 บาท ​หรือ​ทั้งจำ​ทั้งปรับ หากพบ​เห็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าววางจำหน่าย ​หรือ​แม้กระทั่งพบ​การ​โฆษณาผลิตภัณฑ์​เสริมอาหาร ​หรือกา​แฟหลอกลวง​ผู้บริ​โภค ร้อง​เรียนมายังสายด่วน อย. ​โทร.1556 ​เพื่อ อย.จะ​ได้ตรวจสอบ​และดำ​เนิน​การตามกฎหมายต่อ​ไป

บ้าน​เมือง  4 พฤศจิกายน 2554

6850
สธ.เตรียมใช้ รพ.ราชวิถี เป็นศูนย์ประสานส่งต่อผู้ป่วยในเขต กทม. ขณะที่ รพ.อยุธยาเสียหาย 141 ล้าน...

เมื่อวันที่ 3 พ.ย. นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลราชวิถี เพื่อดูการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมใน กทม.ว่า ในการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำท่วม กทม. กระทรวงสาธารณสุขได้ให้โรงพยาบาลราชวิถีเป็นศูนย์กลางประสานส่งต่อผู้ป่วย จากรพ.ทุกสังกัดใน กทม. และปริมณฑลที่ถูกน้ำท่วม ไปยัง รพ.ในจังหวัดที่น้ำไม่ท่วม โดย รพ.ราชวิถีมีขนาด 1,200 เตียง ขณะนี้ได้ย้ายผู้ป่วยหนักที่อาการคงที่ไปแล้ว 160 กว่าราย ยังเหลือผู้ป่วยทั้งหมด 441 ราย และรับผู้ป่วยใหม่นอนรักษาใน รพ.วันละประมาณ 80-100 ราย

รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า คาดว่า รพ.ราชวิถีน่าจะไม่ถูกน้ำท่วมแต่หากมีน้ำท่วมรพ.ราชวิถี ได้เตรียมการรองรับเป็นอย่างดีตามมาตรการ 9 ข้อ ที่ได้มอบนโยบายไว้ ได้แก่ 1. ป้องกันน้ำท่วมสถานที่ 2. สำรองทรัพยากร เช่น ออกซิเจน ไฟฟ้า และอาหารผู้ป่วย สามารถใช้การได้ 3 เดือน ประชาชนหายห่วงได้ 3. จัดบริการสถานที่ที่จำเป็น เช่นการย้ายบริการจากชั้น 1 ไปชั้นบนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย 4. การจัดบริการนอกสถานที่ 5. การส่งต่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทุกประเภท เพื่อให้เกิดความปลอดภัย 6. ให้เตรียมเส้นทางหลักและเส้นทางสำรองในการส่งต่อผู้ป่วยให้มีความคล่องตัว และรวดเร็ว 7. เตรียมยานพาหนะ เช่น รถยก รถสูง เรือ และสถานที่รับเฮลิคอปเตอร์ 8. การจัดตั้งศูนย์อพยพ และศูนย์ช่วยเหลือประชาชน และ 9. การตั้ง รพ.สนาม รองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

สำหรับที่ รพ.พระนครศรีอยุธยานั้น นายวิทยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ระดับน้ำลดลง แต่ยังมีน้ำขังในบริเวณรพ.อยู่ จะเร่งสูบออกโดยเร็ว หากระบบน้ำ ไฟฟ้าพร้อม คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้ จะสามารถเปิดให้บริการผู้ป่วยหนักหรือไอซียู และทำการผ่าตัดได้ รวมทั้งรับผู้ป่วยไว้รักษาได้เพิ่มเป็น 180 เตียง จากการประเมินเบื้องต้น ค่าเสียหายประมาณ 141 ล้านบาท ในส่วนของ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วม กระทรวงสาธารณสุขได้ระดมทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจาก รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี  100 คน มาช่วยแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ ซึ่งบ้านถูกน้ำท่วมด้วย.

ไทยรัฐออนไลน์ 4 พย 2554

6851
ที่บริเวณหน้าตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลพะเยา น.พ.เธียรชัย คฤหโยธิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยา ปล่อยขบวนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พร้อมเวชภัณฑ์ เพื่อไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมที่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
ตามที่สำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่กำหนด เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ประสบภัย รวมถึงการป้องกันควบคุมโรคระบาดที่มากับน้ำท่วม เพื่อดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน ทั้งปัญหาเจ็บป่วยทั่วๆ ไป และโรคที่มากับน้ำท่วม และโรงพยาบาล
พะเยา ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดยจัดทีมสับเปลี่ยนหมุนเวียนออกไปปฏิบัติงานในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลพะเยา พร้อมที่จะไปให้ความช่วยเหลือในทุกพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม เมื่อได้รับการประสานหรือ ร้องขอความช่วยเหลือ

norsorpor.com 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2554

6852
สธ.นำเข้าเซรุ่มแก้พิษงูเขียวแมมบ้า เผยถึงไทยวันพรุ่งนี้ เตือนประชาชนระวังสัตว์มีพิษ แนะหากถูกงูกัด ให้สังเกตรอยเขี้ยว หากเป็นงูพิษจะมีรูเขี้ยว 1-2 เขี้ยว ให้ใช้ผ้า เชือก หรือแผ่นยางรัดเหนือแผล
       
       จากกรณีสื่อมวลชนเสนอข่าวว่า มี งูกรีนแมมบ้า (Green mamba) ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในแอฟริกา จำนวน 15 ตัว หลุดจากบ้านถูกน้ำท่วมย่านปากเกร็ด จ.นนทบุรี งูดังกล่าวสีเขียว มีพิษร้ายแรงมาก และกลายป็นกระแสข่าวผ่านสังคมออนไลน์นั้น
       
       ล่าสุด (3 พ .ย. )  นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า กรณีดังกล่าวเป็นข่าวที่เผยแพร่จากสังคมออนไลน์และบอกเล่าปากต่อปาก ยังไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกกับข่าว อย่างไรก็ตาม เพื่อความไม่ประมาท กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานกระทรวงการต่างประเทศ ให้นำเข้าเซรุ่มแก้พิษงูดังกล่าว จะถึงเมืองไทยในวันพรุ่งนี้ แม้ว่างูเขียวแมมบ้านี้ ในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานพบผู้ป่วยถูกงูชนิดนี้กัดก็ตาม ซึ่งเซรุ่มแก้พิษงูที่กระทรวงสาธารณสุขสำรองในช่วงน้ำท่วมขณะนี้ มี 7 ชนิดตามชนิดของงูที่พบบ่อยในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ รวมจำนวน 3,500 ขวด
       
       รมว.สธ. กล่าวด้วยว่า ขอให้ระมัดระวัง เนื่องจากในช่วงน้ำท่วม สัตว์ต่างๆ รวมทั้งงูจะหนีน้ำเอาชีวิตรอด อาจขึ้นไปอาศัยตามต้นไม้ หรือตามบ้านเรือนได้ ฉะนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ และดูแลบ้านเรือนให้เรียบร้อย พยายามหลีกเลี่ยงการล้วงหยิบสิ่งของตามซอกมุมต่างๆ เพราะในสถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ส่วนใหญ่จะยกสิ่งของขึ้นไปเก็บไว้ในที่สูงหรือบนชั้น 2 ของบ้าน ทำให้เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์ต่างๆ ได้
       
       นพ.ไพจิตร์ ปลัด สธ.กล่าวว่า ผู้ที่ถูกงูกัดขอให้จดจำลักษณะของงูที่กัด หรือตีให้ตายแล้วนำซากไปให้แพทย์ดู เพื่อให้เซรุ่มได้ตรงกับชนิดงู และให้สังเกตลักษณะรอยแผล หากเป็นงูพิษจะมีรอยเขี้ยวงู 1-2 เขี้ยว ส่วนงูไม่มีพิษจะเป็นรอยฟันเรียงกันเป็นแถว หรืออาจเป็นเพียงรอยถลอก ไม่มีจุดเขี้ยว พิษของงูจะออกมาจากต่อมน้ำพิษที่เชื่อมติดกับเขี้ยวเข้าสู่บาดแผล มักมีอาการปรากฏภายใน 10-15 นาที
       
       “วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูพิษกัด สิ่งสำคัญคือ ต้องป้องกันไม่ให้พิษงูเข้าสู่หัวใจหรือแพร่ไปทั่วร่างกาย โดยให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนนิ่งๆ ปลอบใจให้คลายความตื่นเต้น และใช้ผ้า เชือก หรือแผ่นยางที่มีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว รัดเหนือบาดแผลขึ้นไป 5-10 เซนติเมตรให้แน่นพอดี คลายทุก 10-15 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อตาย ซึ่งวิธีนี้ไม่ค่อยนิยมใช้ในปัจจุบัน แต่แนะนำว่าให้ส่วนที่ถูกกัดอยู่นิ่งๆ แล้วรีบนำส่งแพทย์ ขณะส่งจัดอวัยวะที่ถูกงูกัดให้ต่ำกว่าหัวใจ คอยปลุกให้ตื่นตลอดเวลา อย่าให้ดื่มสุราหรือยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจเพราะพิษงูจะแพร่ไปทั่วร่างกาย” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ในไทยงูเขียวมีพิษจะเป็นงูเขียวหางไหม้ พบได้ทั่วประเทศ ลักษณะจะมีหัวเป็นรูปสามเหลี่ยม หางสั้นมีสีแดง ลำตัวเขียว ตัวจะเล็กและสั้นกว่างูเขียวแมมบ้า มีพิษต่อเลือดทำให้บวมปวดที่แผล จากนั้นผิวหนังจะเปลี่ยนสีเป็นคล้ำขึ้น เป็นเม็ดพอง ส่วนงูเขียวแมมบ้า รายงานจากต่างประเทศ เป็นงูที่มีพิษต่อระบบประสาท หลังถูกกัดจะมีอาการง่วงซึม ตาปรือ เดินไม่ไหวเหมือนไม่มีแรง หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น พูดจาอ้อแอ้ กลืนน้ำลายไม่สะดวก หายใจลำบาก และเป็นอัมพาต เสียชีวิตเพราะหยุดหายใจ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    3 พฤศจิกายน 2554

6853
  ศ.คลินิก น.พ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรงพยาบาลศิริราช ชี้แจงให้คณะแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ บุคลากร ทราบว่า ขณะนี้น้ำคืบคลานมาถึงคลองชักพระ แล้ว จึงถือว่าโรงพยาบาลศิริราชอยู่ในระดับเสี่ยง โดยกรมชลประทาน ชี้แจงว่าพยายามผันน้ำไปทางแม่น้ำท่าจีน เพื่อให้ระดับน้ำไหลคลองชักพระน้อยลง ขณะที่น้ำประปาที่โรงพยาบาลศิริราช พบว่าเริ่มมีปัญหาบ้างแล้ว เนื่องจากเริ่มมีกลิ่นบ้าง แต่ในด้านความสะอาดยังมีมาตรฐาน

แนวหน้า 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

6854
    น.พ.ทินกร พงษ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระนอง เปิดเผยว่า ทางขณะนี้ได้มีการจัดเตรียมส่งทีมแพทย์ซึ่งเป็นหน่วยแพทย์คลื่นที่เฉพาะกิจจำนวน 1 ทีม จากที่เตรียมไว้จำนวน 3 ทีม เดินทางขึ้นไปรายงานตัวยังกระทรวงสาธารณสุขเพื่อที่จะรับมอบหมายภารกิจก่อนเข้าพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะการช่วยเหลือประชาชนตามศูนย์อพยพต่างๆ รวมถึงการออกให้การช่วยเหลือประชาชนที่เจ็บป่วยที่ติดค้างตามบ้านเรือน และการเข้าสมทบช่วยเหลือผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ โดยแพทย์ชุดแรกตนเป็นผู้นำคณะขึ้นไปรายงานตัวและจะอยู่ร่วมตรวจรักษาผู้ป่วย ส่วนทีมแพทย์ที่เหลืออีก 2 ทีมจาก รพ.ระนองจะเดินทางขึ้นมาสมทบในภายหลัง
    "จากวิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ กทม.และหลายจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคกลาง ทำให้ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งให้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเตรียมพร้อมรองรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งในส่วนของโรงพยาบาลระนองขณะนี้ได้เตรียมเตียงไว้รองรับผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนย้ายจากพื้นที่น้ำท่วมโดยเฉพาะ แยกเป็นผู้ป่วยหนัก 4 เตียง ผ้ป่วยทั่วไป 12 เตียง รวม 16 เตียงสำรองไว้รองรับผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมกันนี้ทางโรงพยาบาลได้จัดทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จำนวน 3 ทีม เพื่อเดินทางขึ้นไปสมทบเข้าให้การช่วยเหลือตรวจ รักษาผู้ป่วยในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมสำหรับทีมแพทย์ 1 ทีมประกอบด้วยแพทย์ 1 คน พยาบาล 2 คน และเภสัชกร 2 คน"

เนชั่นทันข่าว 2 พย. 2554

6855
สธ.กำชับ รพ.ทุกแห่งเร่งป้องกันตนเองจากน้ำท่วม “วิทยา” เผยงบฯ กลางลง วันนี้ 109 ล้าน สั่งทุกกรมทำหน้าที่ให้ดี กำชับกรมอนามัย เร่งจัดการสิ่งแวดล้อม หวั่นโรคระบาด คาดน้ำเกลือขาดตลาด อาจต้องผลิตน้ำเกลือใช้เอง กรมอนามัยเผยประชาชนแห่ร้องเรียนเรื่องน้ำประปามีกลิ่น เร่งส่งเจ้าหน้าที่กระจายคลอรีนแก้ปัญหา
       
       วันนี้ (2 พ.ย.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมวิดีโอคอเฟอเรนซ์กับผู้บริหารระดับสูง และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เกี่ยวกีบสถานการณ์น้ำท่วมว่า ในการประชุมวันนี้ยังคงเน้นย้ำเรื่องการรับมือเช่นเดิม คือ ขอให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งได้มีการเตรียมพร้อมในทุกด้าน ทั้งเรื่องของการป้องกันน้ำหลากเข้า การสำรองยาและเวชภัณฑ์ และการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อให้ปลอดภัย รวมทั้งการฟื้นโครงการผลิตน้ำเกลือใช้เอง เนื่องจากคาดว่าน้ำเกลืออาจขาดตลาด โดยเฉพาะสถานบริการที่อยู่ในพื้นที่เพิ่งเริ่มท่วม คือ จ.นครปฐม สมุทรสาคร นั้นได้มีการประสานเรื่องการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทั้งนี้เชื่อว่าหากน้ำท่วมไม่เกิน 50 ซม.จะสามารถรับมือได้
       
       รมว.สธ.กล่าวว่า ในส่วนของ สธ.ได้เสนอของบประมาณส่วนกลางเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมไปแล้ว 109 ล้านบาท ทราบว่างบประมาณจะลงมาในวันนี้ จึงอยากให้ทางกรมต่างๆ ได้มีการดำเนินงานอย่างเต็มที่เพื่อให้การแก้ปัญหาและติดตามสถานการณ์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกรมอนามัย อยากให้มีการแก้ปัญหาเรื่องน้ำเน่า และจัดการขยะ รวมถึงอนามัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในศูนย์พักพิงและพื้นที่น้ำท่วมขังด้วย เพราะเกรงว่าจะเกิดโรคระบาด เช่น ไข้เลือดออก โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม.ที่เป็นชุมชนซึ่งมีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่น ถ้าหากเป็นพื้นที่ท่วมขังก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดพาหะนำโรค
       
       “ทั้งนี้ ในส่วนของความร่วมมือกับ กทม.ได้มีการตั้งศูนย์แพทย์ 2 จุด ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อบริการประชาชน” รมว.สธ.กล่าว
       
       นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. กล่าวว่า สำหรับเรื่องการสำรองยาและเวชภัณฑ์นั้น ในวันพรุ่งนี้ (3 พ.ย.) เตรียมหารือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่า จำเป็นต้องนำเข้ายาและเวชภัณฑ์เพิ่มหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้จะมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกระจายยาและเวชภัณฑ์ไปด้วย อย่างไรก็ตาม อยากขอความร่วมมือให้ รพ.ทุกแห่งอย่าเพิ่งกักตุนยาให้มากนัก หากมีเพียงพอก็ขอความร่วมมือในการสนับสนุนก่อน เพื่อจะได้อำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่
       
       นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนร้องเรียนเรื่องน้ำประปามีกลิ่น และมีสี เข้ามาจากหลายพื้นที่ เช่น เขตทวีวัฒนา ดอนเมือง ซึ่งเบื้องต้นกรมอนามัยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปแจกคลอรีนแล้ว ส่วนเรื่องขยะนั้นคงต้องเน้นที่ศูนย์พักพิงและอพยพ โดยการขอความร่วมมือจากผู้อาศัย และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ได้มีการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ส่วนเรื่องขยะในน้ำเน่านั้นอาจยากต่อการแก้ไขในขณะนี้ จำเป็นต้องรอน้ำลดแล้วก็ฟื้นฟู สำหรับกรณีเรื่องน้ำดื่มที่ได้รับการบริจาคนั้น ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจคุณภาพทุกครั้ง แต่ยังไม่มีรายงานว่ามีเชื้อโรคปนเปื้อน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 พฤศจิกายน 2554

หน้า: 1 ... 455 456 [457] 458 459 ... 535