ผู้เขียน หัวข้อ: ม.รังสิต จับมือ ภาคเอกชน เปิดศูนย์การศึกษาและพัฒนามาตรฐานบริการสุขภาพนานาชาติ IHIC  (อ่าน 1187 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
ม.รังสิต จับมือ ภาคเอกชน เปิดศูนย์การศึกษาและพัฒนามาตรฐานบริการสุขภาพนานาชาติ IHIC มุ่งเปิดสอนหลักสูตร ป.โท วิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ทางด้าน Clinical Engineering


ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- เสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2556 00:00:27 น.
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ ภาคเอกชน เปิดศูนย์การศึกษาและพัฒนามาตรฐานบริการสุขภาพนานาชาติ IHIC (International Health Care Standards Education and Improvement Center ; IHIC) มุ่งเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ทางด้าน Clinical Engineering และการเป็นศูนย์การวิจัย พัฒนา และฝึกอบรมให้กับบคุลากรในระดับเอเชีย


 
รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่าสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสมาคมพัฒนาผู้นำด้านบริการสุขภาพแห่งประเทศไทย และบริษัท Health Care Expert จำกัด จัดตั้งศูนย์การศึกษาและพัฒนามาตรฐานบริการสุขภาพนานาชาติ สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (International Health Care Standards Education and Improvement Center; IHIC )ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนางานวิจัยทางด้านมาตรฐานการดูแลสุขภาพ ทั้งในระดับประเทศและมาตรฐานสากลและการให้บริการทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์กับบุคลากรในระดับประเทศ ระดับอาเซียนและระดับเอเชีย รวมทั้งเป็นแนวทางหนึ่งในการเตรียมเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ทางด้าน Clinical Engineering ในอนาคตอันใกล้

สำหรับในด้านความร่วมมืออย่างเป็นทางการนั้น ทางสาขาวิชาและหน่วยงานทั้งสอง จะลงนามความร่วมมือทางด้านวิชาการในลักษณะของการลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU)ขึ้นในวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 นี้ โดยได้รับเกียรติจากดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นประธาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

"สำหรับกิจกรรมที่ได้ร่วมมือกันในปีการศึกษา 2555 ที่ผ่านมา ก็คือการจัดโครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น Mini MBA ทางด้านมาตรฐานบริการสุขภาพสากลกับการบริหารจัดการโรงพยาบาล โดยผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงสุดคือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านมาตรฐานคุณภาพของโรงพยาบาล ทั้งนี้ส่วนหนึ่งของการจัดอบรมได้มีการจัดให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เดินทางไปดูงานของโรงพยาบาลที่เป็น Best Practice ทางด้านดังกล่าวของประเทศไทย คือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และโรงพยาบาลในสิงคโปร์อีก 2 แห่งคือ โรงพยาบาล National University Hospital และ โรงพยาบาล Tan Tock Seng โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการวิชาการทางด้านมาตรฐานการดูแลสุขภาพของโรงพยาบาลในระดับสากล ทั้งทางด้านมาตรฐานของงานวิศวกรรมชีวการแพทย์และงานมาตรฐานทางด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานของโรงพยาบาลการรับรองมาตรฐานคุณภาพในระดับสากล เพื่อรองรับการเปิด AEC และรองรับการเป็น Medical Hub ของประเทศไทย การเจริญเติบโตทางด้านการให้บริการสุขภาพทั้งในระดับประเทศ ระดับอาเซียน และระดับเอเชียต่อไปในอนาคต รวมทั้งเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างเครือข่ายในด้านวิชาการการวิจัยเครือข่ายในการฝึกงาน และเครือข่ายในการทำงานกับโรงพยาบาลต่างๆทั้งภายในประเทศและประเทศในย่านอาเซียน และเป็นแนวทางต่อไปในการนำมาซึ่งการเปิดสอนระดับปริญญาโทของสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต" หัวหน้าสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ กล่าวเสริม