ผู้เขียน หัวข้อ: ความจริงเกียวกับแพทย์ชนบทและองค์การเภสัชกรรม ประชาชน อยู่ หรือ ตาย ???  (อ่าน 2722 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด


ช่วงนี้มีข่าวร้อนเกี่ยวกับแพทย์ชนบทไล่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด มีข่าวว่าวันที่ 24 จะมีการรวมตัวกันของแพทย์ชนบทกับ กลุ่มคนรักหลักประกัน (NGO สปสช.เก่า) กลุ่มผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มผู้ป่วยไตวาย กลุ่มผู้เสียหายทางการแพทย์ และแนวร่วมใหม่คือกลุ่มสหภาพองค์การเภสัชฯ จะไปขับไล่รัฐมนตรีอีกครั้งที่สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข และจะไปให้ สตง. ตรวจสอบทุจริตของรัฐมนตรีอีกด้วย

   "ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา" ช่างเข้ากันกับพฤติกรรมของแพทย์ชนบทครั้งนี้เสียจริงๆ เพราะว่าเริ่มจากไม่พอใจค่าตอบแทนระบบ P4P ก็มาประท้วงรัฐมนตรีกับปลัดกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาค่อยเปลี่ยนเรื่องเป็น รมต.จับทุจริตยาขององค์การเภสัชกรรมมาผสมสุดท้ายกลายเป็นไล่รัฐมนตรีสถานเดียว  มันกลายเป็นอย่างนี้ได้ยังไง ผู้ตามข่าวที่ไม่ใช่คนสธ. ก็ยังงงๆกันอยู่ จะเฉลยให้ทุกท่านทราบ ณ บัดนี้ โปรดติดตาม.....

   "แพทย์ชนบท" เริ่มเมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีกลุ่มแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลชุมชนได้รวมตัวกันขึ้นมา มีที่ปรึกษาคือ ราษฎรอาวุโส และรุ่นใหญ่คือ นพ. 3 ส. นพ. 4 ว. นพ. ช. นพ. อ. นพ. ศ. นพ. 2 พ. เป็นต้น ในปัจจุบันก็จะมีรุ่นเล็กที่ชื่อ นพ.ก.ที่โดดเด่น และมีแพทย์ชนบทดีเด่นทั้งหลาย ที่คัดเลือกกันขึ้นมาทุกปี ขณะนี้มีมากมายจนจำกันไม่หมด ใครๆว่าเป็นฮีโร่ พระเอกขี่ม้าขาวผู้เสียสละ ผู้คนหวังว่าเมื่อกลุ่มนี้เข้าไปอยู่ในองค์กรใดก็จะทำให้องค์กรนั้นโปร่งใส

   แต่เอ๊ะ!ช่วงหลังมานี่มีข่าวไม่ค่อยดีออกมาอยู่เรื่อย ทำไม เมื่อพวกเขาตั้ง สปสช. ขึ้นมาไม่นานนักก็มีข่าวทำเงินค่ารักษาของโรงพยาบาลทั่วประเทศ ค้างท่ออยู่ใน สปสช. ไม่ไปถึงปลายทาง ทำให้โรงพยาบาลค่อนประเทศโวยวายว่า "เจ๊งแล้วจ้า" จนเป็นปัญหาที่ค่อยๆดังออกมาสู่สังคม นอกสธ. ในขณะที่ตัวต้นเหตุ สปสช. ปฏิเสธพัลวันว่า "ไม่จริ๊ง ไม่จริง" แต่มีคนเฉลยว่า "จริงจ้า" คือ กรรมมาธิการกระทรวงสาธารณสุขวุฒิสภา ได้ตรวจสอบมีเอกสารยืนยันว่า ในช่วงปีงบประมาณ 2552 - 2554 มีเงินค้างท่ออยู่ใน สปสช. ถึง 39,900 ล้านบาทเศษ หย่อน 40,000 ล้านบาทไปนิดเดียว

   ต่อมาพวกเขาไปอยู่องค์การเภสัชกรรมอยู่ราว 2 วาระ ก็พบว่าพากันซื้อยามาทิ้งให้หมดอายุเล่นๆ หลายชนิดเลยทีเดียวมูลค่าหลายร้อยล้านบาท และสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดนก โรงงานผลิตยารักษาโรคเอดส์ และ "โรงงาน 7 ชั่วโคตร" อีกแห่ง ซึ่งไม่สามารถใช้งานได้จริง  ทั้งที่ใช้เงินไปหลายพันล้านบาทและเสียเวลาหลายปีแล้ว  ทั้งยังมีการซื้อครุภัณฑ์การแพทย์แบบจ่ายเงินไปแล้วไม่ได้ของตั้งหลายรายการ วงเงินก็ไม่น้อย และซื้อวัสดุ เช่น เลนส์แก้วตาเทียม มาทิ้งอีกจำนวนมาก และยังมีของอย่างอื่นอีกมากล้วนแล้วแต่ด้อยคุณภาพ มาให้คนไทยทั่วประเทศใช้ แต่ตัวเองและญาติไม่ใช้แน่นอน เขายืนยันกับผู้เขียนเอง

   นี่หรือฮีโร่ของเรา เป็นเรื่องจริงหรือใส่ร้ายกันแน่ คนดีปานนั้นจะกลายเป็นผู้ร้ายปานนี้ได้อย่างไร เอาละ เรามาดูกัน

   เริ่มที่ปี พ.ศ. 2544 กลุ่มแพทย์ชนบทรุ่นใหญ่ ได้สร้างงานสำคัญขึ้นมา คือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ก่อตั้งปี พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นจุดที่เริ่มต้นสำหรับอ้างว่ามีปัญหาอะไรในระบบสาธารณสุขของประเทศก็ตั้งโจทย์ทำวิจัยและก็มี องค์กรในกำกับของรัฐ(ทีชอบอ้างว่าเป็นองค์กรอิสสระ) คือ ส. ต่างๆออกมาอ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาประเทศ  แล้วให้กลุ่มแพทย์ชนบทไปบริหาร ส.เหล่านี้ทั้งสิ้น เริ่มโดย

   1. สสส. เริ่ม พ.ศ. 2544 อ้างว่าเพื่อใช้ภาษีบาปจากเหล้า บุหรี่มาดูแลสุขภาพคนไทย บริหารโดย นพ.ว และพวกได้บริหารโดยซื้อสื่อเป็นหลัก เช่น สื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ  นอกนั้นก็เป็นโครงการของกลุ่ม NGO สายแพทย์ชนบท ที่ใช้ชื่อว่า มูลนิธิเกี่ยวกับผู้บริโภคทั้งหลายมารองรับงบประมาณที่เหลือจากสื่อทั้งหมดของ สสส. ไปทำอะไรหลายๆอย่างมา 10 กว่าปี คนไทยก็ยังกินเหล้า สูบบุหรี่มากขึ้น และตายจากเมาแล้วขับมากขึ้นทุกปีๆอย่างต่อเนื่องในทุกเทศกาล แสดงถึงความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปี หรือไม่ งบประมาณที่ใช้ไปปีละ 3,000 กว่าล้านบาท คุ้มค่าหรือเปล่า บรรลุวัตถุประสงค์ที่ก่อตั้ง สสส. หรือไม่ ไม่เคยมีคำตอบ

   2. สปสช. เรื่ม พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นระบบที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยเลือกมาเป็นนโยบายประชานิยมในสโลแกนว่า "30 บาทรักษาทุกโรค" ได้รับงบประมาณปีละกว่าแสนล้านบาท ในช่วง 10 ปีแรกบริหารโดยกลุ่มแพทย์ชนบทรุ่นใหญ่ทั้งทีมประกอบด้วย นพ. 3 ส. นพ. 4 ว. และทีมนางสาว ส.และนาง ป. NGO สายแพทย์ชนบทร่วมกันบริหาร เป็นบอร์ดและเป็นอนุกรรมการทั้ง 13 คณะ อ้างว่ามาถือเงินของประชาชนไว้จ่ายค่ารักษาแทนประชาชน

  10 ปีผ่านไป ก็อย่างที่รู้ ว่าเงินที่ผ่านเข้ามาได้ค้างท่ออยู่ใน สปสช. โดย รพ.ทั่วประเทศมีปัญหาได้รับเงินค่ารักษาจาก สปสช. ไม่ครบต่อเนื่องหลายปี จนเจ๊งค่อนประเทศ  ในขณะที่ผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นมหาศาลเกือบ 3 เท่าผู้รักษาไม่เพิ่ม  ก่อให้เกิดความล้า จนอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ้าง พวก NGO ของ สปสช.ก็ทำ "พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ฯ"ขึ้นมาเพื่อบีบบุคลากรสาธารณสุขทุกสังกัดให้จ่ายเงินเข้ากองทุนของ พรบ. นี้ให้พวก NGO เหล่านี้บริหาร กดขี่เยี่ยงทาส ซ้ำเติมให้กดดันมากขึ้นจนคนไม่อยากเป็นแพทย์ พยาบาล อีกต่อไป เพราะไม่อยากมาเป็นทาส NGO

  3.และมี ส. อื่นๆอีก เช่น สรพ. สช. สกส. สกสอ. และ IHPP เป็นต้น

  ช่วงนี้เองกลุ่มแพทย์ชนบทรุ่นใหญ่ได้ยกทีมเข้าไปเป็นบอร์ดองค์การเภสัชกรรม เช่น นพ. ว. เป็นประธาน และ นพ. ส. นพ. ช. และพวกได้มาร่วมกันบริหาร ทั้งที่หลายคนในกลุ่มนี้เป็นบอร์ด สปสช. อยู่ควบคู่กัน จึงมีไอเดียกระฉูดว่า สปสช.ควรซื้อยา วัสดุ ครุภัณฑ์ ให้โรงพยาบาลทั่วประเทศโดยซื้อผ่านองค์การเภสัชฯ เท่านั้น เงินทอนที่เกิดขึ้นเกินร้อยล้านบาทต่อปี กลุ่มนี้ก็ทำโครงการไปเพิ่มพูนความรู้แถวๆ ยุโรป สแกนดิเนเวีย จีน ตามอัธยาศัย ในนามคนของสำนักงาน สปสช. แต่มีคำถามว่ามันเป็นเงินของใคร เพราะเงินที่ซื้อเป็นค่ารักษาผู้ป่วยในบัตร 30 บาท ของทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ แต่เงินทอน สปสช. เอาไปเที่ยวนั้น มันถูกไหม  สตง. เลยเฉลยว่าผิดแน่ เมื่อ 22 พ.ย. 2554 ลงในเว็บไซต์ สตง. หลังจากตรวจสอบย้อนหลัง 10 ปี และพบการใช้เงินผิดอีก 7 ประเด็นใหญ่ แยกเป็นหลายประเด็นย่อย รวมแล้วเกิน 40 หน้า น้อยซะเมื่อไหร่(โปรดติดตามตอนต่อไป)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 เมษายน 2013, 21:38:43 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
สำหรับ ส. อื่นๆก็เช่นกันคือมีแพทย์ชนบทรุ่นใหญ่กระจายกันเข้าไปบริหารทุก ส. เช่น สช. มี นพ. อ. ที่เขียน พรบ. ของ สช. เองกับมือเอาเข้าครม. ด้วยตัวเอง และก็เป็นเลขาซะเอง เรียกว่า"ชงเองกินเอง" เลยละ

ผลงานแรก คือ ของบมาสร้างตึก และมาบริหารปีละ 400 ล้าน ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน คนทำงาน หรือก็หยิบมือเดียว งานก็มีแต่ออกไปประชุมชาวบ้าน จังหวัดละ 40 - 50 คน เพื่อให้รับรองกฏหมายที่อยากจะเอาไปใช้ แล้วบอกว่า นี่คือการทำประชาพิจารณ์ ใช้งบไปแต่ละที่มากมายเหลือเชื่อ เก่งมั้ย? นี่แหละฮีโร่จอมปลอมทั้งก๊ก เอาเงินภาษีของพวกเรามาเลี้ยงพวกพ้องกลุ่มตัวเองปีละมากๆ อย่างถูกกฏหมาย อย่างยั่งยืนตราบใดที่มี พรบ. นี้อยู่ เก่งจริงนะตัวแค่เนี๊ย

   ผลงานที่เป็นข่างร่ำลืออยู่ตอนนี้ก็คือ ถูกสอบทุจริตหลายกระทงที่องค์การเภสัชกรรม เช่น ซื้อผงเคมีทำยาพาราเซต อ้างว่าแก้ปัญหายาขาดแคลนช่วงน้ำท่วมเมือปี 2554 ทั้งที่โรงงานกำลังน้ำท่วม ซื้อมาก็ตอกเม็ดยาไม่ได้แต่ทุ่มเทซื้อมาถึงเกือบ 140 ตัน แล้วในที่สุดก็ทำเป็นเม็ดยาไม่ได้เพราะไม่มีโรงงานไหนยอมตอกเม็ดยาให้เนื่องจากผงยานี้ไม่มีคุณภาพ ซ้ำยังมีเศษเส้นผม และผงฝุ่นสีน้ำตาลอยู่ในนั้นด้วย ดูด้วยตาเปล่าก็ไม่กล้าเอาไปทำยาให้คนกินแล้ว อย่าลืมว่ายานี้คนทุกเพศทุกวัยใช้กันมากมาย เรียกได้ว่าเป็นยาประจำบ้านเลยทีเดียว

อย่างเช่นในอดีตองค์การเภสัชไปจ้าง บ. โอสถอินเตอร์ฯ ที่มีแพทย์ชนบทรุ่นใหญ่เป็นประธานอยู่ผลิตยาพาราเซตแถมเส้นลวดมาในเม็ดยาด้วย ชาวบ้านที่กำลังจะกินตกใจมากเอาไปฟ้องสื่อและผู้ว่าฯจังหวัดนั้นเป็นข่าวเกรียวกราว ดูเหมือนว่าพี่น้องกลุ่มนี้ชอบผลิตยาพาราด้อยคุณภาพซะจริงๆ อยากถามว่าเมื่อเป็นบริษัทยาของหลวงที่บังคับให้โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขซื้อทุกโรง ทำไมไม่คิดที่จะผลิตยาคุณภาพดีเป็นมาตรฐานให้บริษัทยาเอกชนดูเป็นตัวอย่าง และเป็นที่พึ่งประชาชนผู้เจ็บป่วยได้จริง ไม่หวังแต่ซื้อของไม่มีคุณภาพเพื่ออะไรบางอย่างสำหรับตนเอง ส่วนชาวบ้านจะเป็นจะตายช่างมัน เพราะคนซื้อและญาติพี่น้องก็ไม่ยอมกินยาที่ตนผลิตอยู่แล้ว เลยไม่แคร์ น่ากลัวจริงๆ ยาอื่นๆจะเป็นเช่นนี้หรือไม่ เราจะวางใจได้อย่างไร

พอถูกสอบสวนสิ่งผิดปกตินี้ ตอบไม่ได้ว่าทำไมน้ำท่วมจึงไม่ซื้อพาราเซตสำเร็จรูปที่มีคุณภาพมาให้ประชาชนใช้โดยตรงเลย น่าจะถูกเรื่องถูกเวลาและได้ประโยชน์กว่ามั้ย? ตอบไม่ได้ก็พาลโกรธผู้ตรวจสอบ

แล้วยังเรื่องโรงงานต่างๆ ที่พฤติกรรมตั้งแต่อยากผลิตวัคซีนทั้งที่ยังไม่มีความรู้ เลือกวิธีผลิตสะเปะสะปะ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เปลี่ยนแต่ละครั้งใช้เงินเพิ่มทุกครั้ง หมดเงินไปมากกว่า 1,400 ล้านบาทแล้ว ยังไม่มีวัคซีนมาให้ใช้ซักหยด เอาเงินสร้างโรงงานไปซื้อวัคซีนที่บริษัทผลิตให้เรียบร้อยแล้วมาใช้ 1,400 ล้านบาทนี้ น่าจะซื้อได้หลายปีที่เดียว พอถูกตรวจสอบเรื่องนี้ ก็เหมือนเดิมตอบไม่ได้ว่าที่เลือกวิธีการสิ้นเปลืองกว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะได้วัคซีนมาใช้จริงเมื่อไหร่ คุ้มค่าหรือไม่ ปลอดภัยแค่ไหน ทำให้ชาวบ้านอย่างเราๆ สงสัยว่าเป็นวิธีการคิดและทำที่ฝืนธรรมชาติมาก คำถามจึงพุ่งไปที่ว่ามีอะไรแอบแฝงอยู่เบื่องหลังหรือเปล่า เป็นการ "สู้แล้วรวย" หรือเปล่า แพทย์ชนบทรุ่นใหญ่ทั้งหลายต้องตอบให้สังคมรับทราบ และหายคลางแคลงใจให้ได้ ไม่ใช่สู้แบบ "อีแอบ" แบบที่กำลังทำอยู่ คือ ให้แพทย์ชนบทรุ่นเล็กที่นำโดย นพ. ก. ออกมาก่อหวอดไล่รัฐมนตรี โดยอ้างว่าไม่พอใจเรื่องค่าตอบแทน P4P เอาประเด็นนี้เรียกแนวร่วมที่เป็นแพทย์กับทันตแพทย์ ใน รพ.ชุมชน มาร่วมม็อบ แต่ไปๆมาๆ ประเด็นเปลี่ยนว่า อย่ารังแกองค์การเภสัช ซึ่งลูกพี่แพทย์ชนบทรุ่นใหญ่กำลังถูกตรวจสอบอยู่ เห็นเงาคุกอยู่ลางๆ ทั้งทีมจนต้องเกิดการ "ประชุมลับ" ที่โรงแรมมิราเคิล เมื่อไม่นานนี้ ผู้เข้าประชุมมีทั้ง นพ. 2 ว. นพ. ช. นพ. ณ. นพ. พ. ซึ่งเป็นอดีตกรรมการบอร์ดรุ่นเก่าและรุ่นก่อนมาร่วมกันหาทางรอดจากความผิดที่กำลังถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้นจาก DSI ซึ่งมีเรื่องถาโถมเข้ามาอีกไม่ขาดสาย จากฝีมือของท่านเหล่านี้ เหมือนกับว่าเอานิ้วจิ้มลงตรงไหนในองค์การเภสัชขณะนี้ก็จะเจอผลงานอุบาทก์ของกลุ่มนี้อยู่เต็มไปหมด

   เมื่อรัฐมนตรี สธ. คนนี้ทราบเรื่องเข้าจึงอยากปรับปรุงให้องค์การเภสัชสะอาดโปร่งใส ทำให้คนกลุ่มนี้ต้องขับไล่รัฐมนตรีคนนี้ให้พ้นเก้าอี้ให้จงได้ เพราะเป็นอันตรายต่อพวกตนเองเหลือเกิน อย่างที่ไม่เคยมีรัฐมนตรี สธ. คนไหนทำมาก่อน ก็เลยต้องรีบสาดโคลนใส่ร้าย และไล่โดยแพทย์ชนบทรุ่นเล็กใส่เข้าไปอย่าได้ยั้ง ห้ามเจรจากับรัฐมนตรีเด็ดขาด ไม่ต้องมีเหตุผล จุดประสงค์ คือ ไล่! อย่างเดียว ไม่ว่ารัฐมนตรีและปลัดกระทรวงจะเสนอเวทีพูดคุยหาทางออกที่ดีร่วมกันอย่างไร กลุ่มม็อบก็ไม่สน จนน่าสงสัยว่าทำไมม็อบนี้ไม่มีเหตุผลเอาซะเลย จะมีได้อย่างไรเล่าลูกพี่บอกว่า "ห้ามเจรจาเด็ดขาด" จนกว่าจะไล่ รมต. ได้สำเร็จ

  เช่นวันนี้ 24 เมษายน 2556 ก็มีม็อบแพทย์ชนบทและพวก ได้แก่ นางสาว ส. จากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นาย น. จากมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ นาง ป. จากเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และกลุ่มคนไข้โรคเอดส์ โรคไตวาย โรคมะเร็ง และ กลุ่มสหภาพแรงงานขององค์การเภสัชกรรม มาร่วมกันขับไล่ รมต. สธ. อีกแล้ว และบอกว่า "ก้าวข้าม P4P แล้วนะ" เปลี่ยนประเด็นเป็นเรื่องอื่นๆ ไปแล้ว และเป็นที่สังเกตว่ามีแพทย์มาร่วมน้อยมาก นับหัวได้ 10 กว่าคนเท่านั้น แสดงว่าผู้คนที่มาร่วมเริ่มงงว่า "อ้าว! เริ่มด้วย P4P แล้วไฉนลงท้ายด้วยเรื่องสอบทุจริตองค์การเภสัชไปได้" ถึงได้บอกไงล่ะว่า "ขึ้นต้นเป็นลำไม่ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา" (โปรดติดตามตอนต่อไป)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 เมษายน 2013, 22:02:20 โดย story »