ผู้เขียน หัวข้อ: 7 วันอันตรายยอดตาย 365 ราย นครปฐมมากสุด ตราดไร้อุบัติเหตุ  (อ่าน 912 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
ศปถ.สรุปยอด 7 วันอันตรายช่วงปีใหม่ เกิดอุบัติเหตุ 3,176 ครั้ง เสียชีวิต 365 ราย เพิ่มจากปีที่ผ่านมา 29 ราย บาดเจ็บ 3,329 คน เชียงใหม่แชมป์อุบัติเหตุมากสุด ส่วนนครปฐมยอดตายสูงสุด ขณะที่ตราดเป็นจังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุเลย
       
       พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย (มท.2) เป็นประธานแถลงข่าวสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนน ประจำวันที่ 2 ม.ค. 2556 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ “ก้าวสู่ปีใหม่อย่างปลอดภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 293 ครั้ง (ปี 2555 เกิด 237 ครั้ง) เพิ่มขึ้น 56 ครั้ง หรือร้อยละ 23.63 ผู้เสียชีวิต 34 ราย (ปี 2555 ผู้เสียชีวิต 21 ราย) เพิ่มขึ้น 13 ราย หรือร้อยละ 61.90 ผู้บาดเจ็บ 293 คน (ปี 2555 ผู้บาดเจ็บ 259 คน) เพิ่มขึ้น 34 คน หรือร้อยละ 13.13
       
       จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 18 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 19 คน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาแล้วขับ ร้อยละ 32.42 ขับรถเร็ว ร้อยละ 25.94 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.21 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 28.13 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 64.16 ถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 37.20 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 33.45 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 34.47 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 49.24 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,350 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 68,314 คน
       
       สรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 7 วัน (วันที่ 27 ธ.ค. 55-2 ม.ค. 56) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,176 ครั้ง (ปี 2555 เกิด 3,093 ครั้ง) เพิ่มขึ้น 83 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 2.68 ผู้เสียชีวิตรวม 365 ราย (ปี 2555 เสียชีวิต 336 ราย) เพิ่มขึ้น 29 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 8.63 ผู้บาดเจ็บรวม 3,329 คน (ปี 2555 บาดเจ็บ 3,375 คน ) ลดลง 46 คน หรือร้อยละ 1.36
       
จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุตลอดช่วง 7 วัน ได้แก่ ตราด
จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตตลอดช่วง 7 วัน รวม 6 จังหวัด ได้แก่ ตราด นครนายก พังงา ระนอง หนองคาย และอุตรดิตถ์
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 144 ครั้ง
จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครปฐม 18 ราย
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 147 คน     
โดย
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาแล้วขับ ร้อยละ 38.73 ขับรถเร็ว ร้อยละ 22.58
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.25
พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 24.39
ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 62.56
บนถนนนอกเขตทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 62.59
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 30.64
ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 54.82 ทั้งนี้

ได้เรียกตรวจยานพาหนะ 4,704,479 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 688,381 ราย โดยมีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่มากที่สุด 202,893 ราย รองลงมา ไม่สวมหมวกนิรภัย 194,759 ราย
       
       พล.ต.ท.ชัจจ์กล่าวต่อว่า ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 รวมถึงผู้ใช้รถใช้ถนนที่ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ศปถ.มุ่งมั่นที่จะลดอุบัติเหตุทางถนนตามแนวทางทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554-2563 มีเป้าหมายในการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ต่ำกว่า 10 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในสังคมไทยอย่างยั่งยืน
       
       นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า เนื่องจากปีนี้มีจำนวนผู้ใช้รถใช้ถนนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ทำให้สถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจะได้นำข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนมาวิเคราะห์สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และกำหนดแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงปกติและช่วงเทศกาลให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา รวมถึงผลักดันกลไกการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับมาตรการทางสังคมให้มีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น พร้อมให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความรู้และปลุกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนน โดยบูรณาการทุกภาคส่วนรณรงค์สร้างความปลอดภัยทางถนนอย่างต่อเนื่อง เน้นดำเนินการในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่กลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดความสูญเสียและให้ถนนทุกสายมีความปลอดภัยในทุกพื้นที่

ASTVผู้จัดการออนไลน์    3 มกราคม 2556