ผู้เขียน หัวข้อ: เอาแล้ว! AstraZeneca ยอมรับ วัคซีน Covid-19 ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดได้  (อ่าน 110 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9782
    • ดูรายละเอียด
ภาวะลิ่มเลือดหลังการฉีดวัคซีน Covid-19 เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมานานในหมู่นักวิชาการและบุคคลทั่วไป ล่าสุดทาง AstraZeneca ได้ออกมายอมรับครั้งแรกว่าวัคซีน Covid-19 ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดได้จริง

บริษัทยายักษ์ใหญ่ AstraZeneca ยอมรับว่าวัคซีนป้องกัน Covid ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในชื่อ Covishield นั้นสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่พบได้ยากได้แก่ลิ่มเลือดและจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ โดย Covishield ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทสัญชาติอังกฤษและสวีเดนโดยได้รับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และได้รับการผลิตโดย Serum Institute of India

การศึกษาและวิจัยบางชิ้นที่ดำเนินการระหว่างการแพร่ระบาดของ Covid-19 พบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ 60-80% อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยพบว่า Covishield อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดซึ่งส่งผลต่อชีวิตได้
เนื่องจากวัคซีนทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดได้จึงนำไปสู่การฟ้องร้องแบบกลุ่มในสหราชอาณาจักรว่าวัคซีนดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ทำให้มีการเรียกร้องค่าเสียหายสูงถึง 100 ล้านปอนด์แก่เหยื่อประมาณ 50 ราย ผู้เสียหายรายหนึ่งบอกว่าวัคซีนทำให้เกิดความเสียหายกับสมองของเขาอย่างถาวรเนื่องจากลิ่มเลือดเข้าไปอุดกั้นบริเวณดังกล่าว

AstraZeneca ยอมรับเป็นครั้งแรกในรายงานเอกสารต่อศาลว่าวัคซีนทำให้เกิด Thrombocytopenia Syndrome (TTS) หรือภาวะเกล็ดเลือดต่ำและลิ่มเลือดได้ในบางกรณี The Telegraph รายงานว่า AstraZeneca ยอมรับว่าวัคซีนสามารถก่อให้เกิด TTS ได้ในบางกรณี แต่ก็พบได้ยาก ทั้งนี้ยังไม่ทราบถึงกลไกการเกิดลิ่มเลือดที่แน่ชัด พร้อมเสริมว่าแม้ไม่มีวัคซีนก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว ซึ่งการยอมรับของ AstraZeneca ในครั้งนี้ขัดกับคำยืนยันของบริษัทเมื่อปี 2023 ว่าวัคซีนไม่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้

องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า Covishield อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ มีรายงานผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ยากที่เรียกว่า Thrombosis with Thrombocytopenia Syndrome หรือเป็นภาวะการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติและรุนแรงซึ่งมีความเชื่อมโยงกับจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ

ข้อมูลจากสภาองค์การวิทยาศาสตร์การแพทย์ระหว่างประเทศระบุว่าผลข้างเคียงนั้นพบได้น้อยมาก โอกาสเกิดขึ้นอยู่ที่ 1 ใน 10,000 คนเท่านั้น ซึ่งองค์กรอนามัยโลกชี้ว่าประโยชน์ของการฉีดวัคซีนในการป้อง Covid-19 นั้นยังมีมากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสยู่ดี

โดย 3 ปีก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าวัคซีน AstraZeneca อาจมีความเชื่อมโยงกับภาวะลิ่มเลือด แต่ยังไม่ใช่การยอมรับตรง ๆ โดยบริษัทเอง

Bearta
1 พค 2567

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9782
    • ดูรายละเอียด
วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและระบบประสาท โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กกรณีที่แอสตร้าเซนเนก้า ออกมายอมรับครั้งแรกว่า วัคซีนโควิดของบริษัททำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และเกล็ดเลือดต่ำนั้น ว่าในที่สุดการฟ้องร้องเป็นกลุ่มได้ผล

ยอมรับเพียงเรื่องเดียว ความจริงมีเรื่องอื่น ๆ อีก วัคซีนอื่น ๆ กำลังมีการฟ้องร้องในต่างประเทศ ซึ่งในไทยก็มีการดำเนินการอยู่ และหน่วยงานไทยยังคงยืนยันว่าวัคซีนปลอดภัย การตาย พิการไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน โดยทางการประกาศว่ามีการตาย 5 รายจากวัคซีนโควิดทั้งประเทศเท่านั้น และปฏิเสธผลข้างเคียงระยะยาว

จนถึง 1 เมษายน 2567 ในไทยยังมีการบังคับฉีดในองค์กรอีกหลายแห่ง และมีการบริการฉีดโดยคิดค่าใช้จ่าย “ค่าเสียหายชดใช้ และต้องมีการเยียวยา”

นอกจากนี้ หมอธีระวัฒน์ยังโพสต์อีกว่า คนป่วยจากแอสตร้าฯ อายุไม่ถึง 20 ปี

วันที่ 24 กรกฎาคม 2021 หลังฉีดปรากฏว่าเกิดน้ำรั่วจากหลอดเลือดในสมองและทำให้สมองส่วนใจกลางที่เรียกว่า Thalamus และส่วนท้ายทอย Cerebellum บวม เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Acute Necrotizing Encephalitis
หลังจากนั้นมีหลอดเลือดดำตันในสมองดังรูปที่ 3 และ 4 ตกเลือดตามมา ได้รับการผ่าตัดรอดชีวิตแต่มีความพิการ ตัวอย่างอีกหนึ่งราย เป็นข้าราชการบำนาญอายุ 61 ปี มีความดันโลหิตสูงแต่ควบคุมได้ หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าฯเข็มที่สอง วันที่ 30 สิงหาคม 2021 ประมาณสามถึงสี่วันต่อมามีพฤติกรรมผิดปกติ อาการของโรคจิต วุ่นวาย อาละวาด และชักไม่หยุด

รับการรักษาอยู่หลายสัปดาห์ ตรวจเลือด และน้ำไขสันหลัง และคอมพิวเตอร์สมอง รวมทั้งหาความแปรปรวนทางภูมิคุ้มกันไม่พบอะไรทั้งสิ้น ได้รับการรักษาด้วยยากันชักและยาโรคจิต ในวันที่ 30 กันยายน 2021 กลับมาที่ห้องฉุกเฉินด้วยพฤติกรรมแปรปรวนวุ่นวายและชักไม่หยุดอีก ได้รับการรักษาซ้ำและยังคงต้องใช้ยาโรคจิตและยากันชัก

ผู้ป่วยอีกหลายรายได้รับผลกระทบระยะยาวที่เรียกว่า Long Vax เช่น ผู้ป่วยหญิงอายุ 32 ปีเริ่มมีอาการตั้งแต่ฉีดแอสตร้าสองเข็ม และต่อด้วยไฟเซอร์อีกหนึ่งเข็ม มีการอักเสบปวดตามเนื้อตัว ความดันและชีพจรผิดปกติ นั่งไม่ขยับความดันสูงเกือบถึง 200 และชีพจร 130 ถึง 160 ขยับเขยื้อนเคลื่อนที่เหนื่อยหายใจไม่ออก และบางครั้งความดันและชีพจรตก มีอาการนอนไม่หลับ หดหู่การตรวจพบมีการอักเสบรุนแรงในเลือด

ผู้ป่วยชายอีกหนึ่งรายอายุ 63 ปี ได้รับวัคซีนแอสตร้าฯ สองเข็มในระยะแรกอาการไม่มาก ตรวจพบมีภาวะสมองเสื่อม และในระยะต่อมามีอาการหลงลืม ความจำสั้น

ผู้ป่วยอีกรายเด็กชายอายุ 14 ปี ฉีดวัคซีนไฟเซอร์สามเข็ม หลังจากเข็มสุดท้ายเก้าเดือน มีหัวใจวายและกล้ามเนื้อแขนขาอักเสบเป็นอัมพาต แต่รู้สติ

การตรวจชิ้นกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อขา พบการอักเสบ และมีเศษซากของวัคซีนติดอยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจ โดยไม่พบสาเหตุอื่นจากการติดเชื้อไวรัสและจากภูมิคุ้มกันแปรปรวนต่าง ๆ

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าวัคซีนที่ฝากไปกับไวรัสเป็น ๆ เช่น Astra รวมทั้งวัคซีนปรับแต่ง mRNA ที่อยู่ในอนุภาคนาโนไขมันไม่ได้เพียงแต่ก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนในระยะสั้นหรือระยะกลางภายในสามเดือนเท่านั้น แต่ยังคงเกิดในระยะยาวต่อในรูปแบบของอาการทางสมอง จิตอารมณ์ ชัก นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อเจ็บปวด ข้อเส้นเอ็นอักเสบ ความผิดปกติทางเพศ ทางประจำเดือน รวมทั้งอาการอักเสบทางผิวหนัง ทางตา ผมร่วง และทางเดินอาหาร ลำไส้หงุดหงิดท้องผูกท้องเสียสลับ

การตรวจภาวะสมองเสื่อมแม้กระทั่งการอักเสบถ้าตรวจวันนี้ไม่เจอ ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยตลอดไป เพราะจะเกิดปะทุขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ รายละเอียดเสวนาผลกระทบของวัคซีนและยาถอนพิษ หอประชุมศิลปะวัฒนธรรมกรุงเทพ ที่ปทุมวัน วันศุกร์ 3 พฤษภาคม 2567 ไม่มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่เที่ยงเป็นต้นไป


https://www.prachachat.net
1 พฤษภาคม 2567