ผู้เขียน หัวข้อ: เผย 5 โรคร้ายเล่นงานคนไทย 11 ล้านคน สธ.เร่งแก้ปัญหา  (อ่าน 823 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 11:41:52 น.

   
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดประชุมเสวนาในหัวข้อ “เส้นทางเดินของนักสาธารณสุข (Roadmap) ก้าวสู่ผู้ประกอบวิชาชีพ” จัดโดยสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข
 
นายแพทย์ชลน่านกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ความสำคัญกับงานควบคุมป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ ลดปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชน โดยเฉพาะโรค 5 โรคไม่ติดต่อ ที่เกิดจากพฤติกรรมของบุคคลไม่เหมาะสม ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง เป็นปัญหาด้านสุขภาพอันดับแรกของประเทศ ข้อมูลในปี 2552 มีคนไทยป่วยจาก 5 โรคดังกล่าวประมาณ 11 ล้านคน และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าหากคนไทยป่วยเป็นโรคดังกล่าว 18 ล้านคน ประเทศไทยจะต้องสูญเสียงบประมาณค่ารักษาประมาณปีละ 335,359 ล้านบาท
 
สำหรับในปีงบประมาณ 2556 กระทรวงสาธารณสุขจะเพิ่มการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานในเรื่องการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ลดเครียด ลดละการดื่มสุรา และสูบบุหรี่ ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วย และรณรงค์ตรวจคัดกรองโรค ครอบคลุมประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 โดยให้ รพ.สต.ที่มี 9,750 แห่งทั่วประเทศ เป็นกำลังหลักร่วมกับ อสม.ในพื้นที่รวมประมาณ 1.2 ล้านคน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนให้มีอายุยืนได้ตามเป้าหมายคือ 80 ปีในอีก 10 ปี ซึ่งขณะนี้ค่าเฉลี่ยอายุคนไทยคือ 75.6 ปี       
 
ขณะเดียวกันจะเร่งยกมาตรฐานทางวิชาชีพ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพให้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีกว่า 70,000 คนทั่วประเทศ โดยเสนอให้มีร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ.... ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เหล่านี้เป็นไปอย่างมีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ วาระดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ววันที่ 7 พ.ย. 2555 และผ่านวาระที่หนึ่งของที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณารับหลักการไว้ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณากลั่นกรอง และปรับปรุงของคณะกรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภา และจะเสนอเข้าสู่วาระการพิจารณาของที่ประชุมวุฒิสภาในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ในเดือน ม.ค. 2556 และหากได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรจะนำทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป