ผู้เขียน หัวข้อ: นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ-เผยมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติหนุนพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย  (อ่าน 2189 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
เลขาคสช.เผย มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติหนุนพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรักษา วอนกลุ่มแพทย์ที่ค้าน ให้ยึดคำสอนพระราชบิดา ศึกษาร่างกม.ให้ถ่องแท้ เพราะมีคุณต่อทั้งแพทย์และผู้ป่วย
 
   เมื่อวันที่ ๒๘ ก.ค.๒๕๕๓ ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) แถลงว่า จากการที่รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข เสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขเข้าสู่การ พิจารณาของครม. ซึ่งครม.ให้ความเห็นชอบส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จเรียบ ร้อย และครม.ให้ความเห็นชอบส่งเข้าสู่ขั้นตอนนิติบัญญัติเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ เพื่อให้สภาพิจารณาตราเป็นกฎหมายนั้น ปรากฏว่ามีกลุ่มแพทย์และบุคคลากรด้านสาธารณสุขส่วนหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวคัด ค้านร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยให้เหตุผลว่าจะกระทบต่อการประกอบวิชาชีพนั้น
 
   นายแพทย์อำพลกล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีกระบวนการยกร่างมานานกว่า ๓ ปี เริ่มจากการศึกษาข้อมูลทางวิชาการโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) มีการยกร่างพ.ร.บ.โดยรับฟังความเห็นจากหลายฝ่ายในสังคม จากนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงรับเป็นเจ้าภาพเสนอกฎหมายเข้าสู่ขั้นตอนปกติ ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ที่ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วมี ๕๐ มาตรา วัตถุประสงค์หลักคือ จัดให้มีกองทุน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยและญาติกรณีที่ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก เพื่อเป็นการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิต พิการ หรือเกิดปัญหาแทรกซ้อนจากการรักษาพยาบาล ทำให้แพทย์และผู้ป่วยและญาติไม่ต้องเผชิญหน้าหรือต้องฟ้องร้องกัน ซึ่งต้องใช้เวลานานและเป็นทุกข์ด้วยกันทุกฝ่าย
 
  การมีกองทุนนี้ เป็นการขยายการช่วยเหลือตามมาตรา ๔๑ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ปัจจุบันก็ใช้อยู่แล้ว แต่จะสามารถเพิ่มเพดานการช่วยเหลือในวงเงินที่สูงขึ้น และครอบคลุมประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะรักษาในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนก็ได้ จะเกิดผลดีก็คือ ทำให้การฟ้องร้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายลดน้อยลง เพราะการชดเชยจากกองทุนนี้จะทำให้ผู้ป่วยและญาติพอใจมากขึ้น และเมื่อรับเงินชดเชยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว หากมีการฟ้องคดีอาญาต่อแพทย์ ศาลสามารถนำหลักฐานนี้มาพิจารณาเพื่อที่จะไม่ลงโทษหรือลดโทษให้อีกก็ได้ ถ้าศาลพิจารณาว่าแพทย์มีความผิด ซึ่งตรงนี้จะเป็นผลดีต่อแพทย์โดยตรง
 
   นอกจากนี้ยังมีระบบที่เป็นทางเลือกโดยความสมัครใจสำหรับผู้ป่วยและญาติสามารถ ร้องขอให้มีการไกล่เกลี่ยระหว่างผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อันจะทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และจะลดการฟ้องร้องกันลงได้อีกด้วย จะทำให้ระบบบริการสาธารณสุขมีความเป็นหัวใจมนุษย์มากยิ่งขึ้น
 
   “ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๑ ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมจากเครือข่ายภาคีทุกจังหวัดทั่วประเทศ เครือข่ายภาคประชาชน เครือข่ายภาควิชาชีพและวิชาการ เครือข่ายภาครัฐ จำนวน ๑๘๐กลุ่มเครือข่าย กว่า ๑,๐๐๐คน ได้เคยมีมติสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งผลักดันกฎหมายนี้ให้ออกมาใช้โดยเร็ว เพราะจะช่วยทำให้สัมพันธภาพระหว่าผู้ป่วย ญาติ และแพทย์พยาบาลดีขึ้น เพราะมีกองทุนกลางเข้ามาช่วยเหลือกรณีเกิดผลกระทบจากการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ซึ่งในการรักษาพยาบาล มีโอกาสเกิดได้เสมอๆอยู่แล้ว ไม่ว่าแพทย์จะให้การดูแลดีที่สุดเพียงใดแล้วก็ตาม อีกทั้งการมีกองทุนนี้จะทำให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาช่วยเหลือจากสังคมอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที จะทำให้การฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาลดน้อยตามไปด้วย”
 
   นายแพทย์อำพลกล่าวเสริมด้วย ว่า “ในฐานะที่ผมดูแลองค์กรที่มีหน้าที่ประสานความร่วมมือและความเข้าใจของทุกฝ่ายในสังคมเกี่ยวกับงานด้านสุขภาพ ผมขอเรียนว่า หากได้ศึกษาวัตถุประสงค์หลักและสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้อย่างละเอียด ถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าเป็นกฎหมายที่มีคุณต่อทั้งประชาชนและต่อแพทย์ ไม่ได้มีผลกระทบเสียหายต่อการประกอบวิชาชีพแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆดังที่มีแพทย์บางกลุ่มออกมาคัดค้าน ตรงกันข้าม หากมีกฎหมายฉบับนี้ จะทำให้สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ดีขึ้นและเย็นขึ้น การฟ้องร้องจะลดน้อยลง เหมือนอย่างที่ประเทศสวีเดนที่มีการใช้กฎหมายทำนองนี้มาก่อน และจะไม่เป็นเหมือนประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการฟ้องร้องกันมากมาย เพราะไม่มีระบบการช่วยเหลือเยียวยาที่ดีเช่นนี้
 
   ผมขอวิงวอนให้เพื่อนแพทย์และเพื่อนผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขอื่นๆ ที่ยังคงยึดมั่นอยู่ในคำสอนของสมเด็จพระราชบิดาที่ให้ยึดประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นที่หนึ่ง ได้ศึกษาทำความเข้าใจร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ถ่องแท้ แล้วจะพบว่า แทนที่จะออกมาค้านตามๆกันไป ท่านควรจะรีบออกมาสนับสนุนด้วยซ้ำไป”

วันพุธที่ 28 กรกฏาคม 2010

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ในวงสนทนาสมัชชาทุกขชนแห่งชาติ มีประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ การแถลงข่าวของหมออำพล
นำมาเล่าสู่กันตามประสา ผู้ไม่รู้ที่อยากจะรู้ เลยถาม ถาม ถาม พร้อมกับวิเคราะห์เรื่องราวที่ทันสมัย
พี่แกพูดแล้วดู ดี แต่ไม่ต่างจากพงษ์พิสุทธิ์ สารี และดลพร

ดูดีเลยละ ครับ แสดงให้เห็นว่าหมออำพลคิดว่าตนเองตระหนักในพระราโชวาทสมเด็จพระราชบิดาอย่างสูง ไม่ทราบว่าเข้าใจว่าสูงกว่าหมอที่ออกมา เคลื่อนไหว ด้วยหรือไม่?

หมออำพลบอกว่ามีเครือ ข่ายกว่า๑๐๐๐คนสนับสนุน หมออำพลสนับสนุนให้กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายในอุดมคติของหมอและคนไข้เลยทีเดียว

ขนลุก น้ำตาคลอเลย คนไม่ได้ตรวจคนไข้อย่างหมออำพลรู้ดีทีเดียวในปัญหาการฟ้องร้อง

เช่นเดียวกับหมอพงษ์พิสุทธิ์ผู้อำนวยการสวรส.ซึ่งไม่ได้ดูแลตรวจรักษาคนไข้
เช่นเดียวกับหมอสุธีร์แห่งมศว.

ล้วนแล้วแต่เป็นหมอ ที่เปี่ยมอุดมการณ์ ชีวิตคนในหอคอยงาช้าง ช่างน่าเลื่อมใสจริง
รู้ดีกว่าคนทำงานอย่างม็อบเอ๊ยผู้ปฏิบัติงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศกว่าสองแสนคน เขาเก่ง ที่รู้ดีกว่าคนทั้งประเทศ และจะใช้มติของคนพันคน
มากำหนดสิ่งที่จะบังคับคน กว่าสองแสนคนในกระทรวงสาธารณสุขให้ทำตาม
เขาเก่ง มากทีเดียว

ผมมีคำถามถึงคนสองแสนกว่าคนในฐานะผู้ ปฏิบัติงานว่า จะมีใครไหม?ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้วยหัวใจมนุษย์ อย่างที่หมออำพลและพวกชอบใช้คำพูดนี้ มีใครไหม?ที่อ่านกฎหมายแล้วยังไม่เข้าใจ อย่างที่หมออำพล หมอพงษ์พิสุทธิ์ และหมอสุธีร์เข้าใจ

ผมยอมรับเลยครับว่า อ่านแล้วขนลุก น้ำตาคลอ ตื้นตัน ในความเสียสละที่พวกเราจะต้องมี และจะต้องมีความฉลาดเพื่อให้เข้าใจอย่างที่ หมอหลายๆคนนี้พูด

หรูมากในเนื้อหาที่กล่าวมา บรรเจิดเพริดแพร้ว ประดุจดั่งแสงเฮ้ากวงที่ส่องมาจากฟ้าเบื้องบน
เทพ เลยทีเดียวกับการสื่อสังคมเช่นนี้
แต่ในฐานะที่ คลุกคลีกับการปฏิบัติและผู้ปฏิบัติ อยากถามกลับว่า
ตรงไหนในพรบ.บ่งบอกความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน บอกไว้ตรงมาตราไหน?
ตรงไหนในพรบ.บอกว่าการฟ้องร้องจะน้อยลงเมื่อขยายเวลาอายุความ
ตรงไหนในพรบ.บอกว่าปลอดภัยจากการไม่พิสูจน์ถูกผิด เมื่อผู้ปฏิบัติผิดโดยไม่ต้องพิสูจน์

เอ็นจีโอที่จะมาบริหารกองทุนสำคัญกว่าประชาชนไทยทั้งประเทศอย่างไร? ใครเลือก คนเลือกมีสิทธิอะไรที่จะเลือก
จะมั่นใจได้อย่างไร ว่าผู้ร่างกฎหมายไม่ได้ร่างเพื่อให้มีกองทุนเป็นเงินก้อนใหญ่ แล้วตนเองมาบริหารเอง
จะมั่นใจได้อย่างไรว่า เอ็นจีโอที่เคลื่อนไหวกับผู้ที่ออกมาสนับสนุน ไม่ได้ออกกฎหมายมาให้มีกองทุนเพื่อพวก/ตนเองจะได้บริหารเอง
และฯ ลฯ(ยังนึกไม่ออก นึกออกจะมาถามต่อ)

ดังนั้นถึงจะออกมาพูดแล้วดูดีระดับเทพ เราก็ยังไม่รู้จะเชื่อได้อย่างไร

ในเมื่อเห็นคุณสมบัติของกรรมการบริหารกองทุนก้อนโตก็มองเห็นเป็นหน้าของเอ็นจีโอผู้เคลื่อนไหวกับผู้ร่าง และผู้สนับสนุนไปปรากฏในพรบ.ด้วย

จะเชื่อได้อย่างไรว่าผู้เคลื่อนไหวผลักดัน ผู้ร่าง ผู้สนับสนุน ผู้กล่าวหาสภาวิชาชีพให้เป็นผู้ร้าย จะไม่เป็นผู้แสวงประโยชน์จากกองทุนก้อนโต
อ่านๆไป ก็คล้ายกับระบุชื่อใครกลุ่มหนึ่งอยู่นั่นเอง
หากมีการรับรองว่าการฟ้องร้องจะลดลง แล้วหากมีการฟ้องร้องหนักกว่าเดิม ใครจะรับผิด รับอย่างไร?
หากมีการแสวงประโยชน์จากการเป็นกรรมการกองทุนในพรบ. ใครจะแสดงความรับผิด อย่างไร?

อ่านๆ ไปชักจะเห็นใจรัฐบาลที่ถูกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสั่งเข้าแล้ว นี่ไงบทบาทของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่กำหนดนโยบายให้รัฐบาลทำตาม
เป็นเจ้านายของรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งมาอีกที ส่วนสมัชชาสุขภาพไม่รู้ใครเลือกมาตั้ง ไม่รู้จริงๆว่าใครเลือกมาตั้ง
ชัก จะงงๆว่าคณะกรรมการของหมออำพลกะรัฐบาล ใครใหญ่กว่ากัน
-------------------------------------------------------------------------

มติของสมัชชาทุกขชนแห่งชาติ ว่ามาอย่างนี้ ต้องขออภัยที่ลืมตั้งใครๆในรัฐบาลมาเป็นประธานครับ
เพราะสภานี้ไม่ได้ผ่านการเลือกคั้งแต่ชอบเลือกใครมาตั้งตังหาก

comment จากเพื่อนเราคนหนึ่ีง