ผู้เขียน หัวข้อ: แพทย์รุมถล่มกม.ขอ​ใช้สิทธิ์ตาย...ด้านแพทยสภาอัด เอาคนไม่รู้มาออกกม.  (อ่าน 1335 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
​เวทีสัมมนากฎหมายขอ​ใช้สิทธิ์​การตาย ​แพทย์รุมถล่ม สช. อ่วม ชี้ต้องยก​เลิกกฎหมาย​เพราะมีช่อง​โหว่​เพียบ นิยาม​การ​ใช้สิทธิ์ขอตาย​ไม่ชัด ​และ​ใครจะชี้ขาด​การคาด​การณ์​การตาย​ได้ ด้าน​แพทยสภาออก​โรง​ไม่​เห็นด้วย ​เหตุกลัวหมอ​โดนฟ้อง ​แนะ​แนวทางปฏิบัติ 6 ข้อ คณะที่กรรม​การสิทธิ์ชี้ต้องติดตาม​การดำ​เนิน​การ 1-2 ปี

ที่รัฐสภามี​การสัมมนา​เรื่อง "​เจตนารมณ์​การขอ​ใช้สิทธิ์​การตาย​ในวาระสุดท้ายของชีวิต : ผลกระทบต่อ​ผู้ป่วย​และ​แพทย์" ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ ประธานคณะอนุกรรม​การตรวจสอบ​การ ​ใช้บังคับกฎหมาย​ในวิชาชีพ​เวช กรรม กล่าวว่า ​การ​ใช้สิทธิ์ปฏิ​เสธ ​การรักษาตามมาตรา 12 พ.ร.บ. สุขภาพ​แห่งชาติ พ.ศ.2550 ยังมี​ความสับสนหลายประ​การ ​ผู้ปฏิบัติงาน​และประชาชน​ไม่​เข้า ​ใจ​จึง​เป็นที่มาของ​การสัมมนา​ในวันนี้

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ​เลขาธิ​การคณะกรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า สิทธิ์​ใน​การปฏิ​เสธ​การรักษาทุกคนมีอยู่​แล้ว ก่อนที่จะมีมาตรา 12 ​การ​เขียนหนังสือ​แสดง​เจตนา​ไม่ประสงค์จะรับบริ​การจะ​เขียนอย่าง​ไร​ก็​ได้ ​ไม่ต้องมี​แบบฟอร์ม ​เขียนที่​ไหน​ก็​ได้ ​และ​แพทย์​ไม่ต้อง​ไปพิสูจน์ว่าปลอม​หรือ​ไม่ปลอม ​เพราะ​ไม่​ใช่พินัยกรรม

นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉ​เสวี ​ผู้ช่วย​เลขาธิ​การ​แพทยสภา กล่าวว่า อยากถามว่า​ใคร​เคยตาย ​และ​ใคร​เคยพูดคุยกับคนที่ตาย​ไป​แล้วบ้าง ถ้า​ไม่​เคย​แล้ว​ทำ​ไม​จึงรู้จักจิต​ใจคน​ไข้ก่อนตายว่าจะต้องตายอย่างมีศักดิ์ศรี ​แล้วมาออกกฎหมาย​ในสิ่งที่​ไม่รู้จริง ขัดหลักกฎหมาย อันตรายมาก ​เพราะจะนำมา​ซึ่ง​การ​ทำหนังสือ​โดยสำคัญผิด​ในข้อ​เท็จจริง​ทั้งที่​ไม่รู้ว่าตัว​เองจะตายอย่าง​ไร ​แพทย์​และบุคลากรทาง​การ​แพทย์มีปัจจัย​เสี่ยง​ทั้งสิ้น ​เรื่องนี้​เป็น​การุณยฆาตอย่างชัด​เจน

"กม.ฉบับนี้​ไม่มีสภาพบังคับ ดังนั้น​ไม่จำ​เป็นต้องปฏิบัติตาม หากจะ​ให้​เดินหน้าต่อ​ไป ต้อง มีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบ คือ สช. ที่ต้อง​เ​ก็บรวบรวมหนังสือ​แสดง ​เจตนาด้วย" นพ.วิสุทธิ์กล่าว

นาย​เดชอุดม ​ไกรฤทธิ์ สมา ชิกวุฒิสภา กล่าวว่า ​เรา​เขียนกฎ หมายบนข้อ​เท็จจริงที่​ไม่​แน่นอน ขอยกตัวอย่างหลาน​ไป​เรียนที่ออส​เตร​เลีย ​แพทย์บอกว่ารักษา​ไม่​ได้​แล้ว จะถอด​เครื่องช่วยหาย​ใจออก ​แต่น้องสาวตน ​แม่ของ​เด็ก​ไม่อยาก​เสียลูก​ไป ​ก็​เลยบิน​ไปรับตัวมารักษา​ในประ​เทศ​ไทย​โดย​เช่า​เครื่องบิน 7.5 ​แสนบาทกลับมา ณ วันนี้หลานตนสามารถ​เดิน​ได้ ดังนั้นกรณีนี้อยากถามว่าวาระสุดท้ายของชีวิตคืออะ​ไร ​เพราะ​ในกว่า 100 ประ​เทศ​ไม่มี​ใครกล้านิยาม​เรื่องนี้

ด้าน ศ.นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายก​แพทยสภา กล่าวว่า ​แพทยสภา​ได้ออก​แนวทางปฏิบัติของ​แพทย์ ​เมื่อ​ได้รับหนังสือ​แสดง​เจตนา​ไม่ประสงค์จะรับบริ​การสาธารณสุขที่​เป็น​ไป​เพื่อยืด​การตาย​ในวาระสุดท้ายของชีวิต ดังนี้ 1.​เมื่อ​ได้รับหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ​แพทย์​ผู้​เกี่ยวข้องต้อง​แน่​ใจว่าหนังสือดังกล่าว​เป็นหนังสือที่กระ ​ทำ​โดย​ผู้ป่วยขณะมีสติสัมปชัญญะ ​เช่น หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ที่กระ ​ทำ​โดยอยู่​ใน​ความรู้​เห็นของ​แพทย์ ​เช่นนี้​แล้ว​ให้ปฏิบัติตาม​ความประสงค์ของ​ผู้ป่วย ยก​เว้นกรณีข้อ 6 2.หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ นอก จากข้อ 1 ควร​ได้รับ​การพิสูจน์ ว่ากระ​ทำ​โดย​ผู้ป่วยจริง 3.​ในกรณี ที่ยังพิสูจน์​ไม่​ถึง "​ความจริง​แท้ของ หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ" นี้ ​ให้ดำ​เนิน ​การรักษา​ผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ​เวชกรรม 4.​การวินิจฉัยวา ระสุดท้ายของชีวิต​ให้อยู่​ในดุลพินิจของ​แพทย์ที่​เกี่ยวข้อง​ในภาวะวิสัย​และพฤติ​การณ์​ในขณะนั้น 5.​ไม่​แนะนำ​ให้มี​การถอดถอน (with draw) ​การรักษาที่​ได้ดำ​เนิน​การอยู่ก่อน​แล้ว 6.​ในกรณีที่มีข้อขัด​แย้ง กับญาติ​ผู้ป่วย​เกี่ยวกับ​เรื่อง "​ความ จริง​แท้ของหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ดังกล่าว ​แนะนำ​ให้ญาติ​ผู้ป่วย​ใช้สิทธิ์ทางศาล

​ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต. นพ.อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนาย​แพทย์​ใหญ่ รพ.ตำรวจ ​ได้สอบถามที่ประชุมว่ามี​ใคร​ไม่​เห็นด้วยกับ​เรื่องนี้​และต้อง​การยก​เลิกบ้าง ​และต้อง​การ​ให้นำผลจากที่ประชุม​ไป​เสนอ​ผู้​เกี่ยวข้อง ปรากฏว่ามี​แพทย์หลายคนยกมือ​ไม่​เห็นด้วยจำนวนมาก

ด้าน พล.ต.อ.วันชัย ศรี นวลนัด กรรม​การสิทธิมนุษยชน​แห่งชาติ ระบุว่า หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ถือ​เป็นพยาน​ในคดีหากมี​การฟ้องร้อง ถ้า​ไม่มีหนังสือดังกล่าวอาจ​ใช้อ้างอิงอะ​ไร​ไม่​ได้ ​และบุคคลที่จะ​ใช้สิทธิ์ต้อง​เป็น​เจ้าตัวที่มีหลักฐาน ลายมือ ​และ​ทำตามขั้นตอนที่กฎหมายระบุ​ไว้​เท่านั้น ​ผู้อื่นจะมา​แสดง​เจต นาฯ ​แทน​ไม่​ได้ อย่าง​ไร​ก็ตาม ​เนื้อหา​ในกฎหมายมีส่วนที่น่ากังวล​เกี่ยวกับนิยามของ​การ​ไม่ประสงค์จะรับบริ​การสาธารณสุขที่​เป็น​ไป​เพียง​เพื่อยืด​การตาย​ในวาระสุดท้ายของชีวิต ​ซึ่งวาระสุดท้ายของชีวิตนั้น​เป็น​การคาด​การณ์ล่วงหน้าที่อาจ​ไม่​เป็น​เช่นนั้น​ได้ ​เมื่อ​ถึง​เวลาจริง คนที่จะมาชี้ขาดวาระตรงนี้​ได้ต้อง​เป็น​แพทย์​เท่านั้น อย่าง​ไร​ก็ตาม ยังมีข้อสงสัยว่า​การยื่นหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ​เป็น​การยื่นก่อนรักษา​หรือ​เข้ารับ​การรักษา​แล้วค่อยยื่น ​การดำ​เนินงาน​เรื่องนี้ควรมี​การตั้งกลุ่มขึ้นมา​เพื่อระดมสมอง​โดย​เฉพาะด้านกฎหมาย ควรมี​การติดตาม​การดำ​เนินงาน​เรื่องนี้ต่อ​ไปอีก 1-2 ปี.

​ไทย​โพสต์ -- ​เสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2554
..........................
สช.ชี้ การใช้สิทธิการตายเป็นเพียงประกาศ ไม่ใช่กม.บังคับ ด้านแพทยสภาอัด เอาคนไม่รู้มาออกกม.

“หมอแสวง”  ชี้ชัด ประกาศสิทธิการตายเป็นเนื้อหาตามหลักการกฎหมาย ไม่ใช่บังคับ  ด้าน“หมอวิสุทธิ์” อัดยับ หากสช. สนับสนุน  ต้อง รับผิดชอบการดำเนินการตามกฎหมาย ตัวแทน สธ.เสนอย้ำนิยาม “วาระสุดท้าย” ให้ชัด เพื่อความเข้าใจตรงกัน  ขณะที่ คณะอนุกรรมการบริหาร แพทยสภา  เตรียมแจกแนวทางการปฏิบัติของแพทย์หลังได้รับหนังสือแดงสิทธิการตายต่อสมาชิกแพทย์
       
       วันนี้ (10 มิ .ย.)  ที่อาคารรัฐสภา  มีการจัดการประชุมสัมมนาจัดเวทีสัมมนาเรื่อง “เจตนารมณ์การขอใช้สิทธิการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต: ผลกระทบต่อผู้ป่วยและแพทย์”  เพื่ออภิปรายถึง “เจตนารมณ์และผลกระทบของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550” และ “ประเด็นความเสี่ยงของแพทย์เมื่อละเว้นการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ใช้สิทธิตาย”โดย
       
       นพ.อำพล จินดาวัฒนะ  เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) กล่าวว่า ประกาศดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายบังคับใช้ เป็นเพียงแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 12  ที่ระบุให้ทราบถึงการดำรงของสิทธิที่มีอยู่เท่านั้น  ดังนั้น การออกประกาศ จึงเป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ซึ่งไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะไม่ทำการรักษาผู้ป่วยที่แสดงสิทธิ  แพทย์ยังคงรักษาด้วยมาตรฐานวิชาชีพต่อไป  จัดเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น แต่ต้องทำควบคู่กับการพูดคุยกับญาติพี่น้องของผู้ป่วยด้วย ไม่ใช่ยึดแต่หนังสืออย่างเดียว ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าแพทย์จะถูกฟ้องร้อง เพราะอย่างไรเสียสุดท้ายก็ต้องพูดคุยกับญาติ
       
       ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ประกาศดังกล่าวไม่เป็นผลกระทบต่อแพทย์ เพราะไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย เป็นเพียงการใช้เจตนารมณ์ส่วนหนึ่ง โดยมาเขียนให้เห็นเป็นตัวอักษร และสช.ก็ดำเนินการตามสิทธิที่พึงมีอยู่แล้ว แต่สิทธิในการเลือกใช้เจตนาดังกล่าวเป็นสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งหากแพทย์มีความคลางแคลงใจว่าเป็นหนังสือปลอมหรือไม่ ก็อาจตรวจสอบโดยการสอบถามกับญาติก่อนปฏิบัติตาม
       
       ด้าน นพ.วิสุทธิ์  ลัจฉเสวี ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ผู้ที่ออกกฎหมายคิดเอาเองหรือไม่ว่าผู้ป่วยในวาระสุดท้ายมีความทุกข์ ทรมาน และมีความประสงค์จะตาย เพราะแพทย์คนที่ออกกฎหมายนี้ไม่เคยอยู่กับผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต แต่กลับไปร่วมมือกับนักกฎหมายออกกฎหมายนี้ออกมา จึงถือได้ว่าเป็นการออกกฎหมายโดยที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ซึ่งการออกกฎหมายโดยที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงถือว่าไม่ถูกต้อง ทั้งนี้การออกกฎหมายโดยการคิดเอาเองถือว่าอันตรายมากและเมื่อกฎหมายนี้ได้ออกมาแล้ว หากแพทย์ปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตาม แพทย์ก็ถือว่าอยู่ในสภาวะเสี่ยงทั้งสิ้น และเรื่องนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ว่าจะเป็นการการุณยฆาต อย่างไรก็ตามหากจะดำเนินการตามกฎหมายตนอยากเสนอให้ สช. จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการตามกฎหมายนี้ทั้งหมด รวมทั้งต้องเป็นผู้รับรอง ตรวจสอบหนังสือแสดงเจตนาฯด้วย เพราะอาจเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 พันบาทไปจนถึง 2 หมื่นบาท  มาตรา 291 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
       
       นพ.ทรงยศ ชัยชนะ สาธารณสุขนิเทศก์เขต 1 ผู้แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า  หัวใจสำคัญอยู่ที่คำนิยามของ “วาระสุดท้าย” แม้ว่าสิทธิการรับบริการสาธารณสุขจะเป็นสิทธิของผู้ป่วย แต่วาระสุดท้ายเป็นหน้าที่ของแพทย์ต้องวินิจฉัย แต่เข้าใจว่า แพทย์อาจกังวลว่า ตัวเองจะมีความผิดจากการตัดสินใจว่า ผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายหรือไม่ ประเด็นนี้อาจถูกญาติโจมตีได้ แม้ว่าประกาศนี้จะไม่มีบทลงโทษใดๆทางกฎหมายก็ตาม แต่เพื่อความชัดเจนและเข้าใจตรงกันระหว่าง แพทย์ ญาติ และตัวผู้ป่วย สธ.เห็นว่าควรทำให้ทุกฝ่ายเกิดความกระจ่างของคำนิยามนี้ก่อน
               
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุกรรมการบริหาร แพทยสภา ได้ออกแนวทางการปฏิบัติของแพทย์ เมื่อได้รับหนังสือดังกล่าว ประกอบด้วย 6 ข้อ ดังนี้
1.เมื่อได้รับหนังสือแสดงเจตนาฯ แพทย์ผู้เกี่ยวข้องต้องแน่ใจว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงเจตนาฯ ที่กระทำโดยผู้ป่วยขณะที่มีสติสัมปชัญญะ เช่น หนังสือแสดงเจตนาฯ ที่กระทำโดยอยู่ในความรู้เห็นของแพทย์ เช่นนี้แล้วให้ปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วย  ยกเว้นกรณีตามข้อ 6 
2.หนังสือแสดงเจตนาฯ นอกเหนือจากข้อ 1 ควรได้รับการพิสูจน์ว่ากระทำโดยผู้ป่วยจริง   
3.ในกรณีที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ถึง“ความจริงแท้”ของหนังสือแสดงเจตนาฯ นี้  ให้ดำเนินการรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรม
4.การวินิจฉัยวาระสุดท้ายของชีวิตให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ที่เกี่ยวข้องในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในขณะนั้น 
5.ไม่แนะนำให้มีการถอดถอน ( withdraw ) การรักษาที่ได้ดำเนินอยู่ก่อนแล้ว และ
6. ในกรณีที่มีความขัดแย้งกับญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับเรื่อง“ความจริงแท้”ของหนังสือแสดงเจตนาฯ ดังกล่าว  แนะนำให้ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิทางศาล

นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า เราเขียนกฎหมายบนข้อเท็จจริงที่ไม่แน่นอน ขอยกตัวอย่างหลานไปเรียนที่ออสเตรเลีย แพทย์บอกว่ารักษาไม่ได้แล้ว จะถอดเครื่องช่วยหายใจออก แต่น้องสาวตน แม่ของเด็กไม่อยากเสียลูกไป ก็เลยบินไปรับตัวมารักษาในประเทศไทยโดยเช่าเครื่องบิน 7.5 แสนบาทกลับมา ณ วันนี้หลานตนสามารถเดินได้ ดังนั้นกรณีนี้อยากถามว่าวาระสุดท้ายของชีวิตคืออะไร เพราะในกว่า 100 ประเทศไม่มีใครกล้านิยามเรื่องนี้ อีกทั้งบิดาของตนนอนรักษาใน รพ.ตัวดำแล้ว ลูกสาวที่เป็นแพทย์บอกว่าตัวดำไม่ไหวแล้ว ตนก็ได้เรียกพี่น้องทั้งหมดมาพร้อมหน้ากัน และในฐานะพี่คนโตเป็นคนกดเครื่องช่วยหายใจให้หยุดทำงาน แต่ถ้าเป็นแพทย์คนไหนไม่มีใครกล้าทำ

ด้าน ศ.นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาได้ออกแนวทางปฏิบัติของแพทย์ เมื่อได้รับหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ดังนี้ 1.เมื่อได้รับหนังสือแสดงเจตนาฯ แพทย์ผู้เกี่ยวข้องต้องแน่ใจว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่กระทำโดยผู้ป่วยขณะมีสติสัมปชัญญะ เช่น หนังสือแสดงเจตนาฯ ที่กระทำโดยอยู่ในความรู้เห็นของแพทย์ เช่นนี้แล้วให้ปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วย ยกเว้นกรณีข้อ 6 2.หนังสือแสดงเจตนาฯ นอกจากจากข้อ 1 ควรได้รับการพิสูจน์ว่ากระทำโดยผู้ป่วยจริง 3.ในกรณีที่ยังพิสูจน์ไม่ถึง “ความจริงแท้ของหนังสือแสดงเจตนาฯ” นี้ ให้ดำเนินการรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรม 4.การวินิจฉัยวาระสุดท้ายของชีวิตให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ที่เกี่ยวข้องในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในขณะนั้น 5.ไม่แนะนำให้มีการถอดถอน ( withdraw) การรักษาที่ได้ดำเนินอยู่ก่อนแล้ว 6.ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งกับญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับเรื่อง “ความจริงแท้ของหนังสือแสดงเจตนาฯ ดังกล่าว แนะนำให้ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิ์ทางศาล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต.นพ.อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ ได้สอบถามที่ประชุมว่ามีใครไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้และต้องการยกเลิกบ้าง และต้องการให้นำผลจากที่ประชุมไปเสนอผู้เกี่ยวข้อง ปรากฏว่ามีแพทย์หลายคนยกมือไม่เห็นด้วยจำนวนมาก

ด้าน พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า หนังสือแสดงเจตนาฯ ถือเป็นพยานในคดีหากมีการฟ้องร้อง ถ้าไม่มีหนังสือดังกล่าวอาจใช้อ้างอิงอะไรไม่ได้ และบุคคลที่จะใช้สิทธิ์ต้องเป็นเจ้าตัวที่มีหลักฐาน ลายมือ และทำตามขึ้นตอนที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้น ผู้อื่นจะมาแสดงเจตนาฯ แทนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในกฎหมายมีส่วนที่น่ากังวลเกี่ยวกับนิยามของการไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งวาระสุดท้ายของชีวิตนั้นเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าที่อาจไม่เป็นเช่นนั้นได้ เมื่อถึงเวลาจริง คนที่จะมาชี้ขาดวาระตรงนี้ได้ต้องเป็นแพทย์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสงสัยว่าการยื่นหนังสือแสดงเจตนาฯ เป็นการยื่นก่อนรักษาหรือเข้ารับการรักษาแล้วค่อยยื่น
"การดำเนินงานเรื่องนี้ควรมีการตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อระดมสมองโดยเฉพาะด้านกฎหมาย ควรมีการติดตามการดำเนินงานเรื่องนี้ต่อไปอีก 1-2 ปี ส่วนที่กังวลเรื่อง ม.12 นั้น ผมเห็นว่าถ้าหากการดำเนินการไม่ได้เป็นการยืดเวลา เป็นวาระสุดท้ายของชีวิต และหนังสือแสดงเจตนาถูกต้อง แพทย์ก็จะได้รับการคุ้มครอง".

ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 มิถุนายน 2554