แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 489 490 [491] 492 493 ... 537
7351
นับตั้งแต่มีการออกพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 รัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินการตามนโยบายประชานิยม จนทำให้ประชาชนทั้งประเทศจดจำคำขวัญว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” ได้อย่างขึ้นใจ และเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้พรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น เป็นสมัยที่สอง

 แต่ภายหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในยุคนั้นคือนพ.มงคล ณ สงขลา ได้สร้างกระแสประชานิยมมากกว่าที่พรรคไทยรักไทยเคยทำมาแล้ว โดยการยกเลิกการจ่ายเงิน 30 บาทของประชาชน  และนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจากพรรคประชาธิปัตย์ก็พยายามจะ “หาเสียงจากประชาชน” ให้มากยิ่งขึ้น โดยนำโครงการเก่ามาโฆษณาประชาสัมพันธ์และต่อยอดการ “หาความนิยม” จากประชาชน โดยการโฆษณาชวนเชื่อว่า บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรี 48 ล้านคน และอธิบายว่ารักษาฟรีอย่างมีคุณภาพ โดยกำหนดคุณภาพของโรงพยาบาลว่าต้องมี 3 ดี คือ บรรยากาศดี บริการดี  และบริหารจัดการดี

  แต่ที่นายจุรินทร์ พูดว่ารักษาฟรีอย่างมีคุณภาพนั้น ก็เป็นการกล่าวอ้างอย่างไม่มีความจริงมารองรับ ซึ่งความจริงที่ประชาชนเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง เวลาต้องไปโรงพยาบาลก็คือ

   ต้องเสียเวลานานมากในการไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล มีประชาชนแออัดยัดเยียด รอคอยการตรวจรักษาอยู่จนล้นโรงพยาบาล(บรรยากาศคงไม่ดีแน่ ถ้าเป็นแบบนี้)

  เวลาป่วยหนักจนถึงกับต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล  ก็หาเตียงนอนไม่ได้ ต้องตระเวนไปตามหาเตียงจากอีกหลายๆโรงพยาบาล เพื่อจะหาเตียงสำหรับนอนพักรักษาตัวให้ได้  (แบบนี้ก็แสดงว่า บริการไม่ดีแน่นอน)

     และโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขก็ขาดทุนจนแทบทุกโรงพยาบาล (อย่างนี้ก็แสดงว่าบริหารจัดการไม่ดีอย่างแน่นอน) ขาดแคลนแพทย์ พยาบาล  และบุคลากรอื่นๆอีกมากมาย รวมทั้งขาดการพัฒนาอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีที่จำเป็นอื่นๆอีกมาก

  ความเป็นจริงที่เห็นและเป็นอยู่ในระบบบริการสาธารณสุขก็คือ มีความขาดแคลนทรัพยากรทุกชนิดในการทำงานเพื่อประชาชน เริ่มตั้งแต่ขาดบุคลากรทุกประเภท ทุกระดับ ทั้งจำนวน (ปริมาณ) และคุณภาพ (บุคลากรที่เชี่ยวชาญทุกประเภท) ขาดงบประมาณในการบริหารจัดการ ทำให้ขาดอาคาร สถานที่ ขาดวัสดุอุปกรณ์ ขาดเวชภัณฑ์ที่เหมาะสม และความขาดแคลนที่เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ แพทย์ขาดอิสรภาพในการประกอบวิชาชีพอิสระ เนื่องจากถูกบังคับให้สั่งจ่ายยาหรือสั่งการรักษาตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)กำหนดไว้เท่านั้น (ทั้งๆที่สปสช.ก็ไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาทุกโรค) เพราะถ้าแพทย์ไม่ทำตามข้อกำหนดของสปสช.แล้ว สปสช.ก็จะไม่ยอมจ่ายเงินค่ารักษาผู้ป่วย ทั้งๆที่ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสปสช.ที่จะกำหนดว่าแพทย์ควรรักษาผู้ป่วยอย่างไร

   นอกจากนโยบายประชานิยมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเกิดความความขาดแคลนทรัพยากรทุกชนิดที่จำเป็นในการทำงานดังกล่าวแล้ว สปสช.ยังโฆษณาชวนเชื่อว่า “รักษาทุกโรค” มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 แต่ความเป็นจริงก็คือ สปสช.จะประกาศให้ “สิทธิ”ที่ประชาชนจะได้รับการรักษาโรคต่างๆเพิ่มเติมอีกทุกๆปี เมื่อเร็วๆนี้ก็เพิ่งเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการให้ยาต้านพิษอีก 4 รายการ(1) และต่อๆไปสปสช.ก็คงจะประกาศรายการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการรักษาอีกเรื่อยๆ

  ซึ่งการ “เพิ่มสิทธิ” ในการรับการรักษานี้ แสดงว่าการที่สปสช.โฆษณาว่า “รักษาทุกโรค” นั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดทั้งสิ้น

  การให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในปัจจุบันนี้ ตรงกันข้ามกับเมื่อก่อนที่จะมีการประกาศพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือเมื่อก่อนนั้นโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทุกแห่งของกระทรวงสาธารณสุข สามารถให้การรักษาผู้ป่วยทุกคน ทุกโรค โดยถือเป็นสวัสดิการแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยประชาชนที่มีรายได้และมีเงินก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลของตนเองและครอบครัวในราคาถูก(จ่ายน้อย) ส่วนประชาชนที่ยากจน ก็จะได้รับความช่วยเหลือตามโครงการรักษาประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้จ่ายงบประมาณในการรักษาผู้มีรายได้น้อยไปให้แต่ละโรงพยาบาล ทดแทนเงินค่ารักษาที่ประชาชนไม่มีเงินจ่าย นอกจากนั้น ประชาชนที่ยากจนไม่มีเงินค่ารถเดินทาง ก็ยังได้รับความช่วยเหลือจากงานสังคมสงเคราะห์และมูลนิธิต่างๆของโรงพยาบาลอีกด้วย

   ในระบบเดิมนั้น รัฐบาลจะจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่กระทรวงสาธารณสุขโดยตรง ทำให้กระทรวงสาธารณสุขมีงบประมาณที่เหมาะสมในการบริหารจัดการในการให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน มีบุคลากรในการให้ความรู้แก่ประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการปฐมพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยไม่ร้ายแรงได้ด้วยตนเอง ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพได้  ไม่ต้องไปใช้บริการจากโรงพยาบาลมากเกินความจำเป็น โดยการที่ประชาชนต้องจ่ายเงินในการไปโรงพยาบาลด้วยนั้น ทำให้ประชาชนต้องสนใจที่จะต้องระมัดระวังดูแลรักษาสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วยของตนเองและครอบครัว เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาความเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็น

   แต่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.ได้แต่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมารับสิทธิในการรักษาฟรี โดยไม่ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและครอบครัว  ทำให้ประชาชนบางส่วนมารับการดูแลรักษาจากโรงพยาบาลมากเกินความจำเป็น ประชาชนบางส่วนได้รับยาไปแล้ว กินยาไป2-3 วันก็กลับมาเรียกร้องขอรับการตรวจรักษาใหม่ ทั้งๆที่ยาที่กินไปตอนแรกนั้นอาจจะยังไม่ให้ผลในการรักษาเต็มที่ ทำให้สูญเสียยาไปโดยไม่จำเป็น โรงพยาบาลต้องจ่ายเงินค่ายามากกว่าที่จำเป็น สูญเสียงบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์มากมาย นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดในการรักษาบางโรค ที่สปสช.จะไม่จ่ายเงินในการรักษาผู้ป่วย ทั้งๆที่สปสช.รับงบประมาณในการรักษา “ทุกโรค” มาจากรัฐบาลแล้ว ซึ่งเป็นผลให้โรงพยาบาล ไม่มีเงินใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้

     นอกจากนั้น การที่ประชาชนมาใช้บริการมากเกินไป ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีเวลาให้การดูแลเอาใจใส่แก่ผู้ป่วยแต่ละคนน้อยลง เพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดพลาดหรือแพทย์ขาดเวลาอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ทำให้ผู้ป่วยและ/หรือญาติผู้ป่วยเกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของคำแนะนำในการรักษา เกิดความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วย เกิดการร้องเรียนฟ้องร้องมากมาย  ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีความอึดอัดคับข้องใจ ลาออกจากระบบราชการมากขึ้นหลังจากเริ่มมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ถึงแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะใช้มาตรการบังคับแพทย์ให้ต้องมาทำงานชดใช้ทุน แต่แพทย์ก็ยังลาออกจากราชการอย่างต่อเนื่อง และจำนวนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายตามจำนวนแพทย์ที่เรียนจบการศึกษาในแต่ละปี(2)

   การให้หลักประกันด้านสุขภาพแก่ประชาชนเพียง 48 ล้านคนนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชน 48 ล้านคน ทั้งคน “มีเงิน” และคน “ไม่มีเงิน” ได้รับ “อภิสิทธิ์” เหนือประชาชนกลุ่มอื่น ในการได้รับการดูแลรักษาสุขภาพฟรี ยังได้ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไป และทำให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินแทน “คนมีเงิน” ในการรักษาสุขภาพ ส่งผลให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินงบประมาณในการรักษาสุขภาพของประชาชนมากขึ้นทุกปี จากปีเริ่มต้นที่ ประมาณ หกหมื่นล้านบาท มาเป็น หนึ่งแสนสี่หมื่นล้านบาทในปัจจุบัน 

  ถึงแม้ว่าจะต้องเพิ่มงบประมาณเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างมากมายเพียงใดก็ตาม แต่งบประมาณในการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขก็ยังขาดแคลนมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ไม่สามารถรักษาคุณภาพมาตรฐานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนได้ ไม่สามารถพัฒนาซ่อมแซมอาคารสถานที่ ไม่สามารถจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย  เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานให้คงเดิมตามที่เป็นอยู่ในอดีต และไม่สามารถพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการแพทย์ให้เท่าเทียมกับโรงพยาบาลเอกชน ในประเทศ  (ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศ) เนื่องจากความขาดแคลนทรัพยากรทุกอย่างดังกล่าวแล้ว

  แต่พรรคการเมืองแทบทุกพรรค ที่กำลังหาเสียงจากประชาชนในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ ต่างก็ชูนโยบายประชานิยมทุกโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเรียนฟรี แจกเงินฟรี  ลดหนี้ฟรี ให้หลักประกันสุขภาพฟรี  รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี ฯลฯ ซึ่งคงจะต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนมาชดเชยภาระค่าใช้จ่ายเหล่านี้อีกมากมายมหาศาล แต่ยังไม่เห็นพรรคไหนเลยที่บอกว่า จะ “หาเงิน” มาเพื่อโครงการ “ฟรีๆ” สำหรับประชาชนเหล่านี้อย่างไร?

   จะเก็บภาษีเพิ่มขึ้น หรือจะแจกฟรีๆแต่ด้อยคุณภาพ อย่างที่เกิดขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันนี้ ที่ทำให้รัฐบาล “ได้หน้า” ว่าให้รักษาฟรี แต่ระบบบริการสาธารณสุขกำลังจะล่มจม และการแจกฟรีๆแบบนี้ จะทำให้ประชาชนบางส่วนพอใจที่จะ “แบมือขอ” อย่างเดียว แต่ประเทศไทยคงจะล้มละลายในไม่ช้านี้ เพราะยังไม่มีพรรคการเมืองไหน บอกวิธีการว่าจะหาเงินมา “แจกประชาชน” ทุกโครงการได้อย่างไร?

   ประชาชนอยากจะได้รับการแจกฟรีๆอย่างไม่มีคุณภาพ ตามที่ได้รับแจกจากโครงการ “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรี 48 ล้านคน” หรืออยากจะมีส่วนร่วมในการร่วมรับผิดชอบดูแลตนเองด้วย เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาสุขภาพอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน

  ถ้าประชาชนจะเชื่อคำพูดนักการเมืองในตอนหาเสียงเลือกตั้ง โดยไม่คิดถึงความเป็นไปได้ที่แท้จริงแล้ว ประชาชนก็คงได้รับ “ของฟรี” ที่ไม่มีคุณภาพ แต่เป็นภาระหนักแก่งบประมาณแผ่นดิน  และประเทศชาติคงจะรอวันล้มละลายในไม่ช้านี้

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์
และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
7 มิ.ย. 54

 เอกสารอ้างอิง

1.    สปสช.เพิ่มกลุ่มยาต้านพิษอีก 4 รายการ ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้รับพิษโบทูลินัม ท็อกซิน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  2 มิถุนายน 2554 15:10 น.
 
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000067405

2.    สถิติของกลุ่มทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

7352
แพทยสภาจี้รัฐบาล ยกเครื่องประกันสุขภาพ แนะทำระบบประกันสังคมให้โต
เพิ่มสิทธิ์ประโยชน์แก่ผู้ประกันตน เพื่อลดปริมาณคนใช้สิทธิ”รักษาฟรี”
ให้เหลือ 20 ล้านคน เพื่อเพิ่มงบช่วยคนที่ไม่มีเงินรักษาจริงๆ...

เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2554 นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ระบบสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบันผิดสมดุลย์ เนื่องจาก มีประชาชนมากถึง 48 ล้านคน ที่รัฐบาลต้องอุ้มในเรี่องค่ารักษาพยาบาล ขณะที่มีเพียงประมาณ 10 ล้านคน ที่สามารถดูแลตัวเองได้ โดยการจ่ายเงินสมทบเข้าระบบประกันสังคม เพื่อรับสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมถึงการรักษาพยาบาลด้วย ขณะเดียวกัน ต้องเสียภาษีให้กับรัฐเพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลคนที่พึ่งตนเองไม่ได้อีก 48 ล้านคน จึงเท่ากับว่าปัจจุบันนี้ประชาชนที่ใช้สิทธิรักษาพยาบาลระบบประกันสังคมต้อง แบกภาระอุ้มประชาชนที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือสิทธิรักษาฟรีด้วย

รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวต่อว่า ระบบสุขภาพของประเทศไทยในอนาคต รัฐต้องทำให้ประชาชนมีฐานะ และรายได้ที่มั่นคงเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตัวเอง ในเรื่องค่ารักษาพยาบาลได้ระดับหนึ่ง มากกว่าการอุ้มชูค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ในทางที่ถูกต้องรัฐต้องคิดใหม่ด้วยการทำให้ระบบประกันสังคมโตขึ้น เนื่องจากเป็นตัวสะท้อนว่าประชาชนในประเทศมีความมั่นคงทางการงาน และรายได้ โดยแน่นอนว่าสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ต้องพัฒนา ปรับปรุงตัวเองในเรื่องของการให้สิทธิพิเศษกับผู้ประกันตนในเรื่องการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้ประกันเสียเงินตนเองให้สปส. ดังนั้น ระบบสุขภาพยุคใหม่รัฐบาลต้องเปลี่ยนเป็นการเน้นเรื่องคุณภาพ

นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ.อิทธพร  กล่าวด้วยว่า การทำให้ประชาชนมีงานที่มั่นคงเพื่อเข้าสู่ระบบประกันสังคม จากนั้นค่อยๆ ทยอยลดจำนวนประชาชน ที่ใช้สิทธิรักษาฟรีที่รัฐต้องแบกภาระอุ้ม ให้เหลือเพียงประมาณ 20 ล้านคน หรือ ราวครึ่งหนึ่งของจำนวนในปัจจุบัน เพื่อที่รัฐจะได้เพิ่มงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวให้คนใน 20 ล้านคน ที่เป็นกลุ่มที่พึ่งพาตนเองไม่ได้จริงๆ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จากการนำค่ารายหัวของคนที่มีงานมั่นคงขึ้นแล้วและไปใช้สิทธิประกันสังคม มาให้บริการกับคนที่ยังเพิ่งตนเองไม่ได้อย่างแท้จริง ขณะที่รัฐใช้งบประมาณเท่าเดิม โดยจะทำให้ประชาชนสิทธิรักษาฟรี 20 ล้านได้เข้าถึงบริการสุขภาพและเป็นบริการที่มีคุณภาพด้วย อีกทั้ง ยังทำให้เกิดการแข่งขันในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนระหว่างระบบ ประกันสังคมและระบบรักษาฟรีด้วยที่มีประชาชนใช้อยู่ในสิทธิเท่าๆ กัน ท้ายที่สุดประโยชน์จะตกกับประชาชนผู้ใช้บริการ

ไทยรัฐ : 9 มิถุนายน 2554

7353
พบคน​ไทยป่วย​เบาหวาน 3 ล้านคน ​หรือกว่า 1.5 ล้านคน ​ไม่รู้ตัวว่าป่วย​โรคนี้ ​แพทย์​แนะ​ผู้มีประวัติพ่อ​แม่​เป็น​เบาหวาน อ้วน ​ความดันสูง ควรตรวจ​เช็ก​เลือด​เป็นประจำ ​แม้​ไม่มีอา​การ​ก็ตาม

พญ.ศิริกานต์ นิ​เทศวรวิทย์ ​แพทย์​ผู้​เชี่ยวชาญด้าน​เบาหวาน ​ไทยรอยด์​และต่อม​ไร้ท่อ ​ให้ข้อมูล​ในงานสัมมนาหัวข้อ "​เบาหวาน รู้ทัน ​ไม่ขื่นขม" ที่ผลิตภัณฑ์ชุด ตรวจน้ำตาลกลู​โค​เช็ค อีซี่ ของบริษัท สมาพันธ์ อิน​เตอร์​เนชั่น ​แนล  กลุ่มสมาพันธ์​เฮลธ์ จัดร่วมกับ รพ.บางปะกอก 9 อิน​เตอร์​เนชั่น​แนล จัดขึ้น​เมื่อ​เร็วๆ นี้ว่า

​โรค​เบาหวาน ​เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาล​ใน​เลือดสูงกว่าปกติ ​เกิดจาก​การขาดฮอร์​โมนอินซูลิน ​หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง ​เนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ​ทำ​ให้น้ำตาล​ใน​เลือดสูงขึ้นอยู่​เป็น​เวลานาน ​และ​ทำ​ให้​เกิด​โรค​แทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ​เช่น ตา ​ไต ​และระบบประสาท​ได้ ​ซึ่ง​ในคนปกติก่อนรับประทานอาหาร​เช้าจะมีระดับน้ำตาล​ใน​เลือดประมาณ 70-110 มิลลิกรัม​เปอร์​เซ็นต์ หลังจากรับประทานอาหาร​แล้ว 2 ชั่ว​โมง ระดับน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณ 140 มิลลิกรัม​เปอร์​เซ็นต์ ​ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูง​ไม่มากอาจจะ​ไม่มีอา​การอะ​ไร จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ปัจจุบันคนที่ป่วย​เป็น​โรค​เบาหวานมีมากกว่า 3 ล้านคน ​และที่น่า​เป็นห่วงกว่านั้นคือ ​ผู้ที่​เข้ารับ​การรักษากว่าครึ่ง​ไม่​เคยรู้ตัวมาก่อนว่าป่วย​เป็น​เบาหวาน

"กลุ่มคนที่​เสี่ยง​เป็น​โรค​เบาหวาน คือครอบครัวมีพ่อ ​แม่ พี่ ​หรือน้อง ป่วย​เป็น​โรค​เบาหวาน ควรจะต้องตรวจระดับน้ำตาล​ใน​เลือด​แม้ว่าจะยัง​ไม่มีอา​การ​ก็ตาม กลุ่ม​เสี่ยงอื่นๆ ​เช่น ​ในคนที่มีรูปร่างอ้วนน้ำหนัก​เกิน 20% ของน้ำหนักปกติ, ​ผู้ที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้น​ไป ​ความดัน​โลหิตสูงมากกว่า 140/90 ​เป็นต้น  ​โดยมีวิธีตรวจสอบที่​ทำ​ได้ง่าย​และสะดวกที่สุด​ก็คือ​การตรวจระดับน้ำตาล​ใน​เลือดด้วยตน​เองอย่างสม่ำ​เสมอ"

ด้านนายชิน​การ สมะลาภา กรรม​การ​ผู้จัด​การ บริษัท สมาพันธ์ อิน​เตอร์​เนชั่น​แนล จำกัด กลุ่มสมาพันธ์​เฮลธ์ ​เปิด​เผย​ถึง​การ​เปิดตัวชุดตรวจน้ำตาล​ใน​เลือด กลู​โค​เช็ค อีซี่ คนส่วน​ใหญ่จะรู้ตัว​เมื่อ​เป็น​โรค​เบาหวาน​แล้ว ​และต้องตรวจระดับน้ำตาล​ใน​เลือดที่ รพ. ​หรือคลินิก​เท่านั้น ​ทำ​ให้​การตรวจวัด​ไม่มี​ความสม่ำ​เสมอ จากสา​เหตุนี้​ทำ​ให้บริษัทมอง​ถึง​แนววิธี​เชิงป้องกันมากกว่า​การรักษา ​โดย​การนำ​เสนอชุดตรวจระดับน้ำตาล​ใน​เลือดภาย​ใต้ชื่อ กลู​โค​เช็ค อีซี่ ​เครื่องนี้สามารถตรวจ​ได้ 5 จุด​ในร่างกาย ​ไม่​ใช่​เฉพาะปลายนิ้ว​เท่านั้น คือที่หน้าท้อง ต้น​แขน ท้อง​แขน ฝ่ามือ น่อง​และต้นขา

นายนิรุตติ์ ศิริจรรยา ​แบรนด์ ​แอมบาสซา​เดอร์ของผลิตภัณฑ์กลู​โค​เช็ค อีซี่ กล่าวว่า ​การดู​แลตัว​เอง​ก็คือ​การ​ไม่ดู​แล หมาย​ถึง​การ​ทำ​ให้ทุกอย่าง​เป็นปกติ​ในชีวิตประจำวัน ​เช่น พักผ่อน​ให้พอ กินอาหารที่มีประ​โยชน์ ​และออกกำลังกายทุกวัน ส่วน​โรค​เบาหวานที่คนสูงอายุควร ระมัดระวัง ​การ​เช็ก​เลือดด้วย​เครื่อง ตรวจง่ายๆ สม่ำ​เสมอ ​ก็น่าจะ​เป็นหนทางที่ดี​ทำ​ให้​การดู​แลสุขภาพง่ายขึ้น.

ไทย​โพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2554

7354
สหสาขาวิชาชีพ / ส่อมบส.ถอนฟ้องสภา​เทคนิค
« เมื่อ: 09 มิถุนายน 2011, 22:40:10 »
ปัญหาสภา​เทคนิค​การ​แพทย์​ไม่รับรองหลักสูตร​เทคนิค​การ​แพทย์ มบส. ​ใกล้จบ "คณบดี " ชี้ทางออกต้องถอนฟ้องสภา​เทคนิค​การ​แพทย์   ​แต่ต้อง​ให้ที่ประชุมสภามหา'ลัยตัดสิน​ใจ​ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ก่อน มั่น​ใจปัญหาจบ​แน่ หากมี​การประ​เมินอีกรอบ

กรณีนิสิตคณะวิทยาศาสตร์​และ​เทค​โน​โลยี สาขาวิชาหลักสูตร​เทคนิค​การ​แพทย์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏบ้านสม​เด็จ​เจ้าพระยา (มบส.) ​ไม่ ผ่าน​การรับรองจากสภา​เทคนิค​การ ​แพทย์ ​ทำ​ให้นักศึกษา มบส.​ไม่สามารถ ฝึกงานวิชาชีพ จน​ทำ​ให้ มบส.ยื่น ฟ้องสภา​เทคนิค​การ​แพทย์ต่อศาล ปกครอง ​ซึ่งสำนักงานคณะกรรม​การ ​การอุดมศึกษา (สกอ.) อาสา​เป็นตัว กลาง​ไกล่​เกลี่ย​โดยจัด​เวที​ให้​ทั้งคู่ ระหว่างสภาวิชาชีพ​เทคนิค​การ​แพทย์ กับ มบส.​เจรจากัน ​โดยมีข้อยุติที่ว่า​ให้  มบส.​ไปถอนฟ้องก่อน ​เพื่อจะสามารถช่วย​เหลือนิสิต​ได้นั้น

ผล​การ​เจรจาล่าสุด ที่มีขึ้น​เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ผศ.ดร.บุญมี กวิน​เสกสรรค์  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์​และ​เทค​โน​โลยี บมส. กล่าวว่า หลังจากตน​ได้​ไปหารือกับ รศ.ดร.สุพล วุฒิ​เสน อธิ​การบดี ขณะนี้มี​ความ​เป็น​ไป​ได้สูงที่ มบส.จะถอนฟ้องสภา​เทคนิค​การ​แพทย์​เพื่อจะ​ให้สภา​เทคนิค​การ​แพทย์มีช่องทาง​ใน​การช่วย​เหลือนักศึกษา​ได้ ​เบื้องต้น​เรื่อง​การตัดสิน​ใจถอนฟ้องนี้ ต้อง​เสนอ​ไป​ให้ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยพิจารณาก่อน ​ซึ่งจะประชุม​ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ ​ทั้งนี้ ตน​เชื่อว่าหากมี​การยื่นถอนฟ้อง​แล้ว มบส.​ก็จะยื่นขอรับ​การประ​เมินจากสภา​โดย​เร็ว ​เพื่อ​ไปประ​เมิน​แล้วรับรองหลักสูตร​และสถาบันต่อ​ไป อย่าง​ไร​ก็ตาม ขณะนี้​เหลือนักศึกษา​ในหลักสูตร​เทคนิค​การ​แพทย์​เพียง 100 คน ​ซึ่งอีก 75 คน​ได้ย้ายสาขา ​หรือ​ไป​เรียน​ในมหาวิทยาลัยอื่น​แล้ว ตาม​ความช่วย​เหลือของ บมส.

"​เมื่อมี​การถอนฟ้องสภา​แล้ว ​ก็คงจะมี​การประ​เมิน​เพื่อรับรองหลัก สูตรกัน​ใหม่ ​ซึ่งตน​ก็มั่น​ใจว่าปัญหาคงจะหมด​ไป ​เพราะขณะนี้ มบส.พร้อมที่จะ​ให้สภา มาประ​เมิน​แล้ว" ผศ.ดร.บุญมีกล่าว.

ไทย​โพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2554

7355
นายปั้น วรรณพินิจ ​เลขาธิ​การสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวง​แรงงาน กล่าวหลังประชุมคณะอนุกรรม​การกลั่นกรองสิทธิประ​โยชน์ ว่า ที่ประชุม​ได้พิจารณากรอบงบประมาณ​ใน​การดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์ด้าน​การ​แพทย์ตามที่คณะกรรม​การประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ​ได้​เห็นชอบ​ในหลัก​การ​ไปก่อนหน้านี้ ​ใน 5 ราย​การ ​ได้​แก่ 1.​โรค​เรื้อรัง 2.ยาราคา​แพง 7 ชนิด 3.​โรค​ไต  4.​เจ็บป่วยฉุก​เฉิน  5.ทันตกรรม  ​ทั้งนี้ ที่ประชุม​เห็นชอบ​ให้ดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิ์ประ​โยชน์​ผู้ป่วย​โรค​เรื้อรังจาก​เดิมดู​แล​ไม่​เกิน 180 วัน ​เพิ่ม​เป็น​ให้ดู​แลอย่างต่อ​เนื่อง รวม​ทั้งกรณี​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์ด้านทันตกรรม ​ซึ่ง​ได้มอบ​ให้ สำนักจัดระบบบริ​การทาง​การ​แพทย์ของสปส.กลับ​ไปคำนวณงบประมาณดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์​ทั้ง 2  กรณีอีกครั้ง​และจะ​เสนอ​เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรม​การประกันสังคม​ในวันที่ 21 มิถุนายนนี้

เลขาธิ​การ สปส.กล่าวอีกว่า ส่วนกรณียาราคา​แพง 7 ชนิด​ให้กลับ​ไปศึกษาจำนวน​ผู้​ใช้ว่า​เป็นคนกลุ่ม​ใด อายุ​เท่า​ไหร่​และต้อง​ใช้ยาจำนวน​เท่า​ใด รวม​ทั้งกรณี​โรค​ไต​และ​เจ็บป่วยฉุก​เฉินจะต้องกลับ​ไปศึกษา​และจัด​ทำข้อมูลงบประมาณ​และรูป​แบบ​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์อีกครั้ง ​ทั้งนี้ คณะอนุกรรม​การฯจะพิจารณา​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์ 5 ​เรื่อง​ได้​แก่
1.ยาราคา​แพง 7 ชนิด
2.​โรค​ไต 
3.​เจ็บป่วยฉุก​เฉิน
4.​โรคมะ​เร็ง ​และ
5.​โรค​เอช​ไอวี​
ใน​การประชุม​ในวันที่ 14 มิถุนายนนี้

นพ.สุร​เดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักจัดระบบบริ​การทาง​การ​แพทย์  สปส. กล่าวว่า ที่ประชุม​ได้พิจารณากรอบงบประมาณ​ใน​การดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์ด้าน​การ​แพทย์ตามที่คณะกรรม​การสปส.​ได้​เห็นชอบ​ในหลัก​การ​ไปก่อนหน้านี้ ​ในราย​การต่างๆ ​ได้​แก่ ​การรักษา​โดย​โรค​ไต ​เช่น ผ่าตัด​เปลี่ยน​ไต  ​การ​ให้ยากระตุ้น​เม็ด​เลือด​แดง​แก่​ผู้ป่วย​ไตระยะสุดท้าย ทันตกรรม ​เจ็บป่วยฉุก​เฉินรักษา​ได้​ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ​และยามีค่า​ใช้จ่ายสูง ​ซึ่งตน​ได้​เสนอกรอบงบประมาณดำ​เนิน​การ​ทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 200 ล้านบาท อย่าง​ไร​ก็ตาม ตนคาดว่าน่าจะ​ใช้งบประมาณมากกว่านี้​โดยประมาณ​การว่าน่าจะอยู่ที่ 500-600  ล้านบาท

นพ.สุร​เดช กล่าวอีกว่า ที่ประชุม​ได้​ให้ตน​ไปพิจารณารายละ​เอียด​ใน​เรื่องงบประมาณดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิ์ประ​โยชน์​ในระยะยาว​ให้ชัด​เจน ​โดยยึดหลัก​ให้​ผู้ประกัน​ได้รับสิทธิประ​โยชน์​ใน​การรักษา​โดย​เท่า​เทียมกัน​แล้วนำข้อมูลมานำ​เสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรม​การฯ​ในวันที่ 14 มิถุนายนนี้ ส่วนงบประมาณ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์​เรื่องยาต้าน​ไวรัส ​เอช​ไอวี ​และสิทธิประ​โยชน์​ผู้ป่วยมะ​เร็งอีก 7 ราย​การ ​ซึ่งคาดว่าจะ​ใช้งบประมาณ​ทั้งสิ้น 100  ล้านบาท  ตนจะ​ไปหาข้อมูล​ให้ชัด​เจนอีกครั้ง ​และนำ​เสนอที่ประชุมคณะอนุกรรม​การฯ ​ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้​เช่นกัน

“ขณะนี้กรอบงบประมาณดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์ด้าน​การ​แพทย์​ในราย​การต่างๆยัง​ไม่ชัด​เจนอาจจะลดลง​หรือ​เพิ่มขึ้นจากที่​ได้ประมาณ​การ​เบื้องต้น​ไว้​ก็​ได้ ดังนั้น ผมจะ​ไปดูรายละ​เอียด​เพื่อ​ให้​ได้ข้อสรุปที่ชัด​เจน  ​และ​เสนอต่อคณะอนุกรรม​การฯต่อ​ไป” นพ.สุร​เดช  กล่าว

​แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2554

7356
​กรมอนามัยแจก​แผ่นพับ 1 ​แสนชุด​แนะนำร้านอาหารล้างผักสดอย่างถูกวิธีป้องกัน​เชื้ออี​โค​ไลสายพันธุ์​ใหม่ที่มี​ความรุน​แรงกว่าอหิวาต์สาธารณสุข

กรมอนามัยจัด​ทำ​แผ่นพับ 1 ​แสนชุด ​แนะนำร้านอาหารทั่วประ​เทศ มุ่ง​เน้นอาหาร​เวียดนาม ร้านส้มตำ ​ถึง​การล้างผักสด​ให้ปลอดภัยก่อนนำมาบริ​โภค ป้องกัน​การระบาดของ​เชื้อ​แบคที​เรียอี​โค​ไล ​โอ 104 ชี้รุน​แรงกว่าอหิวาต์

นพ.สุวัช ​เซียศิริวัฒนา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าว​เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนนี้ ​ถึงมาตร​การ​เฝ้าระวัง​การระบาดของ​เชื้อ​แบคที​เรียอี​โค​ไล ชนิด​โอ 104 ว่า ล่าสุด​ได้สั่งพิมพ์คู่มือ "ผักสดปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย" ​เพื่อ​แนะนำ​การ​ทำ​ความสะอาดผัก-ผล​ไม้​ให้ถูกหลักอนามัย จำนวน​ทั้งสิ้น 1 ​แสนฉบับ ​แจกจ่าย​ไปยังสาธารณสุขจังหวัดทั่วประ​เทศนำ​ไป​ทำ​ความ​เข้า​ใจกับร้านอาหาร​ในท้องถิ่นของตน​เอง ​โดย​ให้​เน้น​ไปที่ร้านอาหาร​เวียดนาม​และร้านส้มตำ รวม​ถึงร้านอาหารทั่ว​ไปที่มี​เมนูอาหารรับประทานกับผักสด ต้องล้างผัก​ให้ถูกวิธี​เพื่อป้องกัน​เชื้อ​โรคต่างๆ

รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าวว่า ​การล้างผักที่ถูกวิธี ​ในส่วนของผักที่​เป็น​ใบ ​ผู้บริ​โภคต้องคลี่ผัก​แต่ละ​ใบออกมา ​และ​เปิดน้ำ​ให้​ไหลผ่านผัก​แต่ละ​ใบอย่างน้อย 2 นาที ​หรือ​ใช้น้ำยาล้างผัก​แช่ผักอย่างน้อย 10 นาที ​แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ​จึงจะนำมารับประทาน​ได้อย่างปลอดภัย

"​ความรุน​แรงของ​เชื้อ​แบคที​เรียอี​โค​ไล ​โอ 104 ที่ระบาด​ใน 12 ประ​เทศ​ในยุ​โรป

​เชื่อว่าน่าจะมี​ความรุน​แรงกว่าอหิวาตก​โรคที่พบ​ในประ​เทศ​ไทย ​เพราะ​เชื้อจะ​เข้า​ไป​ทำลาย​เม็ด​เลือด​ทำ​ให้​เกิด​การ​แตกตัว ​และ​ไตวาย​เฉียบพลัน ขณะที่อหิวาตก​โรค​ทำ​ให้ท้อง​เสีย​และสูญ​เสียน้ำ​ในร่างกาย​เท่านั้น ​จึง​ทำ​ให้​การรักษา​ผู้ป่วยติด​เชื้อ​แบคที​เรียอี​โค​ไล ​โอ 104 ​เป็น​ไป​ได้ยาก ​และมี​โอกาส​เสียชีวิตมากกว่า

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา ​เกียรติยิ่งอังศุลี ​ผู้จัดงาน​แผนงานสร้างกล​ไก​เฝ้าระวัง​และพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะ​เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ภาย​ใต้​การสนับสนุนจากสำนักงานกอง ทุนสนับสนุน​การสร้าง​เสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าว​ถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุข​เฝ้าระวัง​เชื้ออี​โค​ไลสายพันธุ์​ใหม่ ​ซึ่งมีฤทธิ์​ทำลายผนังลำ​ไส้ ​และกำลังระบาด​ในประ​เทศ​แถบยุ​โรป ว่า ปัจจุบันประ​เทศ​ไทยประสบปัญหา​เชื้อดื้อยา​ในอัตราสูงมาก ​เกิดจาก​การ​แพร่กระจายยาปฏิชีวนะ​ในชุมชน ​และบุคลากรทางสาธารณสุขจ่ายยาปฏิชีวนะที่มีระดับ​ความ​แรงมากขึ้น​ให้​ผู้ป่วย กรณี​เชื้ออี​โค​ไลสายพันธุ์​ใหม่ระบาดต้องมี​การ​เฝ้าระวังติดตาม ว่า​เชื้อดังกล่าวมีอันตราย​และ​เป็น​เชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ​หรือ​ไม่ ​เพราะคน​ไทยมีพฤติกรรม​การ​ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำ​เพรื่อ ​จึงมี​ความ​เสี่ยงต่อ​เชื้อ​โรคที่จะดื้อยา ​และมีอันตรายต่อ​ผู้ป่วยมากขึ้นจน​เกิด​เป็นซู​เปอร์บั๊กที่​ไม่มียารักษา​ได้

"ขอ​ให้หน่วยงานภาครัฐ​ให้​ความสำคัญกับ​การ​แก้ปัญหา​ในระยะยาวด้วย ต้องบอกข้อ​เท็จจริง​ให้ประชาชนรับรู้​และป้องกันตน​เอง พร้อมมี​แผน​การรับมือทัน​เหตุ​การณ์ มี​แนวทางป้องกัน​เชื้อ​โรคที่มี​ความรุน​แรง​ในระยะยาว รวม​ถึง​การ​แก้ปัญหา​เชื้อดื้อยา ​ซึ่งที่ผ่านมา กพย.​ได้ร่วมมือกับนิสิตนักศึกษา​ในสาขาวิชา​แพทยศาสตร์​และ​เภสัชศาสตร์ จัดกิจกรรมรณรงค์​ให้​ความรู้​แก่ชุมชน​ใน​การ​ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสม​เหตุสมผล" ผศ.ดร.ภญ.นิยดากล่าว

ผศ.ดร.ภญ.นิยดากล่าวว่า ​การตื่นตัว​เฝ้าระวัง​เชื้ออี​โค​ไลสายพันธุ์​ใหม่ดังกล่าว​เป็นสัญญาณที่ดี กระตุ้น​ให้คน​ไทยปรับ​เปลี่ยนพฤติกรรม​การ​ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำ​เพรื่อ​ในปัจจุบันนี้ ​ซึ่งหากมีอา​การลำ​ไส้อัก​เสบ ท้อง​เสีย มีอา​การปวดท้องร่วมด้วย ​ไม่ควรซื้อยามากิน​เอง ​และ​ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย ​เพราะมี​โอกาส​เสี่ยงที่​เชื้อ​โรคจะสะสม​และ​แทรกซึม​เข้าสู่ร่างกาย ควรรีบ​ไปพบ​แพทย์ทันที.

ไทย​โพสต์ -- พุธที่ 8 มิถุนายน 2554

7357
    ที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางแก้ว จ.พัทลุง นายประภาส สิทธิโสภา แกนนำชาวบ้านจาก 6 หมู่บ้าน ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว พร้อมชาวบ้านกว่า จำนวน 200 คนรวมตัวประท้วงคัดค้านคำสั่งย้าย นางกฤติยาณี คงคาวงค์ หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านหาดไข่เต่า ต.นาปะขอ ให้ไปปฏิบัติงานราชการที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางแก้ว โดยกลุ่มชาวบ้านอ้างว่าคำสั่งย้ายดังกล่าวไม่ชอบธรรม โดยบรรยากาศในที่ชุมนุมชาวบ้านได้ใช้หลังรถกระบะเป็นเวทีผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยโจมตีนายบุญชู สาธารณสุขอำเภอบางแก้ว ในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เป็นธรรม
    นางอะสะหนะ แขกพงษ์ อายุ 47 ปี ชาวบ้านหมู่ 1 ต.นาปะขอ กล่าวว่า ที่ผ่านมานางกฤติยาณี หรือ หมอนา เป็นที่รักของชาวบ้านในพื้นที่ ช่วยเหลืองานสังคมของหมู่บ้านอย่างดีมาตลอด 6 ปี จึงมีความผูกพัน ซึ่งเมื่อรู้ข่าวว่าถูกสั่งย้ายโดยไม่ธรรม ชาวบ้านรู้สึกเสียใจ จึงรวมตัวกันมาเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งย้ายดังกล่าว
    ต่อมาแกนนำชาวบ้านได้ส่ง ตัวแทนเข้าเจรจากับนายทรงพล ก้องทอง นายอำเภอบางแก้ว และนายบุญชู คง เรือง สาธารณสุขอำเภอบางแก้ว เพื่อหาข้อยุติ
    นายบุญชู กล่าวถึงสาเหตุที่มีคำสั่งย้ายนางกฤติยาณีว่า สืบเนื่องจากนางกฤติยาณี มีความขัดแย้งในการบริหารงานภายใน หลังจากสถานีอนามัยได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อีกทั้งไม่จ่ายเงินค่าตอบแทนส่วนต่างจากเงินเดือนประจำ ให้กับเจ้าหน้าที่พยาบาลที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน เป็นระยะเวลา 7 เดือน ทำให้เจ้าหน้าที่พยาบาลต้องลาออก ทางสาธารณสุขอำเภอ ได้มีหนังสือตักเตือน และตั้งกรรมการสอบสวนถึงการทำงานของนางกฤติยาณีไปก่อนหน้านี้ จนกระทั้งวันที่ 3 มิ.ย. 2554 ได้มีคำสั่งให้ นางกฤตินาณา คงคาวงศ์ ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ สนง.สาธารณสุขอำเภอบางแก้ว เพื่อความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราชการ
    อย่างไรก็ตามผลเจรจา ได้มีมติให้ยกเลิกคำสั่งย้าย แต่นางกฤติยาณี จะต้องทำบันทึกร่วมกับสาธารณสุขอำเภอว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามระบบของทางราชการ หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องย้ายออกจากพื้นที่โดยทันที่ สร้างความพอใจให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมจึงได้แยกย้ายกันกลับ

เนชั่นทันข่าว 7 มิย. 2554

7358

Living will
                                            หนังสือแสดงเจตนาตาย
                          ประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาให้ถ้วนถี่

                                   
นพ. วิสุทธิ์  ลัจฉเสวี
วท.บ. พบ. นบ.(เกียรตินิยมอันดับ2)
วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์
ประกาศนียบัตรวิชาว่าความ สภาทนายความ
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา


Living Will(ข้อกฏหมาย)

1)การออกกฏกระทรวงฉบับนี้เกินขอบเขตอำนาจที่พรบ.สุขภาพแห่งชาติมาตรา๑๒บัญญัติไว้หรือไม่(ดูประกอบข้อ 9   )

2)ขั้นตอนการออกกฏกระทรวงฉบับนี้ถูกต้องตามขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญหรือไม่ เช่นการทำประชาพิจารณ์หรือการรับฟังผู้มีส่วนได้เสียในหมู่ภาคีวิชาชีพสาธารณสุข

3)การกล่าวอ้างรัฐธรรมนูญปี๒๕๕๐ มาตรา ๔ ,๒๘,๓๒.มาเป็นฐานในการออกกม.โดยอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีการบัญญัติไว้เช่นนั้นจริงหรือไม่ หรือเป็นการกล่าวอ้างที่เกินกว่าที่ รธน.บัญญัติไว้ นอกจากนี้ รธน.มาตรา ๒๘ยังกล่าวว่าการอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทำได้เท่าที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนเท่านั้น

4)การทำหนังสือแสดงเจตนาฯเช่นนี้ถือเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๖ซึ่งถือว่าการแสดงเจตนาเช่นนั้นเป็นโมฆะ เพราะโดยหลักแล้วไม่มีใครสามารถรู้ล่วงหน้าว่าตัวเองจะเสียชีวิตในลักษณะใด จากสาเหตุใด ณ.สถานที่ใด และก่อนเสียชีวิตนั้นต้องได้รับการดูแลรักษาด้วยวิธีใด ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดใดบ้าง จะได้รับความทุกข์ทรมาณเพียงใดหรือไม่และผลการรักษาสุดท้ายจะเป็นเช่นไร ดังนั้นการแสดงเจตนาล่วงหน้าที่จะปฏิเสธวิธีการรักษาแบบนั้นแบบนี้ การปฏิเสธที่จะไม่ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์แบบนั้นแบบนี้จึงไม่ได้อยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริงหรือเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงซึ่งอาจเกิดความเสียหายได้ จึงเกิดปัญหาความชอบด้วยกฏหมายของการแสดงเจตนาฯนี้

5)การทำหนังสือแสดงเจตนาฯตายตามกฏหมายและกฏกระทรวงข้อนี้ไม่ได้ต่างอะไรกับการกระทำที่เรียกว่าการุณยฆาตหรือที่รู้จักกันดีในชื่อMercy Killing แม้จะมีความพยายามออกตัวไว้ในคำแนะนำเบื้องต้นว่าไม่ใช่ เพราะคำว่า “การกระทำ”มีความหมายรวมถึง “การงดเว้นการกระทำ”ด้วยตามความในประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา๕๙วรรค๕ที่กล่าวว่า “...................การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย”ดังนั้นการที่ปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงโดยงดเว้นไม่ให้การรักษาหรือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์บางอย่างเพื่อช่วยชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพก็มีค่าเท่ากับการกระทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยผู้ที่งดเว้นนั่นเอง

6)พรบ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา๑๒และกฏกระทรวงฉบับนี้ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ ขัดต่อหลักกฏหมายจารีตประเพณี เจตนคติ ความรักความผูกพันความห่วงหาอาทรระหว่างกันในสถาบันครอบครัวของไทยหรือไม่

7)ความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา๒๘๘(ฆ่าผู้อื่น),๒๘๙(๔)(ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน),๒๙๑(ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นตาย),๓๐๗(ทอดทิ้งผู้ป่วยเจ็บเกิดอันตรายต่อชีวิต),๓๐๘(บทเพิ่มโทษ),๓๗๔(ช่วยได้แต่ไม่ช่วยผู้ตกในอันตรายต่อชีวิต).ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์.มาตรา๔๒๐.(ละเมิดถึงแก่ชีวิต)ได้รับการยกเว้นโดยกม.ฉบับนี้ได้ทั้งหมดหรือไม่ กรณีแพทย์ปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาฯของผู้ป่วย และตามหลักศักดิ์ของกฏหมาย(Hierarchy) กม.ฉบับนี้สามารถยกเว้นความรับผิดตามประมวลกฏหมายอาญาและประมวลกฏหมายแพ่งฯดังที่กล่าวข้างต้นได้ทั้งหมดจริงหรือไม่?

8)ปัญหาเรื่องการประกันชีวิต การตายแบบนี้ถือเป็นการตายโดยผิดธรรมชาติหรือไม่ ต้องมีการชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา๑๔๘หรือไม่ ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา ปัญหามรดก ปัญหาการพิจารณาตามม.๔๑ พรบ.หลักประกันสุขภาพฯ ปัญหาการวินิจฉัยกรณีเป็นผู้บริจาคอวัยวะกับสภากาชาดไทยซึ่งอาจเป็นอุปสรรคได้  ปัญหานิติกรรมสัญญาต่างๆ   ฯลฯ 

9)ตามมาตรา๘ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พศ.๒๕๕๐ “............และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้.............”
                   ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้

(๑)   ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตและมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
(๒)   ..........................

ดังนั้นการที่จะปฏิเสธการรักษาใดๆจะต้องไม่ใช่กรณีที่อยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
มาตรา๑๒ “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข..........
                    การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฏกระทรวง
                    เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง
ตีความได้ว่ากฏหมายให้สิทธิบุคคลในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข..........ซึ่งถือเป็นการแสดงเจตนาหรือคำเสนอในการจะขอทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่กฏหมายไม่ใด้กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องรับคำเสนอหรือให้คำสนองนั้นเพื่อก่อเกิดเป็นสัญญา และไม่สามารถบังคับให้ กระทำเช่นนั้นได้เพราะจะขัดกับหลัก “เสรีภาพในการทำสัญญา(Freedom of Contract)ดังนั้นการออกกฏกระทรวงตามกฎหมายแม่บทมาตรา๑๒นี้จึงต้องไม่มีเนื้อหาในการจำกัดสิทธิในรูปแบบหนึ่งแบบใดของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข

        แต่พบว่าในกฏกระทรวงฉบับนี้มีข้อความที่ไปจำกัดสิทธิของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเป็นจำนวนมากเป็นการแทรกแซงขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายโดยที่กฏหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ จึงอาจถือได้ว่าเป็นการออกกฏโดยนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฏหมาย

10)สภาพบังคับของกฏหมาย กฏหมายนี้ไม่มีสภาพบังคับทั้งผู้ป่วยที่แสดงเจตนาและผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข สามารถใช้วิจารณญานตัดสินใจได้ว่าจะสนองตอบข้อเสนอของผู้ป่วยหรือไม่ก็ได้และอาจมีการชี้แจงแลกเปลี่ยนความเห็นกับฝ่ายญาติรวมทั้งอาจมีการพิจารณาเปลี่ยนตัวผู้ให้การดูแลรักษาด้วย

11)ประเด็นกฏกระทรวงข้อ๔ “หนังสือแสดงเจตนาจะทำ ณ สถานที่ใดก็ได้ “ ควรแก้เป็น “การจัดทำ การยกเลิก เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขหนังสือแสดงเจตนาฯต้องทำเป็นหนังสือ ลงวันที่ เดือน ปี และลายมือชื่อผู้จัดทำพร้อมพยานอย่างน้อยสองคนและจดทะเบียน ณ สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ”

12)ถ้าการออกกฏกระทรวงฉบับนี้กระทำไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรูปแบบขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญ หรือออกนอกเหนือจากที่กฏหมายแม่บทกำหนด หรือขัดต่อรัฐธรรมนูญพศ.๒๕๕๐มาตรา๕๑,๘๐(๒)เรื่องสิทธิการได้รับบริการสาธารณสุขอย่างเสมอภาค ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพหรือขัดต่อประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๖ เรื่องการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของนิติกรรม หรือขัดต่อพรบ.วิชาชีพเวชกรรม พศ. ๒๕๒๕หรือขัดต่อมาตรฐานและจริยธรรมในการรักษาผู้ป่วยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน      ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรือคาดว่าจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงมิได้สามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้เพิกถอนกฏกระทรวงฉบับนี้ได้ตามพรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพศ.๒๕๔๒ มาตรา๑๑(๒)
.................................

7359
“สารี” ร้อง สร้างระบบการส่งต่อให้มีมาตรฐาน แนะ รัฐอย่าสร้างนโยบายที่ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำของระบบบริการ
   
  จากกรณีที่มีการเสนอข่าวเรื่องการร้องเรียนจากผู้ป่วย ว่า ได้เข้าฝากครรภ์กับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งย่านประชานุกูล โดยตั้งครรภ์ลูกแฝด ซึ่งเมื่ออายุครรภ์ครบ 8 เดือน ผู้ป่วยมีอาการน้ำเดินจะคลอด จึงได้เดินทางมายัง รพ.ดังกล่าว แต่ทาง รพ.แจ้งว่า เครื่องช่วยหายใจไม่พอ และให้ไปคลอดที่รพ.อื่นแทน โดยไม่ได้ประสานหรือจัดรถพยาบาลนำส่งตัวให้นั้น
   
  ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ปัจจุบันได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้สิทธิ โดยเฉพาะในเรื่องการส่งต่อจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันระบบการส่งต่อสร้างปัญหาให้แก่ผู้รับบริการ เช่น ทำให้ไม่สามารถส่งต่อได้โดยอ้างว่าเตียงเต็ม ทำให้ผู้ป่วยต้องหาโรงพยาบาลเอง โดยที่โรงพยาบาลเดิมไม่ประสานให้ หรือไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เช่น สิทธิประกันสังคม ที่บางกรณีผู้ป่วยต้องสำรองจ่ายก่อน และไม่รู้ว่าจะสามารถเบิกได้ สะท้อนถึงระบบการส่งต่อที่ไร้ประสิทธิภาพ โดยส่วนตัวมองว่า ปัญหาโรงพยาบาลปฏิเสธผู้ป่วย โดยให้เหตุผลว่าเตียงเต็ม โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีมากขึ้น ควรต้องมีการตรวจสอบว่าเต็มจริงหรือไม่ แต่ควรมีระบบการจัดการในการประสานงานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบริการ ได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐาน อย่างเท่าเทียมกัน
   
  น.ส.สารี กล่าวว่า การที่กรมบัญชีกลาง กำหนดสิทธิการเบิกจ่ายของข้าราชการ ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ 40 โรค 77 หัตถการ อาจทำให้โรงพยาบาลเอกชน เพิกเฉยผู้ประกันตนสิทธิอื่น โดยเฉพาะบัตรทอง ซึ่งในต่างประเทศ มีการกำหนด ให้โรงพยาบาลเอกชน ต้องรับภาระดูแลผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยคิดเป็นสัดส่วน 10% ซึ่งนโยบายจากกรมบัญชีกลาง ต้องไม่สร้างมาตรฐานที่เหลื่อมล้ำให้กับระบบการบริการสุขภาพ ซึ่งในระยะยาวจะสร้างปัญหาให้กับโรงพยาบาลรัฐในที่สุด ทั้งนี้ หากผู้ป่วยได้รับการปฏิเสธการรักษาและรู้สึกว่าทำให้เกิดความเสียหาย สามารถร้องเรียนตามสิทธิได้
   
  น.ส.สารี กล่าวต่อว่า พรรคการเมืองควรมีความชัดเจนในส่วนของ ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ..... ที่ยังไม่ผ่านขั้นตอนทางกฎหมาย เพื่อแสดงความจริงใจ สิ่งสำคัญที่สุดในระบบบริการสาธารณสุข เพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรม มาตรฐานที่เท่าเทียมกันของประชาชน

ASTVผู้จัดการออนไลน์  7 มิถุนายน 2554

7360
สมาคมนักข่าวฯ * น่าทึ่ง! น​โยบายสาธารณสุข 2 พรรค​ใหญ่​ทำอย่าง​ไร​ก็​ได้​ไม่​ให้​เหมือน ​เพื่อ​ไทยมามุก​ใหม่ ล้มระบบหลักประกันสุขภาพของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ​ให้กลับมาจ่าย 30 บาท​เหมือน​เดิม ด้วย​เหตุผล​ไม่จ่าย​เลยมีคน​ใช้บริ​การ​เยอะ​ไป ​เตรียมรื้อระบบประกันสังคมมา​ใช้ของฟรี​แทน

เมื่อ​เวลา 11.00 น. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์​แห่งประ​เทศ​ไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชน​แห่งประ ​เทศ​ไทย ​ได้จัดงานราชดำ​เนิน​เสวนา ครั้งที่ 7/2554 ​ในหัวข้อ น​โยบายด้านสาธารณสุข : ข้อ​เสนอต่อพรรค​การ​เมือง ​โดยมี นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีต รมช.สาธารณสุข พรรค​เพื่อ​ไทย ​และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่า​การกระทรวงสาธารณ สุข มาร่วม​เสวนา

นายวิชาญกล่าวว่า พรรค​เพื่อ​ไทยจะรื้อฟื้นน​โย บาย 30 บาทรักษาทุก​โรค กลับมาอีกครั้ง ​เพราะ​เห็นว่า​เป็นน​โยบายที่ประสบผลสำ​เร็จมา​แล้ว ​แต่ตั้ง​แต่มี​การยก​เลิก​เ​ก็บ​เงิน 30 บาท ​ทำ​ให้​ผู้ป่วย​เข้า​ไป​ใช้สิทธิรักษาพยาบาลมากขึ้น ​ซึ่งจะกระทบต่อคุณภาพบริ​การ จากสถิติพบว่า ขณะ​เ​ก็บ​เงิน 30 บาท มี​ผู้​ใช้บริ​การประมาณ 140 ล้านครั้งต่อปี ขณะที่​เมื่อยก​เลิก​การ​เ​ก็บ​เงิน​แล้วมี​ผู้​ใช้บริ​การ​ถึง 200 ล้านครั้งต่อปี ​ทั้งนี้พรรค​เพื่อ​ไทย​จึงจะรื้อฟื้นน​โยบาย 30 บาทรักษาทุก​โรคกลับมาอีกครั้ง

"น​โยบาย​เดิมพรรค​เพื่อ​ไทย​ทำ​ไว้ดี​แล้ว ​แต่​เมื่อพรรคประชาธิปัตย์มารับ​ไม้​ไป ถามว่าประชาชนพอ​ใจ​หรือ​ไม่ ​การ​ไม่​เ​ก็บ​เงิน 30 บาท ​ทำ​ให้​ผู้ป่วยมี​ความรู้สึกว่า​เป็นบัตรอนาถา" นายวิชาญกล่าว

ขณะที่นายจุรินทร์กล่าวว่า ​การ​ไม่​เ​ก็บ​เงินจะ​เป็นประ​โยชน์กับประชาชนมากกว่า ​และ​การ​เ​ก็บ​เงิน​ก็​เป็นระบบที่ซับซ้อนยุ่งยาก รวม​ถึง​ได้​เงิน​ไม่มากนัก ที่สำคัญหากย้อนกลับ​ไป​เ​ก็บ 30 บาทจะถือว่าล้าหลังลง ​เพราะขณะนี้สังคม​เดินมา​ถึง​การรักษาฟรี​แล้ว ​จึงจะ​เดินหน้า​เรื่อง​การ​ให้บัตรประชาชน​ใบ​เดียว​ใน​การรักษาพยาบาลฟรี ​และยืนยันด้วยว่าสามารถดำ​เนิน​การ​ได้​โดย​ไม่ต้องรอ​ให้มีบัตรประชาชน​แบบสมาร์ท​การ์ดก่อน ส่วนประ​เด็น พ.ร.บ.คุ้มครอง​ผู้​เสียหายฯ พรรคประชาธิปัตย์จะ​เดินหน้า​เช่นกัน ​โดยขอ​เรียกว่า พ.ร.บ.สร้าง​ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง​ผู้ป่วย ​แพทย์ ​และบุคลากรสาธารณสุข

​ทั้งนี้นายวิชาญยังกล่าว​ถึงระบบประกันสังคมว่า ปัจจุบัน​เกิดข้อ​เรียกร้องจาก​ผู้ประกันตนบางส่วนว่า ​ไม่ต้อง​การจะจ่าย​เงินสมทบค่ารักษาพยาบาล​และอยากย้าย​ไป​ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ​แม้กฎหมายจะบังคับ​ให้​แรงงาน​ในระบบ​เป็น​ผู้ประกันตนอยู่​ในระบบประกันสังคม ​แต่พรรค​เพื่อ​ไทยยืนยันว่าสามารถ​ทำ​ได้ สำหรับ​ผู้ประกันตนที่ยังอยู่​ในระบบประกันสังคม​เดิม​ซึ่งยังคงต้องจ่าย​เงินสมทบ​ก็จะ​ได้รับสิทธิประ​โยชน์พิ​เศษ​เพิ่มมากขึ้น ​โดยขณะนี้พรรค​เพื่อ​ไทยกำลังหา​แนวทาง​เพื่อคืนภาษีสิ้นปี​แก่​ผู้ประกันตนที่ดู​แลสุขภาพดี ​ไม่​เคย​ใช้บริ​การรักษาพยาบาลนอก​เหนือจาก​การตรวจสุขภาพ.

ไทย​โพสต์ -- อังคารที่ 7 มิถุนายน 2554

7361
นาย​แพทย์​เรวัต วิศรุต​เวช อธิบดีกรม​การ​แพทย์ กล่าวว่าสถาบันสุขภาพ​เด็ก​แห่งชาติมหาราชินี กรม​การ​แพทย์ ​เป็นสถาบัน​เฉพาะทางด้าน​เด็ก ​ให้บริ​การ​ผู้ป่วยระดับตติยภูมิ อายุ​แรก​เกิด-18 ปี ​และ​ผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจาก​โรงพยาบาลทุก​แห่งทั่วประ​เทศ ​ใน​แต่ละปีมี​ผู้ป่วย​เด็กมารับบริ​การ ที่​แผนก​ผู้ป่วยนอกประมาณ 350,000 ราย ​ผู้ป่วย​ในปีละประมาณ 15,000 ราย สถาบันสุขภาพ​เด็กฯ ​ได้มุ่งพัฒนางาน​การ​ให้บริ​การทาง​การ​แพทย์​แบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ​และมาตรฐานสากล ตลอดจนพัฒนางานด้านต่าง ๆ สู่​ความ​เป็น​เลิศอย่างต่อ​เนื่อง ​โดยมีน​โยบายพัฒนา​การ​ให้บริ​การของสถาบันฯ สู่​โรงพยาบาลที่​เป็นมิตรกับ​เด็ก(Children Friendly Hospital) ด้วย​การนำ​แนวคิดจาก​โครง​การศูนย์​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศ​เพื่อ​เด็กป่วย​ใน​โรงพยาบาล ตามพระราชดำริสม​เด็จพระ​เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ​เป็นต้น​แบบ จัด​ให้มีระบบ​การบริหารจัด​การ ​การประสานงาน ​การ​แลก​เปลี่ยน​เรียนรู้ร่วมกับภาคี​เครือข่ายสุขภาพ ​การศึกษาวิจัยรวม​ทั้งจัดกิจกรรม/​โครง​การต่าง ๆ อย่าง​เป็นรูปธรรม อาทิ ​โครง​การจิตอาสา ​โครง​การห้องสมุด​เคลื่อนที่ (รถ​เข็นนิทาน) ​โครง​การบัน​ได​เล่า​เรื่อง​และ​เพดานพาฝัน ​โครง​การ​เตียงสายสัมพันธ์​แม่ลูก ​โครง​การ​เครื่องช่วยพยุงฝึก​เดินสำหรับ​ผู้ป่วย​เด็ก ​และ​โครง​การบ้านพักพิงสำหรับครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็ก ​เป็นต้น ​เพื่อ​ใช้สำหรับ​เป็นข้อมูล​เชิงน​โยบาย​และ​เป็น​แนวทางปฏิบัติ​ใน​การ​ให้​การดู​แลรักษา​เด็ก​ในระดับประ​เทศ

“​โครง​การบ้านพักพิงสำหรับครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็ก” ​เป็นหนึ่ง​ใน​โครง​การดังกล่าว ​โดยมีวัตถุประสงค์​เพื่อ​ให้บริ​การบ้านพักชั่วคราว​แก่ครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็กที่ยาก​ไร้ ​ให้มีที่พักที่​ได้มาตรฐาน​โดย​ไม่​เสียค่า​ใช้จ่าย ​เนื่องจาก​ผู้ป่วย​เด็กที่อยู่​ในกระบวน​การรักษาอย่างต่อ​เนื่องต้องอยู่ห่าง​ไกลครอบครัว ​เข้ามาสู่สิ่ง​แวดล้อม​ใหม่ที่​ไม่คุ้น​เคย ​โดย​เฉพาะ​เด็กทารก สถาบันสุขภาพ​เด็กฯ ​ได้ตระหนัก​ถึงปัญหาต่าง ๆที่อาจ​เกิดขึ้นกับ​ผู้ป่วย​เด็กที่นอนรักษาตัว​ใน​โรงพยาบาล ​เนื่องจาก​ผู้ป่วย​เด็กควร​ได้รับ​การดู​แล​ในทุกมิติ ​ทั้งร่างกาย จิต​ใจ ​การ​เรียนรู้​และ​การส่ง​เสริมพัฒนา​การอย่างต่อ​เนื่อง ​จึงขอรับ​การสนับสนุนงบประมาณ​การก่อสร้างรวม​ทั้งค่า​ใช้จ่าย​ใน​การบริหารจัด​การจากมูลนิธิ​โรนัลด์ ​แมค​โดนัลด์ ​เฮาส์ สร้างบ้านพักพิง​โรนัลด์ ​แมค​โดนัลด์ ​เฮาส์ สำหรับครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็ก​ใน​โรงพยาบาล บริ​เวณชั้น 6 ตึกมหิตลาธิ​เบศร สถาบันสุขภาพ​เด็ก​แห่งชาติมหาราชินี ลักษณะ​เป็นห้องนอน​เดี่ยว 2 ห้อง ห้องนอนรวม ​แยกชาย 3 ​เตียง หญิง 15 ​เตียง พร้อมสิ่งอำนวย​ความสะดวก บรรยากาศอบอุ่น ผ่อนคลาย ปลอดภัย มี​เจ้าหน้าที่ประจำบ้าน 4 คน ​ให้คำ​แนะนำ​และอำนวย​ความสะดวก ครอบครัว​ผู้ป่วยสามารถ​ใช้บริ​การต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดลำดับ ดังนี้ 1.​ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่​ได้​ไม่​เกิน 24 ชั่ว​โมง 2.​ผู้ป่วยหนัก​ในห้อง ICU 3.​ผู้ป่วย​ในIPD 4. ​ผู้ป่วยนอก OPD ​ทั้งนี้ บ้านดังกล่าว​เป็นบ้านหลัง​แรกของภาคพื้น​เอ​เชีย ​แปซิฟิก ตะวันออกกลาง​และ​แอฟริกา​ใต้​และ​เป็นหลังที่ 10 ของ​โลก

“​โครง​การบ้านพักพิงสำหรับครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็ก” ​เป็น​โครง​การที่​เติม​เต็ม​ความสุข​ใน​การมอบ​โอกาส​ให้พ่อ​แม่ลูก​ได้อยู่ร่วมกัน​ในภาวะวิกฤต ก่อ​ให้​เกิดวัฒนธรรม​การดู​แล​ผู้ป่วย​เด็ก​แบบองค์รวม ด้วยหัว​ใจของ​ความ​เป็นมนุษย์ (Humanized Care) อย่าง​แท้จริง คาดว่าหลัง​การ​เปิด​ให้บริ​การสามารถ​ให้​ความช่วย​เหลือครอบครัว​ผู้ป่วย​เด็ก​ได้กว่า 4,000 ครอบครัวต่อปี ​โดยกรม​การ​แพทย์จะผลักดัน​โครง​การนี้​ให้​เป็นต้น​แบบ​การ​ให้บริ​การที่​ใช้หลักคำนึง​ถึง​การ​เยียวยาจิต​ใจ​ทั้ง​ผู้ป่วย​และครอบครัวทุก​โรงพยาบาล​ในประ​เทศต่อ​ไป

ryt9.com 6 มิย 2554

7362
 อย.ยันการขึ้นทะเบียนตำรับยาเอดส์ล่าช้า ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แจงอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอ แต่เอกสารที่ยื่นยังไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของยา อย.จึงยังไม่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
       
       นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย และ NGO ได้ให้ข่าวทางหนังสือพิมพ์กรณีการขึ้นทะเบียนยารักษา โรคเอดส์ 3 ชนิด ได้แก่ ยาเอฟฟาไวเร้น (Efavirenz) ยาทีโนโฟเวียร์ (Tenofovir) และยาจีพีโอเวียร์ เอส 7 (GPO vir-S7) โดยอ้างว่า การขึ้นทะเบียนตำรับยาดังกล่าวล่าช้านั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า การขึ้นทะเบียนตำรับยา ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นคำขอขึ้นทะเบียนต่อ อย.พร้อมเอกสารวิชาการหากเอกสารครบถ้วนแล้ว คำขอจึงจะได้รับการประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย จากผู้เชี่ยวชาญหรืออนุกรรมการจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากผลการพิจารณาพบว่า ยาที่มาขอขึ้นทะเบียนตำรับยา กับ อย. เป็นยาที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคตามข้อบ่งใช้ อย.จึงจะรับขึ้นทะเบียนตำรับยา และออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา
       
       สำหรับยาเอฟฟาไวเรนซ์ ยาทีโนโฟเวียร์ จัดเป็นยาสามัญ แต่ยาจีพีโอเวียร์ เอส 7 จัดเป็นยาใหม่ ซึ่งยาทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นยาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ อย.จึงจัดให้มีช่องทางเร่งด่วนสำหรับการขึ้นทะเบียน ซึ่งหากเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง สามารถบ่งชี้ถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ระยะเวลาในการดำเนินการขึ้นทะเบียนตำรับยาจะมีกำหนดเวลา ประมาณ 80 วัน สำหรับยาสามัญ และประมาณ 180 วันสำหรับยาใหม่
       
       ส่วนข้อสงสัยกรณีบุคคลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีผลประโยชน์ทับซ้อนส่งผลให้การขึ้นทะเบียนล่าช้านั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคำขอจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในตำรับยานั้น นอกจากนี้ ประเด็นการเปิดเผยรายชื่อยาที่อยู่ระหว่างการยื่นขอจดทะเบียน และขั้นตอนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของยาชื่อสามัญต่อสาธารณชน อย.ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นความลับทางกฎหมาย หากมีข้อสงสัย อย.ยินดีชี้แจงเป็นรายกรณี
       
       นพ.พงศ์พันธ์ กล่าวว่า อย.ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นลำดับแรก และไม่ได้นิ่งนอนใจต่อการเข้าถึงยา และการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ ขอให้ผู้บริโภคไว้วางใจการดำเนินงานของ อย.โดยยาทั้ง 3 ชนิด เป็นยาที่องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน แต่ อย.ยังไม่สามารถอนุมัติทะเบียนตำรับยาได้ เนื่องจากตำรับยาเอฟฟาไวเรนซ์ และ ยาทีโนโฟเวียร์ ยังขาดข้อมูลการศึกษาชีวสมมูล ซึ่งเป็นข้อมูลจำเป็น ในการยืนยันประสิทธิผลในการรักษาและความปลอดภัยเทียบเท่ายาต้นแบบ สำหรับยาจีพีโอเวียร์ เอส 7 ยังมีประเด็นการศึกษาระดับของตัวยาสำคัญในเลือด เมื่อเทียบกับยาต้นแบบแล้วยังแตกต่างกันอยู่ ซึ่งอาจเป็นปัญหา เรื่องความปลอดภัยของสูตรตำรับ ทั้งนี้ หาก อย.ได้รับเอกสารยืนยันคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย จึงจะอนุญาตการขึ้นทะเบียนตำรับยาให้ได้ สำหรับในเรื่องนี้ อย.ได้ชี้แจงเหตุผลและรายละเอียดให้มูลนิธิคุ้มครองสิทธิ ด้านเอดส์ทราบแล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีความคืบหน้า อย.จะแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 มิถุนายน 2554

7363
จะแก้ปัญหาสาธารณสุขอย่างไร?

  ปัญหาในระบบสาธารณสุข มีปัญหาสำคัญที่สมควรจะได้รับการแก้ไขด่วนอยู่ 2 ปัญหาคือ
1.กระทรวงสาธารณสุขขาดเอกภาพในการทำงาน
2.ระบบประกันสุขภาพที่ไม่เป็นเอกภาพและไม่ได้มาตรฐาน

จะได้กล่าวถึงรายละเอียดและการแก้ปัญหาใหญ่ทั้ง 2 ปัญหาดังต่อไปนี้
1.กระทรวงสาธารณสุขขาดเอกภาพในการทำงาน
1.1 กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถของบประมาณ วางแผนงานได้เอง
เนื่องจากงบประมาณต้องคอยรับจากสปสช. และสปสช.จะกำหนดโครงการต่างๆอีก ทำให้กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถบริหารจัดการด้านการเงินและการทำงานได้
การแก้ไข ต้องรวมสช. สปสช. สสส. สรพ. และอื่นๆ เข้ามาเป็นหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงระบบการจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว
ต้องแก้ไขการจัดสรรงบประมาณดังนี้
 1.1.1 งบประมาณสำหรับดำเนินการก่อสร้าง พัฒนา ซ่อมแซม และจัดหาอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี
 1.1.2 งบประมาณสำหรับเงินเดือน ค่าตอบแทน การทำงานปกติ และงานนอกเวลาราชการของบุคลากรทุกระดับ
 1.1.3 งบประมาณสำหรับวัสดุ ครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ ของแต่ละหน่วยงาน
 1.1.4 งบประมาณสำหรับการดำเนินงานในแต่ละแผนงานของแต่ละกรมกอง หรือหน่วยงาน
1.2 กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถจัดสรรอัตรากำลังและเงินค่าตอบแทนได้เอง
   เนื่องจากต้องอาศัยก.พ.เป็นผู้กำหนดตำแหน่งและอัตรากำลัง และ “ไม่เพิ่มอัตรากำลัง” ทั้งๆที่ภาระงานในการดูแลรักษาประชาชนที่มีจำนวนมากขึ้น เจ็บป่วยมากขึ้น มีสิทธิรับการรักษามากขึ้น ในขณะที่บุคลากรลาอออกมากขึ้น
การแก้ไข ต้องแยกการบริหารบุคคลของกระทรวงสาธารณสุขออกจากก.พ.เพื่อจัดอัตรากำลังให้เหมาะกับภาระงาน และแก้ไขอัตราค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับความรับผิดชอบในการทำงานที่มีคุณภาพสูง (คือรับผิดชอบชีวิต)  เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรยังคงทำงานเพื่อประชาชนอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข ตามรายละเอียดดังนี้คือ
1.2.1 การจัดอัตรากำลังและค่าตอบแทน โดยการจัดสรรอัตรากำลังตามภาระงาน และตามกลุ่มความเชี่ยวชาญ เพื่อให้มีแพทย์หมุนเวียนช่วยกันทำงานในสาขาเดียวกันได้
1.2.2 การจัดสรรอัตรากำลังของพยาบาลให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรับภาระให้การพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีมาตรฐาน
1.2.3 การจัดสรรอัตรากำลังของบุคลากรทั้งสายวิชาชีพและกลุ่มสนับสนุนบริการ ให้เหมาะสมตามภาระงานที่แท้จริง ไม่ใช่ขาดแคลนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
1.3  กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุขได้เอง ทั้งนี้เนื่องจากโรงพยาบาลขาดเงินงบประมาณ ทำให้ขาดแคลน เตียง อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ และขาดแคลนบุคลากรด้วย
การแก้ไข 1.3.1 จัดระบบการบริการสาธารณสุขใหม่  เพิ่มมาตรการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันอุบัติเหตุและความเจ็บป่วย และจัดระเบียบการบริการตามลำดับจาก บริการปฐมภูมิ ไปยังทุติยภูมิและ ตติยภูมิ โดยจัดระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ
ให้สำนักงานรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (สรพ.).เป็นหน่วยหนึ่งในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลอย่างแท้จริง มิใช่ผักชีโรยหน้าอย่างปัจจุบัน
1.3.2 พัฒนาระบบคุณภาพมาตรฐานสาธารณสุข โดยการจัดมาตรฐานระดับการบริการระหว่างโรงพยาบาลดังนี้คือ
  -ให้โรงพยาบาลชุมชน เป็นโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิ ให้มีแพทย์ประจำอย่างน้อย 3 คน จะได้อยู่เวรกลางคืน 1 เว้น 2 วัน ในขณะที่ต้องทำงานกลางวันด้วย และจัดให้มีรถพยาบาลเพื่อส่งผู้ป่วยต่อระหว่างโรงพยาบาล
-ให้โรงพยาบาลทั่วไป มีแพทย์ประจำโรงพยาบาลทุกกลุ่มเชี่ยวชาญอย่างน้อยกลุ่มละ 3 คน จัดให้มีรถพยาบาลประจำแต่ละโรงพยาบาล เพื่อให้การขนส่งผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลรวดเร็วและปลอดภัย
-โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ไม่ควรเรียกห้วนๆว่าโรงพยาบาลศูนย์ ทำให้ลืมความหมายที่แท้จริงของโรงพยาบาลระดับนี้ ที่ต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพเฉพาะ ที่เรียกว่า “อภิสาขา” ไม่ใช่ “อนุสาขา” เนื่องจากเป็นสาขาที่ “ต่อยอดจากสาขาทั่วไป”  และต้องจัดสรรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในอภิสาขานั้นๆ สาขาละอย่างน้อย 3 คน เพื่อผลัดเปลี่ยนกันรับภาระงานกลางคืนได้ (อยู่เวร 1 คืนเว้น 2 คืน โดยที่กลางวันก็ต้องทำงานด้วย)
 - การกำกับมาตรฐานการบริการทางการแพทย์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งภาครัฐและเอกชน โรงพยาบาลควรมีแพทย์ประจำทำงาน ไม่ใช่เรียกว่าเป็นโรงพยาบาล แต่ไม่มีบุคลากรที่จำเป็น และขาดอุปกรณ์การแพทย์ที่เหมาะสม ดังที่เป็นอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลตำบลในขณะนี้
1.4. ประชาชนเจ็บป่วยมากขึ้นและใช้บริการการรักษาพยาบาลมากขึ้น เนื่องจากประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในเรื่องสุขภาพของตนเองและครอบครัว
การแก้ไข ส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการสร้างสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วย เพื่อลดอัตราการป่วย และกำหนดให้ประชาชนทั่วไปต้องร่วมจ่ายเงินในการไปรับการรักษาพยาบาลด้วย ยกเว้นผู้พิการ ยากจน ทหารผ่านศึก และเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของการรักษา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพให้เป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ
1.5.กระทรวงสาธารณสุขยังขาดงบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  การแก้ไข  จัดงบประมาณและกิจกรรมเพื่องานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค  โดยฟื้นฟูงานสุขศึกษาเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พัฒนาอสม.ให้มีความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และส่งเสริมการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับเด็กและประชาชนทั่วไป เป็นการให้ฟรี เพราะการให้วัคซีน เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรค มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าค่ารักษาโรคแน่นอน เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
2. ปัญหาระบบการประกันสุขภาพที่ไม่มีเอกภาพ และไม่มีมาตรฐาน ปัจจุบันในประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบคือ
2.1 ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 หรือเรียกว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นระบบที่อวดอ้างว่าเป็น “การประกันสุขภาพถ้วนหน้า” แต่ที่จริงแล้ว ให้การประกันสุขภาพแก่ประชาชนเพียง 48 ล้านคน ในจำนวนประชาชนไทยทั้งสิ้น 65 ล้านคน และอวดอ้างว่ารักษาทุกโรค แต่สปสช.ก็ยังโฆษณาว่า “เพิ่มสิทธิประโยชน์” ในการรักษาโรคบางอย่างเพิ่มขึ้นทุกปี แสดงว่า ไม่ได้รักษา “ทุกโรค” ดังที่กล่าวอ้าง
2.2 ระบบประกันสังคม ให้การประกันสุขภาพในแบบที่ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อจะได้รับการรักษาเมื่อเจ็บป่วย แต่ไม่ครอบคลุมทุกโรค
2.3 ระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลแก่ข้าราชการและครอบครัว เป็นการให้บริการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย โดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน จ่ายค่ารักษาแทนข้าราชการ ในขณะที่ข้าราชการก็มีส่วน “จ่ายเงิน” ร่วมจากการได้รับเงินเดือนต่ำกว่าภาคเอกชน (ถูกลดค่าจ้าง)
นอกจากนั้นก็อาจจะมีการประกันโดยความสมัครใจในภาคเอกชนอีกบางส่วน
  ซึ่งการประกันสุขภาพใน 3 ระบบนี้ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนส่วนใหญ่ดังนี้คือ
2.1 ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รับรักษาประชาชนเพียง 48 ล้านคน โดยมีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เป็นผู้บริหารงาน โดยได้รับงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าเหมาจ่ายรายหัวในการรักษาประชาชน แต่การโฆษณาชวนเชื่อของสปสช.ที่ไม่เป็นความจริงหลายอย่างเช่น “รักษาทุกโรค” หรือ “ประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ก็ไม่เป็นความจริง กล่าวคือ สปสช. เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการรักษาเพิ่มได้ทุกปี (แสดงว่า ไม่รักษาทุกโรคตั้งแต่ต้น)  หรือบอกว่าประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ไม่”ถ้วนหน้าจริง” กล่าวคือรักษาประชาชนแค่ 48 ล้านคน ไม่”ถ้วน” ทั่วทุกคน และให้สิทธิ์การรักษาแก่ประชาชน 48 ล้านคนทั้งจนและไม่จน ซึ่งทำให้ต้องจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินมากเกินไปแต่ก็ยังไม่เพียงพอ ในการรักษาประชาชน และจะทำให้มีภาระการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีกมาก ถ้าจะให้โรงพยาบาลทำการรักษาประชาชนอย่างมีมาตรฐาน
แต่การโฆษณาชวนเชื่อของสปสช.ทำให้ประชาชนมา “ทวงสิทธิ์” การรักษาตามคำโฆษณา ในขณะที่โรงพยาบาลได้รับงบประมาณไม่สมดุลกับค่าใช้จ่ายในการรักษาประชาชนที่เกิดขึ้นจริง ทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถรักษาคุณภาพมาตรฐานการแพทย์ได้ ประชาชนเสี่ยงอันตราย และกล่าวหาโรงพยาบาลที่ให้การรักษามากขึ้น   
ในขณะเดียวกันกับที่สปสช.ส่งเงินให้โรงพยาบาลไม่ครบตามงบเหมาจ่ายรายหัว แต่สปสช.กลับนำเงินที่ควรจะส่งมอบให้โรงพยาบาลเป็นค่าเหมาจ่ายรายหัว ไปทำโครงการอื่นๆ แล้วใช้เงินงบประมาณนี้ มาใช้จ่ายตามโครงการที่สปสช.คิดขึ้นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องแต่สปสช.ก็ดำเนินการเช่นนี้มาทุกปี
2.2 ระบบประกันสังคม โดยกองทุนประกันสังคมจ่ายงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวให้โรงพยาบาล แต่จำกัดขอบเขตในการรักษา ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในเมื่อเกิดปัญหาเจ็บป่วยบางโรค และการจ่ายเงินเหมาจ่ายล่วงหน้า อาจทำให้โรงพยาบาลบางแห่ง ไม่ให้การรักษาอย่างเต็มที่ เช่น ไม่ส่งผู้ป่วยอาการหนักไปรักษายังโรงพยาบาลเฉพาะทาง เนื่องจากจะต้องตามไปจ่ายเงินให้โรงพยาบาลที่ส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อ หรือ เมื่อต้องรักษาต่อเนื่องหลังการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับความสะดวกในการต้องย้ายโรงพยาบาลไปรักษาตามสิทธิ์ที่ลงทะเบียนไว้ และยังมีปัญหาปลีกย่อยอีกมากมาย
2.3 ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เป็นระบบที่ผู้ได้รับสิทธิในการรักษาจะได้รับการดูแลรักษาอย่างดีมีมาตรฐาน เนื่องจากแพทย์ผู้รักษาสามารถใช้ดุลพินิจในการสั่งการรักษาและสั่งยาได้ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากเป็นการจ่ายเงินตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่มีข้อจำกัดในการสั่งยาและการรักษา แต่กรมบัญชีกลางเริ่มมองเห็นว่า ค่าใช้จ่ายในระบบการรักษาข้าราชการเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้กรมบัญชีกลางออกระเบียบจำกัดการใช้ยา และจำกัดการรักษาและสิทธิประโยชน์มากขึ้น มีการกล่าวหาว่าข้าราชการหรือแพทย์ทุจริตในการเบิกยา จนถึงกับกำหนดการเบิกจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยใน(นอนในโรงพยาบาล) แบบสปสช.ทำให้โรงพยาบาลมีตัวเลขการขาดทุนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
  ฉะนั้น ต้องแก้ไขทบทวนการประกันสุขภาพ ทั้ง 3 ระบบว่า จะต้องแก้ไขระบบทั้ง 3 นี้อย่างไร เพื่อช่วยให้การเงินของโรงพยาบาลไม่ติดลบ โดยทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐาน และได้รับความปลอดภัยดี  โดยที่ไม่เป็นภาระแก่งบประมาณแผ่นดินมากเกินไป โดยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการดูแลรักษาสุขภาพ และเกิดความเป็นธรรมต่อประชาชน และให้โรงพยาบาลได้รับการพัฒนาให้ดีมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง และประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
       พรรคการเมืองไหนมีนโยบายเช่นนี้บ้าง? จะได้เลือกเข้ามาบริหารบ้านเมืองและแก้ไขปัญหาในระบบ บริการสาธารณสุขต่อไปเพื่อให้ “สาธารณชน”ชาวไทย มีความสุขถ้วนหน้าโดยทั่วทุกคน

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสผพท.
2 มิ.ย.54.

7364
พบไข้หวัดใหญ่ 2009 แพร่ระบาดในการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในโคราช แนะให้น้องใหม่ที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่หยุดพักการเรียน งดร่วมกิจกรรม จนกว่าจะหาย
   
       นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แจ้งว่า ขณะนี้เป็นช่วงเปิดเทอมของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ มีกิจกรรมการรับน้องใหม่ที่ต้องให้นักศึกษาใหม่ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมนี้ และจากการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุข พบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จากกิจกรรมรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา เมื่อเร็วๆ นี้ โดยพบผู้มีอาการป่วยไข้หวัดใหญ่ 300 คน ในจำนวนนี้ ยืนยันเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 จำนวน 138 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต
       
       โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เกิดจากเชื้อไวรัสหลังได้รับเชื้อ 1-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ทั่วๆ ไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย ผู้ป่วยร้อยละ 90 มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5-7 วัน แต่บางรายที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคอ้วน ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หญิงมีครรภ์ อาจมีอาการ ปอดอักเสบ หายใจเร็ว เหนื่อย หอบ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มีอาการดังกล่าว ให้รีบพบแพทย์
       
       สำหรับแนวทางป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาอื่นๆ ควรมีการคัดกรองนักศึกษาป่วยที่มีอาการ ไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ ออกจากนักศึกษาปกติ และให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้านถ้ามีอาการเหนื่อย หอบ ร่วมด้วย ให้พบแพทย์สำหรับช่วงมีกิจกรรมรับน้องใหม่ สถานศึกษาต้องให้นักศึกษาใหม่ งดร่วมกิจกรรมดังกล่าว แต่ถ้าป่วยเล็กน้อยพอร่วมกิจกรรมได้ และผู้ป่วยประสงค์ร่วมกิจกรรม ต้องป้องกันตนเองไม่ให้เป็นพาหะแพร่โรคไปสู่ผู้อื่นด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ทั้งนี้ สถานที่จัดกิจกรรมรับน้อง ต้องจัดให้มีจุดล้างมือ พร้อม สบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ที่มากพอ และสะดวกในการล้างมือ รวมทั้งจัดหาหน้ากากอนามัยมาบริการหากต้องรับประทานอาหารร่วมกันควรมีช้อนกลาง จุดบริการน้ำดื่ม ต้องใช้แก้วชนิดใช้แล้วทิ้ง ไม่ใช้แก้วเดียวซ้ำๆ
       
       นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อว่า สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม - 14 พฤษภาคม 2554 มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 10,654 ราย พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 จำนวน 481 ราย เสียชีวิต 5 ราย ดังนั้น จึงขอย้ำให้สถานศึกษาทุกแห่งกรุณากวดขันคัดกรอง นักศึกษาที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่งดร่วมกิจกรรม รับน้องและพักรักษาตัวที่บ้านหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 มิถุนายน 2554

7365
กระทรวงสาธารณสุข เพิกถอนทะเบียนตำรับยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ คือ ยาพาริล 5 และพาริล 20

กระทรวงสาธารณสุข ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพิกถอนทะเบียนตำรับยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ คือ ยาพาริล 5 และพาริล 20   เนื่องจากคุณภาพยาตกเกณฑ์มาตรฐาน   มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 เป็นต้นมา   หากพบยังมีในท้องตลาด จัดเข้าข่ายยาปลอม มีโทษจำคุก 2-5ปี ปรับไม่เกิน 4,000-20,000 บาท   

วันนี้(5 มิถุนายน 2554)นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ 2 ตัว คือยาพาริล 5 ( Paril 5) เลขทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1 C 173/51   และยาพาริล 20 ( Paril 20) เลขทะเบียนตำรับยาเลขที่ 1 C 174/51 เนื่องจากผลการติดตามเฝ้าระวังคุณภาพยาโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจพบว่า ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ มีปริมาณตัวยาสำคัญคือ อีนาลาพริล มาลีเอท ( Enalapril maleate ) ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้เกินกว่าร้อยละยี่สิบ เข้าข่ายเป็นยาปลอมตามมาตรา 73 (5) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 จึงประกาศเพิกถอนทะเบียน ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือ นำเข้ามาในประเทศ ทั้งนี้เพื่อปกป้องคนไทยให้ได้รับยาที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย   มีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 เป็นต้นไป

นายแพทย์สุพรรณ กล่าวต่อว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ทำการตรวจสอบการนำเข้ายาที่ ด่านอาหารและยาท่าเรือกรุงเทพ และเก็บตัวอย่างยาพาริล 5 รุ่นการผลิตที่ที 0201( T 0201) ผลิตจากบริษัทยาในประเทศอินเดียนำเข้าโดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตคือ แอตแลนต้า เมดิคแคร์ จำกัดเลขที่ 99/28-30 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า มีปริมาณตัวยาอีนาลาพริล มาลีเอท ซึ่งเป็นตัวยาสำคัญในยาดังกล่าว อยู่ในปริมาณร้อยละ 51.3 ของปริมาณที่แจ้งในฉลาก ซึ่งต่ำกว่าปริมาณมาตรฐานที่อ้างอิงไว้ในทะเบียนตำรับยาคือร้อยละ 90 -110 และยังมีสารประกอบอื่นๆ( Related compounds) ผิดมาตรฐาน   

นอกจากนี้ยังตรวจพบอีกว่ายาพาริล 20 รุ่นการผลิตที่ ที 0302 ( T0302 ) ผลิตจากบริษัทในประเทศอินเดียและนำเข้าโดยบริษัทเดียวกัน   คุณภาพยาไม่เป็นไปไปตามมาตรฐาน กล่าวคือผลการตรวจวิเคราะห์พบว่ามีปริมาณตัวยาสำคัญคือ อีนาลาพริล มาลีเอท เพียงร้อยละ 53.8 ของประมาณที่แจ้งไว้บนฉลากยา คือร้อยละ 90-110 จัดเข้าข่ายเป็นยาตกมาตรฐาน นอกจากจะทำให้การรักษาไม่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยอีกด้วย

นายแพทย์สุพรรณกล่าวต่อว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ทำหนังสือการเพิกถอนทะเบียนยาทั้ง 2   ตำรับ แจ้งไปยังบริษัทผู้นำเข้ายา ให้เก็บยาออกจากท้องตลาดทั้งหมด และแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศให้ตรวจสอบเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง หากพบมีร้านขายยาใดจำหน่าย จะจัดเข้าข่ายขายยาปลอม ให้ดำเนินการตามกฎหมาย มีโทษจำคุก 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-10,000บาท

กรุงเทพธุรกิจ
5 มิถุนายน 2554

หน้า: 1 ... 489 490 [491] 492 493 ... 537