ผู้เขียน หัวข้อ: รายงานผลกระทบของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข  (อ่าน 1361 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด

 รายงานผลกระทบของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข  
ตัวแทนองค์กรแพทย์ฯ ได้นำเสนอรายงาน ต่อ นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ ๑๔ พ.ย.
 ๒๕๕๗  

เนื่องจากร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข  ที่ผ่านมานั้น ได้มีการนำเสนอไม่เพียงร่างเดียวเท่านั้น แต่มีหลายร่างด้วยกัน เช่นร่าง ของประชาชนที่ยื่นโดยการร่วมเสนอชื่อ  ,       ร่างฉบับที่ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกา , ร่าง ของกรม สบส.เสนอปรับปรุง , ร่างของคณะทำงาน สป.เสนอฯ   เป็นต้น  ร่างเหล่านี้บางครั้งกล่าวถึงเรื่องเดียวกัน บ้างมีลดทอนหรือเพิ่มเติมในบางเรื่อง ทำให้อ้างอิงในมาตราเดียวกันไม่ได้  คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบงานบริการสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตแพทย์ จึงขอสรุปโดยภาพรวมดังนี้คือ

ปัญหาที่สำคัญที่จะกระทบประชาชนและแพทย์จากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

1.ผู้ป่วยกับแพทย์จะขัดแย้งกันมากขึ้น ทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน

เพราะ เกิดการร้องเรียนที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น  เพราะไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด ร้องเรียนง่าย ไม่มีข้อจำกัด

2.ผู้ป่วยเสียโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลือเมื่อเกิดความเสียหายจริง  

เพราะ แม้ไม่พิสูจน์ถูกผิด แต่ก็ต้องพิสูจน์อยู่ดีว่าเป็นความเสียหายทางการแพทย์หรือไม่ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางการแพทย์  แต่ผู้รับผิดชอบในการตัดสินกลับมีแพทย์จำนวนน้อยมากโดยสัดส่วนทั้งสิ้นทั้งในคณะกรรมการคุ้มครองฯ  คณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอรับเงินชดเชย   โดยกำหนดให้การตัดสินชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก  ดังนั้นถ้าผู้ป่วยได้รับความเสียหายจริง แต่คณะกรรมการตัดสินผิดพลาดว่าไม่ได้รับความเสียหายเนื่องจากกรรมการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ ทำให้ประชาชนเสียโอกาสที่ได้รับการชดเชย

3.ผู้ป่วยอาการหนักและฉุกเฉินจะไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีเนื่องจากสถานพยาบาลต้องการลดความเสี่ยงที่จะถูกร้องเรียน

เพราะ พรบ.นี้กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองฯ ต้องตั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่สถานพยาบาลต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนชดเชย โดยคำนึงถึงขนาดของสถานพยาบาล ความถี่หรือความรุนแรงของการเกิดความเสียหาย  ดังนั้นสถานพยาบาลบางแห่งอาจพยายามเลี่ยงจากการถูกร้องเรียนและถูกเก็บเงินสมทบมากขึ้น   จึงเกิดการส่งต่อผู้ป่วยอาการหนักและฉุกเฉินมากขึ้น สุดท้ายประชาชนจะได้รับการรักษาล่าช้า เนื่องจาก ร่างพรบ.นี้บังคับใช้ มีโอกาสเกิดการสูญเสียชีวิต หรือพิการเพิ่มขึ้น  

4.ประชาชนต้องเสียค่ารักษามากขึ้น

เพราะ สถานพยาบาลต้องคิดค่ารักษาเพิ่ม เนื่องจากภาระในการส่งเงินสมทบเข้ากองทุน และ เนื่องจากแพทย์กลัวภาระจากการถูกร้องเรียนจากร่าง พรบ.นี้ จึงปกป้องตนเองโดยใช้ทรัพยากรในการพิจารณารักษามากขึ้น


5.ไม่มีอายุความ

เพราะ กำหนดให้อายุความ 3ปีนับตั้งแต่วันที่ผู้ร้องรับรู้ถึงความเสียหาย ทั้งนี้ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ได้รับความเสียหาย  ซึ่งผู้ร้องกำหนดเอาว่า ตนเองเริ่มรับรู้เมื่อไหร่  วันที่ตนเองเสียหายเมื่อไหร่  ไม่แน่นอน  ในทางปฏิบัติจึงเท่ากับไม่มีอายุความนั่นเอง   ในขณะที่สถานพยาบาลและแพทย์ถูกกำหนดให้เก็บเวชระเบียนโดยมาตรฐานได้เพียง5ปี  เนื่องจากทางปฏิบัติ นับวันมีผู้ป่วยมารับรักษาเพิ่มขึ้นทุกๆปี การเก็บไปโดยไม่มีกำหนดเป็นไปไม่ได้  ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหาย อาจขาดหลักฐานเพื่อการร้องเรียนได้  ซึ่งไม่เป็นธรรมกับประชาชนเอง

6. ประชาชนได้รับการบริการล่าช้ามากขึ้น  สิ้นเปลืองทรัพยากรในการบริการรักษามากขึ้น

เพราะ แพทย์กลัวภาระจากการถูกร้องเรียนจากร่าง พรบ.นี้ จึงพยายามใช้เวลาและการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการมากขึ้น ซึ่งมีโอกาสสืบค้นเกินความจำเป็นเพื่อปกป้องตนเองของแพทย์ งบประมาณในการในการรักษาของประเทศจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ความแออัดของผู้ป่วยจะมากขึ้นเนื่องจากให้บริการไม่ทัน  แพทย์โรงพยาบาลของรัฐจะลาออกจากราชการมากขึ้นและจะเข้ามาในระบบลดลง เนื่องจากค่าตอบแทน สวัสดิการ ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับภาระงาน  และออกไปทำงานให้กับเอกชนมากขึ้น  ประชาชนที่เบื่อหน่ายกับการไปรับบริการที่โรงพยาบาลของรัฐก็จะไปใช้บริการที่โรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น  เสียค่ารักษามากขึ้น

7. เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์การรักษาของวงการแพทย์ในระดับประเทศ

เพราะ เมื่อมีการร้องเรียนง่าย และมากขึ้น ชี้ความเสียหายง่ายขึ้นซึ่งโอกาสอาจเกิดเนื่องจากการตัดสินผิดพลาดจากการที่กรรมการตัดสินที่เป็นแพทย์โดยสัดส่วนที่น้อยมาก   กลายเป็นข้อมูลผิดๆที่ถูกนำไปขยายความว่าวงการแพทย์ไทยเสื่อมถอย  ทำความเสียหายกับผู้ป่วยจำนวนมาก ทำความเสียหายระดับประเทศ

8. ไม่ช่วยลดการฟ้องร้องแพทย์ทางแพ่งหรืออาญา กลับเพิ่มช่องทางการร้องเรียนเพิ่มเติมจากเดิม

เพราะผู้ร้องได้รับเงินชดเชยแล้ว ยังมีสิทธิ์ฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญาเหมือนเดิม  และยังให้สิทธิ์วนกลับมาร้องเรียนเหตุจากการรักษาเดิมได้อีก  อีกทั้งผู้ร้องที่ตัดสินใจฟ้องแพ่งแทนที่จะยอมรับเงินชดเชยจากกองทุน  เมื่อแพ้คดีแพ่งในศาล ยังสามารถย้อนมาร้องเรียนขอชดเชยจากกองทุนอีก

9. การร้องเรียนที่ไม่มีข้อจำกัดทำให้เป็นภาระมาก จนรบกวนการทำงานของแพทย์  

เพราะ กำหนดให้ไปรายงานตัว ชี้แจง  แสดงหลักฐาน และถ้าถูกพิจารณาว่าทำให้เกิดความเสียหาย ต้องทำรายงานการปรับปรุงแก้ไขอีกด้วย โดยมีบทลงโทษรุนแรงถ้าฝ่าฝืนไม่ทำตาม  ถึงขั้นจำคุกหรือปรับเงิน หรือทั้งจำทั้งปรับ


10. แพทย์รู้สึกถูกบังคับให้ยอมรับผิด

เพราะ มีการระบุในบางร่าง พรบ.ว่า ถ้าแพทย์แสดงการยอมรับว่าทำความเสียหาย จะสามารถใช้เป็นเหตุบรรเทาโทษทางอาญาได้  แพทย์ที่กลัวความเสี่ยงโทษทางอาญาแม้ตนเองไม่ได้ทำผิดก็จะยอม

11. กระบวนการตัดสินคดีทางการแพทย์จะถูกบิดเบือนเป็นอย่างมาก

เพราะ ย้ายการร้องเรียนทางแพทยสภาซึ่งถูกต้องตามหลักวิชาการ ไปเป็นการร้องเรียนผ่านกองทุนของร่าง พรบ.นี้มากขึ้น   ซึ่งตัดสินด้วยกรรมการที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ผลการตัดสินมีโอกาสผิดพลาดและถูกบิดเบือนอย่างรุนแรง
...............................................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤศจิกายน 2014, 19:39:09 โดย story »