ผู้เขียน หัวข้อ: ม็อบหมออนามัยบุกรัฐสภา 21 มี.ค.นี้ ค้านตัดการรักษาออกจากนิยาม  (อ่าน 928 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   20 มีนาคม 2556 16:27 น.   

   


       “ม็อบหมออนามัย” เตรียมบุกหน้ารัฐสภา 21 มี.ค.นี้ ทวงถามความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข จากกรรมาธิการร่วม 2 สภา พร้อมต้านวุฒิสภาตัดการรักษาพยาบาล ตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาโรคเบื้องต้นออกจากนิยามนักสาธารณสุข ชี้ต้องทำหน้าที่แทนแพทย์ พยาบาล ในรพ.สต.


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

       นายไพศาล บวงชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เปิดเผยว่า ผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เครือข่ายชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย สมาคมหมออนามัย สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จากทั่วประเทศกว่า 5,000 คน จะเดินทางมาชุมนุมที่บริเวณหน้ารัฐสภา ในวันที่ 21 มี.ค.นี้ ซึ่งจะมีการเข้าชื่อในนามประชาชนเพื่อทวงถามความคืบหน้าการประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ... ของคณะกรรมาธิการร่วม 2 สภา นอกจากนี้ จะเรียกร้องต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ยืนยันและคงความหมายนิยามตามร่างมาตรา 3 และมาตรา 50 บทเฉพาะกาลต่อไป และให้เร่งนำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวส่งคืนให้ทันบรรจุเข้าวาระการประชุมของรัฐสภาก่อนปิดสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ เพื่อผ่านกระบวนการพิจารณาและมีการบัญญัติกฎหมายนี้ไปบังคับใช้ในปี 2556 แต่หากล่าช้า นักสาธารณสุขและหมออนามัยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทุกแห่ง ก็จะนัดรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลในการยุติบทบาทหน้าที่ให้บริการประชาชน ทั้งการดูแล การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ซึ่งบางหน้าที่ก็ก้าวล่วงวิชาชีพแพทย์ พยาบาล หรือวิชาชีพทางการแพทย์อื่นๆ
       
       นายไพศาล กล่าวอีกว่า เห็นด้วยที่สภาผู้แทนราษฎรคงความหมายนิยามตามร่างมาตรา 3 ไว้ และคัดค้านการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา เพราะคำนิยามวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนและการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่สมควรตัดความหมายในสาระสำคัญออกจากคำนิยาม ทั้งเรื่องการบำบัดรักษาโรคเบื้องต้น การตรวจวินิจฉัยและการบำบัดรักษาโรคเบื้องต้น และการตรวจประเมินอาการเจ็บป่วย เนื่องจากนักสาธารณสุขหรือหมออนามัยใน รพ.สต.รวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ใน รพ.สต.ทั้งนักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข พยาบาลเทคนิค และพยาบาลวิชาชีพเหล่านี้ต่างปฏิบัติงานทดแทนแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เนื่องจาก รพ.สต.ไม่มีแพทย์ประจำอยู่และมีขีดความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพ ดูแล รักษา และป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ
       
       นายไพศาล กล่าวด้วยว่า ทางนิตินัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกระเบียบปี 2539 ให้นักวิชาการสาธารณสุขทำหน้าที่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ในหลายด้าน ได้แก่ การรักษาพยาบาลเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการโรค เช่น ไข้ตัวร้อน โรคหวัด ฯลฯศัลยกรรม เช่น ผ่าฝี เย็บแผลที่ไม่สาหัส ฯลฯ การทำคลอดในรายปกติ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค การวางแผนครอบครัว การฉีดยาคุม และจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด การเจาะโลหิตจากปลายนิ้วหรือหลอดเลือดดำเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือเพื่อบริจาคเข้าธนาคารเลือด การให้ปฐมพยาบาลเกี่ยวกับการได้รับสารพิษ สัตว์มีพิษกัดต่อย การแพ้ยา และการเสียเลือด เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงก็คือนักสาธารณสุขหรือหมออนามัยได้ปฏิบัติงานต่างๆ เช่นนั้นอยู่แล้ว
       
       “ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภาในบทเฉพาะกาล ร่างมาตรา 50 ที่ห้ามมิให้ผู้เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ ในชั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ดำรงตำแหน่งนายกสภาการสาธารณสุขชุมชนและเลขาธิการสภาการสาธารณสุขชุมชนภายใน 2 ปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.นี้ เพื่อป้องกันการมีส่วนได้เสีย สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขและองค์กรเครือข่ายสาธารณสุข เห็นว่า กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ในชั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทำหน้าที่ในการศึกษาและพิจารณากลั่นกรองเท่านั้น การตัดสินใจลงมติเห็นชอบขั้นสุดท้ายอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา กรรมาธิการวิสามัญที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เสนอร่าง พ.ร.บ.ที่มิใช่สมาชิกสภาแต่ละสภา จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย” นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข กล่าว