ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปผลการสัมมนา+รวมพลัง--- 1 ก.ค. 2553  (อ่าน 1949 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
สรุปผลการสัมมนา+รวมพลัง--- 1 ก.ค. 2553
« เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2010, 08:10:31 »
สรุปผลการสัมมนาเรื่อง “ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ..... เพื่อความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน
จัดโดย  สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทยและเครือข่ายสหวิชาชีพทางการแพทย์
วันที่ 30 ก.ค.53  ณ ห้องไพจิตร ปวะบุตร
ชั้น 9 ตึกสนับสนุนบริการ สำนักงานปลัดกท.สธ.
---------------------------------------------------------------------
 ผู้เข้าร่วมแสดงพลังที่ลานพระรูปสมเด็จพระบิดาและสมเด็จย่า  จำนวนประมาณ 1,000 คน
เข้าร่วม ในห้องสัมมนา  ประมาณ  600 คน    
---------------------------------------------------------------------
     สรุปมติดังนี้(เสนอต่อปลัดกระทรวงสธ.  เวลา  15.30 น.วันเดียวกัน )
 1.ร่างกฎหมายฉบับนี้ มีเจตนารมณ์ดี   ควรคงเจตนารมณ์ไว้ดังนี้
            1.1) ควรมีการคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ
            1.2) ให้ครอบคลุม ทุกสิทธิ
            1.3) เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน  เพื่อให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
            1.4) ลดการฟ้องร้อง  ร้องเรียน  และให้ยุติคดีแพ่งและอาญาเพื่อให้บุคลากรมีสมาธิในการทำงานและทำงานอย่างสบายใจ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
             1.5) คณะกรรมการพิจารณาควรมีผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์

2. ไม่ควรมีกฎหมายใหม่  ไม่ควรมีองค็กรใหม่ให้เป็นภาระของงบประมาณแผ่นดิน

3.ข้อเสนอ ต้อง ถอนร่างพ.ร.บ. ออกจากสภา  และให้ยุติกฎหมายดังกล่าว

4.ทางออกของประชาชน  คือ
              4.1) ม.41ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ควรขยายให้ครอบคลุม ทุกสิทธิ  เพิ่มเพดานจ่ายมากขึ้น  ใช้กลไกเดิมในการพิจารณาจ่ายเงินชดเชย  ซึ่งรวดเร็วและเป็นธรรมอยู่แล้ว  ไม่สูญเสียงบประมาณแผ่นดินเพื่อค้ำจุนองค์กรใหม่
              4.2) เมื่อมีการประนีประนอมรับเงินชดเชย   ควรยุติคดีแพ่งและอาญา   ถ้าไม่พอใจวงเงิน  ควรสละสิทธิ์  และฟ้องศาลเอง   ปัจจุบันมีศาลพิจารณาคดีผู้บริโภค   เพียงใช้คำพูดไปบอกศาลไม่ต้องวางเงินมัดจำ  มีกระบวนการไกล่เกลี่ย   การพิจารณารวดเร็วภายใน  3 เดือน      

หากมติไม่ได้รับการตอบสนอง   มาตรการต่อไปเพื่อการต่อรอง      ( เมื่อจำเป็นจริงๆ)
   1.หยุดตรวจ OPD  
  2.ควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดย  ไม่รับเตียงเสริม  ตรวจผู้ป่วยโดยจำกัดจำนวนที่เหมาะสม   แสดงหนังตัวอย่างจำลองให้ประชาชนเห็นจะเข้าใจผลกระทบที่ตามมาได้อย่างดี
  3.ยี่นใบลาออกพร้อมกันทั้งประเทศ
  4.สร้างความเข้าใจกับ อสม.และประชาชนเพื่อคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว
ข้อเสนอของท่านปลัด  คือให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือตกลงกันระหว่างตัวแทนสมาพันธ์ฯกับ NGO  ในวันที่ 2 ส.ค. 53  เวลา 16.00 น.  
                                                                        
สรุปโดย  พญ.สุธัญญา  บรรจงภาค  
ปชส.สมาพันธ์แพทย์ฯ
                                                                                                        30-07-53
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 กรกฎาคม 2010, 21:40:24 โดย somnuk »