แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - science

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 13
91
 ถนนเมืองไทย เดี๋ยวพัง เดี๋ยวซ่อม จนกลายเป็นเรื่องชาชิน แต่หลายคนไม่รู้ว่าหากคำนวณค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของถนนบ้านเราแล้ว อาจแพงติดอันดับโลกหรือแพงที่สุดในโลกเลยทีเดียว มากกว่านั้นเทคโนโลยีที่ใช้สร้างหนทางของเรายังเป็นของเก่าสมัยหลังสงครามโลก ซึ่งผู้ออกต้นฉบับอย่างอเมริกาเลิกใช้ไปนานแล้ว
       
       ข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยโดย ดร.พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีการทาง (Pavement Technology) ชาวไทย ซึ่งเป็นอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคอร์ติน (Curtin University) ออสเตรเลีย ซึ่งชี้ว่าการออกแบบถนนของไทยนั้นยังใช้ทฤษฎีเก่าที่พัฒนามาตั้งแต่หลังยุคสงครามโลกอและที่ไม่มีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเมืองไทย อาศัยประสบการณ์ว่าสร้างแล้วไม่พังก็ทำต่อมาเรื่อยๆ ซึ่งไม่ได้ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเท่าไร อีกทั้งสร้างเผื่อพังไว้เยอะ แต่อดีตไม่มีปัญหานักเพราะรถยังน้อย
       
       ลอกเทคโนโลยีถนนอเมริกามาแต่เขาเลิกใช้ไปแล้ว
       “ปัญหาที่เกิดคือในยุคเก่านั้นเราลอกมาตรฐานการออกแบบของอเมริกามาหมดเลย เราไม่ได้พัฒนาเองเลย ชุดตัวเลข ชุดข้อมูลอะไรที่เขาแนะนำในการออกแบบ พูดตรงๆ คือเราลอกเขามาหมดเลย เราไม่มีตัวเลขในการออกแบบของเราเองเลย เขาสร้างเพื่อให้เหมาะแก่สภาพแวดล้อมของอเมริกา แต่บ้านเราไม่ได้พัฒนาอะไรขึ้นมาเลย นอกจากทำภาษาอังกฤษให้มาเป็นไทย ตามความเข้าใจของผมนะ แต่ว่าตอนนี้ทฤษฎีเก่านี้อเมริกาเขาไม่ใช้แล้ว” ดร.พีรพงศ์กล่าว
       
       อาจารย์ไทยในออสเตรเลีย อธิบายว่าโดยปกติหากมีอะไรที่ผิดไปจากประสบการณ์เดิม เช่น เคยสร้างถนน 10 ปีแล้วจึงปรับผิวใหม่เรียบ แต่ปรากฏว่าถนนเริ่มพังเมื่อเข้าสู่ปีที่ 2-3 นั่นแสดงว่าต้องมีบางอย่างผิดพลาด จึงต้องหาสาเหตุและปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยอาศัยการออกแบบที่ใช้สมบัติทางด้านวิศวกรรมวัสดุในการสร้างถนน เมื่อถนนพังเพราะวัสดุไม่ดีก็ต้องหาวัสดุใหม่ เป็นต้น ซึ่งทฤษฎีใหม่สามารถแก้ปัญหาลักษณะนี้ได้ แต่ทฤษฎีเก่าไม่สามารถตอบได้
       
       “ที่น่าเสียใจคืออเมริกาเลิกใช้แล้ว แต่บ้านเรายังไม่มีการขยับอย่างเป็นรูปธรรมที่จะทำให้ทุกอย่างมันดีขึ้น แล้วปัญหาของบ้านเราที่เห็นชัดๆ ที่สุดคือว่า เราใช้ถนนเป็นเส้นทางการขนส่งหลักของประเทศ ในการขนส่งทุกอย่าง เพราะฉะนั้นถนนที่เราสร้าง เราจะเห็นว่าเลนซ้ายพังก่อนเลนขวา เพราะรถบรรทุกวิ่งช้าอยู่ทางเลนซ้ายใช่ไหม ปัญหาที่เกิด ถ้าเรายอมรับกันตรงๆ ก็อาจจะเกิดจากน้ำหนักบรรทุกที่เกินมาตรฐาน แล้วปัญหานี้มันไปสัมพันธ์กับหลายฝ่าย เราจึงไม่กล้าออกมาพูดกันตรงๆ ว่าสาเหตุการพังของถนนบ้านเรานั้นเป็นเพราะอะไร” ดร.พีรพงศ์กล่าว
       
       ทั้งนี้ หากตั้งใจหาสาเหตุกันจริงๆ ก็สามารถวัดได้ว่ารถบรรทุกน้ำหนักเกินไปเท่าไร แต่ที่ผ่านมารถบรรทุกผลผลิตเกษตรมักจะได้รับการเพิกเฉยจากเจ้าหน้าที่ โดยในส่วนของรถพ่วงนั้นไม่ทำให้ถนนพังได้มากเท่ารถสิบล้อ เพราะรถพ่วงมีหลายเพลาและหลายล้อ ทำให้น้ำหนักที่ถ่ายลงเพลาแล้วถ่ายลงไปยังล้อไม่มากเท่าไร ขณะที่น้ำหนักบรรทุกจากสิบล้อจะถ่ายหนักน้ำหนักลงไปเต็มที่ทำให้ถนนพังได้ง่ายกว่า

      “ยางมะตอย” ต้นทุนแพงสุดในถนน แต่ด้อยมาตรฐาน
       “ส่วนโครงสร้างถนนที่บ้านเราควรจะปรับคือ ส่วนถนนที่แพงที่สุด คือยางมะตอย (Asphalt) ถ้าพูดถึงวัสดุทุกชนิดในการทำถนน ยางมะตอยอาจจะมีค่าถึง 70-80% ของมูลค่าในการทำถนนเส้นหนึ่ง บอกได้เลยว่าในการทำถนนเส้นหนึ่ง หากเราไม่ใช้วัสดุยางมะตอยเลย หรือใช้ยางมะตอยให้น้อยลง หรือลดลง ราคาถนนต่อเมตรของถนนบ้านเราจะถูกลงเยอะมาก แต่ในอดีตยังไม่มีการศึกษาอะไรกัน”
       
       ดร.พีรพงศ์ยังเล่าอีกว่า ในอดีตสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ได้ทุ่มงบประมาณ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้องค์กรวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐฯ พัฒนายางมะตอย จนกลายเป็นผู้นำที่มีองค์ความรู้ทางด้านยางมะตอยที่ดีที่สุดในโลก และตอนนี้ได้ใช้ระบบใหม่ในการออกแบบการก่อสร้างถนน และยกเลิกแบบเก่าทั้งหมด ในขณะที่เมืองไทยยังอิงระบบเก่าจากสหรัฐฯ ที่เขาเลิกใช้กันไปแล้ว
       
       ทั้งนี้ ยางมะตอยมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิโดยตรง เมื่อร้อนจะอ่อนตัวและเมื่อเย็นจะแข็งตัว แต่สำหรับเมืองไทยยัง “ตัดเกรด” หรือแบ่งชนิดยางมะตอยโดยอิงที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสอย่างเดียว แต่ปัจจุบันสหรัฐฯ แบ่งชนิดยางมะตอยโดยคำนึงถึงอุณหภูมิ จำนวนรถ และปัจจัยอื่นๆ บนท้องถนน เพื่อเลือกใช้ยางมะตอยให้เหมาะสมแก่การใช้งานในแต่ละพื้นที่
       
       “การตัดเกรดคือการแบ่งชนิด เช่น พื้นที่นี้ใช้ชนิดนี้ อีกพื้นที่หนึ่งใช้อีกชนิดหนึ่ง วิธีนี้ใช้ประเภทนี้ ส่วนประเทศไทยในภาคเหนือกับภาคใต้ ก็มีความแตกต่างกันทั้งอุณหภูมิ สภาพอากาศ สภาพรถ ภาคเหนือก็ยังต่างจากอีสานอีก แต่บ้านเรายังใช้ยางมะตอยชนิดเดียว ที่เรียกว่า AC 60/70 ซึ่งเป็นค่าการแบ่งเกรดยางมะตอย ที่ค่ายิ่งมากจะเป็นยางมะตอยแบบแข็ง ค่ายิ่งน้อยจะเป็นยางมะตอยแบบอ่อน แต่จากการศึกษาของผมที่ได้ทุน สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ทำ ตอนจบปริญญาเอกแรกๆ บอกว่า ยางมะตอยที่ใช้ในบ้านเราเป็นยางด้อยมาตรฐานหมดเลย ใช้ไม่ได้ ต้องปรับปรุงคุณภาพ”
       
       เกณฑ์ที่ใช้แบ่งเกรดยางมะตอยของเมืองไทยจริงตามที่ ดร.พีรพงศ์ศึกษาควรเป็นระบบ PG หรือ Performance Grade ซึ่งยาง AC 60/70 นั้นเมื่อนำมาตัดเกรดแบบ PG จะได้เป็น PG 64-22 หมายถึง อุณหภูมิสูงสุดของถนนที่ยางชนิดนี้จะทำงานได้ดีอยู่ที่ 64 องศาเซลเซียสถึง -22 องศาเซลเซียส แต่หากพิจารณาทั้งสภาพอากาศ สภาพการจราจรของไทยแล้ว ยางมะตอยที่เราต้องการอย่างน้อยที่สุดคือ PG72-10 ซึ่งรับช่วงอุณหภูมิสูงได้มากขึ้น
       
       “ถ้าเอาเกรด 64-22 ไปใช้ เมื่ออยู่ช่วงอุณหภูมิ 64 องศาเซลเซียสก็ใช้ไม่ได้ ซึ่งบ้านเราตกทั้งประเทศเลย เมื่อใช้เกรดนี้มาจับ แต่เขายังไม่มีการขยับกัน ถ้าใช้เกรด PG72-10 มันจะดีขึ้น เพราะช่วงอุณหภูมิจะกว้างขึ้น และรองรับอุณหภูมิอย่างหน้าร้อนของบ้านเรา” อาจารย์วิศวกรรมโยธาและซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรและโทจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าว

       เรายังขาดความรู้การสร้างถนนอีกมาก
       โครงสร้างถนนนั้นมีหลายชั้นและคุณสมบัติด้านบนจะดีกว่าด้านล่าง ซึ่งยางมะตอยเป็นวัสดุดีที่สุดของถนนและอยู่ชั้นบนสุด ทำหน้าที่ช่วยถ่ายแรงลงด้านล่างของถนน เราไม่ใช้ยางมะตอยในการสร้างถนนเลยก็ได้ แต่ ดร.พีรพงศ์ระบุว่าเราต้องสร้างเป็นถนนแบบ “ฟูลเดพธ์” (Full Depth) คือถนนชั้นเดียวและหนา 20-30 เซ็นติเมตร ซึ่งเป็นถนนที่อเมริกาใช้กันมาก แต่ไม่เหมาะกับเมืองไทย เพราะมีราคาแพงมาก จึงต้องนำหินชนิดอื่นๆ มาวางเป็นชั้นเพื่อลดความหนาลง
       
       “ตอนนี้บ้านเราเริ่มเทคนิคสูงมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพชั้นพื้นทาง ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใต้ชั้นยางมะตอย โดยเอาซีเมนส์ไปผสมให้แข็งขึ้น แต่ปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง มันก็จะเกิดปัญหาตามมา คือขาดองค์ความรู้ว่าจะต้องผสมซีเมนส์ลงไปในปริมาณเท่าไหร่ มันถึงจะเหมาะสม เราขาดความรู้ว่าควรจะใช้เท่าไหร่ เพราะไปลอกเขามา” อีกปัญหาที่ ดร.พีรพงศ์ชี้ให้เห็น
       
       หากจะทำวิจัยเรื่องถนนหนทาง ดร.พีรพงศ์กล่าวว่า ภาครัฐต้องเป็นผู้ผลักดัน ตัวอย่างเช่นอเมริกาที่ทำหลายส่วนพร้อมๆ กัน แล้วท้ายสุดเอาผลการศึกษามาผนวกกัน ซึ่งเราต้องเริ่มจากการพัฒนาวัสดุการทาง เทคโนโลยีการก่อสร้างใหม่ๆ เทคนิคการปรับปรุงคุณภาพ รวมถึงการซ่อมเพราะถนนมีการเสื่อมสภาพไปทุกวัน จึงต้องหาวิธีซ่อมให้ใช้เวลาสั้นที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ยังต้องการนักวิจัยเข้ามาในเรื่องเหล่านี้มากพอสมควร
       
       “บ้านเรามองแค่ถนนก็คือถนน ไม่ได้ให้ความสำคัญ จะไปให้ความสำคัญกับเรื่องโลจิสติกส์ (การขนส่ง) เรื่องการวางแผนว่าจะขนจากตรงไหนไปตรงไหน โดยมีพื้นฐานว่าถนนเราดีหมด ซึ่งตรงนี้จะมีปัญหาเยอะ โดยเฉพาะการจะเข้าไปเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องน้ำหนักรถที่แต่ละประเทศมีมาตรฐานแตกต่างกัน และถึงเวลาที่เราจะต้องยกระดับมาตรฐานแล้ว” ดร.พีรพงศ์กล่าว และบอกว่ากำลังตั้งโจทย์ให้นักศึกษาไทยนำวัสดุการสร้างถนนในไทยมาพิสูจน์ว่าใช้ได้จริงตามทฤษฎีใหม่หรือไม่ ส่วนเรื่องยางมะตอยนั้นได้พิสูจน์แล้วว่าไม่คุ้มที่จะนำไปใช้ เพราะมีโอกาสทำให้ถนนพังสูง

       ถ้าศึกษาวิจัยเรื่องการทำถนนจริงๆ จะช่วยอะไรได้บ้าง?
       หากศึกษางบประมาณของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ดร.พีรพงศ์กล่าวว่า ทั้งสองหน่วยงานมีงบประมาณปีละกว่าแสนล้านบาท แต่กว่าครึ่งของงบประมาณดังกล่าวเป็นงบซ่อมบำรุง ไม่ค่อยมีงบก่อสร้าง ดังนั้นหากยืดอายุการใช้งานถนนออกไปได้แค่ 1 ปีก็จะประหยัดงบประมาณได้มหาศาล ซึ่งเป็นการมองประโยชน์ที่จะได้เพียงมุมเดียว ยังมีเรื่องการลดอุบัติเหตุและประโยชน์อื่นๆ ที่จะตามมาอีก
       
       “ในบ้านเราเขาจะซ่อมเมื่อถนนพัง แต่อเมริกาจะซ่อมเมื่อรู้สึกว่าถนนไม่ปลอดภัยต่อการขับขี่ คนละเรื่องกันเลย ซึ่งอเมริกาเป็นแบบอย่างในเรื่องนี้ที่ดีมาก เขาจะดูว่าพอคนขับเริ่มขับไม่สบาย รู้สึกถนนขรุขระ ตรงนั้นเขาถือว่าถนนเขาพังแล้ว เขาจะซ่อมเลย ไม่ใช่ให้เห็นเป็นหลุมเป็นบ่อเหมือนบ้านเรา” อีกความแตกต่างของประเทศต้นแบบถนนเมืองไทยที่มีการพัฒนาไปอีกขั้น
       
       อย่างไรก็ดี การปรับปรุงคุณภาพถนนตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุที่ดีขึ้น หมายถึงค่าใช้จ่ายด้านวัสดุที่แพงขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่นยางมะตอย PG 72-10 ที่เหมาะสมกับถนนเมืองไทยมากกว่า PG 64-22 นั้นก็มีราคาแพงกว่าด้วยเช่นกัน ทำให้ค่าก่อสร้างแพงขึ้น ซึ่งก็มีหลายเสียงทักท้วงว่าคงไม่มีใครเลือกใช้วัสดุที่ดีกว่า เพราะตุ้นทุนก่อสร้างจะแพงขึ้น ซึ่ง ดร.พีรพงศ์กล่าวว่าเราต้องมาทำความเข้าใจในเรื่องนี้กันใหม่
       
       สำหรับการคิดราคาถนนต่อกิโลเมตรนั้น โดยปกติจะคิดราคาไปจนจบอายุถนน คือคิดตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงหมดอายุ ซ่อมแล้วไม่คุ้มและต้องสร้างใหม่ ซึ่งรอบดังกล่าวมีระยะเวลา 25-30 ปี และจะวิเคราะห์งบประมาณตั้งแต่ต้นจนถึงจบ เรียกว่า LCCA (Life Cycle Cost Analysis) ซึ่งหากใช้วิธีดังกล่าวมาคิดราคาถนนเมืองไทย ถนนต่อ 1 กิโลเมตรของไทยอาจจะแพงที่สุดในโลก แม้ว่าค่าก่อสร้างของไทยจะถูก เพราะซ่อมถนนกันทุก 3-4 ปี ขณะที่ถนนซึ่งได้มาตรฐานจะซ่อมใหญ่แค่ครั้งเดียว คือเมื่อผ่านการใช้งานมาครึ่งอายุถนนเท่านั้น
       
       “ถ้าก่อสร้างแพงแต่ไม่มีการซ่อมเลยจนจบอายุการใช้งานถนนนั้นคุ้มกว่า ซึ่งการตัดสินใจทำถนนหรือระบบต่างๆ เหล่านี้ในเมืองนอกจะตั้งจะอยู่บนพื้นฐาน LCCA ทั้งหมด ขณะที่บ้านเรามองแค่ระยะสั้นว่า แพงแล้วไม่เอา แพงแล้วไม่ดี แต่จริงๆ ใช้วัสดุดี ทำงานดี ราคาต่อหน่วยอาจสูง แต่ตัดค่าซ่อมบำรุงออกไปเลย ผมท้าเลยว่าถนนต่อเส้นของบ้านเรา ผมว่าราคาต่อกิโลเมตรนั้นแพงมาก เพราะเราใช้งบซ่อมสร้างเยอะ ลองเอา LCCA มาจับดู ถนนบ้านเราอาจจะแพงติดอันดับโลก” ดร.พีรพงศ์กล่าว
       
      หาโจทย์วิจัย
       เรื่องการปรับปรุงถนนนอกจากวัสดุก่อสร้างแล้ว ยังมีเรื่องเทคนิคใหม่ๆ ที่เราต้องค้น เช่น มีปัญหาชั้นพื้นทาง ใต้ชั้นยางมะตอย เป็นชั้นหินคลุก และใต้ชั้นหินคลุกเป็นดินลูกรัง ซึ่งคุณสมบัติของดินทั้งสองชนิดนี้เปลี่ยนแปลงตามความชื้น ถ้าความชื้นมากคุณสมบัติก็เลวลง ถ้าความชื้นน้อยคุณสมบัติก็ดี อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่เมืองไทยมีฝนตกปีละ 6-7 เดือน จึงเป็นการยากที่เราจะควบคุมให้ชั้นเหล่านั้นคงสภาพในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
       
       “ดังนั้น ถ้าเราจะทำกันทำไมไม่พัฒนาวัสดุที่คุณสมบั“ถ้าเอาเกรด 64-22 ไปใช้ เมื่ออยู่ช่วงอุณหภูมิ 64 องศาเซลเซียสก็ใช้ไม่ได้ ซึ่งบ้านเราตกทั้งประเทศเลย เมื่อใช้เกรดนี้มาจับ แต่เขายังไม่มีการขยับกัน ถ้าใช้เกรด PG72-10 มันจะดีขึ้น เพราะช่วงอุณหภูมิจะกว้างขึ้น และรองรับอุณหภูมิอย่างหน้าร้อนของบ้านเรา” อาจารย์วิศวกรรมโยธาและซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรและโทจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าว
       
      เรายังขาดความรู้การสร้างถนนอีกมาก
       โครงสร้างถนนนั้นมีหลายชั้นและคุณสมบัติด้านบนจะดีกว่าด้านล่าง ซึ่งยางมะตอยเป็นวัสดุดีที่สุดของถนนและอยู่ชั้นบนสุด ทำหน้าที่ช่วยถ่ายแรงลงด้านล่างของถนน เราไม่ใช้ยางมะตอยในการสร้างถนนเลยก็ได้ แต่ ดร.พีรพงศ์ระบุว่าเราต้องสร้างเป็นถนนแบบ “ฟูลเดพธ์” (Full Depth) คือถนนชั้นเดียวและหนา 20-30 เซ็นติเมตร ซึ่งเป็นถนนที่อเมริกาใช้กันมาก แต่ไม่เหมาะกับเมืองไทย เพราะมีราคาแพงมาก จึงต้องนำหินชนิดอื่นๆ มาวางเป็นชั้นเพื่อลดความหนาลง
       
       “ตอนนี้บ้านเราเริ่มเทคนิคสูงมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพชั้นพื้นทาง ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ใต้ชั้นยางมะตอย โดยเอาซีเมนส์ไปผสมให้แข็งขึ้น แต่ปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง มันก็จะเกิดปัญหาตามมา คือขาดองค์ความรู้ว่าจะต้องผสมซีเมนส์ลงไปในปริมาณเท่าไหร่ มันถึงจะเหมาะสม เราขาดความรู้ว่าควรจะใช้เท่าไหร่ เพราะไปลอกเขามา” อีกปัญหาที่ ดร.พีรพงศ์ชี้ให้เห็น
       
       หากจะทำวิจัยเรื่องถนนหนทาง ดร.พีรพงศ์กล่าวว่า ภาครัฐต้องเป็นผู้ผลักดัน ตัวอย่างเช่นอเมริกาที่ทำหลายส่วนพร้อมๆ กัน แล้วท้ายสุดเอาผลการศึกษามาผนวกกัน ซึ่งเราต้องเริ่มจากการพัฒนาวัสดุการทาง เทคโนโลยีการก่อสร้างใหม่ๆ เทคนิคการปรับปรุงคุณภาพ รวมถึงการซ่อมเพราะถนนมีการเสื่อมสภาพไปทุกวัน จึงต้องหาวิธีซ่อมให้ใช้เวลาสั้นที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ยังต้องการนักวิจัยเข้ามาในเรื่องเหล่านี้มากพอสมควร
       
       “บ้านเรามองแค่ถนนก็คือถนน ไม่ได้ให้ความสำคัญ จะไปให้ความสำคัญกับเรื่องโลจิสติกส์ (การขนส่ง) เรื่องการวางแผนว่าจะขนจากตรงไหนไปตรงไหน โดยมีพื้นฐานว่าถนนเราดีหมด ซึ่งตรงนี้จะมีปัญหาเยอะ โดยเฉพาะการจะเข้าไปเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องน้ำหนักรถที่แต่ละประเทศมีมาตรฐานแตกต่างกัน และถึงเวลาที่เราจะต้องยกระดับมาตรฐานแล้ว” ดร.พีรพงศ์กล่าว และบอกว่ากำลังตั้งโจทย์ให้นักศึกษาไทยนำวัสดุการสร้างถนนในไทยมาพิสูจน์ว่าใช้ได้จริงตามทฤษฎีใหม่หรือไม่ ส่วนเรื่องยางมะตอยนั้นได้พิสูจน์แล้วว่าไม่คุ้มที่จะนำไปใช้ เพราะมีโอกาสทำให้ถนนพังสูง
       
       ติไม่เปลี่ยนเมื่อความชื้นเปลี่ยน ตรงนี้เป็นมุมมองวิชาการที่หากเรานำมาใช้แล้วจะเกิดประโยชน์กับบ้านเรามหาศาล และยิ่งมีน้ำท่วม เราสามารถออกแบบให้ถนนบางเส้นเป็นตลิ่งป้องกันน้ำท่วมได้ด้วย ซึ่งจะเป็นการไขว้กันของความรู้ ทำได้ไหม ทำได้ แต่บ้านเรายังไม่คิดกัน” ข้อชี้แนะอีกหนึ่งแนวทางจาก ดร.พีรพงศ์

       สร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีการทาง
       แม้จะไม่ได้อยู่เมืองไทยและไปทำงานที่ออสเตรเลียกว่า 8 ปี แต่ ดร.พีรพงศ์รวมกลุ่มกับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการทางในเมืองไทยจากหลายสถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยนเรศวร แล้วตั้งเป็นเครือข่ายวิจัยเทคโนโลยีการทางนานาชาติ (International Pavement Technology Research Network) เพื่อวิจัยเทคโนโลยีการทางในประเทศไทย โดยต่างมีความเชียวชาญในหลายด้าน เช่น ด้านเทคโนโลยีคอนกรีต วิศวกรรมปฐพี เทคโนโลยีการทาง เป็นต้น
       
       อีกหนึ่งช่องทางสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายคือการได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ของ สกว. ซึ่งทางเครือข่ายกำลังคัดเลือกนักศึกษาปริญญาเอกมาทำวิจัยภายใต้โครงการดังกล่าว แต่ความต้องการจริงๆ ของทางเครือข่ายคืออยากให้หน่วยงานที่มีอำนาจโดยตรงเข้ามาให้การสนับสนุนงานวิจัย โดย ดร.พีรพงศ์ได้ยกตัวอย่างว่า ออสเตรเลียมีหน่วยงานกลางเพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ แล้วให้หน่วยงานที่ดูแลเรื่องการทางรับองค์ความรู้ไปปฏิบัติตาม
       
       “ใจจริงนั้นอยากให้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทเห็นความสำคัญตรงนี้ และมาให้โจทย์ ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย เหมือนที่เมืองนอกทำ ซึ่งช่วงหลังผมได้ไปคุยกับกรมทางหลวงชนบทบ่อย นับว่าเป็นกรมที่ค่อนข้างเปิดรับไอเดียใหม่ๆ และพยายามปรับตัว เริ่มมีการขยับ แต่เฟสแรกเป็นเรื่องการให้ความรู้ว่าโลกเขาไปถึงไหนแล้ว และส่วนไหนที่จะพัฒนาได้ หากทำเรื่องนี้แล้วช่องทางการคอร์รัปชันจะแคบลง เพราะทุกอย่างจะตรวจสอบได้” ดร.พีรพงศ์กล่าว
       
       ตอนนี้การเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโนโลยีการทางของไทยอาจยังขยับอะไรไม่ได้มาก แต่ก็มีการขยับตัวอยู่บ้าง โดย ดร.พีรพงศ์ได้เข้าร่วมทำงานกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปรับปรุงวิธีการออกแบบถนนและสร้างสะพานทั่วประเทศ ภายใต้โครงการของกรมทางหลวง เป็นระยะเวลา 20 เดือน แต่กว่าองค์ความรู้ที่ได้จะเห็นเป็นรูปธรรม ผู้เชี่ยวชาญไทยในออสเตรเลียคาดว่าคงต้องใช้เวลาไปอีกนับ 10 ปี

ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 เมษายน 2556

92
กลัวกันนักหนากับปัญหาฟองสบู่อสังหาฯ รู้หรือไม่...ทำเลใจกลางเมืองกรุงทุกวันนี้เต็มไปด้วยคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์เปิดใหม่จนแทบจะนับไม่หมด ทำเลที่ว่าคือ "ซอยสุขุมวิท 39" เยื้องดิ เอ็ม โพเรียมห้างดังบนถนนสุขุมวิท โซนที่กำลังฮอตขึ้นหม้อของตลาดคอนโดมิเนียมระดับ "ลักเซอรี่" ไม่เพียงแต่อยู่กลางเมือง หากแต่เป็นซอยที่เชื่อมไปยังซอยสุขุมวิท 35, 49 และ 55 (ซอยทองหล่อ) ได้

ถ้านับมูลค่าขายและมูลค่าลงทุนโครงการในซอยนี้รวมกัน คงต้องตั้งฉายาว่า...ซอยหมื่นล้าน !

ประเด็นที่นำมาสู่การลงพื้นที่ซอยสุขุมวิท 39 มาจากเมื่อปลายปีที่ผ่านมามีคอนโดฯใหม่ ราคาตารางเมตรละ 2 แสนอัพ ที่เปิดตัวใหม่อย่างน้อย 2 โครงการ จากค่าย "แสนสิริ" และ "เอพี-เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์" แสดงว่าซอยนี้ต้องมีดี

ต้นซอย...ดงคอนโดฯแพง

"มิสเซอร์เวย์" เริ่มออกสตาร์ตหัวมุมถนนปากซอยสุขุมวิท 39 ที่มีบันไดขึ้นลงสถานีบีทีเอสเกือบจ่อปากซอย ใกล้ ๆ กันกำลังมีงานก่อสร้างศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม 2 แค่เดินเข้าไปในซอยไม่กี่ก้าว สังเกตเห็นที่ดินเปล่าล้อมรั้วลักษณะเหมือนจะทำคอนโดฯ

เช็กข้อมูลเจอว่าเป็นที่ดินค่าย "เมเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์" ซื้อจากเจ้าของที่มีบ้านอยู่บนที่ดินแปลงติดกัน ราคาตารางวาละประมาณ 1.5 ล้านบาท เนื้อที่รวมประมาณกว่า 3 ไร่ "เสี่ยเอ-สุริยน พูลวรลักษณ์"

ซีอีโอเมเจอร์ฯ กำลังวางแผนอาจจะขึ้นโครงการแบบมิกซ์ยูส (ผสมผสาน) ที่แน่ ๆ จะมีคอนโดฯระดับลักเซอรี่ คาดว่าสนนราคาขายต่อตารางเมตรไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท และอาจมีสำนักงาน โรงแรม และรีเทลผสมด้วย คาดว่าเฉพาะคอนโดฯ น่าจะมีมูลค่าโครงการสูงถึง 5 พันล้านบาท

ส่วนที่ดินแปลงติดกันเป็นของค่าย "เอพี-เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์" ที่เพิ่งเปิดตัวคอนโดฯ ลักเซอรี่ใหม่ล่าสุดในซอยนี้ แบรนด์ "แกรลอรี ฮูร์ เดอร์ 39" 88 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 26-100 ล้านบาท มูลค่าโครงการกว่า 3 พันล้านบาท ข้อมูลอัพเดตมีเศรษฐีใจถึงจองห้องเพนต์เฮาส์ 3 ชั้น (ทรีเพล็กซ์) ราคา 100 ล้านบาท ที่มีแค่ 2 ห้องไปเรียบร้อยไฮโซแล้ว

แสนสิริปิดตึก XXXIX

ถัดจากคอนโดฯใหม่ของเอพี มีคอนโดฯของค่ายแสนสิริ 2 แท่งใกล้ ๆ กัน แท่งแรกสร้างเสร็จแล้วชื่อ "39 by แสนสิริ"เปิดตัวเมื่อประมาณ 5 ปีก่อน ถือเป็นคอนโดฯไฮเอนด์ในขณะนั้น ราคาเริ่มต้นตารางเมตรละประมาณกว่า 1.3 แสนบาท

เลยไปอีกนิดเห็นเป็นตึกสูง (ตึกย่งสุ) กำลังถูกทุบรื้อ ด้านหน้ามีป้ายชื่อโครงการ "XXXIX by SANSIRI" คอนโดฯ 36 ชั้น ราคาตารางเมตรละประมาณ 2.1 แสนบาท มูลค่าโครงการ 2,700 ล้านบาท ที่เพิ่งเปิดตัวปลายปีที่ผ่านมา และขายเกลี้ยงภายใน 1-2 วันเท่านั้น

ช่วงต้น ๆ ซอยสังเกตว่ามีคอนโดฯไฮเอนด์และอพาร์ตเมนต์อยู่หลายตึก ได้แก่ คอนโดฯเลอรัฟฟิเน่ สุขุมวิท 39 เปิดตัวเมื่อปี"50 ขณะนั้นราคาเริ่มต้นตารางเมตรละ 9.4 หมื่นบาท คอนโดฯบ้านสวนเพชร คอนโดฯแกรนด์ 39 ทาวเวอร์ และอพาร์ตเมนต์ Viva Sira ที่สภาพยังใหม่อยู่

ทางลัดเชื่อมสุขุมวิท 49

ถัดจากอพาร์ตเมนต์ มี "ซอยพร้อมมิตร" ที่ไปเชื่อมกับซอยสุขุมวิท 49 ได้ แม้เป็นซอยเชื่อม แต่ภายในซอยพร้อมมิตรมีทั้งอพาร์ตเมนต์ คอนโดฯ และโรงพยาบาล

เท่าที่เห็นก็มีอพาร์ตเมนต์ Tartan House โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สาขาพร้อมมิตร คอนโดฯ H สุขุมวิท 43 กรุงเทพฯ ปักป้ายราคาเริ่มต้นยูนิตละ 3.9 ล้านบาท เป็นคอนโดฯสูง 32 ชั้น 276 ยูนิต พื้นที่ใช้สอย 38.5-208 ตารางเมตร ราคาขายเริ่มต้น 3.99-30 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตารางเมตรละ 107,000 บาท มูลค่าโครงการรวม 1,900 ล้านบาท

กับตึกอพาร์ตเมนต์ DH แกรนด์ทาวเวอร์ ซึ่งฝั่งตรงข้ามอาคารสังเกตว่ามีที่ดินเปล่าล้อมรั้วอยู่ สภาพคล้ายเตรียมก่อสร้างคอนโดฯ หรืออพาร์ตเมนต์

ภายในซอยพร้อมมิตรยังมีคอนโดฯโลว์ไรส์ 8 ชั้น ของแสนสิริ ชื่อ "VIA BOTANI"เป็นตึกสร้างเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ สภาพภายนอกยังดูใหม่ มี 137 ยูนิต ราคาเริ่มต้นประมาณ 4.4 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 950 ล้านบาท

จนกระทั่งมาถึงซอยสุขุมวิท 49 บริเวณกลาง ๆ ซอย สังเกตว่าคึกคักมีรถเข้าออกมากมาย ภายในซอยมีวิลล่ามาร์เก็ต และตึกของ บมจ.แนเชอรัลพาร์ค

อพาร์ตเมนต์-คอนโดฯเพียบ

ย้อนกลับไปตั้งต้นที่ซอยสุขุมวิท 39 ก่อนเลี้ยวเข้ามาในซอยพร้อมมิตร มุ่งหน้าตามซอยสุขุมวิท 39 ไปเรื่อย ๆ ผ่าน "ซอยพร้อมศรี" ที่สามารถเชื่อมไปยังซอยทองหล่อได้ จนไปเจอกับ "ซอยพร้อมจิต" จุดสังเกตคือปากซอยมีคอนโดฯออร์คิดวิว ตึกเบ้อเริ่มตั้งอยู่ เดินสำรวจในซอยส่วนใหญ่เป็นอพาร์ตเมนต์ อาทิ 39 บูเลอวาร์ด เอ็กเซกคิวทีฟ เรสซิเดนซ์,นิด้าแมนชั่น, D.S.ทาวเวอร์ อัตราค่าเช่าไม่ธรรมดา เดือนละตั้งแต่ 3-6 หมื่นบาทขึ้นไป ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเกาหลี

จากนั้นวกมาตั้งต้นที่ซอยสุขุมวิท...ช่วงปากซอยพร้อมมิตรมุ่งหน้าไปต่อ เห็นมีอพาร์ตเมนต์หรู รูปแบบตึกสูง สภาพยังใหม่อยู่ ชื่อ "บ้านจามจุรี" ค่าเช่าห้อง 2 นอน 145 ตารางเมตร เริ่มต้น 76,000 บาท น่าจะเน้นเจาะชาวต่างชาติและผู้บริหาร

จากนั้นเลี้ยวไปตามถนน เห็นไซต์ก่อสร้างคอนโดฯ "ไซมิส เธอร์ตี้ไนน์" คอนโดฯหรูของค่ายไซมิสแอสเสท บริษัทอสังหาฯของกลุ่มผู้บริหารบริษัทรับเหมาฤทธา ที่แตกตัวมาทำคอนโดฯ เป็นตึก 7 ชั้น 87 ยูนิต ราคาเปิดตัวเมื่อปี"54 เริ่มต้นประมาณยูนิตละ 4.1 ล้านบาท-12.9 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 600 ล้านบาท

ตระกูลดังแจมขึ้นโครงการ

เลยไปสักพักมีโครงการคอนโดฯเดอะคาโดแกน ที่พัฒนาโดยตระกูล "ณรงค์เดช" ประมาณปี"47-48 ช่วงที่คอนโดฯกำลังบูมใหม่ ๆ ลึกเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตรมีเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ "เซ็นเตอร์พอยท์พร้อมพงษ์" ของ "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" และคอนโดฯ "ซิตี้ รีสอร์ท สุขุมวิท 39" อยู่บริเวณหัวมุมถนนจุดตัดที่มีทางแยกไปยังถนนอโศก (ซอยสุขุมวิท 21) ได้ มุ่งหน้าไปต่อตามซอยสุขุมวิท 39 เข้าสู่ช่วงท้าย ๆ ที่จะออกสู่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ยังมีตึกสูงให้เห็นเป็นระยะ ๆ สังเกตว่าบริเวณนี้ยังมีที่ว่างแปลงใหญ่ติดถนนซอยอยู่ 2 แปลงทั้งฝั่งซ้ายและขวา

ส่วนตึกสูงมีทั้งโครงการอพาร์ตเมนต์ Mano Tower และตึกเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ "ซิตี้ รีสอร์ท" สูง 30 ชั้น จำนวน

231 ยูนิต งานก่อสร้างใกล้จะแล้วเสร็จ เจ้าของโครงการคือบริษัท ทีเอสที ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ตั้งอยู่เยื้องกับโครงการ OZONO มอลล์ เป็นโครงการสุดท้ายก่อนจะออกไปยังถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ใกล้กับตึกอิตัลไทยเบ็ดเสร็จนับรวม ๆ แล้ว เฉพาะซอยสุขุมวิท 39 มีโครงการคอนโดฯ อพาร์ตเมนต์ และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่เปิดตัวแล้ว กำลังก่อสร้าง และสร้างเสร็จ รวมกันประมาณ 20 โครงการ

18 มี.ค. 2556
คอลัมน์ เล็งทำเล ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

93
ถึงวินาทีนี้ยังเขย่าไม่ลงตัวเต็ม 100% สัดส่วนเงินลงทุนโครงการในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่ "รัฐบาลเพื่อไทย" เร่งสปีดให้จบในเร็ววัน ก่อนเสนอให้รัฐสภาพิจารณาในเดือนเมษายนนี้ แต่เป็นที่แน่ชัดกว่า 80% ของเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด จะถมโครงการระบบรางทั้ง "รถไฟความเร็วสูง-รถไฟทางคู่-รถไฟฟ้า"

4 สายทางลงทุน 7.5 แสนล้าน

ความ คืบหน้า "รถไฟฟ้า-รถไฟทางคู่" ได้ข้อยุติ ยกเว้น...โปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง เชื่อม "กรุงเทพฯ" ไปยังหัวเมืองใหญ่ 4 ภูมิภาค พาดผ่านพื้นที่ 21 จังหวัด ครอบคลุมภาคเหนือ กลาง ตะวันออก ตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ ระยะทางรวม 1,447 กม. ภายใต้กรอบลงทุน 753,105 ล้านบาท

จำแนกเป็นสาย กทม.-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กม. วงเงิน 387,821 ล้านบาท สาย กทม.-นครราชสีมา 256 กม. 140,855 ล้านบาท สาย กทม.-หัวหิน 225 กม. 123,798 ล้านบาท และสายต่อเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ-พัทยา-ระยอง 221 กม. 100,631 ล้านบาท

ล่า สุด วงเงินลงทุนมีแนวโน้มปรับเพิ่มกว่า 100,000 ล้านบาท เมื่อแนวสายไปภาคอีสานทางนายกรัฐมนตรี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" สั่ง "คมนาคม" เจ้าภาพคัดสรรบัญชีโครงการ ขีดเส้นทางลากยาวไปถึง "หนองคาย" เชื่อมไฮสปีดเทรนไทยทะลุ "นครเวียงจันทน์" ที่ประเทศจีนลงทุนสร้างรออยู่ที่ฝั่ง สปป.ลาว และกำลังลงมือก่อสร้างในเร็ว ๆ นี้

ส่วนสายที่เหลือ "กทม.-เชียงใหม่" และ "กทม.-หัวหิน" ยังคงเดิม รอเคาะแนวสายทางให้ชัดเจนเดือน พ.ค.นี้ ส่วนสาย "กทม.-พัทยา-ระยอง" เพิ่งเริ่มต้นศึกษา

ลุ้นช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่

โฟกัส รายละเอียด เริ่มจากภาคเหนือ "กทม.-เชียงใหม่" ทาง "รัฐบาลเพื่อไทย" อยากแจ้งเกิดโดยเร็ว แต่ข้อจำกัดของพื้นที่จึงไม่ง่ายที่จะสร้างได้หมดทั้งโครงการ

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ความเป็นไปได้สูงของสายเหนือ ในเฟสแรกจะเกิดก่อนคือช่วง "กทม.-พิษณุโลก" ระยะทางกว่า 300 กิโลเมตร ส่วน "พิษณุโลก-เชียงใหม่" อาจจะต้องรออีไอเอ เนื่องจากตัดผ่านภูเขาจะต้องเจาะทะลุสร้างเป็นอุโมงค์ลอดเขาไป

"ตอน นี้เพิ่มแนวทางเลือกช่วงอุตรดิตถ์ไปเชียงใหม่ ตัดตรงมาสุโขทัย ผ่านศรีสัชนาลัยขึ้นไป เพราะจะผ่านภูเขาน้อยกว่าแนวรถไฟเดิม ซึ่งตรงกับแนวคิดนายกฯด้วย"

เปิด 5 ออปชั่น "สายเหนือ"

สำหรับ 5 แนวทางตามที่บริษัทที่ปรึกษาเสนอ ใช้ค่าก่อสร้าง+เวนคืนกว่า 400,000 ล้านบาท

แนวที่ 1 ใช้แนวเขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก ความยาว 676 กม. มี 12 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เวนคืน 3,043 ไร่ 910 แปลง ค่าเวนคืน 3,651 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 429,886 ล้านบาท รวม 433,537 ล้านบาท

แนว ที่ 2 ปรับแนวเส้นทางให้สั้นลง มี 11 สถานี โดย 5 สถานีแรก "บางซื่อ-นครสวรรค์" คงเดิม ปรับเส้นทางเพิ่ม "สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย" แทน "อุตรดิตถ์ เด่นชัย" และตัดสถานีพิจิตรออกไป ความยาว 631 กม. เวนคืน 10,249 ไร่ 3,070 แปลง ค่าเวนคืน 12,298 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 414,776 ล้านบาท รวม 427,075 ล้านบาท

ทางเลือกที่ 5 เจ๋งสุด

แนว ที่ 3 เป็นแนวตัดใหม่ ตัดตรงจากอยุธยาเข้านครสวรรค์ โดยไม่เข้า จ.ลพบุรี จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งตรงจากนครสรรค์ไปสุโขทัย เข้าลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ประมาณ 607 กม. มี 10 สถานีคือ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เวนคืน 13,856 ไร่ 4,160 แปลง ค่าเวนคืน 16,627 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 395,024 ล้านบาท รวม 411,652 ล้านบาท

แนว ที่ 4 เป็นแนวตัดใหม่ อยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา วิ่งเข้าด้านตะวันออกของทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ จากนั้นวิ่งเข้าเมืองสุโขทัยสิ้นสุดที่เชียงใหม่ 594 กิโลเมตร มี 10 สถานีคือ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เชียงใหม่ เวนคืน 13,856 ไร่ 4,160 แปลง ค่าเวนคืน 16,627 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 392,592 ล้านบาท รวม 409,220 ล้านบาท

และ แนวที่ 5 นำแนวเส้นทางที่ 1+2 ความยาว 661 กม. มี 12 สถานีคือ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เวนคืน 5,835 ไร่ 1,750 แปลง ค่าเวนคืน 7,002 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 404,426 ล้านบาท รวม 411,427 ล้านบาท ซึ่งแนวนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด

ปรับใหม่ "กทม.-หัวหิน"

สำหรับ สาย "กทม.-หัวหิน" หลังบริษัทที่ปรึกษาคัดแนวทางรถไฟล่องใต้สายเดิม ล่าสุดแนวเส้นทางจะเริ่มจากบางซื่อวิ่งไปตามแนวรถไฟเดิม แต่จะปรับแนวใหม่ช่วง "ปากท่อ-เพชรบุรี" ให้เป็นทางตรง

จากแยก "นครชัยศรี" ไปถึง "เพชรบุรี" จะใช้แนวมอเตอร์เวย์สายนครปฐม-ชะอำ จากนั้นจะใช้แนวถนนเพชรเกษมมุ่งหน้าไปยัง "สถานีหัวหิน" เพื่อเลี่ยงการเวนคืนที่ดิน จากเดิมจะเลาะไปตามแนวรถไฟเดิมที่ต้องเข้าไปที่บ้านโป่งและตัวเมืองเพชรบุรี ทำให้ระยะทางสั้นลงจากเดิม 225 กม. เหลือประมาณ 190 กม. ส่วนงบฯก่อสร้างถูกลงจาก 123,798 ล้านบาท เหลือกว่า 110,000 ล้านบาท เวนคืน 250 ไร่ 1,500 แปลง ค่าเวนคืน 9,600 ล้านบาท

ด้านตำแหน่งสถานีจะตัดออก 2 สถานีคือ "นครปฐม-ราชบุรี" ส่วนจำนวนยังเท่าเดิม 5 สถานี มีบางซื่อ นครชัยศรี ปากท่อใหม่ เพชรบุรี หัวหิน

"ที่ปรับมาใช้แนวเดียวกับมอเตอร์เวย์เพราะผ่านอีไอเอแล้ว ส่วนตำแหน่งสถานียังไม่สรุป แต่สถานีหัวหินจะขยับตำแหน่งใหม่ไม่ใช่สถานีเดิม โดยจะร่นระยะทางมาใกล้กับแยกหินเหล็กไฟ" แหล่งข่าวกล่าว

อีสานขยายถึง "หนองคาย"

ด้าน สาย "กทม.-นครราชสีมา" 256 กม. แหล่งข่าวกล่าวว่า จุดเริ่มต้น "สถานีบางซื่อ" เมื่อเข้าสู่ "ชุมทางภาชี" ที่ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา จะมีทางแยกไปยังสายภาคเหนือ เมื่อเข้า จ.สระบุรี ผ่าน อ.หนองแซง เมืองสระบุรี แก่งคอย มวกเหล็ก อ.วิหารแดง อาจจะปรับแนวช่วงบริเวณมวกเหล็กเพื่อลดผลกระทบที่จะผ่านเขตประทานบัตรการทำ เหมืองปูน 3 แห่งคือ โรงปูนอินทรี ปูนซิเมนต์ไทย และปูนทีพีไอ อีกทั้งใกล้พื้นที่ลุ่มน้ำ จากนั้นแนวเส้นทางจะเข้า จ.นครราชสีมา ผ่าน อ.สีคิ้ว ช่วงลำตะคอง

แต่เนื่องจากช่วง "กทม.-บ้านภาชี" 84 กม.ที่ใช้แนวร่วมกับสายเหนือก่อนจะฉีกตัวแยกมาตามทางรถไฟสายอีสาน ทำให้ในผลการศึกษาและออกแบบจะมี 3 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 สถานีชุมทางบ้านภาชี-สถานีนครราชสีมา 168 กม. มี 3 สถานีคือ สถานีสระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา ค่าก่อสร้าง 104,600 ล้านบาท

ช่วงที่ 2 สถานีนครราชสีมา-สถานีหนองคาย 356 กม. มีแผนจะสร้างในเฟส 2 มี 5 สถานีคือ สถานีบัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ค่าก่อสร้าง 144,363 ล้านบาท แนวเส้นทางต่อจาก จ.นครราชสีมา ผ่าน อ.เมืองนครราชสีมา โนนสูง คง บัวใหญ่ บัวลาย

จากนั้นผ่าน จ.ขอนแก่น พื้นที่ 7 อำเภอคือ อ.พล เมืองขอนแก่น โนนศิลา น้ำพอง บ้านไผ่ เขาสวนกวาง บ้านแฮด ผ่าน จ.อุดรธานี พื้นที่ 5 อำเภอ มี อ.โนนสะอาด กุมภวาปี ประจักษ์ศิลปาคม เมืองอุดรธานี และ อ.เพ็ญ ก่อนเข้าสู่ จ.หนองคาย ผ่านพื้นที่ อ.สระใคร อ.เมืองหนองคาย

ลุ้นสายนำร่อง "กทม.-ภาชี"

และ ช่วงที่ 3 สถานีชุมทางแก่งคอย-สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา 100 กม. มี 2 สถานีคือ สถานีองครักษ์ สถานีฉะเชิงเทรา ค่าก่อสร้าง 63,290 ล้านบาท

สำหรับ สายนี้ จากนโยบาย "นายกฯยิ่งลักษณ์" ต้องการให้สร้างเชื่อมไปยัง สปป.ลาว ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ช่วง "นครราชสีมา-หนองคาย" อาจจะเริ่มก่อสร้างก่อนช่วงต้นที่ยังติดอีไอเอผ่านเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาและ พื้นที่สัมปทานบัตรโรงปูน 3 ค่ายยักษ์

แต่ทั้งหมดยังเป็นแผนงานที่ บรรจุในโครงการลงทุน 2 ล้านล้าน ในทางปฏิบัติจะเริ่มประมูลในปีนี้และก่อสร้างในปี 2557 ตามเป้าหมายได้หรือไม่ยังต้องจับตาดูกันต่อไป

รวมทั้งไฮสปีดเทรนสาย นำร่อง "กทม.-บ้านภาชี" 84 กม. ประกาศตัวว่าจะเกิดได้ก่อนใน 3 ปีนี้ จะชัวร์หรือมั่วนิ่ม...ก็ยังต้องลุ้นอีกเช่นกัน

18 มี.ค. 2556
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

94


Gourmet & Cuisine
Issue  150 Jan 2013

95


Gourmet & Cuisine
Issue 150 Jan 2013

96


Gourmet & Cuisine
Issue 151 Feb 2013

97


Gourmet & Cuisine
Issue 151 Feb 2013


98
  "เตาอบไมโครเวฟ" ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของมนุษยชาติไปแล้วในยุคนี้ ที่ทำให้มนุษย์มีความสะดวกรวดเร็วในการปรุงอาหารหรืออุ่นอาหารและเครื่องดื่ม แต่ใครจะเชื่อว่าจะมีอีกด้านหนึ่งที่เราอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับการศึกษาและค้นคว้าในการใช้เตาไมโครเวฟว่าอาจมีอันตรายต่อผู้ใช้เช่นกัน
       
        สหภาพโซเวียตซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศที่ประดิษฐ์ต่อยอดเตาอบไมโครเวฟต่อจากเยอมมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้ประกาศห้ามใช้เตาไมโครเวฟมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 หรือกว่า 34 ปีที่แล้ว เพราะค้นพบว่าการใช้เตาอบไมโครเวฟในอาหารนั้นจะมีผลต่อสุขภาพร่างกายมนุษย์
       
        งานศึกษาและค้นคว้าที่น่าสนใจที่จะขอหยิบยกมาอ้างอิงมีอยู่หลายชิ้นมาก เพื่อให้ผู้อ่านได้ตระหนักในการใช้เตาอบไมโครเวฟดังนี้
       
        The Minnesota Extension Service แห่งมหาวิทยาลัย มินิโซต้า สหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2532 เกี่ยวกับการอุ่นนมโดยใช้เตาอบไมโครเวฟให้เด็กดื่มความตอนหนึ่งว่า "การอุ่นนมด้วยเตาอบไมโครเวฟให้เด็กดื่มนั้น สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพนมได้ โดยอาจมีการสูญเสียวิตามิน คุณค่าและประโยชน์ถูกทำลาย"
       
        Dr. Lita Lee จาก ฮาวาย ได้รายงานงานวิจัยของ Lancet ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ความตอนหนึ่งว่า "การใช้ไมโครเวฟในการอุ่นนมให้เด็กดื่มนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสูตรทางเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรดอะมิโน ให้กลายเป็นรูปแบบของ การสังเคราะห์ cis -isomer ของกรดอะมิโน ซึ่งแม้จะไม่ได้มีผลทางชีววิทยา แต่สำคัญไปกว่านั้นคือ หนึ่งในกรดอะมิโนที่เรียกว่า T-proline จะถูกเปลี่ยนโครงสร้างเคมีไปเป็น D-isomer ซึ่งเป็นพิษต่อทั้งระบบเส้นประสาทและไต"
       
        ในปี พ.ศ. 2534 มีคดีความที่ โอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับคดีที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งนางพยาบาลได้ใช้เตาอบไมโครเวฟในการอุ่นถุงเลือดสำหรับการให้เลือดผู้ป่วยชื่อ นาง Norma Levitt ในการผ่าตัดสะโพก ผลปรากฏว่าผู้ป่วยรายดังกล่าวเสียชีวิตจากการให้เลือดที่ผ่านการอุ่นด้วยเตาอบไมโครเวฟ
       
        ในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับงานไมโครเวฟ ได้เคยมีงานเผยแพร่ โดย Raum และ Zelt ในปี พ.ศ. 2535 โดยระบุว่า "จากการศึกษาในระยะสั้นพบการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อเลือดในการดื่มน้ำและผักที่ผ่านเตาอบไมโครเวฟ กว่าคืออาสาสมัคร 8 คน ได้รับประทานอาหารชนิดเดียวกันแต่ใช้วิธีการทำอาหารที่แตกต่างกัน ผลปรากฏว่าอาหารทั้งหมดที่ได้ผ่านเตาอบไมโครเวฟทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเลือดของอาสาสมัคร โดยพบว่าระดับฮีโมโกลบิน (ส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ) แต่เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่สร้างสาร antibody ขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค ที่เรียกว่า "ลิมโฟไซต์" ก็มีระดับลดลง
       
        Dr.Han Ulrich Hertel ที่คลีนิคใน ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ ผู้ซึ่งเคยทำงานด้านวิทยาศาสตร์การอาหารมาเป็นเวลาหลายปี ได้เคยเผยแพร่งานวิจัยที่ระบุว่าอาหารที่ผ่านเตาอบไมโครเวฟสามารถทำให้เสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่าอาหารที่ทำแบบดั้งเดิมโดยเฉลี่ย ในบทความนี้ยังได้ระบุใน Journal Franz Weber ฉบับที่ 19 ซึ่งระบุด้วยว่า การบริโภคอาหารที่ผ่านเตาไมโครเวฟมีผลกระทบเกี่ยวกับมะเร็งในเม็ดเลือด
       
        นอกจากนี้ Dr.Han Ulrich Hertel ยังได้ทำงานร่วมกับ Dr.Bernard H. Blanc จากสถาบันเทคโนโลยีสหพันธรัฐสวิส และสถาบันมหาวิทยาลัยด้านชีวเคมีวิทยา โดยจากการศึกษาอาสาสมัคร ระหว่าง 2-5 วัน โดยให้ตัวแปรอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างเดียว บนเงื่อนไขกระเพาะอาหารว่างไม่รับประทานอย่างอื่น ได้แก่ 1.นมสด, 2. นมสำหรับใช้ทำอาหาร, 3. นมพาสเจอไรซ์, 4. นมสดที่ผ่านกระบวนการอบในเตาอบไมโครเวฟ, 5. ผักสดที่ไร้สารพิษ, 6. ผักไร้สารพิษชนิดเดียวกันที่ปรุงปกติ, 7. ผักไร้สารพิษชนิดเดียวกัน, 8. ผักที่ผ่านกระบวนการอบในเตาอบไมโครเวฟ
       
        เมื่ออาสาสมัครได้ถูกตรวจเลือดก่อนรับประทานอาหารที่กำหนดเอาไว้ หลังจากรับประทานอาหารตามที่ได้เลือกแล้วจึงได้ตรวจเลือดอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผลการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญว่า ผู้ที่รับประทานอาหารหรือนมที่ผ่านเตาอบไมโครเวฟ มีระดับฮีโมโกลบินลดลง เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซต์ ก็ลดลง ซึ่งสอดคล้องและตรงกันกับงานวิจัยในประเทศอื่น เช่นกัน
       
        Dr. Lita Lee จากฮาวาย ได้เขียนหนังสือเรื่อง รังสีไมโครเวฟและเตาอบไมโครเวฟ โดยระบุว่า ทุกครั้งที่มีการรั่วไหลของรังสี electro-magnetic จากเตาอบไมโครเวฟ ทำให้อาหารถูกแปรสภาพเป็นอันตรายและพิษต่ออวัยวะกลายเป็นสารก่อมะเร็ง
       
        ทั้งนี้ Dr. Lita Lee ได้อ้างอิงการค้นคว้าของสหภาพโซเวียต ซึ่งถูกตีพิมพ์โดย Atlantis Rising Educational Center เมือง พอร์ตแลนด์ มลรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ "สารก่อมะเร็ง" ที่ถูกก่อขึ้นในอาหารทุกชนิดที่ใช้ในการทดสอบจากการปรุงอาหารโดยการให้เตาอบไมโครเวฟที่ทำการทดสอบโดยชาวรัสเซียซึ่งได้ผลดังต่อไปนี้
       
        - เนื้อสัตว์ที่ผ่านการอบในเตาอบไมโครเวฟ จะก่อให้เกิดการก่อตัวของสิ่งที่เรียกว่า d-Nitrosodiethanolamines หรือที่รู้จักกันดีว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
       
        - นมที่ผสมกับธัญพืช (Cereal Grans) แล้วถูกอุ่นให้ร้อนโดยเตาอบไมโครเวฟ จะถูกแปลงไปเป็นสารก่อมะเร็ง
       
        - ผลไม้แช่แข็งที่ถูกให้ความร้อนโดยเตาอบไมโครเวฟ จะทำให้น้ำตาลและแป้งในผลไม้ที่เรียกว่า Glucoside และ Galactyoside จะถูกแตกตัวไปและกลายเป็นสารก่อมะเร็ง
       
        - การใช้ความร้อนสูงจากเตาอบไมโครเวฟเพื่อใช้ในการทำอาหารพวกผักสด ปรุงสุก หรือแช่แข็ง จะถูกกลายสภาพกลายเป็นสารก่อมะเร็ง
       
        - อนุมูลอิสระที่เป็นสารก่อมะเร็งทั้งหลาย จะรวมกลุ่มกันในพืชที่ผ่านไมโครเวฟ โดยเฉพาะผักที่มีราก และลดคุณค่าของอาหารนั้นๆ
       
        จากรายงานของกลุ่มนักวิจัยชาวรัสเซียได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาหารนั้นเป็นอย่างรวดเร็ว และเป็นสาเหตุของการลดลงของคุณค่าอาหาร 60%-90% โดยพบว่า เป็นการลดคุณค่าของสารอาหารตามธรรมชาติของวิตามินบีรวม วิตามินซี วิตามินอี แร่ธาตุที่สำคัญ และประสิทธิภาพการป้องกันการสะสมของไขมันในตับในอาหารทุกประเภท และยังทำลายสารประกอบที่สำคัญหลายชนิดที่อยู่ในผัก เช่น Alkaloids, Glucosides, Galactosides, Nitrilosides อีกทั้งยังลดคุณสมบัติ nucleo-proteins ในเนื้อสัตว์
       
        Dr. Lita Lee ยังได้เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางเคมีของเลือดและอัตราการเจ็บป่วยระหว่างผู้บริโภคอาหารจากเตาอบไมโครเวฟ ซึ่งอาการเจ็บป่วยมากมาย และตัวอย่างของสาเหตุที่พบนั้นมีดังต่อไปนี้
       
        - มีการพบว่าต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติไป ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการต่อต้านหรือป้องกันเซลล์มะเร็งหลายชนิดลดลงไป
       
        - พบอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นของเซลล์มะเร็งในเลือด
       
        - พบโอกาสในอัตราเพิ่มขึ้นสำหรับมะเร็งในกระเพาะอาหารและลำไส้
       
        - พบอัตราความผิดปกติในระบวนการย่อยอาหารเพิ่มมากขึ้น และระบบจะค่อยๆเสื่อมสภาพจนถูกทำลายและไม่สามารถย่อยอาหารได้อีก
       
        ส่วนใครจะเชื่อเนื้อหาข้างต้นนี้หรือไม่ก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคล ไม่มีใครจะห้ามได้ เพียงแต่ถ้าได้หยุดคิดสักนิด และถ้ามีทางเลือกได้ก็น่าจะเลือกหนทางที่จะลดความเสี่ยงให้น้อยลงจะดีไหม?


ณ บ้านพระอาทิตย์
       โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ASTVผู้จัดการรายวัน    1 มีนาคม 2556

99
คุณลักษณะทั่ว​ไปของตัวอย่าง
จาก​การพิจารณาลักษณะทั่ว​ไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 68.3 ​เป็นชาย
​และร้อยละ 31.7 ​เป็นหญิง
ร้อยละ 32.9 มีอายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 29.9 มีอายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 22.9 มีอายุ 40-49 ปี
ร้อยละ 8.7 มีอายุ 50-59 ปี
ร้อยละ 4.4 มีอายุ 15-19ปี
​และร้อยละ 1.2 มีอายุ 60 ปีขึ้น​ไป

ด้านราย​ได้           
ร้อยละ 48.9 ระบุราย​ได้ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 31.1 ระบุราย​ได้ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 9.5 ระบุราย​ได้ 15,001 — 20,000
ร้อยละ 5.9 ระบุราย​ได้​ไม่​เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 3.8 ระบุราย​ได้ 25,001 บาทขึ้น​ไป
​และร้อยละ 0.8 ระบุราย​ได้ 20,001- 25,000 บาท

ด้าน​การศึกษา         
ร้อยละ 33.2 สำ​เร็จ​การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ร้อยละ 31. 7 สำ​เร็จ​การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น​หรือต่ำกว่า
ร้อยละ 15.8 สำ​เร็จ​การศึกษา​ในระดับปริญญาตรี

ด้านอาชีพ             
ร้อยละ 40.2 ระบุจักรยานยนต์รับจ้าง
ร้อยละ 16.3 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท​เอกชน
ร้อยละ 11.8 ระบุนัก​เรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 10.3 ระบุรับจ้าง​ใช้​แรงงานทั่ว​ไป
ร้อยละ 9.7 ค้าขายรายย่อย/หาบ​เร่​แผงลอย ​เป็นต้น
​โปรดพิจารณารายละ​เอียดดังตารางต่อ​ไปนี้
ตารางที่ 1 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบ​การณ์​ใน​การประสบอุบัติ​เหตุ

​การประสบอุบัติ​เหตุ          ​ผู้ขับขี่รถมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง   ​ผู้ขับขี่รถมอ​เตอร์​ไซค์ ส่วนตัว

​เคยประสบอุบัติ​เหตุ                        57.9                         52.6

​ไม่​เคย                                       42.1                         47.4


ตารางที่ 2 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรม​การสวมหมวกกันน็อค​เมื่อขับขี่/ซ้อนรถมอ​เตอร์​ไซค์

พฤติกรรม​การสวมหมวกกันน็อค          ​ผู้ขับขี่          คนซ้อนท้าย       ภาพรวม

สวมหมวกทุกครั้งที่​เดินทาง                 27.9             5.7              23.3

ไม่สวม​เลย ​หรือสวม​เป็นบางครั้ง           72.1            94.3              76.7


ตารางที่  3  ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ​การมี​เด็กร่วม​เดินทาง​โดยรถมอ​เตอร์​ไซค์

การมี​เด็กร่วม​เดินทาง          รถมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว       รถมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง    ภาพรวม

มี​เด็กร่วม​เดินทางด้วย                    49.9                    64.8                   57.3

​ไม่มี​เด็กร่วม​เดินทางด้วย                 50.1                    35.2                   42.7



ตารางที่ 4 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ​การสวมหมวกกันน็อค​ให้กับ​เด็ก ​เมื่อ​เดินทาง​โดยรถมอ​เตอร​ไซค์

​การสวมหมวกกันน็อค​ให้กับ​เด็ก   รถมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว   รถมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง     ภาพรวม

สวมทุกครั้ง                                    16.5                      6.7               11.5

​ไม่สวม ​หรือสวม​เป็นบางครั้ง                 83.5                    93.3               88.5



ตารางที่ 5 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ​เหตุผล​ใน​การ​ไม่​ใส่หมวกกันน็อค (ตอบ​ได้มากกว่า 1 ข้อ)

เหตุผล​ใน​การ​ไม่สวมหมวกกันน็อค                ภาพรวม

คิดว่า​ไป​ใกล้ๆ คง​ไม่​เป็นอันตราย                    69.3

คิดว่าถนน​หรือซอยนี้​ไม่มีตำรวจ                     39.3

รีบที่จะ​ไป ​ไม่มี​เวลาสวม                             25.7

ขับขี่​ไม่สะดวก​ไม่คล่องตัวมองทาง​ไม่ถนัด         21.8

หมวกมีกลิ่นอับ ​ไม่สะอาด                           12.0

กลัวผม​เสียทรง                                       10.5

กลัวถูกข​โมย ​เมื่อถอด​แขวน​ไว้ที่รถ                  8.9

​ไม่มีที่​เ​ก็บหมวก                                       7.8

คนขับ​ไม่หยิบหมวก​ให้สวม (กรณี​เป็นคนซ้อน)     6.9

คิดว่าตำรวจ​ไม่จับ                                     6.2

ชอบ​โลด​โผน ท้าทาย                                3.7

อื่นๆ                                                    4.4

ตารางที่ 6 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ​ความบ่อย​ใน​การคาดสายรัดคางของหมวกกันน็อค

ความบ่อย​ใน​การคาดสายรัดคาง    รถมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว      รถมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง     ภาพรวม

                                        คนขับ       คนซ้อน          คนขับ       คนซ้อน

คาดสายรัดคางทุกครั้ง                59.2        45.5            59.9        29.1       55.0

​ไม่​ได้คาด ​หรือคาด​เป็นบางครั้ง      40.8        54.5             40.1        70.9      45.0


--​เอ​แบค​โพลล์--

100
เนื่องด้วยผล​การศึกษา​เกี่ยวกับ​การ​เกิดอุบัติ​เหตุที่​เกิดขึ้น​ในช่วง​เทศกาลส่งท้ายปี​เก่าต้อนรับปี​ใหม่พบว่า รถมอ​เตอร์​ไซค์​เป็นยานพาหนะที่ประสบอุบัติ​เหตุมากที่สุด​และมักจะมีประชาชนที่​ได้รับบาด​เจ็บ​หรือ​เสียชีวิต​เป็นจำนวนมาก นาย​แพทย์​ไพฑูรย์  บุญมา ประธานศูนย์วิจัยสุขภาพกรุง​เทพ ​เครือ​โรงพยาบาลกรุง​เทพ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ​ผู้อำนวย​การสำนักวิจัย​เอ​แบค​โพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ​จึง​ได้ร่วมกันดำ​เนิน​โครง​การวิจัย​เพื่อศึกษา​ถึง​ความ​เสี่ยงอันตรายจากอุบัติ​เหตุรถมอ​เตอร์​ไซค์ขึ้นมา

นาย​แพทย์​ไพฑูรย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมี​ผู้ป่วยที่​ได้รับบาด​เจ็บทางศีรษะ​ในอุบัติ​เหตุรถมอ​เตอร์​ไซค์​และ​เข้ารับ​การรักษาตัว​ใน​โรงพยาบาล​เป็นจำนวนมาก​และงานวิจัยของ​เอ​แบค​โพลล์ครั้งนี้​ก็ชี้​ให้​เห็นว่าประชาชนที่​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์​และสวมหมวกกันน็อค​ให้ถูกวิธีจะช่วยลดอันตรายจาก​การบาด​เจ็บที่ศีรษะ​ได้ ​แต่ผลสำรวจที่ค้นพบน่าตก​ใจตรงที่ประชาชนยัง​ไม่ตระหนัก​ถึงอันตรายมาก​เพียงพอ​เพราะคิดว่าจะ​ไม่​เกิดกับตัว​เอง​และคิดว่า​เดินทางระยะ​ใกล้ๆ คง​ไม่​เป็นอันตราย ​แต่​ใน​ความ​เป็นจริงอันตรายจากอุบัติ​เหตุ​เกิดขึ้น​ได้​ในทุกวินาที

นอกจากนี้ นาย​แพทย์​ไพฑูรย์ ยังกล่าวต่อ​ไปว่า ​เด็ก​เล็ก​เป็นกลุ่มที่มี​ความ​เสี่ยงสูง​และน่า​เป็นห่วงมากที่สุด​เพราะ​ไม่สวมหมวกกันน็อค​เนื่องจาก​ไม่มีขนาดที่​เหมาะสม​และ​ความอ่อน​แอของร่างกายยิ่ง​ทำ​ให้​เกิด​การบาด​เจ็บรุน​แรงมากกว่า​ผู้​ใหญ่อีกด้วย ด้วย​เหตุนี้ทาง​โรงพยาบาล​จึงจำ​เป็นต้องมีคณะ​แพทย์​เชี่ยวชาญด้านอา​การบาด​เจ็บจากอุบัติ​เหตุ​ในหมู่ประชาชนขึ้นมา ​เพราะผลวิจัยพบว่าประชาชนจำนวนมากยัง​ไม่มี​ความตระหนัก​ถึงอันตรายจาก​การบาด​เจ็บที่ศีรษะ​และยังคงมีพฤติกรรม​เสี่ยงสูง​ใน​การ​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์สำหรับ​การ​เดินทาง​ในชีวิตประจำวันของพวก​เขา

​ในขณะที่ ดร.นพดล กรรณิกา ​ผู้อำนวย​การสำนักวิจัย​เอ​แบค​โพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ​เปิด​เผยวิจัย​เชิงสำรวจ​เรื่อง ​ความ​เสี่ยงอันตรายบาด​เจ็บที่ศีรษะ​ในอุบัติ​เหตุมอ​เตอร์​ไซค์จาก​การ​ไม่สวมหมวกกันน็อค กรณีศึกษา​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์​ใน​เขตกรุง​เทพมหานครที่มีอายุ 15 ปีขึ้น​ไป จำนวน​ทั้งสิ้น 836 ตัวอย่างดำ​เนิน​โครง​การระหว่างวันที่ 12 -  20 ธันวาคมที่ผ่านมา

ดร.นพดล กล่าวว่า ​ในกลุ่ม “คนขับ” มอ​เตอร์​ไซค์รับจ้างส่วน​ใหญ่​หรือร้อยละ 57.9 ​เคยประสบอุบัติ​เหตุ ​และ​ในกลุ่ม “คนขับ” มอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว​เกินครึ่ง​หรือร้อยละ 52.6 ​เคยประสบอุบัติ​เหตุ ​เช่น​เดียวกัน

ที่น่า​เป็นห่วงคือ ​เมื่อสอบถาม​ถึงพฤติกรรม​การสวมหมวกกันน็อค​ทั้ง​ในกลุ่ม “คนขับ” ​และ​ในกลุ่ม “คนซ้อนท้าย” พบว่า ส่วน​ใหญ่​หรือร้อยละ 72.1 ของกลุ่มคนขับ ​และร้อยละ 94.3 ของกลุ่มคนซ้อนท้าย ระบุว่า ​ไม่สวมหมวกกันน็อค/สวม​เป็นบางครั้ง มี​เพียงร้อยละ 27.9 ของกลุ่มคนขับ​และร้อยละ 5.7 ของกลุ่มคนซ้อนท้าย​เท่านั้นที่สวมหมวกกันน็อคทุกครั้งที่​ใช้มอ​เตอร์​ไซค์​ใน​การ​เดินทาง

ยิ่ง​ไปกว่านั้นส่วน​ใหญ่ของกลุ่มที่​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง​หรือร้อยละ 64.8 มี​เด็กร่วม​เดินทางด้วย ​ในขณะที่ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มคนที่​ใช้มอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว​หรือร้อยละ 49.9 มี​เด็กร่วม​เดินทางด้วย​เช่นกัน

ที่น่า​เป็นห่วงอีกคือ ส่วน​ใหญ่ของ​ทั้งกลุ่มมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง​และกลุ่มมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัวคือ ร้อยละ 83.5 ​และ    ร้อยละ 93.3 ​ไม่​ได้​ให้​เด็กสวมหมวกกันน็อค​หรือสวม​ใส่​เพียงบางครั้ง

ที่น่าคิดคือ ​เหตุผลของ​การ​ไม่สวมหมวกกันน็อคของ​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์อันดับ​แรก​หรือร้อยละ 69.3 คิดว่า​ไป​ใกล้ๆ คง​ไม่​เป็นอันตราย รองลงมาคือร้อยละ 39.3 คิดว่าถนน​หรือซอยนี้​ไม่มีตำรวจ ร้อยละ 25.7 รีบ​ไป ​ไม่มี​เวลาสวม ร้อยละ 21.8 ระบุขับขี่​ไม่สะดวก​ไม่คล่องตัวมองทาง​ไม่ถนัด ​และรองๆ ลง​ไปคือ หมวกมีกลิ่นอับ ​ไม่สะอาด กลัวผม​เสียทรง กลัวถูกข​โมย ​เมื่อถอด​แขวน​ไว้ที่รถ ​ไม่มีที่​เ​ก็บหมวก คนขับ​ไม่มีหมวก​ให้สวม ​และคิดว่าตำรวจ​ไม่จับ ​เป็นต้น

ที่น่า​เป็นห่วง​เช่นกันคือ ส่วน​ใหญ่​หรือร้อยละ 70.9 ของคนซ้อนท้ายมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง ​และร้อยละ 54.5 ของคนซ้อนท้ายมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว ​ไม่​ได้คาดสายรัดคางหมวกกันน็อค​หรือคาด​เป็นบางครั้ง ​ในขณะที่จำนวนมาก​หรือร้อยละ 40.1 ของคนขับมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง​และร้อยละ 40.8 ของคนขับมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัวที่​ไม่คาดสายรัดคางหมวกกันน็อค​หรือคาด​เป็นบางครั้ง

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จาก​การวิ​เคราะห์ค่า​ความ​เสี่ยงทางสถิติต่ออันตรายบาด​เจ็บที่ศีรษะ​ในอุบัติ​เหตุที่​เกิดขึ้นกับรถมอ​เตอร์​ไซค์พบว่า กลุ่มคนที่ “​ไม่คาด” สายรัดคางของหมวกกันน็อคมี​ความ​เสี่ยงอันตรายบาด​เจ็บที่ศีรษะมากกว่ากลุ่มคนที่ “คาด” สายรัดคางหมวกกันน็อคสูง​ถึง 6 ​เท่า

ผอ.​เอ​แบค​โพลล์ กล่าวว่า ​ถึง​เวลา​แล้วที่ประชาชนคน​ไทย​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์ต้องตระหนัก​ถึงอันตรายที่จะ​เกิดขึ้นกับตัว​เอง​และ​ผู้อื่น ​จึงมีข้อ​เสนอ​แนะ​เชิงน​โยบาย​และ​แนวทางปฏิบัติ ดังนี้

ประ​การ​แรก ​เจ้าหน้าที่ตำรวจต้อง “จริงจังต่อ​เนื่อง” กับ​การว่ากล่าวตัก​เตือน​หรือปรับ​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์ที่​ไม่สวมหมวกกันน็อค

ประ​การที่สอง รัฐบาลน่าจะมีน​โยบาย “หมวกกันน็อค​เอื้ออาทร” ​และผ้ารองหมวก​เวลาสวม​ใส่ที่​ใช้ครั้ง​เดียว​หรือนำมาซัก​ใช้ซ้ำ​ได้ ​เพื่อกระตุ้นพฤติกรรม​การสวมหมวกกันน็อค​และ​เสริมสร้าง​ความปลอดภัย​ในหมู่ประชาชนที่มีราย​ได้น้อย​ใน​การ​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์

ประ​การที่สาม รัฐบาลน่าจะมีน​โยบายขยายกำลังซื้อ​ให้กับประชาชน​ผู้มีราย​ได้น้อย​ได้มี​โอกาส​ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล​เพิ่มขึ้น ​เพราะน่าจะมี​โอกาส​เสี่ยงอันตรายบาด​เจ็บ​ได้น้อยกว่ารถมอ​เตอร์​ไซค์

ประ​การที่สี่ ภาคธุรกิจด้าน​การผลิตหมวกกันน็อคน่าจะ​ได้รับ​การสนับสนุนจากภาครัฐ​ให้ผลิตหมวกกันน็อคสำหรับ​เด็ก​ให้มากขึ้น ​เพราะ​เด็กควร​ได้รับ​ความ “​ใส่​ใจ” จาก​ผู้​ใหญ่​ในสังคม​ให้มากกว่าปัจจุบันนี้

ประ​การที่ห้า กลุ่ม​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์​และรถยนต์ทั่ว​ไปต้อง “​ไม่” คิดว่าคนอื่นจะ​เห็นรถของตัว​เองขณะขับขี่ ​จึงจำ​เป็นต้อง​เปิด​ไฟหน้ารถทุกครั้ง​เพื่อลดอุบัติ​เหตุที่จะ​เกิดขึ้น​ทั้งตัว​เอง​และ​ผู้อื่น

ประ​การที่หก ประชาชน​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์​และ​ผู้​ใช้รถยนต์ทั่ว​ไปควรตระหนัก​ถึง “น้ำ​ใจ” บนท้องถนนที่ควรมีต่อกัน​ให้มากขึ้น

สุดท้าย ต้อง​ไม่ดื่ม​เครื่องดื่ม​แอลกอฮอล์​หรือ “​เหล้า” ​โดย​เด็ดขาด​เพราะมัน​ทำ​ให้ “ขาดสติ” ​และ​เกิดอุบัติ​เหตุบาด​เจ็บล้มตาย​ได้ง่าย

 ​เอ​แบค​โพลล์ -- พุธที่ 26 ธันวาคม 2555

101
 สักสองปีก่อนผมได้เปิดประเด็นว่าคนสยามเป็นผู้สร้างนครวัด มีทั้งเสียงปรบมือและเสียงโห่พอกัน ...วันนี้ผมขอสรุปตอกย้ำแสดงหลักฐาน เหตุผล หลักๆ ห้วนสั้นอีกครั้ง ตัดเรื่องหยุมหยิมออกไป ดังนี้
       
       นักวิชาการไทยส่วนใหญ่ได้แต่เชื่อตามฝรั่งไปแบบเชื่องๆ ว่าเขมรเป็นผู้สร้างนครวัด แต่ความจริงแล้ว ขอมต่างหากเป็นคนสร้าง และขอมก็คือ สยามนี่แหละ ส่วนเขมรนั้นสมัยโน้นเป็นทาสขอม
       
       หลักฐานสำคัญที่สุดคือบันทึก ๔๐ หน้าของโจวตากวน (ทูตการค้าชาวจีน) ที่ทำให้คำนวณได้ว่าสมัยก่อนเมืองพระนครมีคนชั้นปกครอง ๓ แสน และทาสและคนพื้นเมือง ๗ แสน โดยคนพื้นเมืองนั้นใช้เข็มก็ไม่เป็น ทอผ้าก็ไม่เป็น ส่วนคนสยามนั้นใช้เข็มเป็น ทอผ้าก็เป็น เลี้ยงหม่อนไหมก็เป็น
       
       โดยชนชั้นปกครองนั้นคือขอม ซึ่งก็คือคนสยามนั่นเอง
       
       ส่วนคนพื้นเมืองนั้นขนาดชุนผ้ายังไม่เป็นแล้วจะไปสร้างนครวัด นครธมใหญ่โตได้อย่างไร เอาความรู้เทคโนโลยีไปจากไหน
       
       อยู่มาวันหนึ่งพวกทาสสบโอกาส ก็ทำการยึดอำนาจล้มล้างราชบัลลังก์ นำโดย ตระซอกประแอม (แตงหวาน) ที่ต่อมาสถาปนาตนเป็นกษัตริย์
       
       ที่สำคัญที่สุดคือ คำต่อท้ายกษัตริย์ “วรมัน” ทุกพระองค์ที่ผ่านมา ๖๐๐ ปีก็หายไปในปีนั้นนั่นเอง จากนั้นไม่มี “วรมัน” อีกเลย แสดงชัดว่าเขมรเป็นคนละเผ่าพันธุ์กับขอม
       
       พงศาวดารฉบับแรกของเขมรที่ประพันธุ์โดยนักองเอง (ที่มาพึ่งบารมี ร. ๑ ของไทย) ก็ระบุตรงกันว่า ตระซอกประแอม คือต้นกำเนิดของคนเขมร แต่ภายหลังฝรั่งเศสมายุให้ปรับเปลี่ยนว่าต้นตระกูลคือ วรมัน ทั้งที่เขมรฆ่าวรมันตายเรียบ แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองว่า “สยามราบ” (หรือเสียมเรียบ ในวันนี้)
       
       เสียม ไม่ได้ เรียบ หมดหรอก จากสามแสน อาจถูกฆ่าตายสัก ๕ หมื่น ที่เหลือรอดตายก็หนีมาก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา นำทัพโดยพระเจ้าอู่ทองนั่นแล
       
       ยังถกเถียงกันอยู่มากว่าพระเจ้าอู่ทองคือใคร มาจากไหน ที่สอนกันมานานว่ามาจากเมืองอู่ทอง สุพรรณบุรีนั้น บัดนี้สรุปกันได้แล้วว่าผิด เพราะเมืองอู่ทองเป็นเมืองร้างมาก่อนหน้านี้แล้วสองร้อยปี อีกทั้งเป็นเมืองเล็กมีคนประมาณ ๕ หมื่นเท่านั้น แต่อยุธยาเริ่มต้นก็มีพลเมืองสามแสนแล้ว ถามว่าเอาคนสามแสนมาจากไหนในละแวกนั้น
       
       พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมืองอยู่ ๑๔ ปี พอสร้างเสร็จแทนที่จะเฉลิมฉลอง พักผ่อนไพร่พล กลับยกทัพไปตีเมืองพระนครทันที (เมืองเสียมเรียบ) ซึ่งผิดวิสัยมาก เพราะเป็นเมืองเล็กๆ สร้างใหม่ ไฉนเลยจะกล้าไปตีเมืองใหญ่เก่าแก่ที่มีกองทัพเกรียงไกรเช่นพระนคร ซึ่งประเพณีการสงครามเดิมมานั้นมีแต่เมืองเก่าใหญ่จะยกทัพมาถล่มเมืองสร้างใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นศูนย์อำนาจมาแข่งบารมี
       
       ที่พระเจ้าอู่ทองยกทัพไปตีเขมรนั้นเป็นเพราะทรงแค้นใจหนักที่อัดอั้นมานาน ๑๔ ปีไงเล่า ทรงต้องรีบเพราะทรงชราภาพมากแล้ว เกรงว่าจะล้างแค้นเขมรไม่ทันที่พวกมันฆ่าวรมันตายเรียบนั่นไง
       
       พอรบชนะเขมรเบ็ดเสร็จ ก็ทรงสร้างเมือง “อู่ทองมีชัย” (อุดงเมียนเชย ในวันนี้) เข้าใจว่าทรงตั้งชื่อนี้เพื่อข่มนาม “เสียมเรียบ” นั่นเอง เมืองนี้จำลองแบบไปจากอยุธยา และกลายเป็นเมืองหลวงเขมรนานถึง ๒๐๐ กว่าปี จนขณะนี้กลายเมืองมรดกโลกไปแล้ว
       
       พระเจ้าอู่ทองเป็นขอม ดังนั้นเมื่อมาอยุธยาก็ทรงพูดภาษาขอม จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมคำราชาศัพท์ของเราวันนี้จึงเต็มไปด้วยภาษาขอมและสันสกฤต เป็นเพราะสืบทอดมาจากภาษาพระเจ้าอู่ทองนี่เอง ส่วนเขมรเป็นทาสขอมมานานก็ย่อมรับเอาภาษาขอมไปพูดด้วยเป็นธรรมดา อย่าลืมด้วยว่าภาษาขอมเองก็ยืมเอาคำ “ไต” ไปใช้มากพอกัน
       
       เทคโนโลยีการตัดหิน ลากหิน สลักหินนั้นชาวขอมพิมาย ลพบุรี ได้ฝึกปรือมานานก่อนสร้างนครวัด นครธม เช่น ปราสาทหินพิมาย ก็สร้างก่อนนครวัด โดยตัดหินมาจากอ.สีคิ้ว แล้วลากไปอีก ๑๐๐ กม. เพื่อไปสร้างที่พิมาย คนเขมรเย็บผ้ายังไม่เป็นแล้วจะตัดลากยกหินก้อนมหึมาเหล่านี้เป็นหรือ
       
       หลักฐานจากการสลักบนแผ่นหินระบุว่ากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ เช่น สุริยวรมันที่ ๒ เป็นคนลพบุรี ชัยวรมันที่ ๕ เป็นคนพิมาย ส่วนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ ชัยวรมันที่ ๗ ไม่ทราบว่ามาจากไหน ผมตอบให้เลยว่ามาจากพิมาย ด้วยหลักฐานผูกมัดมากหลายเกินจะกล่าวในที่นี้ ที่สำคัญคือทรงเป็นพุทธ สร้างนครธม และเปลี่ยนชาวพระนครให้มาเป็นพุทธจนถึงวันนี้
       
       อันคำว่า “นครธม” นั้น นักวิชาการฝรั่งแปลกันแบบเซ่อๆ ว่า “เมืองใหญ่” เพราะเขาวิจัยกันทึ่มๆ ว่า ทม นั้นเป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่ ซึ่งนักวิชาการไทยก็เชื่อตามกันแบบงมงาย แต่ผมขอแย้งหัวชนฝาว่า ธม นั้นคือ ธมฺ ในภาษาบาลี ซึ่งคือ ธรรม ในภาษาสันสกฤตนั่นเอง ดังนั้นนครธม คือ นครธรรม นั่นเอง
       
       มันเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จะสร้างวัดพุทธยักษ์แล้วตั้งชื่อซื้อบื้อว่า เมืองใหญ่ มันต้องเมืองธรรมแน่นอน อีกทั้งพิมาย ลพบุรี นั้นเป็นพุทธที่ใช้บาลี ก็เลยต้องกลายเป็นนครธมฺ
       
       ภาพสลักนูนต่ำที่ทหารละโว้ และสยามไปเดินสวนสนามต่อหน้าพระพักตร์นั้น สำคัญมาก คือ ทหารจากลพบุรี และสยามไปรบเพื่อกู้เมืองคืนจากพวกแขกจามที่มายึดพระนครนั่นเอง จากนั้นก็เดินสวนสนามเฉลิมฉลองชัยชนะ ทหารลพบุรีมีวินัยมาก เดินหน้าตรง ด้ามหอกทุกคนเรียงเป็นมุมแนวเดียวกัน แต่พอมาถึงกระบวนทหารสยาม มีคำสลักว่า “เนะ สยำกุก” (ประมาณว่า นี่ไงกองทัพสยาม) แต่ปรากฏว่า หันหน้ากันคนละทาง ปลายหอกก็ระเกะกะ นักวิชาการฝรั่งว่า ทหารสยามไม่มีวินัย แต่ผมว่า......
       
       ..ผมว่า ทหารลพบุรี ไม่มีคนรู้จักไม่รู้จะทักใคร ส่วนทหารสยาม เป็นคนพื้นเมือง มีญาติมิตรมายืนดูมาก ก็หันหน้าไปยิ้มแย้มทักทาย ก็เลยทำให้ดูไม่มีระเบียบ สรุปคือ สยำกุก เป็นคนพื้นเมืองพระนคร
       
       พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ที่ถือกันว่าเป็นผู้ให้กำเนิดนครวัดนั้น ฝรั่งว่ามาจากชวา (แต่บางคน เช่น ชาร์ล ไฮแอม ก็ว่า มาจาก ชามา หรือ แขกจาม) สำหรับผมเสนอว่า มาจากไชยา (ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย)
       
       ชื่อท่านก็บอกชัดๆ ว่า ไชยาวรมัน (พระผู้เป็นเจ้าจากเมืองไชยา) ศรีวิชัย กับทวาราวดี เป็นพี่น้องกัน มีไชยา ศรีธรรมราช นครปฐม ลพบุรี พิมาย ต่อกันเป็นห่วงโซ่ แล้วให้กำเนิดนครวัดนั่นแล รวมทั้งช่วยปกป้องกอบกู้ยามสงครามกับแขกจามทางตอนใต้ของเวียดนาม
       
       คำว่า วรมัน นักวิชาการฝรั่งก็ผิดอีก ไปแปลกันว่า โล่ (shield) แต่คำนี้ผมฟันธงว่าเป็นคำเดียวกับ พรหมมัน เพราะสยามเรานั้น พ กับ ว ใช้แทนกันได้ เช่น วิเศษ พิเศษ วิจิตร พิจิตร
       
       ชื่อปราสาทต่างๆ ในนครวัด นครธม ยังมีร่องรอยภาษาสยามแทบทุกแห่ง เช่น พิมานอากาศ นาคพัน ปักษีจำกรง เชื้อสายเทวดา เสาเปรต พระรูป ตาแก้ว ตาพรม
       
       หลักฐานเหตุผลรายละเอียดยังมีอีกมาก แต่วันนี้เกินโควตาหน้ากระดาษแล้ว ขอจบเพียงเท่านี้ พร้อมนี้ขอท้าโต้วาทีกับนักวิชาการโปรเขมรแบบซึ่งหน้าที่ไม่ลอบกัดกันแบบที่ผ่านมา ทั้งที่ผมเป็นวิศวกร ส่วนพวกท่านเป็น ดร. ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี กล้ารับคำท้าผมไหม ใครแพ้ให้ตัดหัวเสียประจานไว้ที่หน้าประตูนครวัด

โดย ทวิช จิตรสมบูรณ์    18 กุมภาพันธ์ 2556
http://www.manager.co.th

102
 นักคณิตศาสตร์พบ “จำนวนเฉพาะ” ที่ใหญ่ที่สุด มีตัวเลขยาวถึง 17,425,170 ตัว ซึ่งทำลายสถิติจำนวนเฉพาะใหญ่ที่สุด ที่ค้นพบเมื่อปี 2008 โดยมีตัวเลขยาว 12,978,189 ตัว
       
       จำนวนดังกล่าว คือ 2 ยกกำลัง 57,885,161 ลบ 1 (257,885,161 -1 ) ซึ่งค้นพบโดย คัวร์ทิส คูเปอร์ (Curtis Cooper) นักคณิตศาสตร์มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลมิสซูรี (University of Central Missouri) ระหว่างการทำงานในเครือข่ายขนาดใหญ่ในการอาสาปันคอมพิวเตอร์ส่วนตัวมาช่วยในการค้นหาจำนวนเฉพาะ
       
       เครือข่ายดังกล่าวคือ เครือข่ายค้นหาจำนวนเฉพาะแมร์แซนกิมป์ (Great Internet Mersenne Prime Search : GIMPS) ซึ่งใช้ประโยชน์จากหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์อาสา 360,000 หน่วยประมวลผล ซึ่งทำการคำนวณ 150 ล้านล้านครั้งได้ใน 1 วินาที
       
       สำหรับการค้นพบครั้งนี้ไลฟ์ไซน์ระบุว่า เป็นการค้นพบจำนวนเฉพาะครั้งที่ 3 ของคูเปอร์ ซึ่งทางด้าน จอร์จ วอลต์แมน (George Woltman) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในออร์แลนโด ฟลอริดา สหรัฐฯ ผู้สร้างเครือข่ายกิมป์ และปัจจุบันเกษียณการทำงานแล้ว กล่าวถึงความพยายามค้นหาจำนวนเฉพาะนี้ว่า เหมือนการไต่ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ซึ่งคนเหล่านั้นมีความสุขในความท้าทายที่ได้จากการค้นหาสิ่งที่ยังไม่มีใครรู้มาก่อน
       
       อีกนัยหนึ่งจำนวนเฉพาะที่เพิ่งค้นพบนี้เป็นตัวอย่างลำดับที่ 48 ของจำนวนเฉพาะแมร์แซนที่หาได้ยาก โดยจำนวนเฉพาะดังกล่าวอยู่ในรูป 2 ยกกำลังจำนวนเฉพาะที่ลบด้วย 1 (2จำนวนเฉพาะ-1) และนับแต่มีการนิยามจำนวนเฉพาะนี้ครั้งแรกโดยบาทหลวงฝรั่งเศสชื่อ มาแร็ง แมร์แซน (Marin Mersenne) เมื่อ 350 ปีมาก่อน เพิ่งมีการค้นพบจำนวนเฉพาะชนิดนี้เพียง 48 ตัว ซึ่งรวมถึงการค้นพบล่าสุดด้วย
       
       หลังจากจำนวนเฉพาะตัวนี้ถูกค้นพบ ก็มีการตรวจสอบซ้ำโดยนักวิจัยอีกหลายคน โดยใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ทั้งนี้ วอลต์แมนอธิบายว่า หากใช้วิธีทั่วไปในการค้นหาจำนวนเฉพาะโดยการหารตัวเลขที่น่าจะใช่จำนวนเฉพาะที่สนใจ ด้วยจำนวนที่มีค่าน้อยกว่าทุกตัว นับเป็นวิธีที่เปลืองเวลา และหากทำเช่นนั้นเราอาจใช้เวลานานยิ่งกว่าอายุของจักรวาล แต่นักคณิตศาสตร์ใช้ยุทธศาสตร์ที่ฉลาดกว่านั้น โดยการใช้สมการเพื่อตรวจสอบจำนวนไม่กี่ตัว ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่ามากโข
       
       ผลจากการค้นพบจำนวนเฉพาะที่ใหญ่ที่สุดในครั้งนี้ คูเปอร์จะได้รับรางวัลเป็นมูลค่าราว 150, 000 บาท

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กุมภาพันธ์ 2556

103
 ในยุโรปนั้น มรดกตกทอดของสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น ได้จางหายไปแล้วภายหลังเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตกรวมเป็นประเทศเดียวกัน แต่ในเอเชีย ความแตกต่างทางอุดมการณ์ที่เคยเป็นตัวการทำให้เกิดการสู้รบและความขัดแย้งเหล่านี้ขึ้นมา ถึงแม้พร่าเลือนลงเรื่อยๆ ทว่าก็กลับแปรสภาพไปสู่ความเป็นปรปักษ์กันในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากการเติบโตของเอเชียในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาบนประเด็นปัญหาระดับภูมิภาคเดิมๆ ตลอดจนรอยแผลเป็นต่างๆ ที่ยังไม่เคยมีการแก้ไขคลี่คลาย ด้วยเหตุนี้ จีนจึงต้องตัดสินใจว่า จะยอมปล่อยใจเดินตามความเกลียดชังที่ดำเนินมาในประวัติศาสตร์ หรือว่าจะตัดขาดผละออกจากเส้นทางเดินแห่งสงคราม       
       
       ญี่ปุ่นรู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างยุติธรรมต่ออเมริกาทั้ง 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งคือในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 และอีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยที่ในคราวหลังนี้เป็นการต่อสู้แข่งขันกันในทางเศรษฐกิจ ทว่าญี่ปุ่นก็รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้มีชัยเหนือรัฐเอเชียอื่นๆ ทั้งในทางการทหารและในทางเศรษฐกิจเมื่อปี 1945 และกระทั่งในเวลาต่อมาอีกด้วย เมื่อเศรษฐกิจของแดนอาทิตย์อุทัยมีความเจริญรุ่งเรืองไปจนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษ 1980
       
       แม้กระทั่งภายหลังจากห้วงเวลานั้น โตเกียวก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประเทศจำนวนมากในภูมิภาคในทางด้านเศรษฐกิจ วอชิงตันซึ่งมีเหตุผลความต้องการของตนเอง ได้บังคับให้ญี่ปุ่นต้องอ่อนข้อให้แก่รัฐเอเชียอื่นๆ ในบางระยะบางห้วงเวลา แต่ถ้าปราศจากการเข้าแทรกแซงของอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว เวลานี้ญี่ปุ่นก็อาจจะกำลังเข้าครอบครองประเทศจีนทั้งหมด และมีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นอาจกำลังใกล้จะเข้าสู่กระบวนการทำให้ตนเองกลายเป็นจีน (Sinicization) เพราะถูกพิชิตด้วยวัฒนธรรมตามประเพณีของจีนที่ครอบคลุมแผ่ซ่านไปอย่างกว้างขวาง ทำนองเดียวกับที่พวกแมนจูแห่งราชวงศ์ชิงได้เคยถูกพิชิตมาแล้วเมื่อประมาณ 3 ศตวรรษครึ่งก่อนหน้านี้
       
       ภาษาญี่ปุ่นในเวลานี้อาจจะเป็นภาษาที่เล็กลงมา และเป็นไปได้ว่าภาษาจีนอาจจะไม่ได้เข้าสู่กระบวนการทำให้ง่ายขึ้นและมีลักษณะเป็นตะวันตกมากขึ้นอย่างมากมาย ดังที่บังเกิดขึ้นมาภายหลังพวกคอมมิวนิสต์สามารถยึดครองแดนมังกร
       
       สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานี้ไม่ได้เกิดขึ้น ทว่าสิ่งอื่นๆ หลายๆ อย่างกลับบังเกิดขึ้นมา พวกโซเวียตที่เข้าสู่สมรภูมิภาคเอเชียของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทีหลังเพื่อน ไม่เพียงเข้ายึดครองหมู่เกาะสองสามแห่งในภาคเหนือของญี่ปุ่นเอาไว้เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นเสียอีกก็คือการบุกจู่โจมเข้าไปในแมนจูเรียที่ฝ่ายญี่ปุ่นยึดครองอยู่ และก็เป็นพื้นที่ซึ่งพวกคอมมิวนิสต์จีนที่เคยอ่อนแอและอดอยากกำลังพยายามรวมกลุ่มรวมกำลังกันขึ้นมาใหม่ ที่นี่เองที่พวกโซเวียตได้ติดอาวุธและสนับสนุนพวกคอมมิวนิสต์จีน ให้สามารถเดินหน้าสร้างความปราชัยให้แก่พวกชาตินิยมจีน (ก๊กมิ่นตั๋ง) ที่อุปถัมภ์ค้ำชูโดยพวกอเมริกัน สหรัฐอเมริกานั้นแม้จะเป็นผู้ชนะสงครามในเอเชีย แต่กลับวางตัวเหินห่างในศึกแก้มือแห่งสงครามกลางเมืองระหว่างคนจีนด้วยกัน
       
       ถ้าหากโซเวียตไม่ได้ให้ความสนับสนุนแก่คอมมิวนิสต์จีน และสหรัฐฯก็ไม่ได้วางตัวเหินห่างไม่ค่อยอยากยุ่งเกี่ยวโดยตรงกับกิจการของคนจีนแล้ว เหมา เจ๋อตง ก็อาจจะไม่สามารถชนะสงครามกลางเมืองได้ และอาจจะยังคงเป็นเพียงแค่หมายเหตุเล็กๆ ในประวัติศาตร์จีนเท่านั้น
       
       ในแนวรบด้านตะวันตก สหภาพโซเวียตได้ยังความปราชัยให้แก่พวกเยอรมันจริงๆ และปลดแอกยุโรปตะวันออกจากการครอบงำของนาซีจริงๆ แต่คุณูปการของมอสโกในเอเชียกลับไม่ได้มีความชัดเจนหรือมีความยิ่งใหญ่ในระดับนั้น
       
       แน่นอนทีเดียวว่าสิ่งต่างๆ ที่พรรณนามาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นจินตนาการอันฟุ้งเฟื่อง แต่มันก็มีส่วนช่วยจัดเวทีจริงให้แก่ละครว่าด้วยหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ และอิทธิพลในทะเลจีนใต้ ซึ่งกำลังเล่นกันอยู่ในเวลานี้ ในความเป็นจริงแล้ว สงครามเย็นยังไม่ได้ยุติลงในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งผลลัพธ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังไม่เคยมีการกำหนดนิยามกันออกมาอย่างชัดเจนกระจ่างแจ้ง
       
       ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปิดกว้างให้แก่การอภิปรายถกเถียงและการตีความกัน แต่ก็มีบางจุดบางประเด็นซึ่งชัดเจนแล้ว อันได้แก่:
       
       **ฝ่ายอเมริกันเท่านั้นที่เป็นผู้ชนะอย่างชัดเจนในสมรภูมิของภูมิภาคนี้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
       
       **ญี่ปุ่นพ่ายแพ้เฉพาะต่อฝ่ายอเมริกัน ไม่มีใครอื่นอีกที่สามารถอ้างถึงชัยชนะอันชัดเจนได้
       
       **อเมริกา ซึ่งด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์ของตนเอง (นั่นคือเนื่องจากสงครามเย็นยังคงดำเนินอยู่) จึงไม่ได้ดำเนิน “กระบวนการถอดถอนความเป็นญี่ปุ่น” (de-Japanization) ต่อญี่ปุ่น แบบเดียวกับที่อเมริกาได้ดำเนิน “กระบวนการถอดถอนความเป็นเยอรมัน” (de-Germanization) ต่อเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
       
       **ฝ่ายจีนและฝ่ายอื่นๆ มีคุณูปการในการหยุดยั้งการรุกคืบของกองทหาร ทว่าในบางแง่บางมุมแล้วก็ต้องถือว่าญี่ปุ่นก็มีคุณูปการเช่นกันด้วยการไม่ร่วมวงเข้าโจมตีมอสโก
       
       **จีนได้รับการช่วยเหลือจากอเมริการวม 2 ครั้ง กล่าวคือในระหว่างการต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และในระหว่างการต่อต้านรัสเซียในช่วงทศวรรษ 1970 ถ้าหากปราศจากจีนแล้ว อเมริกาก็คงจะต้องเผชิญช่วงเวลาอันยากลำบากกว่าที่ผ่านพ้นมา แต่ถ้าหากปราศจากอเมริกาแล้ว จีนก็น่าที่จะกลายเป็นผู้ปราชัยในทั้งสองคร้ง
       
       **ญี่ปุ่นได้ช่วยเหลือเอเชียและจีนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการเจริญเติบโตของจีนก็ได้ช่วยการพัฒนาของเอเชีย
       
       อย่างไรก็ตาม ยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นๆ อีกที่ทำให้ภาพยิ่งยุ่งยากซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่เหมือนกับในยุโรปซึ่งอเมริกาไม่เคยเป็นผู้ปราชัยเลย แต่ในเอเชีย วอชิงตันกลับต้องประสบกับความหวาดผวาหลายครั้งหลายครา สหรัฐฯนั้นไม่เคยสร้างความปราชัยอย่างสมบูรณ์แบบให้แก่ฝ่ายจีนในสงครามเกาหลีของทศวรรษ 1950 และสหรัฐฯกระทั่งถึงกับเป็นผู้พ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม โดยที่ในสงครามครั้งหลังนี้ การที่สหรัฐฯหันมาทำความตกลงดำเนินการปรับตัวทางการเมืองกับฝ่ายจีน ก็ต้องถือเป็นผลลัพธ์ที่ออกมาจากความปราชัยดังกล่าวนั่นเอง
       
       ข้อเท็จจริงต่างๆ เหล่านี้ ยังกลายเป็นบริบทแวดล้อมให้แก่คำถามสำคัญอีกคำถามหนึ่ง จีนนั้นก็เฉกเช่นเดียวกับชาติอื่นๆ ในเอเชีย ใม่ได้เคยออกมายอมรับโดยเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแม้บางส่วนบางเรื่อง และการเจริญเติบโตของแดนมังกรก็กำลังทำให้คนอื่นๆ ทั้งหมดบังเกิดความหวั่นผวา เนื่องจากมันเป็นการเจริญเติบโตซึ่งเกิดขึ้นเหนือภูเขาลูกใหญ่แห่งประเด็นปัญหาระดับภูมิภาคที่ยังมิได้รับการแก้ไข ตลอดจนบาดแผลและรอยแผลเป็นที่ยังมิได้รับการเยียวยารักษา การที่แดนมังกรจะสามารถทำการพัฒนาอย่างสันติทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้นั้น จำเป็นที่จะต้องยอมรับรู้ยอมรับทราบข้อเท็จจริงเหล่านี้ เพื่อที่จะตระเตรียมและร่วมกันคลี่คลายบรรยากาศ ภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นไปได้ว่า ปักกิ่งจะต้องประสบกับความรับรู้ความเข้าใจผิดๆ จำนวนมาก อันเกี่ยวข้องกับความทะเยอทะยานซึ่งกำลังทวีขึ้นของจีน ตลอดจนการตีอกร้องขู่คำรามที่เพิ่มมากขึ้นทั้งจากภายในจีนและจากประเทศอื่นๆ
       
       การร่วมกันคลี่คลายบรรยากาศดังที่กล่าวมานี้ อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้แก้ไขประเด็นปัญหาหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋วืให้ตกไปได้ แต่ควรจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นสำหรับการเผชิญกับประเด็นปัญหาเหล่านี้ด้วยสมองที่ปลอดโปร่งเยือกเย็นยิ่งขึ้น
       
       มีบางคนบางฝ่ายในประเทศจีนคิดว่า สหรัฐฯคือผู้ที่กำลังแอบชักใยเชิดหุ่นอยู่เบื้องหลัง ในแผนกโลบายแสนสลับซับซ้อนที่มุ่งขัดขวางการเจริยเติบโตของปักกิ่ง และบางคนบางฝ่ายทั้งในอเมริกาและในภูมิภาคแถบนี้ก็อาจจะมีความเห็นสอดคล้องไปในแนวเดียวกับความคิดทฤษฎีสมคบคิดเช่นนี้ ขณะเดียวกัน มีความเป็นไปได้ด้วยว่าบางคนบางฝ่ายในประเทศจีนอาจจะถึงกับสนับสนุนแผนการเช่นนี้ของฝ่ายอเมริกัน เนื่องจากพวกเขามองเห็นว่า มันคือโอกาสที่จะทำให้คณะผู้นำชุดปัจจุบันประสบความปราชัย และเปิดโอกาสขึ้นมาอีกคำรบหนึ่งให้แก่ฝักฝ่ายที่สนับสนุนนักลัทธิเหมายุคใหม่ (neo-Maoist) อย่าง ป๋อ ซีไหล (Bo Xilai) ซึ่งตกลงจากอำนาจในปีที่แล้ว ภายหลังเกิดกรณีอื้อฉาวอันใหญ่โตขึ้นในมหานครฉงชิ่ง
       
       สำหรับผู้คนและฝ่ายต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้ การศึกษาอดีตเป็นเพียงการมองหาข้อแก้ตัวสำหรับการดำเนินแผนการต่างๆ ในอนาคตเท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี แม้กระทั่งเป็นอย่างที่กล่าวมานี้ก็เถอะ การมีข้อแก้ตัวไม่ว่าในทางการเมืองหรือในชีวิตประจำวัน ก็เป็นสิ่งสำคัญมากในการเอาชนะใจพวกที่ยังมิได้ตกลงปลงใจเลือกว่าจะอยู่กับฝ่ายใด จากนั้นเราก็จะได้เห็นกันว่า ผู้คนทั้งที่อยู่ภายในจีนและที่อยู่ภายนอกจีน เลือกที่จะแก้ไขสะสางบันทึกในประวัติศาสตร์ให้อยู่ในเส้นทางอันซื่อตรงมากขึ้น หรือเลือกที่จะผลักไสอดีตออกไปและมุ่งรวมศูนย์ความสนใจไปอยู่ที่การทะเลาะเบาะแว้งกันในปัจจุบัน
       
       แน่นอนทีเดียว เหมือนกับที่พฤติกรรมของสัตว์แสดงให้เราเห็นกันอยู่เป็นประจำ การวิวาทกันเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการคบคิดอภิปรายกัน และพวกนักวางแผนสงครามตลอดทั่วทั้งโลกย่อมเตรียมการสำหรับรับมือกับกรณีฉุกเฉินสุดขีดต่างๆ ไม่ใช่สำหรับรับมือสิ่งที่บังเกิดขึ้นตามปกติ องค์ประกอบสองสามประการเหล่านี้ควรนำเราให้เกิดความเชื่อขึ้นมาว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นรอบๆ หมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ มีแต่เรื่องเลวร้ายอย่างที่สุดเท่านั้น
       
       อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง แรงกระตุ้นเพื่อความอยู่รอดและการวิวัฒนาการก็เป็นปัจจัยที่มีกำลังแรงกล้ายิ่ง และสำหรับในกรณีนี้มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมกันซึ่งจะได้มาจากการที่จีนบูรณาการเข้าไปอยู่ในโลกอย่างสนิทแนบแน่นยิ่งขึ้นอย่างมหาศาล อันเป็นอะไรที่ปักกิ่งมองเห็นอย่างกระจ่างชัดเจนมาตลอดระยะไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
       
       เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีเหตุผลเช่นเดียวกันที่จะเชื่อว่า จีนซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงที่สุดจากการวิวัฒนาการอย่างสันติของตนเอง จะเลือกการตัดขาดผละออกจากเส้นทางเดินแห่งสงคราม, เพิกเฉยไม่สนใจต่อการยั่วยุ, และยอมรับรู้ยอมรับทราบถึงประวัติศาสตร์ที่เปิดอนาคตอันสดใสยิ่งขึ้นให้แก่ตนเองและให้แก่เพื่อนบ้านของตนทุกๆ รายในภูมิภาคริมมหาสมุทรแปซิฟิก

(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)

  Faded war wounds still raw in Asia
       By Francesco Sisci
       17/01/2013

http://www.manager.co.th

104
ในยุโรปนั้น มรดกตกทอดของสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น ได้จางหายไปแล้วภายหลังเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตกรวมเป็นประเทศเดียวกัน แต่ในเอเชีย ความแตกต่างทางอุดมการณ์ที่เคยเป็นตัวการทำให้เกิดการสู้รบและความขัดแย้งเหล่านี้ขึ้นมา ถึงแม้พร่าเลือนลงเรื่อยๆ ทว่าก็กลับแปรสภาพไปสู่ความเป็นปรปักษ์กันในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากการเติบโตของเอเชียในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาบนประเด็นปัญหาระดับภูมิภาคเดิมๆ ตลอดจนรอยแผลเป็นต่างๆ ที่ยังไม่เคยมีการแก้ไขคลี่คลาย ด้วยเหตุนี้ จีนจึงต้องตัดสินใจว่า จะยอมปล่อยใจเดินตามความเกลียดชังที่ดำเนินมาในประวัติศาสตร์ หรือว่าจะตัดขาดผละออกจากเส้นทางเดินแห่งสงคราม
       
       ในการศึกษาวิเคราะห์ดูว่า มรดกตกทอดของสงครามโลกครั้งที่ 2 และของสงครามเย็น มีผลกระทบอย่างไรต่อพวกประเทศทางยุโรปและชาติแถบเอเชียในทุกวันนี้ หนทางเดียวที่จะให้เกิดความเป็นธรรมก็คือผู้เขียน (ฟรานเชสโก ซิสซี) ซึ่งเป็นชาวอิตาเลียน จะต้องเริ่มต้นการวิเคราะห์ด้วยประเทศอิตาลี ประเทศนี้เป็นสมาชิกรายที่ 3 และรายที่อ่อนแอที่สุดในบรรดาชาติอักษะ (Axis nations) ซึ่งเป็นฝ่ายปราชัยในสงครามโลกครั้งที่ 2 กระนั้นก็ตาม อิตาลีก็โผล่พ้นออกจากมหายุทธนาการคราวนั้นโดยที่ยังคงอวดอ้างว่า ตนเองเป็นผู้ชนะ อย่างน้อยๆ ก็สักครึ่งหนึ่งแหละ
       
       ในปี 1943 ตอนที่การสู้รบในสมรภูมิยุโรปของสงครามโลกครั้งที่สองยังไม่ทันจบสิ้นลง ครึ่งหนึ่งของประเทศอิตาลีได้เปลี่ยนข้าง หันไปเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอเมริกันและจัดตั้งพลพรรคทำการสู้รบแบบกองโจรขึ้นมา มายาภาพที่เชื่อถือกันแพร่หลายในดินแดนรูปรองเท้าบู๊ตแห่งนี้ก็คือ กองกำลังจรยุทธ์เหล่านี้มีส่วนร่วมในการทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรประสบชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อฮิตเลอร์ แต่ความเป็นจริงมีอยู่ว่า อิตาลีในตอนนั้นรู้สึก (และปัจจุบันก็ยังคงรู้สึก) ว่าตนเองอ่อนแอปวกเปียกในทั้งสองข้างของประวัติศาสตร์ เราอยู่ในสภาพอ่อนแอเมื่อตอนจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกเยอรมัน (เรามีส่วนทำให้พวกเขาประสบความปราชัย) และเราก็ยังคงอยู่ในสภาพอ่อนแออีกนั่นแหละเมื่ออยู่ในฐานะเป็นพันธมิตรกับพวกอเมริกัน (เราไม่เคยมีส่วนร่วมอย่างสำคัญอะไรจริงจังในชัยชนะของพวกเขาหรอก)
       
       อิตาลีเหมือนกับไม่มีกระดูกสันหลัง และยังคงรู้สึกราวกับเป็นองคาพยพที่เหลวเละซึ่งพร้อมที่จะขายตัวเองให้แก่ฝ่ายที่เป็นภัยคุกคามมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง อิตาลีจึงเลิกคิดที่จะดำเนินนโยบายการต่างประเทศของตนเอง และยอมคล้อยตามคนอื่น ในตอนแรกก็คล้อยตามอเมริกัน จากนั้นก็คล้อยตามพวกยุโรป และลงท้ายก็คล้อยตามทั้งคู่
       
       ทว่าสำหรับเยอรมนีแล้วกลับแตกต่างออกไป ประเทศนี้โผล่พ้นออกจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมกับแนวความคิดที่ว่าตนเองกระทำผิดต่อโลกและต่อตัวเอง ในเวลาต่อมา เยอรมนีแม้ยืนหยัดแน่วแน่อยู่กับเหล่าพันธมิตรแห่งสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) แต่ก็ยืนกรานปฏิเสธไม่ขอเข้าไปดำเนินการเสี่ยงภัยทางทหารอะไรอีกภายหลังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้ว แดนดอยช์มีท่าทีระมัดระวังตัวเหลือเกินในกรณีสงครามอิรักเมื่อปี 2003 และปฏิเสธไม่ยอมเข้าไปร่วมวงในลิเบียในปี 2011 เยอรมนีต้องถูกบีบคั้นบังคับอย่างหนักหน่วงกว่าที่จะยินยอมเข้าแทรกแซงในยุโรปกรณีวิกฤตสกุลเงินยูโร บางทีอาจจะด้วยความหวาดผวาที่ว่า ความทะเยอทะยานในอดีตของตนจะหวนกลับมานำพาให้ตนเองมีความคิดขย้ำกลืนกินทวีปยุโรปทั้งทวีปอีกคำรบหนึ่ง
       
       กรณีของญี่ปุ่นก็ดูจะเป็นเรื่องที่ผิดแผกออกไปอีก ทว่าที่สำคัญแล้วเนื่องมาจากบริบททางภูมิภาคที่แตกต่างออกไป
       
       ในยุโรปนั้น สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วเมื่อปี 1989 ด้วยการพังครืนของกำแพงเบอร์ลิน และติดตามมาอย่างใกล้ชิดด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แต่ในเอเชีย ลัทธิคอมมิวนิสต์มีเส้นทางเดินที่ผิดแผกไปจากในยุโรป
       
       ในช่วงทศวรรษ 1970 จีนจับมือเป็นพันธมิตรกับอเมริกาทำการต่อต้านโซเวียต และอีก 1 ทศวรรษต่อมา แดนมังกรได้ทำการปฏิรูปทางการตลาด ซึ่งก็คือการเปิดประตูระบายน้ำออกมาต้อนรับการทะลักทลายไหลเข้าของลัทธิทุนนิยมที่เคยเป็นสิ่งต้องห้าม เส้นทางสายนี้ยังมีเวียดนามอีกรายที่เดินตามอย่าง โดยที่เวียดนามได้ถูกพวกโซเวียตทอดทิ้งในช่วงทศวรรษ 1990 สำหรับเสาหลักเสาที่ 3 ของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย และก็เป็นเสาต้นที่จุดไฟแห่งสงครามเย็นขึ้นในปี 1950 ด้วย นั่นคือ เกาหลีเหนือ ได้เลือกที่จะเดินไปในอีกปลายหนึ่งอย่างสุดโต่ง โดยที่ยังคงยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นอยู่กับแนวทางสังคมนิยมอย่างเก่าๆ ของตน และกำลังทำตัวโดดเดี่ยวตนเองออกจากทุกผู้ทุกคน ทั้งเจ้านายเก่าและพันธมิตรเก่าของตน (จีนและรัสเซีย) และทั้งศัตรูเก่าของตน (ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ)
       
       ด้วยการที่เยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตกรวมเป็นประเทศเดียวกันในปี 1990 มรดกตกทอดต่างๆ ของยุคสงครามเย็นก็ถูกลบเลือนไปในยุโรป ทว่าในเอเชียนั้น มรดกเหล่านี้ยังคงดำรงอยู่ เกาหลียังคงถูกแบ่งแยกเป็น 2 ประเทศ และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ ไต้หวันที่เป็นทุนนิยม ยังคงไม่สามารถที่จะเข้ากลืนกินจีน “แดง” แถมยังดูท่าจะทำเช่นนั้นไม่สำเร็จแน่ๆ ถึงแม้ความคิดจิตใจแบบนายทุนได้ลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงแล้วในปักกิ่ง
       
       เมื่อกาลเวลาผันผ่านไปไม่หยุดยั้ง ในเอเชีย ความวิตกกังวลในทางภูมิรัฐศาสตร์และในทางประวัติศาสตร์ ค่อยๆ ทวีความสำคัญเหนือการแบ่งแยกผิดแผกทางอุดมการณ์ (หรือกระทั่งการมีสายสัมพันธ์ผูกพันกันทางอุดมการณ์) เวียดนามซึ่งทำการสู้รบกับอเมริกาอยู่เป็นเวลานานนับสิบปี เมื่อเร็วๆ นี้ได้ตัดสินใจที่จะอ้าแขนต้อนรับสหรัฐฯ ผู้เป็นอดีตศัตรูของตน สืบเนื่องจากความหวาดกลัวผู้ที่เป็นศัตรูเก่าแก่ยิ่งกว่านั้นของตน อันได้แก่จีน ซึ่งยังคงมีฐานะเป็นพี่น้องร่วมอุดมการณ์กับตนเองอยู่แท้ๆ ในเวลาเดียวกัน เกาหลีใต้ที่เป็นทุนนิยม และเป็นปราการแห่งการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากวอชิงตันให้รอดชีวิตพ้นจากการถูกเกาหลีเหนือครอบครองในช่วงทศวรรษ 1950 กำลังคัดค้านต้านทานแนวความคิดที่ให้พวกเขาจับมือกับญี่ปุ่นที่เป็นทุนนิยมเหมือนกัน ทว่าก็เป็นอดีตเจ้านายยุคอาณานิยมที่ตนเองแสนจะชิงชัง ทั้งนี้เพื่อร่วมกันต่อต้านจีน “คอมมิวนิสต์”
       
       ในเอเชีย มรดกของสงครามเย็นกำลังเลื่อนไถลเข้าไปอยู่ในท่ามกลางประวัติศาสตร์ยุคโบร่ำโบราณและยังไม่ได้รับการแก้ไขคลี่คลายของภูมิภาคนี้ ขณะที่ในยุโรปนั้น ความเป็นศัตรูกันระหว่างเยอรมนี, ฝรั่งเศส, และสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ก่อให้เกิดสงครามครั้งแล้วครั้งเล่ามาเป็นเวลา 300 ปี ได้ลบเลือนลับหายไปแล้ว แต่ในเอเชีย แม้กระทั่งมรดกตกทอดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนบนแผนที่แสดงอาณาเขตของชาติต่างๆ
       
       ญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ปราชัยในสงครามโลกครั้งที่ 2 เวลานี้ยังคงเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ต่างๆ อย่างเช่น หมู่เกาะทาเกชิมะ (Takeshima) ซึ่งเป็นที่รู้จักเรียกขานกันในเกาหลีว่า หมู่เกาะดอคโด (Dokdo), และหมู่เกาะเซงกากุ (Senkaku) ที่เรียกกันในจีนว่าหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์ (Diaoyu) โดยที่ประเทศผู้ชนะในสงครามอย่าง เกาหลี และจีน ก็อ้างกรรมสิทธิ์ในดินแดนเหล่านี้เช่นกัน โดยเฉพาะกรณีพิพาทหมู่เกาะเซงกากุ/เตี้ยวอี๋ว์ จัดเป็นมรดกของสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างแท้จริง เนื่องจากสหรัฐฯที่เป็นผู้ยึดครองญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามนั่นเอง เป็นผู้มอบหมายหมู่เกาะนี้ให้อยู่ในการควบคุมของแดนอาทิตย์อุทัย
       
       แน่นอนทีเดียว่าประเทศทั้งสองยังเผชิญกับประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ค้างคามิได้รับแก้ไขจากยุคสงครามเย็นอีกด้วย และดังนั้นการประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ของพวกเขาในกรณีนี้สามารถถือได้ว่าเป็นเรื่องไม่สู้สำคัญอะไรนัก กระนั้น ญี่ปุ่นก็ยังคงมีกรณีพิพาทที่ไม่ได้รับการคลี่คลายอยู่กับรัสเซีย ซึ่งได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นในช่วงจวนเจียนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่แล้ว และได้เข้ายึดครองดินแดนบางส่วนของพวกหมู่เกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ซึ่งเวลานี้โตเกียวยังคงประกาศอ้างกรรมสิทธิ์อยู่ เป็นต้นว่า หมู่เกาะคูริล (Kuril) โตเกียวนั้นรู้สึกว่ามอสโกเป็นฝ่ายผิด ที่ยังบุกเข้ามาโจมตีและยึดครองดินแดนทางตอนเหนือของตน ในเวลาที่แดนอาทิตย์อุทัยกำลังยืนไม่ไหวต้องทรุดลงมาคุกเข่าอยู่แล้ว และวอชิงตันก็ทราบดีว่าในแง่หนึ่งญี่ปุ่นน่าที่จะมีส่วนทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2
       
       ถ้าหากว่าในปี 1941 โตเกียวเข้าโจมตีสหภาพโซเวียตจากทางด้านตะวันออก ในเวลาเดียวกับที่เบอร์ลินเข้าโจมตีจากทางด้านตะวันตก มอสโกก็อาจจะล้มครืน และสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็อาจจะพัฒนาไปในเส้นทางที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง

โดย ฟรานเชสโก ซิสซี    19 มกราคม 2556
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
       
     

105
 โลกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอยู่ 2 ชาติ คือ จีน และเปอร์เซีย โดยจีนมีราชวงศ์ถังปกครอง มีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลจีนจรดเปอร์เซีย และมีเมืองหลวงชื่อ ซีอาน (หรือ Chang an ในสมัยนั้น) สำหรับการติดต่อกับต่างประเทศนั้น จีนได้เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาค้าขาย ไม่ว่าจะมาจากที่ใกล้หรือไกล ส่วนอาณาจักรเปอร์เซียมีราชวงศ์ Abbasid ซึ่งนับถือศาสนามุสลิมปกครอง มีแบกแดดเป็นนครหลวง อาณาจักรเปอร์เซียแผ่ขยายไปทางทิศตะวันออกถึงแม่น้ำสินธุ และทางทิศตะวันตกถึงสเปน
       
       สำหรับเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างมหาอาณาจักรทั้งสอง คือ เส้นทางสายไหม (Silk Road) ที่เป็นที่รู้จักกันดี และเส้นทางทะเล โดยมีเรือติดต่อระหว่างจีนกับเปอร์เซียเพื่อซื้อขายสินค้า และแลกเปลี่ยนความรู้กันตั้งแต่สมัยคริสตกาล เพราะคนจีนปรารถนาจะซื้อผ้าฝ้าย มุก อัญมณี และไม้หอมจากเปอร์เซีย แอฟริกาตะวันออก และอินเดีย ในขณะเดียวกันก็ต้องการขายกระดาษ ผ้าไหม ดินปืน เข็มทิศ และเครื่องปั้นดินเผาให้ชาวเปอร์เซียด้วย
       
       ครั้นเมื่อชาวเปอร์เซียรู้สึกชื่นชมในคุณภาพและความสวยงามของเครื่องปั้นดินเผาจีน จึงต้องการนำสินค้าเหล่านี้เข้าประเทศในปริมาณมาก ครั้นจะขนส่งทางบก (เส้นทางสายไหม) ก็เกรงจะเป็นอันตราย จึงคิดลำเลียงทางทะเลโดยทางเรือ เพราะคิดว่าปลอดภัยกว่า แม้จะรู้ว่าการเดินทางในทะเลอาจมีปัญหา เช่น เรืออับปางและหายไปอย่างไร้ร่องรอย หรือถูกโจรสลัดปล้น แต่ก็ยินดีเสี่ยง
       
       จีนจึงพัฒนาเทคโนโลยีการสร้างเรือสินค้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้น รวมทั้งสร้างนักเดินเรือเพื่อการนี้ด้วย ในการสร้างนักเดินเรือนั้น ได้กำหนดให้ชายจีนต้องศึกษาธรรมชาติของคลื่นในทะเล เพื่อให้มีความกล้าหาญ ไม่ใยดีต่อความทุกข์ และไม่สนใจในความสำราญใดๆ สำหรับด้านการต่อเรือนั้นจากประสบการณ์ที่คนจีนรู้จักใช้แพมาตั้งแต่สมัยโบราณ จีนจึงนำองค์ความรู้นี้มาพัฒนาความสามารถในการต่อเรือ จนเรือจีนมีระวางขับน้ำมากขึ้นและปลอดภัยขึ้น
       
       ด้วยฝีมือและความสามารถของช่างทำให้จีนมีเรือที่สามารถเดินทะเลถึงภูมิภาคในแถบเอเชียใต้ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 4 เพราะประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า บางครั้งนักเดินเรือจีนต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะถึงที่หมาย และจีนก็ได้ใช้ทะเลเป็นแหล่งทำมาหากินและค้าขายตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ Chin เมื่อ 221-206 ปีก่อนคริสตกาล ได้เคยส่งเรือสำเภาไปเยือนเกาะ Immortal (ซึ่งหมายถึง ญี่ปุ่น) ที่ตั้งอยู่ในทะเลทางด้านตะวันออก
       
       เมื่อจักรพรรดิโรมันชื่อ Marcus Aurelius ทรงประสงค์จะซื้อผ้าไหมจากจีน ในค.ศ.166 ซึ่งเป็นยุคราชวงศ์ Han พระองค์ทรงให้พ่อค้าเดินทางจาก Arabia ถึงจีน แต่ชาวจีนไม่ไว้ใจพ่อค้าโรมัน ดังนั้น Aurelius จึงต้องส่งพ่อค้าที่มีสาส์นตราตั้งมาแทน ชาวจีนจึงยอมรับ แล้วจักรพรรดิจีนก็ได้ส่งทูตไปเยือนโรมเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี แต่ทูตได้เสียชีวิตลงก่อนเดินทางถึงยุโรป
       
       เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ท่าเรือเมือง Canton ของจีนจึงมีพ่อค้าต่างชาติมากมาย เช่น โรมัน อียิปต์ เปอร์เซีย อินเดีย อาหรับ และยิวมาทำธุรกิจค้าขาย จนท่าเรือเมือง Canton เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก
       
       ใน ค.ศ.727 นักประวัติศาสตร์แห่งราชวงศ์ถังได้บันทึกว่า ฝูงชนชาวเปอร์เซียได้บุกปล้นและเผาเมือง Canton เหตุการณ์นี้ทำให้จักรพรรดิ Tang ทรงห้ามชาวต่างชาติเข้า Canton และเพื่อประกาศความยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรจีน พระองค์ทรงดำริจะเปิดประเทศ โดยเริ่มโครงการต่อเรือขนาดใหญ่ เพื่อให้จีนมีท่าเรือใหญ่ที่ยิ่งใหญ่ นอกเหนือจากท่าที่เมือง Canton รวมถึงให้ต่อเรือรบเพื่อทำหน้าที่คุ้มครองเรือสินค้าด้วย
       
       ลุถึงสมัยของราชวงศ์ Sung จำนวนเรือรบของจีนได้เพิ่มมากเป็นหลายร้อยลำ และยิ่งใหญ่น่าเกรงขามยิ่งกว่ากองทัพเรือ Armada ของสเปนเสียอีก เพราะมีทหารเรือร่วม 52,000 คน และมีเรือรบใหญ่ที่สามารถบรรทุกคนได้ถึง 600 คน พร้อมเสบียงอาหารที่เพียงพอสำหรับการเดินทางที่นานหนึ่งปี กวีจีนชื่อ Chou Chu-fei ได้บรรยายเรือนี้ว่าเหมือนบ้านที่มีใบเรือซึ่งสะบัดไปมา คล้ายเมฆบนท้องฟ้า
       
       บันทึกประวัติศาสตร์ชื่อ Annals of the Sung ที่เขียนในปี 999 ยังได้รายงานอีกว่าที่ท่าเรือจีนมีการซื้อขายสินค้าทุกรูปแบบทั้งนอ แรด และเสื้อเกราะ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับพ่อค้าต่างชาติ ทำให้นักภูมิศาสตร์แห่งราชสำนักจีนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ Somaliland, Arabia และ Sicily ดีพอประมาณ
       
       ส่วนการสร้างเรือสำเภาขนาดใหญ่ได้ก็เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อสำหรับพ่อค้าชาวตะวันตกที่ได้เห็นเรือเป็นครั้งแรก เมื่อจักรพรรดิ Kublai Khan ทรงส่งเจ้าหญิงมองโกลไปเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเปอร์เซีย เพราะขบวนเรือมีเสากระโดงมากมายตั้งแต่ 4 ถึง 6 เสา และบนเรือมีห้องพักตั้งแต่ 50-60 ห้อง สำหรับผู้โดยสารจำนวนหลายร้อยคน

ภาพเปรียบเทียบเรือขนาดใหญ่ของเจิ้งเหอ (ลำใหญ่) กับเรือของโคลัมบัสผู้ค้นพบทวีปอเมริกา
       แต่หลังจากที่กองทัพมองโกลพิชิตอาณาจักร Sung แล้ว จักรพรรดิ Kublai Khan ได้บัญชาให้กองทัพเรือรุกรานญี่ปุ่นต่อ ในปี 1274 กองทัพซึ่งประกอบด้วยเรือ 900 ลำ ทหารมองโกล 25,000 คน ได้พยายามจะยกพลขึ้นฝั่งที่ญี่ปุ่น แต่ทำไม่ได้เพราะถูกพายุไต้ฝุ่นถล่มจนทหารจมน้ำตายร่วมหมื่นและเรือจำนวนมากอับปาง Kublai Khan ได้ทรงพยายามอีกเป็นครั้งที่สองในปี 1281 ด้วยขบวนเรือที่ทันสมัยกว่าเก่า และใช้ทหารจำนวนมากกว่าเก่าคือ 140,000 คนแต่พายุไต้ฝุ่นก็ได้พัดทำลายกองทัพเรือของ Kublai Khan จนพังพินาศอีก ความพ่ายแพ้ทั้งสองครั้ง โดยไต้ฝุ่น (ของเทพยดา) ทำให้ Kublai Khan ทรงล้มเลิกพระทัยที่จะโจมตีญี่ปุ่นตั้งแต่นั้นมา
       
       ครั้นเมื่อ Marco Polo เดินทางถึงจีน เพื่อเข้าเฝ้าจักรพรรดิ Kublai Khan Marco Polo ได้อุทานออกมาด้วยความประหลาดใจที่เห็นกองทัพจีนมีเรือเรียงรายเกือบเต็มแม่น้ำ Yangtze โดยเฉพาะที่เมืองท่า Sinju (ปัจจุบันคือ I-ching) ซึ่งมีเรือ 5,000 ลำจอดอยู่ที่ท่า
       
       ในสมัยนั้นจีนจึงเป็นชาติเดินเรือที่ยิ่งใหญ่ และมีนักเดินเรือที่เก่งกล้าสามารถหลายคน แต่ก็ไม่มีใครเก่งเกิน Zhang He แม่ทัพขันทีแห่งราชวงศ์ Ming ผู้ได้เดินทางข้ามทะเล รวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง สู่ชะวา ซีลอน มะละกา อินเดีย อ่าวเปอร์เซีย ทะเลแดง และแอฟริกาตะวันออก การผจญภัยจริงของ Zhang He (เจิ้งเหอ) นับว่ายิ่งใหญ่เทียบเท่าการผจญภัยของ Sinbad ในเจ็ดคาบสมุทรที่เป็นเทพนิยาย
       
       Zhang He เกิดที่เมือง Kun Ming เมื่อ ค.ศ.1371 ในรัชสมัยจักรพรรดิ Hong Wu ในครอบครัวชาวมุสลิมที่ได้อพยพมาจากดินแดนทางตะวันตก (Xin Jiang) เด็กชาย He มีปู่และบิดาเป็นปราชญ์ผู้ทรงศีลในศาสนาอิสลาม ผู้มีภารกิจนำชาวมุสลิมไปแสวงบุญที่นคร Mecca ใน Arabia ดังนั้น He จึงมีชื่อเดิมว่า Ma He (Ma อาจมาจากคำว่า มะหะหมัดในภาษาอารบิก)
       
       ในวัยเด็ก บิดาของ Ma He มักเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางในแดนไกล ทั้งทางบกและทางน้ำให้ลูกๆ ฟัง และ He ผู้เป็นบุตรคนรองของครอบครัว และมีน้องสาว 4 คนได้ตั้งใจฟังพ่อเล่านิทานอย่างจริงจัง และคิดฝันจะไปเยือนนคร Mecca ให้จงได้เหมือนพ่อเมื่อโตขึ้น
       
       ตั้งแต่ครอบครัวของ He ได้อพยพมา Kun Ming บิดาก็ได้ช่วยเหลือ Khan แห่งอาณาจักรมองโกลให้เข้าครอบครองมณฑล Yun Nan ด้วยการเป็นทหาร ในปี 1374 เมื่อจักรพรรดิ Zhu Yun Zhang แห่งจีนทรงสถาปนาราชวงศ์ Ming ขึ้น และพระองค์ทรงบังคับเจ้าเมืองมองโกล ที่ปกครอง Yun Nan ให้ยินยอมเข้ามาอยู่ใต้อาณัติการปกครองของพระองค์ แต่เมื่อราชทูตที่จักรพรรดิทรงส่งมา ถูกสังหารใน ค.ศ.1381 พระองค์จึงทรงโปรดให้ Fu You De และพระราชโอรสคือเจ้าชาย Zhu Di นำทหารกว่า 300,000 คนจากนานกิงเดินทางมา Yun Nan เพื่อกวาดล้างกบฏมองโกลให้สิ้นซาก
       
       ผลการสงครามครั้งนั้นปรากฏว่าทหารมองโกลพ่ายแพ้ยับเยิน และประเพณีในสมัยนั้นมีว่าผู้ชนะสงครามจะต้องจับลูกชายของเชลยที่มีวัยตั้งแต่ 8-10 ขวบไปตอน เพื่อนำไปเป็นคนใช้ในราชวังหลวง
       
       ด้วยเหตุนี้เด็กชาย Ma He จึงถูกนำตัวไปนครนานกิง และอีกสามปีต่อมาก็ถูกตอนเป็นขันที แล้วถูกส่งไปรับใช้ในราชวังของเจ้าชาย Zhu Di วัย 25 ชันษา ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าครองเมือง Bei Ping ส่วนบิดาของ Ma He นั้นได้เสียชีวิตเพราะความโศกเศร้า ที่ลูกชายคนเล็กถูกจับไปเป็นเชลย
       
       สำหรับเจ้าชาย Zhu Di นั้น พระองค์ทรงเป็นพระโอรสองค์หนึ่งในจักรพรรดิ Zhu Yuan Zhang และเมื่อมกุฎราชกุมารแห่งราชบัลลังก์ได้สิ้นพระชนม์ลงอย่างคาดไม่ถึงในปี 1392 องค์จักรพรรดิ Zhu Yuan Zhang จึงทรงรีรอที่จะแต่งตั้งให้พระนัดดาซึ่งเป็นพระโอรสองค์โตในมกุฎราชกุมารขึ้นแทน เพราะมีวัยเพียง 14 ชันษา ในขณะที่เจ้าชาย Zhu Di มีวัย 30 ชันษา
       
       ถึงจักรพรรดิ Zhu Yuan Zhang จะทรงโปรดปรานเจ้าชาย Zhu Di ยิ่งกว่าพระนัดดา Zhu Yun Wen เพียงใดก็ตาม แต่เหล่าอำมาตย์ในราชสำนักได้ทูลคัดค้านพระดำริที่จะให้เจ้าชาย Zhu Di ขึ้นครองราชย์ โดยอ้างว่าจะทำให้เกิดความแตกแยกในแผ่นดิน จักรพรรดิ Zhu Yuan Zhang จึงทรงยินยอม แต่ก่อนพระองค์จะทรงสถาปนาพระนัดดา พระองค์ทรงสังหารและกำจัดคนทุกคนที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการขึ้นครองราชย์ของพระนัดดา Zhu Yuan Wen
       
       ในปี 1398 เมื่อจักรพรรดิ Zhu Yuan Zhang เสด็จสวรรคต เจ้าชาย Zhu Yuan Wen จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ บ้านเมืองขณะนั้นอยู่ในสภาพอึมครึม เพราะผู้คนหวาดวิตกว่าจะเกิดสงครามกลางเมืองแย่งชิงราชบัลลังก์กัน

นิทรรศการหมุนเวียนเรื่อง "วิทยาศาสตร์ในโลกมุสลิม" ที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลองห้า แสดงการเดินเรือของเจิ้งเหอ
       สำหรับเจ้าชาย Zhu Di พระองค์ทรงมี Ma He เป็นขันทีคนสนิทในราชสำนัก ขณะทำงานรับใช้ในวัง Ma He ได้รับการศึกษาทั้งด้านการรบ และการปกครองเป็นอย่างดีมากจนเจ้าชาย Zhu Di ทรงไว้พระทัย เพราะ Ma He เป็นนักรบที่มีรูปร่างสูงใหญ่ แข็งแรงและมีความรอบรู้เรื่องสงคราม จึงมีโอกาสออกศึกร่วมกับเจ้าชาย Zhu Di หลายครั้ง และรบชนะทุกครั้ง ข่าวความสามารถที่ยิ่งใหญ่ของเจ้าชาย Zhu Di ทำให้บัลลังก์ของจักรพรรดิองค์ใหม่ Zhu Yuan Wen ในนครนานกิงสั่นสะเทือน เพราะองค์จักรพรรดิทรงคิดว่า เจ้าชาย Zhu Di กำลังท้าทายพระราชอำนาจของพระองค์
       
       จักรพรรดิจึงส่งกองทัพมาบุกยึดเมือง Bei Ping ของ Zhu Di ในปี 1401 และเจ้าชาย Zhu Di ทรงโชคดีที่มี Ma He ช่วยชีวิตไว้ แล้วเจ้าชายกับ Ma He ก็ได้วางแผนโจมตีนครนานกิงเป็นการแก้แค้นเพื่อยึดครองราชบัลลังก์
       
       ในเดือนมกราคม ค.ศ.1402 แม่ทัพ Ma He ได้เคลื่อนทัพเข้าปิดล้อมทางออกของทุกประตูเมืองนานกิงจนอาหารภายในเมืองขาดแคลน และชาวเมืองระส่ำระส่าย จักรพรรดิจึงต้องขอเจรจาสงบศึก แต่เมื่อกองทัพของ Ma He ยาตราเข้าวังได้ สิ่งที่พบคือ ซากศพของพระมเหสีและพระโอรสองค์โตในจักรพรรดิที่ถูกอัคคีเผาจนดำเป็นตอตะโก แต่ไม่มีพระศพของจักรพรรดิเลย
       
       ผู้คนจึงโจษจันกันว่า พระองค์ยังทรงมีชีวิตอยู่ และได้หลบหนีออกจากนานกิงทางคูระบายน้ำ แล้วปลอมพระองค์หนีไปในชุดพระสงฆ์
       
       เจ้าชาย Zhu Di ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.1402 และทรงสำเร็จโทษทุกคนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ แล้วทรงเรียกรัชสมัยของพระองค์ว่า Ming และให้ชาวจีนรู้จักพระองค์ในนาม จักรพรรดิ Ming Cheng Zhu หรือจักรพรรดิ Yongle และทรงพระราชทานรางวัลให้ Ma He พร้อมพระราชทานแซ่ให้ใหม่ว่า Zhang ในฐานะที่ได้พิทักษ์เมือง Bei Ping และยึดนครนานกิงได้
       
       ความสงสัยเกี่ยวกับจักรพรรดิ Zhu Yuan Wen ที่ทรงหลบหนีไปทำให้จักรพรรดิ Yongle ทรงกังวลมาก เพราะแผ่นดินจีนไม่สามารถมีจักรพรรดิสององค์ได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นเมื่อทรงได้ยินเสียงเล่าลือมากมาย เป็นเนื้อหาที่หลากหลาย จักรพรรดิ Yongle ทรงปักใจอย่างเชื่อมั่นว่าจักรพรรดิ Zhu Yuan Wen ได้ทรงหลบหนีไปหลบซ่อนบนเกาะในทะเลจีนใต้แล้ว
       
       ดังนั้นในปี 1403 จักรพรรดิ Yongle จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างกองเรือสินค้าและกองเรือรบที่มีขนาดมโหฬารที่สุดในประวัติศาสตร์ของจีนขึ้นมา เพื่อ
       (1) ตามล่า ฆ่าจักรพรรดิ Zhu Yuan Wen
       (2) ป้องกันการบุกรุกของกองทัพมองโกลทางเหนือ โดยการผูกมิตรกับนานาประเทศทางตอนใต้ของจีน และจะขอให้ช่วยสนับสนุน ถ้าจีนถูกมองโกลรุกราน
       (3) เตือนผู้ครองประเทศต่างๆ ให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระองค์ดังที่เคยปฏิบัติ
       (4) แสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าในเมืองท่าต่างๆ ที่ขบวนเรือของพระองค์จะมาเยือน เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศจีน
       
       แม้จักรพรรดิ Yongle จะทรงมีข้าราชการและแม่ทัพหลายคน แต่คนที่พระองค์ทรงวางพระทัยมากที่สุดคือ Zhang He
       
       เพราะ Zhang He มีความสามารถในการเดินเรือโดดเด่นยิ่งกว่าใครทั้งหมด (เทียบเท่ากับ Odysseus ในวรรณกรรม Ulysses, Leif Ericsson ผู้พบ Newfoundland และ Magellan ผู้เดินทางรอบโลก)
       
       ในปี 1405 Zhang He จึงออกเดินทางจากเมือง Foo-chow ด้วยเรือ 317 ลำ ลูกเรือ 27,870 คน โดยเรือลำใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 150 เมตร กว้าง 60 เมตร (ใหญ่เท่าเรือเดินสมุทรปัจจุบัน) พร้อมเรือติดตามเป็นเรือบรรทุกผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเทศเดินทางไปสำรวจชะวา ซีลอน มะละกา และฝั่งตะวันออกของอินเดีย และยังได้ปราบโจรสลัดที่ช่องแคบมะละกาด้วย ขบวนเรือเดินทางกลับถึงจีนในปี 1407
       
       ในการถวายรายงานการเดินทางของตนต่อจักรพรรดิ Zhang He ได้กล่าวว่า “ในยุคราชวงศ์ Ming นี้ องค์จักรพรรดิได้ทรงรวบรวมแผ่นดินและแผ่นน้ำจนเป็นหนึ่งเดียวและยิ่งใหญ่กว่าในสมัยราชวงศ์อื่นๆ (ทั้ง Han และ Tang) ทำให้ทุกประเทศที่อยู่ทั้งสุดขอบฟ้าและขอบโลกล้วนเป็นประเทศเมืองขึ้นของจีนทั้งสิ้น กองทัพเรือของข้าพระองค์ได้แล่นใบไปไกลเป็นระยะทาง 100,000 ลี้ (ไกลยิ่งกว่าเส้นรอบวงของโลก) ใบเรือของข้าพเจ้าสะบัดพลิ้วคล้ายเมฆในอากาศทั้งกลางวันและกลางคืน ข้ามทะเลที่มีพายุคลื่นรุนแรงอย่างสบายๆ คล้ายคนที่เดินตามถนน” ลีลาการเขียนบรรยายเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า Zhang He มีความสามารถด้านการประพันธ์ไม่ยิ่งหย่อนกว่าความสามารถในการเดินเรือ

เส้นทางเดินเรือของเจิ้งเหอ (เส้นประ)
       หลังจากพักที่บ้านเกิดเมืองนอนได้ไม่นาน ในปี 1407-1409 กองทัพเรือของ Zhang He ก็ได้นำทูตจาก Sumatra และ India ที่ได้เดินทางติดตามกองทัพในครั้งแรก เพื่อเข้าเฝ้าจักรพรรดิ Yongle นำส่งกลับประเทศของทูตเหล่านั้น การเดินทางครั้งที่ 2 นี้ จึงเป็นการยืนยันว่า ราชวงศ์ Ming มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดีย ในการเดินทางครั้งนั้นกองทัพได้แวะที่ชะวา สยาม และซีลอนด้วย
       
       ในปี 1409-1411 Zhang He ได้ออกเดินทางอีก แม้กองทัพจะยิ่งใหญ่จนเป็นที่ยำเกรงในด้านความสามารถในการทำสงคราม แต่ในการเดินทางครั้งที่ 3 นี้ Zhang He ผู้เป็นมุสลิมได้แวะทำบุญที่ Calicut ในอินเดีย
       
       ในปี 1413-1415 Zhang He ได้เดินทางไกล ผ่านอินเดียออกสู่ทะเลอาหรับเป็นครั้งแรกถึง Hormuz ในอิหร่านและ Muscat และได้นำราชบรรณาการจาก 18 รัฐพร้อมทูตของรัฐเหล่านั้นกลับเมืองจีนด้วย
       
       ในปี 1417-1419 กองเรือมหาสมบัติของ Zhang He แวะสำรวจแหลม Arabia และขึ้นฝั่งในแอฟริกาตะวันตกเป็นครั้งแรก และที่ Aden สุลต่านได้ประทานสัตว์ “ประหลาด” เช่น ม้าลาย ยีราฟ สิงโต และนกกระจอกเทศให้ Zhang He นำกลับไปถวายจักรพรรดิจีนเพื่อนำไปเลี้ยงในสวนหลวง
       
       ในปี 1421-1422 นี่เป็นการเดินทางครั้งที่ 6 ขบวน เรือของ Zhang He ได้ใช้วิธีนำทูตกลับส่งยังประเทศที่ทูตเคยอยู่ และนำทูตชาติอื่นไปจีน เรือได้แวะที่ Hormuz และประเทศในคาบสมุทรอาหรับ
       
       ในปี 1431-1433 นี่คือการเดินทางครั้งสุดท้ายของ Zhang He ขบวนเรือเดินทางไป Swahili ในแอฟริกาและได้แวะที่ Mecca ช่วงขากลับ Zhang He ได้ล้มป่วยและเสียชีวิต ศพจึงถูกฝังในทะเล เพราะ Zhang He เป็นคนมุสลิม ดังนั้นพิธีศพจึงต้องจัดการในวันที่ตายทันที
       
       ทันทีที่เรือลำสุดท้ายของขบวนเรือเทียบท่าเหล่าขุนนางในราชสำนัก เมื่อรู้ว่า Zhang He เสียชีวิตต่างก็ดีใจและกล่าวเพ็ดทูลจักรพรรดิว่า การเดินทางไกลเช่นนี้ เป็นเรื่องสิ้นเปลืองมาก และได้อ้างคำสอนของขงจื้ออีกว่า คนที่เป็นลูกไม่ควรเดินทางไกลและไปนาน ในขณะที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ข้อติงต่างๆ ของบรรดาขุนนาง ทำให้จักรพรรดิ Ming Cheng Zhu ทรงลังเลที่จะสนับสนุนการเดินทางสำรวจในทะเลของจีนอีก ประกอบกับในช่วงเวลานั้น ญี่ปุ่นได้แค้นเคืองเหตุการณ์ที่จักรพรรดิ Kublai Khan ทรงรุกรานญี่ปุ่น จึงได้รวบรวมกำลังส่งสลัดเข้าโจมตีบรรดาเมืองท่าต่างๆ ของจีนอยู่เนืองๆ
       
       จนจักรพรรดิ Ming Cheng Zhu ทรงทนไม่ได้จึงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามทหารจีนเดินทางสำรวจทางทะเลอีกต่อไป และให้ทหารมีหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของประเทศจีนเท่านั้น
       
       ยุคการสำรวจของจีนจึงถึงจุดจบ และภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งศตวรรษต่อมา กองเรือของนักสำรวจชาวยุโรปก็ได้เข้าควบคุมทะเลและมหาสมุทรของโลก
       
       เหตุการณ์นี้ทำให้นักประวัติศาสตร์หลายคนฉุกคิดว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้าจักรพรรดิ Ming Cheng Zhu ทรงสนับสนุนการเดินเรือข้ามทะเลและมหาสมุทร โดยบัญชาให้กองทหารของพระองค์ออกสำรวจฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาจนหมด แล้วอ้อมแหลม Good Hope ขึ้นไปเพื่อสำรวจฝั่งตะวันตกด้วย หรือไม่ก็เดินทางถึงยุโรป ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นกองเรือจีนก็คงเผชิญกองเรือขนาดเล็กกว่าของนักเดินเรือชาวดัชท์และโปรตุเกส
       
       แม้กองเรือมหาสมบัติของ Zhang He จะไม่ได้เดินทางถึงยุโรป หรือเข้าไปสำรวจทะเล Mediteranean นั่นก็ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายสำหรับจีนแต่ประการใด เพราะยุโรปในเวลานั้นยังอยู่ในยุคมืด และมีความอารยะน้อยกว่าจีน ส่วนประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ Zhang He ได้พิสูจน์ให้โลกเห็นคือจีนเป็นชนชาติที่เดินเรือเก่ง คนจีนเป็นทั้งนักธุรกิจ และนักสำรวจที่สามารถ จีนหาใช่ชนชาติที่ปิดตัวเองและไม่สังคมกับชนชาติอื่นเลยดังที่คนหลายคนเคยคิด


โดย สุทัศน์ ยกส้าน    4 มกราคม 2556
http://www.manager.co.th

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 13