ผู้เขียน หัวข้อ: “หมอประดิษฐ” เข้าแจงข้อมูลดีเอสไอสอบพิรุธสร้าง รง.วัคซีนหวัดใหญ่ล่าช้า  (อ่าน 754 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   17 เมษายน 2556 17:14 น.   

   



      
   


      


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น









   
“หมอประดิษฐ” ชี้แจงข้อมูลดีเอสไอตรวจสอบพิรุธ อภ.สร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ล่าช้า แถมวัตถุดิบยาพาราฯมีปัญหา ด้าน “ธาริต” ปูดวัตถุดิบยาพาราฯไม่น่าจะได้มาตรฐานด้วย ส่งหนังสือถามกรมวิทย์ช่วยตรวจสอบ คาดรู้ผล พ.ค.นี้ ส่วนโรงงานวัคซีนอาจมีการฮั้วประมูล
       
       วันนี้ (17 เม.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เดินทางมายังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อให้ปากคำเรื่องยื่นสอบองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กรณีวัตถุดิบยาพาราเซตามอลมีการปนเปื้อน และการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนกมีความล่าช้า
       
       นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า วันนี้ตนได้มาชี้แจงข้อมูลต่อดีเอสไอถึงประเด็นที่น่าสงสัยต่างๆ โดยกรณีวัตถุดิบยาพาราฯนั้น พบว่า ตัววัตถุดิบยาพาราฯที่ อภ.ส่งให้แก่โรงงานเภสัชกรรมทหารมีการปนเปื้อนถึง 19 ล็อต แต่เมื่อทราบว่ามีปัญหาเหตุใดจึงมีการเปลี่ยนตัวผู้ผลิตช้า และยังสั่งวัตถุดิบเพิ่มจากผู้ผลิตเดิมอีก จากเดิมเมื่อปี 2553 สั่ง 48 ตัน เพิ่มอีกเป็น 100 ตัน โดยแจ้งว่าสั่งมาเพื่อผลิตเอง ซึ่งก็มีข้อน่าสงสัยอีกว่า ขณะนั้นโรงงานผลิตยายังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเหตุใดจึงมีการสั่งวัตถุดิบเพิ่มและยังระบุอีกว่าเป็นการสั่งมาเพื่อผลิตในช่วงน้ำท่วม ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วเมื่อน้ำท่วมก็ไม่สามารถผลิตยาได้ จึงไม่เข้าใจว่า อภ.สั่งวัตถุดิบเข้ามาเพื่ออะไร ตรงนี้จึงอยากให้ดีเอสไอเข้าไปตรวจสอบ
       
       “ผมไม่ได้กล่าวหา แต่นี่เป็นประเด็นที่น่าสงสัย ซึ่งต้องการความชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องยาพาราฯ ยิ่งต้องเคลียร์ให้ชัด เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นความตายของประชาชน” รมว.สาธารณสุข กล่าวและว่า ตนจำเป็นต้องมาให้ข้อมูลกับดีเอสไอเรื่องการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนด้วย เพราะยังมีจุดที่น่าสงสัยหลายประเด็น ทั้งกรณีปัจจัยที่ระบุว่ายังไม่ควรก่อสร้างโรงงานวัคซีนที่มีขนาดใหญ่ขนาดนี้ เช่น ราคาวัคซีนต่อตลาด ปัญหาไข่ไก่นำเข้า มีความคุ้มค่าหรือไม่ และผลการศึกษาทดลอง รวมถึงความเร่งรีบในการก่อสร้างโรงงาน ทั้งที่ผลการศึกษายังอยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งจะจบในปีนี้ และยังต้องศึกษาในระยะที่ 3 อีกอย่างน้อย 2-3 ปี
       
       นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ชี้แจงว่าหากจะผลิตวัคซีนทั้ง 2 อย่างคือ ทั้งชนิดเชื้อเป็นและเชื้อตาย ก็มีแบบโรงงานวัคซีนมาให้เลือก พร้อมให้ทุนในการทำวิจัยวัคซีนชนิดเชื้อเป็นด้วย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการระบาด ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7-8 ปี ในระดับเฟส 1-3 และแม้จะทำเชื้อตายก็ต้องใช้เวลาในการศึกษา จึงสงสัยว่าทำไมจึงต้องเร่งรีบในการสร้างโรงงาน โดยล่าสุดได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมคือผลการตรวจสอบของคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ให้กับดีเอสไอแล้ว
       
       นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า เรื่องนี้มีประเด็นใหม่อีกคือ วัตถุดิบที่สั่งมาทั้ง 2 ล็อต น่าจะไม่ได้มาตรฐานในการนำมาผลิตยาเพื่อบริโภค ซึ่งขณะนี้ดีเอสไอได้มีหนังสือสอบถามไปยังกรมอุตสาหกรรมทหารและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยในสัปดาห์นี้จะตามผลการตรวจสอบทั้งสองหน่วยว่าเป็นเช่นไร วัตถุดิบไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการปนเปื้อน ส่วนโรงงานวัคซีนในเรื่องเทคนิคการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง พบว่ามีความผิดปกติ เพราะมีผู้เข้ามายื่นแบบเพียงรายเดียว ซึ่งถือว่าผิดระเบียบ และการจัดซื้อจัดจ้างที่แบ่งสัญญาเป็น 4 สัญญา ทั้งหมดน่าจะเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และมีข้อมูลว่าบริษัทเอกชนที่เกี่ยวพันกันในการจัดซื้อจัดจ้างในโรงงานวัคซีนอาจพัวพันกับการผลิตยาพาราฯ และอาจมีผลประโยชน์กลุ่มเดียวกัน โดยอาจเป็นนอมินิพัวพันกันอยู่ด้วย
       
       “ผลการตรวจสอบพบหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งในสัปดาห์หน้าดีเอสไอจะรอทุกเรื่องก่อนหรือไม่ แล้วจึงชี้มูล หากเป็นเรื่องข้าราชการก็จะส่งให้ ป.ป.ช. แต่หากฮั้วประมูลก็ส่งอัยการฟ้อง ตอนนี้ต้องคัดแยกความผิดชัดเจนแล้วเดินหน้า ส่วนความผิดเพิ่มเติมก็ดำเนินการต่อเนื่อง หรืออาจรอทั้งหมดแล้วค่อยสรุปสำนวน เป็นไปในสองแนวทาง” อธิบดีดีเอสไอ กล่าวและว่า สำหรับกรณีพาราฯมี 3 เรื่อง คือ 1.สั่งซื้อโดยไม่มีแผน 2.มีการปนเปื้อนแล้ว แต่ยังซื้ออีก โดยไม่มีแผนการผลิต และ 3.การปนเปื้อนมีประเด็นแยกว่าไม่ได้มาตรฐานด้วยของวัตถุดิบ ตรงนี้ยังไม่ได้แยกเรื่องบริษัทที่เกี่ยวข้องว่ามีส่วนอะไรอีกหรือไม่ ส่วนเรื่องฮั้วประมูลต้องดูว่าเอื้อประโยชน์กับผู้จำหน่ายรายหนึ่งรายใดหรือไม่ เพราะให้บริษัทเดียวก็เข้าข่ายฮั้วประมูลแล้ว โดยจะต้องเชิญ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ.ร่วมด้วย
       
       ทั้งนี้ ดีเอสไอได้ตั้ง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.เป็นประธานคณะกรรมการในเรื่องร้องเรียนต่างๆ ด้วย ซึ่งดีเอสไอจะส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบไปช่วยด้วยเช่นกัน
       
       นพ.วิทิต กล่าวว่า กรณีข้อสงสัยของดีเอสไอทั้งในเรื่องการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก และกรณีวัตถุดิบยาพาราเซตามอลนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลข้อเท็จจริงในการชี้แจง ซึ่งพร้อมจะตอบข้อสงสัยต่างๆ
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า ดีเอสไอได้เรียกเข้าชี้แจงอีกครั้งหรือไม่ นพ.วิทิต กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการเรียกแต่อย่างใด แต่หากเรียกเพื่อสอบถามข้อมูลเหล่านี้ก็พร้อม
       
       ด้าน นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สำหรับผลการตรวจสอบวัตถุดิบยาพาราฯปนเปื้อนของ อภ.ได้เกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ขณะนี้ยังไม่เหมาะสมที่จะเปิดเผยรายละเอียดข้อมูล เพราะควรให้เจ้าของเรื่อง ซึ่งก็คือ บอร์ด อภ.เป็นผู้แถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้เอง ทั้งนี้ เมื่อกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทราบผลการตรวจสอบแล้วก็จะส่งผลตรวจนี้ไปยังประธานบอร์ด อภ.ทันที ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบ 1 เดือน อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมาเป็นวันหยุดยาวสงกรานต์ จึงยังไม่มีเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ โดยคาดว่าจะทราบผลตรวจสอบในช่วงเดือน พ.ค.นี้