ผู้เขียน หัวข้อ: แพทยสภาค้านหัวชนฝา ไม่เอา กม.กองทุนช่วยผู้เสียหาย  (อ่าน 406 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
 สบส.เดินหน้าดันร่าง พ.ร.บ.กองทุนคุ้มครองแพทย์-ผู้ป่วย ได้รับผลกระทบการรักษา หนุนประกันสังคมตั้งกองทุนจะยิ่งครอบคลุม เหตุต้องดึงเงินจากทุกกองทุนสุขภาพ 1% มาตั้งกองทุนช่วยเหลือ ด้านแพทยสภาค้านหัวชนฝา ย้ำไม่มีความจำเป็น ชี้ใช้เงินมหาศาล ประกาศจุดยืน 9 มี.ค.
       
       นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.กองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข ได้ผ่านการประชาพิจารณ์แต่ละภาคแล้ว ทั้งการสอบถามในส่วนบุคลากรสาธารณสุข ประชาคมสาธารณสุข และเมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมาได้เชิญตัวแทนเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และตัวแทนภาคประชาชนมาหารือ ซึ่งเห็นด้วยกับตัวกฎหมายนี้ และสัปดาห์หน้าจะเชิญตัวแทนสภาวิชาชีพต่างๆ มาเสนอความคิดเห็น ก่อนประมวลเพื่อเสนอ รมว.สาธารณสุข และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่วนกรณีแพทยสภาค้านร่างกฎหมายดังกล่าว โดยเสนอให้ปรับแก้มาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 นั้นก็จะเชิญสภาวิชาชีพต่างๆ หารือในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม มาตรา 41 เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยสิทธิบัตรทองเท่านั้น แต่กองทุนนี้จะครอบคลุมประชาชนทุกสิทธิ
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กำลังผลักดันกฎหมายช่วยเหลือผู้ประกันตนแบบมาตรา 41 เช่นกัน นพ.ธเรศกล่าวว่า คณะทำงานร่าง พ.ร.บ.กองทุนคุ้มครองฯ มีตัวแทนจาก สปส.เข้าร่วม ซึ่งเมื่อมีเจตนารมณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยเหมือนกัน หากมีกองทุนดังกล่าวขึ้นก็จะยิ่งช่วยเหลือได้ครอบคลุม ที่สำคัญ สปส.ผลักดันกฎหมายลักษณะดังกล่าวมานาน ประจวบเหมาะที่มีการขับเคลื่อนในรัฐบาลชุดนี้ โดยขั้นตอนใน พ.ร.บ.กองทุนคุ้มครองฯ หากประกาศใช้จริงจะต้องโอนเงินช่วยเหลือกรณีมาตรา 41 และขอให้แต่ละกองทุนสุขภาพภาครัฐจัดสรรให้สัดส่วนไม่เกิน 1% ซึ่งอัตราการจ่ายเงินจะเป็นไปตามกฎหมายแพ่งตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าสินไหม ประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายนี้คือ ระบุชัดว่าผู้ได้รับผลกระทบมีสิทธิรับเงินช่วยเหลือโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิดใดๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และผู้ป่วย
       
       ด้าน ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ อุปนายกแพทยสภา กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการตั้งกองทุนเพราะไม่มีความจำเป็น เนื่องจากมีมาตรา 41 อยู่แล้ว สามารถแก้กฎหมายขยายให้ครอบคลุมสามกองทุนสุขภาพภาครัฐ รวมทั้งขยายวงเงินจากปัจจุบัน 4 แสนบาท ให้ได้ถึง 2 ล้านบาท ซึ่งไม่มากเท่ากับการมีกองทุน เพราะการตั้งกองทุนช่วยเหลือทุกสิทธิเป็นการสิ้นเปลืองงบ เพราะขั้นต่ำต้องใช้งบไม่ต่ำกว่าพันล้านบาท ไม่แตกต่างจากกองทุนต่างๆ ที่ปัจจุบันมีอยู่ อย่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ใช้งบฯกว่าสามพันล้านบาท งบประมาณมหาศาล ขณะที่รัฐก็ยากจนอยู่แล้ว โดยวันที่ 9 มี.ค.นี้ แพทยสภาจะแถลงข่าวจุดยืนในการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 มีนาคม 2558