ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย กรณีการออกกฎหมาย ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองฯ(นพ.อุสาห์)  (อ่าน 2667 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด

ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย กรณีการออกกฎหมาย ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...

เมื่ออ้างอิงกฎหมายจากประเทศสวีเดน  เพื่อยกร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....นั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ปฏิบัติงาน รัฐบาลและประชาชนจึงควรได้รับทราบข้อเท็จจริงเพื่อการจัดบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงค่อยออกกฎหมายประกันคุณภาพบริการสาธารณสุข

เมื่อประชาชนรับบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่จัดให้โดยรัฐบาล ย่อมเป็นเหตุผลอันสมควรที่รัฐบาลจะต้องประกันคุณภาพของการบริการสาธารณสุข เพื่อความมั่นใจของประชาชน แต่ก่อนที่จะรับประกันคุณภาพโดยอ้างอิงมาตรฐานหรือกฎหมายจากแหล่งใดๆนั้น รัฐบาลต้องจัดบริการสาธารณสุขให้ได้เช่นประเทศที่เป็นแหล่งอ้างอิงเสียก่อน การที่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานออกมาคัดค้านนั้น หาใช่เนื่องมาจากความเห็นแก่ตัวหรือความไม่เห็นใจประชาชนผู้รับบริการไม่ แต่เป็นการออกมาบอกรัฐบาลว่า สิ่งที่คิดจะทำนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะ ผิดข้อเท็จจริง  เปรียบเสมือนมีเงินเพียงการนั่งเกวียนแต่จะประกันคุณภาพการเดินทางโดยมาตรฐานเครื่องบิน แล้วเมื่อไม่ได้ดังมาตรฐานเครื่องบินจะลงโทษคนขับเกวียน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ผู้บริหารนั้นไม่มีอะไรทำจึงยอมได้ แต่ผู้ปฏิบัติงานยอมไม่ได้

๑.ข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาการออกกฎหมายประกันคุณภาพบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุข



๑.๒ ) จำนวนผู้ป่วยประเทศไทย
ปี2552      ผู้ป่วยนอก152,428,645 ครั้ง   ผู้ป่วยใน 10,307,684 ครั้ง
จาก http://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5

๑.๓ ) จำนวนเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขทั้งประเทศ 125,866 เตียง
จาก http://hrm.moph.go.th/res52/res-rep2551.html

๑.๔ ) จำนวนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขทั้งประเทศ 11,025 คน ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยจริง 6,622คน
จาก  www.thaicne.com/images/column_1250051708/let1.doc

๒. การพิเคราะห์พิจารณาข้อมูลพื้นฐาน

-จำนวนประชากร ประเทศไทย จำนวน 63,457,439 คน (ปี2552) จากhttp://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=51
-จำนวนแพทย์ไทยที่อยู่ในระบบบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขทั้งประเทศ 11,025คน แพทย์ไปศึกษาต่อและเป็นผู้บริหารซึ่งไม่ได้ดูแลผู้ป่วยในระบบกระทรวงสาธารณสุข จำนวน4.403คน เป็น แพทย์ผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยจริง จำนวน6,622 คน
ข้อมูลจาก www.thaicne.com/images/column_1250051708/let1.doc

-จำนวนประชากรประเทศสวีเดน จำนวน 9,113,257 คน (ปี2549) จาก http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศสวีเดน
-ประมาณจำนวนแพทย์ทั้งประเทศสวีเดน 30,073คน

-จำนวนประชากรประเทศเดนมาร์ก จำนวน 5,450,661 คน (ปี2549) จาก http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศเดนมาร์ก
-ประมาณจำนวนแพทย์ประเทศเดนมาร์ก 15,806 คน

๓. การจัดบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขต้องให้เพียงพอต่อการตอบสนองความคาดหมายของประชาชน การจัดสรรทรัพยากรจะต้องมีเงื่อนไขต่างๆใกล้เคียงกับประเทศที่นำมาอ้างอิง  ดังตัวอย่าง  ได้แก่

-จำนวนแพทย์และจำนวนเตียงผู้ป่วย ตามสัดส่วนประเทศสวีเดน    
ประเทศไทยต้องมีแพทย์จำนวน 207,900 คน
ปัจจุบันมีแพทย์ปฏิบัติงานในระบบบริการกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 6,622 คน ต้องเพิ่มแพทย์  201,278 คน
ต้องมีเตียงผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 233,100 เตียง ต้องเพิ่มเตียง  107,234 เตียง

-จำนวนแพทย์ตามสัดส่วนประเทศเดนมาร์ก
ประเทศไทยต้องมีแพทย์จำนวน 182,700 คน ต้องเพิ่มแพทย์ 176,078 คน
ต้องมีเตียงผู้ป่วยทั้งหมด จำนวน 283,500 เตียง ต้องเพิ่มเตียง  157,634 เตียง
จึงจะเพียงพอใกล้เคียงมาตรฐานสวีเดนและเดนมาร์ก ซึ่งผู้สนับสนุนร่างกฎหมายประกันคุณภาพบริการการแพทย์และสาธารณสุขชอบไปดูงานบ่อยๆและกล่าวอ้างเสมอ  นี่ยังไม่นับอาคารสถานที่และเครื่องมือต่างๆซึ่งจะต้องเพิ่มจำนวนตามไปด้วย
จึงจะสามารถมีทุนที่จะจัดบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้ใกล้เคียงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของ ประเทศสวีเดน หรือ ประเทศเดนมาร์ก ได้
การจัดบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่รัฐบาลไทยจะสามารถออกกฎหมายประกันคุณภาพบริการ ดังที่อ้างนั้น รัฐบาลจะต้องลงทุนและบริหารจัดการให้งานบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีผู้ปฏิบัติงานและทรัพยากรเพื่อรองรับภาระงาน อย่างใกล้เคียงกับประเทศอ้างอิง มิเช่นนั้น คนไม่พอทำงาน งบประมาณไม่ให้ เครื่องมือไม่พอ แต่ให้ไปรับภารกิจที่ภาระงานมากมายมหาศาลและมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความคาดหวังที่เกินจริง การออกกฎหมายประกันคุณภาพที่ไม่ปกป้องผู้ปฏิบัติงานและไม่ป้องกันความเสี่ยงแก่ประชาชน นั้นจะกลายเป็นการออกกฎหมายอธรรม กดขี่ข่มเหงผู้ปฏิบัติงานของรัฐ แล้วการบริการสาธารณะที่การบริหารจัดการบกพร่องและความคาดหวังที่เกินจริงของประชาชน จะก่อให้เกิดวิกฤติการณ์ของประเทศ ผู้ปฏิบัติงานจะไม่สามารถสนองความคาดหวังที่เกินจริงได้ จะเกิดความกดดันแก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ดูแลรักษาและผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงสูง อันจะทำให้รัฐกับประชาชนกระทบกันได้ง่าย

ดังนั้น การที่รัฐซึ่งเก็บภาษีเพียง7% คิดจะเลียนแบบเอาอย่างประเทศที่เก็บภาษีสูงถึง๔๗%(สวีเดน) หรือ๔๑%(เดนมาร์ก) ซึ่งทำให้มีงบประมาณมากมาย มีรายได้รัฐสูงพอที่จะจัดสวัสดิการสังคมให้ประชาชนได้เช่นนั้น ย่อมไม่เป็นการสมควร ภาษิตไทยที่กล่าวว่า เห็นช้างขี้ก็จะขี้ตามช้างนั้น เพื่อบอกให้ลูกหลานไทยได้รู่จักประมาณตนเองก่อนที่จะทำอะไรเกินตัว แล้วก่อปัญหาแก่คนรุ่นหลังในภายภาคหน้า รัฐบาลที่ไม่มีรายได้เช่นประเทศร่ำรวยเหล่านี้ พึงได้ตระหนักไว้ว่า ก่อนที่จะสร้างภาระทางการเงินให้ลูกหลานประชาชนไทยต้องเดือดร้อนในวันข้างหน้านั้น ขอให้ทำความรู้จักตนเองเสียก่อน และการจะสร้างกฎหมายประกันคุณภาพบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุข เมื่อเงื่อนไขการลงทุนมีไม่เท่าเทียม การจัดสรรทรัพยากรต่ำกว่ามาตรฐานประเทศอ้างอิงแล้ว การออกกฎหมายประกันคุณภาพบริการ จะต้องไม่กดดันผู้ปฏิบัติงานซึ่งภาระงานเกินกว่ามาตรฐานของประเทศที่อ้างอิง การเพิ่มคุณภาพบริการจึงควรเป็นไปโดยสร้างสรรค์มิใช่การกดขี่ลงแส้  มิเช่นนั้น รัฐบาลวิกฤติแน่
หมายเหตุ
*        คิดจากจำนวนแพทย์ผู้ปฏิบัติงานจริงต่อจำนวนประชากร 1,000 คน
**      คิดจากจำนวนเตียงผู้ป่วยทั้งประเทศไทยในปี2551 (125,866 เตียง)
***    คิดจากจำนวนผู้ป่วยนอก(152ล้านครั้ง)และผู้ป่วยใน(10ล้านครั้ง)รวม162ล้านครั้ง ในปี2552 ประชากรในประเทศไทย มีจำนวน      
           63,457,4398คน เฉลี่ยประชากร๑คนพบแพทย์ปีละ2.55ครั้ง (ไทย) ส่วนประเทศอ้างอิง2.8ครั้ง(สวีเดน) 6.1ครั้ง(เดนมาร์ก)
***    หมอไทยอายุเฉลี่ย 61.2 ปี  จาก  http://www.hsri.nu.ac.th/document/doc_article1.html
###    จาก http://www.nationmaster.com/country/sw-sweden/hea-health

ผู้เขียน นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์   25กันยายน2553
รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข แห่งประเทศไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กันยายน 2010, 13:18:22 โดย pradit »

yim2009@TCC

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 5
    • ดูรายละเอียด

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลชัดเจน