ผู้เขียน หัวข้อ: สาธารณสุขไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  (อ่าน 12661 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด


ชะตา "แพทย์ พยาบาล ทันตฯ" ในเงื้อมมือ "เอ อี ซี"

กรณีที่ศูนย์การศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยแพร่ผลการศึกษาเรื่อง “ศักยภาพการแข่งขันของการเปิดเสรีแรงงานวิชาชีพไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเ ซียน หรือเออีซี (ASEAN Economic Community: AEC) ระบุว่ากลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล เป็น 3 ใน 7 สาขาอาชีพที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบมากที่สุดภายหลังประเทศไทยมีการเปิดเ สรีแรงงานอาเซียนในปี 2558 นั้น ถือเป็นเรื่องที่สังคมไทยควรให้ความสนใจและติดตามอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าผลกระทบจะออกมาในรูปแบบใด จะเป็นผลกระทบในด้านบวกหรือด้านลบ แต่เนื่องจากทั้ง 3 สาขาอาชีพนี้เป็นเรื่องของการให้บริการด้านสุขภาพ ผลกระทบจึงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ผู้ที่อยู่ใน 3 กลุ่มสาขาอาชีพเท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงประชาชนทั้งประเทศด้วย
 
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.คลินิก.นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา แสดงความคิดเห็นว่า ในอีก 4 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีอาเซียน โดย 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ร่วมกันจัดทำความตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน หรือ เอ็มอาร์เอ (Multual Recognition Arrangement: MRA) เป็นคุณสมบัติขั้นต้นของแรงงานฝีมือใน 7 สาขา ได้แก่ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และบัญชี ซึ่งจะช่วยให้นักวิชาชีพสามารถเข้าไปทำงานในประเทศสามาชิกอาเซียนได้สะดวกมา กขึ้น โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน แต่ยังต้องดำเนินการตามขั้นตอนเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายของประเทศนั้นๆ  

ศ.คลินิก นพ.อำนาจ บอกว่า สำหรับประเทศไทยมี 7 อาชีพ ที่อยู่ในข้อตกลงนี้ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก และช่างสำรวจ ซึ่งในส่วนของแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล นั้น  มีการพูดคุยกันในองค์กรวิชาชีพ ทั้ง แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภากายภาพบำบัด สภาเภสัชกรรม และสภาเทคนิคการแพทย์ เพราะเชื่อว่าจะต้องมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ เพราะนอกจากใน 10 ประเทศอาเซียนแล้ว ในอนาคตยังมี จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และรัสเซีย ที่จะขอเปิดเสรีการแพทย์กับไทยด้วย เมื่อพิจารณาในเรื่องผลกระทบ จะพบว่าการเปิดเสรีการแพทย์จะกระทบต่อ

1.ด้านระบบธุรกิจสถานพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการลงทุนในโรงพยาบาลเอกชน ที่เปิดให้ต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนได้ถึงร้อยละ 70 จากเดิมที่เคยให้สิทธิได้ไม่เกินร้อยละ 49
 
2.ด้านการศึกษา หลักสูตรทั้งภาษาไทยและนานาชาติ (อินเตอร์) นักศึกษาที่จบและทำงานจะต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งแพทยสภาเป็นผู้จัดสอบและออกใบอนุญาตให้ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่เรียนในประเทศไทย หรือชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย จะต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นกัน โดยจะมีการสอบ 3 ส่วน ทั้งนี้ส่วนที่ 1 และ 2 จะเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษและภาษาไทย ส่วนที่ 3 เป็นภาคปฏิบัติ จะเน้นการสื่อสารกับคนไข้ จึงต้องใช้ภาษาไทย เพราะต้องมีการซักประวัติ พูดคุย เพื่อลดปัญหาการเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจนำไปสู่การฟ้องร้องเหมือนที่ผ่านมา หากแพทย์สามารถสอบผ่าน ก็จะได้รับใบประกอบวิชาชีพ หมายความว่า ทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงคนไทยที่จะไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย ที่จะต้องไปสอบใบอนุญาตของประเทศนั้นๆ ส่วนเรื่องการออกใบรับรองจากแต่ละสถาบันการศึกษานั้น อาจยืดหยุ่นในรูปแบบของคณะกรรมการร่วมเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ คาดว่าจะมีความคืบหน้าในเร็วๆนี้  

ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ได้เปิดหลักสูตรแพทย์อินเตอร์เต็มรูปแบบ และประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์อีกจำนวนหนึ่ง แต่หากสามารถเปิดหลักสูตรแพทย์อินเตอร์ได้ ในอนาคตจะทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมมากขึ้น เป็นผู้นำในทางการแพทย์ และเป็นศูนย์กลางสุขภาพ หรือ เมดิคัล ฮับ (Medical Hub) เต็มตัว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่หลายฝ่ายวิตกกังวลคือ การเปิดเออีซีจะทำให้เกิดปรากฎการณ์แพทย์ไหลเข้าไหลออก การเคลื่อนย้ายแพทย์นี้ จะทำให้ประเทศไทยได้แพทย์ที่เพียงพอต่อความต้องการของคนไข้ ซึ่งขอให้มั่นใจได้ว่าแม้จะเป็นแพทย์ต่างชาติ แต่หากเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องพูด อ่าน เขียนภาษาไทย และสื่อสารได้ดีในระดับที่เทียบเท่ากับแพทย์คนไทย แต่เชื่อว่าในระยะแรกแพทย์ต่างชาติยังคงมีเข้ามาในประเทศไทยไม่มาก เพราะติดเรื่องการใช้ภาษาไทย จึงไม่น่าห่วงว่าจะทำให้แพทย์ไทยถูกแพทย์ต่างชาติแย่งงานทำ ส่วนแพทย์ไทยที่คาดว่าจะไหลออกไปทำงานในประเทศที่ให้รายได้ดีกว่านั้น แพทยสภายังเชื่อว่าจะออกไปไม่มากเช่นกัน เพราะความรู้สึกของคนส่วนใหญ่มักเชื่อว่า “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้านเรา” ซึ่งพิสูจน์ได้จากในอดีตที่มีแพทย์หลายคนไปทำงานในต่างประเทศ ในที่สุดก็ต้องกลับเมืองไทย เพราะทนคิดถึงบ้านไม่ไหว สำหรับในการเตรียมความพร้อมให้แพทย์ไทยทัดเทียมกับแพทย์ต่างชาตินั้น หากพูดถึงเรื่องฝีมือไม่น่ากังวล เพราะแพทย์ไทยมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ แต่ในส่วนของทักษะภาษานั้น อาจยังด้อยกว่าหลายๆ ประเทศสมาชิกอาเซียน ขณะนี้ในหลายสถาบันการศึกษาจึงเริ่มสอนเพิ่มเติมภาษาอังกฤษให้นักศึกษาแพทย์ บ้างแล้ว ซึ่งโดยสรุปการเปิดเออีซีจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจองค์กรวิชาชีพก็ยังคงติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื ่องนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป      
 
ทางด้าน ทพ.ศิริชัย ชูประวัติ นายกทันตแพทยสภา ก็มีความเห็นว่า ในการประชุมผู้แทนสภาวิชาชีพ ส่วนใหญ่ไม่ได้มองว่าแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล จะถูกแย่งงานหรือมีความเสี่ยงใดๆ แต่ในความเห็นส่วนตัวยังเชื่อว่า เออีซีก็เหมือนกับการ “คบเพื่อน” ย่อมมีทั้งการ “เสียเปรียบ” และ “ได้เปรียบ” เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นในข้อตกลงต่างๆ ที่ทำร่วมกันในกลุ่มอาเซียน จึงเน้นเรื่องความเท่าเทียมกัน ซึ่งทุกคนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้กติกาของประเทศนั้นๆ แต่ขณะนี้ส่วนใหญ่จะเห็นแต่ข้อดีของการเปิดเออีซี เพราะจะเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และมีความร่วมมือที่เน้นให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด  

ทพ.ศิริชัย กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลของประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่ายังมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หลักสูตรทันตแพทย์ในแต่ละประเทศยังมีความหลากหลาย ซึ่งจะทำให้มาตรฐานของแต่ละประเทศแตกต่างกัน และไม่เท่าเทียมกันแน่นอน เช่น ประเทศไทย ยึดหลักสูตรตามแบบสหรัฐอเมริกา เรียนจบหลักสูตรภายใน 6 ปี ขณะที่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ยึดหลักสูตรแบบอังกฤษเรียนเพียง 5 ปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้น หากเปิดเออีซีจะใช้วิธีวัดมาตรฐานจากการสอบ และการใช้ภาษาไทย ซึ่งเรื่องนี้ไม่ถือว่าเป็นการกีดกันชาวต่างชาติเข้ามาทำงาน เพราะคนไทยที่จะไปทำงานในต่างประเทศก็ต้องใช้ภาษาของประเทศนั้นๆ ได้ดีเช่นกัน  
 
ทพ.ศิริชัย ยังให้ข้อมูลอีกว่า จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่าขณะนี้ประเทศไทยมีทันตแพทย์ประมาณ 12,000 คนทั่วประเทศ แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะในต่างจังหวัดยังขาดแคลนอีกประมาณ 4,000 คน ที่หลายฝ่ายเกรงว่าหากเปิดเออีซี จะทำให้ทันตแพทย์ไทยส่วนหนึ่งเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งจะยิ่งทำให้ประชาชนไทยขาดแคลนทันตแพทย์มากขึ้นนั้น เรื่องนี้ยังไม่น่ากังวล เนื่องจากเชื่อว่าหากทันตแพทย์ไทยจะไปทำงานต่างประเทศจริงๆ จะต้องมุ่งเข้าไปในประเทศที่ร่ำรวยและตอบแทนรายได้ที่มากกว่าในประเทศไทย ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก เพราะจะถูกประเทศนั้นๆ กีดกันด้วยข้อจำกัดด้านการใช้ภาษาท้องถิ่น ถ้าไม่เก่งจริง คงไปได้ยาก ที่สำคัญทันตแพทย์ไม่เหมือนแพทย์ หรือพยาบาลที่เดินทางไปทำงานที่ไหนก็ได้เพียงลำพัง แต่ทันตแพทย์จะต้องมีทีม คือมีผู้ช่วย และเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการทำงานซึ่งหากไปทำงานในต่างประเทศจะต้องลงทุนด้วยงบประมาณที่สูงมาก อาจจะไม่คุ้มค่าหากเทียบกับการทำงานในประเทศไทย  
 
อย่างไรก็ตาม ทพ.ศิริชัย ย้ำว่าทันตแพทยสภาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเรื่องเหล่านี้ ขณะนี้หลายๆ สถาบันการศึกษาก็ได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเอง จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการใช้ภาษาอังกฤษได้มากขึ้น แต่ไม่ได้เต็มรูปแบบเพราะส่วนใหญ่จะเน้นไปที่เนื้อหาทางวิชาการมากกว่า จึงมีแนวคิดที่จะให้นักศึกษาที่เตรียมจะจบใหม่ใช้วิธีเรียนภาษาอังกฤษเสริมจ ากภายนอก และสอบวัดระดับในสถาบันที่ได้มาตรฐานและให้ได้ใบรับรองเพื่อนำไปพิจารณาควบค ู่ก่อนอนุมัติใบปริญญาบัตรแทน  

มาถึงกลุ่มอาชีพพยาบาล ดร.กฤษดา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล คนที่ 2 ก็มีความเห็นไม่ต่างกันว่า ขณะนี้ประเทศไทยผลิตพยาบาลได้ประมาณ 9,000-10,000 คนต่อปี ในอีก 3 ปีข้างหน้า เด็กจะจบใหม่อีกประมาณ 9,000 คน ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศท ี่ใช้บริการในประเทศไทย เมื่อพิจารณาหลักสูตรการเรียนพยาบาล สำหรับในประเทศไทยนั้น ใช้เวลาเรียนประมาณ 4 ปี จึงจะให้ออกไปทำงาน แต่ในต่างประเทศส่วนใหญ่เรียนต่ำกว่า 4 ปี ที่สำคัญพยาบาลไทยยังมีจุดแข็งที่เรื่องของความอ่อนโยน มีใจรักบริการ ดังนั้นในเรื่องของทักษะการทำงานและการให้บริการจึงมั่นใจได้ว่าพยาบาลไทยไม ่เป็นรองใคร หากจะมีจุดอ่อนบ้างก็ตรงที่พยาบาลไทยอาจจะมีปัญหาด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องให้เรียนเสริมเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้ในสถาบันการศึกษาเอกชนส่วนใหญ่จัดให้เรียนแบบ 2 ภาษา เพื่อให้ใช้ภาษาได้ทัดเทียมกับประเทศสมาชิกอาเซียน  
 
“ถามว่าการเปิดเออีซีเป็นเรื่องน่ากลัว หรือทำให้พยาบาลของไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกแย่งงานหรือไม่ เรื่องนี้สภาการพยาบาลไม่ห่วง ไม่น่าหนักใจ แต่ยอมรับว่าก็อาจจะมีพยาบาลต่างชาติ เช่น ฟิลิปปินส์ เข้ามาทำงานบ้าง แต่โดยหลักการของสภาการพยาบาลที่มุ่งคุ้มครองผู้บริโภค ควบคุมวิชาชีพให้ได้มาตรฐาน ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่จะเข้ามาเป็นพยาบาลในประเทศไทย จะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ และจะต้องสำเร็จหลักสูตรจากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลให้การยอมรับและรั บรอง ดังนั้น พยาบาลต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยก็จะต้องเสนอเอกสารเพื่อให้สภากา รพยาบาลตรวจสอบว่าหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่จบเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ในกลุ่มประเทศอาเซียนจะต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลกัน นอกจากนี้จะต้องเข้าสอบใบอนุญาตซึ่งข้อสอบเป็นภาษาไทยด้วย ซึ่งในระยะแรกหลังเปิดเออีซีจะเป็นเรื่องยากสำหรับพยาบาลต่างชาติที่ประสงค์ เข้ามาทำงานในประเทศไทย” ดร.กฤษดา กล่าว  

นอกจากนี้ ดร.กฤษดา ยังบอกว่า ปัจจุบันพยาบาลทั้งหมดกระจายอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐร้อยละ 80-85 อยู่ในโรงพยาบาลเอกชนร้อยละ 12-15 หากโรงพยาบาลเอกชนจะรับพยาบาลต่างชาติเข้ามาทำงานก็ถือว่าเป็นส่วนที่น้อยมา ก ส่วนกรณีพยาบาลไทยประสงค์ที่จะไปทำงานในต่างประเทศ ก็ถือว่าเป็นสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ไม่มีการปิดกั้นใดๆ แต่สภาการพยาบาลจะไม่ส่งเสริม เพราะยึดหลักปกป้องคนไทยให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแม้จะมีการเปิดเออีซี แต่ด้วยจุดแข็งของพยาบาลไทยจึงเป็นที่ต้องการของนานาชาติ ซึ่งขณะนี้พบว่า มีพยาบาลไทยไปขอแปรเอกสารบ้างแล้ว โดยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีประมาณ 700 คนต่อปี แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้ไปทำงานในต่างประเทศทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบว่าพยาบาลไทยไม่ได้ไปทำงานในกลุ่มอาเซียน แต่ส่วนใหญ่เดินทางไปประเทศนอกกลุ่มอาเซียน ซึ่งได้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าด้วย แต่ที่น่ากังวลมากกว่านั้นคือ ขณะนี้พบว่าตามแนวชายแดนด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีโรงพยาบาลเอกชนไปลงทุนเพื่อรับลูกค้าที่มีฐานะจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจจะมีการเปิดรับสมัครพยาบาลที่มาจากประเทศติดชายแ ดนไทยเข้ามาทำงานด้วย เพราะใช้ภาษาสื่อสารกับลูกค้าต่างชาติได้ ซึ่งหากเป็นดังเช่นที่คาดการณ์ไว้ จะทำให้พยาบาลไทยถูกแย่งงานไปบางส่วนแน่นอน  
 
จากข้อมูลของฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซ์ซิม แบงค์ ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน Joint Commission International: JCI Accreditation ของสหรัฐอเมริกา จำนวน 28 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในอาเซียน สะท้อนว่าโรงพยาบาลในประเทศไทยมีความโดดเด่นด้านมาตรฐานของสถานพยาบาล อีกทั้งแพทย์ไทยยังได้รับการยอมรับด้านความสามารถในระดับสากล ขณะที่อัตราค่าบริการยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอย่างสิงคโปร์ ทำให้ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบที่เกื้อหนุนให้สามารถดึงดูดผู้ป่วยต่างชาติเข ้ามาใช้บริการรักษาพยาบาลได้มากที่สุดในเอเซีย ซึ่งสถิติในปี 2553 มากถึง 1.74 ล้านคน แต่ธุรกิจการรักษาพยาบาลของประเทศไทยภายใต้เออีซีก็ยังต้องเผชิญกับความท้าท าย และต้องเร่งปรับตัว เนื่องจาก
 
1.ยังมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์
2.การแข่งขันในธุรกิจการรักษาพยาบาลมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะกับสิงคโปร์ และ มาเลเซีย และ
3.ยังต้องเผชิญกับการกำหนดเงื่อนไขเพื่อเป็นข้อจำกัดในการลงทุน  เช่น อินโดนีเซีย กำหนดให้ต่างชาติลงทุนในโรงพยาบาลขนาด 200 เตียงขึ้นไปเท่านั้น  
 
เมื่อการเปิดเออีซีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องรู้เท่าทัน!

สำนักข่าวอิศรา
วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2012
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มิถุนายน 2012, 23:13:47 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
Re: สาธารณสุขไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 มิถุนายน 2012, 23:04:03 »
"แพทย์เฉพาะทาง"ถูกดูดรับเออีซี ชงรพ.เอกชนปั๊มเพิ่ม ?

ปี 2558 หรือ 3 ปีจากนี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จับสัญญาณในวงการสาธารณสุข 1 ใน 7 สาขาอาชีพที่เกี่ยวพันโดยตรง ปรากฏเป็นความกังวลต่อภาวะ “สมองไหล”

สถานการณ์แพทย์ในประเทศไทย เรียกได้ว่าอยู่ในภาวะ “ขาดแคลน” นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ฉายภาพว่า อัตรากำลังคนของสธ.ในปี 2555 โดยเฉพาะสาขาแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ยังมีความต้องการเพิ่มอีก 20-60% เพื่อกระจายบริการประชาชนอย่างทั่วถึง

สำหรับภาพรวมทั่วประเทศ ยังมีความต้องการแพทย์อีกกว่า 4 หมื่นคน เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราส่วน แพทย์ 1 คน ต่อ ประชากร 1,800 คน นอกจากนี้ยังต้องการทันตแพทย์ 1.2 หมื่นคน เภสัชกรอีก 1.5 หมื่นคน เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราส่วน ทันตแพทย์ 1 คน ต่อประชากร 1,600 คน และเภสัชกร 1 คน ต่อประชากร 7,500 คน

รองปลัดโสภณ ให้รายละเอียดอีกว่า ข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา พบบุคลากรทั้ง 3 สาขาวิชาชีพที่อยู่ในสังกัดสธ.ไม่เพียงพอ โดยมีแพทย์เพียง 1.2 หมื่นคน คิดเป็น 59% ของกรอบอัตราที่ควรจะเป็น มีทันตแพทย์ 3,700 คน คิดเป็น 44% และมีเภสัชกร 5,400 คน คิดเป็น 80%

อย่างไรก็ดี ข้อวิตกภาวะสมองไหลในข้างต้นพุ่งเป้าไปยัง “แพทย์เฉพาะทาง” ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่จะไหลออกสู่ต่างประเทศ และหากเป็นจริงเช่นนั้น ยิ่งเร้าให้ปัญหาขาดแคลนทรัพยากรบุคลากรที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ขยายแผลใหญ่มากขึ้น

เวลาร่วม 10 ปี คือระยะทางในการผลิต “แพทย์เฉพาะทาง” 1 คน ปัจจุบันผู้ที่แบกรับภาระการผลิตแพทย์มีเพียงวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์เท่านั้น

ต่อปัญหาดังกล่าว นพ.กำพล พลัสสินทร์ ประธานชมรมโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนาระบบประกันสังคม เสนอว่า ทางเลือกหนึ่งเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตแพทย์เฉพาะทางและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้เพียงพอ คือการเปิดให้โรงพยาบาลเอกชนที่มีศักยภาพสูง เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ร่วมผลิต

นพ.กำพล อธิบายว่า ระยะเวลาการผลิตแพทย์ 1 คน เริ่มจากเรียนในวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ 6 ปี จากนั้นหากจะต่อสาขาอายุรกรรมต้องเรียนอีก 3 ปี จึงสามารถต่อแพทย์เฉพาะทางได้ แน่นอนว่าจะได้แพทย์เฉพาะทาง 1 คน ต้องใช้เวลาร่วม 10 ปี แต่แนวทางที่เสนอจะให้โรงพยาบาลเอกชนมารับช่วงต่อหลังจากจบวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์แล้ว ซึ่งแพทย์เฉพาะทางบางสาขาอาจเริ่มเรียนในปีที่ 7 เท่านั้น

เหตุที่คุณหมอรายนี้เห็นว่าโรงพยาบาลเอกชนควรมีส่วนร่วมในการผลิตแพทย์ คือโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในปัจจุบันมีอาจารย์แพทย์สาขาเฉพาะทาง เช่น หัวใจ สมอง ผิวหนัง ปอด ไต ทางเดินหายใจ ประจำอยู่มากกว่ามหาวิทยาลัยแพทย์หรือโรงพยาบาลรัฐ นอกจากนี้โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ยังมีเทคโนโลยี ระบบไอที วิวัฒนาการทางการแพทย์ สูงกว่าโรงพยาบาลอื่นๆ จึงเชื่อว่าโรงพยาบาลเหล่านี้พร้อมจะให้ความร่วมมือและพร้อมผลิตแพทย์

คุณหมอกำพล ระบุว่า โรงพยาบาลเอกชนยังไม่สามารถผลิตแพทย์ได้เนื่องจากถูกกีดกันจากภาครัฐ เนื่องจากเกรงว่าโรงพยาบาลเอกชนจะผลิตมาแข่งขัน หรือผลิตไม่ได้คุณภาพ

“ตอนนี้โรงเรียนแพทย์เขายังไม่ลืมตา ยังกีดกันไม่ให้โรงพยาบาลเอกชนมาผลิตแพทย์แข่ง ทั้งๆ ที่ในหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เปิดช่องให้โรงพยาบาลเอกชนผลิตแพทย์เฉพาะทางทั้งสิ้น เบื้องต้นผู้ได้คุยกับผู้อำนวยการ 2 โรงพยาบาลข้างต้นแล้ว ท่านยืนยันว่ามีความพร้อม”นายแพทย์รายนี้กล่าว

นพ.กำพล กล่าวอีกว่า ท้ายที่สุดขึ้นอยู่กับแพทยสภาว่าจะยอมให้โรงพยาบาลเอกชนผลิตหรือไม่ เพราะหากแพทยสภาเห็นด้วยและออกประกาศ ก็สามารถบังคับใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หรือคณะรัฐมนตรี (ครม.)

ด้าน นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา ระบุว่า แพทยสภาพร้อมสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว และพร้อมปรับแก้ระเบียบเพื่อเปิดช่องให้โรงพยาบาลเอกชนที่มีศักยภาพสามารถเข้าร่วมผลิตแพทย์เฉพาะทางได้ แต่ย้ำว่าโรงพยาบาลเหล่านั้นต้องมีความพร้อมจริงๆ

“ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ แน่นอนว่าต้องมีฐานะดีและต้องการได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เฉพาะทางที่มีความสามารถ คำถามคือมันจะสวนทางกับข้อเสนอให้โรงพยาบาลเอกชนผลิตแพทย์หรือไม่ นั่นเพราะคนไข้อาจจะได้รับการรักษาจากแพทย์ฝึกหัด ซึ่งคนไข้อาจไม่ยินยอม สุดท้ายโรงพยาบาลเอกชนก็จะไม่มีคนไข้สำหรับฝึกแพทย์” นพ.อำนาจกล่าว

นพ.อำนาจ กล่าวอีกว่า หากโรงพยาบาลเอกชนสามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ ก็ให้เสนอโครงการมายังแพทยสภา ยืนยันว่าแพทยสภาพร้อมพิจารณาและเปิดช่องให้ อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านั้นจะต้องมีมาตรฐานและผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวด จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปิดผลิตแพทย์ได้ โดยปัจจุบันมีหลากหลายมหาวิทยาลัยที่ต้องการเปิดสอนคณะแพทย์ศาสตร์แต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์

อย่างไรก็ตาม นายกแพทยสภา ยอมรับว่า ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว สถานการณ์แพทย์เฉพาะทางจะเป็นอย่างไร เพราะที่ผ่านมามีการวิเคราะห์ใน 2 ทาง หนึ่งคือแพทย์จะไหลเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก อีกหนึ่งคือแพทย์จะไหลออกหรือเรียกว่าภาวะสมองไหล อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในประเทศไทยในขณะนี้คือมีแพทย์เฉพาะทางที่ขาดแคลนเพียงบางสาขาเท่านั้น

อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงหนึ่งในข้อเสนอเพื่อหาทางออกต่อปัญหา ทว่านอกเหนือจากการผลิตแพทย์เฉพาะทางเพิ่มแล้ว "การกระจาย" แพทย์ก็ต้องทำควบคู่กันไป

นั่นเพราะก่อนหน้านี้ นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เคยให้ข้อมูลไว้ว่า เมื่อเปรียบเทียบแพทย์ในเขตเมืองพื้นที่กทม.ที่มีอัตราส่วนแพทย์ต่อผู้ป่วย 1 ต่อ 700 ประชากร ชัดเจนว่าสูงกว่าพื้นที่ชนบทซึ่งมีเพียง 1 ต่อ 1 หมื่นประชากร และยังสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของอีกหลายประเทศ สะท้อนถึงความล้มเหลวเรื่องการกระจาย

นงลักษณ์ พะไกยะ ผู้จัดการสำนักงานวิจัยและจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) ระบุว่า แม้สธ.จะสามารถผลิตแพทย์สู่ระบบเพิ่ม แต่ปัญหาขาดแคลนแพทย์และปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการยังคงอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและชนบท

เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนแพทย์ในชุมชนกับแพทย์ทั่วประเทศ พบว่าอยู่ที่ 17% แต่กลับต้องดูแลประชากรกลุ่มใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ นั่นเท่ากับแพทย์กลุ่มนี้มีภาระหนักมาก หากพิจารณาตัวเลขยิ่งชัดเจนว่า ประเทศไทยต้องการกระจายแพทย์ต่อประชากร คือ 1 : 2,000 ทว่ากลับพบว่าบางจังหวัดในภาคอีสานมีอัตรา 1 : 8,000 ส่วนในพื้นที่กทม.อัตราเพียง 1 : 700-800 เท่านั้น

ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดสธ. ระบุแนวทางการแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ว่า สธ.ดำเนินการโดยเน้นการกระจายแพทย์ในชนบท โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจัดผลิตแพทย์เพิ่มชนบทเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ โดยโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบันสามารถผลิตแพทย์ได้ 12 รุ่น รวม 3,219 คน จากเป้าหมายทั้งหมด 11,495 คน

เห็นได้ว่าการผลิตแพทย์จากอดีตจนถึงปัจจุบันช่วยให้สถานการณ์ขาดแคลนแพทย์ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย และในอนาคตอันใกล้ที่ประเทศไทยจะต้องตั้งรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งยังไม่สามารถประเมินได้ว่าปลายทางจะเป็นอย่างไร

ดังนั้นข้อเสนอให้โรงพยาบาลเอกชนร่วมผลิตแพทย์เฉพาะทางถือว่ารับฟังได้ แต่หากเปิดไฟเขียวจริงต้องมีคำอธิบายต่อสังคมว่าผลิตเพื่อประชาชนทุกคน ทุกระดับ ทุกฐานะ ไม่ใช่ผลิตขึ้นเพื่อป้อนเข้าสู่โรงพยาบาลเอกชนเพียงอย่างเดียว

เช่นนั้นแล้ว จะถูกมอบได้ว่า โรงพยาบาลเอกชน "ชุบมือเปิบ" ดึงหมอจากระบบที่กำลังขาดแคลนมาศึกษาต่อเพียงเพราะต้องการ "ต่อยอด" ทางธุรกิจของตัวเองเท่านั้น

สำนักข่าวอิศรา
วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2012