ผู้เขียน หัวข้อ: ม.41 ว่าด้วยการช่วยเหลือเบื้องต้น  (อ่าน 451 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
ม.41 ว่าด้วยการช่วยเหลือเบื้องต้น
« เมื่อ: 14 ธันวาคม 2014, 20:04:10 »
 ข่าวการบาดเจ็บและเสียชีวิตของผู้โดยสารรถพยาบาลระหว่างส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ไปผ่าตัดทำคลอดที่โรงพยาบาลจังหวัดเนื่องจากในระหว่างการเดินทางได้มีฝนตกลงหนักเป็นครั้งแรกในรอบสามเดือนในวันเสาร์ที่ผ่านมาให้ถนนลื่นจนมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นหลายครั้งในวันนั้น ถือเป็นข่าวเศร้าที่เกิดขึ้นในวงการสาธารณสุขที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ต้องขอแสดงความเสียใจกับผู้เสียหายและครอบครัวมา ณ โอกาสนี้ และเนื่องจากเป็นการส่งต่อผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและเป็นการเกิดเหตุในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะให้การช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้เสียหายทั้งหมดตามระเบียบต่อไป
       
       เงินช่วยเหลือเบื้องต้นคืออะไร
       
       มาตรา 38 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุให้มีการจัดตั้ง “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวหมายถึง “ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ” หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการให้บริการของโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งประกอบด้วยโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งและโรงพยาบาลเอกชนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ (มีประมาณ แห่งทั่วประเทศ) ค่าใช้จ่ายดังกล่าวรวมถึงค่าตรวจวินิจฉัย ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ค่าบำบัดและบริการทางการแพทย์ ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอวัยวะเทียม ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าทำคลอด ค่าสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ค่ากินอยู่ในหน่วยบริการ ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย ค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นเพื่อการบริการสาธารณสุขตามที่คณะบอร์ดกำหนด
       
       ปัจจุบันงบประมาณในกองทุนหลักประกันสุขภาพมาจากเงินภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เก็บจากประชาชนปีละกว่าแสนล้านบาท โดยมอบให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุน การไปรับบริการรักษาพยาบาลของประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพจึงไม่ได้ไปรักษา “ฟรี” เพียงแต่ไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายเองโดยตรง เนื่องจาก สปสช. ทำหน้าที่ในการจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้แก่หน่วยริการแทนประชาชนที่ไปรับบริการ

       บริการทางการแพทย์เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชนที่มารับบริการ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนล้วนแต่มีความปรารถนาดีและมุ่งมั่นที่จะรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพเพื่อให้หายจากความทุกข์ที่เกิดขึ้น แต่ความผิดพลาดในขั้นตอนการให้บริการย่อมเกิดขึ้นได้ แม้จะใช้ความระมัดระวังอย่างที่สุดแล้ว และเมื่อพบความผิดพลาดก็ต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขและปรับปรุงมิให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาอีกในอนาคต
       
       เพื่อเป็นการให้กำลังใจและลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ สามารถขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิดหรือผลพิสูจน์ทางการแพทย์ได้ภายใน 1 ปีนับจากทราบความเสียหาย นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ให้บริการ หากได้รับความเสียหายในขณะปฏิบัติหน้าที่ก็สามารถขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้คำร้องดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นซึ่งมีอยู่ในทุกจังหวัด และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรสอบถามที่ สายด่วน สปสช.1330 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
ASTVผู้จัดการออนไลน์    18 มีนาคม 2557