แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - science

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 12
31
วันที่ 28 ธ.ค. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผยว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ฐานะประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) จะเดินทางมาเป็นประธานเปิดศูนย์แถลงข่าวสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2558 ภายใต้แนวคิด "มอบความสุขทั่วไทย สัญจรปีใหม่ ปลอดภัยทุกคน" ในวันที่ 30 ธ.ค.  เวลา 14.30 น. โดยศูนย์จะเปิดระหว่างวันที่ 30 ธ.ค.2557– 5 ม.ค.2558 มีรัฐมนตรีสลับกันมาแถลงข่าวทุกวัน ส่วนพิธีปิดศูนย์วันที่ 6 ม.ค. จะมีนายสุธี มากบุญ รมช.มหาดไทย  มาทำหน้าที่

นายฉัตรชัย กล่าวว่า มาตรการการสร้างความปลอดภัยทางถนน ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมทั้ง รมว.มหาดไทย ซึ่งเทศกาลปีใหม่เป็นช่วงที่มีสถิติอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าปกติ ดังนั้นเพื่อให้การป้องกันและลดอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียมาก ศปถ.จึงกำหนดกรอบแนวทางเน้นมาตรการ 3 ด้าน ได้แก่  การป้องกันเน้นการบังคับใช้กฎหมาย 10 มาตรการอย่างเข้มข้น การควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และการดูแลนักท่องเที่ยวตามจุดผ่านแดน

นายฉัตรชัย กล่าวอีกว่า ยอดของการสูญเสียที่ผ่านมาจะอยู่ในพื้นที่ตามท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่และเกี่ยวข้องกับสุรา โดยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนน ได้แก่ เมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดจึงอยากเน้นการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบเรื่องการใช้รถใช้ถนน ห้ามเมาแล้วขับ ส่วนรถที่บริการสาธารณะจะต้องมีความรับผิดชอบเช่นกัน ซึ่งก็จะมีมาตรการตรวจสอบและควบคุมคนขับด้วย ทั้งนี้ แม้ทางรัฐบาลและ ศปถ.จะไม่ได้ตั้งเป้าจำนวนผู้เสียชีวิต แต่เราหวังจะให้ยอดของผู้เสียชีวิตเป็นศูนย์

ทั้งนี้ สำหรับสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557 โดยสรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วันตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค.2556 - 2 ม.ค.2557
เกิดอุบัติเหตุรวม 3,174 ครั้ง (ปีใหม่ 2556 เกิด 3,164 ครั้ง) เพิ่มขึ้น 10 ครั้ง ร้อยละ 0.32
ผู้เสียชีวิต รวม 366 ราย เท่ากับปีใหม่ 2556
ผู้บาดเจ็บรวม 3,345 คน (ปีใหม่ 2556 ผู้บาดเจ็บ 3,329 คน) เพิ่มขึ้น 16 คน ร้อยละ 0.48

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 41.71
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.03
พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 22.39
ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 56.59
ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วัน รวม 5 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน บึงกาฬ ตราด ปัตตานี และ พังงา
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 127 ครั้ง
จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 21 ราย

28 ธันวาคม พ.ศ. 2557   ข่าวสดออนไลน์

32
นักวิชาการ ยัน พ.ร.บ.ยาสูบ ใหม่ ไม่กระทบชาวไร่

ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนากำลังคนด้านควบคุมยาสูบ และรองประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุ หรี่ กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ ยาสูบฉบับใหม่ กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภา แต่พบว่ามีกลุ่มชาวไร่ยาสูบออกมาคัดค้านว่าได้รับความเดือดร้อนจากกฎหมายฉบับดังกล่าว โดยอ้างว่ากฎหมายฉบับนี้จะมีประสิทธิภาพสูง ทำให้คนไทยสูบบุหรี่น้อยลง จนใบยาที่ปลูกไว้ไม่สามารถขายได้นั้น จากข้อมูลกระทรวงการคลังพบว่า ในฤดูการผลิตปี 2552-2553 ประเทศไทยมีชาวไร่ ยาสูบ 61,058 ราย ผลิตใบยาได้ 62,448,781 กิโลกรัม โดย 64.8% เป็นใบยาสำหรับส่งออก และ 35.2% รับซื้อโดยโรงงานยาสูบไทยจะเห็นว่า 2 ใน 3 ของผลผลิตใบยาสูบไทย เป็นผลผลิตสำหรับส่งออก ดังนั้นปัจจัยที่มากระทบกับรายได้หรืออาชีพของชาวไร่ยาสูบส่วนนี้จะมาจากกลไกการตลาดโลกเป็นหลัก ส่วนความต้องการใบยาสูบของชาวไร่จะกระทบต่อเมื่อมีสัดส่วนการนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศมากกว่าความต้องการของบุหรี่จากโรงงานยาสูบ 

     ผศ.ดร.ลักขณา กล่าวว่า จากสถิติที่พบว่าจำนวนประชากรไทยที่สูบบุหรี่ ลดลงจาก 12.2 ล้านคนในปี 2534 เหลือ 10.77 ล้านคนในปี 2556 ขณะที่ยอดจำหน่ายบุหรี่ซิกาแรตในปี 2534 เท่ากับ 1,942 ล้านซอง และ ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 2,172 ล้านซอง หรือเฉลี่ยเท่ากับ 2,000 ล้านซองต่อปี ในขณะที่โรงงานยาสูบเสียส่วนแบ่งตลาดให้บริษัทบุหรี่ต่างประเทศ จากที่เคยครองตลาดในประเทศ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2534 เหลือประมาณ 75% ในปี 2556 ซึ่ง​ข้อมูลข้างต้นย่อมเป็นหลักฐานยืนยันว่า ตลอดช่วง 23 ปีที่มีการรณรงค์ควบคุมยาสูบอย่างต่อเนื่อง การควบคุมยาสูบไม่ใช่ปัจจัยที่จะส่งผลต่ออาชีพชาวไร่ยาสูบไทย แต่การที่จำนวนยาสูบไทยในส่วนที่รับซื้อโดยโรงงานยาสูบลดลง นั่นเป็นเพราะโรงงานยาสูบไทยเสียส่วนแบ่งตลาดบุหรี่ให้แก่บริษัทบุหรี่ต่างประเทศ

ผศ.ดร.ลักขณา กล่าวว่า ​ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบไทยในอนาคต น่าจะประกอบด้วย
1.โรงงานยาสูบไทยเสียส่วนแบ่งให้แก่บุหรี่ต่างประเทศในสัดส่วนที่มากขึ้น
2.ต้นทุนการผลิตใบยาสูบในประเทศสูงขึ้นมากกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้ปริมาณการส่งออกลดลงตามกลไกการตลาด
3.โรงงานยาสูบไทยหันไปซื้อใบยาสูบจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาถูกกว่าเพื่อลดต้นทุน

ซึ่งการออก พ.ร.บ.​ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ จึงไม่มีส่วนที่เกี่ยวกับการทำไร่ การบ่มใบยา และการค้าใบยาสูบ แต่เป็นการออกเพื่อป้องปกเยาวชนและสุขภาพประชาชนเท่านั้น

29 ธันวาคม พ.ศ. 2557
บ้านเมือง

33
 คอลัมน์ Sexociety โดย Dr.DEN

มันถูกเรียกว่าอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
       
       การค้าประเวณี มีอยู่ทุกหนแห่งตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกประวัติศาสตร์กันมาแล้ว และมันเป็นอาชีพที่มีเวลาอันยาวนานที่สุดในการเจริญเติบโต โสเภณีมิได้เป็นเพียงโสเภณีอย่างเดียว มีผู้หญิงมากมายหลายแบบตลอดประวัติศาสตร์ที่ให้บริการหลากหลายระดับในสังคมเมือง ตั้งแต่ออหรี่ชั้นต่ำจนถึงหญิงงามเมืองของสังคมชั้นสูง

   
        1) หยิง-ชิ (Ying-Chi)
       
       หยิง-ชิ เป็นโสเภณีอิสระอย่างเป็นทางการพวกแรกในประวัติศาสตร์จีน โดยมีพวกเธอมาตั้งแต่ สมัยจักรพรรดิหวู่ ซึ่งว่ากันว่าพระองค์เกณฑ์บรรดาข้าราชบริพารฝ่ายหญิงให้มารับหน้าที่อย่างเดียว คือ การบำเรอทหารในกองทัพของพระองค์ขณะเดินทัพระยะไกล
       
       คำว่า หยิง-ชิ นั้น แปลตามตัวได้ว่า “โสเภณีในค่ายทหาร” ซึ่งถือว่าเป็นคำยกย่องอย่างสูงในยุค 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช
       
       แหล่งข่าวบางแห่งตั้งข้อสงสัยว่าหญิงสาวเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นโสเภณีจีนพวกแรก ว่ากันว่า กษัตริย์แห่งเย่ว์ (มณฑลกวางตุ้งในประเทศจีน) ได้จัดตั้งค่ายค้าประเวณีเป็นแห่งแรก ซึ่งประกอบด้วยบรรดาแม่ม่ายของทหารที่ล้มตาย ผู้หญิงเหล่านี้แตกต่างจาก หยิง-ชิ เป็นอันมาก เพราะ หยิง-ชิ เป็นที่นิยมยกย่องและมีบทบาทในการมอบ “มิตรภาพ” ให้แก่ชายชาติทหารเท่านั้น
       
       นอกจากนี้ หยิง-ชิ ยังแตกต่างจากผู้หญิงที่ทำงานในซ่องโสเภณีที่ดำเนินกิจการโดยรัฐบาล ซึ่งเป็นสถาบันที่เก่าแก่มากกว่า โดยสามารถย้อนหลังไปได้ถึง 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช

   
        2) โสเภณีวิหาร (Temple Prostitutes)
       
       บทบาทของ โสเภณีวิหาร ในสังคมกรีก-โรมันโบราณนั้น เป็นเรื่องที่เคยถกเถียงกันมามาก ไม่ใช่เรื่องที่เถียงกันว่ามันเป็นการปฏิบัติที่นิยมกันหรือไม่ ข้อนั้นมันแน่อยู่แล้ว แต่รายละเอียดของการปฏิบัติต่างหากที่ยังต้องมีการตีความ
       
       โสเภณีวิหาร คือ พวกผู้หญิงที่ขายบริการภายใต้ความศักดิ์สิทธิ์ของวิหาร และด้วยการอนุญาตจากนักบวชของวิหาร นอกจากนี้พวกเธอยังทำงานเพื่อเทพเจ้าของพวกเธออีกด้วย
       
       การบริการทางศาสนาของโสเภณีวิหารเหล่านี้จะได้รับค่าตอบแทนกี่มากน้อยนั้นไม่มีใครรู้ นักวิชาการบางคนแย้งว่าพวกเธอเป็นเพียงทาสที่ขายบริการเพื่อให้ได้รับเงินมาเข้าวิหารเท่านั้น บางคนเชื่อว่าพวกเธอมีบทบาทที่ได้รับการเคารพมากกว่านั้นเยอะ
       
       ในวิหารและในการบวงสรวงเทพเจ้าของพวกเธอ และเชื่อว่าการไปเยือนโสเภณีวิหารและจ้างเธอ (หรือเขา) มาให้บริการนั้น เป็นรูปแบบของการบวงสรวงอย่างหนึ่ง ทฤษฎีนี้เป็นที่นิยมเป็นพิเศษในลัทธิการเจริญพันธุ์และผู้บูชากามเทวีอย่าง แอโฟรไดต์ (วีนัส) แนวความคิดของโสเภณีวิหารนั้น เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ และมีระดับชั้นที่แตกต่างกันตาม
       
       สมณะศักดิ์ของวิหาร สาวพรหมจรรย์จำนวนมากทุกระดับชั้นในสังคมถูกนำมาที่วิหาร เพื่ออุทิศชีวิตและร่างกายของพวกเธอให้แก่การบวงสรวงเทพเจ้าและเทวีของพวกเขา
       
       บางแหล่งข่าวระบุว่าหญิงสาวที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปีเท่านั้น ที่จะได้เป็นโสเภณีวิหารในยุคกรีกโบราณ มีหลักฐานจำนวนมหาศาลที่ขัดแย้งกันว่าโสเภณีวิหารมีบทบาทอย่างไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ พวกเธอเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตแห่งวิหาร

   
        3) เทวทาสี (Devadasis)
       
       เทวทาสี คือ ผู้หญิงที่ถูกบังคับให้เข้าสู่วิถีชีวิตของการค้าประเวณี เพื่อรับใช้กามเทวีของฮินดูที่ชื่อ เยลลัมมา เมื่อเด็กหญิงเหล่านั้นถึงวัยเจริญพันธุ์ พ่อแม่ของพวกเธอก็นำพรหมจรรย์ของพวกเธอออกประมูลและขายให้แก่ผู้ให้ราคาสูงสุด
       
       ในทันทีที่พรหมจรรย์ของพวกเธอถูกทำลาย พวกเธอก็ถูกอุทิศให้กับเทวีองค์นั้น และใช้เวลาที่เหลือในชีวิตเป็นโสเภณีในพระนามของเยลลัมมา ทุกคืนชะตากรรมของพวกเธอไม่เคยเปลี่ยน กล่าวคือ ถูกขายให้ใครก็ตามที่จ่ายมากที่สุด
       
       สำหรับพ่อแม่ มันไม่ใช่การกระทำที่เลวร้ายแต่อย่างใด ไม่เพียงแต่พวกเขาไม่ต้องจ่ายค่าสินสอดให้กับผู้ชายที่จะมาแต่งงานกับลูกสาวของพวกเขาเท่านั้น แต่พ่อแม่หลายคนยังเก็บเงินที่ลูกสาวหามาได้อีกด้วย
       
       การปฏิบัติดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในศาสนาของเยลลัมมาที่ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ แต่ถึงแม้ว่ามันเป็นสิ่งผิดกฎหมายในอินเดียในค.ศ. 1988 การปฏิบัติเช่นนี้ก็ยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน ตราบาปที่ติดตัวเทวทาสีนั้นหนักหนาสาหัส
       
       แม้ว่าผู้หญิงคนนั้นตัดสินใจที่จะเลิกใช้ชีวิตแบบนี้ พวกเธอก็จะไม่มีวันได้แต่งงาน ทันทีที่พวกเธอถูกอุทิศให้แก่เทวีของพวกเธอ ก็ไม่มีทางหันกลับมาอีกได้ เทวทาสีส่วนใหญ่ถูกขับออกจากวิหารในวัย 45 ปี เมื่อพวกเธอถูกพิจารณาว่าไม่เป็นสาวและไม่มีเสน่ห์พอที่จะนำเกียรติศักดิ์มาสู่เทวีของพวกเธอได้แล้ว และส่วนใหญ่กลายเป็นขอทานเพื่อประทังชีวิตส่วนที่เหลือไปจนวันตาย


        4) นางโลม (Comfort Women)
       
       นางโลม หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “หญิงประโลมใจ” ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น เป็นเชิงอรรถทางประวัติศาสตร์อันดำมืด และถูกมองข้ามอยู่บ่อยๆ มันเริ่มต้นในปี 1932 เมื่อทหารญี่ปุ่นเริ่มเกณฑ์ผู้หญิงซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลีมาทำงานใน “สถานีประโลมใจ” ที่จัดตั้งขึ้นใหม่
       
       ผู้หญิงเหล่านี้ได้รับคำสัญญาว่าจะมีงานทำ แต่สิ่งที่ทางญี่ปุ่นไม่ได้บอกพวกเธอ ก็คือว่า สถานีเป็นซ่องโสเภณีสำหรับบริการทหารญี่ปุ่น
        ในที่สุดผู้หญิงประมาณ 200,000 คน ถูกลำเลียงไปทางเรือเพื่อเป็นนางโลม และประมาณการกันว่ามีเพียง 25-30% ของผู้หญิงเหล่านี้ที่รอดชีวิตจากเคราะห์กรรมของพวกเธอ เด็กหญิงอายุแค่ 11 ขวบถูกบังคับให้บริการทางเพศแก่ผู้ชายวันละประมาณ 50-100 คน และจะถูกเฆี่ยนตีถ้าพวกเธอปฏิเสธ
       
       ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นเคยกล่าวคำขอโทษด้วยวาจามาบ้างแล้ว แต่พวกเขาปฏิเสธการชดเชยด้านการเงินให้แก่นางโลมและครอบครัวของพวกเธอ พอถึงปี 2014 ก็มีนางโลมเพียง 55 คนที่ยังมีชีวิตอยู่

   
        5) โอเลทริดิส (Auletrides)
       
       โอเลทริดิส คือ โสเภณีชั้นหนึ่งของกรีกซึ่งมีตำแหน่งอันน่าพึงพอใจในสังคมกรีกโบราณ ผู้หญิงเหล่านี้ห่างไกลจากออหรี่ธรรมดาด้วยทักษะที่มากกว่าแค่การขายบริการทางเพศ พวกเธอเป็นนักเป่าขลุ่ยและนักเต้นระบำที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี
       
       บางคนมีความสามารถอื่นๆ ที่ทำให้พวกเธอเป็นนักแสดงอันเป็นที่หลงใหลต่อสาธารณชน อย่างเช่น การโยนของสลับมือ การฟันดาบ และการเล่นกายกรรม หลายคนถูกนำไปแสดงปาหี่ตามถนน รวมทั้งในการเฉลิมฉลองทางศาสนาและเทศกาลต่างๆ แหล่งข่าวบางคนกล่าวว่าพวกเธอยังเป็นผู้ให้ความบันเทิงยอดนิยมสำหรับเด็กๆ อีกด้วย
       
       โอเลทริดิสยังถูกจองตัวไว้สำหรับแสดงในงานเลี้ยงส่วนตัวได้อีกด้วย และมักจะจบลงด้วยการให้บริการทางเพศด้วยความชำนาญของพวกเธอ ความสามารถพิเศษอื่นๆ ของพวกเธอบางคนก็ยังมีอีก เช่น เป็นนักเล่นพิณหรือนักเล่นกีตาร์ หญิงสาวเหล่านี้ (บางทีก็เป็นเด็กหนุ่ม) มักขึ้นสังกัดกับแม่เล้าซึ่งจ้างพวกเธอออกไปหาลำไพ่ในงานเลี้ยงส่วนตัว

 ASTVผู้จัดการออนไลน์
   11 ธันวาคม 2557

34
เชื่อว่าหลายคนต้องมีข้อผิดพลาดในการใช้หรือสื่อสารภาษาอังกฤษกันบ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะคำศัพท์ที่สะกดใกล้เคียงกัน ออกเสียงคล้ายกัน ยิ่งพูดเร็วๆ ด้วยแล้ว ยิ่งพาสับสนงุนงงไปกันใหญ่ อาจทำให้ตีความหมายของประโยคผิดเพี้ยนไป วันนี้ Life on Campus จึงนำ 15 ข้อผิดพลาดการใช้ภาษาอังกฤษมาฝากกัน จะได้มาตรวจเช็คกันว่าใครใช้ผิด จำสับสนกันบ้าง มีคำไหนบ้างนั้นต้องตามมาดู..

        1. Your /You're
        สองคำนี้เวลาออกเสียงจะมีความใกล้เคียงกัน อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้ ซึ่งคำว่า “Your” เป็นคำสรรพนามใช้แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น This is your teddy bear. (นี้คือตุ๊กตาหมีของคุณ) Your school is very big. (โรงเรียนของคุณใหญ่จัง) ส่วนคำว่า You're นั้นเป็นรูปย่อมาจากคำว่า You are ซึ่งมีความหมายว่า “คุณคือ” ทั้งนี้การออกเสียงของสองคำนี้มีความใกล้เคียงกัน แต่เราสังเกตความแตกต่างได้จากบริบทที่เรากำลังสนทนาอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนได้นั้นเอง
       
       2. It's / Its
        อีกหนึ่งการออกเสียงที่แยกไม่ค่อยออกระหว่าง It's กับ Its เพราะออกเสียงเหมือนกันเลย ส่วนตัวย่อของ “It's” นั้นเป็นรูปย่อมาจากคำว่า It is, It was และ It has ส่วนคำว่า “Its” เป็นคำสรรพนามใช้แสดงความเป็นเจ้าของว่าคือของมัน เช่น Since you're a member of this sports club, you'll have to conform to its rules. (เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกของสปอร์ตคลับแห่งนี้ คุณจะต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบด้วย) และเพื่อหลีกเลี่ยงการสับสนระหว่างสองคำนี้ อาจจะพูด It is แทน It's ไปเลยก็ได้

        3. There / Their / They're
        คำว่า There และ Their สองตัวนี้ออกเสียงเหมือนกันอย่างแยกไม่ออก แต่ความหมายต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะคำว่า There นั้นใช้แทนสถานที่ มีความหมายว่า “ที่นั่น” ส่วน Their จะเป็นคำสรรพนามที่ใช้ในการแสดงความเป็นเจ้าของ มีความหมายว่า “ของพวกเขา” เช่น It’s their anniversary next week ส่วนคำว่า They're คำนี้จะออกเสียงเหมือนกับ There และ Their เลย แต่ถ้าออกเสียงชัดๆ ก็จะแยกออกว่าพูดถึง There/ Their หรือ They're
       ส่วนความหมายนั้นก็คือ พวกเขาเป็น/อยู่/คือ เช่น I wonder who they are (ฉันสงสัยจังว่าพวกเขาเป็นใคร)
       
       4.Affect / Effect
        เชื่อว่าสองคำนี้ทำให้ใครหลายคนสับสนอยู่ไม่น้อย อาจใช้ถูกใช้ผิดกันมาบ้าง เพราะทั้งสองคำมีความหมายคล้ายกัน และยังออกเสียงใกล้เคียงกันอีกด้วย เรามาดูความแตกต่างของสองคำนี้กัน คำว่า “Affect” นั้นเป็น Verb มีความหมายว่า “กระทบหรือส่งผลต่อ” เช่น This experiment affects to the way of animal (การทดลองนี้มีผลต่อวิถีชีวิตของสัตว์) ส่วน “Effect” เป็นคำนาม แปลว่า ทำให้เกิดผล เช่น Smoking had a negative effect on his lungs (การสูบบุหรี่มีผลเสียต่อปอดของเขา)

        5. Then / Than
        ถึงแม้ว่า Then (เด็น) และ Than (แดน) จะออกเสียงต่างกัน แต่ถ้าพูดเร็วๆ ฟังไม่ดี ก็อาจตีความหมายผิดไปหรืออาจจะเขียนผิดไปได้ คำว่า Then นั้นเป็นคำวิเศษณ์หรือที่เรียกว่า Adverb ส่วนความหมายนั้นแปลได้หลายความหมาย อย่างแปลว่า นับแต่นั้นเป็นต้นมาในแง่ของเวลา เช่น I had a serious argue with her, she never talks to me again since then. (ผลทะเลาะกับเธอหนักมาก แล้วเธอก็ไม่คุยกับผมอีกเลยนับแต่นั้นมา) หรือใช้บอกลำดับขั้นตอนก็ได้เช่นกัน To make a cake, put the flour in a bowl then crack an egg.. (ในการทำเค้ก ให้ใส่แป้งลงในชาม จากนั้นตอกไข่ลงไป)
        ส่วนคำว่า Than นั้นใช้ในการเปรียบเทียบของสองสิ่งที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น My mother gets up earlier than I (แม่ของฉันตื่นนอนเร็วกว่าฉันอีก)
       
       6. Loose / Lose
        ต่อมาเป็นคำที่ใช้ผิดกันบ่อย เนื่องจากออกเสียงเหมือนกันอย่างกับแกะ แต่ความหมายนี่สิไม่ได้เหมือนกันเลย คำว่า Losse มีความหมายว่า “หลวม” ในขณะที่ Lose มีความหมายว่า “แพ้หรือทำหาย” เช่น If your pants are too loose, you might lose your pants. แปลว่า ถ้าหากกางเกงของคุณมันหลวมเกินไป คุณก็มีสิทธิ์ที่จะทำกางเกงหายไปได้นะจ๊ะ (หลวมจนหลุดนั่นเอง หรือกางเกงหายไปจากสะโพกนั่นเอง)

        7. Me / Myself / I
        ความหมายของ Me และ I แน่นอนว่าแปลว่า “ฉัน” แต่การใช้แตกต่างกัน เพราะ Me เป็นกรรมของประโยค ส่วน I นั้นใช้เป็นประธาน เช่น I love you and you love me (ฉันรักเธอ และเธอก็รักฉัน) ส่วน Myself เป็นคำสรรพนาม มีความหมายว่า “ตัวฉันเอง” การใช้ก็คือเมื่อพูดถึงการกระทำที่มี ประธาน และ กรรม ของประโยค เป็นคนเดียวกัน เช่น I live by myself (ฉันอาศัยอยู่คนเดียว)
       
       8. เครื่องหมาย Apostrophe “ ' ”
        ในภาษาอังกฤษจะเรียกเครื่องหมายวรรคตอนนี้ว่า Apostrophe ซึ่งการใช้เครื่องหมายนี้จะเห็นได้บ่อยๆ ในคำย่อต่างๆ เช่น isn't ย่อมาจาก is not หรือ Don't ย่อมาจาก do not ส่วนตัวอย่างการใช้เครื่องหมายวรรคตอนนี้ก็มีทั้งใช้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หรือ 's เช่น My uncle's house is at the corner. (บ้านของลุงของฉันอยู่ตรงมุมนั้น)

        9. Could of / Would of / Should of
        ความจริงแล้วคำว่า could've , would've และ should've เป็นคำย่อมาจาก could have, would have และ should have แต่เมื่อใช้เป็นภาษาพูดแล้ว ฟังออกมาเสียงดันไปคล้ายกันคำว่า Could of ,Would of และ Should of ซึ่งไม่มีใครใช้กัน และไม่มีความหมาย ดังนั้นเวลาที่เราฟังแล้วเขียนคำนี้ลงไป ก็อย่าเผลอเขียนผิดใส่ Of ข้างหลังคำนะจ๊ะ ถึงแม้ว่าจะออกเสียงออกมาเหมือนกันก็ตาม
       
       10. Complement / Compliment
        อีกสองคำศัพท์ที่การออกเสียงเหมือนกันจนแยกไม่ออก หากไม่เอียงหูฟังดีๆ ก็จะออกเสียงคล้ายกันมาก แถมตัวสะกดก็ต่างกันแค่ตัวเดียว ในส่วนของความหมายนั้นก็แตกต่างกัน อย่างคำว่า “Complement” เมื่อทำหน้าที่กริยาจะหมายถึง to fill up or complete แปลว่า ทำให้สมบูรณ์ และcomplement เมื่อทำหน้าที่นามจะหมายถึง something that fills up แปลว่า สิ่งที่เพิ่มเข้าไปเพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์ History is the complement of geography. (ประวัติศาสตร์เป็นส่วนประกอบของวิชาภูมิศาสตร์)
       
        ส่วน “Compliment” เมื่อทำหน้าที่เป็นคำกริยาจะหมายถึง to express respect or admiration แปลว่า การแสดงความเคารพและยกย่องชมเชย และเมื่อทำหน้าที่นาม หมายถึง a formal expression of admiration แปลว่า คำสรรเสริญเยินยอ เช่น She was pleased with his compliments. เธอพึงพอใจกับคำชมเชยของเขา

        11. Fewer / Less
        ความหมายของสองคำนี้ แปลว่า “น้อยลง น้อยกว่า” แต่คำว่า Fewer จะใช้จำนวนที่สามารถนับได้ เช่น Robert has written fewer poems since he got a real job. (โรเบิร์ตแต่งกลอนน้อยลงกว่าเดิม ตั้งแต่เขาได้งานทำ) ในกรณีนี้ใช้ fewer เพราะว่า poem (โคลงกลอน) สามารถนับจำนวนได้ ส่วน “Less” ใช้กับจำนวนที่นับไม่ได้ ตามด้วยคำนามเอกพจน์ เช่น We enjoy less freedom this year than last. (พวกเราเพลิดเพลินกับเสรีภาพปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้ว)
       
       12. Historic / Historical
        แน่นอนความสับสนระหว่างความหมายของ Historic และ Historical มักสร้างปัญหาให้หลายคน และหากมองดูแล้วสองคำนี้สะกดคล้ายๆ กัน แถมยังเป็นคำคุณศัพท์ (Adj.) ทั้งคู่ ส่วนความหมายนั้นไม่เหมือนกันซะทีเดียว อย่างคำว่า “Historic” หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีต คำที่เรามักจะเห็นใช้กับ Historic บ่อยๆ ก็มี
       Historic Change (การเปลี่ยนแปลงที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์)
       Historic Site/spot (สถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์)
       Historic Speech (การกล่าวสุนทรพจน์ที่เป็นประวัติศาสตร์)
       
       ส่วนคำว่า “Historical” หมายถึง ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ เรามักจะเห็น historical ใช้ในกรณีอย่าง
       Historical Figure บุคคลในประวัติศาสตร์
       Historical Document เอกสารทางประวัติศาสตร์
       Historical Novel นวนิยายประวัติศาสตร์

        13. Principal / Principle
        สองคำนี้ออกเสียงคล้ายกันมากจนฟังแต่ศัพท์เดี่ยวๆ แล้วอาจแยกไม่ออก แต่เมื่อฟังในรูปประโยคก็จะสามารถแยกแยะออกได้โดยดูจากบริบทรอบข้าง คำว่า “Principal” เป็นคำนามแปลว่า ผู้มีอำนาจสูงสุด หรือเมื่อเป็นคำคุณศัพท์ก็แปลว่า ซึ่งสำคัญที่สุด เช่น He is the the principal of a kindergarten school. (เขาเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง) ส่วน Principle แปลว่า หลักการ ทฤษฎี กฏ หรือหลักศีลธรรมก็ได้ เช่น It's against the principle to accept gifts from clients. (การรับของขวัญจากลูกค้านับเป็นเรื่องที่ผิดกฎ)
       
       14. Literally
        หลายคนคงเกิดความสับสนเมื่อเห็นคำนี้ในข้อความ ว่ามันมีความหมายว่าอะไรกัน?? ซึ่งคำว่า “Literally” จะแปลว่า “ตามตัวอักษร” เช่น I'm literally dying of shame. ประโยคนี้หากแปลผ่านๆ ก็แปลว่า ฉันกำลังจะตายเพราะความอับอายอยู่แล้ว แต่คำว่า literally ที่เติมเข้าไป เน้นให้เห็นจริงๆ ว่าคนพูดกำลังอับอายขายขี้หน้าถึงขีดสุด
       
       15. เรียงคำผิด ความหมายชวนสับสน
        ข้อผิดพลาดอีกอย่างที่เกิดขึ้นบ่อยๆ นั้นคือการวางคำผิดๆ และมีคำที่แปลได้หลายความหมาย เช่น
       After rotting in the cellar for weeks, my brother brought up some oranges. ประโยคนี้มีความหมายตามตัวว่า หลังจากเปื่อยเน่าอยู่ที่ห้องใต้ดินตั้งหลายสัปดาห์ พี่ชายของฉันก็ขนส้มขึ้นมาจำนวนหนึ่ง แปลดูแล้วความหมายแปลกๆ ราวกับว่าพี่ชายเป็นซอมบี้ยังไงอย่างงั้น แต่ที่เรียงประโยคถูกต้องจริงๆ คือ My brother brought up some orange that had been rotting in the cellar for weeks (พี่ชายขนส้มที่เน่าจากการถูกเก็บลืมไว้ในห้องใต้ดินขึ้นมาจำนวนหนึ่ง หรือเอาง่ายๆ ว่า พี่ชายขนส้มเน่าขึ้นมาจากห้องใต้ดินนั่นเอง)

        ขอบคุณข้อมูลจาก
       - http://www.copyblogger.com/grammar-goofs/
       - http://www.theknowledge.in.th
       - http://www.enconcept.com/index.php?option=com_content&task=view&id=229
       - https://blog.eduzones.com

ASTVผู้จัดการออนไลน์    25 ธันวาคม 2557

35
อีก 2 วันข้างหน้า จะเป็นอีกวันประวัติศาสตร์ที่โลกไม่อาจลืม กระทั่ง ครั้งหนึ่งเหตุการณ์นี้ถูกหยิบจับออกมาเรียบเรียงเล่าเป็นภาพยนตร์เรื่องดังของฮอลลีวูด "เพิร์ล ฮาร์เบอร์" โศกนาฏกรรมระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น ที่คร่าชีวิตคนนับพัน

เช้าวันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) เวลา 07.55 น. ตามเวลาท้องถิ่น จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เปิดการโจมตีฉับพลันโดยส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดกว่า 150 ลำ โจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ เกาะโออาฮู เกาะใหญ่ลำดับที่ 3 ของรัฐฮาวาย ในสหรัฐอเมริกา 

การโจมตีระลอกแรกใช้เวลานาน 35 นาที และอีกเพียงครึ่งชั่วโมงหลังระลอกแรก ก็เกิดการโจมตีอีกครั้ง ด้วยเครื่องบิน 100 ลำ ต่อเนื่องนานนับชั่วโมง ส่งผลให้สหรัฐฯ สูญเสียทหาร 2,408 นาย เรือรบ 18 ลำ เครื่องบิน 400 ลำ สร้างความเดือดดาลให้ประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก  ทำให้ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ ประกาศสงครามกับจักรวรรดิญี่ปุ่นในที่สุด  และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการในสงครามโลกครั้งที่ 2

หากย้อนกลับไป สหรัฐฯ ได้ถูกร้องขอความช่วยเหลือจากอังกฤษที่ถูกเยอรมนีทิ้งระเบิดไม่เว้นแต่ละวัน และกำลังจะเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ ส่วนจีนที่ขณะนั้นถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นรุกรานและทำการสังหารหมู่ชาวจีนอย่างโหดเหี้ยมจนเป็นโศกนาฎกรรมมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ในขณะนั้น สหรัฐฯเพิกเฉยกับข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยพยายามวางตัวเป็นกลางไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวใดๆ ด้วยเหตุผลที่ประชาชนชาวอเมริกันส่วนใหญ่มองว่า สงครามที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นเรื่องของคนอื่น สหรัฐฯไม่ควรเข้าไปยุ่ง

ขณะเดียวกัน แถลงการณ์ของสันนิบาตชาติได้ประณามการกระทำของญี่ปุ่น และออกคำสั่งให้ญี่ปุ่นถอนกองทัพออกจากจีน ทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจพร้อมประกาศถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติ 

สหรัฐฯ จึงมีเหตุผลชอบธรรมในการให้ความช่วยเหลือจีน (มีการวิเคราะห์กันว่าที่จริงสหรัฐฯ มีความต้องการเข้าร่วมสงครามอยู่แล้วเพื่อบทบาทประเทศผู้นำโลกในอนาคต) จึงยุติการส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นเช่น น้ำมัน เหล็ก ทำให้ญี่ปุ่นขาดปัจจัยในการบำรุงกองทัพโดยเฉพาะน้ำมัน กระทบแผนการบุกยึดดินแดนประเทศในเอเชียทั้งหมดจนต้องหยุดชะงักลง

ญี่ปุ่นจึงตัดสินใจโจมตีที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์  เพื่อเปิดเส้นทางการขยายอำนาจในภาคพื้นทะเลแปซิพิก  หลังการโจมตีเสร็จสิ้น นายพลเรืออิโซโรกุ ยามาโมโต ผู้วางแผนและรับผิดชอบการโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ทั้งหมด ถึงกับกล่าวว่า "การกระทำของญี่ปุ่นในครั้งนี้ เปรียบเสมือนการปลุกยักษ์ให้ตื่น" และก็เป็นจริงดั่งคำพูด เพราะอีก 4 ปี ถัดมา ทั้งญี่ปุ่นและเยอรมนี (พันธมิตรร่วมกันฝ่ายอักษะ)  ต่างก็ถูกพิชิตลงด้วยแสนยานุภาพอันเกรียงไกรของกองทัพสหรัฐฯ

ปัจจุบัน โศกนาฏกรรม "เพิร์ล ฮาร์เบอร์" ได้สร้างเป็นอนุสรณ์สถานให้ผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์เดินทางมาเยี่ยมชม โดยการมาเยือนสถานที่แห่งนี้ต้องจองคิวก่อนล่วงหน้า สามารถจองได้ทางเวปไซต์ www.nps.gov/valr/index.htm หรือ สามารถมารอต่อคิวได้ตั้งแต่ตี 5 โดยเคาน์เตอร์แจกบัตรเริ่มเปิดทำการ 7 โมงเป็นต้นไป

"เพิร์ล ฮาร์เบอร์" การโจมตีที่เกิดขึ้นระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ได้ชื่อว่า เป็นสงครามที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ  คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกทั้งทหารและพลเรือนไปกว่า 65 ล้านคน

และแม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านมานานกว่า 73 ปี แล้วก็ตาม  แต่บาดแผลและอิทธิพลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังคงอยู่ในอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ณ สถานที่ที่เคยเกิดเหตุทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนได้ระลึกถึงความโหดร้าย ความสูญเสียที่มนุษย์ได้เคยกระทำต่อกัน  และเพื่อเตือนสติคนรุ่นหลังว่าอย่าให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกเลย

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก pantip.com

5 ธ.ค. 2557
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

36
มักมีอะไรให้ตื่นเต้นเสมอ สำหรับการประกาศรายชื่อหนังยอดเยี่ยมประจำปี จากการจัดอันดับของนิตยสารไทม์ ที่ดูจะชื่นชอบหนังตลาดเป็นพิเศษ แหวกกระแสรางวัลต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง อย่างที่ปีก่อนหนังรถซิ่งฮิตถล่มทลายอย่าง Fast and Furious 6 และแอนิเมชั่นขวัญใจเด็ก Frozen ยังกล้าๆ ถูกจัดอันดับเหนือ 12 Years A Slave จนทำให้การจัดอันดับในปีนี้ น่าสนใจยิ่งขึ้น

โดย 10 อันดับหนังยอดเยี่ยมประจำปี 2014 มีหนังที่คุ้นหูคุ้นตาในบ้านเราอย่าง The Grand Budapest Hotel, Boyhood, The Lego Movie, Birdman แต่ที่เซอร์ไพรส์สุดๆ อยู่ที่ Lucy หนังแอ็คชั่น-ไซไฟไอเดียล้ำ จากผู้กำกับลุค เบซอง ที่ได้ สกาเลต โจแอนสัน มาแสดงนำ ทะยานติดที่อันดับ 4

ส่วน 10 อันดับหนังยอดแย่ บางเรื่องไม่ได้ฉายในบ้านเรา แต่ส่งลงแผ่นดีวีดีทันที เพราะหลายเรื่องกระแสเงียบกริบมาตั้งแต่เมืองนอกแล้ว ส่วนที่ลงโรงฉายผ่านสายตาคอหนังไปบ้าง มีทั้ง A Million Ways To Die In The West หนังตลกสไตล์คาวบอยตะวันตก จากผู้กำกับ TED ที่เรื่องนี้คว่ำทั้งรายได้และคำวิจารณ์ The Legend Of Hercules เฮอร์คิวลิสภาครีเมค (คนละภาคกับเวอร์ชั่นเดอะร็อค) ที่จัดว่าเป็นหนังเกรดบีฟอร์มเล็ก แป้กทั้งรายได้และคำวิจารณ์เช่นกัน รวมไปถึง Transcendence หนังจอห์นนี่ เดปป์ ที่ได้คริสโตเฟอร์ โนแลนด์ มานั่งแท่นโปนดิวเซอร์ให้ ก็ติดโผกับเค้าด้วยเช่นกัน

10 อันดับหนังยอดเยี่ยม

1. The Grand Budapest Hotel
2. Boyhood
3. The Lego Movie
4. Lucy
5. Goodbye To Language
6. Jodorowsky’s Dune
7. Nightcrawler
8. Citizenfour
9. Wild Tales
10. Birdman

10 อันดับหนังยอดแย่

1. Blended
2. A Million Ways To Die In The West
3. Men, Women & Children
4. Walk Of Shame
5. Let’s Be Cops
6. The Legend Of Hercules
7. Winter’s Tale
8. Nut Job
9. Transcendence
10. Hateship Loveship

8 ธ.ค. 2557
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

37
ในโลกนี้มีเรื่องอีกมากมายที่มนุษย์ธรรมดาอย่างเราๆ คาดคิดไม่ถึง บางเรื่องเป็นเรื่องธรรมดาใกล้ๆ ตัว แต่บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ทำให้เมื่อรู้แล้วจะต้องรู้สึกประหลาดใจ ว่า เรื่องแบบนี้ก็มีด้วยหรือ หรือเรื่องแบบนี้ฉันไม่รู้มาก่อนเลย และนี้ก็คือ 30 ตัวอย่างของเรื่องเหล่านั้น


1. เดือนสิงหาคมคือเดือนที่มีคนเกิดเยอะที่สุด

2. โดยเฉลี่ยคนส่วนใหญ่จะหลับภายใน 7 นาที

3. หมีมีฟัน 42 ซี่

4. มะนาวมีสัดส่วนปริมาณของน้ำตาลมากกว่าสตอว์เบอร์รี่

5. ดวงตาของนกกระจอกเทศใหญ่กว่าสมองของตัวมันเอง

6. กวางเรนเดียร์ชอบกินกล้วย

7. ตัวอักษรที่ถูกใช้มากที่สุดคือ ตัว E

8. ตัวอักษรที่ถูกใช้น้อยที่สุดคือ ตัว Q

9. ภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลกคือ ภาษาจีน สเปนและอังกฤษ

10. เวลาออกจากถ้ำค้างคาวจะบินไปทางซ้ายเสมอ

11. ชื่อกลางของเอลวิส เพรสลี่ คือ Aron

12. ช่วงชีวิตของแมว 66% หมดไปกับการนอน

13. คนสวิสเซอร์แลนด์กินช็อกโกแลตมากที่สุดในโลก เฉลี่ย 10 กิโลกรัม/คน

14.เงินคือหัวข้อบทสนทนาที่คู่รักพูดถึงมากที่สุด

15. ทวีปเดียวในโลกที่ไม่มีภูเขาไฟ คือ ทวีปออสเตรเลีย

16. ถนนที่มีระยะทางยาวที่สุดในโลก คือถนน Yonge  ในแคนาดา 1,896 กิโลเมตร

17. เสียงเดินทางในน้ำได้เร็วกว่าในอากาศถึง 5 เท่า

18. หมีโคอาล่าใช้เวลา 18 ช.ม.ต่อวัน ไปกับการนอน

19. เบอร์เกอร์คิงเปิดบริการครั้งแรกในเมืองไมอามี รัฐฟลอริดา เมื่อปี 1954

20. กว่า 90 % ของภูเขาน้ำแข็งลอยอยู่ใต้ผิวน้ำ

21. ขนมปังครัวซองถูกคิดค้นขึ้นในออสเตรีย

22. เท้าของมนุษย์มีกระดูกทั้งหมด26ชิ้น

23. ฟองน้ำสามารถอุ้มน้ำเย็นได้มากกว่าน้ำร้อน
 
24. ไฟป่าลุกลามขึ้นไปบนภูเขาได้เร็วกว่าไหม้ลงมา

25. ช้างกระโดดไม่ได้

26. มีคนในโลกอีกประมาณ 9 ล้านคน ที่เกิดวันเดียวกับคุณ27. จูบ 1 นาที สามารถเผาผลาญพลังงานได้ 26 แคลอรี่

28. ร่างกายสามารถเผาผลาญพลังงานจากการนอนหลับได้มากกว่านั่งดูโทรทัศน์

29. นกฮัมมิ่งเบิร์ดเป็นนกชนิดเดียวที่สามารถบินถอยหลังได้

30. สมุดหน้าเหลืองเล่มแรกของโลกถือกำเนิดขึ้นในปี 1878 และมีเพียงแค่ 50 รายชื่อเท่านั้น

8 ธ.ค. 2557
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

38
ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -สมรภูมิรบเดียนเบียนฟู การเผชิญหน้าครั้งสำคัญในสงครามอินโดจีน ระหว่างกองทัพทหารฝรั่งเศสในฐานะเจ้าอาณานิคมกับกองทัพเวียดมินห์ของขบวนการกู้ชาติเวียดนาม ในฐานะผู้ดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคม สงครามที่ชาวเวียดนามภาคภูมิใจว่านำมาซึ่งเอกราชของชาติอย่างแท้จริง
       
       แต่เป็นสงครามที่ฝรั่งเศสเองไม่อยากจะจดจำ กาลเวลาผ่านมาแล้วหลายทศวรรษ วันนี้เราจะไปสัมผัสร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ของการสู้รบในครั้งนั้น
       
       เดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) คือเมืองหนึ่งในจังหวัดเดี่ยนเบียนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 200 กิโลเมตร ทิศตะวันตกอยู่ใกล้กับชายแดนแขวงพงสาลีของประเทศลาว
       
       เดียนเบียนฟูมีชื่อเสียงและเป็นที่จดจำเนื่องจากเป็นสมรภูมิรบอันโด่งดังระหว่างฝรั่งเศสกับกองกำลังเวียดมินห์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม ค.ศ.1954 ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสจนต้องถอนกำลังออกจากเวียดนามเหนือ และถือเป็นการสิ้นสุดลงของสงครามอินโดจีนครั้งแรก
       
       เราเดินทางมายังเมืองเดียนเบียนฟูผ่านทางประเทศลาว ลัดเลาะมาเรื่อยๆ จากเวียงจันทน์ เข้าโพนสะหวัน เชียงขวาง ต่อไปยังซำเหนือ เวียงไซย เมืองงอย ล่องเรือต่อไปยังเมืองขวา ก่อนที่จะนั่งรถข้ามชายแดนต่อมายังเมืองเดียนเบียนฟู เป็นเส้นทางที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตและธรรมชาติที่ยังงดงามของลาว
       
       บางช่วงบางตอนยังเป็นเส้นทางที่เกี่ยวโยงกับสงครามอินโดจีน อย่างแขวงเชียงขวางที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของลาวซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ มีชายแดนติดกับเวียดนาม เป็นเส้นทางในการลำเลียงกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์จากเวียดนามเหนือมาสู่ขบวนการปะเทดลาว
       
       รวมถึง “ถ้ำท่านผู้นำ” ที่เมืองเวียงไซย อดีตศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพปลดปล่อยประเทศลาว ที่ในสมัยสงครามอินโดจีน ผู้นำขบวนการปลดปล่อยประเทศลาว ได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นฐานที่มั่นและศูนย์บัญชาการใหญ่เพื่อต่อต้านการรุกรานจากต่างชาติ ที่ซึ่งสงครามยังคงทิ้งร่องรอยของมันไว้ให้เราเห็น และครั้งนี้เราจะไปที่เดียนเบียนฟู อีกหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญของภาพสงครามอินโดจีน
       
       จากเมืองขวาของลาวมีรถบัสนำเราไปสู่เดียนเบียนฟูของเวียดนามผ่านทางด่าน Tay Trung ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง เพราะเป็นทางขึ้นเขาถนนแคบ และอาจต้องเจอสภาพรถที่ผู้โดยสารและสิ่งของแน่นเอี๊ยดเต็มทุกพื้นที่ของรถ เพราะเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ทั้งคนลาว คนเวียดนาม รวมถึงนักท่องเที่ยวนิยมใช้ในการเดินทางไปมาระหว่างลาวและเวียดนาม
       
       รถบัสขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยคนและข้าวของพาเราลัดเลาะไปตามความสูงของเทือกเขาเป็นเวลาหลายชั่วโมง ก่อนลงสู่พื้นราบมุ่งหน้าสู่เดียนเบียนฟู สองข้างทางก่อนถึงตัวเมืองเป็นทุ่งนากว้างใหญ่มีเทือกเขาทอดตัวขนาบข้างประดุจปราการทางธรรมชาติ สลับด้วยหมู่บ้านชาวไทดำ และเวียดนาม ที่แบ่งโซนกันอย่างชัดเจน จากนี้ใช้เวลาเดินทางอีกไม่นานนักก็มาถึงจุดหมายปลายทาง
       
       เมืองเดียนเบียนฟูเป็นพื้นที่ราบขนาดใหญ่ที่โอบล้อมด้วยเทือกเขาสูงชั้น มีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทำการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ตลอดทั้งปี
       
       ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่กองทัพฝรั่งเศสเลือกใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นฐานบัญชาการทางทหารในการสู้รบกับกองทัพเวียดมินห์โดยหวังใช้เทือกเขาสูงชั้นเหล่านั้นเป็นเกราะคุ้มภัยให้กับทหารฝรั่งเศส และเพื่อตัดเส้นทางการลำเลียงกองกำลังและยุทธปัจจัยระหว่างกองทัพเวียดมินห์กับขบวนการปะเทดลาว
       
       แต่การกลับกลายเป็นว่ายอดเขาสูงชันนับพันที่กองทัพฝรั่งเศสหวังใช้เป็นเกราะคุ้มภัยนั้น ได้กลายเป็นฐานปืนใหญ่ของกองกำลังเวียดมินห์ที่ใช้เวลาแรมปีในการลำเลียงปืนใหญ่และกำลังพลขึ้นไปตั้งมั่นบนยอดเขาและปิดล้อมฐานที่มั่นแห่งนี้ของฝรั่งเศสไว้ได้สำเร็จ พร้อมระดมยิงลงมายังที่ตั้งของกองทหารฝรั่งเศสอย่างไม่ขาดสายจนสามารถเข้ายึดฐานของฝรั่งเศสได้ทั้งหมด นำมาสู่ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสจนต้องถอนกำลังออกจากเวียดนามเหนือ ถือเป็นการปิดฉากของสงครามอินโดจีนครั้งแรก
       
       สงครามในครั้งนั้นยังคงทิ้งร่องรอยและสร้างแผลเป็นให้กับเดียนเบียนฟู แต่เป็นแผลเป็นที่ดึงดูดผู้คนที่สนใจประวัติศาสตร์สงครามได้เดินทางมาสัมผัส และศึกษาด้วยตัวเอง
       
       ป้อมปราการ Phu An Nan หรือ ฐานทัพ A1 เนินเขาลูกย่อมๆ อดีตฐานที่มั่นและกองบัญชาการของทหารฝรั่งเศสก่อนที่จะถูกกองกำลังเวียดมินห์ยึดได้ในที่สุด เป็นจุดที่มีการต่อสู้กันอย่างดุเดือด ทุกวันนี้เรายังคงเห็นอุโมงค์หลบภัยของทหารที่เป็นทางเดินซับซ้อนขุดเจาะเข้าไปในภูเขา ซึ่งเวียดนามดูแลรักษาไว้ในสภาพค่อนข้างดี นอกจากนี้ยังมีหลุมระเบิดขนาดใหญ่ และรถถังจัดแสดงไว้ด้วย ที่แห่งนี้นับเป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญของนักท่องเที่ยวเลยทีเดียว
       
       นอกจากนี้ยังมีสุสานทหารเวียดนามที่เสียชีวิตในสงครามครั้งนั้นที่ได้รับการดูแลอย่างดี แต่เดินเข้าไปแล้วความรู้สึกหดหู่เข้ามาแทรกคงเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ไกลกันนักมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ “เจียน ทั่ง ลิด ซือ” หรือชัยชนะแห่งเดียนเบียนฟู จัดแสดงเกี่ยวกับยุทโธปกรณ์ของกองทัพปลดแอกเวียดนามให้เราได้ชมกัน
       
        อีกหนึ่งแลนด์มาร์กที่พลาดไม่ได้คือ “Dien Bien Phu Victory Monument” หรืออนุสาวรีย์แห่งชัยชนะของเดียนเบียนฟู เป็นที่ระลึกถึงชัยชนะของเวียดนามที่มีเหนือกองทหารฝรั่งเศส สร้างอยู่บนเนินเขาใจกลางเมือง เราสามารถชมวิวเมืองเดียนเบียนฟูแบบพาโนราม่าได้จากจุดนี้
       
       ไม่เพียงแหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์สงครามเท่านั้นที่น่าสนใจ วิถีชีวิตของชาวไทดำซึ่งเป็นชนชาติที่เข้ามาอยู่ที่เดียนเบียนฟูตั้งแต่อดีตก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงและซิ่นสีดำที่สวมใส่คือเอกลักษณ์ของชาวไทดำ หมู่บ้านชาวไทดำและตลาดไทดำคือสถานที่ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด
       
       ตลาดที่เดียนเบียนฟูมีอยู่ 2 ตลาดใหญ่ๆ ที่ซึ่งเราจะได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของพืชผักผลไม้และข้าวปลาอาหารของเมืองเดียนเบียนฟู เพราะฉะนั้นเรื่องอาหารการกินไม่ต้องห่วง ส่วนจะถูกปากหรือไม่ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล ส่วนเครื่องอุปโภคบางอย่างที่วางขายยังคงเป็นสินค้าที่นำเข้าจากประเทศจีนเป็นหลัก
       
       สำหรับเรื่องที่พัก แม้ว่าเดียนเบียนฟูจะไม่ใช่เมืองใหญ่หรือเมืองท่องเที่ยวหลักของเวียดนาม แต่ที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวนั้นมีให้บริการอยู่หลายแห่ง หลายระดับราคา เรียกว่าสะดวกในการเดินหา เพราะที่พักจะกระจุกตัวอยู่ในเมือง เลือกได้ไม่ยาก
       
       เดียนเบียนฟูในปัจจุบันยังเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางต่อไปยังเวียดนามเหนืออย่าง “ซาปา” เมืองตากอากาศของฝรั่งเศสสมัยเป็นเจ้าอาณานิคม และเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของทั้งชาวเวียดนามและต่างชาติ เพราะมีรถบัสจากเดียนเบียนฟูไปซาปาไว้บริการทุกวัน หรือจะเดินทางต่อไปยังฮานอยก็สะดวก เพราะระยะทางจากเดียนเบียนฟูไปยังฮานอยเพียง 200 กิโลเมตร ใช้บริการรถบัสได้เช่นเดียวกัน
       
       การได้มาเยือนเมืองเล็กๆ ที่มีประวัติศาสตร์น่าสนใจอย่างเดียนเบียนฟู ช่วยเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยวและเติมเต็มอาหารสมองได้อย่างดี และทำให้รู้ว่า บ้านใกล้เรือนเคียงของเรายังมีสิ่งที่น่าสนใจและสถานที่ที่น่าไปเยือนรออยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ASTVผู้จัดการรายวัน    29 พฤศจิกายน 2557

41
  เอาใจคนรักศิลปะกันบ้างดีกว่า กับเรื่อง Art…Art ในมหาวิทยาลัยที่ Life on campus ได้พยายามเฟ้นหาพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์สวยๆ จากรอบโลกมาให้ได้ชมกัน ส่วนใหญ่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัยมักจะตั้งอยู่ในอาคารที่มีความสำคัญทางด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและสวยงาม ซึ่งแต่ละแห่งก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักเรียนนักศึกษา ที่ต้องการจะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด รวมไปถึงประชาชนทั่วไปที่สามารถเข้าไปเสพงานศิลปะเหล่านี้ได้ บางแห่งอาจเปิดให้เข้าชมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย เอาเป็นว่าเกริ่นกันมาพอสมควรแล้ว อาร์ตตัวพ่อ-ตัวแม่ ทั้งหลายถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลย…
       
       1. Allen Memorial Art Museum

       พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโมเรียลอัลเลน (The Allen Memorial Art Museum) ในวิทยาลัยโอเบอร์ริน (Oberlin College)  ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ทางด้านศิลปะที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่สวยที่สุดโลกอีกด้วย โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1917 เป็นอาคารที่สวยงามและมีคุณค่าด้านศิลปะเป็นอย่างมาก ออกแบบโดยสถาปนิคชื่อดัง “Cass Gilbert” งดงามสไตล์เรอเนสซอง ภายในจัดแสดงงานศิลปะมากกว่า 13,000 ชิ้น จากทั่วทุกมุมโลก ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงและงานมาสเตอร์พีชของเหล่าศิลปินชื่อดังก้องโลก อาทิเช่น Toulouse-Lautrec (ตูลูซ-โลแทร็ก), Picasso (ปีกัสโซ) และ Red Grooms (เรด กรูมส์) เป็นต้น


       และที่แปลกนั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโมเรียลอัลเลนแห่งนี้ สามารถให้นักศึกษาในวิทยาลัยโอเบอร์ลิน ในโปรแกรม “Art Rental program” สามารถเช่ายืมผลงานศิลปะภายในพิพิธภัณฑ์ได้ 2 ชิ้นต่อหนึ่งภาคเรียน เพื่อเอาไปศึกษาผลงานศิลปะได้อย่างใกล้ชิด เหมือนกับการยืมหนังสือในห้องสมุดไปอ่านที่บ้านกันเลยทีเดียว โดยเปิดให้เข้าชมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ รวมถึงประชาชนทั่วไปก็สามารถเข้าชมได้เช่นกัน

       2. Bowdoin College Museum of Art

       พิพิธภัณฑ์ศิลปะโบดอยน์ (Bowdoin Museum of Art) แห่งวิทยาลัยโบดอยน์ (Bowdoin College) ประเทศสหรัฐอเมริกา แห่งนี้เริ่มต้นมาจากการได้รับบริจาคผลงานศิลปะและของสะสมส่วนตัวจาก James Bowdoin III และครอบครัวของเขา ในปี ค.ศ.1811 ส่วนตัวอาคารได้เริ่มสร้างอย่างจริงจังเมื่อปี ค.ศ. 1894 ออกแบบโดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่าง “Charles Follen McKim” คนเดียวกับที่ออกแบบห้องสมุดบอสตัน (Boston Public Library) นั่นเอง

       ผลงานในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีมากกว่า 20,000 ชิ้น เป็นศิลปะเก่าแก่ตั้งแต่ยุควัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียน ยุคกรีกโบราณ โรม มาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงภาพวาด เครื่องตกแต่งบ้าน พรม เครื่องประดับ และประติมากรรม นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังเปิดบริการให้ประชาชนเข้าชมฟรี ส่วนใครจะช่วยบริจาคผลงานศิลปะหรือเงินค่าบำรุงพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็สามารถทำได้ สอบถามข้อมูลได้จากเวปไซด์ของพิพิธภัณฑ์ได้เลย

       3. Bildmuseet Museum

       อีกหนึ่งหอศิลป์ที่มีตัวอาคารโดดเด่นและสวยงาม ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาร์ตแกลอรี่ชั้นนำของประเทศสวีเดน นั่นก็คือ “Bildmuseet” ของมหาวิทยาลัยอูเมอา (Umea University) เป็นศูนย์กลางสำหรับศิลปะร่วมสมัยจัดแสดงนิทรรศการภาพวาดและสื่อภาพต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ศิลปะการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม การออกแบบ และรวมไปถึงประวัติศาสตร์ศิลปะของผลงานที่จัดแสดงอยู่ในหอศิลป์แห่งนี้ นอกจากงานแสดงแล้ว ยังมีการจัดบรรยาย สัมมนา ฉายภาพยนตร์ และฝึกอบรมนักเรียนนักศึกษาที่สนใจกิจกรรม ทำเวิร์คชอปเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจในงานศิลปะมากขึ้น

       อาคารพิพิธภัณฑ์ใหม่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเดนมาร์ก Henning Larsen เป็นตึกที่โดดเด่นและสวยงามมากจนได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เช่น รางวัลอาคารงดงามที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอูเม ในปี ค.ศ.2012, รางวัล “Council of Europe Museum Prize” และ “Swedish award Museum of the Year” ประจำปี 2014 รวมทั้งยังถูกเสนอชื่อให้เป็นหนึ่งในหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่สวยที่สุดในโลกอีกด้วย

       4. The Ian Potter Museum of Art

       “The Ian Potter Museum” เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลีย ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1972 ภายในมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (University of Melbourne) ผลงานส่วนใหญ่เป็นของศิลปินร่วมสมัยชาวออสเตรเลีย และศิลปินพื้นเมือง มีทั้งผลงานศิลปะภาพวาด, ประติมากรรม, มัลติมีเดีย, เครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก รวมแล้วกว่า 20,000 ชิ้น โดยมีเป้าหมายหลักในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้นั่นคือ ใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอน และการเรียนรู้แบบเข้าถึง และให้เอื้อต่อการพัฒนาหลักสูตรในทุกคณะ และสาขาวิชา
       
       5. Weisman Art Museum

       พิพิธภัณฑ์ศิลปะไวส์แมน ของมหาวิทยาลัยมินิโซตา (University of Minnesota) ผลงานสุดทันสมัยของสถาปนิคชื่อดังชาวแคนนาดา “แฟรงก์ โอเวน เกห์รี (Frederick R. Weisman)” ที่ได้ฝากผลงานการออกแบบอาคารสวยงามชื่อดังหลายแห่ง สาเหตุที่ เกห์รี ได้รับเลือกให้เป็นสถาปนิกที่ออกแบบพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพราะความสามารถในการเข้าใจภารกิจและความฝันของพิพิธภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี เขาสามารถสร้างพิพิธภัณฑ์ที่เข้าถึงได้ พร้อมกับการทำงาน และดึงดูดใจในโลกของศิลปะ จนทำให้เขาได้รับรางวัล “การออกแบบสถาปัตยกรรมอันทรงเกียรติ” ในปี ค.ศ.1991 จากการออกแบบตึกพิพิธภัณฑ์ศิลปะไวส์แมน แห่งนี้อีกด้วย

       พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ออกแบบ ก่อสร้าง และเปิดให้ทำการในปี ค.ศ. 2011 ภายในเก็บรวบรวมผลงานศิลปะ และโบราณวัตถุในยุคสมัยต่างๆ มากมาย เช่น ศิลปะอเมริกันสมัยใหม่, เฟอร์นิเจอร์จากประเทศเกาหลี, เซรามิกโบราณ และเครื่องปั้นดินเผาจากวัฒนธรรมอินเดียโบราณ ที่เป็นหนึ่งในไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ผลงานทั้งหมดรวมแล้วกว่า 17,000 ชิ้น จัดแสดงตามสถานที่ต่างๆ รอบมหาวิทยาลัย นอกจากจะศึกษาศิลปะ และประวัติศาสตร์โบราณวัตถุจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แล้ว นักศึกษายังสามารถศึกษาในสาขาวิชาการออกแบบและสถาปัตยกรรมได้จากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เช่นกัน

       6. Tang Teaching Museum and Art Gallery

       พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาของวิทยาลัยสกิดมอร์ (Skidmore College) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อว่า “Tang Teaching Museum and Art Gallery” เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงโชว์งานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปะ รวมทั้งยังเป็นแหล่งการศึกษาแบบสหวิทยาการให้กับนักศึกษาศิลปศาสตร์ในระดับปริญญาตรี ของวิทยาลัยแห่งนี้อีกด้วย โดยนักศึกษาและคณาจารย์จะเป็นผู้ร่วมกันดูแลและออกแบบงานนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ ทำหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์ ออกแบบนิทรรศการชั่วคราวตลอดปี ไม่น้อยกว่า 12 นิทรรศการ


       “The Frances Young Tang Teaching Museum and Art Gallery” ของวิทยาลัยสกิดมอร์ เปิดทำการในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2000 ออกแบบโดย Antoine Predock ภายในพื้นที่กว่า 39,000 ตารางฟุต ถือเป็นอาคารอภิมหาอลังการงานสร้างที่งดงามแห่งหนึ่ง พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์แห่งนี้จะเปิดทำการวันอังคาร-วันอาทิตย์ แต่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชมเล็กน้อย นั่นคือ ผู้ใหญ่ $5.00 (ประมาณ 160 บาท), เด็กอายุมากกว่า 12 ปี $3.00 (ประมาณ 96 บาท), ผู้สูงอายุ $2.00 (ประมาณ 64 บาท), เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และนักศึกษาของวิยาลัยสกิดมอร์เข้าชมฟรี
   
       7. Ashmolean Museum of Art and Archaeology

       พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1908 จากการรวมตัวของสองสถาบันอันเก่าแก่นั่นก็คือ “The University Art Collection” และ “Ashmolean Museum (ดั้งเดิม)” ออกแบบและดีไซด์ให้เข้ากันอย่างลงตัว ของที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ มีอายุตั้งแต่ปี ค.ศ.1620 ในห้องเล็กๆ ชั้นบน (มีเพียงไม่กี่ภาพ) และ ปี ค.ศ. 1657 ได้มีการเพิ่มคอลเลคชั่นเหรียญของ อาร์ชบิชอป วิลเลียม ลอด และคอลเลคชั่นต่างๆ ก็ตามมาอีกมากมาย ทั้งวัตถุโบราณ ภาพวาดประวัติศาสตร์โบราณ จนมาถึงยุคปัจจุบัน

       อาคารใหม่ถูกออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังของกรุงลอนดอน Rick Mather ในการรวมสองสถาบันเข้าด้วยกันจนกลายเป็น “พิพิธภัณฑ์ศิลปะและโบราณคดี” แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มีพื้นที่จัดแสดงทั้งหมด 6 ชั้น แบ่งโซนต่างๆ ชัดเจน สวยงามโอ่อ่า ทันสมัยแต่ยังคงความงดงามแบบดั้งเดิม จุดเด่นอยู่ที่บันไดทางเดินที่สถาปนิกออกแบบมาได้อย่างสวยงาม เหมือนกับงานศิลปะ หากใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวก็อย่าลืมแวะไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะและโบราณคดีแห่งนี้ รับรองว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

       8.The Fitzwilliam Museum


       เมื่อพูดถึงมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดไปแล้ว ก็คงจะพลาดไม่ได้กับอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งเกาะอังกฤษ อย่างมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) ที่มีพิพิธภัณฑ์ที่สวยงาม ของมหาวิทยาลัยที่ชื่อว่า “The Fitzwilliam Museum” เป็นอีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ที่มีความสำคัญ เพราะได้เก็บรวบรวมผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าของประเทศอังกฤษไว้มากมาย ที่นอกจากจะมีความงดงามในด้านสถาปัตยกรรมตัวอาคารที่เก่าแก่แล้ว ของสะสมภายในยังเปี่ยมไปด้วยคุณค่า เริ่มก่อตั้งมาจากการบริจาคผลงานศิลปะส่วนตัวของ Richard FitzWilliam พร้อมด้วยเงินทุนในการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยตั้งชื่อพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ก่อตั้งจนกลายมาเป็นชื่อพิพิธภัณฑ์ “FitzWilliam” นั่นเอง

       ของสะสมอันทรงคุณค่าในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ประกอบได้ด้วย ภาพวาดต้นฉบับของศิลปินชื่อดัง Dutch Masters กว่า 144 ชิ้น, โน้ตเพลงที่เขียนด้วยลายมือของศิลปิน Handel Purcell และโน๊ตเพลงของนักแต่งเพลงชื่อดังอีกมากมาย นอกจากนั้นยังมีโบราณวัตถุ และประติมากรรมในยุค อียิปต์ กรีก และโรมัน สามารถให้นักศึกษาเข้ามาศึกษาทั้งศิลปะ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรม ทั้งหมดนี้ถูกรวมไว้ที่นี่
       
       9. Yale University Art Gallery and Museum

       อีกหนึ่งมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกอย่างมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ก็มีหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ที่สวยที่สุดในโลกตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ด้วย โดยปรับปรุงใหม่ล่าสุดขยายตัวพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปี ค.ศ. 2012 นี่เอง ภายในมีผลงานที่จัดแสดงอยู่มากมาย อาทิเช่น ผลงานศิลปะแอฟริกัน, ภาพวาดและประติมากรรมอเมริกัน, เหรียญโบราณ และแบบจำลองวัฒนธรรมโบราณของชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน นอกจากนี้ยังมีคอลเลคชั่นภาพวาดขนาดใหญ่ของอิตาลีในยุคต้นๆ และภาพวาดผลงานมาสเตอร์พีชของศิลปินในยุคฟื้นฟูวิทยาการของอิตาลีอีกด้วย

       10. The Oriental Institute

       พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ “The Oriental Institute” แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1919 โดย เจมส์ เฮนรี่ เบรสท์ (James Henry Breasted) และยังเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกในสาขาวัฒนธรรมและวัตถุโบราณของอียิปต์ ได้เปิดทำการสอนวิชาอียิปต์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

       ซึ่งผลงานส่วนใหญ่ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของโลกตะวันออกกลาง ในช่วงปี ค.ศ.1920, 1930 และ 1940 โดยเป้าหมายของสถาบันโอเรียลเต็ล แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกแห่งนี้ คือ การเป็นศูนย์กลางของการศึกษาอารยธรรมโบราณของโลกตะวันออก ผ่านศิลปะจำนวนมากทั้ง เครื่องแกะสลัก เครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ของใช้เครื่องตกแต่งบ้าน และเครื่องประดับอันทรงคุณค่าต่างๆ มากมาย       
 
       11. Mary & Leigh Block Museum of Art

       อีหนึ่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่สวยที่สุดในโลก นั่นก็คือ “Mary & Leigh Block Museum of Art” ของมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ได้เก็บรวบรวมผลงานศิลปะเก่าแก่มากกว่า 5,000 ชิ้น มีทั้ง ภาพวาด, ภาพพิมพ์, รูปถ่าย และงานสิ่งทอ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 จนถึงปัจจุบัน รวมถึงผลงานโครงสร้างทางด้านสถาปัตยกรรมในยุคโบราณที่ถูกถ่ายทอดไว้ในภาพวาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เขื่อน สะพาน และอาคารสาธารณะต่างๆ เท่านั้นยังไม่พอพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังได้มีการจัดฉายภาพยนตร์ร่วมสมัยและคลาสิคให้ได้ชมกันอย่างต่อเนื่อง หากใครสนใจก็สามารถดูโปรแกรมการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องต่างๆ ผ่านทางเวปไซด์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้เลย เรียกได้ว่าครบรสทุกความบันเทิงกันเลยทีเดียว

       12. Vanderbilt University Fine Arts Museum

       พิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ (Vanderbilt University) ตั้งอยู่ที่เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมิรกา เกิดขึ้นการบริจาคผลงานศิลปะและภาพเขียนจากภาคเอกชน ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ได้รวบรวมผลงานจัดแสดงกว่า 6,000 ชิ้น ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ.1960 และงานภาพพิมพ์ที่มีชื่อเสียงกว่า 105 ชิ้น จากการบริจาคของ "แอนนนา ฮอยต์ (Anna Hoyt)" ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปะต้นฉบับจากศิลปินในยุโรป ศิลปินร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างเช่น  Arion Press, Frank O’Hara, Louis Bourgeois และอื่นๆ อีกมากมายก็ถูกรวบรวมและจัดแสดงให้ประชาชนได้ชมกัน ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งนอกจากศิลปะภาพวาดแล้ว ยังได้เก็บรวบรวมศิลปะวัตุในยุคอียิปต์โบราณ เครื่องเซรามิก เหรียญบรอนซ์ และประติมากรรมในยุคกรีกโบราณอีกด้วย

       นอกจากจะใช้เป็นสถานที่ในการจัดงานแสดงศิลปะแล้ว Vanderbilt University Fine Arts Museum ยังใช้เป็นเป็นแหล่งศึกษาข้อมูลในด้านต่างๆ ทั้งศิลปะ และประวัติศาสตร์ให้กับเหล่าบรรดานักศึกษาได้เป็นอย่างดี รวมถึงผลงานของนักศึกษาก็สามารถนำมาจัดแสดงให้กับประชาชนทั่วไปได้เข้าชม พร้อมสร้างรายได้ด้วยการขายผลงานศิลปะได้อีกทางหนึ่ง เรียกว่าครบวงจร สะสม ศึกษา จัดแสดง และเป็นสถานที่ขายผลงานศิลปะได้อีก เข้าชมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์
       
       13. Smart Museum of Art

       อีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะสหวิทยาการ “Smart Museum of Art” แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1974 จัดแสดงผลงานศิลปะที่หลากหลายทั้ง Asian Art, Europe Art, Contemporary Art และ Modern Art และ Design เรียกได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลอย่างดีให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยชิคาโก ที่กำลังศึกษาหรือสนใจในวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ สถาปัตยกรรม รวมถึงประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้อีกด้วย ตัวอาคารถูกออกแบบได้อย่างโดดเด่นและสวยงามจากสถาปนิกชื่อดัง Edward Larrabee Barnes ที่ได้ออกแบบทั้ง Smart Museum of Art และ Cochrane-Woods Art Center ในปี 1970 ภายในได้เก็บรวบรวมผลงานศิลปะที่เก่าแก่มาก มีอายุมากกว่าห้าพันปีเลยทีเดียว

       นอกจากงานศิลปะที่เก่าแก่แล้ว ยังมีไฮไลท์เป็นภาพวาดสมัยใหม่จากศิลปินชื่อดัง เช่น Mark Rothko, Arthur Dove และ Matta ให้ได้ชมกันอีกด้วย เข้าชมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ตั้งแต่วันอังคาร-วันอาทิตย์ แต่ก็มีกฎข้อห้ามในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ค่อนข้างจะเยอะอยู่สักหน่อย เช่น ต้องตรวจกระเป๋าและสัมภาระก่อนเข้าชม ห้ามเอามือแตะงานศิลปะ อาหาร น้ำและหมากฝรั่งห้ามเด็ดขาด หากนักศึกษาต้องการจะเข้าไปสเก็ตภาพต้องเป็นดินสอเท่านั้น (ถ้าไม่มีขอที่เคาท์เตอร์ได้) ปิดเสียงโทรศัพท์ก่อนเข้าชม อันนี้คล้ายเข้าโรงภาพยนตร์กันเลยทีเดียว โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเคร่งครัดเรื่องการถ่ายรูปมากจะต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง     
         
       14. Princeton University Art Museum

       พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University Art Museum) ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1882 เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะของมหาวิทยาลัย เริ่มต้นมาจากการบริจาคผลงานศิลปะให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ จนปัจจุบันมีผลงานที่จัดแสดงอยู่มากกว่า 72,000 ชิ้นด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นงานศิลปะเก่าแก่ตั้งแต่ยุคเมดิเตอร์เรเนียน วัฒนธรรมกรีกโบราณ, โรม, ไบเซนไทน์, สิ่งประดิษฐ์ในอียิปต์, ศิลปะจากประเทศจีน และศิลปะจากอเมริกาเหนือและใต้ เป็นต้น

       พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นสถานที่จัดแสดงงานศิลปะเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาชม และเป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ศิลปะให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันแห่งนี้ ภาพวาดกว่า 600 ชิ้น รวมทั้งประติมากรรมรอบๆ บริเวณมหาวิทยาลัยที่แสดงถึงความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ที่มีมากกว่า 10 ชิ้น พร้อมทั้งเปิดเป็นแหล่งการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนในระดับต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาและเยี่ยมชมพร้อมทั้งทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับทางพิพิธภัณฑ์ได้อีกด้วย เปิดทำการวันอังคาร-วันอาทิตย์ เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ         
       
       15. The Rose Art Museum

The Rose Art Museum of Brandeis University
       “The Rose Art Museum” ได้ชื่อว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ของมหาวิทยาลัยแบรนดิส (Brandeis University) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ.1961 ในนามของผู้บริจาค เอ็ดเวิร์ธ และ เบอร์ธา โรส เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ก่อตั้งและบริจาคผลงาน จึงเป็นที่มาของชื่อ "Rose" นั่นเอง ผลงานที่เก็บรวมรวบไว้ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้มีมากกว่า 8,000 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นผลงานของศิลปินจากอเมริกาในปี 1960-1970 และครอบคลุมไปจนถึงกลางศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน ร่วมถึงผลงานของศิลปินร่วมสมัยชื่อดังอีกมากมายที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์

       พิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันประกอบด้วย 3 อาคารที่แตกต่างกัน คือ แกลอรี่เดิมที่สร้างโดย Max Harrison Abramovitz ในปี 1961, อาคารอิฐบล็อกที่สร้างในปี 1973 และ อาคาร “Lois Foster Wing” ที่สร้างใหม่ในปี 2001 แม้ว่าทั้ง 3 อาคารในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะความหลากหลาย ตรงตามคอนเซปที่ได้วางไว้นั่นก็คือ การรวมอาคารเก่าและใหม่เข้าด้วยกันภายใต้ความสุนทรีย์ของสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย แค่ฟังคอนเซปของตัวอาคารก็รู้แล้วว่าอาร์ต แค่ไหน...
       

ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 กันยายน 2557

42
ถ้าพูดถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หลายคนต้องนึกถึง “ฮอลลิวูด” ที่ประเทศอเมริกาแน่นอน เพราะที่นี่มีชื่อเสียงด้านการผลิตและกำกับภาพยนตร์ รวมถึงเป็นแหล่งผลิตนักแสดงคุณภาพคับจอ ออกสู่สาธารณะมากมาย จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมวงการภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกาถึงถูกจับตามองและมีชื่อเสียงก้องโลกขนาดนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนังแนวแอคชั่น คอมมาดี้ โรแมนติก หรือ ไซไฟ ต้องยกให้เค้าเลยจริงๆ Life on Campus จึงขอรวบรวม 10 สถาบันสอนภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา ปี 2014 มาให้คอหนังได้ติดตามกัน มาดูกันดีกว่าว่าเหล่าผู้กำกับและนักแสดงคนดังจบจากที่ไหนกันบ้าง..
       
       1. University of California , Los Angeles

        มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส หรือที่รู้จักกันในชื่อ UCLA ตั้งอยู่เขตเวสต์วูต มหานครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในระบบมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาบันชั้นนำด้านการเรียนรู้ระดับชาติ และมีชื่อเสียงในด้านโรงเรียนการละคร ภาพยนตร์และโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีจุดเด่นตรงที่มีคลังข้อมูลด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์มากกว่า 220,000 เชียวล่ะ เพราะมีคลังข้อมูลที่ใหญ่ขนาดนี้ใครๆ ก็อยากมาเรียนที่นี่กัน ซึ่งเนื้อหาที่เรียนจะเน้นด้านทฤษฏี ปฏิบัติ และการวิจารณ์ภาพยนตร์
       
        ด้วยสถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับฮอลลิวูดและมีโรงเรียนการละครที่มีชื่อเสียง จึงทำให้มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส ไดัรับความสนใจให้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์มาหลาย 10 ปี ภาพยนตร์ที่เคยถ่ายทำที่นี่ได้แก่ The Nutty Professor (1995), Erin Brockovich(2000), How High (2001), Legally Blonde (2001), American Pie 2 (2001) National Lampoon's Van Wilder (2002), Old School (2003), และBring It On Again (2004) ไม่เว้นแต่ภาพยนตร์บอลลิวูดเรื่อง My Name is Khan ก็ถ่ายทำที่นี่ รวมไปถึงรายการโทรทัศน์หลายรายการเช่น Greek ด้วย
       
       ศิษย์เก่าที่โด่งดังและมีชื่อเสียงด้านการกำกับภาพยนตร์และการแสดง
       
       Francis Ford Coppola (กำกับหนัง Godfather)
       Tim Robbins (กำกับหนัง Dead Man Walking)
       Justin Lin (กำกับหนัง Fast and Furious)
       David Silverman (กำกับหนังการ์ตูน The Simpsons)
       Darren Bennett Star (กำกับหนัง Sex and the City)
       Gregor "Gore" Verbinski (กำกับหนัง The Pirates of the Caribbean, The Ring, Rango)
       
       2. Yale University

        หลายคนคงรู้จักนักแสดงเจ้าบทบาทอย่าง Jodie Foster เจ้าของสองรางวัลตุ๊กตาทอง ที่มีผลงานการแสดงอันโดดเด่นและประทับใจผู้ชมจนถึงทุกวันนี้ Jodie Foster จบการศึกษาเกียรนิยม จากมหาวิทยาลัยเยล ในปี 1985 ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา และยังเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำจากการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยระดับชาติ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพแห่งหนึ่ง
       
        มหาวิทยาลัยเยลเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในหลักสูตรด้านการแสดงและดนตรี ส่วนหลักสูตรภาพยนตร์นั้นจะเน้นเรียนในเรื่องของประวัติศาสตร์ ทฤษฏี และบทวิจารณ์ภาพยนตร์ นอกจากนี้นักศึกษาวิชาภาพยนตร์ยังได้รับการอนุญาตให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนตามความสนใจ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาอีกทางหนึ่งด้วย แต่จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการภายในภาคซะก่อน และในการเรียนปีสุดท้ายนั้น นักศึกษาวิชาภาพยนตร์จะต้องทำโครงงานหรือรายงาน โดยการนำความรู้และความชำนาญที่เรียนมาตลอดหลายปีในหลักสูตรภาพยนตร์ให้สำเร็จลุล่วง จึงจะถือว่าจบหลักสูตร
       
       ศิษย์เก่าที่โด่งดังและมีชื่อเสียงด้านการกำกับภาพยนตร์และการแสดง
       
       Jodie Foster (นักแสดง Panic Room, Flightplan, Inside Man)
       Jennifer Lynn Connelly (นักแสดง A Beautiful Mind)
       Edward Harrison Norton (นักแสดงและกำกับเรื่อง Red Dragon, The Incredible Hulk)
       Claire Danes (นักแสดง Romeo and Juliet, stardust)
       
       3. University of Pennsylvania

        การเข้าไปทำงานในบริษัทภาพยนตร์ชั้นนำก้องโลกอย่าง DreamWorks, CBS and Warner Home Video และ Columbia Pictures คงเป็นความฝันของนักศึกษาวิชาภาพยนตร์หลายคน รวมทั้งคนธรรมดาอย่างเราๆ เพราะบริษัทเหล่านี้ออกจะมีชื่อเสียงและผลิตแต่ภาพยนตร์คุณภาพทั้งนั้น แต่รู้หรือไม่ว่าศิษย์เก่าที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียจำนวนมากได้นั่งเก้าอี้ทำงานในบริษัทเหล่านี้ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ตั้งอยู่ที่เมืองฟิลเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา เป็นสถาบันที่มีชื่อทางด้านการเรียนรู้
       
        มหาวิทยาลัยแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการเรียนภาพยนตร์ที่แรกๆ เลยก็ว่าได้ หลักสูตรภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย จะเน้นเรียนด้านทฤษฏีและการวิจารณ์ภาพยนตร์ และยังครอบคลุมไปถึงการผลิตและการเขียนบทภาพยนตร์อีกด้วย นักศึกษาที่นี่ยังได้รับโอกาสให้ไปศึกษาที่ต่างประเทศ ซึ่งช่วยให้นักศึกษาได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์อย่างเต็มที่เลยล่ะ
       
       ศิษย์เก่าที่โด่งดังและมีชื่อเสียงด้านการกำกับภาพยนตร์และการแสดง
       
       Elizabeth Banks (นักแสดง The Hunger Games)
       Wendy Finerman (กำกับหนัง Forrest Gump)
       Mark Waters (กำกับหนัง Mean Girls)
       Rick Yune (นักแสดง Olympus Has Fallen, The Man with the Iron Fists)
       
       4. University of California Berkeley

        มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ตั้งอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับที่ 6 จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก ส่วนศิษย์เก่าที่ตอนนี้กลายเป็นนักแสดงมีชื่อเสียงโด่งดังอย่าง Christopher Whitelaw แสดงหนังในเรื่อง Star Trek Into Darkness ก็จบจากที่นี่ด้วยเหมือนกัน
       
        มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านวิชาภาพยนตร์ ซึ่งหลักสูตรจะเน้นการวิเคราะห์ทางทฤษฏี และวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในด้านมนุษยธรรมและการศึกษาแบบสหวิทยาการ คือ การเรียนการสอนลักษณะที่เอาความรู้มาโยงใยให้เห็นความเชื่อมโยง ไม่ใช่การสอนแบบแยกส่วน นอกจากนี้ยังให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติเป็นผู้กำกับจริงอีกด้วย รวมไปถึงการฝึกงานกับบริษัทภาพยนตร์และบริษัทผลิตวีดีโอชั้นนำของประเทศ
       
       ศิษย์เก่าที่โด่งดังและมีชื่อเสียงด้านการกำกับภาพยนตร์และการแสดง
       
       John Yohan Cho (นักแสดงเรื่อง American Pie, Star trek)
       Christopher Whitelaw
        (นักแสดงเรื่อง The Princess Diaries 2: Royal Engagement, Star Trek Into Darkness)
       Scott  Trimble
       (ฝ่ายจัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Iron Man 2, Transformers , Mission: Impossible 3)
       
       5. Columbia University

        นักแสดงหนุ่มขวัญใจวัยรุ่นอย่าง James Edward Franco นักแสดงนำในเรื่อง Rise of the Planet of the Apes ก็เป็นศิษย์เก่าที่นี่เหมือนกัน โดยจบสาขาการเขียน (MFA writing program) ในปี 2010 ซึ่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของมหานครนิวยอร์ก มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่ 5 ของสหรัฐอเมริกา และยังได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสถาบันสอนภาพยนตร์ชั้นนำระดับประเทศ ซึ่งหลักสูตรวิชาภาพยนตร์จะเน้นเรียนในเรื่องประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ทฤษฏี และการวิจารณ์ภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบียยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกงานกับบริษัทภาพยนตร์ชั้นนำ และให้โอกาสในการมีส่วนร่วมถ่ายทำภาพยนตร์อีกด้วย
       
       ศิษย์เก่าที่โด่งดังและมีชื่อเสียงด้านการกำกับภาพยนตร์และการแสดง
       
       William "Bill" Condon
       (กำกับและเขียนบท Gods and Monsters, Chicago, Kinsey, Dreamgirls, The Twilight Saga: Breaking Dawn part1-2)
       James Edward Franco (นักแสดง Spider-Man, 127 Hours, Rise of the Planet of the Apes)
       Maggie Gyllenhaal (นักแสดง The Dark Knight, White House Down)
       Famke Beumer Janssen (นักแสดง the X-Men, Taken1-2)
       
       6. Cornell University

        มหาวิทยาลัยคอร์แนล ตั้งอยู่ที่รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยคอร์แนลถูกกล่าวขานมานานว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพทางการศึกษาที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเห็นได้จากศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ นักศึกษาที่นี่สามารถเลือกเรียนวิชาภาพยนตร์ได้โดยไม่ต้องเลือกเป็นวิชาเอก ซึ่งวิชาเอกจะเลือกได้เมื่อขึ้นปี 2 เพราะมหาวิทยาลัยแห่งนี้อยากให้นักศึกษาใช้เวลาในการตัดสินใจเลือกวิชาที่ตัวเองชอบจริงๆ
       
        หลักสูตรการผลิตภาพยนตร์นี้ จะเน้นไปที่การมีความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการถ่ายทำภาพยนตร์ เช่น การแก้ไขเสียงโดยการใช้ซอฟท์แวร์ หรือการตัดต่อวีดีโอ นอกจากนี้นักศึกษาปีสุดท้ายจะต้องทำโครงงานภาพยนตร์ส่งจึงจะถือว่าสำเร็จการศึกษา
       
       ศิษย์เก่าที่โด่งดังและมีชื่อเสียงด้านการกำกับภาพยนตร์และการแสดง
       
       Ronald Dowl Moore (ผู้เขียนบท Star Trek)
       Christopher D'Olier Reeve (ฝ่ายภาพเคลื่อนไหวการ์ตูน superhero Superman.)
       
       7. New York University

        มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ และมีชื่อเสียงทางวิชาการมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Tisch School of Arts สาขาวิชาภาพยนตร์ที่มีความเก่าแก่มากที่สุด และเป็นมหาวิทยาลัยที่รวมเหล่าคนดังวงการบันเทิงไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Martin Scorsese, Oliver Stone และ Vince Gilligan ล้วนจบจากมหาวิทยาลัยที่นี่ทั้งนั้น และที่เป็นจุดเด่นสุดๆของมหาวิทยาลัยแห่งนี้คือ คลาสวิชากำกับภาพยนตร์ โดยมีนักแสดงหนุ่มสุดหล่ออย่าง James Edward Franco เป็นอาจารย์สอนด้วยตัวเองเลย น่าอิจฉานักศึกษาวิชาภาพยนตร์มหาวิทยาลัยที่นี่จริงๆ
       
        นอกจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้จะมีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านการแสดงและการภาพยนตร์ระดับโลกแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งสถาบันที่มีศิษย์เก่าจำนวนมากได้รับรางวัลออสการ์มากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีหลักสูตรพิเศษที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปเรียนต่างประเทศ อย่างกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ , เมืองปราก สาธารณรัฐเช็ก, มหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และเมืองดับลิน สาธารณรัฐไอร์แลนด์ รวมไปถึงมีการฝึกงานในช่วงปิดเทอมด้วย
       
       
       ศิษย์เก่าที่โด่งดังและมีชื่อเสียงด้านการกำกับภาพยนตร์และการแสดง
       
       Michael Dougherty (นักเขียนบท Superman Returns, X-Men: Apocalypse ในปี 2016)
       Hannah Dakota Fanning (นักแสดง I Am Sam, Man on Fire, The Twilight Saga)
       Regina Hall (นักแสดง Scary Movie )
       Martin Scorsese (ผู้กำกับ The Wolf of Wall Street, Shutter Island, Hugo) รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้ง World Cinema Foundation
       James Edward Franco (นักแสดง Spider-Man, 127 Hours, Rise of the Planet of the Apes)
       
       8. University of Southern California

        มหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนียมีความโดดเด่นในเรื่องเทคนิคการผลิต อุปกรณ์เครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นอกจากนี้ยังให้นักศึกษาเรียนรู้ที่จะสร้างหนังด้วยตัวเอง โดยการลงมือปฏิบัติจริงโดยการเขียนต้นฉบับบทภาพยนตร์ เป็นช่างกล้อง และผู้กำกับ
       
        มหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในรัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงในสาขาวิชาภาพยนตร์และภาพนิ่ง โดยเน้นศึกษาด้านแนวคิด ทฤษฏี ศิลปะ และการสื่อความหมายของภาพนิ่งและภาพยนตร์ นักศึกษาที่เรียนสาขานี้จะสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์จากจินตนาการที่มีอยู่ ผลิตภาพยนตร์ออกมาอย่างมีคุณภาพและทันสมัย
       
        ศิษย์เก่าที่โด่งดังและมีชื่อเสียงด้านการกำกับภาพยนตร์และการแสดง
       
       George Lucas (กำกับหนัง Star Wars)
       Ron Howard (กำกับหนัง A Beautiful Mind )
       Jon Landau (กำกับหนัง Titanic, Avatar)
       Lee Unkrich (กำกับหนัง Toy Story 3)
       
       9. University of Chicago

        มหาวิทยาลัยชิคาโก เป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่มีการติดต่อขอใช้สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ รวมไปถึงเนื้อเรื่องและตัวละครก็อิงมาจากการเป็นศาสตราจารย์ หรือศิษย์เก่า ในมหาวิทยาลัยชิคาโกด้วย เช่น เรื่อง Raiders of the lost Ark (Indiana Jones, 1981), When harry met Sally (1989) และThe core (2003), Proof (2005)
       
        มหาวิทยาลัยชิคาโก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับที่ 14 จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก ถือเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ผลิตผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากกว่า 80 คน ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านสาขาวิชาภาพยนตร์ โดยหลักสูตรที่นี่จะเน้นศึกษาสุนทรียศาสตร์ของภาพยนตร์ วัฒนธรรม และประเภทของภาพยนตร์
       
       10. Vanderbilt University

        มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ตั้งอยู่เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี ประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงด้านวิชาภาพยนตร์ โดยหลักสูตรที่นี่จะเน้นศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ทฤษฏี และสุนทรียศาสตร์
        ส่วนวิชาบังคับจะมีวิชาทฤษฏีภาพยนตร์ การสื่อสาร วัฒนธรรมและสังคม ศิลปะในการใช้ถ้อยคำ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และภาพยนตร์อเมริกา รวมไปถึงวิชาเฉพาะอย่างวิชาปรัชญาและจิตวิทยา วิชาเอเชียศึกษา ศิลปะ และวิชายุโรปศึกษา เป็นต้น
       
        นอกจากนี้แล้วนักศึกษายังต้องเข้าร่วมเทศกาลหนังของมหาวิทยาลัย และร่วมส่งผลงานภาพยนตร์ของตนเองเข้าประกวด รวมไปถึงมีการฝึกงานผ่าน Vandy-in-Hollywood ซึ่งเป็นองค์กรศิษย์เก่าที่ไม่แสวงหากำไร โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ได้รับโอกาส และสั่งสมประสบการณ์การทำงานด้านภาพยนตร์ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วงการบันเทิงนั่นเอง

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 กันยายน 2557

43
ประกาศผลสดๆ ร้อนๆ จากสำนักการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกจากประเทศอังกฤษอย่าง QS World University Rankings 2014/15 (Quacquarelli Symonds) ทำให้เราทราบผลอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก, มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย และรวมไปถึง อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย มีมหาวิทยาลัยใดบ้างไปติดตามกัน...
       
       10 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2014/15 ได้แก่
       
       อันดับ 1 : Massachusetts Institute of Technology (MIT)
       อันดับ 2 : University of Cambridge
       อันดับ 2 : Imperial College London
       อันดับ 4 : Harvard University
       อันดับ 5 : University of Oxford
       อันดับ 5 : UCL (University College London)
       อันดับ 7 : Stanford University
       อันดับ 8 : California Institute of Technology (Caltech)
       อันดับ 9 : Princeton University
       อันดับ 10 : Yale University
       
       โดยผลจาก 10 อันดับของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกในปีนี้ อันดับ 1 ตกเป็นของ MIT แชมป์เก่า 3 สมัย ยังคงมาตรฐานเหมือนเดิม และในปีนี้มีอันดับ 2 ร่วมกันถึง 2 มหาวิทยาลัยคือ University of Cambridge และ Imperial College London ทำผลงานได้ดีในปีนี้ จึงทำให้อันดับเพิ่มขึ้นมาจากปีที่แล้ว คืออันดับ 3 และอันดับ 5 ตามลำดับ เขี่ยอันดับ 2 (ปีที่แล้ว) อย่างมหาวิทยาลัย Harvard University ให้ตกมาอยู่ที่อันดับ 4
       
       ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>> http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2014#sorting=rank+region=+country=+faculty=+stars=false+search=
       
       10 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2014/15 ได้แก่
       
       อันดับ 1 : National University of Singapore (NUS) (อันดับที่ 22 ของโลก)
       อันดับ 2 : University of Hong Kong (อันดับที่ 28 ของโลก)
       อันดับ 3 : The University of Tokyo (อันดับที่ 31 ของโลก)
       อันดับ 3 : Seoul National University (อันดับที่ 31 ของโลก)
       อันดับ 5 : Kyoto University (อันดับที่ 36 ของโลก)
       อันดับ 6 : Nanyang Technological University (NTU) (อันดับที่ 39 ของโลก)
       อันดับ 7 : The Hong Kong University of Science and Technology (อันดับที่ 40 ของโลก)
       อันดับ 8 : The Chinese University of Hong Kong (อันดับที่ 46 ของโลก)
       อันดับ 9 : Tsinghua UniversityTsinghua University (อันดับที่ 47 ของโลก)
       อันดับ 10 : KAIST - Korea Advanced Institute of Science & Technology (อันดับที่ 51 ของโลก)
       
       ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>> http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2014#sorting=rank+region=71+country=+faculty=+stars=false+search=
       
        สำหรับอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2014/15 อันดับหนึ่งยังคงเป็นมหาวิทยาลัย NUS จากประเทศสิงคโปร์ ที่ยังคงครองแชมป์ พร้อมกับอันดับโลกที่สูงขึ้นจากอันดับที่ 24 มาเป็น 22 และอันดับสองตกเป็นของ University of Hong Kong ซึ่งขึ้นมาจากอันดับที่ 3 ในปีที่แล้ว ส่วนอันดับ 2 ของปีที่แล้วอย่าง KAIST จากประเทศเกาหลี มาในปีนี้หลุดไปอยู่ในอันดับที่ 10 อย่างแทบไม่น่าเชื่อว่าจากอันดับ 2 จะลงมาถึงอันดับ 10 ในปีนี้ได้
       
       มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2014/15 จากการจัดอัดดับโลก ติดอันดับอยู่เพียง 8 มหาวิทยาลัยเท่านั้น ได้แก่
       
       อันดับ 1 : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อันดับที่ 243 ของโลก)
       อันดับ 2 : มหาวิทยาลัยมหิดล (อันดับที่ 257 ของโลก)
       อันดับ 3 : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อันดับที่ 501-550 ของโลก)
       อันดับ 4 : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อันดับที่ 601-650 ของโลก)
       อันดับ 5 : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อันดับที่ 651-700 ของโลก)
       อันดับ 6 : มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อันดับที่ 701 ของโลก)
       อันดับ 7 : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (อันดับที่ 701 ขึ้นไปของโลก)
       อันดับ 8 : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อันดับที่ 701 ขึ้นไปของโลก)
       
        โดยมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทยตกเป็นของแชมป์เก่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ตกจากอันดับที่ 239 ของโลกในปีที่แล้ว และมหาวิทยาลัยมหิดลอันดับสูงขึ้น จาก 283 ของโลก มาเป็นอันดับที่ 257 ในปีนี้ด้วย แต่อันดับโดยรวม 1-8 ยังคงเหมือนเดิม
       
       ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>> http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2014#sorting=rank+region=71+country=131+faculty=+stars=false+search=
       
       สำหรับ ระเบียบวิธีวิจัยในการจัดอันดับของ QS World University Rankings® ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
       
       1. Academic reputation (40%) ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจของ QS Global Academic Survey
       2. Employer reputation (10%) ชื่อเสียงจากนายจ้าง จากการสำรวจผ่าน QS Global Employer Survey
       3. Student-to-faculty ratio (20%) อัตราส่วนจำนวนนักศึกษาต่อจำนวนอาจารย์
       4. Citations per faculty (20%) จำนวนงานวิจัยที่ถูกนำไปใช้อ้างถึง จากฐานข้อมูลของ Scopus
       5. International faculty ratio (5%) อัตราส่วนจำนวนอาจารย์ต่างประเทศ/นานาชาติ
       6. International student ratio (5%) อัตราส่วนจำนวนนักศึกษาต่างประเทศ/นานาชาติ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    16 กันยายน 2557

44
ถึงแม้ว่าระบบประกันสุขภาพของประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะได้รับการจัดอันดับว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก แต่ระบบดังกล่าวก็ยังคงมีจุดอ่อนอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งคำถามที่ว่า ประเทศนี้ควรหันมาใช้ระบบประกันสุขภาพแบบกองทุนเดียวหรือไม่ ทั้งนี้การนำรูปแบบประกันสุขภาพที่ใช้อยู่ไปเปรียบเทียบกับระบบประกันสุขภาพในประเทศต่างๆ อาจทำให้เห็นมุมมองแตกต่างที่น่าสนใจ

“ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใช้ระบบประกันสุขภาพภาคบังคับประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้จะต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้กับบริษัทประกันเอกชนที่ตนเลือกเอง  แต่ที่ผ่านมาชาวสวิตฯต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพที่แพงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ”

ระบบประกันสุขภาพของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นระบบที่มีความเสมอภาคโดยมีประชาชนเป็นผู้ชี้นำตลาด แม้จะบังคับให้ประชาชนทุกคนต้องมีประกันสุขภาพ แต่ประชาชนผู้เอาประกันก็มีเสรีภาพในการเลือกทำประกันสุขภาพกับบริษัทเอกชนที่มีให้เลือกมากกว่า 60 บริษัท รูปแบบการดำเนินงานในลักษณะนี้สามารถเป็นต้นแบบให้แก่ประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่นานมานี้ได้มีการปฏิรูประบบประกันสุขภาพครั้งใหญ่ภายใต้กฎหมายที่สร้างความขัดแย้งภายในประเทศอย่าง Affordable Care Act ซึ่งเป็นกฏหมายประกันสุขภาพที่รู้จักกันในชื่อ “โอบามาแคร์” (Obamacare)

แม้จะเป็นประเทศต้นแบบของระบบประกันสุขภาพดังกล่าว แต่ล่าสุด ประเทศสวิตเซอร์แลนด์กำลังพิจารณาที่จะปฏิรูปไปเป็นระบบประกันสุขภาพแบบกองทุนเดียวซึ่งดำเนินงานโดยรัฐ และกำลังจะจัดให้มีการลงประชามติเพื่อรับรองข้อเสนอดังกล่าวในวันที่ 28 กันยายน 2557 ที่จะถึงนี้

: “โอบามาแคร์”

ภายใต้กฎหมายโอบามาแคร์ รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณอุดหนุนเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีประกันสุขภาพ โดยจะดำเนินงานผ่านทางตลาดประกันสุขภาพออนไลน์ และการขยายตัวของ เมดิเคด (medicaid) ซึ่งเป็นระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ที่มีฐานะยากจนที่ครอบคลุมคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ใน 26 รัฐและกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.   

เป้าประสงค์ของโอบามาแคร์คือการขยายประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชากรชาวอเมริกันประมาณ 15% ที่เข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพ ซึ่งจากผลการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระบุว่าตั้งแต่เริ่มดำเนินงานจนกระทั่งถึงเดือนตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันจำนวนกว่า 10.3 ล้านคน เข้าถึงบริการด้านสุขภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สวิตเซอร์แลนด์ได้ออกมาอวดอ้างว่าระบบสุขภาพของตนรุดหน้าจนเกือบจะเป็นระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว

และนอกจากจะเปรียบเทียบระบบข้อมูลสุขภาพกับสหรัฐอเมริกาแล้ว จากรายงานผลการศึกษาของกองทุนคอมมอนเวลธ์ มูลนิธิเอกชนที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบสาธารณสุขในสหรัฐ ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา  ระบุว่า ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีผลดำเนินงานด้านระบบประกันสุขภาพที่ดีกว่าประเทศพัฒนาแล้วอีก 9 ประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจ

ในปัจจุบัน  ระบบประกันสุขภาพของสวิตเซอร์แลนด์ ถูกจัดให้เป็นระบบสุขภาพที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากระบบสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร ซึ่งพิจารณาจากความทันต่อเวลาในการรับรู้ปัญหาสุขภาพเป็นข้อแรก ตามมาด้วยความสะดวกในการเข้าถึงบริการตรวจรักษา ความเท่าเทียมของการบริการและการดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

.... คำถามคือ  ในเมื่อระบบสุขภาพของสวิตเซอร์แลนด์ดีอยู่แล้ว ทำไมจึงต้องปฏิรูปอีก ?

ผลการศึกษาของกองทุนคอมมอนเวลธ์ ไม่ได้ระบุจุดอ่อนของระบบสุขภาพของสวิตเซอร์แลนด์ ที่ผ่านมาประเทศนี้พยายามหากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากำหนดเกณฑ์ในการป้องกันและควบคุมการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง กล่าวคือ มีการจัดทำแนวทางในการดูแลสุขภาพให้แก่คนไข้ทั้งที่มีผลตรวจร่างกายปกติ และคนไข้ที่ผลตรวจร่างกายระบุว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค ส่วนในด้านเวชศาสตร์ป้องกัน คนไข้ต่างได้รับการเตือนและคำแนะนำในการลดน้ำหนักรวมถึงแนวทางในการออกกำลังกายจากแพทย์ผู้ตรวจรักษา คนไข้บางคนก็ใช้ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพเพื่อรับสัญญาณแจ้งเตือนจากคอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากปริมาณและอาการอันไม่พึงประสงค์จากยา

: ระบบประกันสุขภาพราคาถูก

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไม่สามารถที่ควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขและประสิทธิภาพของการบริการด้านสุขภาพได้  ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมของประเทศนี้สูงถึง 68 พันล้านฟรังก์ (ประมาณ 75.7 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐ) และมากกว่า 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดถูกจ่ายไปเป็นค่าประกันสุขภาพประเภทพื้นฐาน(ภาคบังคับ) ทั้งนี้  ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของชาวสวิตฯ คิดเป็นร้อยละ11 ของจีดีพี ตามหลังประเทศสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 17) เนเธอร์แลนด์  ฝรั่งเศส เยอรมันนี และแคนาดา

นอกจากนี้ สวิตเซอร์แลนด์ยังมีตัวชี้วัดที่ต่ำในบางด้าน อาทิ ความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับความคุ้มครอง เช่น กรณีที่บริษัทประกันปฎิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่คนไข้ผู้ถือกรมธรรม์หรือจ่ายน้อยกว่าที่คนไข้คาดหวัง และกรณีที่คนไข้เจ็บป่วยร้ายแรง จนกรมธรรม์ไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด

การประกันสุขภาพแบบพื้นฐานในสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อต้องเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก บริษัทประกันจะให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลโดยแพทย์ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ส่วนการเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษารวมทั้งการพํานักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลในแผนกผู้ป่วยทั่วไปซึ่งต้องเป็นโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ในเขตที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ และโรงพยาบาลดังกล่าวต้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อสถานพยาบาลของบริษัทประกันด้วย นอกจากนี้เมื่อไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษา จะต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกในบางส่วน

ในแต่ละปีชาวสวิตฯจะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านประกันสุขภาพประมาณ 300 - 2,500 ฟรังค์ คือ ผู้ทําประกันจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลขั้นต้นต่อปี จํานวน 300 ฟรังค์ และจ่ายอีก 10 % ของใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เกินจากค่ารักษาพยาบาลขั้นต้น แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 700 ฟรังค์ต่อปีสําหรับผู้ใหญ่ (ส่วนที่เหลือทางบริษัทประกันเป็นผู้รับผิดชอบ) นั่นหมายความว่าภายใน 1 ปี นอกจากต้องจ่ายเบี้ยประกันรายเดือนแล้ว ยังต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง เป็นจํานวนเงิน (สูงสุด) ไม่เกิน 1,000 ฟรังค์ต่อปี

ด้วยเหตุนี้ การมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสวิตเซอร์แลนด์จึงมีอัตราที่สูงมาก เมื่อเทียบแล้วพบว่าต้องจ่ายมากกว่าในสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 60 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่กำหนดโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือโออีซีดี ถึงเกือบ 3 เท่าตัว  นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาที่ระบุด้วยว่า ระบบดังกล่าวใช้เวลามากเกินไปในการจัดการงานด้านเอกสาร การจัดการข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับค่ารักษาพยาบาล กรรมธรรม์ การเคลมประกัน และการที่คนไข้ร้องขอยาหรือการรักษาที่เกินเงื่อนไขตามกรรมธรรม์

: กำจัดหนี้

ล่าสุด การรณรงค์เพื่อขอเสียงสนับสนุนให้ปฏิรูปไปสู่ระบบประกันสุขภาพแบบกองทุนเดียว ได้มุ่งประเด็นไปที่ภาระค่าใช้จ่ายที่หนักอึ้งและสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันที่จะเปลี่ยนแปลงไป

ในขณะที่ผู้คัดค้านแนวคิดนี้ กล่าวว่า การปฏิรูปอาจทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอาจสูงขึ้นถึง 2.2 พันล้านฟรังค์ ซึ่งทางด้านกลุ่มผู้สนับสนุนก็แย้งว่าระบบนี้จะประหยัดงบบริหารจัดการด้านสาธารณสุขลงได้ถึง 350 ล้านฟรังค์ และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็อาจจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมลงได้มากกกว่าร้อยละ 10

กลุ่มผู้คัดค้านได้ออกมาเตือนโดยหยิบยกเอากรณีศึกษาของการใช้ระบบสุขภาพแบบกองทุนเดียวของกลุ่มประเทศในยุโรป เช่น  ฝรั่งเศสและออสเตรีย มากล่าวอ้าง โดยระบุว่าประเทศเหล่านี้กำลังประสบปัญหาหนักเพราะต้องแบกรับหนี้จากการดำเนินงานมากกว่าพันล้านฟรังค์ และต้องแก้ไขวิกฤตด้านงบประมาณด้วยการขึ้นภาษีหรือปรับลดบริการทางการแพทย์ลด

: กรณีศึกษาระบบประกันสุขภาพแบบกองทุนเดียวในประเทศอื่นๆ   

โธมัส เซล์ทเนอร์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าวว่า “รูปแบบระบบประกันสุขภาพแบบกองทุนเดียวในประเทศแคนาดาหรือออสเตรเลีย ซึ่งกองทุนคอมมอนเวลธ์ได้จัดอันดับให้เป็นระบบสุขภาพที่ดีเป็นอันดับที่ 10 และ 4  ไม่ใช้ต้นแบบของระบบสุขภาพที่สวิตเซอร์แลนด์ต้องการ ทั้งนี้สวิตเซอร์แลนด์ควรไปศึกษาต้นแบบจากระบบสุขภาพแห่งชาติ(เอ็นเอชเอส)ของสหราชอาณาจักรมากกว่า”   

“ปัจจุบันชาวสวิตฯ ต่างก็พอใจในระบบสุขภาพที่ใช้อยู่ ซึ่งจากผลการสำรวจล่าสุดโดย จีเอฟเอส.เบิร์น ระบุว่า ประชาชนร้อยละ 81 % พึงพอใจระบบประกันสุขภาพที่ใช้ในปัจจุบัน แม้จะมีปัญหาในการใช้บริการอยู่บ้าง เช่น ต้องรอนาน และต้องเจอกับเงื่อนไขหรือข้อกำจัดในการบริการ แต่อย่างไรก็ตาม สวิตฯสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมจากเอ็นเอชเอสได้  โดยเฉพาะเรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบ” มร.เซล์ทเนอร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก, คณะรัฐมนตรีของสวิตฯ และเป็นประธานของบริษัทประกันสุขภาพ เคพีที กล่าว

มร.เซล์ทเนอร์ กล่าวเสริมต่อไปว่า “จากผลการศึกษาของกองทุนคอมมอนเวลธ์ พบว่า ผู้ป่วยในสหราชอาณาจักรได้รับการดูแลที่เพียบพร้อม มีการตรวจเช็คสุขภาพที่เป็นระบบ แล้วยังได้รับข้อมูลในการป้องกันสุขภาพจากแพทย์ผู้รักษา จริงๆแล้วผมเชื่อว่าระบบประกันสุขภาพของเรา สามารถที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่านี้ได้อย่างแน่นอน แต่คงต้องผ่านการพัฒนาเรื่องการประสานงาน รวมทั้งต้องบูรณาการการบริหารจัดการและการส่งต่อคนไข้ให้ดียิ่งขึ้น"

: ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่

จากผลการสำรวจของสมาคมเภสัชกรรม “อินเตอร์ฟาร์มา” ซึ่งเผยแพร่เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่าร้อยละ 49 ของผู้มีสิทธิออกเสียง สนับสนุนให้เปลี่ยนระบบประกันสุขภาพไปเป็นระบบสาธารณสุขแบบกองทุนเดียว และในวันที่ 28 กันยายนนี้ หากชาวสวิตเซอร์แลนด์ลงประชามติรับรองข้อเสนอดังกล่าว ผู้บริหารของประเทศนี้จะต้องเจอกับปัญหาหนักเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหลักที่สำคัญและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่

จากข้อเขียนขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี ซึ่งได้ทบทวนระบบสุขภาพของสวิตเซอร์แลนด์เมื่อปี 2011 ระบุว่า “การเปลี่ยนจากระบบที่มีผู้รับประกันหลายราย ไปเป็นระบบที่มีผู้รับประกันหลักรายเดียว นับเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ แต่จากกรณีศึกษาของประเทศเกาหลีใต้ ทำให้เราเห็นแล้วว่า การควบรวมที่นำไปสู่ระบบสุขภาพแบบกองทุนเดียวสามารถเป็นไปได้จริงด้วยขั้นตอนอันชาญฉลาด"   

ถึงแม้ว่า ช่วงเวลาต่อจากนี้ไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งคุ้นเคยกับระบบประกันสุขภาพที่มีผู้รับประกันหลายรายมานานกว่า 100 ปี จะต้องเจอกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นแรงต้านจากการปรับเปลี่ยนระบบซึ่งเคยเป็นจุดแข็งที่ประชาชนส่วนมากพึงพอใจและเคยชิน ยังมีประเด็นที่ภาครัฐจะต้องคิดทบทวนอีกหลายด้าน ซึ่งนอกเหนือจากรายจ่ายจำนวนมหาศาลที่ต้องใช้ลงทุนแล้ว ภาครัฐจะทำอย่างไรกับพนักงานและเจ้าหน้าที่ซึ่งทำงานอยู่ในบริษัทประกันสุขภาพของเอกชนที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน…

ผู้เขียน : ไซมอน แบรดลีย์, สวิส อินโฟ (Simon Bradley, www.swissinfo.ch)
http://www.hfocus.org/content/2014/09/8035

45
ตามที่ ทีมข่าว Life on campus ได้นำเสนอข่าว อธิการบดีจุฬาฯสั่งเบรค เอก ลูกกตัญญู งดออกสื่อ หวั่นเสียภาพลักษณ์ ที่ปรากฏเป็นข่าวไปนั้น ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ติดต่อมาทางกองบรรณาธิการ และขอให้มีการชี้แจงอย่างละเอียดกับข่าวที่เกิดขึ้น
       
       ทีมข่าว Life on campus ขอชี้แจงดังนี้ คือ ทางทีมข่าวได้ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย และได้เบอร์โทรศัพท์โดยตรง ของ นายอินทัช สัตยานุรักษ์ หรือ เอก ลูกกตัญญู นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้โทรนัดหมาย และได้รับการตอบรับจาก เอกโดยตรง ให้เข้ามาสัมภาษณ์พร้อมถ่ายรูป ในวันที่ 29 สิงหาคม เวลา 16.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่เอกเลิกเรียน และจะได้ถ่ายภาพขณะนำรถไปขายของรอบๆ มหาวิทยาลัย
       
        พอถึงเวลานัดหมาย ซึ่งทีมข่าวได้ไปตามเวลานัด ไม่สามารถติดต่อเอกได้ และทีมงานได้รออยู่บริเวณนัดเกือบสองชั่วโมงเต็ม มีการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ตึกคณะนิเทศศาสตร์ว่า ขณะนี้เอก กำลังเข้าพบผู้บริหารในมหาวิทยาลัย และรองอธิการบดี เพื่อพูดคุยในเรื่องราวที่เกิดขึ้น หลังจากเอกได้กลายเป็นคนดังชั่วข้ามคืน นับเป็นลูกกตัญญูตัวอย่าง จากการหาเงินช่วยแม่ที่ป่วยเป็นมะเร็ง
       
        โดยเจ้าหน้าที่ยืนยันกับทีมข่าวว่า การนัดหมายครั้งนี้จำเป็นต้องยกเลิกไปปัจจุบันทันด่วน เนื่องจาก ทางอาจารย์ที่ปรึกษาของเอก ขอให้เอกงดให้การสัมภาษณ์กับสื่อ เนื่องจากมีการพูดคุยกับทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยแล้วว่า ตั้งแต่เกิดกระแสข่าวขึ้น มีการเข้ามาดักรอ ขอสัมภาษณ์เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดี มีผลต่อการเข้าเรียนของเด็ก แม้ทางทีมข่าวจะแจ้งว่าได้มีการนัดหมายตามขั้นตอนผ่านเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย และ เจ้าตัวเอกก็รับทราบจากการพูดคุยกันทางโทรศัพท์
       
        ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ยืนยัน กับทีมข่าว Life on campus เป็นคำสั่งจากอธิการบดีด้วยวาจามาว่า ให้เอกงดสัมภาษณ์กับสื่อช่วงนี้ไปก่อน และมีการอธิบายว่า เป็นคำสั่งจากอธิการบดีจริงๆ ให้บอกสื่อไปว่า ของดการสัมภาษณ์ ด้วยเหตุผลที่ว่า มีการเข้ามาสัมภาษณ์มากเกินไป รบกวนเด็ก และอาจจะเกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อมหาวิทยาลัย
       
       อาจารย์ เมธา เสรีธนาวงศ์ รองคณะบดี ฝ่ายกิจการนิสิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงกับ ทีมข่าว Life on campus ว่า การให้ข่าวที่เกิดขึ้นทีมข่าว Life on campus อาจจะเกิดความเข้าใจผิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งให้ข่าวว่าอธิการบดีสั่งห้าม แต่ยอมรับว่า ได้พูดคุยกับ เอก และพาเข้าพบ รองอธิการบดีจริง ถึงกระแสข่าวที่เกิดขึ้น และบอกกับเด็กว่า ถ้าเป็นไปได้ให้งดสัมภาษณ์ช่วงนี้ไปก่อน แต่ให้เอกตัดสินใจเอง เพราะเด็กอาจรับมือกับการตั้งคำถามของสื่อทุกๆ วันไม่ไหว
       
       “ทางอาจารย์ได้พูดคุยกันจริงครับ เพราะส่วนหนึ่งสื่อมาเยอะ บางสื่อไปดักรอน้องที่ห้องเรียน ผมจึงให้เอก ตัดสินใจเอง ให้งดสัมภาษณ์ช่วงนี้ก่อนดีไหม ซึ่งสงสารเด็ก บางวันมีโทรศัพท์เข้ามาเป็นร้อยๆ สาย ส่วนข่าวที่ว่า อธิการบดีสั่งนั้น เจ้าหน้าที่ซึ่งให้ข่าวไปอาจเข้าใจผิด คิดว่าเป็นคำสั่ง"
       
       ทางมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะท่านอธิการบดี ขอยืนยันว่า ไม่เคยปิดกั้นคนทำความดี มีแต่จะช่วยเหลือเด็ก ให้ทุนและเด็กสามารถเดินขายของในมหาวิทยาลัยได้ แต่ข่าวที่เกิดขึ้นอาจเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่จุฬาฯ บางคนที่ให้ข่าวว่า จุฬาฯ กลัวเสียภาพลักษณ์ โดยทางจุฬาฯ ขอทำหนังสือชี้แจงดังต่อไปนี้
       
       รศ.ดร.ธนิต ธงทอง รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีข่าวนิสิตจุฬาฯ ที่หารายได้เสริม ด้วยการขายอาหารในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลแม่ที่ป่วยเป็นมะเร็ง โดยได้มีการเผยแพร่ ข่าวว่าอธิการบดีจุฬาฯห้ามนิสิตไม่ให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้ว่า อธิการบดีไม่เคยห้ามนิสิตให้สัมภาษณ์เพราะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายปกปิด "ความดีงามของนิสิต" การกระทำของนิสิตดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีงามและน่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังสื่อให้เห็นถึงภาพลักษณ์ที่ดีของจุฬาฯ ที่มีนิสิตที่คิดดีทำดี มีความกตัญญู มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว จุฬาฯมีความภาคภูมิใจในนิสิตผู้นี้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีของนิสิต
       
       สำหรับแนวทางการให้ความช่วยเหลือนิสิตนั้น ทางคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯได้ให้ ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเมื่อเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมาในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียน ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ในส่วนของมหาวิทยาลัย ทางผู้บริหารจุฬาฯ ได้พูดคุยกับนิสิตและได้ให้คำแนะนำช่วยเหลือในเรื่องต่างๆตามมาตรการที่จุฬาฯ มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการให้คำปรึกษาเรื่องยาและการรักษาพยาบาล การพิจารณาทุนให้ความช่วยเหลือนิสิตในภาวะฉุกเฉิน และการช่วยเหลือจากพี่เก่าและหน่วยงานต่างๆ ฯลฯ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการศึกษาเล่าเรียนของนิสิตด้วย.

ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 สิงหาคม 2557

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 12