แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - science

หน้า: 1 ... 10 11 [12]
166
 งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโกเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดนเผย การใช้เว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กชื่อดังอย่างเฟสบุ๊กอาจนำไปสู่การเสพติดการใช้งานได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้ที่มี "การศึกษา - รายได้" ต่ำ
       
       การศึกษาครั้งนี้ได้สอบถามความเห็นของกลุ่มผู้ใช้งานอายุระหว่าง 18 - 73 ปีจำนวน 1,000 คน โดยนักวิจัยพบว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มผู้ใช้งานยอมรับว่าตนเองต้องเข้าเฟสบุ๊กทุกวัน และ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ระบุว่า ตนเองนั้นล็อกอินเข้าเฟสบุ๊กทันทีหลังจากเปิดคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว
       
       ในด้านความรู้สึกของผู้ใช้นั้น พบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกกลัวว่าตนเองจะพลาดบางอย่างไปหากไม่ได้ล็อกอินเข้าเฟสบุ๊ก และ 1 ใน 4 ระบุว่าตนเองนั้นรู้สึกแย่เอามาก ๆ หากไม่สามารถเข้าใช้งานเฟสบุ๊กได้
       
       จากข้อมูลของการศึกษาเผยว่า โดยเฉลี่ยแล้วยูสเซอร์ 1 คนมีการใช้งานเฟสบุ๊กนาน 75 นาทีต่อวัน
       และจำนวนครั้งที่ยูสเซอร์ 1 คนทำการล็อกอินเข้าเฟสบุ๊กอยู่ที่ 6.1 ครั้งต่อวัน นอกจากนั้นมีผู้ใช้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าต้องล็อกอินเข้าเฟสบุ๊กทุกครั้งที่พวกเขาเปิดคอมพิวเตอร์ และยังมีผู้ใช้ถึง 26 เปอร์เซ็นต์ที่ยอมรับว่ารู้สึกแย่มากหากไม่สามารถเข้าใช้งานเฟสบุ๊กได้
       
       หากแบ่งเป็นเพศพบว่าผู้หญิงจะใช้เวลาในเฟสบุ๊กเฉลี่ย 81 นาทีต่อวัน ส่วนผู้ชายจะใช้เฟสบุ๊กเฉลี่ย 64 นาทีต่อวัน
       
       ในการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า กลุ่มผู้ใช้งานเฟสบุ๊กที่มีการศึกษาและรายได้ต่ำนั้นใช้งานเฟสบุ๊กนานกว่าผู้ใช้กลุ่มอื่นด้วย ซึ่งในคนกลุ่มนี้พบว่า ยิ่งใช้งานนานเท่าไร ก็ยิ่งมีความสุขและความพึงพอใจในชีวิตน้อยลงทุกที
       
       ปฏิเสธไม่ได้ว่า เฟสบุ๊กเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทำให้โลกทั้งโลกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งในความสามารถนั้น ไม่เพียงแต่มีข้อดีเพียงด้านเดียว ด้านมืดของมันก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การใช้ชีวิตให้สมดุลในยุคนี้ มนุษย์เราอาจต้องพยายามบริหารชีวิตด้วยเครื่องมืออย่างชาญฉลาด และรู้เท่าทันให้มากขึ้น
       
       เรียบเรียงบางส่วนจากเดลิเมล


ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 เมษายน 2555

167
จีนเปิดสะพานแขวนใหญ่ไอ่ไจ้ ข้ามหุบเขาเต่อฮัง ให้รถสัญจรอย่างเป็นทางการวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา นับเป็นสะพานแขวนที่ยาว และตั้งอยู่บนจุดที่สูงที่สุดในโลก
       
       สื่อจีนรายงาน (1 เม.ย.) ว่า สะพานแขวนใหญ่ไอ่ไจ้ นี้ นับเป็นสะพานแขวนลอดอุโมงค์ระหว่างหุบเขา ที่ยาวที่สุด และยังอยู่สูงจากพื้นดินที่สุดในโลก ซึ่งได้เปิดสะพานฯ ให้รถสัญจร อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 31 มี.ค.
       
       รายงานข่าวกล่าวว่า สะพานแห่งนี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2550 แล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ใช้ระยะเวลาในการสร้างนานเกือบ 5 ปี โดยต้องสร้างเชื่อมหุบเขา 2 จุด ในหุบเขาเต่อฮัง มณฑลหูหนาน ด้วยสะพานซึ่งมีระยะทาง 1,176 เมตร
       
       สะพานนี้อยู่สูงจากพื้นดิน 355 เมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงจื่อโจว-ฉาต่ง ซึ่งมีระยะทาง 64 กิโลเมตร ลัดเลาะไปตามหุบเขามากมาย เจาะผ่านเขาเป็นอุโมงค์ถึง 18 แห่ง อันมีระยะทางรวมของส่วนที่เป็นอุโมงค์ ยาวเกือบครึ่งหนึ่งของทางหลวงเส้นนี้ ช่วยย่นระยะเวลาการเดินทาง และความเสี่ยงอันตรายจากถนนแคบและโค้งหักศอกจำนวนมากของทางหลวงเก่า โดยการเดินทางด้วยเส้นทางหลวงใหม่นี้ ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง จากเดิมที่นานกว่า 5 ชั่วโมง
       
       ทั้งนี้ สะพานแห่งนี้ ได้เปิดทดลองใช้เมื่อวันตรุษจีนที่ผ่านมา และผู้ที่ใช้เส้นทางหลวงใหม่นี้กล่าวว่า สะดวกสบาย และรื่นรมย์มาก เพราะทางหลวงฯ นี้ วิ่งไปตามหุบเขาตลอด 64 กิโลเมตร และยังลอดอุโมงค์ยาวจำนวนนับสิบ ก่อนจะพบจุดน่าทึ่งที่สุดตรง สะพานแขวนใหญ่ไอ่ไจ้ ซึ่งทิวทัศน์และประสบการณ์บนสะพานนี้ ไม่มีที่ไหนในโลกอีกแล้ว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 เมษายน 2555

168
สื่อจีนเผยภาพบรรยากาศระหว่างเทศกาลวันเชงเม้งวันที่ 4 เม.ย. ที่ครอบครัว ญาติมิตร และผู้รอดชีวิตจากสงครามหนันจิง (นานกิง) และองค์กรด้านสังคมจากที่ต่างๆทั่วโลก พร้อมใจกันมาคารวะเซ่นไหว้ดวงวิญญาณผู้เสียชีวิต ในเหตุการณ์สังหารหมู่หนันจิง(นานกิง) ระหว่างที่กองทัพญี่ปุ่นบุกยึดครองเมืองหนันจิง ปี พ.ศ. 2480 (1937) โดยได้มาประกอบพิธี ณ “กำแพงร้องไห้” ในบริเวณพิพิธภัณฑ์รำลึกพี่น้องร่วมชาติที่เสียชีวิตการสังหารใหญ่ระหว่างกองทัพญี่ปุ่นบุกจีน นครหนันจิง
       
       สื่อจีนกล่าวว่า ข้อมูลประวัติศาสตร์ บันทึกถึงโศกนาฏกรรมนานกิง ว่าเป็นเหตุการณ์เลวร้ายที่มนุษย์ทำต่อกัน โดยกองทัพญี่ปุ่นผู้รุกรานยึดครองนานกิง เมืองหลวงของจีนในเวลานั้น เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2480 และได้สังหารชาวจีนตายมากกว่า 300,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนไร้ทางต่อสู้ แต่ประวัติศาสตร์โลกดังกล่าว ยังไม่ได้รับการชำระอย่างชัดเจนทั้งในข้อมูลผู้เสียชีวิต และการยอมรับจากทางการญี่ปุ่น
       
       ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2554 อู่ สิ่วหลาน เหยื่อสงครามนานกิง ผู้อายุมากที่สุดได้สิ้นลมไปในวัย 97 ปี โดยระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ นางอู่ ซึ่งพิการขาขาดทั้งสองข้างเพราะระเบิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2480 ได้ยืนกรานที่จะเข้าร่วมพิธีรำลึกโศกนาฏกรรมนานกิง และ เรียกร้องให้ประชาชนรำลึกถีงเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อให้โลกช่วยกันไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และมีสันติสุข

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 เมษายน 2555

169
ธปท.เจอความเหลื่อมล้ำค่าจ้างคนไทย เผยสิ้นปี 2554 โดยเฉลี่ยปริญญาเอกรับอื้อเดือนละ 80,000 บาท ขณะที่ปริญญาตรีเฉลี่ยค่าจ้างแรงงานอยู่ที่ 18,843 บาท แรงงานไร้การศึกษาแค่ 4,789 บาทต่อเดือน ส่วนมัธยมปลายสายอาชีวะรายได้ดี เงินเดือนแซงระดับอนุปริญญา
       
       ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานตัวเลขค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานไทยเฉลี่ยสิ้นปี 2554 ที่ผ่านมา แยกตามการศึกษา และสาขาอาชีพ โดยแยกค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานไทยตั้งแต่ไม่มีการศึกษา จนถึงปริญญาตรีเฉลี่ยทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ พบว่า ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานที่ไม่มีการศึกษา ณ สิ้นปี 2554 อยู่ที่ 4,789.17 ต่อเดือน ขณะที่แรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 5,734 บาทต่อเดือน สำหรับแรงงานที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีค่าจ้างเฉลี่ยรายเดือนอยู่ที่ 6,089.98 บาท ส่วนแรงงานที่มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ได้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่ 6,972.18 บาทต่อเดือน
       
       ด้านค่าจ้างแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลายนั้นจะแยกเป็น 3 ประเภท โดยค่าจ้างแรงงานของผู้จบมัธยมปลายสายอาชีวะจะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดที่ 12,500.59 บาท ส่วนแรงงงานที่จบมัธยมปลายสายสามัญจะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่ำที่สุด 7,863.45 บาทต่อเดือน ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในสายวิชาการศึกษา ซึ่งหมายถึงด้านวิเคราะห์ วิจัย วางแผนพัฒนา เทคโนโลยีในการศึกษา จะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อเดือนที่ 7,960.42 บาท
       
       สำหรับแรงงานระดับอนุปริญญามีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมทุกประเภทอยู่ที่ 11,209.59 บาทต่อเดือน โดยค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของผู้จบสายสามัญมีรายได้เฉลี่ยสูงอยู่ที่ 13,647.59 บาทต่อเดือน สายอาชีวศึกษากลายเป็นสายที่ได้ค่าจ้างเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 11,054.49 บาทต่อเดือน ขณะที่สายวิชาการการศึกษามีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 11,443.89 บาทต่อเดือน
       
       เมื่อสำรวจถึงค่าจ้างแรงงานระดับปริญญาตรี พบว่าแรงงานในระดับปริญญาตรีสิ้นปี 2554 มีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 18,210.34 บาท แยกเป็น สายวิชาการมีค่าจ้างเฉลี่ย 17,882.10 บาทต่อเดือน สายวิชาชีพมีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน 17,032.20 บาท โดยในระดับปริญญาตรีนั้น สายวิชาการการศึกษาขึ้นมาเป็นสายที่มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 22,796.45 บาทต่อเดือน
       
       อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยระหว่างผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี กับสูงกว่าปริญญาตรีจะเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยแบบก้าวกระโดด โดยจากค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยในปี 2554 ของแรงงานระดับปริญญาตรีที่ 18,843.53 บาทต่อเดือน เมื่อขึ้นมาเป็นแรงงานระดับปริญญาโทจะมีค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 33,881.35 บาทต่อเดือน และหากเป็นแรงงานระดับปริญญาเอกค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนจะขึ้นไปที่ 80,288.83 บาท
       
       การสำรวจค่าจ้างแรงงาน จำแนกตามอาชีพทุกระดับการศึกษานั้น อาชีพผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโส และเอกชนระดับผู้จัดการ มีค่าจ้างแรงงานสูงที่สุดเฉลี่ยที่ 26,360.33 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 21,984.92 บาทต่อเดือน ช่างเทคนิคสาขาต่างๆ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องมีค่าจ้างเฉลี่ยที่ 16,264.77 บาทต่อเดือน ขณะที่เสมียนมีค่าจ้างเฉลี่ย 12,532.73 บาทต่อเดือน พนักงานบริการและพนักงานขายในร้านค้า และตลาดสด มีค่าจ้างเฉลี่ย 8,806.28 บาทต่อเดือน ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง มีค่าจ้างเฉลี่ย 7,502.91 บาทต่อเดือน ผู้ปฏิบัติการเครื่องจักรโรงงาน และเครื่องจักร รวมทั้งการประกอบมีค่าจ้างเฉลี่ย 7,504.97 บาทต่อเดือน อาชีพขั้นพื้นฐาน 5,038.08 บาทต่อเดือน และอาชีพอื่นๆ 13,388.81 บาทต่อเดือน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 เมษายน 2555

170


1.บทนำ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 52  บัญญัติให้ชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ และการให้บริการสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมเท่าที่จะกระทำได้ และมาตรา 82 บัญญัติให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง         

บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญข้างต้น เป็นการรับรองสิทธิในทางการสาธารณสุขของประชาชนไทย และเป็นการกำหนดหน้าที่ของรัฐในการจัดการด้านการสาธรณสุข   

ครั้นต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545  เพื่อรับรองการบังคับใช้ตามสิทธิในทางการสาธารณสุขของประชาชน  และหน้าที่ของรัฐในการจัดการทางสาธารณสุข ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ    โดยกฎหมายฉบับนี้มีโครงสร้างเป็น
๑.   สิทธิในการรับบริการสาธารณสุข
๒.   องค์กรและอำนาจหน้าที่
๓.   กองทุน
๔.   มาตรฐานบริการสาธารณสุข และการกำกับ

2.ความหมายของ “สิทธิในการรับบริการสาธารณสุข”

โดยที่พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ตราขึ้นเพื่อรับรองการบังคับใช้ตามสิทธิในทางการสาธารณสุขของประชาชน  และหน้าที่ของรัฐในการจัดการการทางสาธารณสุข  จึงมีเนื้อหาที่เป็นการกำหนดขั้นตอนของการการใช้สิทธิของประชาชน   และการกำหนดหลักเกณฑ์ และขั้นตอนการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ที่ต้องมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ  เช่น แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 52  บัญญัติให้ชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย  และต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ นั้น  มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2547  ให้อำนาจคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เป็นผู้กำหนดประเภทของการบริการสาธารณสุข    ขอบเขตของบริการสาธารณสุข   ที่จะให้บริการกับประชาชน และการที่ประชาชนจะใช้สิทธิรักษา พยาบาลได้ ก็ต่อเมื่อยื่นได้คำขอลงทะเบียนต่อสำนักงานหรือหน่วยงานที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนด เพื่อเลือกหน่วยบริการ เป็นหน่วยบริการประจำ   และการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขได้นั้น มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้กำหนดไว้เฉพาะ

-   จากหน่วยบริการประจำของตนหรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง
-   จากหน่วยบริการอื่นที่หน่วยบริการประจำของตนหรือเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องส่งต่อ

               เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสมควร หรือกรณีอุบัติเหตุหรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน  จึงจะมีสิทธิเข้ารับบริการจากสถานบริการอื่นได้ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด   

          จากบทบัญญัติดังกล่าวนี้  แสดงให้เห็นในเบื้องแรกว่า  สิทธิของประชาชนที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ว่า  มีสิทธิเสมอกันในการรับบริการนั้น ก็แต่เฉพาะที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หากนอกเหนือจากประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด   ประชาชนจะต้องจ่ายหรือซื้อบริการสาธารณสุข จากหน่ายบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการอื่นๆ และแม้แต่จะเป็นกรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน  ก็มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดไว้เท่านั้น

      และจากบทบัญญัตินี้ แสดงให้เห็นอีกว่า หน่วยบริการจะต้องให้บริการแก่ผู้มีสิทธิรับบริการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เฉพาะประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่คณะกรรม การหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดเท่านั้น     และบุคลากรทางการสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์ ถูกจำกัดการทำหน้าที่ให้ต้องรักษาผู้มีสิทธิรับบริการอีกเช่นเดียวกัน     ดังนั้น หากผู้มีสิทธิรับบริการประสงค์จะใช้บริการ(นอกเหนือ ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนด ไม่ว่ากรณีใดๆ)ต้องจ่ายค่าบริการนั้นเอง   

3.มาตรฐานบริการสาธารณสุข

      บริการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545  หมายถึง บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต  และหมายรวมถึงการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ     ซึ่งในมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันนี้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดมาตรฐานการให้บริการ ซึ่งครอบคลุมถึง

(1) การใช้วัคซีน ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ โดยให้ความเสมอภาคและอำนวยความสะดวกในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็น ตลอดจนเคารพในสิทธิส่วนบุคคล ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเชื่อทางศาสนา

(2) การให้ข้อมูลการบริการสาธารณสุขของผู้รับบริการตามที่ผู้รับบริการร้องขอและตาม ประกาศที่มีการกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยและผู้รับบริการโดยไม่บิดเบือน ทั้งในเรื่องผลการวินิจฉัย แนวทาง วิธีการ ทางเลือก และผลในการรักษา รวมทั้งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้รับบริการตัดสินใจในการเลือกรับบริการหรือถูกส่งต่อ

(3) การให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับชื่อแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือผู้รับผิดชอบในการดูแลอย่างต่อเนื่องทางด้านสุขภาพกายและสังคม แก่ญาติหรือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการอย่างเพียงพอก่อนจำหน่ายผู้รับบริการออกจากหน่วยบริการหรือเครือข่ายหน่วยบริการ

(4) การรักษาความลับของผู้รับบริการจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม (1) และ (2) อย่างเคร่งครัด เว้นแต่เป็นการเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

(5) การจัดทำระบบข้อมูลการให้บริการสาธารณสุข เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบคุณภาพและบริการ รวมทั้งการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

      ทั้ง 5 ข้อ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545  มาตรา 45 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยบริการ ภายใต้มาตรฐานและหรือกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

      ดังนั้น นอกจากประเภทของการบริการและขอบเขตของบริการสาธารณสุข จะมีครอบคลุมเพียงใดดังที่กล่าวมาในตอนต้นแล้ว  มาตรฐานและคุณภาพของวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการรักษา จะเป็นไปในทิศทางใดจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดอีกด้วย   

4. คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
   
      การที่ประเภทของการบริการและขอบเขตของบริการสาธารณสุข รวมถึงมาตรฐานและคุณภาพของวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการรักษา มีครอบคลุมเพียงใดซึ่งมีความสำคัญต่อประชาชนผู้รับบริการ  บทความจึงไม่อาจละเลยที่จะกล่าวถึง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ 

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งใช้ชื่อว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ซึ่งประกอบไปด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ  ผู้แทนเทศบาลหนึ่งคน องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคน องค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งคน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นหนึ่งคน ผู้แทนองค์กรเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกำไรและดำเนินกิจกรรมด้าน งานด้านเด็กหรือเยาวชน งานด้านสตรี งานด้านผู้สูงอายุ งานด้านคนพิการหรือผู้ป่วยจิตเวช งานด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเรื้อรังอื่น งานด้านผู้ใช้แรงงาน งานด้านชุมชนแออัด งานด้านเกษตรกร งานด้านชนกลุ่มน้อย จำนวนห้าคน  ผู้แทนผู้ประกอบอาชีพด้านสาธารณสุขจากแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ด้านละหนึ่งคน  ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเจ็ดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านประกันสุขภาพ การแพทย์และสาธารณสุข การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การเงินการคลัง กฎหมายและสังคมศาสตร์ ด้านละหนึ่งคน     

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  มีอำนาจหน้าที่ กำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ และกำหนดมาตรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ ให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต และอัตราค่าบริการสาธารณสุขตามมาตรา 5  กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการถอดถอนเลขาธิการ และกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของเลขาธิการ ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการรักษาเงินกองทุน กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้กระทำผิดมิได้ หรือหาผู้กระทำผิดได้แต่ผู้รับบริการไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร     และมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจหน้าที่  รวมถึงการกำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ    การอนุมัติแผนการเงินของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การควบคุมดูแลการดำเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน การติดตามประเมินผล และการดำเนินการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   

ดังนั้น คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  จึงเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจในกิจการสาธารณสุขภายใต้โครงสร้างตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ในการการออกกฎเกณฑ์ประเภทของการบริการและขอบเขตของบริการสาธารณสุข รวมถึงมาตรฐานและคุณภาพของวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการรักษา อันมีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไปแล้ว  และกำกับดูแลสำนักงานหลักประกันสุขภาพในการปฏิบัติการตามกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

กรณีเป็นเรื่องแปลกที่องค์กรผู้ใช้อำนาจซึ่งมีลักษณะอันเป็นการใช้อำนาจทางปกครองในกิจการสาธารณสุขโดยแท้   แต่พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545  มิได้กำหนดเกณฑ์คุณสมบัติและมาตรฐานกรรมการในด้านประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในด้านการสาธารณสุข ให้เป็นไปอย่างครอบคลุม   ทั้งที่อำนาจของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  มีผลกระทบต่อการจัดบริการสาธารณะสุขของรัฐต่อประชาชนทั้งประเทศ  เช่น กรณีที่มีการเสนอให้มีการยกเลิกมาตรา 41 โดยอ้างว่า ไม่ครอบคลุมในการแก้ไขปัญหาความเสียหายของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นจากสาธารณสุข ทั้งๆวรรคสองของมาตราดังกล่าวกำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  มีอำนาจออกหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการช่วยเหลือผู้ป่วยไว้แล้วซึ่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  สามารถพิจารณาให้มีการขยับเพดานขั้นสูงจากสองแสนบาทในปัจจุบันให้สูงขึ้นกว่าเดิม    และสามารถกำหนดเงื่อนไขให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้ ตามมาตราเดียวกันนี้ กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือผู้ป่วย   โดยไม่มีความจำเป้นอย่างใดที่จะให้มี พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขบังคับใช้กับกรณีดังกล่าวแทน  ซึ่งมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งเป็นการให้นำเงินตามมาตรา 41 ไปรวมกับกองทุนที่ตั้งขึ้นใหม่ซึ่งจะได้จากการที่รัฐบาลจ่ายสมทบ และจากหน่วยบริการ    ทั้งนี้ ให้เหตุผลในการจะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขว่า เพื่อให้คดีที่เกิดขึ้นจากการฟ้องร้องคดีระหว่างผู้ป่วยที่เสียหายจากบริการสาธารณสุขกับบุคคลากรทางการแพทย์ให้ลดน้อยลง  และให้ผู้ป่วยได้รับการชดเชยเยียยาที่รวดเร็วขึ้น  ทั้งๆที่ไม่ปรากฏว่าตามร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข นั้นได้มีการยกเว้นว่า กองทุนใหม่นี้งดเว้น  หรือไม่มีสิทธิไล่เบี้ยกับคู่อีกฝ่ายหลังจากที่จ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหายตามที่ร้องขอไปแล้ว  อีกทั้งการพิจารณาว่าจะจ่ายเงินหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะต้องมีการวินิจฉัยเสียก่อนว่า ความเสียหายที่ผู้ป่วยได้รับนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดจากความบกพร่องหรือไม่พร้อมของระบบบริการสาธารณาสุข หรือบกพร่องเพราะการกระทำของบุคคลากรทางการแพทย์  ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยได้จะต้องมีคุณสมบัติและระดับขีดความรู้ ความสามารถให้สูงเพียงพอและหรือเทียบเท่ากับคุณสมบัติของบุคคลการกรทางด้านการแพทย์หรือไม่อย่างใด หรือเท่ากับกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มาจากสัดส่วนขององค์พัฒนาเอกชน     กรณีจึงไม่มีหลักประกันใดๆเลยว่า การพิจารณาจะเป็นไปตามหลักวิชาการทางการสาธารณสุขในทิศทางใดและมากน้อยเพียงใด และจะเป็นธรรมหรือไม่  เหตุดังกล่าวนี้เป็นข้อหนึ่งที่ทำให้ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ถูกค้านค้านอย่างหนักและต่อเนื่องจากบุคคลการทางการแพทย์ เป็นประวัติการณ์

และเมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้รับบริการที่เป็นโรคไตวายและต้องมีการฟอกไตให้เริ่ม ต้นด้วยการล้างไตทางช่องท้องตามนโยบายส่งเสริมการล้างไตช่องท้อง (CAPD First policy) โดยระบุว่าผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่   หากไม่สมัครใจทำการล้างไตผ่านช่องท้อง ต้องการทำโดยวิธีฟอกเลือดจะต้องจ่ายค่าฟอกเลือดเอง ซึ่งทั่วไปจะอยู่ในราวหมื่นกว่าบาทต่อเดือน   ปัจจุบันผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้รับบริการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2547  ที่ได้รับบริการฟอกไต มีประมาณ 19,000 คน แบ่งเป็นเป็นการล้างไตทางหน้าท้อง (CAPD) ประมาณ  9,600 คน เป็นการฟอกเลือด (HD) ประมาณ 9,300 คน      กรณีดังกล่าวนี้อาจมีปัญหาว่าเป็นการการกระทบต่อสิทธิผู้ป่วยในการเลือกวิธีการรักษาหรือไม่  และเป็นการไม่เคารพการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาตามมาตรฐานการ แพทย์หรือไม่    อันเป็นปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการบริการสาธารณสุขที่เรียกว่า “หลักประกันสุขภาพ “ ภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545   มิพักต้องกล่าวถึง สิทธิของประชาชนซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญว่าต้องได้รับการให้บริการสาธารณสุขของรัฐเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้ เพราะกำหนดให้ผู้รับบริการทุกคนไม่ต้องเสียค่าบริการและค่ารักษาพยาบาล ภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545  ซึ่งเป็นไปตามหลักความเสมอภาค และเท่าเทียม แบบคณิตศาสตร์         จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งคุ้มครองเฉพาะคนยากจน ผู้ยากไร้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย   ส่วนผู้ที่พอมีฐานะ มีกำลังทางเศรษฐกิจ กลับมีสิทธิเช่นเดียว กับคนยากจน ผู้ยากไร้             เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 52 ซึ่งบังคับใช้ในขณะมีการตราพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 นั้น ได้มุ่งที่จะให้การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ         การเลือกปฏิบัติกับคนยากจน ผู้ยากไร้โดยการไม่เก็บค่ารักษาพยาบาลจึงเป็นการเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรม เพราะมุ่งที่จะขจัดความเหลื่อมล้ำแตกต่างทางฐานะและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ    อันเป็นการสอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550 มาตรา 30 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า  “มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม”        กรณีที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ จึงทำให้เกิดภาระต่อค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีอยู่จำกัดเป็นอย่างมาก   อันจะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณสุขของรัฐ  เพราะต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้ต่ำลง เพื่อให้การบริการสามารถครอบคลุมประชาชนผู้รับบริการตามหลักความเสมอภาค และเท่าเทียม แบบคณิตศาสตร์   ซึ่งมิใช่จุดมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545     

จากปรากฏการณ์ดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าสิทธิของประชาชนในการรับบริการสาธารณสุข ที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ได้  ตราบใดที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังคงดำเนินการตามทิศทางที่เป็นอยู่ เพราะการดำเนินการดังที่กล่าวมาข้างต้นต่อไป อาจเป็นการสร้างความเสี่ยงให้เกิดขึ้นกับระบบการรักษาพยาบาลประชาชนของรัฐมากยิ่งขึ้น    จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องขอให้มีการทบทวนการดำเนินการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างจริงจัง เพื่อความชอบธรรมของประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ

นายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์  ทนายความ น.บ.   ป.บัณฑิต(กฎหมายหาชน)

เอกสารอ้างอิง
1.   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
2.   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
3.   พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545     

171
วันนี้ (8 มี.ค. ) ที่ศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) มีการจัดบรรยายวิชาการพระพุทธศาสนา  โดยเชิญนายเซมาร์ยาไล ทาร์ซี ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีตะวันออก มหาวิทยาลัยสตาร์บูรก์ ประเทศฝรั่งเศส ผู้ค้นพบพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ที่สุดในโลกที่บามิยัน ประเทศอัฟกานิสถาน ก่อนที่จะมีการถูกทำลาย  และนายริชาร์ด ซาโลมอน ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลาจารึกและคัมภีร์โบราณ ภาษาสันสกฤต ปรากฤต และคันธารี มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา มาเป็นวิทยากรในการบรรยาย

พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร.) กล่าวว่า การบรรยายในครั้งนี้มีการพูดถึงธรรมเจดีย์ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อายุกว่า 2,500 ปี ที่มีการค้นพบภายหลังที่มีการทำลายพระพุทธรูปที่บามิยัน ซึ่งทางนายริชาร์ด ยืนยันว่าข้อความในคัมภีร์พระพุทธศาสนานั้นมีรายละเอียดหลักเหมือนในพระไตรปิฎก และเป็นเครื่องยืนยันว่าพระไตรปิฎกทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นภาษาใดล้วนมีเนื้อหาหลักที่เหมือนกันจะต่างกันตรงภาษาเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดงานดังกล่าวได้นำพระพุทธโบราณที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี มาจัดแสดงด้วย โดยนายสัณฐิภูมิ์ คันธาระคุปต์ นักสะสมของเก่า เจ้าของพระพุทธรูป กล่าวว่า พระพุทธรูปดังกล่าวเป็นศิลปะแกรนดารา ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ซึ่งศิลปะแกรนดาราถือเป็นศิลปะในยุคแรกของโลกที่เริ่มการสร้างพระพุทธรูป โดยศิลปะแนวนี้จะสร้างพระพุทธรูปในลักษณะเหมือนคนจริงๆ ต่างจากการสร้างพระพุทธรูปในปัจจุบันที่จะสร้างในลักษณะคล้ายเทพ  ในประเทศไทยมีเพียง 2 คนเท่านั้น ที่มีพระพุทธรูปลักษณะนี้ โดยพระพุทธรูปองค์นี้ตนได้พบในขณะเดินทางไปยังประเทศศรีลังกา และประเทศอัฟกานิสถาน เมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยระหว่างที่เดินทางไปยังช่วงรอยต่อประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานได้พบพระพุทธรูปนี้โดยบังเอิญเนื่องจากมีชาวมุสลิมนำมาวางขาย ตนจึงติดต่อขอซื้อมา และอัญเชิญมาประดิษฐานในพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของตนในประเทศไทย   

นายสัณฐิภูมิ์ กล่าวต่อไปว่า จากการศึกษาข้อมูลศิลปะในการสร้างพระพุทธรูป วัสดุที่ใช้ และนำไปเทียบเคียงกับพระพุทธรูปที่มีการค้นพบในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่มีการค้นพบพระพุทธรูปองค์นี้ ทำให้ยืนยันได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีอายุมากกว่า 2,000 ปี แน่นอน ทั้งนี้การที่ตนนำพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว มาจัดแสดงภายในงานบรรยายนี้เพราะเห็นว่า เป็นงานสำคัญที่ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ตนนำออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชน และเนื่องจากในปีนี้เป็นปี พุทธชยันตี หากหน่วยงานไหนต้องการที่จะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมาให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันวิสาขบูชาที่จะมาถึงประสานตนได้
 
เดลินิวส์ 8 มีนาคม 2555

172
กลุ่มศิษย์เก่ากลุ่มหนึ่ง ซึ่งประสบความสำเร็จ มีหน้าที่การงานที่ดี ได้ตกลงใจกันว่า จะกลับไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยและอาจารย์ ที่ได้เกษียณไปแล้ว
A group of graduates, well established in their careers, were talking at a reunion and decided to go visit their old university professor, now retired.

ระหว่างการกลับไปเยี่ยมมหาวิทยาลัย การพูดคุยในกลุ่มได้เปลี่ยนเป็น การบ่น เรื่องความเครียดในที่ทำงาน และการใช้ชีวิต
During their visit, the conversation turned to complaints about stress in their work and lives.

อาจารย์ได้ต้อนรับกลุ่มลูกศิษย์ด้วยการ ชักชวนให้ดื่มช็อคโกแลตร้อน  เขาเดินหายเข้าไปในครัว แล้วกลับมาพร้อมกับหม้อใส่โถช็อคโกแลตร้อนใบใหญ่และถ้วยแบบต่างๆที่ได้เลือกสรรแล้ว เช่น ถ้วยกระเบื้อง ถ้วยแก้ว ถ้วยแก้วคริสตัล  บางใบดูเรียบง่าย บางใบดูดีมีราคา
แพง บางใบก็สวยงามมาก อาจารย์บอกให้ทุกคน บริการตนเอง
Offering his guests hot chocolate, the professor went into the kitchen and returned with a large pot of hot chocolate and an assortment of cups - porcelain, glass, crystal, some plain looking, some expensive, some exquisite - telling them to help themselves to the hot chocolate.

เมื่อทุกคน มีถ้วยช็อคโกแลตร้อนในมือครบแล้ว ศาสตราจารย์ ก็พูดขึ้นว่า ...
When they all had a cup of hot chocolate in hand, the professor said:

พวกเธอ สังเกตเห็น อะไรไหม ถ้วยที่ดูดีมีราคาแพง ได้ถูกเลือกไปหมด เหลือไว้ก็แต่ ถ้วยธรรมดาราคาถูก
'Notice that all the nice looking, expensive cups were taken, leaving behind the plain and cheap ones.

มันเป็นธรรมดาที่ทุกคน จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ตนเอง โดยหารู้ไม่ว่า ...นั่นคือต้นเหตุของความเครียด และปัญหาของพวกคุณ
While it is normal for you to want only the best for yourselves, that is the source of your problems and stress.

ถ้วยที่พวกคุณถือและดื่ม ไม่ได้ช่วยเพิ่มคุณภาพของช็อคโกแลตร้อนเลย ในหลายๆกรณี มันเพียงแค่ ทำให้ราคาช็อคโกแลตร้อนแพงขึ้น และในบางกรณี มันก็แค่เป็นตัวปิดบังสิ่งที่เราดื่ม 
The cup that you 're drinking from adds nothing to the quality of the hot chocolate. In most cases it is just more expensive and in some cases even hides what we drink.

สิ่งที่คุณต้องการจริงๆ ก็คือ ...ช็อคโกแลตร้อน ไม่ใช้ถ้วย   แต่จิตสำนึกบอกให้คุณ มองหาถ้วยที่ดีที่สุด
What all of you really wanted was hot chocolate, not the cup; but you consciously went for the best cups.

และหลังจากนั้น คุณ ... ก็เริ่มสังเกต และเปรียบเทียบถ้วยของคุณ กับถ้วยของคนอื่นๆ
And then you began eyeing each other's cups.

คุณ ลองคิดดู ...
Now consider this:

ชีวิต ก็เปรียบเหมือนกับ ช็อคโกแลตร้อน โดยที่ งาน เงิน ตำแหน่ง และสถานะทางสังคม ของพวกคุณ คือ ถ้วย
Life is the hot chocolate; your job, money and position in society are the cups.

พวกมันเป็นเพียง ... เครื่องมือ ที่ใช้ประคอง และใช้เพื่อดำเนินชีวิต
They are just tools to hold and contain life.

ถ้วย ที่พวกคุณมีไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งบอก หรือเปลี่ยนคุณภาพชีวิต ของพวกคุณเลย
The cup you have does not define, nor change the quality of life you have.

บางครั้ง ...การมุ่งความสนใจในการเลือกถ้วยเพียงอย่างเดียวทำให้เราพลาดที่จะ ...ดื่มด่ำกับรสชาติของช็อคโกแลตร้อน ที่พระเจ้าประทานให้เรา
Sometimes, by concentrating only on the cup, we fail to enjoy the hot chocolate God has provided us.

พระเจ้า สร้างช็อคโกแลตร้อน ในขณะที่มนุษย์ เลือกถ้วยที่จะใส่
God makes the hot chocolate, man chooses the cups.

คนที่ มีความสุขมากที่สุด ไม่ใช่คนที่ต้อง มีสิ่งที่ดีที่สุด ในทุกๆอย่าง
The happiest people don't have the best of everything.

พวกเขา แค่ ...ทำสิ่งที่เขามีให้ดีที่สุด
They just make the best of everything that they have.

จงอยู่ อย่างเรียบง่าย มีจิตใจ โอบอ้อมอารี เอาใจเขา มาใส่ใจเรา  พูดจา ถนอมน้ำใจผู้อื่น และ ดื่มด่ำ กับช็อคโกแลตร้อนของคุณ อย่างมีความสุข
Live simply. Love generously. Care deeply. Speak kindly. And enjoy your hot chocolate!!

by Cindy
holdemqueen@hotmail.com

173
วาเด็ง ปูเต๊ะ  พระสหายแห่งสายบุรี 

"ผมไม่สามารถขอให้คนไทยทุกคนรักในหลวงอย่างที่ผมรัก  แต่ผมรักในหลวงหมดหัวใจ"

วาเด็ง ปูเต๊ะ  ชายชราชาวมุสลิม  วัย  ๙๕ ปี   ผู้เป็น "พระสหายแห่งสายบุรี"  ที่มีความจงรักภักดีต่อในหลวงไม่เสื่อมคลาย

// ทำความรู้จักกับ  วาเด็ง ปูเต๊ะ ก่อน //

วาเด็ง ปูเต๊ะ  เป็นชาวมุสลิม  อาชีพทำสวนผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง จำปาดะ เงาะ และมะพร้าว เป็นต้น และเลี้ยงโค
อยู่บ้านเลขที่ ๖๔   หมู่  ๕  บ้านบาเลาะ  ต. ปะเสยะวอ  อ. สายบุรี  จ. ปัตตานี 
มีภรรยาชื่อ นางสาลาเมาะ ปูเต๊ะ

// พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปตรวจโครงการพัฒนาพรุแฆแฆ //

    เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปตรวจโครงการพัฒนาพรุแฆแฆ อ.สายบุรี จ.นราธิวาส เป็นป่าเสื่อมโทรมขนาดใหญ่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้ศึกษาหาวิธีระบายน้ำในที่ลุ่มยามน้ำหลาก และเก็บกักไว้ใช้ยามหน้าแล้ง  ชาวบ้านจะได้มีน้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก

    เพื่อให้ได้ข้อมูลชัดเจนจึงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร ด้วยพระองค์เอง ณ บ้านเจาะใบ ต.แป้น อ.สายบุรี จ.นราธิวาส  และได้ ประทับทอดพระเนตรพรุแฆแฆด้านตะวันตก และทรงมีพระราชดำริกับชาวบ้านเป็นเวลานาน จนกระทั่งได้ข้อมูลใหม่จากชาวบ้านจึงสนพระทัยที่จะเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรความเป็นไปได้ในการสร้างฝายกั้นน้ำที่คลองน้ำจืด บ้านทุ่งเค็จ  ต.แป้น  อ. สายบุรี  แต่เป็นเส้นทางทุรกันดารและรถยนต์เข้าไปไม่ถึง  และเป็นเวลาเย็นแล้วด้วย แต่มีพระราชดำรัสสั้น ๆ ว่า"ไปได้"

  รถยนต์พระที่นั่ง ได้วิ่งไปตามถนนลูกรัง ท่ามกลางฝุ่นฟุ้งกระจาย  เมื่อสิ้นสุดเส้นทาง  จึงเสด็จฯ ไปตามทางเท้าเล็ก ๆ 
เมื่อถึงชายคลองน้ำจืด บ้านทุ่งเค็จ นั้น  เป็นเวลาตะวันลับขอบฟ้าพอดี
  พระองค์ท่านทรงมีรับสั่งกับเจ้าหน้าที่ชลประทานว่า
แนวทางที่จะพัฒนาเพื่อนำน้ำจากแม่น้ำสายบุรี ผ่านคลองขุดเข้าไปเพื่อที่จะให้พรุใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรได้ คือการนำน้ำเข้าไปในพื้นที่พรุผ่านทางคลองน้ำจืด บ้านทุ่งเค็จ เพื่อล้างไม่ให้เกิดดินเปรี้ยว จะต้องทำประตูกั้นน้ำเพื่อปิดกั้นและระบายน้ำ

  พระองค์ได้ทรงพิจารณาแผนที่ด้วยแสงไฟฉายเป็นเวลานานและทรงรับสั่งให้ไปตามเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ใกล้  มาเข้าเฝ้า !!
ฉันนะคนดี...อยู่นี่ไง... คอยเป็นกำลังใจกันและกัน ^^@~@♥♥♥

// วาเด็ง ปูเต๊ะ  เข้าเฝ้าในหลวงในชุดกางเกงชาวเล ขาก๊วย มีผ้าขาวม้าคาดพุง ไม่สวมเสื้อ //

    วันนั้น วาเด็ง ปูเต๊ะ กำลังทำสวนอยู่กับภรรยา  บริเวณประตูน้ำบ้านบาเลาะ ต.ปะเสยะวอ เป็นป่าทึบ ก็มีผู้มาบอกว่า ในหลวง ต้องการพบตัว   ก็ตกใจมากว่าเรื่องอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด จนกระทั่งสื่อสารกันจนเข้าใจแล้วว่า ในหลวงต้องการมาสร้างฝายกั้นน้ำคลองน้ำจืด บ้านทุ่งเค็จ เพื่อช่วยเหลือเรื่องแหล่งน้ำแก่ชาวบ้านในการทำการเกษตร

วาเด็ง ปูเต๊ะ  ถึงกล้าไปพบ แต่ตอนนั้น ยังไม่ค่อยเชื่อว่าพระองค์จะเข้ามาอยู่ในป่าในเขาแบบนี้ จึงคิดว่าผู้ที่มาบอกโกหก ขนาดมาพบพระองค์แล้ว  วาเด็ง ปูเต๊ะ ก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นในหลวงจริงหรือเปล่า จึงมอบหยิบเงินใบละ ๑๐๐ บาท กับใบละ ๒๐ บาทขึ้นมาดู จึงแน่ใจว่าเป็นพระองค์เสด็จฯ มาจริง ๆ

ตอนแรกที่พบในหลวง วาเด็ง ปูเต๊ะก็ไม่กล้าเข้าไปใกล้ ๆ เพราะตอนนั้นนุ่งกางเกงชาวเล  เสื้อก็ไม่ได้ใส่ด้วยแต่พอเข้าไปใกล้ ๆ ในหลวงก็ตรัสว่า จะสร้างคลองชลประทานให้ หลังจากนั้น ในหลวง ก็ทรงสอบถามเส้นทางการขุดคลองสายทุ่งเค็จว่ามีเขตติดต่อที่ไหนบ้าง จึงได้เล่าให้ในหลวงทรงทราบ  ว่าคลองเส้นนี้ทางเหนือจะติดเขตพื้นที่ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส 

ในหลวงตรัสถามว่าหากออกไปทางทะเลจะมีเกาะกี่เกาะ ก็ตอบพระองค์ไปว่ามี 4 เกาะ  ในหลวงจึงทรงเอาแผนที่ที่นำติดตัวมา
ออกมาดูอีกครั้ง และตรัสชมว่า วาเด็งเป็นคนรู้พื้นที่จริง

   พระองค์ยังตรัสด้วยว่า "ไม่ว่าจะไปช่วยใครที่ไหนก็ต้องถามเจ้าของพื้นที่ก่อน...เพราะชาวบ้านจะรู้จริงกว่าคนอื่น"

วันรุ่งขึ้นข้าราชการที่มารับเสด็จก็ ต้องตกตะลึงไปตาม ๆ กัน เมื่อพระองค์ทรงรับสั่งให้ วาเด็ง ปูเต๊ะ พายเรือให้พระองค์ เพื่อทำการสำรวจคลองสายทุ่งเค็จ  พระองค์มีพระราชดำรัสถาม พร้อมเปิดแผนที่เพื่อให้รู้ว่าจะสร้างแหล่งชลประทานอย่างไร

ตอนพายเรืออยู่ ในหลวงตรัสด้วยว่า "ให้วาเด็งทำตัวให้สบาย  มีอะไรที่ชาวบ้านเดือดร้อนก็ให้เล่ามาตามความจริง"   
วาเด็ง ปูเต๊ะ  จึงได้บอกในหลวง ว่าเมื่อถึงเวลาหน้าฝนน้ำจะท่วม ทำนาไม่ได้ เมื่อถึงหน้าแล้งก็ทำนาไม่ได้ เพราะไม่มีน้ำ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน พระองค์ก็ตรัสอีกว่า ชาวบ้านทำการเกษตรอะไรบ้าง จึงตอบพระองค์ไปว่า ทุกคนทำการเกษตรตามวิถีชีวิตของคนชนบท คือ ปลูกพืชผักสวนครัว และทำสวนไว้กินกันทุกบ้าน
 
// วาเด็ง ปูเต๊ะ  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระสหาย //

วาเด็ง ปูเต๊ะ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นพระสหาย

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ณ โครงการพัฒนาพรุแฆแฆ  อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕
    ในหลวงคงจะทรงลองใจ  จึงตรัสถามขอที่ดิน   เพื่อทำโครงการพระราชดำริ ด้วยความปลาบปลื้ม วาเด็ง ปูเต๊ะ จึงขอยกที่ดิน
ถวายให้พระองค์ทันที  ในหลวงจึงทรงแย้มพระสรวล และมีพระราชดำรัสว่าให้ วาเด็ง ปูเต๊ะ  เป็นพระสหาย ตั้งแต่บัดนั้น ในหลวงตรัสเรื่องนี้ว่า "วาเด็ง เป็นคนซื่อตรง จึงขอแต่งตั้งให้วาเด็งเป็นเพื่อนของในหลวง"

// ในหลวงตรัสให้วาเด็ง ปูเต๊ะ หยุดทำงานได้แล้ว //

    ล่าสุด ในหลวง ตรัสว่าให้วาเด็งหยุดทำงานได้แล้ว เพราะแก่แล้ว  อายุมากแล้ว ทรงเป็นห่วงสุขภาพวาเด็ง กลัวว่าทำงานหนักจะไม่สบาย  วาเด็ง ปูเต๊ะ ก็นั่งทบทวนคำตรัสของพระองค์ด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มด้วยความภาคภูมิกับคำว่า "พระสหายแห่งสายบุรี" 

    นอกจาก ละหมาดขอพระผู้เป็นเจ้าแล้ว  วาเด็ง ปูเต๊ะ ยังเดินทางมาเยี่ยมพระอาการประชวรของในหลวงถึง รพ.ศิริราชด้วย 

// วาเด็ง ปูเต๊ะ  มาเยี่ยมในหลวง  พร้อมทูลเกล้าถวายจำปาดะ เมื่อวันที่  ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ //

เมื่อวันที่  ๓๐ ตุลาคม  ๒๕๕๐ นายวาเด็ง ปูเต๊ะ  ราษฎรจาก อ.สายบุรี จ.ปัตตานี พระสหายในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เคยได้ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิดหลายครั้ง  เดินทางมาลงนาม ถวายพระพร พร้อมนำจำปาดะ ๑๑ ผลที่ปลูกในสวนมาทูลเกล้าฯ ถวายด้วย   

    นาย วาเด็งให้สัมภาษณ์เป็นภาษายาวีทั้งน้ำตาว่า หลังทราบข่าวว่าพระองค์ประชวรเป็นห่วงและคิดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก ตัวเองก็ป่วยเป็นโรคหอบหืด รักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานี ๒-๓ สัปดาห์แล้วเมื่ออาการดีขึ้นจึงขอแพทย์เดินทางมาลงนามถวายพระพรด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

//  วาเด็ง ปูเต๊ะ  มาเยี่ยมในหลวง  พร้อมทูลเกล้าถวายทุเรียนก้านยาว  เมื่อวันที่ ๗  ธันวาคม  ๒๕๕๒ //

    เมื่อวันที่ ๗  ธันวาคม ๒๕๕๒  วาเด็ง ปูเต๊ะ  ไดัเดินทางมาลงนามถวายพระพร พร้อมทูลเกล้าถวายทุเรียนก้านยาว จากสวนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จฯ ไป มาถวายด้วย
 
    วาเด็ง กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงพระองค์ท่าน และได้ละหมาดฮายัด  ร่วมกับโต๊ะอิหม่าม และชาว อ.สายบุรี เพื่อถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรและมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ว

//  ถ้าขอได้  อยากขอให้คนไทยทำอะไรเพื่อในหลวง //

  วาเด็ง ปูเต๊ะ  ตอบว่า  "เราไม่สามารถขอให้ทุกคนทำอะไรเพื่อในหลวงได้  แต่อยากให้ทำทุกอย่างเพื่อส่วนรวม อย่าทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว  และผมไม่สามารถขอให้คนไทยทุกคน รักในหลวงอย่างที่ผมรัก  แต่ผมรักในหลวงหมดหัวใจ"

วาเด็ง ปูเต๊ะ  นับว่าเป็น "แบบอย่าง"  ของผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เจียมเนื้อเจียมตัว และใช้จ่ายอย่างประหยัด  เสียสละประโยชน์
ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม  ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ และใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว  โดยทำตัวเป็นแบบอย่างตามพระราชดำรัสของในหลวงที่รู้จักกิน รู้จักใช้ ตามวิถีชีวิตของชุมชนชนบทกับเศรษฐกิจพอเพียงมาจนถึงทุกวันนี้   

สมควรได้รับการยกย่องและเป็นแบบอย่างของคนดีคนหนึ่งในสังคมไทยทุกวันนี้


หน้า: 1 ... 10 11 [12]