แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - pani

หน้า: 1 ... 46 47 [48]
706
เผลอแผล็บเดียว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็ก้าวสู่ปีที่ 7 แล้ว ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา สปสช.ได้สร้างหลักประกันสุขภาพครอบคลุมคนไทย 47 ล้านคน ให้ได้รับหลักประกันสุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และการส่งเสริมป้องกันโรคอย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเท่าเทียม ด้วยระบบการให้บริหารที่ไม่น้อยหน้าระบบประกันสุขภาพอื่นๆ ของไทย
      
       ปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ นพ.วินัย สวัสดิวร ซึ่งต้องรับภาระหนักในการดูแลสุขภาพของคนเกือบทั้งประเทศ ต่อจาก นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ อดีตเลขาธิการ สปสช.คนแรกที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย
      
       ในวันสบายๆ นพ.วินัย ได้เปิดใจกับ ASTVผู้จัดการรายวัน ถึงการทำงานในช่วงเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา
      
       การรับไม้ต่อจากคุณหมอสงวน เป็นเรื่องที่น่าหนักใจ เพราะหมอสงวนเป็นคนที่มีความสามารถสูง เป็นคนดีมีบารมี มีคนรู้จัก และให้ความสนใจ นั่นคือ ข้อหนักใจ แต่ข้อสบายใจ คือ หมอสงวน ได้วางรากฐาน ระบบต่างๆ ไว้อย่างดีเยี่ยม ทีมงาน สปสช.ก็ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้งานที่ต้องสานต่อเชื่อมโยงกันได้อย่างสบาย อย่างไรก็ตาม ก็มีความกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับกรณีที่อาจเกิดการเปรียบเทียบระหว่างเลขาฯ คนเก่า และเลขาฯคนใหม่ นพ.วินัย บอกยิ้มๆ
      
        และภายหลังจากลงมือสู้งานหนักตลอด 1 ปี นพ.วินัย มองว่า ภาระงานต่างๆ ในการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อประชาชน มีเรื่องอีกมากมายที่ต้องทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถึงแม้ประชาชนจะมีสิทธิในการรักษาพยาบาลอยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัติการเข้าถึงบริการจริงๆ ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุที่สำคัญ เนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากร ทำให้บุคลากรที่ให้บริการไม่เหมาะสมกับภาระงาน ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดสิทธิประโยชน์เรื่องไตวาย ผู้ป่วยไตวายเรื้องรังสามารถฟอกเลือดหรือเปลี่ยนไตได้ จึงถือว่ามีสิทธิเต็มที่ แต่การเข้าถึงกลับยังคงเป็นปัญหา
      
       นพ.วินัย อธิบายเพิ่มว่า ขณะนี้การมีสิทธิกับการเข้าถึงยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการมีระบบบริการที่ดีจะต้องมีบุคลากร มีการวางระบบการบริหารจัดการที่ดี เช่น การรักษามะเร็ง หัวใจ ก็ต้องมีแพทย์เฉพาะทาง หรือการมีระบบปฐมภูมิที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม แต่ละเรื่องไม่ใช่ สปสช.สามารถทำคนเดียวได้ เช่น การเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ การกระจายบุคลากร ฯลฯ เป็นเรื่องนอกเหนือจากสิ่งที่ สปสช.รับผิดชอบทั้งหมดโดยตรง แต่ก็ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลยเพราะปัญหานี้เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องยากที่จะต้องทำ โดยที่ผ่านมา สปสช.จะใช้วิธีพยายามกระตุ้น ผลักดัน ส่งเสริม ทั้งทางตรง และทางอ้อม
      
       ในโรงพยาบาลเล็กๆ มีหมออยู่เวรคนเดียวก็ไม่ไหว หากมีผู้ป่วยที่เป็นโรคไต มะเร็ง ผ่าตัดฉายแสง ผ่าตัดสมอง เส้นเลือดแตก ก็จำเป็นต้องส่งต่อ แต่กว่าจะหาเตียงได้เป็นเรื่องยากลำบากมาก ต้องอาศัยการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลหลายๆ แห่ง เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรในโรคที่ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเครื่องมือที่มีความพร้อม โรงพยาบาลรัฐบางแห่งจึงต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลเอกชนใกล้เคียงในพื้นที่ในการส่งต่อเพื่อรักษาคนไข้ ถือเป็นข้อจำกัดที่ปัญหาระบบบริการที่ไม่สามารถรองรับความต้องการได้ นพ.วินัย ให้ภาพของปัญหาใหญ่ในระบบสาธารณสุข

 เลขาธิการ สปสช.บอกอีกว่า จะเห็นว่า ปัญหามันโยงใยเชื่อมโยงกระทบถึงกันไปหมด รวมถึงนโยบายเมดิคอลฮับ หรือศูนย์การแพทย์ในภูมิภาค โดยการดำเนินการนโยบายนี้จำเป็นต้องหันมามองคนไทยด้วยว่า หากผลักดันเมดิคอลฮับให้ต่างชาติมารักษาที่ไทยมากขึ้น จะต้องคิดด้วยว่าจะทำอย่างไรกับการขาดหมอในโรงพยาบาลอำเภอ
      
       ขณะที่ปัญหาด้านงบประมาณ ซึ่งที่ผ่านมา ดูเหมือนเป็นปัญหาใหญ่ของระบบสุขภาพมาโดยตลอด แต่ปัจจุบัน นพ.วินัย มองว่า เรื่องงบประมาณ น่าจะเพียงพอ กับการให้บริการประชาชน เพราะตอนนี้ถึงจะมีเงินมากขึ้นเท่าไร่แต่โรงพยาบาลก็ไม่สามารถจัดบริการได้มากขึ้น เพราะจำนวนบุคลากรที่จำนวนเท่าเดิม ทุกวันนี้การให้บริการของผู้ให้บริการถือว่าเต็มกำลังแล้ว แม้ความต้องการรับบริการมีมากขึ้น แต่โรงพยาบาลก็เต็มพิกัดแล้ว ดังนั้น ด้วยข้อจำกัดนี้ การเพิ่มเงินเท่าตัวก็ให้บริการเพิ่มเท่าตัวไม่ได้
      
       ในมุมมองของหน่วยบริการงบประมาณที่ได้รับจึงน่าจะพอ แต่หากเราสามารถขยายบริการเพิ่มขึ้น มีหมอ พยาบาล เพิ่มขึ้น เงินก็ต้องเพิ่มมากขึ้น ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการผลิตบุคลากร และรักษาบุคลากรเหล่านั้นให้อยู่ในระบบด้วย ปัญหาในปัจจุบันจึงไม่ใช่เรื่องของเงินเพียงอย่างเดียว การเพิ่มเงินเหมาจ่ายรายหัวเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ทางแก้ระบบสาธารณสุขอย่าง แน่นอน สำหรับวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ เพิ่มจำนวนแพทย์ให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการที่ดีขึ้นได้ โดยการประกาศเป็นวาระชาติ มีการแก้ไขกันอย่างครบวงจร
      
       นพ.วินัย บอกถึงความคาดหวัง และความตั้งใจในการทำงาน เมื่อก้าวสู่ปีที่ 7 ว่า สปสช.จะเน้นให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ซึ่งเป็นหัวใจของระบบสาธารณสุข เพื่อประชาชนมีสถานพยาบาลใกล้บ้านใกล้ใจ ที่เป็นหน่วยบริการประจำของครอบครัวอย่างแท้จริง พัฒนาระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ง่าย และสะดวก เป็นระบบส่งต่อที่ไม่ปล่อยให้คนไข้หรือญาติต้องเคว้งคว้าง รวมทั้งการวางระบบการส่งเสริมป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง โดยพยายามวางระบบบูรณาการให้สมบูรณ์ในทุกระดับ และมุ่งเน้นการบริหาร สปสช.ให้เป็นองค์กรโปร่งใส มีประสิทธิภาพ เป็นองค์กรที่จิ๋วแต่แจ๋ว เพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพที่มีคุณภาพ เป็นธรรม และยั่งยืน

11/02/09

707
จาก
"Old-fashioned Doctering Keeps Cubans Healthy" โดย Sarah Lunday


กรุงฮาวานา - ในออฟฟิซของนายแพทย์ อเล็ก คาเรราซ ใกล้ใจกลางกรุงฮาวาน่า มีน้ำ้ซึมหยดลงมาจากเพดาน บานกระจกหายไปจากหน้าต่าง เครื่องอบฆ่าเชื้อโรคที่พังไปนานแล้วนอนสงบนิ่งไม่ติงไหว โทรศัพท์กรีดกริ่งไม่ยอมหยุดพัก ขณะที่ คุณหมอคาเรราซตอบครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าพยาบาลคนเดียวของคลีนิค ลาพักเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์

นายแพทย์คาเรราซ และพยาบาล รับผิดชอบรักษาสุขภาพให้ ๑๒๐ ครอบครัวในละแวกใกล้เคียงกับคลีนิค การอยู่ร่วมกับชุมชนที่ให้การรักษาพยาบาล เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในการทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการของคนไข้ คุณหมอคาเรราซเล่าว่า คนไข้คนหนึ่งบอกว่า หยุดสูบบุหรี่ตามที่หมอสั่งแล้ว แต่เมื่อคุณหมอแวะไปที่บ้านโดยไม่บอกล่วงหน้า "ผมยังเห็นก้นบุหรี่เต็มถาดอยู่เลย" ว่าพลางคุณหมอก็ยักไหล่ไปด้วย

นายแพทย์คาเรราซ มีเพียงผังคนป่วยที่เขียนด้วยมือ เพื่อบันทึกข้อมูลและความต้องการของคนไข้ เช่น คนนั้นมีระดับคอเลสเตอรอลสูง คนนี้เป็นเบาหวาน หรือใครมีโรคติดสุราเรื้อรัง "แค่นี้คุณก็มีข้อมูลเพียงพอแล้ว ก็รู้ได้ทุกอย่าง" คุณหมอกล่าว

แม้ว่า แพทย์ชาวคิวบา จะไม่อาจรู้สภาพผู้ป่วยได้หมดสิ้น แต่เมื่อเทียบกับแพทย์ในประเทศอื่นแล้วก็ยังกินขาด โดยเฉพาะแพทย์ในประเทศเพื่อนบ้านเศรษฐี คือ สหรัฐอเมริกา การที่นายแพทย์ไปใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนที่ตนทำการรักษา ช่วยให้สามารถติดตามความเคลื่อนไหว และรู้จักคนไข้ในสังกัดได้เป็นอย่างดี เป็นแบบอย่างที่ประเทศยากจนหรือแม้แต่บางท้องที่ในสหรัฐเอง ควรนำไปศึกษา

ระบบสาธารณสุขของคิวบานั้น มีองค์ประกอบหลักคือ เครือข่ายแน่นหนาของแพทย์ประจำบ้าน(family doctor ไม่ใช่ resident) ที่กระจัดกระจายไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้าน ไม่ว่าจะในชนบทหรือในเมือง แพทย์ประจำบ้านชาวคิวบาจึงคุ้นเคยกับชุมชนเป็นอย่างดี และมีประชากรในความดูแลไม่เกิน ๕๐๐ คน เมื่อเทียบกับแม้ประเทศอย่างสหรัฐแล้ว หมออเมริกันมีคนไข้ในความดูแลมากกว่าหลายต่อหลายเท่านัก ถ้าคนไข้ต้องการการรักษาที่สลับซับซ้อนเกินกำลัง หมอประจำบ้านเหล่านี้ ก็จะส่งไปให้โรงพยาบาลประจำชุมชนนั้นๆ

แต่ระบบของคิวบาก็มีจุดอ่อนไม่น้อย โดยเฉพาะ ความขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์และยา หากป่วยหนักต้องไปโรงพยาบาลก็ต้องรอกันนานๆ แต่ความต้องการทางแพทย์ขั้นพื้นฐานของประชากร ๑๑.๒ ล้านคนในประเทศคิวบา ก็ได้รับการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ ไม่มีใครขาดการดูแลรักษา ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกาเอง ยังมีประชากรคนยากจนอีกถึง ๔๐ ล้านคน ที่ต้องใช้ชีวิตโดยขาดการเหลียวแลทางการแพทย์ เพราะว่าไม่มีประกันสุขภาพ

"ประชากรทุกคน อย่างน้อยๆก็ได้รับการดูแลด้านสุขภาพ ทุกคนอยู่ในระบบสาธารณสุข ชาวคิวบาเน้นด้านการป้องกันโรคก่อนที่มันจะเกิดได้ดีมากๆกว่าในหลายๆประเทศ" เป็นความเห็นของ นายแพทย์ สตีเฟน เอ เชนเดล หัวหน้าฝ่ายศัลยกรรมตกแต่ง แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งได้เดินทางไปอาสาสมัครให้การผ่าตัดให้เด็กๆชาวคิวบา (เช่น ซ่อมอาการ ปากแหว่ง เพดานโหว่) และช่วยฝึกอบรมแพทย์ชาวคิวบา ในด้านเทคโนโลยี่การผ่าตัดใหม่ๆ มา ๕ ปีแล้ว

แพทย์ชาวคิวบาหลายๆท่าน เช่น คุณหมอคาเรราซกล่าวว่า ประเทศของเขาขาดปัจจัยเรื่องอุุปกรณ์และเทคโนโลยี่สมัยใหม่ก็จริงอยู่ แต่ก็อุดช่องโหว่นั้น ด้วยความเอาใจใส่คนไข้อย่างทั่วถึง ของแพทย์ประจำบ้านที่เข้าถึงประชาชนจริงๆและที่มีจำนวนมาก เฉลี่ยแล้ว ในประชากร ๑๐,๐๐๐ คน จะมีแพทย์ประจำบ้าน ๕๘.๒ คน เทียบกับสหรัฐที่มีแพทย์เพียง ๒๗.๙ คนต่อประชากรจำนวนเท่ากัน ตามสถิติของ Pan American Health Organization

บ๊อบ ชว้อร์ทซ์ ผู้อำนวยการ Disarm Education Fund ซึ่งเป็นกองทุนให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์อนามัยอาสาสมัคร ตั้งอยู่ในนิวยอร์ค ให้ข้อสังเกตว่า ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างหมอกับคนไข้ที่ได้รับการดูแล ช่วยตัดปัญหาที่จะเกิดโรคร้ายแรงตามมาในภายหลังได้มาก เช่น ลดอัตราการสูบบุหรี่ ทารกเกิดมาแข็งแรงสุขภาพดี ช่วยให้ประชากรมีคุณภาพสูง แม้ว่าคิวบาจะขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่ง แต่ระบบสาธารณสุขอนามัย ดีเทียบเท่าหรือดีกว่าที่มีในประเทศเศรษฐีเสียอีก เช่น อายุเฉลี่ยของประชากรอเมริกันเท่ากับ ๗๗ ปี ในขณะที่ของชาวคิวบาเท่ากัน ๗๖ ปี อัตราตายของเด็กแรกเกิด ๖.๔ ต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน ในขณะที่ของอเมริกา มีถึง ๗.๓ ต่อประชากรพันคน และอัตราของเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีนของทั้งสองประเทศก็มีพอๆกัน คือ ๙๕ เปอร์เซ็นต์

ระบบอนามัยของคิวบาเป็นผลมาจากการปฏิรูประบบสาธารณสุขที่ ฟิเดล คาสโตร ได้เริ่มอย่างเอาจริงเอาจังมาตั้งแต่ยึดครองประเทศได้ ในปี คษ ศ ๑๙๕๙ ทุกวันนี้ ระบบสาธารณสุขของคิวบาก็เป็นแบบอย่างให้ศึกษานานาชาติ โดยเฉพาะการอนามัยในชนบท ชุมชนยากจนในเหล่าประเทศละตินอเมริกา ตลอดจนในอัฟริกา ได้อิทธิพลจากแบบอย่างของคิวบา จากการสรุปของศูนย์ศึกษาคิวบาในนิวยอร์ค ประเทศคิวบาส่งแพทย์นับพันๆคนไปทำงานและใช้ชีวิตในต่างประเทศเหล่านี้ และให้การรักษาพยาบาลฟรี เช่นในประเทศ นิคะรากัว เอล ซัลวาดอร์ ฮินดูรัส และ ประเทศอัฟริกาใต้

ในทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ระบบการแพทย์และสาธารณสุขในชนบทของอเมริกา สำหรับชนพื้นเมืองชาวอินเดียน ก็ได้รับอิทธิพลแบบอย่างจากคิวบา มารีโอ กุเทียเรซ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยในชนบทแห่งรัฐคาลิฟอร์เนีย อยู่ห้าปี (ขณะนี้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปทำงานสาธารณสุขระดับรัฐแล้ว) ให้ข้อสังเกต สำนักงานอนามัยในชนบทของอเมริกา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลท้องถิ่น มีลักษณะคล้ายศูนย์กลางของชุมชนมากกว่าที่จะเป็นโรงพยาบาล โดยทางศูนย์ตั้งตัวแทนสาธารณสุขให้ไปรับใช้ประชากรโดยใกล้ชิด เช่น ขับรถพาไปส่งหมอ แวะไปเยี่ยมดูแลที่บ้านหลังการผ่าตัด และกำชับดูแลให้เด็กๆได้รับการฉีดวัคซีนตามเวลา

แพทย์หญิง เดบรา จอห์สัน แพทย์ศัลยกรรมตกแต่งอีกผู้หนึ่ง ซึ่งได้อาสาสมัครไปช่วยเด็กคิวบามาสามปีแล้วกล่าวว่า "ระบบของเค้าก็เป็นคล้ายๆการแพทย์แบบหยิบฉวยเอาของใกล้ตัวมารักษา ชาวคิวบามีความสามารถเป็นเยี่ยม ในการประดิษฐ์สร้างสรรค์อะไรขึ้นมา จากความไม่มีอะไรเลย"

แพทย์ชาวคิวบาอีกท่านหนึ่ง คือ นายแพทย์ เฮนรี วาซเควซ อายุ ๒๗ ปี ดูแลชาวบ้านในความรับผิดชอบประมาณ ๔๘๐ คน อยู่ที่หมู่บ้านเชิงเขาที่เรียกว่า Boquerones เขาไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเอ๊กซเรย์ บางครั้งยังต้องทำยาสมุนไพรใช้เอง จากสวนผักที่ปลูกสมุนไพรใกล้ๆบ้านด้วยซ้ำ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หารถหาราไม่ได้ ก็พาคนไข้ขี่ฬ่่อไปโรงพยาบาลที่อยู่ไกลออกจากหมู่บ้านไป ๔ ไมล์ เมื่อคุณหมอวาซเควซเดินผ่านหมู่บ้านเล็กๆแห่งนี้ ผ่านบ้านห้องแถวหลังคาสังกะสี ต้นมะม่วง และฝูงไก่จิกหาอาหารบนลานดิน เด็กหนุ่มๆก็หยุดทักทาย แม่บ้านโบกมือไหวๆในประตูบ้าน เขาก็หยุดตบหลังชาวบ้านเบาๆเป็นการทักทาย แล้วไต่ถามทุกข์สุขความเจ็บไข้ได้ป่วยที่เคยมี หรืออาจมี

คุณหมอวาซเควซสามารถร่ายสถิติเกี่ยวกับคนไข้ได้อย่างขึ้นใจ - มีคนไข้ ๔๕ คนที่อายูเกิน ๖๐ อีก ๘ คนอ่อนกว่าหนึ่งขวบ ในหมู่บ้านนี้มีเด็กเกิดปีละประมาณ ๒๐ คน และไม่มีคนไข้โรคเอดส์หรือที่ติดเชื้อ HIV คุณหมอบอกว่า เขาชอบให้การดูแลแบบปฐมรักษาแบบนี้ คิดว่าไม่ว่าจะมีเหตุฉุกเฉินเพียงไร ก็จะสามารถรับมือได้ในคลีนิคในหมู่บ้านเล็กๆแห่งนี้ แต่อีกสักสองสามปี ก็อยากหาประสบการณ์ด้านอื่นบ้างที่มันตื่นเต้น เช่น ไปทำงานในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลในเมืองบ้าง "ถ้าผมเลือกที่ยะย้ายไป ผมก็ยังรู้สึกว่า ได้ทำอะไรๆที่มีประโยชน์ต่อชุมชนแห่งนี้ไว้แล้ว" คุณหมอสรุป



708
โรงงานผลิตสบู่ในญี่ปุ่นประสบปัญหา
เมื่อส่งสินค้าไปแล้วลูกค้าบ่นเรื่องบางกล่อง ไม่มีสบู่ เป็นกล่องเปล่าๆ

ทางโรงงานติดตั้งเครื่อง X-Ray เพื่อตรวจสอบ
ใช้เงินลงทุนไปหลายล้านเยน กล่องไหนไม่มีสบู่ก้อตรวจจับได้
ทำให้สามารถส่งสบู่ที่ไม่มีกล่องเปล่าอีก

แต่โรงงานเล็กๆ อีกโรงประสบปัญหาเดียวกัน
ช่างคุมงานใช้พัดลมตัวใหญ่ๆ เป่าลมบนสายพาน
กล่องเปล่าก็ปลิวออกไป

เมื่อคุณเจอปัญหา ลองเปลี่ยนวิธีคิด
แล้วคุณจะประหลาดใจ

709
อเมริกาส่งนักบินไปในอวกาศเจอปัญหาปากกาเขียนไม่ออก
ไม่สามารถเขียนบันทึกได้
นักวิทยาศาสตร์ระดมปัญญาเพื่อประดิษฐ์ปากกา
ที่สามารถเขียนในภาวะไร้แรงโน้มถ่วงได้
ต้องทุ่มเงินหลายร้อยล้านเหรียญและใช้เวลาไปหลายปี

ในที่สุดได้ปากกาที่สามารถเขียนได้ทุกพื้นผิว
แม้ใต้น้ำก้อเขียนได้
ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง

แต่นักบินอวกาศรัสเซีย ประสบปัญหาเดียวกัน
ใช้ดินสอเขียนแทนปากกา

เมื่อคุณเจอปัญหา ลองเปลี่ยนวิธีคิด
แล้วคุณจะประหลาดใจ


710
20 อย่างที่สุดของชีวิตคนเรา
กวีนิรนาม

1. ศัตรูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนเรา คือ ตัวเอง
คนเราส่วนใหญ่มักนึกว่า คนที่ไม่ดีกับเรา คือศัตรูของเรา
แต่ว่าโดยความเป็นจริงแล้ว ศัตรูที่สำคัญที่สุดไม่ใช่คนอื่น แต่เป็นตัวเราเอง
เพราะว่า ศัตรูนอกกายเรามองเห็นได้ง่าย ง่ายที่จะป้องกัน
แต่สำหรับตัวเองแล้ว ยากที่จะรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้
ยากที่จะบังคับตัวเองได้ ตัวเราไม่สามารถจะห้าม กิเลสและความโลภได้
นิสัย ความโกรธแค้นก็ไม่สามารถระงับได้
เลยกลายมาเป็น ตัวเองเป็นศัตรูกับตัวเอง เที่ยวไปหาเรื่องและนำความเดือดร้อนมาใส่ตัว

2. โรคประจำตัวที่ร้ายแรงที่สุดของเรา คือ ความเห็นแก่ตัว
ร่างกายของ คนเรามีเลือดเนื้อ ย่อมจะหลีกหนีไม่พ้นที่จะ
มีการแก่ ป่วย ตาย แต่ว่าความเจ็บป่วยในใจร้ายแรงกว่า
ความเจ็บป่วยในใจคืออะไร คือความเห็นแก่ตัว เพราะความเห็นแก่ตัวจึงทำให้มีจิตใจคับแคบ
ดังนั้น นอกจากเราจะต้องดูแลรักษาสุขภาพ ไม่ให้เจ็บป่วยแล้ว
ยังต้องรักษาความ เห็นแก่ตัวในใจให้หายด้วย

3. สิ่งที่น่าเศร้าที่สุดของคนเรา คือ ความไม่รู้
คนเราไม่ใช่ไม่มีทรัพย์สินเงินทอง ไม่มีอำนาจวาสนา
ไม่ มีงานทำ แต่เป็นความไม่รู้ ไม่เข้าใจความเป็นจริงของโลก
ไม่รู้ว่าสิ่ง ต่างๆในโลก ล้วนเกิดจากเหตุและปัจจัย มีเหตุต้นผลกรรม

4. สิ่งที่ผิดพลาดที่สุดในชีวิตของคนเรา คือ การมีมุมมองที่ผิด
คนเรา เมื่อทำความผิดแล้ว หากเป็นความผิดพลาดเรื่องงาน ยังทำการแก้ไขได้
มุม มองที่ผิด ความคิดที่ผิด ไม่แต่ไม่รู้จักแก้ไขให้ถูก แต่ยังคิดว่าตัวเองคิดถูกทำถูก
นี่เป็นสิ่งที่คนในสังคมยุคปัจจุบันเป็น กันมากที่สุด เป็นเรื่องที่น่ากลัวจริงๆ

5. ความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ของคนเรา คือ ความเย่อหยิ่ง
ดังคำที่ว่า “ความอ่อนน้อมถ่อมตนมักจะนำผลประโยชน์มาให้ แต่ความเย่อหยิ่งจองหองมักจะนำโทษมาให้”
คนเราไปไหนหากนึกแต่ว่าตัวเอง เก่ง ตัวเองเลอเลิศ
ไม่ว่าจะไปที่ไหน ย่อมไม่ได้การต้อนรับจากที่นั่น
ดัง นั้นความเย่อหยิ่ง จองหอง จึงเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่

6. สิ่งที่ทำให้เราทุกข์กังวลที่สุดในชีวิตของ คือ กิเลส
มีคนบอกว่า โลกของเราเต็มไปด้วยความทุกข์ เศร้า กังวล
อะไรคือความทุกข์ที่สุดหรือ? บางคนบอกว่า ปากท้อง บางคนบอกว่าความรัก
แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่ทำให้เราทุกข์กังวลมากที่สุดคือ กิเลส
ทรัพย์สินเงินทอง รูปร่างหน้าตา อาหารการกิน ลาภยศ วาสนา
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เรา อยากมี อยากเป็น เมื่ออยากได้ไม่รู้จักพอ
ย่อมเกิดความทุกข์กังวล จึงเป็นเหตุให้เราทุกข์ไม่มีสิ้นสุด

7. สิ่งที่ทำให้เราไม่รู้ที่สุด คือ ความโกรธแค้น
ไม่รู้คือความไม่ เข้าใจในเหตุผลต่างๆ เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่สมหวัง
ดังใจ ก็โกรธ เพ่งโทษผู้อื่น โกรธเคืองฟ้าดิน
แม้แต่แม้กับคนในครอบครัว สังคม หรือประเทศชาติ
หรือขณะที่เคืองแค้นก็ขว้างปา ทำลายสิ่งของของตัวเอง
นี่ คือความไม่รู้ที่สุดของคนเรา ไม่เคยโทษตัวเอง ได้แต่โทษผู้อื่น

8. สิ่งที่คนเราเป็นห่วงกังวลที่สุด คือ ความเป็นความตาย
ยังมีชีวิต อยู่ก็ชิงดีชิงเด่น อยากมีชื่อเสียง กลั่นแกล้งผู้อื่น
ครั้นเมื่อ อนิจจังมาถึง ก็กลัว หน้าที่การงาน ทรัพย์สมบัติ
ความรัก จะหายไปในชั่วพริบตา ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นหรือตาย
ก็เป็นห่วงกังวลได้ทุก ขณะ

9. ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนเรา คือ การไปทำร้ายผู้อื่น
ทำลายชีวิตของผู้อื่น ทำลายชื่อเสียง ขโมย หรือล่วงละเมิดทางเพศ
หรือทำสิ่งไม่ดีต่างๆนานา

10. สิ่งที่ลำบากใจที่สุดในชีวิตของคนเรา คือ ถูกผิด
มีคนพูดว่าอยู่ที่ ไหนก็ต้องมีถูกผิด ถูกหรือผิด
สร้างความลำบากใจให้เราได้ไม่มากก็น้อย ความถูกผิดมีได้ทุกที่
หากเราไม่ไปฟังเรื่องราวของผู้อื่น ก็ย่อมจะไม่เกิดอะไรขึ้น
เพียงแต่เราไม่ไปฟังเรื่องราวของผู้อื่น ไม่ไปต่อความยาวสาวความยืดของผู้อื่น
ก็ไม่ต้องนำความลำบากใจให้กับตนเอง
จึงเป็นความพ่าย แพ้ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของคนเรา

11. คุณธรรมอันดีงามที่สุดของคนเรา คือ ความเมตตา
ความดีงามของคนเราไม่ ได้อยู่ที่ความสวยงาม
การมีทรัพย์สินมากมาย มีความสามารถล้นเหลือ
ดัง นั้นยอมที่จะเป็นคนไม่มีความสามารถอะไร
ไม่มีการศึกษา แต่จะไม่ยอมให้ขาดความเมตตา
เพราะความเมตตา คือ คุณธรรมอันแท้จริง

12. ความกล้าหาญที่สุดของคนเรา คือ กล้ายอมรับผิด
คนเราต้องมีความกล้า ความกล้าไม่ใช่กล้าชกต่อยกับผู้อื่น
และก็ไม่ใช่ไปชิงดีชิงเด่นกับผู้ อื่น เอาชนะคะคานกับผู้อื่น
แต่เป็นการรู้สำนึกว่าบางสิ่งตัวเองไม่ควร พูด ไม่ควรทำอย่างนั้น
ไม่ควรไปขัดขวางอย่างนี้ คนที่สามารถรู้สำนึกว่าตัวเองผิด
จึงจะเป็นผู้กล้าหาญที่สุด

13. รายรับที่มากที่สุดของคนเรา คือ ความรู้จักพอ
ทุกๆคนก็หวังแต่จะ ให้ตัวเองได้ ตัวเองประสบผลสำเร็จ ได้รับผลประโยชน์
หากไม่รู้จักพอ แม้จะนอนอยู่บนวิมาน กับเหมือนกับนอนอยู่ในนรก
หากรู้จักพออยู่ในนรก ก็เหมือนกับอยู่บนวิมาน
ดังนั้นความรู้จักพอจึงเป็น เป็นรายรับที่มากที่สุด

14. การบุกเบิกทรัพยากรที่มีอยู่ของตัวเองที่มีค่ามากที่สุด คือความศรัทธา
ใครๆ ก็พูดกันว่า ต้องบุกเบิกทรัพยากรมาใช้
ทรัพยากรนั้นไม่ได้หมายถึง สินแร่ในป่า สิ่งล้ำค่าในทะเล และก็ไม่ใช่ก๊าซธรรมชาติ
แต่ในความศรัทธา มีทรัพย์สิน มีคุณธรรม มีสิ่งล้ำค่า

15. สิ่งที่คนเราควรมีให้มากที่สุด คือ ความรู้สำนึกในบุญคุณของผู้อื่น
คน ประเภทไหนร่ำรวยที่สุด คนประเภทไหนยากจนที่สุด
คนยากจนคือคนที่อยากจะ ได้อยู่ร่ำไป คนมั่งมีคือคนที่มีแต่ความรู้สึกขอบคุณ
และคิดแต่จะเจือจาน ช่วยเหลือผู้อื่น
ดังนั้น ผู้ที่มีความรู้สึกสำนึกในบุญคุณ ถนอมสิ่งที่ตนมีอยู่ จึงเป็นผู้ที่มีมากที่สุด

16 . สิ่งที่ควรบ่มเพาะให้มีมากที่สุด คือ ความใจกว้าง
ทุกคนก็หวังจะให้ ตัวเองเป็นผู้มีการศึกษาอบรม
ดังมีคำกล่าวว่า “ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความนุ่มนวล แต่จะต้องเคร่งครัดต่อตัวเอง”
คน อื่นจะปฏิบัติต่อเราดีหรือไม่ เราก็สามารถเข้าใจ
และยอมรับได้ นี่คือสิ่งที่ควรบ่มเพาะให้มีมากที่สุด

17. ต้นทุนที่มากที่สุดของคนเรา คือ ศักดิ์ศรี
คนจะเป็นคนได้ต้องมี ศักดิ์ศรี ก็เพราะว่าคนเรามีศักดิ์ศรี
ด้วยเหตุนี้อะไรก็เสียสละได้ แต่ว่าเมื่อผ่านการบีบคั้นของ
ความเสียสละก็ยังคงเหลือศักดิ์ศรีไว้ ดังนั้นสำหรับศักดิ์ศรีความ
เป็นคนของทุกคนจึงต้องให้ความสำคัญ และรักษามันไว้

18. ความปลื้มปีติที่มากที่สุดของคนเรา คือ ความสุขจากรสพระธรรม
คนส่วนใหญ่มักจะหาความสุขจากสิ่งล่อที่เป็น กิเลสและวัตถุ
เช่นจากคำชมเชยเพียงคำเดียว ก็เป็นปลื้มไปเสียครึ่งวัน
แต่ ความสุขจากคำชมเชยเดี๋ยวเดียวก็ผ่านไปแล้ว
ความสุขที่ได้จากการมี ทรัพย์สิน แต่ว่าทรัพย์สินก็เหมือนสายน้ำไหล ชั่วประเดี๋ยวก็ใช้หมดแล้ว
ความ สุขที่ได้จากการท่องเที่ยว แต่ว่าพันลี้หมื่นลี้กระพริบตาผ่านไป ความสุขก็ผ่านไป
มีความปลื้มปีติเพียงสิ่งเดียวที่จะยังอยู่ตลอดไปคือ ความสุขจากรสพระธรรม
ปีติสุขจากธัมมะ ได้จาก ปัญญา ตัวรู้ และการภาวนา
เป็น สิ่งที่สามารถมีได้ตลอดชีวิต ไม่สูญสลายตลอดไป

19. ความหวังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนเรา คือ ความปลอดภัย
ทรัพย์สินเงิน ทองและเกียรติยศ เป็นสิ่งที่คนปรารถนาอยากมีมากที่สุด
แต่ว่าเมื่อได้ ทรัพย์สินและชื่อเสียงแล้ว ก็ขาดความปลอดภัย
ชีวิตอย่างนี้ย่อมไม่มี ความหมาย ดังที่กล่าวว่า
ความปลอดภัย สงบสุขคือวาสนา

20 . สิ่งที่ควรจะสร้างให้มีมากที่สุด คือ เพื่อประโยชน์สุขของมวลชน
ประโยชน์ สุขของมวลชนได้จาก เมตตาจิต ความมีน้ำใจที่ดีงาม
เช่นพูดในสิ่งที่มี ประโยชน์ให้กับทุกคน
ทำในสิ่งที่มีประโยชน์ให้กับทุกคน
จะสร้างถนน หรือสร้างสะพาน ขอเพียงให้เป็นประโยชน์กับทุกคน
ตัวเองก็ยินดีที่จะเสีย สละแรงงานและแรงใจที่จะไปช่วย

711
น่าเสียดาย ที่เรามีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
         แต่ เรากลับศรัทธาไสยศาสตร์หัวปักหัวปำ   
 น่า เสียดาย ที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่แสนดี
         แต่ เรากลับมีคนโกงกินเต็มบ้านเต็มเมือง   
น่าเสียดาย ที่เรามีวัดอยู่เกือบทุกหมู่บ้าน/ตำบล
         แต่ เรากลับมากด้วยคนขาดจริยธรรมอยู่ทั่วไป
น่าเสียดาย ที่เราสถาปนาประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475
         แต่ เรากลับมีปฏิวัติ/รัฐประหารมาแล้ว 14 ครั้ง   
   น่าเสียดาย ที่เรามีมหาวิทยาลัยมากมายติดอันดับโลก
         แต่ เรากลับโชคร้ายที่คนไทยชอบดูดวงบวงสรวงเทพยดา 
น่าเสียดาย ที่เรามีป่าไม้-แม่น้ำ-ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
         แต่ เรากลับเทิดทูนการทำลายแทนการรักษา   
น่าเสียดาย ที่เรามีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
         แต่ เรากลับเก่ง "การลอกเลียนแบบ" เป็นที่สุด
น่าเสียดาย ที่เรามีสื่อมวลชนมากมายไร้พรมแดน
         แต่ เจ็บปวดเหลือแสนเมื่อสื่อมวลชนมุ่งแต่การขายสินค้า 
น่าเสียดาย ที่เรามีกฎหมาย
         แต่ เรากลับปล่อยให้มี การใช้กฎหมู่จนเป็นเรื่องธรรมดา  
น่าเสียดาย ที่เรามีหนังสือมากมายหลายพันเล่มในห้องสมุด
         แต่ สถิติสูงสุดคือเราอ่านหนังสือกันปีละ 8 บรรทัด 
น่าเสียดาย ที่เรามีอินเทอร์เน็ตใช้ก่อนประเทศในโลกที่สาม
         แต่ เรากลับเสื่อมทรามเพราะใช้ส่งภาพถ่ายคลิปโป๊   
น่าเสียดาย ที่เรามีโทรทัศน์หลายสิบช่อง
         แต่ เรากลับจ้องจะดูแต่ละครน้ำเน่า   
น่าเสียดาย ที่เรามีพ่อแม่อยู่ในบ้าน
         แต่ เรากลับปล่อยให้ท่านอยู่อย่างเปลี่ยวเหงา
น่าเสียดาย ที่เราสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้
         แต่ เรากลับชอบใจที่จะเป็นคนเลวตลอดกาล   
น่า เสียดาย ที่เราเป็นอิสระจากความอยากได้
         แต่ เรากลับพึงใจอยู่กับการสนองความอยาก
น่าเสียดาย ที่เราบรรลุนิพพานได้ในชาตินี้
         แต่ เรากลับยินดีอยู่แค่การทำบุญให้ทาน



712
คำทำนายที่เคยมีช้านานนัก               เริ่มประจักษ์ให้เห็นเร้นไม่ได้
หลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยทำนาย            เมื่อถึงปลายรัชกาลผ่านเข้ามา

ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง       น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า
พวกกาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา               เป็นประชาจนเต็มพระนคร

ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน             ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุก สิงขร
ออกพระนามลือ ชื่อดั่งทินกร              องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน

ชาวประชาจะปิติยิ้มสดใส                 แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น
จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน                 เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสม จินตนา

จะมีการต่อ ตีกันกลางเมือง                ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า
คอรัปชั่นจะกัดกร่อนทั้งพารา              ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร

ข้าราชการ ตงฉินถูกประณาม              สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้
เกิดวิกฤติผิดเพี้ยนโดยทั่วไป               โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี

ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว                 ถ้วนทุกทั่วจะหมุดขุดรู หนี
ไม่แน่ใจสิ่ง ที่ทำนำความดี                 เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน

พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ                  มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ
เกิดวิกฤติธรรมชาติอุบาทว์ครัน            พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย

แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก    เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำ ระสาย
เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย            เลือดเป็นสายน้ำตานองสอง แผ่นดิน

ข้าเป็นนายนายเป็นข้าน่าสมเพช           ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น
ทั้งพฤฒาอาจารย์ลือระบิล                  จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสาย ลม

ความระทมจะถมทับนับเทวศ              ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม
คนที่ดีจะก้ม หน้าสุดระทม                  ส่วนคนชั่วหัวร่อร่าทำท่าดัง

จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว              ควงคฑามุ่งสู่ดาวสร้าง ความหวัง
ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง              สายน้ำหลั่งกรากเชี่ยวหวาดเสียวใจ

ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม                    หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืน ได้
จะเข้าสู่ ยุคมหาชนพาไป                    เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา

คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น     แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา
ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา         ยามเมื่อฟ้าศรีทองผ่องอำไพ...   


หน้า: 1 ... 46 47 [48]