ผู้เขียน หัวข้อ: สช.ร่วมเครือข่ายสมัชชาฯ พัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ  (อ่าน 1132 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
 สช.รวมพลังเครือข่ายสมัชชาฯ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส พัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ พร้อมรับมือทุกภัยในอนาคต เน้นสร้างชุมชนเข้มแข็งช่วยเหลือตัวเองก่อน
       
       วันนี้ (9 ม.ค.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานปฏิรูป (สปร.) แถลงข่าวเปิดเวที “สังเคราะห์บทเรียน : จากมหาอุทกภัย สู่ขอเสนอการพัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ” โดยร่วมกับสมัชชาเครือข่ายกว่า 20 องค์กรทั่วประเทศ อาทิ สถาบันองค์กรชุมชน (พอช.) สถาบันระบบสาธารณสุข (สวรส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เครือข่ายจิตอาสา สมาคมผังเมืองไทย เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.)       
           
       นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า จากสถานการณ์มหาอุทกภัยที่ผ่านมา ทุกฝ่ายไม่ควรปล่อยให้ผ่านไปโดยปราศจากการทบทวนบทเรียน และแทนที่จะเห็นเพียงแค่ด้านลบของหายนะ ทุกภาคส่วนน่าจะพลิกเปลี่ยนความทุกข์เป็นความหวัง และโอกาสในการร่วมมือกัน โดยใช้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นเวทีสาธารณะในการสร้างระบบการจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
       
       
       “สมัชชาสุชภาพครั้งนี้ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้ดำเนินงานภายใต้แนวคิดหลักเรื่องการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติอยู่ก่อนแล้ว แต่ด้วยน้ำท่วมที่ผ่านมานั้น เป็นเหตุสุดวิสัยต้องเลื่อนการจัดงานออกไปเป็นวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2555 ระหว่างนี้จึงใช้เวลาในการปรับปรุงร่างข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทาง สช.จึงร่วมมือกับ สปร.และภาคีเครือข่ายกว่า 20 องค์กร ระดมความรู้ความคิดและประสบการณ์ ร่วมประชุมกันอย่างจริงจังในการสร้างระบบจัดการภัยพิบัติอย่างรอบด้านและมัประสิทธิภาพสูงสุด" เลขาธิการ กล่าว
         
       นพ.ศุภกิจ  ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในส่วนระบบการแพทย์การสาธารณสุขเพื่อรับมือภัยพิบัติ ว่า ระบบการแพทย์ในสถานการณ์คับขัน จำเป็นต้องได้รับการสัังเคราะห์บทเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยครั้งต่อไป จะเป็นการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ระบบสื่อสาร การจัดการอาหาร เครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นทุกชนิด ยานพหนะสำหรับการขนส่ง และขยะ การเตรียมระบบการออกหนาวยพยาบาลเคลื่อนที่ การเตรียมสถานที่รักษาผู้ป่วยนอกสถานพยาบาล ระบบการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากพื้นที่ประสบภัย การฝึกฝนเสริมทักษะให้แก่บุคคลสาธารณสุข และอาสาสมัครในช่วงวิกฤต ตลอดจนการวางแผนระยะยาว เช่น กฏหมายควยคุมอาคารสถานพยาบาลที่ต้องอำนวยต่การทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน
         
       “กระทรวงสาธารณสุข ได้ตื่นตัว  เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตั้งแต่ก่อนสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาแล้ว พอเกิดน้ำท่วมใหญ่ทำให้พบข้อบกพร่องหลายอย่างที่ต้องนำมาแก้ไขปรังปรุง จนได้หลักการ 2p2R คือ การเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ (Preparation) ตั้งแต่เวชภัณฑ์จำเป็นไปจนกระทั่งการส่งต่อผู้ป่วย การวางระบบป้องกัน (Prevention)ที่มีประสิทธิภาพ เช่น การข่าวและการประสานงานกับเครือข่ายเฝ้าระวัง ด้ารการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินก็สำคัญ จึงแบ่งคณะทำงานจัดการแต่ละเรื่องโดยเฉพาะทั้งหมด 10 เรื่อง และต้องมีการจัดการหลังเกิดภัยแล้ว ซึ่งจะเป็นเรื่องของการฟื้นฟูเยียวยาทั้งคนสิ่งแวดล้อม สถานบริการ รวมถึงงบประมาณด้วย” ผอ.สำนักนโยบาย กล่าว
         
       นพ.พลเดช  ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา กล่าว่า ชุมชนต่างๆ มีการสรุปบทเรียน หลังจากที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำป่าที่ภาคใต้หลายปีที่ผ่านมา หรือเหตุการณ์ดินถล่ม จมมาถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ชุมชนได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเอง โดยไม่รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ และภัยพิบัติยังเตือนให้ชุมชนต้องริเริ่มจัดวางระบบและการจัดการต่างๆ ในการรับมือกับภัยพิบัติทุกประเภทอย่างจริงจัง โดยอาศัยทุนทางสังคมของตน และเสริมด้วยฐานพลังความรู้เชิงวิชาการและพลังทางสังคมจากทุกเครือข่าย”  นพ.พลเดช กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 มกราคม 2555