ผู้เขียน หัวข้อ: เครือข่ายพุทธิกาเปิดสายด่วนให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายโทร.ปรึกษา  (อ่าน 657 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9763
    • ดูรายละเอียด
 น.ส.นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ ผู้ประสานงานโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา กล่าวว่า คนเจ็บนั้นไม่ได้ต้องการเพียงแค่การเยียวยาทางกายเท่านั้น การเยียวยาทางจิตใจก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน ยิ่งคนที่เจ็บหนัก อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต การเยียวยาทางจิตใจยิ่งมีความสำคัญมากกว่าด้วยซ้ำ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ป่วยมีใจสงบ ยอมรับความตายได้ ก็หายทุรนทุราย แม้อาการทางกายจะทรุดหนักลงเป็นลำดับจนยากแก่การเยียวยารักษาได้แล้วก็ตาม ดังนั้นการน้อมจิตระลึกถึงสิ่งดีงาม ด้วยการใช้สติกำกับเป็นแนวทางสำคัญของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการเยียว ยาช่วยเหลือทางด้านจิตใจ ช่วยทำให้ผู้ป่วยสัมผัสและน้อมนำไปสู่ความสงบในระยะสุดท้ายของชีวิตได้ จากประสบการณ์ของเครือข่ายพุทธิกาที่ได้ดำเนินโครงการเผชิญความตายสงบมา ตั้งแต่ปี 2547 มีผู้สนใจทั้ง ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ญาติ อาสาสมัคร คนทั่วไป และบุคลากร แพทย์ พยาบาล มากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกิจกรรมการอบรม ของโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เน้นการเรียนรู้ให้มีแนวทางนำไปปฏิบัติได้ มีทัศนคติต่อการตายดีและการมีชีวิตอยู่ รวมไปถึงการช่วยเหลือทางด้านจิตใจของผู้ป่วยระยะสุดท้าย แต่กิจกรรมการอบรมยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการเข้าร่วมได้มากนัก เนื่องจากยังมีข้อจำกัดต่างๆ เช่น เวลาในการจัดอบรม วิทยากรไม่เพียงพอ
       
       น.ส.นงลักษณ์กล่าวต่อว่า เครือข่ายพุทธิกาจึงได้จัดทำโครงการใหม่เพื่อเปิดพื้นที่การช่วยเหลือทางด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ตัวผู้ป่วย ผู้ดูแล คนสนใจเข้าถึงได้สะดวกขึ้น โดยการติดต่อทางโทรศัพท์ขอคำปรึกษาภายใต้โครงการ “สายด่วนให้คำปรึกษาทางจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย 0-2882-4952” ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-16.00 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2555 ให้บริการโดยจิตอาสา หัวใจของงานสายด่วนให้คำปรึกษาทางจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการเยียวยาทางด้านจิตใจ ก้าวข้ามความทุกข์อย่างมีสติ หมายถึง ผู้ปรึกษาเกิดกำลังใจ มั่นใจ สามารถไตร่ตรอง ตัดสินใจ คลี่คลายปัญหา อย่างมีสติ ทำให้ได้พูดคุยเพื่อให้ผู้รับบริการผ่อนคลายความกังวลใจ ได้ทบทวน เห็นทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของตนเอง หรือเกิดความมั่นใจขึ้นในการหาทางออกของปัญหา ซึ่งช่องทางการติดต่อทางโทรศัพท์ช่วยในเรื่องของความสะดวก ไม่ต้องกังวลกับการแสดงออก จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้สามารถเผชิญความตายอย่างสงบได้ในที่สุด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    17 เมษายน 2555