ผู้เขียน หัวข้อ: ขบวนการทำลายระบบสาธารณสุขของประเทศไทย...โดย กาสะลอง  (อ่าน 3171 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9782
    • ดูรายละเอียด

                เริ่มต้นจาก “มีแพทย์กลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกัน โดยมีแพทย์โรงพยาบาลอำเภอเป็นหลัก ตั้งกลุ่มเรียกว่า “ชมรมแพทย์ชนบท” ซึ่งเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2519 มี อาจารย์แพทย์ศิริราช เป็นพี่เลี้ยง ได้มีกิจกรรมที่แสดงออกถึงอุดมการณ์ที่จะช่วยเหลือประชาชนในชนบท จนกระทั่งมีภาพพจน์เป็นพระเอก เสียสละ เป็นฮีโร่ ในสายตาคนทั้งประเทศ และมีการร่วมกันทำงานกับกลุ่ม NGO จนดูเป็นกลุ่มเดียวกัน แล้วมีพวกที่อยากมีอุดมการณ์ไปร่วมด้วย มีทั้ง แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบางกลุ่ม ต่อมาได้มีการตั้ง “มูลนิธิ” “เครือข่าย” “กลุ่ม” มากมายหลากหลายชื่อ” นี่คือฉากหน้า(ภาพพจน์)

                คนในกลุ่มชมรมแพทย์ชนบทนี้ ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนสำคัญได้ฝักใฝ่ลัทธิสังคมนิยม บางคนก็เป็น “คนเดือนตุลา” เข้าป่ามาแล้ว และกลับมาเรียนแพทย์จนจบ และก็คนอื่นๆ เช่น ผู้ร่วมก่อตั้งชมรมแพทย์ชนบท และแพทย์ที่อยู่โรงพยาบาลชุมชนอีกมาก ได้ทำงานเป็นเครือข่ายเรียกศรัทธาประชาชน และได้มีการแจกรางวัล “แพทย์ชนบทดีเด่น” เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักว่า “แพทย์กลุ่มนี้ดีเหลือเกิน เป็นผู้เสียสละเพื่อคนทุกข์ยาก ทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง” จะทำโครงการอะไรออกมา ก็มีภาพเพื่อสังคม จนเป็นที่รู้กันว่า ทุกๆ ปี จะมีฮีโร่ของกลุ่มแพทย์ชนบทออกมาโชว์ ในหน้าสื่อต่างๆ ตลอดมา

                ผู้นำตัวจริงก็คือเจ้าของทฤษฎี “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” นั่นเอง ได้ใช้เวลาที่ผ่านมาบ่มเพาะความคิดที่อยาก “ปฏิรูประบบสาธารณสุข” ให้กับสมาชิกหน้าใหม่ของกลุ่มไปเรื่อยๆ และมีปฏิบัติการณ์ที่ชัดเจน คือ ปฏิรูประบบสุขภาพด้วยการร่วมกันกับกลุ่มแพทย์ที่ก่อตั้งมูลนิธิแพทย์ชนบท เป็นฐานทัพใหญ่ ต่อมาก็มีสร้างผลงาน คือ พ.ร.บ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) พ.ศ.2535 เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้กำกับของ รมว. สธ. ซึ่งได้ออกลูกหลานมาเป็น..

1. สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อปี 2544
2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อปี 2545
3. สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.)
    และสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน(AIHD) เมื่อปี 2549
4. สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เมื่อปี 2550
5. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) เมื่อปี 2550
6. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) เมื่อปี 2552
7. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) – สรพ. (HAI) เมื่อปี 2552

                ตระกูล “สารพัด ส.” นี้มีความเลวร้ายเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ อยู่เหนือกฎหมาย เขียนกฎใช้เอง ที่ใหญ่กว่า สตง. จึงไม่มีใครตรวจสอบการใช้เงินได้ เขาเขียนระเบียบใช้เงินเอง และสามารถเปลี่ยนระเบียบเมื่อไหร่ อย่างไร ก็ได้ ตามต้องการ เช่น เลขาฯ ของสำนักเหล่านี้ เงินเดือน 300,000 บาท เบี้ยประชุม ครั้งละ 13,000-16,000 บาท มีเงินบริหารจัดการสำนักงาน 1-10% ของงบที่บริหารอยู่เป็นค่าหัวคิว เช่น สปสช. บริหารเงินรายหัว ค่ารักษาของผู้ป่วยบัตรทอง ปีละมากกว่าแสนล้านบาท ก็จะมีเงินปีละกว่าพันล้านบาท เช่นปี 2553  บริหารเงิน 1.4 แสนล้านบาท ก็มีเงินบริหารจัดการสำนักงานไปใช้ 1.4 พันล้านบาท มีผู้ร่วมใช้ 86 คน ต้องเหน็ดเหนื่อยแสนสาหัส เพราะต้องใช้ให้หมดปีต่อปี ไม่ให้เหลือข้ามปี

                ผู้ที่เข้าไปเป็นบุคลากรใน “ตระกูล ส.” นี้ จะถูกคัดเลือกมาจาก “ราษฎรอาวุโส” โดยมีแพทย์สองสามคนเป็นแกนหลัก แล้วก็ใส่ทีมเพิ่มเติมเข้าไป คือ NGO กลุ่มนี้ เช่น NGO ด้านคุ้มครองผู้บริโภคไปเป็นกรรมการ สปสช. นับสิบคน เป็นต้น สรุป “ตระกูล ส.” นี้ บริหารเงินเข้ากระเป๋ากลุ่มตัวเองเป็นหลัก ไม่มีใครมาตรวจสอบ ทำอย่างไรก็ได้ ไม่เคยโปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ สร้างความวิบัติฉิบหายมากมายแก่ระบบสาธารณสุข เช่น 9 ปีของ สปสช. ทำให้โรงพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุข ขาดทุนล่าสุด สี่พันกว่าล้านบาท และเจ๊งสนิท 500 กว่าแห่งในจำนวนทั้งหมด 800 กว่าแห่ง และทำให้การบริการประชาชนเต็มไปด้วย “ของ... ราคาถูก” คุณภาพเป็นอย่างไรคงพอเดากันได้ แม้ สปสช. จะเถียงคอเป็นเอ็นว่า ตน “ไม่ใช่ต้นเหตุของการขาดทุน” ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะว่า จ่ายเงินค่ารักษาไม่ครบ(รักษาหมดไปกี่บาทก็ตาม แต่ก็จ่ายตามที่เขาพอใจจะจ่าย) เช่น รักษาคนไข้มะเร็ง 1 ราย หมดค่ายา ค่าตรวจเลือดไป 120,000 บาท สปสช. จ่ายคืนไม่เกิน 4,000 บาท คูณกับ 12 ครั้ง เท่ากับ 48,000 บาท ส่วนที่เหลือต้องทำใจและทำบุญ คือขาดทุนทุกๆ ครั้งไป ทุกๆ ปี ก็ขาดทุนสะสมกันไปเรื่อยๆ เพราะ สปสช. ไม่เคยจ่ายครบ แต่ไม่มีใครสามารถทำอะไรได้เลย และห้ามเก็บเงินเพิ่มจากคนไข้เป็นอันขาด มิฉะนั้น สปสช. จะฟ้องทันที พอโรงพยาบาลขาดทุนชัดเจนขนาดนี้แล้ว สปสช. บอกว่า “ไม่เกี่ยวกับฉัน” แล้วก็โบ้ยไปต่างๆ นานา และไม่รับผิดชอบใดๆ  “ส.” อื่นๆ ก็พอๆกัน เช่น สสส. เอาภาษีบาปจากรัฐบาลมาใช้ ปีละหลายพันล้าน ส่วนใหญ่ 90% ให้ NGO ทำโครงการเบิกไปใช้ทุกรูปแบบ และที่เหลือก็เอาไปซื้อสื่อ ทำประโยชน์ต่อสาธารณะได้น้อยนิด

                สปสช. ยึดเงินกระทรวงสาธารณสุขไปจนหมด เช่น เงินเดือนของค่าราชการทั้งหมด งบลงทุนทั้งหมด งบส่งเสริมป้องกันโรคทั้งหมด แล้วก็ได้ค่าหัวคิวไป 1% (พันกว่าล้านบาท) แล้วกระทรวงสาธารณสุขก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ โดยได้แต่นั่งทำตาปริบๆ ปกป้องตัวเองก็ไม่ได้ เอาเงินคืนก็ไม่ได้ กระทรวง สธ. ก็ค่อยๆ ฝ่อลง ทั้งกำลังใจ ผลงาน และความคิด ล่มสลายไปอย่างช้าๆ ทุกวันนี้ โรงพยาบาล สถานีอนามัย ซึ่งเปรียบเสมือนลูกของกระทรวง สธ. ก็ไม่สนใจพ่อแม่(สธ.)คอยฟังเสียงเจ้าของเงิน(สปสช.) สั่งให้ทำอะไร ก็ทำตามเขาสั่ง ตอนนี้สร้าง รพ. สต.(โรงพยาบาลตำบล) โดยสวรส. เป็นผู้วางนโยบายให้ สธ. ทำ และจะผ่องถ่ายให้ อบต. ในที่สุด จากนั้นโรงพยาบาลชุมชนก็ผ่องถ่ายให้เทศบาลอำเภอนั้นๆ ท้ายสุด รพ.จังหวัดก็คงผ่องถ่ายให้เทศบาลจังหวัดนั้นๆ เช่นกัน สธ. ก็ไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว ผู้ที่จะมาทำหน้าที่แทน คือ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งเขียนเอาไว้ใน พ.ร.บ. ของเขาอย่างชัดเจน ระบบสาธารณสุขจะขาดเป็นท่อนๆ อ่อนแอ และอยู่ใต้อำนาจของ สช. และ สปสช. อย่างสิ้นเชิง

                อีกประการหนึ่ง ขณะนี้ สช. สวรส. และ สปสช. ได้ร่วมมือกัน โดยได้ไปเสนอนายกฯ อภิสิทธิ์ ว่า “ขอให้รวมกองทุนประกันสังคม (6 แสนล้านบาท)  กองทุนหลักประกันสุขภาพ (1.5 แสน ล้านบาท) และกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (ประมาณแสนล้านบาท) เข้าด้วยกันเป็นกองทุนเดียว เพื่อดูแลจ่ายค่ารักษาของคนไทยทั้งประเทศ ภายใต้การดูแลของนายกฯ เพื่อความโปร่งใส (เขาอ้าง) โดยพวกเขาทั้งสาม จะเป็นทีมเลขาช่วยนายกฯ ดูแลเงินนี้เอง” ขณะนี้ ได้ตั้งสำนักงานที่ สวรส. ให้อดีต ผอ. รพ.สระบุรี เป็นหัวหน้าสำนักงานคิดหาวิธีรวมสามกองทุนนี้อยู่เพื่อนำเสนอนายกต่อไป เขาเหล่านี้ก็จะกลายเป็นผู้บริหารกองทุนนี้ตลอดกาล ไม่ว่าจะเปลี่ยนนายกฯ หรือพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลกี่สมัยก็ตาม

                หนำซ้ำคนกลุ่มนี้ ได้ทำ พ.ร.บ. สารพัดพิษ(หมอและคนไข้ตายยกรัง) คือ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขที่กำลังจ่อเข้าสภาอยู่ตอนนี้ ซึ่งผลักดันโดยแพทย์ NGO + NGO สารพัดพิษ(สายคุ้มครองผู้บริโภค)  เพราะต้องการเงินกองทุนของ พ.ร.บ.นี้มาใช้ โดยตั้งค่าหัวคิว(บริหารจัดการสำนักงาน)ไว้ 10% ต่อ ปี(ก็แค่พันกว่าล้านเหมือนกัน) จึงไม่ยอมฟังเหตุผลคนที่ค้านเลยแม้แต่น้อยเพราะผลประโยชน์มันล่อใจจนบังหู บังตาเสียสิ้น ส่วนวีรกรรมอื่น ให้ไปดูใน “เครือข่ายร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่ (คศน.)” ว่า กัลยาณมิตร(สหาย)อาวุโส จะนำพาคนกลุ่มนี้เปลี่ยนประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้าอย่างไร เพราะตั้งเป้ายึด...

1. ระบบสุขภาพ
2. ระบบคุ้มครองผู้บริโภค
3. ระบบสื่อสารมวลชน
4. ระบบการเมืองภาคประชาชน
5. ระบบยุติธรรม

โดยตั้งเป้าเปลี่ยนว่า “2563 เปลี่ยนประเทศไทย ” โดยผู้นำ คศน. เราจะยอมหรือที่จะให้คนคิดล้มทุกสถาบันมายึดครองประเทศเรา

“เรา ไม่มีวันยอมให้คนกิเลสหนา หน้าด้าน หลอกลวงสังคมพวกนี้มาทำเช่นนี้ได้ เรายอมสละทุกอย่างเพื่อป้องกันแผ่นดินนี้ ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อซากคอมมิวนิสต์อารมณ์ค้างพวกนี้ อย่างเด็ดขาด”

กาสะลอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 เมษายน 2011, 23:50:14 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9782
    • ดูรายละเอียด
“คนเดือนตุลา” เข้าป่ามาแล้ว และกลับมาเรียนแพทย์จนจบ
...หมอพรหมินทร์, หมอสงวน

ผู้ร่วมก่อตั้งชมรมแพทย์ชนบท และแพทย์ที่อยู่โรงพยาบาลชุมชน
...หมอสุวิทย์, หมออำพล, หมอวิชัย, หมอชูชัย, หมอสมศักดิ์(ชุนหะ), หมอพงษ์พิสุทธิ์, หมอสุพัตรา, หมอวีระพรรณ

โดยมีแพทย์สองสามท่านเป็นแกนหลัก
...หมอวิชัย, หมอสุวิทย์, หมออำพล

อดีต ผอ. รพ. สระบุรี
...หมอเทียม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 เมษายน 2011, 23:50:52 โดย story »

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
“ชมรมแพทย์ชนบท” ซึ่งเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2519 มี อาจารย์แพทย์ศิริราช เป็นพี่เลี้ยง

อ.ศิริราช ท่านนั้นคงเสียใจที่ได้ "ตระกูล ส." เป็นลูกหลาน ของ“ชมรมแพทย์ชนบท”