ผู้เขียน หัวข้อ: มัจฉาดึกดำบรรพ์(สารคดี-เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก)  (อ่าน 3486 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด

ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่เราจะพบฟอสซิลมีชีวิตปรากฏตัวอยู่ในอวนของชาวประมง

                แต่นั่นคือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงเมื่อปี 1938 ภัณฑารักษ์ชาวแอฟริกาใต้นาม มาร์จอรี คอร์ตเนย์-ลาติเมอร์ สังเกตเห็นสัตว์หน้าตาประหลาดมีเกล็ดหนา ครีบรูปร่างแปลกๆ และแผ่นครีบอีกแผ่นงอกอยู่บนหาง  ปะปนอยู่กับปลาพื้นๆที่ถูกจับขึ้นมา แม้เธอจะไม่รู้จักมันเมื่อแรกเห็น  แต่คอร์ตเนย์-ลาติเมอร์ก็ได้ค้นพบปลาซีลาแคนท์ซึ่งเคยกันคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วตอนปลายยุคครีเทเชียส  ทว่ากลับยังยืนยงมาได้ยาวนานกว่าเพื่อนร่วมยุคก่อนประวัติศาสตร์อีกมากมาย  โดยใช้ชีวิตอยู่ในห้วงมหาสมุทรลึก ไม่ถูกรบกวน และไม่ถูกค้นพบมานานแสนนาน

                นับตั้งแต่การค้นพบโดยบังเอิญในครั้งนั้น   มีผู้พบเห็นปลาซีลาแคนท์ (Latimeria chalumnae) ตามโพรงหลายแห่งในมหาสมุทรอินเดีย  ไม่มีใครรู้ว่าพวกมันมีจำนวนมากน้อยเพียงใด อาจจะแค่ 1,000 ตัวหรือมากถึง 10,000 ตัว เนื่องจากถิ่นอาศัยของปลาซีลาแคนท์อยู่ลึกมาก  ภาพถ่ายส่วนใหญ่จึงได้มาจากยานดำน้ำหรือยานควบคุมระยะไกล  นักดำน้ำสามารถถ่ายภาพปลาชนิดนี้ได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2000  และ ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ปี 2010 ทีมวิจัยที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษได้ดำลึกลงไปใต้น้ำเพื่อถ่ายภาพปลาซี ลาแคนท์กลุ่มเล็กๆในอ่าวซอดวานา ประเทศแอฟริกาใต้

มีนาคม 2554