ผู้เขียน หัวข้อ: หมอผ่าศพชำแหล่ะเหลือบสธ.-สัมภาษณ์พิเศษพญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ  (อ่าน 3694 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
  บุคคลแรกที่ถือได้ว่าออกมาเปิดเผยถึงความไม่เป็นธรรมของร่างพรบ.คุ้มครองผู้ เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ต่อสื่อมวลชน คือ พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ รองประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป(รพศ./รพท.)  ถึงวันนี้คุณหมอพร้อมที่จะเปิดเผยอีกหนึ่งข้อมูล ด้วยการเปิดปูมกระบวนการล้มกระทรวงสาธารณสุข ต่อคม ชัด ลึก

          พญ.ประชุมพร ออกตัวว่าเป็น แพทย์พันธุ์ทาง เพราะใช้ครึ่งหนึ่งของชีวิตคลุกคลีทำงานในโรงพยาบาลชุมชน(รพช.)หรือโรง พยาบาลระดับอำเภอ โดยเฉพาะจังหวัดตามแนวชายแดนภาคอีสาน และอีกครึ่งชีวิตทำงานในโรงพยาบาลประจำจังหวัด ทำให้มั่นใจว่าเป็นผู้หนึ่งที่รู้ข้อมูลในระบบสาธารณสุขไทยค่อนข้างรอบด้าน และการเป็นพยาธิแพทย์ ประจำรพ.สุรินทร์ จึงถนัดเรื่องการชำแหล่ะสิ่งไม่ชอบมาพากลมากเป็นพิเศษ

          ย้อนไปสมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 5 ม.ขอนแก่น พญ.ประชุมพร ฝึกงานที่รพ.พล จ.ขอนแก่น มีนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐเป็นผอ. จึงมีโอกาสได้พบปะกับรุ่นพี่ๆเช่น นพ.สงวน ที่อยู่ใกล้ๆกันและนพ.ประเวศ วะสี ที่เดินทางไปเยี่ยมรุ่นพี่เหล่านี้ และได้รับการปลูกฝังอุดมการณ์การเป็นแพทย์ชนบท จนศรัทธามาก ใฝ่ฝันอยากทำงานเป็นแพทย์ในรพช.ทั่วประเทศ บวกกับพื้นเพเดิมเป็นคนอ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ติดกับอ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม จำได้ว่าสมัยนพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นผอ.รพ.พยัคฆภูมิพิสัย ชาวบ้านรักมาก ในขณะนั้นมีการรวมตัวแพทย์ที่อุดมการณ์เดียวกัน ตั้งชมรมแพทย์ชนบท

         เวลาผันผ่านไปเกือบ 30 ปี หลายสิ่งเปลี่ยนแปลง พญ.ประชุมพร ประสบพบความไม่เป็นธรรมในวงการกระทรวงสาธารณสุข เด่นชัดที่สุดช่วงที่มีการผลักดันให้จ่ายค่าตอบแทนให้กับแพทย์ชนบทหรือแพทย์ รพช.มากขึ้นมากๆ ทั้งที่ภาระงานน้อยมากหากเทียบกับรพ.จังหวัด เช่นห้องคลอดของโรงพยาบาลจังหว้ดมีคนไข้มาคลอด 30 รายต่อวันขณะที่รพช.ส่วนใหญ่มีคนไข้คลอดราว 30 ราย ต่อเดือน แต่โรงพยาบาลจังหวัดกลับไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม เพียงเพราะไม่ได้ทำงานในชนบท โดยไม่ได้ดูถึงภาระงานแม้แต่น้อย อีกทั้ง พบความไม่ชอบมาพากล ประหนึ่งมีกระบวนการจ้องล้มกระทรวงสาธารณสุข ค่อยๆทำให้ใจคนโรงพยาบาลใหญ่ฝ่อเล็กลงจนล้มในที่สุด เหล่านี้ล้วนเป็นฝีมือของกลุ่มแพทย์เอ็นจีโอ

           และยังผลักดันตั้งองค์กรใหม่ๆ  โดยเฉพาะองค์กรสารพัดส. ด้วยการอ้างว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ ก่อนที่จะจัดคนของตนเองเข้าไปบริหาร ซึ่งบางแห่งรับผิดชอบบริหารจัดการเงินกองทุนจำนวนมาก โดยที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณได้เพราะเขียนระเบียบเอง ใช้เอง

          องค์กรต่างๆที่ตั้งขึ้นมีประโยชน์ แต่ที่เป็นประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มบุคคลมากกว่าประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ เช่น การนำเงินเดือนของแพทย์สังกัดสธ.รวมไว้กับเงินเหมาจ่ายรายหัวของผู้ใช้สิทธิ บัตรทองซึ่งจะเพิ่มยอดสูงขึ้นในส่วนของเงินบริหารสำนักงาน 1%ของเงินรายหัว สปสช   ซึ่งเงินรายหัวแท้ๆในแต่ละปีเมื่อหักเงินเดือนบุคลากรสธ.ออกแล้ว เงินตกถึงประโยชน์ประชาชนน้อยมาก แต่จะมีผลต่องบฯบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ที่กฎหมาย เขียนให้หักไว้ 1 %ของงบฯเหมาจ่ายรายหัวทั้งหมด ปีละไม่น้อยกว่าพันล้านบาท

            องค์กรสารพัด ส.มี“ปรมาจารย์“เป็นบุคคลที่ภาพลักษณ์ดีในสังคมกำกับดูแลสูงสุด โดยที่คนในเครือข่ายล้มสธ.นับถือเป็น อาจารย์ปู่  คอยให้คำปรึกษาและนำแนวทาง มี อาจารย์พ่อ ซึ่งบางคนแม้อยู่นอกกระทรวงฯ แต่ยังมีลูกสมุนทำงานหลายกรมในสธ. เช่น สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ,สำนักสถานพยาบาลและกองการประกอบโรคศิลปะและกรมต่างๆ ทำหน้าที่ขับเคลื่อนผลักดันนโยบายของกลุ่ม อีกทั้ง มีลูกทีมเป็นแพทย์ในรพช.ราว 20 คนแต่รัฐบาลกลัวมาก เป็นเครื่องมือออกหน้าสู่สาธารณะ และมีเครือข่ายประชาชนบางกลุ่มคอยสนับสนุนแนวคิด โดยมีสื่อช่วยกระพือความต้องการ ทุกครั้งจึงมักประสบความสำเร็จ

            สมัยนพ.มงคล ณ สงขลา เป็นรมว.สธ. มีนพ.อำพล จินดาวัฒนะ อดีตประธาน ชมรมแพทย์ชนบท เป็นเลขานุการ มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ซึ่งปัจจุบันนพ.อำพลรับตำแหน่งเป็นเลขาธิการสช. และในอดีตนพ.อำพลเป็นหนึ่งในผู้ร่วมร่าง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับ นพ.สงวน นิตยารัมพงษ์ และผลักดันผ่าน นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดชและนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เพื่อนพ้องน้องพี่แพทย์รามาธิบดี

          เช่นเดียวกับร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯที่มีการยกร่างในสมัยนพ.มงคล จึงน่าเชื่อได้ว่าทันทีที่มีการตั้งกองทุนและสำนักงานมากำกับดูแล กลุ่มคนและเครือข่ายที่เป็นผู้ร่วมร่างก็จะเข้ามาบริหารจัดการเงินที่เรียก ว่างบบริหารสำนักงานซึ่งใช้ได้ถึง10%ของยอดเงินกองทุนในแต่ละปีที่จะมีอย่าง ต่ำ 1 พันล้านบาท เข้าข่ายชงเอง บริหารเอง และอาจจะกินเอง อย่างที่ผ่านมา

           “กระบวนการนี้ฝังรากมานาน ถ้าปล่อยผ่านต่อไปประชาชนจะไม่รู้ ในอนาคตจะเกิดกระทรวงสาธารณสุขซ้อนกระทรวงสาธารณสุข  จนทำให้อำนาจรัฐหรือสธ.อ่อนแอลงเรื่อยๆแบบค่อยๆเสีย  โดย ที่คนไม่รู้ ซึ่งจะไม่ได้ประโยชน์กับประเทศ แต่จะเกิดประโยชน์กับกลุ่มคนบางกลุ่ม จึงไม่เข้าใจว่าคนกลุ่มนี้ต้องการอะไร ต้องการแสวงหาอำนาจไม่มีสิ้นสุด หรือต้องการให้ได้สำนักงานที่อยู่เหนืออำนาจรัฐแบบไม่รู้จักพอไปเรื่อยๆ เหมือนตกอยู่ในมนตราอำนาจ เปรียบเหมือนกระทรวงเป็นคน ๆหนึ่งที่ติดเชื้อ เอดส์ที่ค่อยๆทำลายภูมิคุ้มกันคือบุคลากรที่ดีให้อ่อนแอลงเรื่อยๆจนติดเชื้อ ฉวยโอกาสคือ องค์กรตระกูล ส.ต่างๆ แล้วก็จะล้มป่วยลงจนล่มสลายในที่สุด ก็จะเป็นโอกาสของ สช.จะมาทำหน้าที่แทน สธ.  ตามที่เขียนไว้ในหน้าที่ของสช.” พญ.ประชุมพรกล่าว

          บางคนในกระบวนการเป็นคนแค้นฝังหุ่นมาก เก็บหลักฐานเพื่อเล่นงานคนอื่นเป็น 10 ปี แต่ตนเองกลับโกงแม้กระทั่งน้ำมันรถหลวง หรือบังคับเอาผลงานคนอื่นมาอ้างเป็นของตนเองแต่เจ้าของไม่ให้ก็กลั่นแกล้ง กระทั่งเจ้าของผลงานต้องตรอมใจ รวมถึง งบฯไทยเข้มแข็งซึ่งรพ.จังหวัดจะได้รับการจัดสรรเพื่อสร้างอาคารผู้ป่วยหลัง จากที่ไม่ได้มานานกว่า 10 ปี โดยได้รับมากกว่ารพช.และยังไม่มีการทุจริต กลับอนุมานว่าจะต้องมีการทุจริต จึงเข้าใจได้ว่าเป็นผลจากการที่คนในกระบวนการคนหนึ่งต้องการดันเพื่อนตนเอง เป็นปลัด สธ. เมื่อไม่ได้ดังใจ ทำให้ต้องเขี่ยรมว.ทิ้ง และหาเรื่องแขวนปลัดสธ.คนปัจจุบัน 

            กระบวน การเหล่านี้ คนในแวดวงสาธารณสุขส่วนใหญ่รับรู้กันดี แต่ไม่มีใครอยากยุ่งเพราะมีแต่จะเสียกับเสีย เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้มีต้นทุนทางสังคมสูงและภาพลักษณ์ดี ซึ่ง พญ.ประชุมพร บอกว่า ตัวเองเป็นคนต้นทุนทางสังคมต่ำ จึงไม่กลัวและไม่มีตำแหน่งใดให้ใครมาเอาคืน 

        “ปกติ เป็นคนรักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด จะทนไม่ได้เลยหากเห็นความไม่เป็นธรรม และคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเตือนสติคนหลงมนตราของอำนาจ ซึ่งไม่แน่ใจว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะรู้ตัวหรือไม่ว่าตนเองเปลี่ยนไป และอยากบอกเขาว่าเขาไม่มีสิทธิไปหาว่าใครเป็นควายออกสื่อเพียงเพราะเขาไม่ คิดเห็นเหมือนกลุ่มตัวเอง คนทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่ากัน อย่าเที่ยวดูถูกคนอื่นกล่าวร้ายคนอื่นไปทั่ว เพราะเดี่ยวคนทั่วไปจะรู้ถึงส่วนลึกของคุณ”พญ.ประชุมพรกล่าวปิดท้าย

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
 ;D เห็นด้วยอย่างยิ่ง  :D