ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุผลในการคัดค้านพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....  (อ่าน 2834 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
เหตุผลในการคัดค้านพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย
ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.
ที่ปรึกษาสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์
1.   เจตนารมณ์ที่เขียนไว้ดูดี ต้องการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเสียหายอย่างรวดเร็ว และลดการฟ้องร้อง แต่การเขียนมาตราต่างๆและบทเฉพาะกาล ไม่สามารถทำให้เจตนารมณ์ที่เขียนไว้เป็นจริง  ม.6 บอกว่าถ้าความเสียหายจากโรคแทรกซ้อนหรืออาการอันไม่พึงประสงค์จะไม่ได้เงิน  ทำให้ต้องตัดสินว่าการรักษามีมาตรฐานหรือไม่ แต่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ตัดสินมาก่อนเหมือนในต่างประเทศ อาจทำให้ผู้รักษาผู้ป่วยไม่ได้รับความยุติธรรม
2.   และบทเฉพาะกาลกำหนดให้ NGO สาธารณสุขมาเป็นกรรมการ 6 คน จาก 11 คน เพื่อมารักษาการคณะกรรมการชุดแรก บ่งบอกความนัยว่าจะมาตั้งกฎเกณฑ์และเลือกกรรมการตัวจริงเอง เพื่อเลือกอนุกรรมการทุกคณะ เพื่อมา ตัดสินเอง กำหนดระเบียบ และวงเงินช่วยเหลือชดเชยเอง และอาจมีผลประโยชน์แอบแฝงอื่นๆที่ยังไม่เห็นชัดเจนในตอนนี้
3.   ต้องการโยกเงินจากมาตรา 41 ที่เหลืออยู่ประมาณ 4.596,214,400 บาท (ประมาณสี่พันหกร้อยล้านบาท) ซึ่งกำหนดไว้ในม. 41 แห่งพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 แต่กันเงินไว้จริง 336,145,300 บาท (300 ล้านบาท เท่ากับ 0.0682%ของงบประมาณตามกฎหมาย)) และจ่ายไปจริง243,509,725 บาท ( ประมาณ สองร้อยสี่สิบล้านบาท) และอยากได้เงินช่วยเหลือและชดเชยมากขึ้น เพราะ ม.41 จ่ายสูงสุดเพียง 200,000 บาทต่อคน
4.   ต้องการได้เงินมากขึ้น จึงไปกำหนดให้เก็บเงินจากโรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา เพราะคาดว่าเงินจะต้องมากขึ้นแน่นอน แม้สำนักงบประมาณเองก็มองว่า จะเป็นภาระหนักต่องบประมาณในอนาคต จึงปฏิเสธความรับผิดชอบที่จะจัดสรรเงินงบประมาณมาเพิ่มในระบบ แต่ให้ไปเก็บเอาจากโรงพยาบาลเอง
5.   โรงพยาบาลรัฐมีเงินไม่พอซื้อยาและพัฒนาอาคารสถานที่และเทคโนโลยีอยู่แล้ว จะทำให้งบประมาณที่ใช้ในการรักษาประชาชนลดลง การทำงานของโรงพยาบาลรัฐจะย่ำแย่ หลังจากขาดเงิน ขาดคน ขาดเตียงอยู่แล้ว คงจะขาดแคลนมากขึ้น ประชาชนจะเสียประโยชน์จากการได้รับบริการที่ย่ำแย่ลงไปอีก
6.   โรงพยาบาลไม่เหมือนบริษัทประกันรถยนต์ เพราะรถที่มาประกันนั้นอยู่ในสภาพดี แต่ผู้ป่วยมีสภาพเจ็บป่วยย่ำแย่แตกต่างกันไปในแต่ละคน  (ทั้งภายนอกที่มองเห็นและภายในที่มองไม่เห็นต้องค้นหาเอาเอง) แต่จ่ายเงินค่ารักษาน้อยตามที่รัฐบาลกำหนด แต่เมื่อรักษาไม่ได้ตามคาดหวัง กลับจะเรียกเงินคืนมากกว่าสภาพที่ป่วยแล้ว ควรจะคิดว่าถ้าไม่ได้รับการรักษาแล้วจะมีสมรรถภาพแค่ไหน จะหาเงินได้แค่ไหนหรือไม่อย่างไร ไม่ใช่ว่า ถ้ายังมีชีวิตอยู่ในสภาพแข็งแรงแล้วจะทำเงินได้เท่าไร แล้วขอชดเชยตามนั้น
7.   การที่ผู้มีส่วนร่างพ.ร.บ.นี้กล่าวว่า ทำไมแพทยสภาไม่มาคัดค้านแต่แรก ข้าพเจ้าผู้เขียนก็ไม่ใช่แพทยสภา แต่ถ้าดูตามพฤติการณ์แล้ว แพทยสภาส่งกรรมการไปพิจารณาร่วมกับคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็แพ้โหวต ทำหนังสือคัดค้านเรื่ององค์ประกอบคณะกรรมการและการเก็บเงินจากโรงพยาบาลแล้ว คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นด้วย และแก้ไขตามที่แพทยสภาท้วงติง แต่นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแก้กลับไปเหมือนเดิม โดยไม่ถามความเห็นแพทยสภาที่ตัวเองนั่งเป็นสภานายกพิเศษอยู่ด้วย
8.   การกำหนดคณะกรรมการมาวางกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เป็นกรรมการเพียง 3 ใน 18 คน จึงไม่อาจเชื่อถือได้ว่าจะอาศัยหลักเณฑ์ตามมาตรฐานวิชาชีพ ถือเป็นการเลือกปฏิบัติแก่ผู้รักษาสุขภาพผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม
9.   มาตรฐานการทำงานของแพทย์ไทยเทียบอเมริกาไม่ได้ เขามีหมอ 1 คนต่อประชาชน 300 คน ไทยหมอ 1 คน ต่อประชาชน 10,000-30,000 คน ขาดบุคลากร ขาดผู้เชี่ยวชาญ ขาดเวชภัณฑ์ เตียง ยา ประชาชนมารับบริการมาก ความเสี่ยงสูง บุคลากรใช้หลักเมตตา กรุณา ช่วยผู้ป่วยเต็มที่ แต่ถ้ามีพ.ร.บ..นี้ ผู้รักษาอาจต้องยึดอุเบกขา เป็นที่ตั้ง เพราะต้องระมัดระวังว่ากรรมการจะชี้ว่าเป็นฆาตกร เพราะไม่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ ประชาชนจะเป็นผู้เสียประโยชน์
10.   กระทรวงสาธารณสุขต้องหาทางป้องกันความเสียหาย โดยจัดสรร เงิน คน สิ่งของ เตียง ยา เวชภัณฑ์ และป้องกันไม่ให้ประชาชนเจ็บป่วยมากๆ ต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการสร้างสุขภาพและป้องกันโรคมากขึ้น เพื่อลดการเจ็บป่วยและการใช้โรงพยาบาล พัฒนาระบบให้ดีมีมาตรฐานเหมือนไต้หวันก็พอเขามีประชาชน 23 ล้านคน มีหมอ 50,000 คน ไทยมีหมอรักษาผู้ป่วย 8,000 คน แต่ประชาชนไปใช้บริการโรงพยาบาล 200 ล้านครั้งต่อปี
11.   สำนักงานกพ.ติงว่า พ.ร.บ.นี้อาจซ้ำซ้อนกับพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
12.   สำนักงานก.พ.ร.เห็นว่าสธ.ควรมอบให้สปสช.ดำเนินการขยายความครอบคลุม โดยไม่ต้องตั้งกองทุนและสำนักงานขึ้นใหม่
13.   กระทรวงการคลังเห็นว่าใช้เงินตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ได้
14.   ประชาชนมีสิทธิเพิ่มขึ้นอีก 1 ช่องทาง ทั้งร้องเรียนและอุทธรณ์ แต่จะกระทบกับผู้รักษามาก จนขาดความมั่นใจในการรักษา และส่งผู้ป่วยต่อไปที่อื่นมากขึ้น จนอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสที่จะรอดชีวิตได้