ผู้เขียน หัวข้อ: หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตาย  (อ่าน 2958 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด


พินัยกรรมชีวิต อ ประทุมพร วัชรเสถียร 
....................
ก่อนฉันจะตาย

    หากฉันตายโดยกะทันหัน เช่นอุบัติเหตุใหญ่ หรือหัวใจวายเฉียบพลันก็แล้วไป โปรดจัดงานศพฉันดังที่ฉันจะได้เขียนต่อไป
    หากฉันเจ็บไข้ด้วยโรคที่รักษาไม่ได้ ต้องนอนแซ่งอยู่บนเตียง หรือไม่รู้ตัว ต้องมีชีวิตอยู่ด้วยสายระโยงรยางค์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ฉันขอร้องว่าอย่าเสียเวลาและเสียเงินเพื่อฉันมากมายอย่างนั้น ขอให้ใช้เวลาดูอาการของฉันไม่เกิน 1 เดือน ต่อจากนั้นขอให้ยุติการต่อชีวิตฉันด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ โปรดอนุญาตให้ฉันจากไปด้วยวิธีธรรมชาติที่สงบที่สุดเถิด
    หากฉันมีโรคภัยชนิดที่ทำให้ต้องเจ็บปวดทุรนทุราย และร้องครวญคราง ขอให้บอกแพทย์ให้ใช้ยาระงับความเจ็บปวดแก่ฉัน ในอัตราที่ฉันจะสงบทั้งความเจ็บปวดและเสียงครวญครางของฉันได้อย่างราบคาบ แม้ว่าวิธีนั้นจะทำให้ฉันตายเร็วขึ้นก็ไม่เป็นไร ฉันคิดว่าชีวิตของฉันที่ผ่านมา ฉันได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคมและชีวิตมนุษย์รอบตัวฉันมากพอที่ฉันไม่ควรจะต้องได้รับความทรมานในบั้นปลายของชีวิตเช่นนั้น
    ก่อนฉันตาย ฉันอยากเห็นหน้าญาติมิตรและเพื่อนรักของฉัน และเพื่อนที่รักฉัน แต่ถ้าการมาหาฉันทำให้พวกเขาเสียเวลา หรือไม่สบายใจที่ต้องมาเห็นฉันในสภาพที่ผิดไปจากคนเดิมที่พวกเขาเคยเห็น เขาจึงไม่มาหาฉัน ฉันก็จะไม่โกรธ ไม่น้อยใจ จะไม่บ่นว่าอย่างใดเลย ในสภาพและวาระสุดท้ายเช่นนั้นฉันจะต้องรู้จักให้อภัย และมีความเข้าใจต่อทุกสิ่งที่ว่า สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นย่อมเกิดมาจาก “เหตุ” อันมี “ตรรกะที่เข้าใจได้” ทั้งสิ้น

ท้ายที่สุดนี้ ฉันขอให้ทุกคนที่เคยโกรธฉัน หรือไม่พอใจฉันด้วยเรื่องอะไรก็ตาม จงอโหสิให้แก่ฉัน และขอให้เข้าใจว่าฉันไม่เคยตั้งใจหรือวางแผน ทำให้ผู้ใดโกรธ หรือเสียใจ หรือน้อยใจเลย หากสิ่งนั้นเกิดแก่ผู้ใดอันเนื่องมาจากฉัน ขอได้โปรดรับทราบว่าสิ่งเหล่านั้น เกิดจากความโง่เขลาของฉันโดยแท้จริง ที่ทำให้ฉันตาบอดและใจบอด จนไม่สามารถมองเห็นและหยั่งไม่ถึงความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น ขออโหสิแก่ฉันด้วยเถิด
..............................
ขออนุญาต อจ. ประทุมพร เผยแพร่ด้วยความเคารพ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
สิทธิเลือกตาย เริ่มมีผลใช้แล้ว
3 มิถุนายน พ.ศ.2554 : ไทยรัฐ

เคย​เป็น​ประเด็น​ใหญ่​ให้​ถก​กัน​ใน​เมือง​ไทย​มา​ไม่​ต่ำ​กว่า 20 ปี แต่​วัน​นี้​คง​ไม่​ต้อง​เถียง​กัน​อีก เพราะ​ได้​ข้อ​ยุติกฎหมาย​ไทย​เปิด​ช่อง​ให้​ทำได้​แล้ว

            เมื่อ​ไม่​นานมา​นี้ นพ.​อำพล จินดา​วัฒนะ เลขาธิการ​คณะ​กรรมการ​สุขภาพ​แห่งชาติ (สช.) ได้​ออก​มา​เปิดเผย​ว่า ที่​ประชุม​คณะ​กรรมการ​สุขภาพ​แห่งชาติ (คสช.) มี​มติ​เห็น​ชอบ​ประกาศ​ สช. เรื่อง การ​กำหนด​หลักเกณฑ์​และ​วิธี​ดำเนิน​การ​ตาม​หนังสือ​แสดง​เจตนา ไม่​ประสงค์​จะ​รับ​บริการ​สาธารณสุข ที่​เป็น​ไป​เพียง​เพื่อ​ยืด​การ​ตาย​ใน​วาระ​สุดท้าย​ของ​ชีวิต หรือ​เพื่อ​ยุติ​การ​ทรมาน​จาก​การ​เจ็บป่วย พ.ศ.2553
            ประกาศ​ดัง​กล่าว ถือ​เป็น​กฎ​กระทรวง​หรือ​กฎหมาย​ลูก​เพิ่มเติม​จาก​มาตรา 12 ของ พ.ร.บ.​สุขภาพ​แห่งชาติ พ.ศ.2550 ว่า​ด้วย​สิทธิ​ความ​เป็น​มนุษย์​สามารถ​เลือก​ที่​จะ​ปฏิเสธ​การ​รักษา ซึ่ง​ทุก​คน​สามารถ​จะ​ร้องขอ​ได้ โดย​ไม่​เป็น​การ​บังคับ
            ปกติ​การ​ร้องขอ​ใช้​สิทธิ​ดัง​กล่าว จะ​มี​ขึ้น​ใน​กรณี​ที่​ผู้​ป่วย​อาการ​หนัก ต้องการ​ร้องขอ​เพื่อ​ให้​ตน​หลุดพ้น​จาก​สภาพ​ทน​ทุกข์​ทรมาน อาการ​ของ​โรค หรือ​ภาวะ​ซึ่ง​หมด​หวัง​ที่​จะ​รักษา​ให้​หายขาด
            ใน​ต่าง​ประเทศ​มี​การ​ใช้​สิทธิ​ลักษณะ​คล้ายคลึง​กัน​นี้​มา​ก่อน​เมือง​ไทย ซึ่ง​มี​ด้วย​กัน​หลาย​แบบ เช่น ปลด​สาย​ออกซิเจน ปิด​เครื่อง​ช่วย​หายใจ ฉีด​สาร​พิษ​หรือ​มอร์ฟีน​เกิน​ขนาด​ให้​ผู้​ป่วย​ที่​อาการ​หนัก​และ​ไม่​มี​ทาง​รอด เพื่อ​ไม่​ต้อง​ทน​เจ็บปวด​ทรมาน หรือ​เมื่อ​หัวใจ​หยุด​เต้น ผู้​ป่วย​ไม่​ต้องการ​ให้​มี​การ​ปั๊ม​หัวใจ​ของ​ตน​ขึ้น​มา​อีก เป็นต้น
            ประกาศ​ของ ​สช.​ดัง​กล่าว​มี​ผล​ตั้งแต่​วัน​ที่ 20 พ.ค.2554 เป็นต้น​ไป หมายความ​ว่า นับ​จาก​นี้​ผู้​ป่วย​ที่​อาการ​หนัก หรือ​บุคคล​ทั่วไป​ซึ่ง​มีอายุ 18 ปี​บริบูรณ์ สามารถ​ทำ​หนังสือ​แสดง​เจตนา​เลือก​ลิขิต​ความ​ตาย​ให้​ตัว​เอง​ได้ โดย​มี​กฎหมาย​รอง​รับ
            แต่​ก่อน​จะ​ไป​ถึง​ประเด็น​สำคัญ​ที่​กฎหมาย​เปิด​ช่อง​ให้​ใช้​สิทธิ​ดัง​ว่า ลอง​ศึกษา​ตัวอย่าง​ของ​บาง​ประเทศ
            เริ่ม​กัน​ที่​เมือง​ซู​ริก สวิตเซอร์แลนด์ ที่​ผ่าน​มา​มี​แพ็กเกจ​ให้​เลือก​ความ​ตาย​หลาย​ราคา มี​ทั้ง​แบบ​ประหยัด​สุด​แค่ 16 ยูโร (ไม่​รวม​ค่า​ตั๋ว​เครื่องบิน) ก็​สามารถ​ตาย​ได้​สมใจ ภายใน​เวลา​เพียง 12 ชั่วโมง
            สวิตเซอร์แลนด์​มี​กฎหมาย​รอง​รับ​สิทธิ​เลือก​ตาย​ใช้​มา​ตั้งแต่ พ.ศ.2530 หรือ​เมื่อ 24 ปี​ที่​แล้ว
            เป็น​ที่​รู้​กัน เมื่อ​ผู้​ป่วย​หนัก​ที่​ประสงค์​จะ​ตาย เดินทาง​ไป​ถึง​สวิตเซอร์แลนด์ จะ​มี​องค์กร​เปิด​ให้​บริการ​หลาย​แห่ง เฉพาะ​ที่​มีชื่อ​เสียง​มี​อยู่ 2 แห่ง คือ เอ็ก​ซิ​ต และ สมาคม​ดิคนิ​ตา​ส แต่ละ​ปี​ทั้ง 2 องค์กร​ข้าง​ต้น ช่วย​สงเคราะห์​ให้​คน​จาก​ทั่ว​โลก​บิน​ไป​ตาย​ที่​สวิตฯ​สมใจ ปี​ละ​เป็น​ร้อย​ราย
            ขั้น​ตอน​การ​ใช้​บริการ​เริ่ม​จาก​ผู้​ป่วย​หนัก หรือ​ทายาท​ยอม​จ่าย​เงิน คิด​เป็น​เงิน​ไทย​เพียง​ไม่​กี่​พัน​บาทให้​แก่องค์กร หรือ​สมาคม​ซึ่ง​รับ​ช่วยเหลือ​ผู้​ป่วย​หนัก​ที่​ประสงค์​จะ​ตาย โดย​มี​เงื่อนไข​ผู้​ที่​จะ​ใช้​บริการ​ต้อง​อธิบาย​ถึง​เหตุผล​ที่​อยาก​ตาย รวม​ทั้ง​แสดง​หลักฐาน​ความ​เจ็บป่วย​ที่​ทำให้​ตัว​เอง​ต้อง​ทน​ทุกข์​ทรมาน โดย​มี​ใบรับรอง​แพทย์
            เมื่อ​ผ่าน​ด่าน​แรก​แล้ว ด่าน​ที่​สอง​หน่วย​งาน​ที่​จะ​ช่วย​ให้​ผู้​ป่วย​ตาย จะ​จัดหา​แพทย์​มา​ให้ 1 คน เพื่อ​ทำ​หน้าที่​อนุมัติ และ​เลือก​ใช้ “ยา​พิษ” ชนิด​ที่​เหมาะสม ฉีด​ให้​แก่​ผู้​ป่วย​ราย​นั้น​ได้​ตาย​ตาม​ความ​ประสงค์
            เนเธอร์แลนด์ เป็น​อีก​ประเทศ​ที่​มี​กฎหมาย​ลักษณะ​ดัง​กล่าว​ใช้​มา​ก่อน​ไทย​ถึง 9 ปี หรือ​มี​มา​ตั้งแต่​ปี 2545 โดย​กฎหมาย​กำหนด​ให้​ผู้​ป่วย​ที่​ประสงค์​จะ​ตาย ต้อง​ผ่าน​ขั้น​ตอน​เบื้องต้น​คล้ายคลึง​กับ​ของ​สวิตเซอร์แลนด์ เพียง​แต่​ก่อน​จะ​เลือก​จุดจบ​ของ​ชีวิต ผู้​ป่วย​ที่​อาการ​หนัก ยัง​ต้อง​ได้​รับ​การ​อนุมัติ​จาก​แพทย์​จำนวน 2 คน
            เมื่อ​ขั้น​ตอน​ดัง​กล่าว​ครบถ้วน ผู้​ป่วย​สามารถ​กด​ปุ่ม​เครื่อง​ฉีดยา เพื่อ​ลาโลก​ได้​อย่าง​สมบูรณ์


            สำหรับ​เมือง​ไทย​หลังจาก​กฎหมาย​เปิด​โอกาส​ให้​ผู้​ป่วย​สามารถ​ใช้​สิทธิ​เลือก​ตาย​ได้​เป็น​ครั้ง​แรก มี​คำ​ถาม​ตาม​มา​เป็น​กระบุง ประเด็น​นี้ น.อ. (พิเศษ) นพ.​อิทธ​พร คณะ​เจริญ รอง​เลขาธิการ​แพ​ท​ยส​ภา มี​ข้อ​สังเกต​ที่​น่า​สนใจ
            คุณ​หมอ​อิทธ​พรบอก​ว่า โดย​ภาพ​รวม​แม้​จะ​เห็น​ด้วย​กับ​การ​ให้​สิทธิ หรือ​โอกาส​แก่​ประชาชน​ตาม​กฎหมาย​นี้ แต่​ก็​ยัง​อด​กังวล​ไม่ได้​ว่า ใน​ทาง​ปฏิบัติ​จะ​มี​แนวทาง​อย่างไร จึง​จะ​สามารถ​ปฏิบัติ​ให้​สอดคล้อง​เหมาะสม​กับ​สภาพ​เป็น​จริง ไม่​เกิด​ช่อง​ว่าง​ที่​จะ​ทำให้​เกิด​ปัญหา​ตาม​มา หรือ​นำ​ไป​สู่​ความ​ขัดแย้ง​ระหว่าง​แพทย์​กับ​ครอบครัว​ของ​ผู้​ป่วย
            คุณ​หมอ​ยก​ตัวอย่าง ข้อความ​ที่​ระบุ​ไว้​ใน​หนังสือ​แสดง​เจตนา ไม่​ประสงค์​จะ​รับ​บริการ​สาธารณสุข​มี​ข้อความ​สำคัญ เช่น “กรณี​ที่​ข้าพเจ้า​ตก​อยู่​ใน​สภาวะ​ใด​สภาวะ​หนึ่ง เช่น ไม่​รู้สึก​ตัวอย่าง​ถาวร มี​อาการ​สับสน​อย่าง​ถาวร ไม่​สามารถ​ใช้​ชีวิต​ประจำ​วัน​ตาม​ปกติ​ได้​อย่าง​อิสระ อยู่​ใน​ภาวะ​สุดท้าย​ของ​การ​เจ็บป่วย ให้​ถือว่า​เป็น​วาระ​สุดท้าย​ของ​ชีวิต​ของ​ข้าพเจ้า และ​ข้าพเจ้า​ไม่​ต้องการ​ตก​อยู่​ใน​สภาพ​เช่น​นั้น”  จาก​นั้น​จะ​มี​ช่อง​ให้​ระบุ​ว่า จะ​ยอม​รับ​หรือ​ไม่​ยอม​รับ​การ​รักษา​เหล่า​นี้ เช่น การ​ฟื้นฟู​การ​เต้น​ของ​หัวใจ​และ​การ​หายใจ (ปั๊ม​หัวใจ​ที่​หยุด​เต้นให้​กลับ​มา​เต้น​อีก​ครั้ง) การ​พยุง​ชีวิต  การ​รักษา​ภาวะ​ที่​แทรกซ้อน​ขึ้น​มา​ใหม่ การ​ให้​อาหาร​ทาง​ท่อ เป็นต้น หาก​ผู้​ป่วย​ระบุ​ลง​ไป​ใน​เอกสาร​ว่า “ไม่​ยอม​รับ” หมายความ​ว่า ปล่อย​ให้​สิ้นลม​ไป​โดย​สงบ หรือ​เอกสาร​แบบ​ที่ 2 มี​ข้อความ​สำคัญ​ให้​แสดง​ความ​ประสงค์ เช่น ไม่​ประสงค์​ให้​เจาะ​คอ เพื่อ​ใส่​ท่อ​ช่วย​หายใจ ไม่​ต้องการ​ใช้​เครื่อง​ช่วย​หายใจ รวม​ทั้ง​การ​ได้​รับ​สาร​อาหารและ​น้ำ​ทาง​สาย​ยาง เป็นต้น
            คุณ​หมอ​อิทธ​พรบอก​ว่า ปัญหา​ก็​คือ​ใน​ความ​เป็น​จริง​การ​เสีย​ชีวิต​ของ​บุคคล เกิด​ขึ้น​ได้​หลาย​ลักษณะ ทั้ง​แบบ​ที่​เตรียมตัว​ตาย​มา​ก่อน หรือ​ไม่ได้​เตรียมตัว ภาย​ใต้​ สภาพ​แวดล้อม​จาก​โรค หรือ​อุบัติเหตุ​ที่​ต่าง​กัน แต่​ตาม​มาตรา 12 ของ พ.ร.บ.​สุขภาพ​แห่งชาติ ออก​แบบ​ไว้​สำหรับ​คนไข้ที่​ทน​ทุกข์​ทรมาน ไม่​ต้องการ​จะ​ยื้อ​ชีวิต​ระยะ​สุดท้าย​ของ​ตน​ไว้​อย่าง​ไร้​ประโยชน์​เป็น​หลัก
            คุณ​หมอบอก​ว่า นอกจาก​นี้​ ยัง​มี​ข้อ​กังวล​ใน​อีก​หลาย​ประเด็น เช่น การ​ตีความ​คำ​ว่า “วาระ​สุดท้าย​ของ​ชีวิต” ระหว่าง​แพทย์​กับ​ญาติ​ของ​ผู้​ป่วย ที่​อาจ​ตีความ​แตก​ต่าง​กัน​ว่า แค่​ไหน​จึง​จะ​ถือ​เป็น​วาระ​สุดท้าย​กัน​แน่
            ซึ่ง​กรณี​นี้​ขีด​ความ​สามารถ​ใน​การ​รักษา​โรค​ที่​ยาก​และ​ซับซ้อน​ของ​สถาน​พยาบาล​แต่ละ​ระดับ ย่อม​ไม่​เท่าเทียม​กัน เช่น โรงพยาบาล​ชุมชน​ใน​พื้นที่​ห่างไกล​ความ​เจริญย่อม​มี​ขีด​ความ​สามารถ​น้อย​กว่า​โรงพยาบาล​ใหญ่​ที่​เป็น​โรงเรียน​แพทย์อย่าง​เช่นศิริราชฯ จุฬาฯ รามาฯ หาก​ถูก​ญาติ​ผู้​ตาย​โต้แย้ง​ภายหลัง​จะ​ทำ​อย่างไร หรือ​กรณี​จะ​ถอด​ท่อ​ช่วย​หายใจ แนวทาง​ปฏิบัติ​ต้อง​ทำ​อย่างไร​บ้าง ทาง​สช.​อาจ​ต้อง​เป็น​ผู้​กำหนด​หลักเกณฑ์​รายละเอียด เพื่อ​ให้​แพทย์​ผู้​ปฏิบัติ​ไม่​ผิด​จริยธรรม และ​รับ​โทษ​ฐาน​ละเว้น​การ​รักษา โดย​ทำ​ความ​เข้าใจ​กับ​แพทย์-พยาบาล​ทั่ว​ประเทศ รวม​ทั้ง​ทำให้​ญาติ​คนไข้มี​ความ​เข้าใจ​ที่​ตรง​กัน
            นอกจาก​นี้ เอกสาร​หลักฐาน​ที่​ผู้​ป่วย​ลง​ลายมือ​ไว้ เปรียบ​ได้​กับ ​พินัยกรรม​ชีวิต ​ชิ้น​หนึ่ง จึง​อาจ​เกิด​ภาระการ​พิสูจน์​สำหรับ​แพทย์​ตาม​มา​ว่า เอกสาร​ที่​ลงชื่อ​ไว้​เป็น​ของ​จริง​หรือ​ปลอม และ​เป็น​ฉบับ​สุดท้าย​หรือ​ไม่ ซึ่ง​แพทย์​ย่อม​ไม่​ใช่​ผู้​ชำนาญ​การ​พิสูจน์​หลักฐาน จึง​อาจ​ต้องหา​คนกลาง​ที่​เหมาะสม​มา​ร่วม​เป็น​พยาน​ใน​เอกสาร​ชิ้น​นั้น เช่น อาจ​ต้อง​ใช้​วิธี​ไป​ลง​ทะเบียน​ที่​อำเภอ หรือ​ขอ​ให้​ศาล​ช่วย​พิสูจน์ เพื่อ​ให้​รู้​ว่า​เอกสาร​ชิ้น​นั้น​เป็น​ฉบับ​สุดท้าย​จริง เพราะ​ถ้า​ผู้​ป่วย​เปลี่ยนใจ​ใน​ภายหลัง ไม่​ประสงค์​จะ​ใช้​สิทธิ​ตาย​แล้ว แต่​มี​คน​นำ​ไป​ยื่น ย่อม​เกิด​ปัญหา​ตาม​มา
            หรือ​กรณี​ปัญหา​ครอบครัว​เชิง​ซ้อน ซึ่ง​อาจ​เกิด​ความ​ขัดแย้ง​กันเอง​ภายใน​ครอบครัว เช่น ลูก​บาง​คน​เห็น​ว่า​ควร​ปล่อย​ให้​ตาย​อย่าง​สงบ แต่​ลูก​บาง​คน​เห็น​ว่า​ควร​จะ​ยื้อ​ชีวิต​ไว้​ก่อน กรณี​เช่น​นี้​ใน​ทาง​ปฏิบัติ​พบ​เห็น​บ่อย​มาก ดังนั้น จึง​ควร​มี​จุด​พิจารณา​ถึงที่​สุด และ​ผู้​ที่​พิจารณา​ควร​จะ​เป็น​คนกลาง​ที่​เหมาะสม​ซึ่ง​ไม่​มี​ส่วน​ได้เสีย​กับ​การ​ตาย
            การ​จ่าย​เงิน​ชดเชย กรณี​ที่​ผู้​ป่วย​เลือก​ใช้​สิทธิ​ตาย​ราย​นั้น​เป็น​ผู้เอาประกัน​ของ​บริษัท​ประกันชีวิต ก็​เป็น​อีก​กรณี​ที่​น่า​สนใจ คุณ​หมอ​อิทธ​พรเห็น​ว่า กรณี​นี้​ถือ​เป็น​เจตนา​ประสงค์​ที่​จะ​เสีย​ชีวิต​ด้วย​ตน​เอง และ​บริษัท​ประกันชีวิต​จะ​รับผิดชอบ​หรือ​ไม่     หรือ​กรณี​ที่​ผู้​ใช้​สิทธิ​ตาย เป็น​ลูกหนี้ เจ้าหนี้ หรือ​ผู้​ค้ำประกัน จะ​ดูแล​ข้อ​ขัดแย้ง​ที่​เกิด​ขึ้น​ตาม​มา​กัน​อย่างไร ยัง​ไม่​นับ​กรณี​ที่​ผู้​ใช้​สิทธิ​ตาย เคย​แสดง​เจตนา​ประสงค์​จะ​บริจาค​อวัยวะ จะ​มี​ขั้น​ตอน​ใด​เป็น​พิเศษ​หรือ​ไม่
            “สรุป​แล้ว ผม​เห็น​ด้วย​กับ​ภาค​ประชาชน​ว่า การ​เปิด​โอกาส​ให้​ใช้​สิทธิ​การ​ตาย เป็น​เรื่อง​ที่​ดี เพียง​แต่​การ​นำ​ไป​ปฏิบัติ​ยัง​มี​ความ​แตก​ต่าง​ซับซ้อน​อยู่​อีก​หลาย​ประเด็น ซึ่ง​ต้อง​ทำให้​ชัดเจน โปร่งใส มี​หลักการ​เป็น​ที่​เข้าใจและ​ยอม​รับ​ของ​ทุก​ฝ่าย​ตรง​กัน​เสีย​ก่อน เพื่อ​มิ​ให้​บุคคล​ที่​สาม​นำ​ไป​เป็น​เงื่อนไข เพื่อ​หา​ผล​ประโยชน์​ทับ​ซ้อน​และ​ทำให้​ผู้​ป่วย​ซึ่ง​ขอ​ใช้​สิทธิ​ตาย​ได้​รับ​ความ​เสียหาย”
            คุณ​หมอจึง​เสนอ​แนะ​ทิ้งท้าย​ว่า

“อยาก​ให้​ทาง  สช. ภาค​ประชาชนแพทย์ พยาบาล สถาน​พยาบาล​ของ​รัฐ​และ​เอกชน  บริษัท​ประกันชีวิต–ประกัน​สุขภาพ  สภากาชาดไทย  สำนักงาน​ประกัน​สังคม  สภา​ทนายความ  และ​ผู้​มี​ส่วน​เกี่ยวข้อง​ทุก​ภาค​ส่วน มา​ร่วม​กันศึกษา​ปัญหา​และ​ผล​กระทบ​ที่​จะ​เกิด​ขึ้น​จริง และ​ติดตาม​ผล​ต่อ​เนื่อง​ระยะ​ยาว”.


---------------------------------------


ทั้งนี้ กรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภาจะจัดสัมนาเรื่อง

"เจตนารมณ์การขอใช้สิทธิการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต: ผลกระทบต่อผู้ป่วยและแพทย์"

โดย คณะอนุกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้บังคับกฎหมายในวิชาชีพเวชกรรม

และคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา

ในวัน ศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2554 เวลา 08.00-15.30 น.

ณ ห้องประชุม กรรมาธิการ 306-308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2