ผู้เขียน หัวข้อ: ไฟใต้กระทบบริการสาธารณสุข วอนให้ฝ่ายมั่นคงหาเซฟตี้โซน  (อ่าน 1163 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
พ.อ. (พิเศษ) นพ.คเชนทร์ ปิ่นสุวรรณ ผู้ชำนาญการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เปิดเผยในเวทีเสวนาเรื่องการจัดการภัยพิบัติไฟใต้ : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2555 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่า การเข้ามอบตัวของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกับทางการเกือบ 100 คน ถือเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ในการแก้ปัญหาความไม่สงบชายแดนใต้ ที่ผ่านมาสถานการณ์นี้ได้ส่งผลกระทบต่อระบบการบริการสาธารณสุขมาก รวมถึงคนไข้เข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาลจำนวนมาก ซึ่งอาจมีระเบิดหรืออาวุธก็ได้ ความไม่ปลอดภัยในพื้นที่ยังกระทบต่อการส่งต่อผู้ป่วย ทั้งเจอเรือใบ ระเบิด รวมถึงอาจมีปัญหาการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ว่าทหารและชาวบ้านที่บาดเจ็บจากเหตุการณ์เดียวกัน เจ้าหน้าที่รักษาใครก่อน แม้แพทย์จะยึดความเสมอภาค ก็ตาม ยังมีความไม่ปลอดภัยในการเข้าช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ เนื่องจากผู้ก่อการไม่สนใจว่ารถพยาบาลจะมีกากบาทหรือไม่ เพราะเป็นสงครามกลางเมือง

ด้าน นพ.พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าวว่า เดิมเป็นหมออยู่ จ.นราธิวาส ย้ายมาอยู่ จ.ยะลาได้ 9 เดือน การวางระเบิดรถพยาบาลที่ถนนรวมมิตร ทำให้คนในพื้นที่รู้สึกว่าอยู่ในสงครามเป็นระยะ และเป็นสงครามแย่งชิงประชาชน ใครแย่งได้ก็ชนะ แต่ไม่รู้จะจบเมื่อไหร่รพ.ศูนย์ยะลา มีขนาด 500 เตียง ไอซียู 36 เตียง มีการบรรเทาเหตุการณ์ เตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุการณ์ เพื่อให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพสูงสุดและกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

"ก่อนปี 2547 โจรอยู่ในป่า หลังปี 2547 โจรอยู่ในเมือง แต่ก่อนขับมอเตอร์ไซค์มาจ่อยิง แต่เดี๋ยวนี้มีระเบิด มีมอเตอร์ไซค์บอมบ์ คาร์บอมบ์ และลูกใหญ่ขึ้นเรื่อยๆผมผ่าตัดผู้ป่วยที่ถูกยิงเยอะมาก ซึ่งคนที่ไม่กล้าก็ย้ายออกไปเรื่อยๆ"นพ.พีระพงษ์กล่าว และว่า 2-3 เดือนนี้ ศอ.บต.มาเยียวยา เราไม่ได้มองจำนวนเงิน แต่พูดถึงคุณภาพชีวิตที่ดี ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิต 5,206 ราย บาดเจ็บ 9,137 ราย มีผู้ต้องเยียวยามาก

นพ.พีระพงษ์กล่าวว่า การเข้าช่วยเหลือในจุดเกิดเหตุจะมีอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะเข้าไปรับผู้บาดเจ็บต้องไปที่จุดเซฟตี้โซน แต่เหตุที่เกิดขึ้นไม่รู้เซฟตี้โซนอยู่ตรงไหน เรื่องนี้ฝ่ายความมั่นคงจะต้องไปปรับ ที่ผ่านมาอาสาสมัครเคยเสียชีวิตจากการเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ทั้งนี้ แม้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จะมีต่อเนื่องแต่บุคลากรของสาธารณสุขสามารถเข้าพื้นที่เสี่ยงได้เกือบทุกพื้นที่ แสดงว่าคนของสาธารณสุขไม่ใช่เป้าหมายของผู้ก่อการ.