ผู้เขียน หัวข้อ: “สวนสัตว์จุลินทรีย์” จะเปลี่ยนให้โลกของคุณไม่เหมือนเดิมตลอดกาล  (อ่าน 827 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9787
    • ดูรายละเอียด
เนเธอร์แลนด์เปิดตัว “สวนสัตว์จุลินทรีย์” แบบโต้ตอบกับผู้เยี่ยมชมได้แห่งแรกในโลก เปิดศักราชใหม่ของการเข้าถึงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มีมากถึง 2 ใน 3 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่ออนาคตของโลก
       
       “พิพิธภัณฑ์ไมโครเปีย” (Micropia) คือ สวนสัตว์จุลินทรีย์แบบมีโต้ตอบกับผู้เข้าชมได้แห่งแรกของโลกที่เพิ่งเปิดตัวขึ้น ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ และอยู่ถัดจากสวนสัตว์อาร์ทิส (Artis Royal Zoo) ที่มีผู้อำนวยการเสนอแนวคิดในการจัดแสดงแผงจุลินทรีย์ในรูปแบบสวนสัตว์มา 12 ปีแล้ว
       
       ไฮก์ บาเลียน (Haig Balian) ผู้อำนวยการสวนสัตว์อาร์ทิส ผู้กำเนิดแนวคิดสร้างสวนสัตว์จุลินทรีย์ที่มีมูลค่าเกือบ 400 ล้านบาทให้ความเห็นแก่ทางเอเอฟพีว่า โดยทั่วไปสวนสัตว์มักจะจัดแสดงเพียงเสี้ยวเล็กๆ ของธรรมชาติ นั่นคือ จัดแสดงสัตว์ที่เป็นตัวเป็นตน แต่วันนี้ทางสวนสัตว์อยากจะจัดแสดงธรรมชาติของจุลินทรีย์
       
       บาเลียนกล่าวว่า ความสำคัญของจุลินทรีย์ในชีวิตประจำวันถูกประเมินต่ำไป นับนักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์คือ แอนโทนี วาน ลีเวนฮุค (Antonie van Leeuwenhoek) ได้สำรวจพบจุลชีพมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งบ่อยครั้งที่จุลินทรีย์เกี่ยวกันพับความเจ็บป่วย ตั้งแต่ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ไปจนถึงสาหร่าย แต่สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของเรา และยิ่งมีบทบาทสำคัญต่อมนุษยชาติและอนาคตของโลกมากขึ้นด้วย
       
       ทั้งนี้ ในร่างกายของผู้ใหญ่นั้นแบกจุลินทรีย์ไว้ราว 1.5 กิโลกรัม และเราจะตายถ้าขาดพวกมัน
       
       “จุลินทรีย์มีอยู่ในทุกที่ นั่นเป็นเหตุผลว่าคุณจำเป็นต้องมีนักจุลชีววิทยาผู้ที่สามารถทำงานอยู่ในทุกภาคส่วน ตัวอย่างเช่น ในโรงพยาบาล การผลิตอาหาร อุตสาหกรรมน้ำมันละการผลิตยา เป็นต้น” บาเลียนกล่าว
       
       ตอนนี้มีจุลินทรีย์ที่ถูกใช้เพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ รวมถึงการพัฒนายาปฏิชีวนะใหม่ และการใช้จุลินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิต ซึ่งจากการทดลองได้เผยให้เห็นถึงศักยภาพในอนาคตของจุลินทรีย์ในทุกด้าน ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้าไปจนถึงการเพิ่มความแข็งแกร่งแก่ฐานสิ่งก่อสร้าง รวมถึงการรักษามะเร็ง
       
       “ถ้าเราละทิ้งศาสตร์ทางด้านจุลชีววิทยาไว้ในมุมมืดของผู้เชี่ยวชาญเพียงไม่กี่คน ความสนใจในศาสตร์นี้ก็จะไม่กระเตื้องขึ้น เราต้องการแสดงให้ผู้ชมได้เห็นว่า ทุกสรรพสิ่งในธรรมชาตินั้นมีความเชื่อมโยงระหว่างกันอย่างไร และจุลินทรีย์เล็กๆ เหล่านี้มีส่วนในการเชื่อมโยงอย่างไร” บาเลียนให้ความเห็น
       
       รายงานของเอเอฟพีระบุว่า ส่วนใหญ่ของพิพิธภัณฑ์ซึ่งได้รับการอ้างว่าเป็นแห่งแรกของโลกนั้นดูคล้ายห้องปฏิบัติการ และประดับตกแต่งด้วยจุลินทรีย์ที่เรียงเป็นแถวและเชื่อมต่อกับจอโทรทัศน์ขนาดยักษ์ ผู้เข้าชมสามารถมองผ่านหน้าต่างห้องปฏิบัติการที่ทำงานจริง ซึ่งมีจุลินทรีย์นานาชนิดถูกเพาะเลี้ยงในจานเพาะเชื้อและหลอดทดลอง
       
       ส่วนหนึ่งของนิทรรศการเมื่อก้าวสู่พื้นยกระดับแล้วมองเข้าไปในแอนิเมชันของภาพที่ซูมเข้าไปในตาคนๆ หนึ่ง จะเผยให้เห็นไรตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในขนตาของเรา จากนั้นกล้องจะซูมเข้าไปที่ยังแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในบนตัวไรดังกล่าว และมีไวรัสที่อาศัยบนแบคทีเรียของตัวไรอีกที
       
       ผู้เข้าชมยังจะได้ดูการขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ 3 มิติ ซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อพิพิธภัณฑ์ไมโครเปีย รวมถึงยังมีแบบจำลองของไวรัสอีโบลาขนาดใหญ่กว่าของจริงจัดแสดงอยู่ นอกจากนี้ยังมีเครื่องสแกนที่บอกได้ทันทีว่ามีจุลินทรีย์อาศัย บนร่างกายของผู้เข้าชมมากเท่าไรและอาศัยอยู่ตรงไหนบ้าง ส่วนผู้เข้าชมคนไหนที่กล้าพอก็สามารถทดสอบเครื่อง “คิส-โอ-มิเตอร์” (Kiss-o-Meter) ที่จะบอกได้ว่ามีจุลินทรีย์มากน้อยแค่ไหนที่ถูกถ่ายโอนระหว่างการจูบกัน
       
       “คุณรู้ไหมว่ามีจุลินทรีย์ถึง 700 สปีชีส์ที่อาศํยอยู่ในปากคุณ หรือมีเชื้อราถึง 80 ชนิดอยู่ที่ส้นเท้าคุณ การมาเยือนไมโครเปียสักครั้งจะเปลี่ยนมุมมองที่คุณมีต่อโลกไปตลอดกาล” บาเลียนกล่าว 

ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 ตุลาคม 2557