ผู้เขียน หัวข้อ: เส้นทางสู่ภาวะปกติ... ที่เต็มไปด้วยขวากหนาม  (อ่าน 303 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9785
    • ดูรายละเอียด
ผมตั้งวงสนทนากับทั้งนายแพทย์และนักวิชาการที่เกาะติดเรื่องวิกฤติโควิด-19 หลายวง

            หนึ่งในนักวิชาการที่ผมได้สนทนาด้วยคือ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เทรดฟอเร็กซ์ไปกับโบรกฯที่มีความน่าเชื่อถือระดับโลก
IC Markets
            หลังจากได้แลกเปลี่ยนกันทาง Suthichai Live หลายรอบ อาจารย์วรศักดิ์ได้เขียนถึง “เส้นทางสู่ภาวะปกติของประเทศไทย” ในเฟซบุ๊กของท่านได้น่าสนใจ

            ท่านบอกว่า จากการประมวลความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหลายสำนัก รวมทั้งแมคคินซีย์แอนด์คอมปะนี (McKinsey & Company) การจะเข้าสู่สภาวะปกติของแต่ละประเทศ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (เฟส)

            (1) เฟสที่ 1 คือ เฟสที่สัดส่วนประชากรที่ฉีดวัคซีนแล้วมีน้อยกว่า 50% ซึ่งยังสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดการระบาดรอบใหม่ๆ รัฐจำเป็นต้องแทรกแซงด้วยการออกมาตรการต่างๆ เพื่อลดการสัมผัสระหว่างคนต่อคนให้มากที่สุด เช่น การปิดประเทศ การห้ามชุมนุมคน การเว้นระยะห่าง และการใส่แมสก์ เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยยังอยู่ในระยะต้นๆ ของเฟสนี้

            เฟสนี้บางทีเรียกว่า Hammer & Dance คือ การกดค่า Effective Reproductive Rate (R) ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 1.0 แล้วค่อยผ่อนคลายบ้างเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจพอมีอากาศหายใจ ที่สำคัญคือ ในเฟสนี้ ระหว่างที่กดๆ คลายๆ รัฐจะต้องเร่งระดมฉีดวัคซีนปูพรมแก่ประชากรให้ได้เร็วที่สุด ในสหรัฐอเมริกา เขาใช้คำว่า Warp Speed

            (2) เฟสที่ 2 คือ เฟสที่สัดส่วนประชากรผู้ฉีดวัคซีนมีเกิน 50% และสามารถประคองค่า R ต่ำกว่า 1.0 ได้นานเกิน 30 วัน เฟสนี้รัฐอาจพิจารณาให้ธุรกิจส่วนใหญ่เปิดดำเนินการได้ตามปกติ ยกเว้นการเปิดประเทศที่ยังต้องมีเงื่อนไข คือ ให้เฉพาะนักเดินทางที่มีประกาศนียบัตรรับรองการได้ฉีดวัคซีนแล้วเท่านั้น

            สำหรับประเทศไทย การจะฉีดวัคซีนให้ประชากรได้ถึง 50% (ประมาณ 35 ล้านคน) จะต้องใช้วัคซีนจำนวน 70 ล้านโดส วันนี้ (22 พฤษภาคม) ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 2.81 ล้านโดส จึงเหลืออีก 67.19 ล้านโดส

            ถ้าประเทศไทยสามารถฉีดวัคซีนเฉลี่ย 400,000 โดสต่อวัน จะต้องใช้เวลาฉีดอีก 168 วัน (5.6 เดือน)

            ดังนั้น วันที่ประเทศไทยจะเข้าสู่เฟส 2 ได้เร็วที่สุด คือ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564

            (3) เฟสที่ 3 คือ เฟสที่ประเทศสามารถฉีดวัคซีนให้ประชากรได้มีสัดส่วนเกิน 75% โดยอนุโลมว่า ประเทศได้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่แล้ว (แม้สายพันธุ์ใหม่ที่จะทำให้ค่า Threshold สูงกว่า 75% ก็ตาม)

            สำหรับประเทศไทย ถ้ายังสามารถฉีดวัคซีนในอัตรา 400,000 โดสต่อวันตามสมมติฐาน การฉีดวัคซีนจำนวน 35 ล้านโดสให้ประชากรอีก 25% (17.5 ล้านคน) จะต้องใช้เวลาอีก 87.5 วัน ดังนั้น วันที่ประเทศไทยทั้งประเทศหวังจะเข้าสู่ภาวะปกติ คือ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565

            มีคำถามต่อมาว่าจะต้องประเมิน “ประสิทธิผล” หรือ efficacy ของวัคซีนด้วยหรือไม่

            อาจารย์วรศักดิ์บอกว่า ใช่, มีประเด็นอื่นที่ต้องนำมาพิจารณาพร้อมกันด้วย เช่น

            (1) Efficacy ของวัคซีนประเภทต่างๆ ซึ่งอาจลดลงอีกถ้าเจอสายพันธุ์ใหม่

            (2) วัคซีนสายพันธุ์ใหม่ที่ค่า R0 สูงขึ้นกว่าสายพันธุ์เดิม ซึ่งค่า 75% ที่จะได้ภูมิคุ้มกันหมู่อาจไม่เพียงพอ

            (3) ภูมิคุ้มกันส่วนหนึ่งมาจากผู้เคยติดเชื้อแล้วหาย

            ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลและ ศบค.จะต้องร่วมกันคิดอย่างหนักก็คือ การที่จะต้องเร่งฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว

            ณ อัตราการฉีดที่เห็นอยู่ขณะนี้จะไม่สามารถจัดการกับความรวดเร็วของการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ต่างๆ ได้แน่นอน

            จึงเป็นภารกิจของรัฐบาลที่จะต้องระดมสรรพกำลังและความคิดเห็นทุกแนวทางเพื่อปรับยุทธศาสตร์ใหม่ให้ทันกับแนวทางของ “สงครามโควิด”

            การใช้ “อาวุธ” ที่ถูกต้องแม่นยำและเหมาะกับสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาจึงเป็นหัวใจของการเอาชนะสงครามนี้.

กาแฟดำ
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
https://www.thaipost.net/main/detail/104295