ผู้เขียน หัวข้อ: เสนอคุม "ข้อมูล-ทางเลือกสุขภาพ" เหตุมีมากไม่น่าเชื่อถือ ตัดสินใจพลาดง่าย  (อ่าน 681 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9785
    • ดูรายละเอียด
นักวิจัยชี้ไทยเข้าถึงข้อมูลสุขภาพง่าย-หลากหลาย แต่ขาดความน่าเชื่อถือ วอน สปช.คลอดมาตรการควบคุมข้อมูลข่าวสารและทางเลือกด้านสุขภาพ ชี้ยิ่งทางเลือกมีมาก ยิ่งตัดสินใจพลาด แนะสร้างข้อมูลสุขภาพเชิงรุก ดีกว่าปล่อยให้ประชาชนเกิดปัญหาแล้วโทร.ถาม

        ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเครือข่ายนักวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า ในการนำเสนอผลการศึกษา "การทบทวนสถานการณ์และกลไกการจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy)" ต่อคณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ตนได้เสนอว่าควรมีการทำนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับเรื่องความแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy) ใน 2 ประเด็นคือ
1.การควบคุมข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ เพราะทุกวันนี้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพในไทยมีเยอะมากและหลากหลาย เรียกว่า ภาวะข้อมูลข่าวสารท่วมท้น แต่ขาดความน่าเชื่อถือ ประชาชนไม่รู้ว่าควรเชื่อสื่อใด ไม่เชื่อสื่อใด จึงอยากให้ สปช.คลอดมาตรการในเรื่องนี้ เพื่อช่วยให้คนตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า หากมีปัญหาสุขภาพใดๆ ก็ตามควรปรึกษาใคร ควรหาข้อมูลความรู้จากตรงไหน
       
       "การสร้างความรู้ด้านสุขภาพมี 2 มิติ คือ เกิดความจำเป็นขึ้นแล้วจึงไปหาความรู้ ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศไทยใช้วิธีนี้คือตั้งศูนย์ต่างๆ ขึ้นมาให้ประชาชนโทรศัพท์มาสอบถามปัญหาด้านสุขภาพ และอีกแบบคือการทำข้อมูลเชิงรุกไปหาประชาชน ซึ่งรูปแบบนี้ยังมีน้อยมาก จึงมองว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐและภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม และเอกชนต้องมาร่วมมือกันให้เกิดการสื่อสารด้านสุขภาพในมิติที่ 2" ผศ.นพ.ธีระ กล่าว
       
       ผศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า ส่วนอีกนโยบายคือคุมทางเลือกด้านสุขภาพ เพราะปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีทางเลือกเยอะมาก เช่น การตรวจสุขภาพก็มีหลากหลายแพคเกจ ซึ่งรายละเอียดการตรวจก้มีความยิบย่อยแตกต่างกันไป ซึ่งงานวิจัยจากสหรัฐฯ พบว่า ยิ่งทางเลือกสุขภาพมีจำนวนมาก การตัดสินใจอย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับตัวเองก็ยิ่งน้อยลง โดยงานวิจัยพบว่าหากมี 5 ทางเลือก กลุ่มความแตกฉานด้านสุขภาพสูงสามารถเลือกทางที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับตัวเองได้ แต่หากเกิน 5 ทางเลือกไปแล้วไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่มีความแตกฉานด้านสุขภาพสูง กลาง หรือต่ำล้วนตัดสินใจเลือกผิดพลาดทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม นโยบายสาธารณะนี้ต้องมีศิลปะในการออกแบบ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการตลาดด้วย ถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย ซึ่งหากไม่สามารถควบคุมจำนวนตัวเลือกด้านสุขภาพได้ สิ่งที่ต้องดำเนินการเป็นสำคัญก็คือการสร้างความรู้ให้กับประชาชน เพราะทางเลือกด้านสุขภาพอย่างโปรแกรมการตรวจสุขภาพ เป็นการเล่นกับความกลัวของประชาชน เช่น การตรวจมะเร็งด้วยการเจาะเลือด ซึ่งทางการแพทย์ก็ไม่แนะนำ เพราะผลการตรวจไม่ไวและไม่ได้มีความจำเพาะ หากค่าเลือดผิดปกติก็จะยิ่งทำให้เกิดความกังวล

ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 กรกฎาคม 2558