แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 548 549 [550] 551 552 ... 651
8236
น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ​และนางสุนทรี ​เซ่งกี่ กรรม​การหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ ​ผู้​แทน​เกษตร​และ​แรงงาน ​เปิด​เผยว่า คณะกรรม​การสำนักงานคณะกรรม​การหลักประกันสุขภาพ​แห่ง ชาติ (สปสช.) ชุด​ใหม่​ได้มา​โดย​ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ​จึง​ได้ยื่นฟ้องศาลปกครอง​แล้ว​เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา ​เพื่อขอ​ให้​เพิกถอน​การ​แต่งตั้งกรรม​การชุดดังกล่าว ที่ผ่านมา นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ​ในฐานะประธานบอร์ด สปสช.จง​ใจ​ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ ม.13 ที่​ให้มี​การสรรหากรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิด้วย ​ความอิสระ ​ไม่มี​ใบสั่งจาก​ผู้มีอำนาจ ​และ​ให้กรรม​การจากทุกองค์ประกอบ​เป็น​ผู้สรรหา​และคัด​เลือก ​แต่​การประชุมที่ผ่านมากรรม​การจากองค์กรพัฒนา​เอกชน​ทั้ง 5 คน​ไม่​ได้มีส่วนร่วม​เพราะติดภาวะน้ำท่วม ​ทำ​ให้​การคัด​เลือก​ผู้ทรงคุณวุฒิ​ทั้ง 7 คนที่ผ่านมา​ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ​เหมือนครั้งปี 2546 ที่ รมว.สธ.​ในขณะนั้นสั่ง​ให้คัด​เลือก​ใหม่

"​เรา​เคยมีหนังสือคัดค้าน​การ​แต่งตั้งที่​ไม่ชอบด้วยกฎหมาย​ไปยัง รมว.สธ.​และนายกรัฐมนตรี 2 ฉบับ​แล้ว ​แต่​เรื่องยัง​เงียบอยู่​และ รมว.สธ.มี​ความพยายามจะจัดประชุมคณะกรรม​การชุด​ใหม่ ​เพื่อออกมติ​ให้มี​การ​เ​ก็บ​เงิน​ผู้ป่วย ​จึงต้องพึ่งอำนาจศาลปกครอง​ให้​เพิกถอน​การ​แต่งตั้งกรรม​การชุดนี้" นางสาวบุญยืนกล่าว

นพ.​เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูล​เกียรติ ประธานชมรม​แพทย์ชนบท ​เปิด​เผยว่า ​แพทย์ชนบททั่วประ​เทศร่วมกับ​เครือข่าย​ผู้ป่วย​โรคต่างๆ กำลังจับตาดู​การ​เปลี่ยน​แปลงของรัฐบาลที่​เข้ามา​แทรก​แซง ​โดย​เอานายทุนพรรค​และพวกที่​เคยคัดค้านบัตรทอง​เข้ามา​เป็น​เสียงข้างมาก​ในกรรม​การ สปสช.ชุด​ใหม่ ว่าจะมีมติอะ​ไรที่​เป็น​การ​ทำลายระบบบัตรทอง ​หรือ​เอื้อประ​โยชน์​ให้กับธุรกิจ​เอกชน​หรือ​ไม่ ถ้ามีมติ​เ​ก็บ​เงิน 30 บาท ​หรือ​ผู้ป่วย​ไม่สามารถ​เข้า​ถึงบริ​การ​ได้ ​เครือข่ายต่างๆ จะฟ้อง​เอาผิดกรรม​การอย่าง​แน่นอน.

ไทย​โพสต์  29 ธันวาคม 2554

8237

สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย
ที่ สพศท. ๙/๒๕๕๔                                                                           วันที่ ๒๙  ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔                                                                                                                                                                                                   
เรื่อง ขอทราบความชัดเจนเรื่องค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป 

เรียน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ และปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายไพจิตร์ วราชิต

สิ่งที่ส่งมาด้วย  ๑. หนังสือที่ สธ.๐๒๐๑.๐๔๒.๑/ว ๖๖๒ (๔ ส.ค. ๒๕๕๒)
                  ๒. ข่าวเพื่อสื่อมวลชน สำนักงานสารนิเทศ และประชาสัมพันธ์(สธ.) (๑๐ ก.ค. ๒๕๕๒)
                  ๓. ข้อสรุปค่า K สมาพันธ์แพทย์ รพศ/รพทฯ (๑๕ ก.ย. ๒๕๕๒)                                                                         

           อ้างถึงหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สธ.๐๒๐๕.๐๒/๔๙๕๘๑ ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๔ เรื่องอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๕๔ เพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุข(เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๔)  ซึ่งได้โอนงบประมาณงวดที่ ๑ (รวม ๑,๗๑๗,๗๗๙,๕๖๐  บาท) มาแล้ว และได้แจ้งว่าหากได้รับอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมจะจัดสรรให้พื้นที่ในงวดต่อไปอีกครั้ง บัดนี้เวลาได้ล่วงเลยการจ่ายค่าตอบแทนปีงบประมาณ ๒๕๕๕ มา ๓ เดือนแล้ว(ตุลาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔) บุคลากรผู้ปฏิบัติในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปมีความกังวลและสับสนถึงแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว  คณะกรรมการสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปฯ จึงขอเรียนเพื่อรับทราบถึงความชัดเจนและขอเสนอแนวคิดในประเด็นดังต่อไปนี้

           ๑. แนวทางการจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป (ฉบับที่ ๗) ที่ค้างอยู่ของปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ว่าจะมีแนวทางเช่นไร? 

            จะให้รองบประมาณที่จะจัดสรร หรือสามารถจ่ายจากเงินบำรุงของโรงพยาบาลต่อไปในส่วนที่เหลือได้เลย หากมีแนวทางเช่นไร ขอความกรุณาให้ทางกระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือยืนยันแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนที่ค้างอยู่ของปีงบประมาณ ๒๕๕๔  แจ้งให้โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่งทราบ เพื่อให้มีการเบิกจ่ายค่าตอบแทนที่เหลือโดยเร็วที่สุด และลดความกังวลใจของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไปทุกคน

            ๒. นโยบายเรื่องค่าตอบแทนกำลังคนด้านการสาธารณสุขในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ จะมีแนวทางอย่างไร?(ซึ่งบัดนี้ได้ผ่านมา ๓ เดือนแล้ว)

             จะยังคงข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนฉบับที่ ๔ , ๖ และ๗ ดังเดิม หรือจะเปลี่ยนวิธีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นการจ่ายตามภาระงานและผลการปฏิบัติงาน (P4P)

               หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่าย คือ ใช้ฉบับที่ ๔ , ๖ และ ๗ ทางสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปฯขอเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปตามฉบับที่ ๗ อย่างครบถ้วน คือ ให้มีการจ่ายตามค่าผันแปร(ค่า K)ด้วย ดังที่ปรากฏในหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนฉบับที่ ๗ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑) และตามประกาศ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๒) และคำมั่นสัญญาของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ไว้กับบุคลากรโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๓)

               แต่หากจะปรับเปลี่ยนวิธีการและเงื่อนไขเป็นแบบตามภาระงานและผลการปฏิบัติงาน(P4P)  ทางสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปฯเรียกร้องให้มีการกำหนดแนวทางการจ่ายอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับภาระงานอย่างแท้จริง และใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในโรงพยาบาลทุกระดับ

               จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และดำเนินการเพื่อให้บุคลากรในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปได้ทราบถึงความชัดเจนในการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว และเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจในการทำงาน ส่งผลให้การทำงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีมีความพึงพอใจต่อไป         

                                                                    ขอแสดงความนับถือสูง
                                                                                     
                                                                 แพทย์หญิงประชุมพร บูรณ์เจริญ
                                   (ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย)
...................................................................................................
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑



สิ่งที่ส่งมาด้วย ๒




สิ่งที่ส่งมาด้วย ๓



8238
สื่อให้ฉายา “บิ๊ก” วงการ สธ.“วิทยา” ได้ ฉายา “ไม่แคร์สื่อ” ขณะที่ รมช.ได้ฉายา “อีดี้จอมพีอาร์” ส่วนปลัดกระทรวงคุณหมอ ได้ฉายา “ปลัดคลิปหลุด”
       
       สื่อมวลชนสายกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกันตั้งฉายาแห่งปีของบรรดาผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับฉายาว่า “เฮียใหญ่ไม่แคร์สื่อ” เนื่องจากมีบุคลิกที่ทำงานแบบข้ามาคนเดียว ลุยโดดๆ ไม่สนใจสื่อมวลชน ว่า จะคิดอย่างไร หรือมีข้อเสนอแนะอย่างไร ส่วนนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับฉายาว่า “อีดี้จอมพีอาร์” เพราะตระกูลไชยสาส์น มีฉายาทางการเมืองว่า อีดี้ เนื่องจาก นายประจวบ ไชยสาส์น มีหน้าตาคล้าย อีดี้ อามิน ไม่ว่าจะทำอะไรมักเป็นข่าวอยู่ตลอด ขณะที่ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.ได้รับฉายาว่า “ปลัดคลิปหลุด” เนื่องจากเคยถูกโจมตีจากคลิปฉาว แต่สุดท้ายก็หลุดพ้นจากข้อกล่าวหา หลังตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นการตัดต่อคลิป ส่วน รองปลัดกระทรวงและผู้ตรวจราชการกระทรวง ที่ได้รับการแต่งตั้งครั้งนี้ ได้ฉายาว่าเป็นรองปลัด และผู้ตรวจชุด “คุณขอมา” เนื่องจากส่วนใหญ่มีเส้นสายและสัมพันธ์โยงใยกับฝ่ายการเมืองและปลัดกระทรวงสาธารณสุข
   
       มาที่อธิบดีที่ล้วนแล้วแต่มีที่มาที่ไปในการได้รับตำแหน่งแทบทั้งสิ้น มีการตั้งฉายา ดังนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ได้รับฉายาว่า “อธิบดีเด็กเส้น” เพราะสนิทกับนักการเมืองสายกิจสังคมเดิม ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ นายวิทยา บุรณศิริ เคยอยู่ ขณะที่ นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้รับฉายาว่า “อธิบดีแห้ว” เพราะมีชื่อติดโผจะได้นั่งกรมควบคุมโรค สุดท้ายเส้นไม่ถึงจึงต้องนั่งในตำแหน่งเดิม เช่นเดียวกับนพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย ที่ได้รับฉายาว่า “อธิบดีรักคุด” เพราะหวังว่าจะได้กลับไปนั่งในกรมการแพทย์ แต่กลับไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างที่ใจหวัง ส่วน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข ได้รับฉายาว่า “อธิบดีม้ามืด” เพราะเดิมมีชื่อติดโผเป็นรองปลัดกระทรวง แต่สุดท้ายได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ฉายา “จับแหลก” เพราะจับคลินิกที่มีผลิตภัณฑ์ ยาปลอมแทบทุกที่ ส่วนนพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทญ์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ฉายา “ผู้คุมศูนย์เฉื่อยชาฉุกเฉิน” เพราะเป็น ผอ.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แต่ไม่ว่าจะขอข้อมูลหรือขอความช่วยเหลือก็ช้าตลอด
       
       ขณะที่ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้รับฉายาว่า “อธิบดีโลกลืม” เพราะเคยมีบทบาทอย่างมากใน สธ.และควรจะได้เป็นอธิบดีก่อนหน้านี้ แต่กลับถูกลืม เพิ่งมาได้รับการแต่งตั้งในครั้งนี้ ส่วนพญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้รับฉายาว่า “กระบี่หญิงหนึ่งเดียว” เพราะเป็นอธิบดีหญิงเพียงคนเดียวของ สธ.และมีกระบี่ คือ หลังบ้านเป็น กกต.ทำให้เป็นที่เกรงขามของฝ่ายการเมือง สำหรับอธิบดีกรมสุขภาพจิต นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ได้รับฉายาว่า “หมอใจนักเลง” เพราะเป็นคนมีจิตใจกว้างขวาง มีเพื่อนพ้องน้องพี่ให้ความเคารพอยู่มาก และสุดท้ายตำแหน่งที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง คือ ทพ.ญ.นัยนา แพร่ศรีสกุล ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ได้รับฉายาว่า “โฆษกหลุดคิว” เพราะชอบเปลี่ยนแปลงกำหนดการต่างๆ ในการให้ข่าวและแถลงข่าวอยู่ตลอดเวลา
       
       ส่วนบรรดาหมอที่มีบทบาทในแวดวงสาธารณสุข เช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้รับฉายาว่า “หมอหลังม่านเหล็ก” เพราะอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของกลุ่มแพทย์เอ็นจีโอเกือบทั้งหมด ขณะที่นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ได้รับฉายาว่า “หมอจำปีทอง” เพราะใช้บริการสายการบินไทยบินมา กทม.ตลอดเวลาจนได้รับบัตรสมาชิกระดับทอง เช่นเดียวกับ นพ.วิชัย โชควิวัฒน ที่ได้รับฉายาว่า “หมอร้อยบอร์ด” เพราะมีชื่อในคณะกรรมการในหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) องค์การเภสัชกรรม (อภ.) จะวางบทบาทเป็นผู้ตรวจสอบข้าราชการ และสื่อมวลชน อยู่ตลอด
       
       ส่วน พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา กรรมการแพทยสภา ได้รับฉายาว่า “หมอจอมแฉ” เนื่องจากนิยมเขียนบทความแฉเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคลากรในวิชาชีพแพทย์อย่างต่อเนื่องขณะที่นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ได้รับฉายาว่า “หมอฮาร์ดคอร์” เนื่องจากมักจะออกมาแฉเรื่องราวความไม่ชอบมาพากลต่างๆ ด้วยท่าทีที่รุนแรง ส่วนพญ.อรพรรณ เมธาดิลกกุล ได้รับฉายาว่า “หมอค้าความ” เพราะมีเรื่องฟ้องร้องข้าราชการ สธ.ตั้งแต่ระดับ รมต.ปลัดไปจนถึงอธิบดีที่ยังค้างอยู่ในศาลหลายสิบคดี ส่วน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.ได้รับฉายาว่า “โปรเฉินร้อยสนาม” เนื่องจากมีฝีมือการตีกอล์ฟในระดับแถวหน้า และมักจะมีชื่อได้รับรางวัลจากการออกรอบแทบทุกสนาม
       
       นอกจากนี้ ยังมีแพทยสภา ได้ฉายา “มีดหมอบิ่น” เพราะไม่ว่าเกิดข้อร้องเรียนของแพทย์คนใด ประโยคแรกที่จะได้ยินจากแพทยสภา คือ ไม่มีมูลเสมอ ทั้งที่บางครั้งยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ หรือไม่มีการตรวจสอบด้วยซ้ำ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ฉายา “นักประท้วงกลุ่มน้อย” เนื่องจากมีการประท้วงแบบเงียบๆ ไม่หวือหวา โดยเฉพาะกรณี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 ธันวาคม 2554

8239
 การออกไปเผชิญสภาวะลมแรง แดดร้อนอย่างต่อเนื่อง เป็นปัญหาสำหรับคนรักเส้นผมและหนังศีรษะอย่างมาก โดยเฉพาะผู้มีผมยาว ผมดก ที่ทนทะนุถนอมมานานหลายปี เนื่องจากการเผชิญภาวะอากาศที่เย็นและแห้งนั้นทำร้ายเส้นผมอย่างมาก เพราะนอกจากเกิดรังแคได้ง่ายแล้วยังก่อปัญหาผมแตกปลายอีกด้วย ทำให้หลายคนต้องทนกับอาการระคายเคืองคันหนังศีรษะสร้างความรำคาญใจไม่น้อย
       
       ทว่า ในความเป็นจริง คงไม่อาจหลีกเลี่ยงแสงแดดหรือลมแรงได้ จึงต้องหันมาใส่ใจกับเส้นผมด้วยการทำน้ำหมักใช้เองง่ายๆ ซึ่ง ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้าโครงการสาธิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร การันตรีว่า ฤดูหนาวอันแสนแห้งแล้งนั้น ไม่ใช่ปัญหาสำหรับการดูแลผมเลย เพียงแค่เรียนรู้สูตรน้ำหมักสมุนไพรเล็กน้อยก็ช่วยดูแลเส้นผมและหนังศีรษะให้มีสุขภาพดี
       
       ภญ.สุภาภรณ์ บอกว่า เริ่มจากการเตรียมน้ำหมักสมอไทย มะขามป้อม อย่างละครึ่งถ้วยตวง ส่วนน้ำมันรำข้าว 1 ส่วน ดอกอัญชัน 5 ดอก แล้วนำไปเคี่ยวด้วยความร้อนเหมือนกับการเคี่ยวอาหารทั่วไป แล้วสังเกตจนสมุนไพรแห้งกรอบดีจึงตักออก กรองน้ำมันที่เคี่ยวเรียบร้อยแล้วด้วยผ้าขาวบาง เพื่อให้ได้แต่น้ำมันรำข้าวที่ใสไม่มีตะกอน ทิ้งให้เย็นกรอกใส่ขวดเก็บไว้ใช้

       “สรรพคุณของมะขามป้อมมีสรรพคุณเป็นสารชะล้างอ่อนๆ คนอินเดียนิยมนำมา ใช้ทำเป็นแชมพูสระผม คนอินเดียเชื่อว่ามะขามป้อมบำรุงผม ช่วยทำให้ผมดกดำและป้องกันผมหงอกก่อนวัย ป้องกันผมร่วง ส่วนดอกอัญชันก็ช่วยให้ผมดกดำ ขณะที่สมอไทยนั้นมีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระช่วยลดผมหงอก ขณะที่น้ำมันรำข้าวมีส่วนช่วยให้ผมสวยและนุ่มและช่วยควบคุมรูปทรงของเส้นผม ทำให้เส้นผมเรียบลื่นพร้อมเคลือบเส้นผมให้เงางาม เพราะมีวิตามินบี 1 และวิตามินบี 6 ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม ที่ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อเส้นผมอย่างมาก” ภญ.สุภาภรณ์อธิบาย

       สำหรับใครทีมีปัญหาเรื่องแพ้สารเคมีจากครีมหมักผมบ่อยๆ น้ำหมักสมุนไพร อาจเป็น ทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหา เพราะสกัดธรรมชาติ 100% แต่ถ้ากรณีที่ไม่มีน้ำมันรำข้าวก็อาจจะใช้ไข่แดง 1 ฟองผสมกับสุมนไพรอื่นก็ได้เช่นกัน โดยวิธีการใช้ก็ไม่ต่างจากครีมหมักผมทั่วไป เพียงแค่ชโลมผมให้เปียกด้วยน้ำเปล่า หลังจากนั้น ชโลมน้ำมันลงบนผมที่เปียก ทิ้งไว้ 15 -30 นาที ก่อนที่จะล้างด้วยน้ำเปล่า หลังจากนั้น จึงสระผมตามปกติ ก็จะมีผมที่สุขภาพดีและพร้อมจะเผชิญลม แดดได้อย่างสบายใจ
       
       การบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะด้วยน้ำหมัก ไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน แค่ดูแลหมักแค่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก็นับว่าเพียงพอแล้วสำหรับการดูแลเส้นผมสุดหวงของสุภาพสตรีทั้งหลาย ซึ่งสามารถทำได้เองที่บ้านตามเวลาที่แต่ละคนสะดวก โดยไม่ต้องไปกังวลกับค่าใช้จ่ายที่ต้องออกไปทำสปาผม หรือทรีทเมนท์ในร้านหรูหราแต่อย่างใด ซึ่งสูตรดังกล่าวเป็นการคิดค้นโดยกลุ่มงานเภสัชกรรม ของ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว ที่หลายๆ คน ปรารถนาไปพักผ่อนนอกบ้านเพื่อสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ ทั้งขึ้นดอย เดินป่า ฯลฯ หรือผู้ที่ต้องเดินทางไปทำงานนอกบ้าน เจอทั้งฝุ่น ทั้งควัน แม้กระทั่งลมจากเครื่องปรับอากาศ ย่อมทำร้ายเส้นผมเป็นธรรมดา

       ท้ายที่สุด ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวเสริมว่า ไม่ว่าจะสูตรบำรุงผมชั้นเลิศเพียงใด แต่หากคุณมีการไดร์ผม หรือโกรกสี เปลี่ยนสีบ่อยๆ ครีมหมักผมที่ว่าเยี่ยมก็ย่อมไม่ช่วยอะไร ดังนั้น ต้องมีการดูแลให้ดี อย่าซ้ำเติมสุขภาพผมด้วยการเสริมแต่ง ทรงและเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติมากจนเกินเหมาะสม

 จารยา บุญมาก
ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 ธันวาคม 2554

8240
 “เคยเห็นทีวีเสนอข่าวกิจกรรมเล่นดนตรีภายในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เพื่อให้คนป่วย ญาติผู้ป่วย ฟังกันอย่างเพลิดเพลิน แถมยังผ่อนคลายความเครียดระหว่างนั่งรอคิวเรียกชื่อเข้าพบแพทย์ตรวจอาการ” นั้นเป็นแรงบันดาลใจให้ สุนันทา พุ่มพูน หัวหน้ากลุ่มชุมชนหมู่บ้านแหลมทอง จ.ชลบุรี อยากร่วมทำกิจกรรมดีๆ เช่นนี้บ้าง
       
       สุนันทา บอกว่า แม้จะไม่มีความรู้เรื่องดนตรี แต่มีความเชี่ยวชาญประดิษฐ์ดอกไม้ คิดว่า น่าจะนำความรู้นี้ไปถ่ายทอดให้คนกลุ่มนี้ พอคิดปุ๊บก็ตัดสินใจเดินทางไปโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เพื่อเสนอไอเดียสอนทำดอกไม้ โดยสอนสัปดาห์ละวัน ทางโรงพยาบาลให้การตอบรับทันที โดยจะเริ่มสอนหลังปีใหม่เป็นต้นไป ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ ตั้งใจจะขอให้เอสโซ่สนับสนุนส่วนหนึ่ง และอาจให้จ่ายเอง 10-20 บาท เขาจะได้ตั้งใจทำ เพราะรู้สึกว่าเสียเงินไปแล้ว ส่วนผู้ที่สนใจอยากเรียนขอให้รวมกลุ่ม 15-20 คน เธอยินดีเป็นวิทยากร

       เหตุผลหนึ่งที่อยากถ่ายทอดวิชาประดิษฐ์ดอกไม้ให้คนอื่นโดยไม่มีกั๊กความรู้ เผื่อเขาจะนำไปต่อยอดพัฒนาฝีมือสร้างรายได้เสริม หรือประดิษฐ์ให้เพลิดเพลิน เพราะบางครั้งการเฝ้าคนป่วยเวลาอยู่บ้านนานๆ อาจเบื่อ ถ้ามีอะไรทำจะได้มีรู้สึกเบื่อหรือเครียด
       
       สำหรับเธอมีความรู้เหล่านี้ เริ่มต้นมาจากโครงการเอสโซ่พัฒนา เชิญวิทยากรมาสอนทำดอกไม้จันทน์ พวงหรีด แล้วพาไปโชว์ตามงานต่างๆ คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ เพราะไม่ใช่ไม้มงคล แม้ว่าเราจะเรียกให้เพราะหูว่า “ดอกไม้สวรรค์” จากนั้นจึงเปลี่ยนมาประดิษฐ์ดอกไม้หลากหลายรูปแบบ ตามคำแนะนำของวิทยากร ประกอบกับสนใจเป็นการส่วนตัว จึงต่อยอดโดยซื้อหนังสือที่สอนวิธีประดิษฐ์ดอกไม้ รวมทั้งค้นจากอินเทอร์เน็ต แล้วค่อยฝึกปรือฝีมือจนเกิดความเชี่ยวชาญจนได้รับการยอมรับ เวลาที่หน่วยงานรัฐและเอกชน ต้องการดอกไม้ จะมาอุดหนุนอย่างสม่ำเสมอ

       ด้าน สมจิตร จั่นบ้านโขด หัวหน้ากลุ่มชุมชนซากยายจีน แจกแจงให้ฟังว่า เปิดเทอมหน้าจะเป็นครูสอนพิเศษ ตระเวนสอนจักรสานตะกร้าพลาสติกให้แก่นักเรียนหลายแห่ง เผื่อเด็กเติบโตอาจมีไอเดียใหม่เกี่ยวกับจักรสาน อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพ
       
       เมื่อก่อนป้าก็ไม่มีความรู้จักสาน ป้าขายโชวห่วยอยู่ที่บ้านและมีหอพักเล็กๆ จู่ๆ วันหนึ่งเอสโซ่ เชิญวิทยากรมาสอน มีเพื่อนในชุมชนชวนไปเรียน ตอนนั้นว่างๆ เลยไปเรียน พอเรียนแล้วรู้สึกสนุก จึงฝึกทำอย่างต่อเนื่องจนคล่อง และช่วงที่ชลบุรี งานโอทอป เขามีการร้านก็ไปเดินดูกระเป๋าจักสานแล้วจำๆ แบบมาลองทำดู กระทั่งทำได้หลายแบบ นำมาวางขายที่ร้าน มีลูกค้าชาวไทยและต่างชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาอุดหนุน โดยมีหลายแบบและจำหน่ายในราคากันเอง

       ขณะที่ มงคลนิมิตร เอื้อเชิดกุล กรรมการและผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท เอสโซ่ บอกว่า ปีที่ผ่านมาได้ตั้งศูนย์ฝึกอบรมอาชีพสตรีขึ้น ณ วัดแหลมฉบัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านอาชีพ และเป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนในโครงการไปพร้อมกัน หวังให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนพนักงานและครอบครัวชาวเอสโซ่ ที่มีจิตอาสาหลายรายแปลงกายเป็นครูสอนสอนภาษาอังกฤษให้แก่โรงเรียนรอบโรงกลั่นด้วย
       
       “ที่ฝึกทักษะอาชีพให้กลุ่มแม่บ้าน ตอนแรกหวังแค่ให้สตรีกลุ่มนี้มีรายได้เสริมมาจุนเจือครอบครัว หรือเป็นค่ากับข้าว ไม่คิดมาก่อนว่าจะไปไกล มีการขยายผลเพื่อสังคม คือ ผมเพิ่งรู้ว่ากลุ่มแม่บ้านมีแผนไปสอนทำดอกไม้ประดิษฐ์ให้ผู้ป่วยและญาติคลายเครียดระหว่างรอพบแพทย์ หรือเป็นครูพิเศษสอนจักสาน พอรู้ว่ากลุ่มแม่บ้านต่อยอดทักษะอาชีพเพื่อสังคม ทาง เอสโซ่ ยินดีให้การสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์และอื่นๆ ขอให้กลุ่มแม่บ้านแจ้งมาว่าต้องการอะไรบ้าง” มงคลนิมิตร กล่าว

 โดย...สุกัญญา แสงงาม
ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 ธันวาคม 2554

8241
พบเงินค้างท่อมากกว่า 4 พันล้าน ในระบบบัตรทอง ปี 54 แนะควรปรับปรุงระบบใหม่
       
       นพ.บัญชา ค้าของ ผู้แทนกลุ่มประกันสุขภาพ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) กล่าวถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศในงานประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อระบบสุขภาพที่ดีกว่าของคนไทย หรือ 2011 Thailand Healthcare Summit หัวข้อ “ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพที่ยั่งยืนของประเทศไทย” เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ที่ผ่านมา ว่า ปัญหาของระบบการเงินการคลังในระบบสุขภาพของประเทศไทย จะเห็นได้ว่ามีการผลักภาระความเสี่ยงค่าใช้จ่ายจากกองทุนประกันสุขภาพไปให้หน่วยบริการ ขณะเดียวกัน อำนาจอิสระที่ขาดสมดุลของกองทุนในการกำหนดหลักเกณฑ์จัดสรรภายในและระหว่างกองทุนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการจัดบริการประชาชน มีปัญหาความไม่เท่าเทียมและเป็นธรรม

       นพ.บัญชา กล่าวอีกว่า จากปัญหาต่างๆ ได้มีการสำรวจโรงพยาบาล (รพ.) ในสังกัด สธ.กว่า 840 แห่ง โดยมุ่งไปที่ระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ซึ่งพบว่า ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา กองทุนนี้มีการผลักภาระไปให้หน่วยบริการตลอด แม้จะได้รับงบประมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่กลับกันเงินจำนวนมากที่กองกลาง ตั้งเป็นกองทุนย่อย ทั้งกองทุนส่งเสริมสุขภาพ กองทุนผู้สูงอายุ ฯลฯ ทำให้งบบริการพื้นฐานของหน่วยบริการไม่เพียงพอ ที่สำคัญ ยังทุ่มงบไปในงบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่กลับไม่เพิ่มงบโครงสร้างพื้นฐาน และงบในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ทั้งๆ ที่หากป้องกันโรคได้มากเท่าใดจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ ซึ่งจากข้อมูลพบว่า การกันงบส่วนนี้ทำให้มีเงินเหลือค้างท่อ หรืออยู่ในกองกลางอีกนับหมื่นล้านบาท แต่ได้มีการทยอยจ่ายให้แก่รพ.ผ่านกองทุนย่อยต่างๆ กระทั่งข้อมูลล่าสุดปี 2554 พบว่ายังเหลือเงินค้างท่ออีก 4,200 ล้านบาท ซึ่งปัญหาเงินค้างท่อมาจากการที่รพ.แต่ละแห่งต้องทำรายละเอียดยุ่งยาก อย่างกรณีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยตามบ้าน หากไม่ทำก็ไม่ได้เงินส่วนนี้ เป็นต้น ดังนั้น สปสช.ควรปรับปรุงระเบียบการบริหารงบ ลดขั้นตอนยุ่งยากในกองทุนย่อย เพราะไม่เช่นนั้นก็จะมีปัญหาเบิกจ่าย
       
       ด้านภก.ธีระ ฉกาจนโรดม นายกสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) กล่าวว่า สปสช.เป็นหน่วยงานที่มีความอิสระมาก ทั้งๆที่มีอายุเพียง 9 ขวบ แต่สามารถเข้าไปดำเนินการต่างๆ ได้ อย่าง รพ.เอกชนมีการทำงานก่อตั้งมาร่วม 21 ปี แต่ปรากฏว่า ขณะนี้กำลังถูกเด็กอายุ 9 ขวบ ไล่เตะก้น ด้วยความพยายามดึงผู้ประกันตนออกจากกองทุนประกันสังคม และไปอยู่ในกองทุนบัตรทอง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแต่ละกองทุนต้องแข่งขันกัน เพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยมากกว่า เรียกได้ว่าขณะนี้ สปสช.กำลังแผ่อิทธิพลเข้าสู่สปส. ดังนั้น จึงอยากฝากลูกจ้างผู้ประกันตนทั้งหลายออกมาเรียกร้องสิทธิของตน เพราะอย่าลืมว่าผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินทุกๆ เดือนก็ควรได้สิทธิประโยชน์การบริการที่ดีกว่าสิทธิอื่น และ สปส.ควรใช้วิธีทำสัญญากับประกันสุขภาพเอกชน เพราะหากใช้บริษัทประกันสุขภาพย่อมได้รับการดูแลดีกว่าไปประสานกับ รพ.เอง
       
       ขณะ ที่ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ทุกๆ วันที่ 30 กันยายน สปสช.จะกันเงินสำหรับให้ รพ.ทำการเบิกจ่ายกรณีกองทุนต่างๆ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในตามการวินิจฉัยโรคร่วมหรือDRG ซึ่งในปีงบประมาณ 2554 จะกันไว้กว่า 4 พันล้านบาท ซึ่งทุกปีไม่เคยถึงหมื่นล้านบาทแน่นอน โดยงบส่วนนี้ตั้งเป้าว่าต้องกันไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ของงบกองทุนทั้งหมด และในปีงบประมาณ 2555 ตั้งเป้าไว้ว่าต้องกันไว้ไม่เกินร้อยละ 4

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 ธันวาคม 2554

8242
                ปี 2554 สำหรับวงการสาธารณสุขแทบจะไม่มีอะไรโดดเด่น หรือคืบหน้าอย่างจริงๆจังๆ แม้จะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้ามาบริหารงานถึง 2 คน จาก 2 พรรคการเมืองใหญ่ ที่อาจจะเรียกได้ว่า นโยบายทางการเมืองต่างกันสุดขั้ว ช่วงต้นปี รับหน้าที่โดย “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” แห่งพรรคประชาธิปัตย์ สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี

 ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองฯ 2 ปียังไม่จบ


                เรื่องที่ค้างคามาตั้งแต่ปี 2553 อย่างร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....ก็ยังไม่แล้วเสร็จ อันเนื่องมาจากเกิดกระแสคัดค้านอย่างหนักจากกลุ่มแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ด้วยเหตุผลเกรงว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะส่งผลในทางลบต่อฝ่ายผู้ให้บริการ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการถูกฟ้องร้องต่อศาล ที่มีการกำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขณะที่ฝ่ายเครือข่ายผู้ป่วยกลับมองว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้จะช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขในทุกสิทธิการรักษาพยาบาล เพราะในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 41 กำหนดจ่ายเงินชดเชยเยียวยาเบื้องต้นผู้ได้รับความเสียหายเฉพาะผู้ใช้สิทธิบัตรทองเท่านั้น ไม่รวมประกันสังคมและสิทธิสวัสดิการข้าราชการ

                ความเห็นต่างนำมาสู่การเคลื่อนไหวที่ร้อนแรง ตัวแทนแพทย์ในนามชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ (ชพพ.) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เอาผิดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ฐานยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ ตามด้วยแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศนัดแต่งชุดดำ คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ และขอให้มีการทำประชาพิจารณ์อย่างรอบด้าน แพทยสภาเสนอให้ขยายมาตรา 41 ให้ครอบคลุมการเยียวยาคนไทยทุกคน แทนการออกพ.ร.บ.ฉบับใหม่ ส่วนฝ่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ นำโดย “นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา” อดข้าวประท้วงเพื่อขอให้รมว.สาธารณสุขผลักดันร่างพ.ร.บ.นี้เข้าสู่การพิจารณาของครม.เพื่อชงต่อสู่สภาผู้แทนราษฎร หลังรัฐบาลเปลี่ยนมือมาสู่พรรคเพื่อไทย

                จนสิ้นปี 2554 ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ยังคงค้างเติ่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร หลังครม.มีมติรับร่างพ.ร.บ.ฉบับประชาชนและชงต่อสู่การพิจารณาของสภา ไร้แววจะคลอดออกมามีผลบังคับใช้ ศึกระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการสาธารณสุข ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่กลับยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปี จึงดูเหมือนยังไม่มีทีท่าจะยุติ...ตราบที่ทั้ง 4 ฝ่าย รวมถึงรัฐบาลและฝ่ายค้านจะไม่พิจารณาทุกอย่างบนหลักของเหตุและผลที่จะเกิดขึ้น โดยไม่เห็นแก่พรรคแก่พวก หรือประโยชน์ตนเป็นหลัก !

รวม 3 ระบบสุขภาพวืด!!

                ในช่วงต้นปี เรื่องการยุบรวม 3 ระบบประกันสุขภาพ ทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครอบคลุมประชากร 48 ล้านคน ประกันสังคมราว 9 ล้านคน และสวัสดิการข้าราชการประมาณ 5 ล้านคน เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่มีความเห็นต่างค่อนข้างสูง โดยเฉพาะฟากของประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งหมดทั้งมวลเปิดฉากจากการที่นักวิชาการแสดงผลการศึกษาที่พบว่าสิทธิรักษาฟรีดีกว่าสิทธิประกันสังคม โดยเฉพาะในเรื่องความไม่เป็นธรรม เพราะสิทธิประกันสังคมเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ตัวเองได้มีสิทธิสุขภาพ กระทั่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ดสปสช.) มีมติให้ตั้ง คณะกรรมการเจรจาร่วมระหว่างบอร์ด สปสช. กับบอร์ดสปส. เพื่อหาข้อยุติร่วมเกี่ยวกับการขยายสิทธิการรักษาตามสิทธิรักษาฟรีสู่ผู้ประกันตน

                การขยับในรูปแบบนี้ของบอร์ดสปสช.จึงถูกตั้งแง่จากฝ่ายประกันสังคมและกลุ่มแพทย์บางส่วนว่าเป็นการปูทางเพื่อเปิดประตูนำไปสู่ การยุบรวมกองทุนประกันสังคมเข้าไปอยู่ในกองทุนสปสช. ด้วยการหยิบยกมาตรา 10 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่กำหนดไว้ว่า การขยายบริการสาธารณสุขตามสิทธิรักษาฟรีไปยังผู้ประกันตนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสองฝ่ายตกลงกัน มาเป็นบันไดแรกในการก้าวเดิน ประจวบเหมาะกับเวลาไล่เลี่ยกันมีการออกมา ตี สิทธิสวัสดิการข้าราชการว่ามีการเบิกจ่ายยาที่แพงเกินไป จึงถูกมองว่าเป้าหมายที่แท้จริงของเกมนี้อยู่ที่การยุบรวม 3 ระบบประกันสุขภาพของประเทศเข้าด้วยกัน ไม่เฉพาะแค่ประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น

                 แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดขึ้น เพราะคณะกรรมการเจรจาร่วมระหว่างบอร์ดสปสช.กับบอร์ดสปส.ที่มีการประชุมหารือร่วมกันไปบ้างแล้วก็ยังไม่มีสิ่งใดที่ออกเป็นมติร่วมกันในเรื่องนี้ ที่สำคัญ คงไม่มีระบบประกันสุขภาพใดที่จะยอมสูญเสียสิทธิประโยชน์ตามแบบฉบับของแต่ละระบบไปอย่างแน่นอน

แพทย์ลาออก

                ถึงกับอึ้ง เมื่อสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) เปิดเผยการสำรวจข้อมูลแพทย์ทั่วประเทศล่าสุด ซึ่งทำการเก็บวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 พบว่ามีโรงพยาบาลชุมชนมากถึง 3 แห่ง ที่ไม่มีแพทย์ประจำ ได้แก่ รพ.บันนังสตา จ.ยะลา, รพ. เกาะกูด จ.ตราด และ รพ.ภูกระดึง จ.เลย ทำให้ต้องใช้วิธีการเวียนแพทย์จากโรงพยาบาลจังหวัดมาให้บริการประชาชนเป็นการชั่วคราว และมีโรงพยาบาลชุมชนอีก 26 แห่ง มีแพทย์ประจำเพียงแค่ 1 คน ไม่เพียงพอต่อการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลในเขตภาคอีสาน แม้ต่อมากระทรวงสาธารณสุขจะออกมาให้ข้อมูลว่า รพ.บันนังสตา มีแพทย์ประจำ 5 คน ส่วนอีก 2 โรงพยาบาลมีผอ.โรงพยาบาลใกล้เคียงรักษาการผอ.โรงพยาบาล

                สิ่งที่ปรากฏสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบทยังคงเป็นปัญหาของระบบสุขภาพไทย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่แพทย์ใช้ทุน ซึ่งต้องไปประจำอยู่ในโรงพยาบาลอำเภอ ลาออก โดยยอมจ่ายค่าปรับให้แก่รัฐบาล เนื่องจากไม่ต้องการทำงานในพื้นที่ที่ห่างไกล เช่น กลุ่มแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาและเริ่มเข้ารับราชการในปี 2551 ลาออกก่อนใช้ทุนครบ 3 ปี มากถึง 356 คน จากจำนวนแพทย์ใช้ทุนทั้งหมด 1,189 คน นำมาสู่การเสนอแนวทางแก้ปัญหา ด้วยการให้กระทรวงสาธารณสุขขยายโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2556 ออกไป เพื่อขยายโอกาสให้เด็กในชนบทมีโอกาสเข้ามาเรียนแพทย์และกลับไปทำงานในพื้นที่ เพราะผลการศึกษาพบว่าแพทย์ตามโครงการนี้มีอัตราการคงอยู่ในชนบทสูงกว่า และมีอัตราการลาออกต่ำกว่าแพทย์ที่สอบเข้าในระบบปกติ ทว่าจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน

                และแล้วก็หมดเวลาของพรรคประชาธิปัตย์ เก้าอี้รมว.สาธารณสุขเปลี่ยนมือเป็น “วิทยา บุรณศิริ” ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคเพื่อไทย ซึ่งถือเป็นม้ามืด แซงตัวเต็งอย่าง "วิชาญ มีนชัยนันท์" อดีตรมช.สาธารณสุข จากพรรคเดียวกันแบบเหนือความคาดหมาย 16 สิงหาคม 2554 วันแรกที่นายวิทยาเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แม้จะยังอุบเงียบนโยบายด้านสาธารณสุข แต่ก็ตอบข้อซักถามในประเด็นการฟื้นเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาทสำหรับผู้ใช้สิทธิบัตรทองว่า “อยู่ในนโยบายของพรรคที่ใช้ในการหาเสียงอยู่แล้ว”

ฟื้น 30 บาทยังไม่สตาร์ท

                ผ่านไปเกือบ 2 เดือนหลังรับตำแหน่ง "วิทยา" ยอมให้สัมภาษณ์ว่า จะเริ่มเก็บ 30 บาท เดือนพฤศจิกายน จากนั้นนโยบายนี้ก็เงียบหายไปพร้อมสายน้ำ ที่เข้าท่วมในหลายพื้นที่จนกลายเป็นวิกฤติของชาติ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 1.4 ล้านคน บ้างไร้บ้านเรือนต้องอาศัยศูนย์พักพิง บ้างก็ตกงาน คำตอบล่าสุดของ "วิทยา บุรณศิริ" ที่มีต่อนโยบายนี้ คือ “จะหารือกับนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีการชะลอการเก็บ 30 บาทออกไปก่อน เพื่อรอให้ประชาชนฟื้นตัวจากวิกฤติน้ำท่วม”

น้ำท่วมรพ. อพยพวุ่น!

                อุทกภัย น้ำท่วมใหญ่ 2554 ปรากฏสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น นั่นคือ น้ำท่วมโรงพยาบาล ซึ่งควรจะเป็นแหล่งสุดท้ายในการพึ่งพิงของประชาชนในยามเกิดภัยพิบัติ แต่ก็สุดจะทานทนพลังแห่งสายน้ำ เมื่อ รพ.พระนครศรีอยุธยา เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่น้ำทะลักเข้าท่วม เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งไม่ได้เตรียมการอพยพผู้ป่วยไว้ล่วงหน้า หลังน้ำท่วมจึงปรากฏภาพการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่นด้วยความทุลักทุเล ซ้ำรอยเกิดขึ้นอีกครั้งกับ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ หลังเขื่อนกั้นแตกน้ำทะลักท่วม จ.นครสวรรค์ ภาพการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยท่วมกลางสายน้ำก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง

                จากนั้นผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขต้องออกโรงให้โรงพยาบาลทุกแห่ง โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงใกล้แม่น้ำ เตรียมแผนรับมืออย่างเข้มงวด พร้อมกับกำหนดแผนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีความจำเป็น ซึ่งแบ่งตามระดับอาการของผู้ป่วยจากอาการหนักไปสู่อาการไม่หนักมาก เป็นสีแดง สีเหลือง และสีเขียว โดยให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยในกลุ่มสีแดงไปยังโรงพยาบาลที่ปลอดภัยก่อนเป็นลำดับแรก การอพยพผู้ป่วยด้วยความทุลักทุเลหลังน้ำท่วมโรงพยาบาลแล้ว จึงไม่ปรากฏเป็นครั้งที่ 3

                กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ประเมินความเสียหายของสถานพยาบาลเบื้องต้น พบว่า สถานพยาบาลทุกระดับได้รับความเสียหายจำนวน 561 แห่ง ประเมินความเสียหายในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 11 แห่ง มูลค่าความเสียหายประมาณ 340 ล้านบาท โดย รพ.พระนครศรีอยุธยา เสียหายมากที่สุด มูลค่า 160 ล้านบาท สำหรับแผนป้องกันปัญหาในระยะยาว โดยเฉพาะสถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ในจุดเสี่ยง ริมฝั่งแม่น้ำ อาจจำเป็นต้องทำรั้วโรงพยาบาลที่มีลักษณะคล้ายเขื่อน เพื่อป้องกันน้ำเข้าท่วมโรงพยาบาล

สปสช.บริหารงบไม่ถูกต้อง

                ก่อนสิ้นปี 2554 ผลการตรวสอบและประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546-2553 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ก็ถูกเปิดเผยขึ้น เนื่องจากสตง.พบว่า สปสช.บริหารจัดการงบบริหารสำนักงานและงบกองทุนสปสช.ไม่ถูกต้องใน 7 ประเด็น อาทิ การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้องและไม่ประหยัด, การบริหารพัสดุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด, การนำเงินสนับสนุนกิจกรรมตามภาครัฐจากการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นเงินสวัสดิการเป็นการปฏิบัติที่ไม่ เหมาะสม และการใช้จ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 

                ขณะที่ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. ชี้แจงในประเด็นที่มีการตรวจสอบว่า เมื่อสตง.มีข้อท้วงติงการดำเนินการของสปสช.มาเช่นนี้ก็พร้อมน้อมรับ แต่ในบางเรื่องเป็นการตรวจสอบในปี 2546 ซึ่งบางเรื่องสปสช.ได้มีการแก้ไขปรับปรุงไปแล้ว และบางเรื่องเป็นเรื่องการตีความข้อกฎหมายที่แตกต่างกัน และสตง.เพียงแต่ท้วงติงเท่านั้น ไม่มีเรื่องการทุจริต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้น "วิทยา บุรณศิริ" ในฐานะประธานบอร์ดสปสช.มิอาจนิ่งเฉย ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องตามที่ สตง.ตรวจสอบแล้ว  ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ต้องลุ้นปี 2555 ว่า การตรวจสอบจะเสร็จหรือไม่ และผลจะเป็นอย่างไร

                ตลอดปี 2554 แม้นโยบายหลักๆ จะไม่มีอะไรคืบหน้า แต่หลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับว่าหวือหวาและสร้างความหวาดเสียวให้แก่หน่วยงานและตัวบุคคลไม่น้อย! ต้องรอติดตามต่อในปี 2555

.............................................

โดย...พวงชมพู ประเสริฐ
คม ชัด ลึก 29 ธค 2554

8243
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. ผู้สื่อข่าว‘ข่าวสด’รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ออกหนังสือเวียนประกาศกสม. เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการสามัญภายในสำนักงานที่ระบุถึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการกสม. และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานกสม. ระดับ 11 นับตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย.เป็นต้นไป โดยหนังสือดังกล่าวลงวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำแหน่งที่ปรึกษาระดับ 11 ที่นพ.ชูชัยได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว เป็นตำแหน่งเดิมที่นพ.ชูชัยเคยไปดำรงตำแหน่งครั้งหนึ่งในช่วงของคณะกรรมการสิทธิฯ ชุดก่อน และมีการเรียกร้องขอความเป็นธรรมจนได้กลับมาดำรงตำแหน่งเลขาฯ กสม.อีกครั้งในคณะกรรมการสิทธิฯ ชุดนี้ แต่สุดท้ายก็ต้องกลับไปตำแหน่งเดิมอีกครั้ง ทั้งนี้รายงานข่าวขากกสม.ยังแจ้งว่า เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. นพ.ชูชัยได้ไปฟ้องศาลปกครองเกี่ยวกับการโยกย้ายไม่เป็นธรรมในครั้งนี้ด้วย

ข่าวสดออนไลน์   27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

8244
ศูนย์พยากรณ์​เศรษฐกิจ​และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอ​การค้า​ไทย ​เผย 10 ธุรกิจดาว​เด่น-ดาวดับ​ในปี 55 ชี้​การ​แพทย์-​ความงามมา​แรงสุด​เหตุคน​ใส่​ใจห่วง​ใยสุขภาพ หัน​ทำศัลยกรรม​ความงามมากขึ้น ส่วน​โชห่วยดับสนิท​เพราะสู้ยักษ์​ใหญ่​ไม่​ได้

นาง​เสาวณีย์ ​ไทยรุ่ง​โรจน์ รองอธิ​การบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอ​การค้า​ไทย ​เปิด​เผย​ถึง 10 อันดับธุรกิจ​เด่นปี 55 ว่า ศูนย์พยากรณ์​เศรษฐกิจฯ ​ได้จัดอันดับธุรกิจดาว​เด่น​ในปี 55 จาก​การ​ให้คะ​แนน​ใน 5 ด้าน คือ ด้านยอดขาย ต้นทุน ส่วนต่างของยอดขายต่อต้นทุน(กำ​ไรสุทธิ) ​ความสามารถ​ใน​การรับผลจากปัจจัย​เสี่ยงต่างๆ ​และ​ความสอดคล้องกับกระ​แสนิยม รวม 50 คะ​แนน รวม​ถึงประ​เมินจากสถาน​การณ์​เศรษฐกิจ 55 ปัจจัยสนับสนุน ​และปัจจัยบั่นทอน​ใน​การ​ทำธุรกิจ ​ซึ่งพบว่า ธุรกิจดาว​เด่น 10 อันดับ 12 ธุรกิจ ​ได้​แก่ 1.ธุรกิจบริ​การทาง​การ​แพทย์ ​และ​ความงาม 45.1 คะ​แนน  2.อุตสาหกรรม​การผลิตน้ำตาล 44 คะ​แนน

3.ธุรกิจปูนซี​เมนต์​และผลิตภัณฑ์คอนกรีต 43.9 คะ​แนน 4.สถานีบริ​การ/จำหน่ายน้ำมัน ก๊าซ​เอ็นจีวี ​และ​แอลพีจี 43.8 คะ​แนน 5.สถาบัน​การ​เงิน 43.5 คะ​แนน  6.​เทค​โน​โลยีสื่อสาร 43.3 คะ​แนน  7.ธุรกิจประกันภัย​และประกันชีวิต 43.2 คะ​แนน ส่วนอันดับ 8 มีคะ​แนน​เท่ากันที่ 42.7 คะ​แนน​ใน 2 ธุรกิจคือ ธุรกิจวัสดุอุตสาหกรรม​และ​เครื่องจักร ​และธุรกิจก่อสร้าง​และวัสดุก่อสร้าง 9.ธุรกิจพลังงาน​และพลังงานทด​แทน ขณะที่อันดับ 10 มี 2 ธุรกิจที่คะ​แนน​เท่ากันที่ 42.4 คะ​แนนคือ ธุรกิจ​เคมีภัณฑ์ ​และธุรกิจอาหาร

ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ​ผู้อำนวย​การศูนย์พยากรณ์​เศรษฐกิจฯ กล่าว​ถึง 10 ธุรกิจดาวร่วงปี 55  ​หรือธุรกิจที่มี​โอกาส​ทำธุรกิจน้อย ​และ​ผู้ประกอบ​การจะต้อง​เร่งปรับปรุงศักยภาพ ​ได้​แก่ 1.ร้านค้าดั้ง​เดิม(​โชห่วย) 15.9 คะ​แนน  2.ผัก​และผล​ไม้อบ​แห้ง 16.7 คะ​แนน 3.หัตถกรรม(จักสาน งาน​ไม้) 17.1 คะ​แนน 4.​เครื่องหนัง(งาน​ไม้​เน้นฝีมือ งาน​เครื่องหนังทั่ว​ไป) 17.2 คะ​แนน 5.​เสื้อผ้า​เครื่อง​แต่งกาย(​ไม่​เน้นงานฝีมือ) 18.4 คะ​แนน 6. สิ่งทอผ้าผืน(งาน​ไม้​เน้นฝีมือ ตัด​เย็บทั่ว​ไป) 18.7 คะ​แนน 7.​เหล็ก​และ​การผลิต​เหล็ก 19.9 คะ​แนน 8.อุตสาหกรรมฟอกย้อม 20.7 คะ​แนน 9.ธุรกิจประมง 24.1 คะ​แนน ​และ 10.อสังหาริมทรัพย์(บ้าน​แนวราบ) 24.9 คะ​แนน

"ธุรกิจดาวร่วงปี 55 พิจารณาจากผลกระทบที่​ทำ​ให้ต้นทุนสูงขึ้น ​และ​ทำ​ให้​ผู้ประกอบ​การ​แข่งขัน​ไม่​ได้ ​โดย​เฉพาะต้นทุนด้านค่า​แรงที่จะปรับขึ้น​ในปีหน้า ผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ​และสินค้าที่มีรูป​แบบล้าสมัย ​ไม่ตอบสนอง​ความต้อง​การ​ผู้บริ​โภค ​เช่น ​เครื่องหนัง ​เครื่อง​แต่งกาย งานหัตถกรรม" นายธนวรรธน์ กล่าว

สำหรับธุรกิจ​เด่นหลังน้ำลด ​ได้​แก่ ธุรกิจ​ทำ​ความสะอาด ธุรกิจ​เคลื่อนย้ายสิ่งของ วัสดุก่อสร้าง ​โรงรับจำนำ ​และธุรกิจ​เฟอร์นิ​เจอร์ ส่วนธุรกิจ​เด่น​ในช่วงครึ่งหลังปี 55 ​ได้​แก่ อิ​เล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ร้านทอง สื่อสิ่งพิมพ์​และ​การบัน​เทิง ยางพารา​และผลิตภัณฑ์ยาง ​โดยอิ​เล็กทรอนิกส์ ​และยานยนต์นั้น ​แม้​ไตรมาส​แรกปี 55 จะมี​ความต้อง​การมากขึ้น ​แต่​ผู้ผลิต​ไม่สามารถ​เดิน​เครื่องผลิต​ได้ตาม​ความต้อง​การ ​เพราะยังฟื้นฟู​โรงงาน ​และ​เครื่องจักร​ได้​เต็มที่ คาดจะกลับมา​เดิน​เครื่อง​เป็นปกติ​ในครึ่งหลังของปี ​และ​ทำ​ให้ธุรกิจฟื้นตัว​ได้ครึ่งหลังของปี​เช่นกัน

สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ)  27 ธันวาคม 2554

8245
 เปิดชื่อโรคร้ายแรงที่ค่ารักษาแพงของ สปส. พบแพงสุดเฉียด 8 แสนบาท เพิ่มทีมแพทย์-พยาบาล ตรวจเข้ม รพ.กันยื้อผู้ป่วย หวังเคลมเงินค่ารักษา ขู่ทำผิดรับผิดชอบค่ารักษา คืนเงินให้ สปส.
       
       นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม(สปส.) กล่าวถึงกลุ่มโรคร้ายแรงที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่ง สปส.เตรียมที่จะเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 ว่า แบ่งโรคเหล่านี้ได้เป็นโรคสมอง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคไต และปอดติดเชื้อ โดยสปส.ได้ตั้งเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ประกันตนตามระดับความรุนแรงของโรคโดยคำนวณตามระดับความรุนแรงของโรคเริ่มต้นที่ระดับละ 1.5 หมื่นบาท ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงของโรคในภาษาทางการแพทย์ เรียกว่า Relative Weight (RW) ทาง สปส.ได้อ้างอิงจากมาตรฐานที่วงการแพทย์สากลใช้กันอยู่ ซึ่งแต่ละโรคจะมีน้ำหนักความรุนแรงของโรคแตกต่างกันไปโดยสปส.มองว่าโรคที่รุนแรงและเข้าข่ายจะอยู่ในระดับ RW 2 ขึ้นไป
       
       ทั้งนี้ โรคที่มีระดับความรุนแรงเกิน RW 2 ที่มาตรฐานสากลจัดไว้ ยกตัวอย่างเช่น
การปลูกถ่ายไขกระดูก อยู่ในระดับ RW 53 เมื่อนำ 1.5 หมื่น มาคูณ 53 จะคิดเป็นค่ารักษา 795,000 บาท
การผ่าตัดเปลี่ยนตับ ระดับ RW 44 คิดเป็นเงิน 660,000 บาท
ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ระดับ RW43 คิดเป็นเงิน 645,000 บาท
ผ่าตัดเปลี่ยนปอด ระดับ RW 41 คิดเป็นเงิน 615,000 บาท
ผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจโดยมีหัวกรอ PTCA ระดับ RW 28.33 คิดเป็นเงิน 424,965 บาท
ผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจและสายสวน ระดับ RW 18.10 คิดเป็นเงิน 271,548 บาท
ผ่าตัดสมองและประสบอุบัติเหตุร่างกายผ่าตัดหลายส่วน ระดับ RW 17.14 คิดเป็นเงิน 257,170 บาท
ผ่าตัดท่อเลือดหัวใจ ระดับ RW 15.81 คิดเป็นเงิน 237,213 บาท
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากเส้นเลือดหลายเส้นต้องใช้หัวกรอและสเต๊นท์ ระดับ RW 11.88 คิดเป็นเงิน 177,264 บาท
ผ่าตัดต่อทวารหนักระดับ RW 4.79 คิดเป็นเงิน 71,970 บาท
ผ่าตัดเปลี่ยนเข่า ระดับ RW 4.25 คิดเป็นเงิน 63,762 บาท
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ระดับ RW 4.17 คิดเป็นเงิน 62,614 บาท
ปอดเป็นหนอง ระดับ RW 4 คิดเป็นเงิน 60,000 บาท
อุบัติเหตุได้รับการผ่าตัดสมองไม่มีโรคแทรกซ้อน ระดับ RW 3.98 คิดเป็นเงิน 59,776 บาท
โรคของลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่และได้รับการผ่าตัด ระดับ RW 3.88 คิดเป็นเงิน 58,297 บาท
ผ่าตัดไส้ติ่งและมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง ระดับ RW 3.77 คิดเป็นเงิน 56,553 บาท
ปอดทะลุลมออกในช่องทรวงอก ระดับ RW 3.6 คิดเป็นเงิน 54,000 บาท
โรคหูน้ำหนวกได้รับการผ่าตัดกระดูกและแก้ไขหูชั้นใน ระดับ RW 3.6 คิดเป็นเงิน 54,000 บาท
โรคหูคอจมูกและได้รับการผ่าตัดใหญ่ ระดับ RW 3.51 คิดเป็นเงิน 52,741 บาท
เนื้องอกในทางเดินหายใจ ระดับ RW 3.3 คิดเป็นเงิน 49,500 บาท
มะเร็งระบบประสาทได้รับเคมีบำบัดไม่มีโรคแทรกซ้อน ระดับ RW 3.28 คิดเป็นเงิน 49,219 บาท
หนองในช่องอก ระดับ RW 3.08 คิดเป็นเงิน 46,252 บาท
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและฉีดยาสลายลิ่มเลือด ระดับ RW 2.90 คิดเป็นเงิน 43,506 บาท
สวนหัวใจและฉีดสี ระดับ RW 2.45 คิดเป็นเงิน 36,780 บาท
ส่องกล้องผ่าตัดถุงน้ำดี ระดับ RW 2.45 คิดเป็นเงิน 36,757 บาท
ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และต้องตัดหรือจี้เพื่อรักษาในส่วนที่ยุ่งยาก ระดับ RW 2.33 คิดเป็นเงิน 35,053 บาท
โรคจอประสาทตาและได้รับการผ่าตัด ระดับ RW 2.13 คิดเป็นเงิน 32,044 บาท
       
       นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า กรณีผู้ป่วยจะใช้บริการรักษาโรคร้ายแรงตามระบบใหม่ควรสอบถามแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคอะไรและอยู่ในระดับ RW เท่าไหร่ เพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะเลือกรักษาพยาบาลโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ หรือโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ผู้ประกันตนมั่นใจ ทั้งนี้ ถือเป็นข้อดีของระบบนี้ที่ผู้ป่วยสามารถเลือกโรงพยาบาลได้อย่างเสรี ซึ่ง สปส.จะตามไปจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนในทุกโรงพยาบาลโดยหากเป็นโรงพยาบาลอยู่ในเครือข่ายประกันสังคม ก็จะเคลมได้ทันที แต่ถ้าผู้ประกันตนเลือกไปรักษาในโรงพยาบาลอื่นๆ นอกเครือข่ายประกันสังคม จะต้องทำความเข้าใจหากมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างเพิ่มขึ้นมา ทางผู้ประกันตนก็ต้องเป็นผู้จ่ายค่าส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นเอง
       
       ส่วนกรณีที่เกรงว่าโรงพยาบาลเอกชนจะปกปิดข้อมูลการรักษาและอาการป่วยของผู้ประกันตนเพื่อยื้อผู้ป่วยไว้รักษาเองนั้น นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า หากตรวจสอบกรณีดังกล่าวโรงพยาบาลเอกชนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขณะเดียวกัน สปส.จะมีการตรวจประเมินเวชระเบียนอย่างเข้มข้นโดยจัดจ้างที่ปรึกษาทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจาก 8 คนเป็น 14 คน และจ้างที่ปรึกษาทางการพยาบาลเพิ่มขึ้นจาก 6 คน เป็น 13 คน ตลอดจนประสานกับหน่วยงานตรวจสอบโรงพยาบาลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรมบัญชีกลางเพื่อตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินของโรงพยาบาลเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
       
       นอกจากนี้ กรณีที่ สปส.พบว่า มีการเบิกจ่ายไม่ตรงกับความเป็นจริง ทาง สปส.ก็มีมาตรการเรียกเงินคืนและตักเตือนโรงพยาบาลที่กระทำผิด อีกทั้งจะมีการประเมินผลการดำเนินการโดยออกแบบสำรวจความพึงพอใจผู้ประกันตนและเก็บรวบรวมสถิติการร้องเรียนเปรียบเทียบระหว่างปี 2554 กับปี 2555

ASTVผู้จัดการออนไลน์    27 ธันวาคม 2554

8246
 อย.ร่วมมือ ตำรวจ จับ “พงศ์ศักดิ์คลินิก” บริการฉีดยาผิดกฎหมาย พบเครื่องมือแพทย์ และยาเถื่อน รวมมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท
       
       วันนี้ (27 ธ.ค.) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมด้วย พ.ต.อ.ไพฑูรย์ คุ้มสระพรหม รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (รอง ผบก.ปคบ.) ร่วมกันแถลงข่าวผลการจับกุมพงศ์ศักดิ์คลินิก สำนักงานใหญ่ จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ที่ 89/8 ถ.สุขุมวิท ต.ท่าประดู่ อ.เมือง จ.ระยอง บริการฉีดยาผิดกฎหมายรวมของกลางมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท
       
       โดย นพ.พิพัฒน์กล่าวว่า จากการตรวจจับคลินิกฯ นั้นพบว่า มีการระทำผิดในข้อหาต่างๆ ต่อไปนี้
1. มีการลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโดยไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนตำรับยาจาก อย. โดยอ้างสพรรคุณว่าใช้รักษารอยเหี่ยวย่น อ้างว่าทำให้ใบหน้าขาวใส อ้างว่าชะลอความแก่ จำนวน 30 รายการ เช่น ยาฉีด โบท็อกซ์, ยาฉีดฟิลเลอร์ เสริมจมูก เสริมคาง, ยาฉีดกลูตาไธโอน, ยาฉีดพลาเซนต้า (รกแกะ), ยาฉีดแอลคานีทีน และยาฉีดวิตามินซีผสมคอลลาเจน เป็นต้น
2. พบยาลดความอ้วนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา และสงสัยว่าเป็นเฟนเทอมีน ซึ่งอยู่ระหว่าง ส่งตรวจวิเคราะห์
3. พบเครื่องมือแพทย์ที่ใช้เกี่ยวกับเสริมความงามบนใบหน้าที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและจดแจ้งจาก อย. เช่น เครื่องนวดร้อนเย็น จำนวน 2 เครื่อง เครื่องไออนโต เครื่องสลายไขมัน เครื่องยิงเลเซอร์ด้วยรังสีอินฟราเรด ฯลฯ

       “ในเบื้องต้นแจ้งข้อหาดำเนินคดี ดังนี้
1. ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. นำเข้าเครื่องมือแพทย์โดยไม่แจ้งรายการละเอียด มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. นำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ไม่มีหนังสือรับรองประกอบการนำเข้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นพ.พิพัฒน์กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    27 ธันวาคม 2554

8247
จิต​แพทย์-สสส. ​เผย "สวดมนต์ข้ามปี" ช่วยผ่อนคลาย​ความทุกข์ของ​ผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม ชี้คนที่สวดมนต์อยู่​เสมอมี​ความสุขที่สุด ลด​ความ​เห็น​แก่ตัว ​เข้า​ใจ-​เมตตา​ผู้อื่นมากขึ้น มีภูมิคุ้มกันตั้งรับวิกฤติ​ในชีวิต​ได้

นพ.ประ​เวช ตันติพิวัฒนสกุล ​ผู้จัด​การ​แผนงานสร้าง​เสริมสุขภาพจิต​เพื่อสุขภาวะสังคม​ไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุน​การสร้าง​เสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ประ​เทศ​ไทย​เพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤติมหาอุทกภัยครั้งรุน​แรงที่สุด​ในรอบ 50 ปี ที่สร้าง​ความบอบช้ำทางจิต​ใจ​ให้​แก่​ผู้ประสบภัย ​ซึ่งบางคนอาจกำลังตกอยู่​ในภาวะซึม​เศร้า หลังจากสูญ​เสียบุคคล​ในครอบครัว ​หรือทรัพย์สิน​เสียหายอย่างรุน​แรง จากงานวิจัย​ความสุข​ในประ​เทศ​ไทยที่​ทำ​การสำรวจสุขภาพจิตของคน​ไทย ปี 2551-2553 ของกรมสุขภาพจิต พบว่า ​แนว​โน้มสุขภาพจิตของ​ผู้นับถือศาสนาพุทธดีขึ้น​เรื่อยๆ ​ในรอบ 3 ปี ​โดย​ในปี 2552 พุทธศาสนิกชนมีสุขภาพจิตสูงสุดร้อยละ 4.3 ​ทั้งนี้ ​ผู้ที่ปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา​เป็นประจำ​ไม่ว่าจะนับถือศาสนา​ใด​ก็ตาม จะมี​ความสุข ​ความพอ​ใจ​ในชีวิต ​และมีอารมณ์ดี มีอัตรา​การหย่าร้างต่ำ ​และมีชีวิตยืนยาวมากกว่า​ผู้ที่​ไม่สน​ใจศึกษาคำสอนทางศาสนา นอกจากนี้ ​ในกลุ่มชาวพุทธ ​ผู้ปฏิบัติสมาธิ​เป็นประจำจะมี​ความสุขมากกว่า​ผู้ที่​ไม่​เคยฝึกสมาธิ

นพ.ประ​เวชกล่าวว่า ประ​โยชน์ที่​เกิดจากศาสนามีดังนี้ 1.มีสังคม ​เพื่อนที่ศึกษา​และปฏิบัติธรรมร่วมกัน ช่วย​เพิ่ม​ความสุข​และลด​ความรู้สึก​โดด​เดี่ยว 2.ค้นหา​ความหมายของชีวิต   ​ในช่วง​เวลาที่ต้องตัดสิน​ใจ​เรื่องสำคัญของชีวิต ​โดยมี​แนวทาง​การ​ใช้ชีวิตที่ชัด​เจนจากหลักคำสอนทางศาสนา 3.หลีก​เลี่ยงจากพฤติกรรม​เสี่ยง ต่างๆ ​เช่น ดื่มสุรา ​ใช้ยา​เสพติด ​เป็นต้น ​และ 4.พัฒนาจิต​ใจ​ในระดับลึกซึ้ง ​เข้า​ใจชีวิตมากขึ้น มี​ความสุข​ได้ง่ายขึ้น ช่วย​เชื่อม​โยง​ให้รู้สึก​เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ​ทั้งนี้ ​ในช่วงนี้​ใกล้ช่วง​เทศกาลปี​ใหม่ ​โอกาสนี้ สสส. ร่วมกับภาคี​เครือข่าย​ทั้งภาครัฐ​และ​เอกชน จัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ถือ​เป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะชักชวน​ให้คน​ไทยมี​โอกาส​เข้าวัด สวดมนต์​ใกล้ชิดพระพุทธศาสนามากขึ้น ​เป็น​การฝึกตนอย่างหนึ่ง มีอานิสงส์คือช่วยขับ​ไล่​ความขี้​เกียจ ลด​ความ​เห็น​แก่ตัว จิต​เป็นสมาธิ ​เกิดปัญญา

"ศาสนามี​ความสำคัญอย่างยิ่ง​ใน​การฟื้นฟูจิต​ใจ กิจกรรมทางศาสนาควรมีภาคปฏิบัติที่​เป็น​การฝึกตน​ในระดับต่างๆ ตาม​ความสมัคร​ใจ ​เพื่อช่วย​ให้​ผู้​เข้าร่วม​ได้สัมผัสกับชีวิต​ใน​แง่มุมสำคัญ ​ความยากลำบากทางร่างกาย​ไม่​ใช่ปัญหาที่ต้องหลีกหนี ​แต่กลับ​เป็น​การฝึกตนที่​ให้ผ่านพ้นช่วง​เวลาวิกฤติของชีวิต ช่วย​ให้​ไม่กลัว​และอยู่กับ​ความ​ไม่​แน่นอนของชีวิต​ได้ดียิ่งขึ้น ​การสวดมนต์ช่วยผ่อนคลาย​ความทุกข์​ใจ​ในช่วง​เวลายุ่งยากของชีวิต ​เช่น ​เจ็บป่วย หย่าร้าง คนรักตายจาก ที่สำคัญคำสอนทางศาสนาช่วย​ให้​เราก้าวพ้นจากมุมมองที่​เห็น​แก่ตัว ​เพิ่ม​การมอง​ผู้อื่นอย่าง​เข้า​ใจมากยิ่งขึ้น ​และยังช่วยบ่ม​เพาะ​ความ​เมตตากรุณาขึ้นภาย​ในจิต​ใจ" นพ.ประ​เวชกล่าว.

ไทย​โพสต์  27 ธันวาคม 2554

8248
 ย้อนกลับไปเกือบ 80 ปีที่แล้ว ต้นตระกูลของโรงงาน “เถ้าฮงไถ่” ได้เข้ามาบุกเบิกเครื่องปั้นดินเผาเป็นรายแรกในจังหวัดราชบุรี จนสร้างชื่อให้ดินแดนแห่งนี้กลายเป็นเมืองหลวงของการทำ “โอ่งมังกร” ทว่า ด้วยยุคสมัยเปลี่ยนไป ความจำเป็นใช้โอ่งเก็บน้ำน้อยลง ผลักดันให้ผู้ผลิตรายนี้ พลิกโฉมธุรกิจ โดยพัฒนาดีไซน์ พร้อมเปลี่ยนตลาดจากเครื่องใช้ในบ้านสู่กลุ่มของตกแต่ง ช่วยให้ยังรักษาแชมป์เบอร์หนึ่งในวงการมาจนถึงปัจจุบัน

       วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ทายาทรุ่น 3 เล่าว่า การพัฒนาสินค้าเกิดขึ้นตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ (ชาญชัย สุพานิชวรภาชน์) จากในอดีตที่โรงงานเคยเป็นผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาแทบจะผูกขาดในท้องถิ่น กระทั่ง ระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจทำโอ่งมังกรในราชบุรีเติบโตอย่างรวดเร็ว โรงงานเกิดใหม่จำนวนมาก ทำให้การแข่งขันสูง โอ่งถูกผลิตจนล้นตลาด ราคาตกต่ำ ที่สำคัญ ภาชนะทำจากพลาสติกกำลังถูกใช้ทดแทน ทำให้คุณพ่อมองการณ์ไกลเลือกจะหนีการแข่งขัน หันไปเปิดตลาดใหม่ โดยพัฒนางานเครื่องปั้นดินเผาจากเครื่องใช้ในครัวเรือนมาเป็นของตกแต่งบ้าน

       “แนวคิดของคุณพ่อตอนนั้น เห็นว่า ลำพังจะทำเครื่องปั้นเพื่อใช้การสอยอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ทำให้เริ่มปรับตัวนำความรู้ใหม่ๆ จากต่างประเทศมาพัฒนา เช่น ริเริ่มนำดินขาวจากประเทศจีน เพื่อวาดลวดลายบนโอ่ง บุกเบิกทำเซรามิกสีเขียวไข่กา และสีน้ำเงินขาว ช่วยให้สร้างสรรค์เครื่องปั้นที่แตกต่างออกไปได้ เพื่อการตกแต่งบ้าน สวน โดยขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มโรงแรม รีสอร์ต และส่งออกไปต่างประเทศ ทำให้สินค้าจากโรงงานของเรา สร้างมูลค่าจากเดิมหลายเท่า และไม่ต้องลงไปแข่งขันกับเจ้าอื่นๆ” วศินบุรี เล่าจุดเปลี่ยนโรงงาน
       
       ในส่วนทายาทรุ่นที่ 3 พกดีกรีปริญญาตรี และโทด้านเซรามิกจากประเทศเยอรมนี เข้ามารับช่วงต่อ เมื่อประมาณ 11 ปีที่แล้ว โดยนำเทคนิคการผลิตสมัยใหม่มาปรับใช้ เช่น ใช้โนฮาวการทำสีจากเยอรมนี ซึ่งคุณภาพดี และปลอดภัย อีกทั้ง บุกเบิกสร้างรูปแบบเซรามิกสมัยใหม่อย่างจริงจัง นับเป็นการพลิกโฉมวงการเซรามิกรายแรกๆ ในประเทศไทยเลยทีเดียว
       
       “ผมรู้สึกว่า สิ่งที่อากง และพ่อทำมาตลอด มันยิ่งใหญ่ ผมจึงไม่คิดเปลี่ยนสิ่งดีๆ หรือแก่นที่เคยมีมา เพียงแต่ต่อยอดจากของเดิม โดยใส่ไอเดียและดีไซน์ใหม่ๆ เข้าไป เช่น ทำสีสันให้ฉูดฉาด แตกต่างไปจากที่โรงงานเคยทำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีโทนเย็น แต่ผมมาปรับให้มีสีสันร่วมสมัย มีให้เลือกเกือบพันเฉดสี ขณะที่รูปทรงประยุกต์ในแบบไม่เคยมีมาก่อน ปรากฏว่า งานของผมไปโดนใจนักออกแบบตกแต่งโรงแรมและรีสอร์ตยุคใหม่ ทำให้ได้ฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเยอะ จากนั้น ผมก็ยึดแนวทางพัฒนาไม่หยุดนิ่งมาตลอด ซึ่งช่วยให้เรามีลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เข้ามาต่อเนื่อง” ทายาทรุ่น 3 เผย และเล่าต่อว่า
       
       ผลิตภัณฑ์ของโรงงาน “เถ้าฮงไถ่” เกือบทั้งหมดเป็นงานเซรามิกเพื่อการตกแต่ง ตั้งแต่ชิ้นเล็กถึงใหญ่ มีทั้งแนวสมัยใหม่ และแนวย้อนยุค โดยเน้นรับผลิตงานตามออเดอร์ ราคาสินค้าเฉลี่ยจะสูงกว่าท้องตลาด สูงสุดที่เคยทำคือ โอ่งสูง 2 เมตร ใบละ 8 หมื่นบาท กลุ่มลูกค้า 70% เป็นตลาดในประเทศ ส่วน 30% ส่งออกไปยังยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย เป็นต้น

       อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของวศินบุรี ค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับอนาคตวงการเซรามิกไทย เนื่องจากปัจจุบัน ตลาดแคบลง ขณะที่การลงทุนสูงสวนทางกับราคาที่แข่งขันกันขายถูก เฉพาะแค่ใน จ.ราชบุรี มีโรงงานทำโอ่งมังกรกว่า 50 ราย แทบทุกเจ้าทำสินค้าเลียนแบบคล้ายกันไปหมด อีกทั้ง ยังมีสินค้าจีน และเวียดนามมาตีตลาดด้วย ขณะที่บุคลากรรุ่นใหม่ด้านการออกแบบเซรามิกขาดการสนับสนุนเท่าที่ควร
     
       จากความวิตกดังกล่าว หนุ่มนักออกแบบ พยายามหาทางกระตุ้น และส่งเสริมวงการเซรามิก โดยเฉพาะใน จ.ราชบุรี เช่น เปิดโรงงานตัวเองเป็นแกลอรี่ ให้ผู้สนใจเข้าชมผลงานที่ออกแบบด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจน เปิดฝึกอบรมเด็กรุ่นใหม่เข้าสู่วงการ และร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น จัดกิจกรรมปลุกกระแสให้ จ.ราชบุรี เป็นเมืองศิลปะแห่งเซรามิก
     
       “ผมเชื่อว่า โอกาสของเซรามิกราชบุรี ต้องเป็นตลาดสินค้าทางเลือกเฉพาะกลุ่ม เน้นที่คุณภาพ ดีไซน์ และความหลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่า ผมอยากให้แต่ละโรงงาน มีแนวคิดไม่แข่งกับคนอื่น แต่ต้องแข่งกับตัวเอง สร้างสรรค์สินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ประจำโรงงาน ซึ่งจะทำให้ตลาดเซรามิกของราชบุรีเติบโตและยั่งยืน” ทายาทรุ่น 3 ปิดท้าย
       
       @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

       เปิดตำนาน "เถ้าฮงไถ่" เจ้าแรกโอ่งราชบุรี
       
       จุดกำเนิดเครื่องปั้นดินเผาราชบุรี เริ่มเมื่อ “ซ่งฮง แซ่เตีย” (บิดาของชาญชัย สุพานิชวรภาชน์) และ “จือเหม็ง แซ่ฮึ้ง” สองหนุ่มชาวจีนที่เคยทำเครื่องปั้นดินเผา อยู่ในโรงงานที่เมืองปังโย มณฑลกวางตุ้น ประเทศจีน เมื่ออพยพมาหากินในเมืองไทย ได้พบแหล่งดินเหนียวคุณภาพดีที่ จ.ราชบุรี จึงช่วยกันก่อตั้งโรงงานเมื่อ พ.ศ.2476 เริ่มแรกทำไหน้ำปลา และโอ่งใส่น้ำ โดยบรรทุกลงเรือเร่ขาย
       
       เนื่องจากเวลาดังกล่าว เกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 เมืองไทยไม่สามารถนำเข้าเครื่องปั้นดินเผาจากประเทศจีนได้ ทำให้กิจการเครื่องปั้นดินเผาของโรงงานแห่งนี้เติบโตอย่างสูง ผูกขาดตลาดเพียงเจ้าเดียวอยู่นานหลายปี ซึ่งต่อมา หุ้นส่วนแต่ละคน ต่างแยกย้ายกันไปขยายกิจการสร้างโรงงานของตัวเอง ซึ่งในส่วน “ซ่งฮง แซ่เตีย” ได้ตั้งโรงงาน “เถ้าฮงไถ่” และอยู่คู่ดินแดนแห่งนี้เรื่อยมา จนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราชบุรี กลายเป็นแหล่งผลิตโอ่งมังกรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 ธันวาคม 2554

8249
 คกก.กำลังคนด้านสุขภาพ ถกร่วมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข  สพท.  แพทย์ศิษย์เก่า CPIRD  หาแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ในชนบท ชงขยายโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท คงเพิ่มค่าปรับ แต่ทบทวนระยะเวลาใช้ทุนให้รอบคอบ เร่งหามาตรการจูงใจให้อยู่ในชนบท และไม่ปิดโอกาสเรียนต่อ
       
       จากกรณีสหพันธ์นักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย (สพท.) ทำหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท ว่า สพท.สนับสนุนการขยายโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท หรือที่เรียกว่า CPIRD แต่ไม่สนับสนุนข้อเสนอการเพิ่มเวลาชดใช้ทุน และเพิ่มเงินค่าปรับ ทั้งนี้ เพราะมีความห่วงกังวลใน 3 ประเด็น คือ

1) การเพิ่มค่าปรับและเวลาชดใช้ทุนเป็นมาตรการเชิงลบ อาจทำให้นักเรียนสนใจเรียนแพทย์น้อยลง

2) ประชาชนต้องการรับบริการจากแพทย์เฉพาะทางมากกว่าแพทย์ทั่วไป แพทย์จึงต้องไปศึกษาต่อ และ

3) การเพิ่มจำนวนผู้ศึกษาในโครงการ CPIRD ให้ใกล้เคียงกับจำนวนผู้ศึกษาในหลักสูตรปกติ ควรมีการศึกษาอย่างรอบคอบ
       
       นพ.มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อประเด็นร้องเรียนข้างต้นโดยมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สมชัย นิจพานิช ผู้ดูแลโครงการ CPIRD และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้แทนจาก สพท.ได้แก่ นายก สพท.และนักศึกษาแพทย์ที่เป็นสมาชิก นักวิชาการด้านกำลังคนสุขภาพ และแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนที่สำเร็จหลักสูตรทั่วไป และ แพทย์ CPIRD ร่วมหารือ โดยที่ประชุมต่างเห็นตรงกันว่า ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบทยังคงมีอยู่ สัดส่วนของแพทย์ไทยต่อประชากรยังคงต่ำมาก โรคที่ชาวชนบทต้องการแพทย์ดูแลนั้นเป็นโรคง่ายๆ ไม่ซับซ้อน จึงต้องการแพทย์ทั่วไปในการให้บริการ หากเกิดปัญหาก็มีระบบส่งต่อที่จะช่วยได้ ส่วนแพทย์เฉพาะทางนั้น ปัจจุบันมักมีปัญหาการกระจุกตัวในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในต่างจังหวัด ไม่เพียงเท่านั้นการเลือกศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทาง มักเป็นความต้องการของผู้เรียน มิใช่การไปเรียนตามสาขาที่ขาดแคลน จึงเกิดปัญหาแพทย์เฉพาะทางบางสาขา เช่น บริการความงาม ล้นตลาด
       
       โครงการ CPIRD เป็นความพยายามในการสรรหานักเรียนในชนบท มาเรียนแพทย์ เพื่อกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ชนบท แต่การสอบเข้าเรียนยังเน้นความรู้ด้านวิชาการเป็นหลัก ทำให้เด็กในเมืองที่มีความสามารถในการแข่งขันได้เปรียบในการสอบเข้า เมื่อจบการศึกษา จึงไม่สามารถอยู่ในชนบทได้นาน อีกทั้งการผลิตแพทย์ในโครงการ CPIRD ยังขาดกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับพื้นที่ที่จะไปปฏิบัติงาน การจัดสรรทุนเป็นการจัดสรรผ่านคณะแพทย์ศาสตร์ แทนที่จะเป็นการจัดสรรทุนผ่านโรงพยาบาลและชุมชนที่จะต้องกลับไปใช้ทุน
       
       นพ.มงคล กล่าวในที่ประชุมคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2554 อีกว่า ที่ประชุมในวันที่ 13 ธันวาคม มีข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาเงื่อนไขในการผลิตแพทย์ในโครงการ CPIRD ที่สำคัญ คือ

1) ควรปรับปรุงเงื่อนไขโครงการให้ตอบสนองเป้าหมายการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ระบบการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต้องให้โอกาสกับเด็กในชนบทจริงๆ กระทรวงสาธารณสุขควรเตรียมความพร้อม และเสริมศักยภาพของนักเรียนในพื้นที่ตั้งแต่มัธยมปลาย

2) ควรให้ทุนผ่านโรงพยาบาลและชุมชนในพื้นที่เพื่อสร้างความผูกพันหลังสำเร็จการศึกษา

3) ควรปรับปรุงหลักสูตร โดยให้ความสำคัญมากขึ้นกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับชุมชนผ่านการฝึกงานจริงในชนบท

4) สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายแพทย์ CPIRD เพื่อช่วยให้กำลังใจ และเห็นคุณค่าร่วมกันของการทำงานในชนบท

ทั้งนี้ สพท.จะสื่อสาร ชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และความต้องการที่แท้จริงของระบบบริการสุขภาพ โดยเชิญแพทย์รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรผ่านโครงการ “เปิดรั้วโรงเรียนแพทย์” ด้วย
       
       “ที่ประชุมในวันนั้น เห็นด้วยกับการเพิ่มค่าปรับเพิ่มจาก 4 แสนบาท เพราะเป็นอัตราที่น้อยมากเมื่อเทียบกับความสามารถในการหารายได้ของแพทย์ในปัจจุบัน และการลงทุนของรัฐบาลในการผลิตแพทย์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายถึง 1.8 ล้านบาท  นั้นสูงกว่าค่าปรับหลายเท่า  ส่วนการขยายเวลาการใช้ทุน มีข้อเสนอให้ทบทวนการเพิ่มระยะเวลาให้รอบคอบ โดยอาจหามาตรการเสริมให้แพทย์อยู่ปฏิบัติงานครบ 3 ปี หากจะปรับระยะเวลาชดใช้ทุนเป็น 6 ปี ควรพิจารณาระยะเวลาที่จะอนุญาตให้ศึกษาต่อด้วย เพราะความต้องการไปศึกษาต่อเป็นปัจจัยหนึ่งที่แพทย์ให้ความสำคัญ และเป็นสาเหตุให้แพทย์ลาออกก่อนกำหนด  ทั้งนี้ การไปศึกษาต่อต้องมีเงื่อนไขที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ” 

ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 ธันวาคม 2554

8250
 คลังหวังหาทางออก  กรณีข้อกังขาระบบประกันสุขภาพ   เสนอโมเดลดูแลระบบการเงินการคลังในอนาคต ดึง 3 กองทุนจัดทำค่าวินิจฉัยโรคร่วม DRG ให้ราคาเท่ากันทั้งประเทศ
       
       วันนี้ (26 ธ.ค.)  ที่โรงแรมพูลแมน บางกอก พิงพาวเวอร์ นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง  กล่าวในงานประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อระบบสุขภาพที่ดีกว่าของคนไทย หรือ   2011 Thailand Healthcare Summit หัวข้อ  “ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพที่ยั่งยืนของประเทศไทย”  ซึ่งจัดโดยภาคีเครือข่ายฯ อาทิ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า)  ฯลฯ ว่า  ปัจจุบันระบบบริการสุขภาพของไทยมี 3 ระบบ คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กองทุนประกันสังคม (สปส.) และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ โดยแต่ละกองทุนมีระบบการเงินการคลังที่แตกต่างกัน  การคำนวณงบประมาณก็แตกต่างกัน โดยเฉพาะราคายา  ซึ่งราคายาที่ไม่เหมือนกันย่อมเป็นปัญหาของการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
       
       นายกุลิศ กล่าวอีกว่า  เชื่อว่า ในการบริหารระบบประกันสุขภาพจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายยาของทั้ง 3 ระบบ  เรียกว่า เป็นโมเดลดูแลระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพในอนาคต   โดยทั้ง 3 กองทุนต้องร่วมมือกันในเรื่องอำนาจต่อรองต่อบริษัทยา  ในการกำหนดค่ากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม หรือ DRG ให้ได้ค่ามาตรฐาน มีอัตราเฉลี่ยที่เท่ากันให้ได้มากที่สุด และต้องมีศูนย์ข้อมูลระบบการเงินการคลังของประเทศ (National Clearing house) เป็นศูนย์ให้ข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านยาที่เป็นกลาง มีอัตรากลางที่ชัดเจน ซึ่งศูนย์แห่งนี้จะทำหน้าที่ส่งข้อมูล หรืออัตราราคากลางของกลุ่มยาชนิดต่างๆ โดยการทำงานเหล่านี้จะมีคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ (คพคส.) ที่มี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  และมีสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ (สพคส.) เป็นเลขานุการ  ซึ่งคณะกรรมการจะทำหน้าที่หาแนวทางแก้ปัญหาด้านระบบการเงินการคลังของประเทศ ว่า  ควรใช้มาตรการใดหรือระบบใดในการบริหารงบของแต่ละกองทุนให้คุ้มค่า และไม่แตกต่างกันจนเกินไป
       
       นายกุลิศ   กล่าวด้วยว่า   กรมบัญชีกลางมีการควบคุมค่าใช้จ่ายยาในกองทุนสวัสดิการข้าราชการ มาตลอด โดยได้คัดเลือกสถานพยาบาลที่มีปัญหาใช้งบสูง จำนวน 34 แห่ง  ส่วนใหญ่พบในโรงพยาบาล (รพ.) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้จัดทำบัญชียา โดยให้ยาแต่ละกลุ่มมีรหัสเฉพาะ อย่างยากลุ่มแก้ปวดหัว ตัวไหนมีฤทธิ์เหมือนกัน ต่างกันก็จะทำบัญชียาตรงนี้    โดยทำมาตั้งแต่ปี 2547 แต่ปัญหาคือ ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมาก เนื่องจากติดปัญหาการรวบรวมข้อมูล โดยเฉพาะกลุ่มยาที่มีฤทธิ์แตกต่างกัน ก็ทำให้รหัสต่างกัน แต่บางกรณีก็อาจใช้รหัสเดียวกันได้ ซึ่งตรงนี้ยังไม่ชัดเจน ต้องมีการปรับปรุง แต่หากวิธีนี้มีการปรับปรุงให้ดีเพียงพอ ก็ยังสามารถนำไปขยายใช้กับกองทุนอื่นๆ ได้     ซึ่งจะช่วยในเรื่องการจ่ายยาอย่างเป็นระบบ ไม่เกิดปัญหาการจ่ายยาเกินความจำเป็น   ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 ธันวาคม 2554

หน้า: 1 ... 548 549 [550] 551 552 ... 651