ผู้เขียน หัวข้อ: การประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย ข้อเท็จจริงที่ประชาชนไทยยังไม่รู้  (อ่าน 525 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9796
    • ดูรายละเอียด
สปสช.ละเมิดสิทธิ์ผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ

คำถามสำคัญ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรักประชาชนหรือรักตัวเองมากกว่า?

ประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพอยู่ 3 ระบบสำหรับประชาชนมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนทั้งหมด และประเทศไทยได้มีการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Healthcare Coverage) ได้แก่ระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(30 บาท) ค่าใช้จ่ายในระบบประกันสุขภาพทั้งหมดตกอยู่ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ของรายได้มวลรวมประชาชาติ (GDP) งบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 28.4 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี

ถึงแม้ว่างบประมาณของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก แต่งบประมาณนี้ก็ยังไม่สามารถที่จะจ่ายให้โรงพยาบาลได้เท่ากับค่าใช้จ่ายจริงของโรงพยาบาลที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาท (โรงพยาบาลขาดทุนในการดำเนินงานรักษาผู้ป่วย)
แต่สปสช.ไม่พยายามที่จะหางบประมาณมาเพิ่ม เพื่อแก้ปัญหางบประมาณไม่พอใช้ (มาตรา 5 วรรค 2 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ --คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอาจกำหนดให้บุคคลที่เข้ารับการบริการสาธารณสุขต้องร่วมจ่ายค่าบริการในอัตราที่กำหนด เว้นแต่ผู้ยากไร้หรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไม่ต้องจ่ายค่าบริการ)

การที่สปสช.ไม่ออกระเบียบให้ประชาชนร่วมจ่ายทั้งๆที่กฎหมายอนุญาต อาจจะเป็นเพราะว่าสปสช.พยายามสร้างภาพว่า “รักประชาชน” และคงจะ “กลัวเสียคะแนนเสียง” ได้แต่รอให้คนอื่นเสนอให้ประชาชน “ร่วมจ่าย”
ซึ่งคนที่เสนอให้มีการร่วมจ่าย ก็จะถูกประชาชนกล่าวหาว่า “จะล้มหลักประกันสุขภาพ” ทั้งๆที่ความจริงนั้น คนที่เสนอให้ประชาชนร่วมจ่ายต่างต้องการที่จะให้ประชาชนได้รับการรักษาตามมาตรฐาน

ทั้งๆทีผู้เสนอให้ร่วมจ่ายเป็นผู้ที่มีความรักและเมตตาแก่ประชาชน (ที่ไม่รู้เท่าทันสปสช.)อย่างแท้จริง
เมื่อสปสช.ไม่ยอมให้ประชาชนร่วมจ่าย แต่หาทางประหยัดงบประมาณ โดยสปสช.ได้ออกกฎระเบียบจำกัดการใช้ยาและวิธีการรักษาผู้ป่วย ทำให้มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยตกต่ำ ผู้ป่วยได้รับความเสียหายจากการไปรักษาของโรงพยาบาลในระบบ 30 บาท มีผลงานวิจัยของ TDRI ที่แสดงว่าผู้ป่วยสูงอายุในระบบ 30บาท มีผลลัพท์การรักษาเลวกว่าระบบสวัสดิการข้าราชการในกลุ่มอายุเดียวกัน กล่าวคือผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการมีอายุยืนยาวกว่า(ภายหลังจากการรักษา)ผู้ป่วยในระบบ 30 บาทถึง 4 ปี (1) โดยผู้ทำการวิจัยได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่าความแตกต่างในการจ่ายงบประมาณทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน (healthcare inequity)และพบว่าผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการยังมีชีวิตอยู่ 82 เปอร์เซ็นต์หลังการรักษา 10 วัน ในขณะที่ผู้ป่วยในระบบ 30 บาทมีชีวิตอยู่เพียง 62 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเวลาผ่านไป40 วัน ผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการมีชีวิตอยู่ 57 เปอร์เซ็นต์และผู้ป่วยในระบบ 30 บาทมีชีวิตอยู่เพียง 29 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผู้วิจัยได้สรุปว่างบประมาณที่ไม่เท่ากัน (สวัสดิการข้าราชการมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ 30 บาท) ทำให้เกิดผลเสียหายต่อผู้ป่วย โดยได้เสนอให้มีองค์กรกลางในการ “ลดความเหลื่อมล้ำ”ของแต่ละกองทุน

แต่ถ้าทีดีอาร์ไอจะวิเคราะห์ต่อไปอีกว่าทำไมผลการรักษาผู้ป่วยใน 2 ระบบนี้เปรียบเทียนกันก็จะพบข้อมูลสำคัญอันหนึ่งว่า (2,3) ,มีความแตกต่างจากการใช้ยารักษาผู้ป่วยใน 2ระบบนี้ กล่าวคือในระบบสวัสดิการข้าราชการ แพทย์สามารถที่จะเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ตามความรู้ความเชี่ยวชาญของตน แต่ในระบบ 30 บาทนั้น แพทย์ไม่สามารถเลือกใช้ยาได้เหมือนในระบบสวัสดิการข้าราชการ

ทั้งนี้เนื่องจากสปสช.เอาเงินไปซื้อยาเองอ้างว่าซื้อมากได้ราคาถูก และ “บังคับ”ให้หมอใช้ได้เฉพาะยาที่สปสช.ซื้อมาเท่านั้น ซึ่งเป็นการรักษาแบบเหมาโหล และยาที่สปสช.ซื้อมานั้นอาจจะด้อยคุณภาพ ทำให้ผลการรักษาเลวกว่าผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ

ฉะนั้น สปสช.ควรจะเลิก “บังคับแพทย์” ให้ใช้ยารักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาทแบบวิธีเหมาโหล เพราะการทำเช่นนี้ เป็นการ “ละเมิดสิทธิ์ผู้ป่วย”ในการที่จะเสียโอกาสในการได้รับการรักษาตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ (ตามที่บัญญัติไว้ใน ม. 5 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพพ.ศ. 2545)



Churdchoo Ariyasriwatana
August 23