ผู้เขียน หัวข้อ: แถลงการณ์สพศท. และสผพท. ถึง(รักษาการ)รมต.สาธารณสุข  (อ่าน 2282 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9784
    • ดูรายละเอียด


เตือนรัฐมนตรีรักษาการกระทรวงสาธารณสุขอย่ารีบร้อนตั้งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 
ความล้มเหลวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็คือ การต้องทำตามมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากรัฐมนตรีมีเพียง 1 เสียงในคณะกรรมการหลักฯ ที่ประกอบไปด้วย กรรมการตามตำแหน่ง 9 คน กรรมการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คัดเลือกกันเองมา 4 คน ผู้แทนองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงกำไรอีก 5 คน ผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 7 คน โดยมีเลขานุการสปสช.เป็นเลขานุการคณะทำงาน

  การคัดเลือกคณะกรรมการหลัก เป็นเรื่องที่สปสช.ไม่ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบอย่างกว้างขวาง เหมือนกับการคัดเลือกคณะกรรมการขององค์กรอิสระภาครัฐอื่นๆ ทั้งๆที่สปสช.ถนัดในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อสารมวลชนต่างๆมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะว่าสปสช.ต้องการคัดเลือกเอา “คนกันเองหรือพวกพ้อง” มาเป็นคณะกรรมการหลักฯ รวมทั้งกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถ “ควบคุมการบริหารจัดการ” ให้เป็นไปตามแนวคิดของพวกตน  โดยที่รัฐบาลหรือรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายอย่างไร ก็ไม่สามารถทำตามได้ เนื่องจากคณะกรรมการหลักฯใช้เสียงข้างมากของพวกพ้อง ชักนำมติของคณะกรรมการได้ แม้กระทั่งไม่ทำตามนโยบายของรัฐมนตรีก็ได้

จะเห็นได้ว่า นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นายอัมมาร์ สยามวาลา นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ฯลฯ ต่างก็มีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการในสปสช., สช.(คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) สสส. สวรส. คพคส.(คณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ) และคศน. ที่มีนพ.ประเวศ วะสี และนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นแกนนำ

ยกตัวอย่างคณะกรรมการสสส.จะหมดวาระเดือนก.พ. 54 แต่บอร์ดสสส.ชงแต่งตั้งบอร์ดกลุ่มเดิมตั้งแต่เดือนพ.ย. 53 ให้นายกรัฐมนตรีเซ็นต์แต่งตั้ง ทั้งนี้ เพื่อจะแน่ใจว่านพ.วิชัย โชควิวัฒน์ จะได้เป็นรองประธานบอร์ดสสส.ต่อไป และเมื่อประธานบอร์ดคือนายกรัฐมนตรีไม่มาประชุม นพ.วิชัย ก็ทำหน้าที่ควบคุมการประชุมแทน

   ในขณะนี้ บอร์ด สปสช.กำลังจะหมดวาระในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ แต่การแต่งตั้งคณะกรรมการบอร์ดนั้นสามารถรอได้ถึง 90 วันหลังจากหมดวาระ ฉะนั้น จึงอยากจะขอร้องให้นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักฯ (บอร์ดสปสช.) อย่าหลงเป็นเหยื่อตกเป็นเครื่องมือถูกสอดไส้แต่งตั้งกรรมการใหม่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนรัฐบาลซึ่งคนกลุ่มนี้ทำเป็นประจำ ทั้งที่ไม่จำเป็นเพราะมีเวลาตั้ง  3 เดือน ขอให้รัฐมนตรีคนใหม่เข้ามาเป็นผู้ตัดสินใจในการสรรหาบอร์ดใหม่    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรรมการที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ   7 คน  ตามมาตรา 13(6)และมาตรวจสอบกรรมการที่มาจากการคัดเลือกขององค์กรต่างๆตามมาตรา 13 (3,4,5) ด้วย  ว่าได้ดำเนินการอย่างเปิดเผย โปร่งใส และเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้รมว สธ.คนใหม่ สามารถทำงานแก้ปัญหาของกระทรวงสาธารณสุขและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 

     ในส่วนของ สปสช. เองก็ควรจะโปร่งใสและเปิดเผยตามกติกา ซึ่งกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าจะต้องประกาศต่อสาธารณะว่ากรรมการดังกล่าวสิ้นสุดวาระลง จำเป็นต้องมีการสรรหากรรมการดังกล่าวที่มีคุณสมบัติอย่างไรเมื่อใด ไม่ใช่เก็บข่าวเงียบอย่างนี้ แม้แต่ในเว็บไซด์ของตนเอง  ทั้งที่มีสื่ออยู่ในมือมากมาย โฆษณาอยู่ทุกวัน ส่อเจตนา ว่ามีวาระซ่อนเร้นเพื่อนำพวกตัวเองมาเป็นบอร์ดแล้วปิดโอกาสคนอื่นที่มีคุณสมบัติไม่ให้มีโอกาส   ทั้งที่หน่วยงานอื่นๆได้ทำเป็นตัวอย่างมากมาย  หรือว่ามีเจตนาหมกเม็ดความเลวร้ายที่ทำมาจะถูกสังคมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วภาพ สวยหรูที่สร้างมาแต่ก่อนเป็นแค่ภาพลวงตา   นักบุญที่เห็นเมื่อลอกคราบแล้วก็แค่คนลวงโลก 
....................................................................