ผู้เขียน หัวข้อ: แถลงการณ์ประณามผู้ผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย  (อ่าน 5147 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด

แถลงการณ์ประณามผู้ผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย

      เนื่องจากในขณะนี้ได้มีปรากฏการณ์ในสังคมเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยมีการนำเสนอข้อมูลที่มีเจตนาหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อสนับสนุนร่างพรบงคุ้มครองฯ โดยการแสดงในเฟชบุคที่มีเครือข่ายผู้เสียหายเป็นผู้สนับสนุนเพราะมีการเชื่อมโยงให้เข้าถึงข้อมูลเท็จนี้ โดยข้อมูลเท็จนี้มีเนื้อหาโจมตีโรงพยาบาลทั่วประเทศว่า ทุก 1 คนใน 6 คนที่ตายในโรงพยาบาลเกิดจากความผิดพลาดทางการแพทย์ และมีการทำกราฟแท่งแสดงสถิติสาเหตุการตายของคนไทยปี 2549  แสดงข้อมูลเท็จ สาเหตุการตายอันดับหนึ่งคือความผิดพลาดทางการแพทย์ถึง 65,000 คน มากกว่าการเสียชีวิตจากมะเร็ง ,อุบัติเหตุ และโรคหัวใจ ตามลำดับ และมีการโน้มน้าวอีกว่าการฟ้องร้องแพทย์นั้นมีโอกาสชนะน้อย , เสียค่าใช้จ่ายมาก และใช้เวลานาน และโน้มน้าวให้สนับสนุนร่างพรบ.นี้ เพราะจะได้เงินช่วยเหลือทันที ถือเป็นการให้ข้อมูลเท็จหลอกลวงประชาชน ซึ่งคาดว่าหวังผลให้ผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองฯ นี้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่างให้กับตนเองหรือกลุ่มของตนเอง ทางสมาพันธ์แพทย์รพศ/รพท. ได้ขอวิจารณ์การให้ข้อมูลเท็จนี้ว่า เป็นการนำเสนองานวิจัยที่แม้จะมาจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ เพราะเป็นการทำมาจากข้อมูลของสถาบันไม่กี่แห่ง ไม่สามารถเป็นตัวแทนข้อมูลระดับประเทศได้ ซึ่งสังเกตได้ว่าขณะที่ข้อมูลผู้เสียชีวิตระดับประเทศจะเป็นตัวเลขที่ไม่ลงตัวพอดี เช่น (ผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเท่ากับ 52,062 คน) แต่ข้อมูลที่อ้างว่าเสียชีวิตจากความผิดพลาดทางการแพทย์ของผู้ผลักดันร่างพรบ. เท่ากับ 65,000 คน ซึ่งเกิดมาจากคิดคำนวณเอาเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่สามารถเป็นข้อมูลที่มารวมกันได้ เพราะสถิติผู้เสียชีวิตทุกปีจะเกิดจากการรวบรวมจริงจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ ไม่ได้มาจากการคำนวณตัวเลขเอาเอง ส่วนประเด็นการนำเสนองานวิจัยนี้ในองค์การอนามัยโลก ไม่ได้หมายถึงเป็นการยอมรับในระดับโลก ทางองค์การอนามัยโลกจึงไม่เคยมีการแถลงความสำคัญของข้อมูลนี้เลย เพราะถ้าข้อมูลนี้เป็นความจริงน่าเชื่อถือ คงกลายเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว ไม่ได้เป็นการปกปิดข้อมูลแก่คนไทยแต่อย่างใด เพราะเป็นแค่งานวิจัยเท่านั้น ดังนั้น การนำเสนอทุกปีจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขจึงยังเสนอข้อมูลการเสียชีวิตของคนไทยอันดับหนึ่ง คือ โรคมะเร็ง จากเหตุผลทั้งหมดนี้ สมาพันธ์ฯ ได้รับฉันทามติให้ดำเนินการดังนี้

      1.  ขอประณามการกระทำของผู้ผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ที่นำเสนอข้อมูลอันหลอกลวง ประชาชน โดยเครือข่ายผู้เสียหายฯ ต้องมีส่วนรับผิดชอบ เพราะมีการเสนอข้อมูลนี้มาหลายเวที หลายวาระ และมีการเชื่อมโยงลิงค์นี้ให้เข้าถึงข้อมูลเท็จนี้ด้วย จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอนี้ แสดงความรับผิดชอบ และเหตุการณ์ครั้งนี้เครือข่ายผู้เสียหายไม่มีความชอบธรรมในการร่วมผลักดันร่างพรบ.นี้ เพราะการกระทำครั้งนี้แสดงถึงเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ และวิธีการที่ไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงประชาชน

      2.  ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงที่ดูแลโรงพยาบาลทั่วประเทศแสดงความรับผิดชอบด้วยการชี้แจงประชาชนที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าไม่มีการชี้แจงเท่ากับทุกกระทรวงยอมรับข้อมูลนี้ ซึ่งแสดงถึงความล้มเหลวของการบริการของโรงพยาบาลทั่วประเทศ และเห็นควรว่ากระทรวงผู้รับผิดชอบควรมีหน้าที่ในการฟ้องร้องทางกฎหมายในการกระทำหลอกลวงประชาชนในครั้งนี้ และรัฐบาลควรนำกลับมาพิจารณาในพฤติกรรมของผู้ผลักดันร่างพรบ.นี้ว่า สมควรสนับสนุนร่างกฎหมายนี้โดยผู้ผลักดันกลุ่มนี้เข้าไปในสภาผู้แทนวาระนี้หรือไม่

      3.  สมาพันธ์ขอรณรงค์โรงพยาบาลทั่วประเทศแสดงการคัดค้าน ประณามการกระทำของเครือข่ายผู้เสียหายฯ โดยการแสดงออกการชุมนุมหรือติดป้ายประท้วงทั่วประเทศ เพื่อเป็นการแสดงถึงว่าโรงพยาบาลทุกแห่งในประเทศไม่ยอมรับการให้ข้อมูลเท็จในครั้งนี้

   


               แถลง ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554



today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
สมควรถูกประณาม

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลจาก บล๊อก ของคุณปรียานันท์
http://thai-medical-error.blogspot.com/2010/10/6.html

ครึ่งหนึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิต เป็นการเสียชีวิตที่ป้องกันได้  = 65,000 คน (1 ต่อ 6)

แหล่งที่มาของข้อมูล
รายงานของนายแพทย์สรรธวัช อัศวเรืองชัย ใน การประชุมองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงนิวเดลีระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2549 นำเสนอสถิติข้อมูลสถานการณ์ความปลอดภัยของคนไข้ในประเทศไทย  โดยอ้างถึงข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบบันทึกทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลหลักขนาดใหญ่ 2 แห่ง พบว่า 10% ของผู้ป่วยในเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์  ในจำนวนนั้น 10 % นำไปสู่การเสียชีวิต และครึ่งหนึ่งของภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวสามารถป้องกันได้

จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขไทย : มีผู้ป่วยในทั้งหมด ปี 2552 จำนวน 13 ล้านคน เสียชีวิต397,327 คน ดังนั้นจึงคำนวณได้ว่าจาก 13 ล้านผู้ป่วยในจะเกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ10 เป็นจำนวน1.3 ล้านคนนำไปสู่การเสียชีวิต ร้อยละ 10 คิดเป็นจำนวน 130,000 คน ครึ่งหนึ่งยอดผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ จึงเป็น 65,000 คนต่อปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคนไข้ในโรงพยาบาลที่เสียชีวิต  1 ใน 6 คน จะเป็นการเสียชีวิตแบบป้องกันได้


Dr Santawat Asavaroengchai, Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health, who also participated in the Technical Discussions on Patienthttp://www.searo.who.int/LinkFiles/Quality_and_safety_in_health_care_HSD-297-First_Regional_Workshop_on_Patient_Safety.pdfA

 Report / Page 16 / Safety at the CCPDM in June 2006, described the patient safety situation in Thailand. Based on an audit of medical records at two major hospitals, the prevalence of hospital-related adverse events in Thailand is similar to that prevailing in industrialized countries: 10% of inpatients developed adverse events, 10% of adverse events led to death, and half of the events were preventable.

เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2552
นพ. ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรผู้สอบผ่านการรับรองมาตรฐาน คุณภาพผู้ใช้รหัสโรคระดับกลางของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2552 ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของเจ้าหน้าที่เก็บบันทึกข้อมูล สาเหตุการป่วยการตายของประชาชนในโรงพยาบาลทุกแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน

ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวต่อว่า ข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของไทยและระดับโลก ในการนำมาใช้เพื่อวางแผนในการป้องกันเฝ้าระวังโรค และดูแลสุขภาพของประชาชนได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ โดยได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพผู้ลงรหัสโรค และขึ้นทะเบียนรับรองมาตรฐานผู้ลงรหัสโรค ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้สอบผ่านแล้ว 514 คน

ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กล่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการลงรหัสโรคผู้ป่วย มากกว่า 1,500 คน โดยในการรวบรวมวิเคราะห์จำนวนและสาเหตุการป่วยและการเสียชีวิตทั่วประเทศ นั้น มีรหัสแยกรายโรครวมกว่า 30,000 รหัส ซึ่งในปี 2552 มีผู้ป่วยใช้บริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก 190 ล้านครั้ง เฉลี่ยคนไทยป่วย 2.98 ครั้งต่อคน มีผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล 13 ล้านครั้ง โดยเฉพาะในปี 2551 ทั่วประเทศมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด397,327คน