แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - pradit

หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 17
61
ประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง ผู้สอบผ่านวิชาสามัญในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล ระบบโควตา
แพทยศาสตรบัณฑิต
ปีการศึกษา 2554

แพทยศาสตรบัณฑิต

โควตาวิทยาเขต - กลุ่มจังหวัดกาญจนบุรี
1. 0110349 นางสาว ญาดา บุณยะวันตัง
2. 0210212 นางสาว ธนิตา เปี่ยมคล้า
3. 0310106 นางสาว ปุณยาพร สืบนุช
4. 0310197 นาย ดลฤทธิ์ กุลกฤษฎา
5. 0310499 นาย เผ่าพัฒน์ มัณฑนานุชาติ
6. 0310689 นาย ธฤต เพชรนิลจินดา

โควตาวิทยาเขต - กลุ่มจังหวัดนครสวรรค์
1. 6110016 นาย ธนพล คงยุทธ
2. 6110057 นาย ปารเมศ เจริญศรีรุ่งเรือง
3. 6110175 นางสาว พิมพ์วิภา ชื่นเทศ
4. 6110494 นางสาว ณัฐชยา เชี่ยวชาญธนกิจ
5. 6110636 นาย ศตายุ เปียมาลย์
6. 6110819 นาย จิรายุ เฉลิมพงษ์

โควตาวิทยาเขต - กลุ่มจังหวัดอำนาจเจริญ
1. 7210608 นาย ฐานิศร คำสวนจิก
2. 7610659 นาย สุรพรชัย ชนไพโรจน์

โควตาวิทยาเขต - รร.มหิดลวิทยานุสรณ์
1. 0110162 นาย ติณห์ ขำแป้น
2. 0110203 นางสาว ชฎาพร ขวัญข้าว
3. 0210026 นาย วันทนันท์ หล่อวัฒนกิจชัย
4. 0310097 นาย ปฏิพล เล็กวรกุล

โควตาพื้นที่ - โครงการโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ
1. 2110171 นาย วัชระ ทับศรี
2. 2110307 นาย ไพบูลย์ นิ่มนวลเกตุ
3. 3110225 นาย ณภัทร แสงวัฒน์
4. 3110767 นาย วัชระ วีระพรพงษ์กุล

โควตาโครงการพิเศษ - เยาวชน - วิชาการ
1. 0110176 นาย ปิยะ ศรีชนกเจริญรุ่ง
2. 0210315 นาย ชนุดม เจนครองธรรม
3. 3110575 นาย ชุมทรัพย์ รัตนเรืองฤทธิ์
4. 3111219 นางสาว ชวิศา เจนจินดามัย
5. 3210088 นางสาว ดนุนุช ภาสุภัทร
6. 4110480 นาย ธนวุฒิ ธนาธิบดี
7. 7111001 นาย ธีรพล ธุวะชาวสวน

โควตาโครงการพิเศษ - เยาวชน - กีฬา
1. 3111456 นาย ธนิสร พงษ์ขจรกิจการ

โควตาโครงการพิเศษ - เยาวชน - ศิลปะ
1. 3111119 นาย ปัณณพิช เก็บ-เงิน

โควตาโครงการพิเศษ - โครงการรับนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ
1. 8110476 นาย อาณัติ เจะแน
2. 8110798 นาย อารีฟีน อุเซ็งแม

63
แพทยสภา ฉลองครบรอบ 42 ปี จัดยิ่งใหญ่กับงาน “มหกรรมรวมพลคนรักสุขภาพแห่งชาติกับแพทยสภา” (Thailand Medical Expo 2010)      งานมหกรรมด้านการแพทย์ที่สมบูรณ์แบบและครบวงจรที่สุดในประเทศไทย คาดมีผู้ร่วมงานกว่า 100,000 คน  โดยได้รับความร่วมมือจากบุคคลากรทางด้านการแพทย์มากที่สุดในประเทศไทยโดยจัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘แพทยสภาดูแลคุณตั้งแต่เกิด การศึกษา เสริมสร้างสุขภาพในวัยทำงาน วัยทอง วัยชรา เจ็บป่วย ตราบจนวาระสุดท้าย’  โดย ภายในงานประกอบด้วย กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคและสุขอนามัยต่างๆ แก่ประชาชนทั่วไป บริการทางการแพทย์ ที่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพแบบครบวงจร พร้อมทั้งเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดทางการแพทย์ ยาและอาหารเสริม และกิจกรรมความบันเทิงมากมายภายในงาน โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2553  ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมอบรางวัลแพทย์ดีเด่นแพทยสภาประจำปี 2553

กรุงเทพฯ 27 พฤศจิกายน 2553 – นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มอบ รางวัลแพทย์ดีเด่นแพทยสภาประจำปี 2553 ให้แก่ แพทย์หญิงกาญจนี เจนวณิชสถาพร นายแพทย์วิชัย อัศวภาคย์ และนายแพทย์วัฒนา พารีศรี ในงานมหกรรมรวมพลคนรักสุขภาพแห่งชาติกับแพทยสภา (Thailand Medical Expo 2010) ซึ่ง จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 42 ปีแพทยสภา เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพและวิทยาการด้านการแพทย์และการพยาบาล ในระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2553 ณ ห้องเพลนนารี ฮอลล์ 1-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า การมอบรางวัลแพทย์ดีเด่นแพทยสภาจัดขึ้นทุก 2 ปี เพื่อเชิดชูเกียรติแพทย์ผู้มีผลงานโดดเด่นเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติ หน้าที่ ตลอดจนสร้างขวัญกำลังใจแก่แพทย์ทั่วประเทศในการมุ่งมั่นปฏิบัติงานเพื่อ ประะโยชน์สุขของเพื่อนมนุษย์ โดยมีการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลจากแพทย์กว่า 40,000 คนทั่วประเทศ ที่ผ่านมามีการมอบรางวัลแพทย์ดีเด่นแพทยสภาครั้งละ 1 ท่าน แต่ในปีนี้ทางแพทยสภาได้คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมรับรางวัลแพทย์ดีเด่น แห่งชาติถึง 3 ท่าน ซึ่งแต่ละท่านต่างเป็นผู้ที่อุทิศตนในการทำงาน และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาบริการทางการแพทย์และงานส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ ให้เจริญก้าวหน้าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง

แพทย์ดีเด่นแพทยสภาประจำปี 2553 ได้แก่

แพทย์หญิงกาญจนี เจนวณิชสถาพร หัวหน้ากลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เป็น ผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาบริการงานอายุรกรรมสาขาต่างๆ ของโรงพยาบาล และการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำ อีกทั้งเป็นหนึ่งในคณะทำงานจัดระบบบริหารจัดการในโรงพยาบาลเพื่อให้บริการ ประชาชนได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น แพทย์หญิงกาญจนียังได้ริเริ่มก่อตั้งทีมสหวิชาชีพเพื่อดูแลผู้ป่วยโรค เรื้อรังต่างๆ แบบองค์รวม ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมมากขึ้นในการดูแลผู้ป่วย ตลอดจนเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในโรงพยาบาลให้แน่นแฟ้น จนกลายเป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ไว้วางใจของผู้มารับบริการ และเป็นสถานศึกษาวิชาแพทย์ชั้นคลินิกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายแพทย์วิชัย อัศวภาคย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็น ผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาโรงพยาบาลน้ำพองจนได้รับรางวัลโรงพยาบาลดีเด่นหลาย สาขา และเป็นโรงพยาบาลแนวพุทธปลอดอบายมุข อีกทั้งเป็นผู้ริเริ่มสร้างตึกสำหรับผู้ป่วยสงฆ์โดยใช้เงินบริจาคของชาวน้ำ พอง พัฒนาบริการของโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่มีแพทย์เฉพาะ ทางให้บริการ โดยเชิญแพทย์จากโรงพยาบาลศูนย์และโรงเรียนแพทย์มาทำการตรวจรักษาผู้ป่วย รวมถึงขยายงานให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพโดยเป็นแกนนำหรือประสาน งานกับชุมชนเพื่อทำกิจกรรมดูแลสุขภาพและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนดูแลทุกข์สุขของบุคลากรทั้งในด้านสุขภาพและจิตใจ

นายแพทย์วัฒนา พารีศรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็น ศัลยแพทย์โรงพยาบาลชุมชนคนแรกผู้ผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดีด้วยกล้องวิดีทัศน์ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบริการของโรงพยาบาลให้มีมาตรฐานและความทันสมัยเทียบ เท่าโรงพยาบาลจังหวัด พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาลเพื่อคุณภาพ ชีวิตที่ดีของผู้ป่วย จึงเป็นโรงพยาบาลต้นแบบที่มีหน่วยงานต่างๆ มาศึกษาดูงานเป็นประจำ นอกจากนี้ยังได้จัดทีมออกตรวจสุขภาพในชุมชนและพื้นที่ห่างไกล รวมถึงจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนท่าบ่อ เพื่อให้บริการสุขภาพเบื้องต้นและลดภาระของโรงพยาบาล

สำหรับงานมหกรรมรวมพลคนรักสุขภาพแห่งชาติกับแพทยสภา หรือ Thailand Medical Expo 2010 จัดโดยแพทยสภาโดย โรงเรียนแพทย์ 18 แห่ง ราชวิทยาลัยแพทย์ 14 สถาบัน ตลอดจนโรงพยาบาลและสถาบันการแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชน กิจกรรม ภายในงานมีทั้งการนำเสนอวิทยาการและนวัตกรรมชั้นนำด้านการแพทย์และการพยาบาล พร้อมทั้งการออกบูธผลิตภัณท์และบริการด้านสุขภาพครบวงจรจากผู้ประกอบการก ว่า 150 ราย โดยงานจะจัดขึ้นจนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน ณ ห้องเพลนนารี ฮอลล์ 1-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 10.00- 20.00 น.

64

ตอนที่ 1
"ขบวนการนักฉวยโอกาส" - อภิชาติ ทองอยู่
"วิกฤติสีขาวกับการเปลี่ยนระบบประเทศ"- นาวิก การเกิด
"เครือข่ายของการเชื่อมโยงองค์กรอิสระ --> เปลี่ยนประเทศไทย" จาก คสน.

ตอนที่ 2
"เป็นความพยายามสร้างอำนาจใหม่ขึ้นมา" -สส.นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ปชป.
"ผมว่าวันนี้ตัวใครตัวมัน" -นพ.วิชัยโชควิวัฒน
"เมื่อเขามาจากกฎหมาย เราก็เอากฎหมายนี่แหละจัดการเขา" -พญ.อรพรรณ์ ดิลกเมธากุล

ตอนที่3
"กองทุนอิสระ" -แก้วสันต์ อติโพธิ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตอนที่ 1
ขบวนการนักฉวยโอกาส
อภิชาติ ทองอยู่
http://bit.ly/dgPKvV

การทำงานภายใต้แบรนด์ ‘เอ็นจีโอ’ ตั้งแต่ ต้นทศวรรษ 2520 เป็นการทำงานตามอุดมคติ หรืออุดมการณ์ ที่ซึมซับมาจากความเคลื่อนของนักศึกษาปัญญาชนฝ่ายซ้าย ความโดดเด่นของการทำงานเพื่อสังคมยุคนั้น เพราะเบื่อการพล่ามพูดของบรรดาอภิชน ข้าราชการ และนักวิชาการขี้โม้มากเรื่องทั้งหลาย จึงผันตัวเองไปทำงานขลุกอยู่ในหมู่บ้านชนบท ขับเคลื่อนตัวเองแบบนักแสวงหา
เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ความเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้ายปิดฉากตัวเองลง เกือบสิ้นเชิง ลมหายใจสุดท้ายในการต่อสู้ของกลุ่มปัญญาชนและพรรคคอมมิวนิสต์ไทย มีสัญญาณจะยุติลงตั้งแต่ช่วงปี 2518 เป็นต้นมา ช่วงเวลานั้นเป็นการดิ้นเฮือกสุดท้ายของอุดมการณ์ฝ่ายซ้าย
          เอ็นจีโอ จึง กลายเป็นคลื่นใหม่ของการทำงานเพื่อสังคม รับบทบาทการแสวงหาแนวทางการพัฒนา ซึ่งแน่นอนว่า ความคิดของคนทำงานกลุ่มใหญ่ยังอิงอยู่กับคราบไคลของฝ่ายซ้ายแบบ มาร์กซ์ - เหมา ไม่มากก็น้อย การทำงานของกลุ่ม เอ็นจีโอ ใน ช่วงต้นทศวรรษ 2520 ถึงกลางทศวรรษ 2530 เป็นการทำงานพัฒนาชนบทที่สวนกระแสการพัฒนาของรัฐ ซึ่งมีทิศทางแบบสั่งการ มุ่งขับเคลื่อนสังคมชนบทให้เข้าไปซุกอยู่ใต้ระบบทุนและประชาธิปไตยที่อำพราง อยู่ภายใต้เผด็จการราชการและอภิชนในสังคมไทย
          การทำงานของกลุ่ม เอ็นจีโอ ยุค นั้นได้สร้างบทบาทและการยอมรับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงคลี่คลายปัญหาในการทำงานพัฒนาในแบบสั่งการของรัฐ และการทำงานสงเคราะห์แบบมักง่ายของบรรดาอภิชนและชนชั้นสูงทั้งหลาย ให้ค่อยๆ หมดบทบาทลง พร้อมหันมาสู่กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น
          รวมไปถึงกระตุ้นให้กลุ่มวิชาการในสถาบันต่างๆ เข้าร่วมพัฒนาองค์ความรู้ เปิดพื้นฐานความเข้าใจในเรื่องความต่างทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทาง วัฒนธรรมขึ้น ซึ่งได้นำไปสู่การแตกตัวต่อยอดการทำงานเพื่อสังคมขึ้นอีกหลากหลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเด็ก สตรี สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม จนถึงเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตย ฯลฯ
          อย่างไรก็ตามการพัฒนาองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นนั้นยังไม่สมบูรณ์ ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา ความไม่สุกงอมทางความคิด ความอ่อนเยาว์วุฒิภาวะของคนทำงาน ความจำกัดของทุนสนับสนุนการทำงาน และแรงกระแทกของกลุ่มที่เสียประโยชน์ทางสังคมเศรษฐกิจ ฯลฯ
          มูลเหตุหลากหลายเหล่านี้ได้เปิดช่องโหว่ให้เกิดความขัดแย้งในกลุ่ม เอ็นจีโอ ทำให้มีการแทรกตัวของบรรดา ‘นักฉวยโอกาส’ ซึ่งโดดเข้ามาในกระแสงานที่กำลังเคลื่อนตัวอยู่
          ขณะเดียวกันกระแสการเปลี่ยนแปลงของทุนที่สนับสนุนทุนการทำงาน โดยเฉพาะทุนจากต่างประเทศได้ปรับเปลี่ยนทิศทางจากการให้เปล่าเป็นการสมทบแบบ มีส่วนร่วม
          เหตุปัจจัยโดยรวมนี้ มีผลทำให้เกิดความสับสนแตกแยกในหมู่เอ็นจีโอขึ้น การทำงานเกาะติดหมู่บ้านชนบทต้องสะดุดหยุดลง ขาดความต่อเนื่องไปโดยปริยาย การทำงานแบบเปิดตัวรณรงค์โหมกระแสประเด็นต่างๆ เป็นช่วงๆ กลายเป็นงานที่หาทุนได้ สร้างภาพ สร้างตัวตนได้เหมาะกับกำพืดของการหาอยู่หากินมากกว่า การทำงานที่มุ่งคุณภาพจึงหมดบทบาทลง
          การ เติบโตของการทำงานในทิศทางใหม่กับการหาอยู่หากินแบบใหม่ เปิดทางให้บรรดานักฉวยโอกาสเข้ามาใช้กระแสการทำงานเพื่อสังคมสร้างภาพ สร้างทุนทางสังคมให้ตัวเอง บางคนเปิด ตัวได้ไม่นานก็ได้รับการยอมรับ สร้างทุนทางสังคมได้ต่อเนื่อง! ประดิษฐ์ภาพตัวเองให้เป็นผู้ทรงคุณธรรมบ้าง ผู้รอบรู้ล้ำลึกบ้าง ผู้ยืนหยัดทำงานกับผู้ยากไร้บ้าง ผู้รู้ดีในเรื่องสื่อเรื่องแส่สารพัดเรื่อง จนบางคนสถาปนาตัวเป็นราษฎรอาวุโส ขึ้นชั้นเทพไปนู่นเลยก็ไม่น้อย!
          การไต่เต้าทางลัดเส้นทางนี้ สามารถเชื่อมต่อกับอำนาจการบริหารประเทศได้ไม่ยาก อาศัยใช้กลุ่มคนทำงานในสังคมฐานล่างหนุนเสริม และจัดการวางแผนออกแบบสร้างเรื่อง สร้างองค์กร แล้วเชื่อมต่อกับฝ่ายบริหารเพื่อจัดตั้งล้วงงบรัฐมาใส่องค์กร ขณะเดียวกันก็ปั่นข่าว ทำเรื่องที่ประดิษฐ์คิดสร้างขึ้นมาให้กลายเป็นเรื่องจำเป็นคอขาดบาดตายของ สังคม
          จากนั้นก็ตั้งองค์กร ตั้งกติกา ตั้งพรรคพวกเข้าไปทำงาน ที่สำคัญคือ ต้องสร้างภาพเป็นผู้ทรงคุณธรรมเพื่อลดภาพเละเทะมูมมามลง จากงานหนึ่งสู่อีกงานหนึ่ง จากองค์กรหนึ่งสู่อีกองค์กรหนึ่ง เรื่อยไป โดยเรียกกันว่าองค์กรอิสระบ้าง กองทุนอิสระบ้าง หรืออะไรก็ได้เพื่อดึงงบหลวงออกมาใช้กัน ที่สำคัญคือต้องใช้กันแบบอิสระ อย่าให้ตรวจสอบได้ง่ายๆ และต้องใช้ชื่อกลุ่มหรือองค์กรที่ดูดีมีคุณธรรม สังคมฟังแล้วน้ำหูน้ำตาไหล มาจนถึงวันนี้ก็ยังเตรียมคลอดกันอีกหลายองค์กร!
          ขบวนการแอ๊บงบทางลัดฝูงนี้ เล่นกันหนักข้อน่าวิตกยิ่ง ประเทศต้องเสียงบก้อนใหญ่ให้เครือข่ายอุปถัมภ์นักแอ๊บจอมฉวยโอกาสไปถลุงกัน มันมือ แถมสร้างความป่วยไข้ฟูมฟายให้สังคมตลอดเวลา เล่นกันอย่างนี้ยังมีหน้าไปมองคนอื่น กลุ่มอื่น ว่าเลวกว่าพวกตัวอีกต่างหาก ถ้าขบวนการที่ทำกันอยู่เป็นเรื่องถูก ดี เป็นความก้าวหน้าของสังคมแล้วล่ะก็ รับรองไม่มีเรื่องอะไรจะสามานย์ไปกว่านี้อีกแล้ว! เชื่อเถอะ
          เชิญเสพ ไทยแลนด์ ฟอรัม ว่าด้วยประเด็น กองทุนอิสระ ได้ตามอัธยาศัยเทอญ

วิกฤติสีขาว กับการเปลี่ยนระบบประเทศ
นาวิก การเกิด
http://bit.ly/c5IFVV
 
ในขณะที่ความปรองดอง และการปฏิรูปการเมือง กำลังถูกขับเคลื่อน (เท่าที่ทำได้) โดยที่ฝ่ายรัฐบาลพยายามผลักภาระ และ ‘จัด’ เป้าหมายให้ฝ่ายที่เรียกได้ว่า มี ‘ต้นทุน’ เป็นผู้ขับเคลื่อน
          ฝ่ายที่เรียกได้ว่ามีต้นทุนทางสังคม ก็กำลังถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้น จากผู้ร่วมวิชาชีพ โดยอาศัยจุดเริ่มต้นจากความขัดแย้งระหว่าง หมอกับหมอ เอ็นจีโอและผู้ป่วย โดยมีสมรภูมิหลักอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข และค่อยๆ ขยับขยายพื้นที่การปะทะไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
          ฝ่ายหนึ่งมีเครือข่ายเป็นแพทย์ชนบท และองค์กรเอกชน รวมทั้งมูลนิธิต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นมาโดยไม่แสวงหาผลกำไร
          อีก ฝ่ายเป็นกลุ่มแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มแพทย์พยาบาลที่ประจำอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัด รวมไปถึงระดับอนามัยชุมชน
          ทั้ง 2 ฝ่ายต่างมองหาจุดอ่อนของแต่ละฝ่ายมาโจมตีกันและกัน
          โดยผ่ายแรกนั้นมองว่า ข้อโต้แย้ง หรือการไม่เห็นด้วยกับการขับเคลื่อนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการ แพทย์ และการชดเชยความเสียหายของประชาชนนั้น เป็นเพราะฝ่ายคัดค้านมีผลประโยชน์แอบแฝง หรือไม่ก็เพราะไม่ต้องการสูญเสียผลประโยชน์ที่มีอยู่ในมือ
          เพราะ หน่วยงานที่จะเกิดขึ้นใหม่ตามร่างกฎหมายนั้น จะต้องมีกองทุนที่จะดึงเอาเม็ดเงินส่วนหนึ่งมาจากโรงพยาบาลเหล่านั้น รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชน เพื่อไปตั้งเป็นกองทุน และมีคณะกรรมการกองทุนเป็นผู้อนุมัติการใช้จ่าย
          ขณะที่ฝ่ายคัดค้านกลับมองว่า สิ่งที่ได้รับการผลักดันจากฝ่ายตรงกันข้ามคือการทำลายระบบสาธารณสุขโดยรวม และทำลายระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งแต่เดิมขับเคลื่อนโดยกระทรวงสาธารณสุข ที่มีระบบการจัดการงบประมาณอิงกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การเบิกจ่ายเงินงบประมาณต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับปัญหาในพื้นที่ ความเหมาะสมที่ใช้จำนวนประชากรเป็นตัวตั้ง และมีการประเมินผลโดยเอาสุขภาวะของประชาชนเป็นหลัก
          ที่สำคัญ ฝ่ายหลังนี้ยืนยันว่าระบบการอนุมัติเม็ดเงินงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างถูกตรวจสอบ โดยยึดเข้ากับประชาชน เพราะมีตัวแทนประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อม
          ขณะ เดียวกันก็โจมตีว่า ฝ่ายที่ผลักดันนั้น พยายามจะทำให้ระบบที่จะสร้างขึ้นใหม่นั้น เหมือนกับองค์กรที่ตั้งขึ้นมาในก่อนหน้านี้ ที่เรียกว่า ‘ตระกูล ส.’ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น สวรส. สปสช. สช. สสส. ที่การอนุมัติเงินงบประมาณใช้ระบบของคณะกรรมการ โหวตเสียงข้างมาก และให้อำนาจเลขาธิการมีอำนาจอนุมัติเม็ดเงินสูงถึง 1 พันล้านบาท
          แต่เมื่อการเรียกร้องคัดค้านไม่เป็นผล เพราะกฎหมายเดิมที่มีอยู่นั้น ให้อำนาจของคณะกรรมการเป็นไปในรูปแบบที่ว่า การฟ้องร้อง การเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการใช้เงิน โดยหน่วยงานที่เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดจะอยู่ที่ใด
          เมื่อต่างฝ่ายต่างเรียกร้อง ต่างฝ่ายต่างมองว่า ตนเองทำเพื่อประชาชน
          ‘วิกฤติสีขาว’ จึงก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ และน่าเชื่อว่า จะบานปลายกระทบต่อภาพรวมของประเทศในไม่ช้านี้
          เพราะ แม้แต่ฝ่ายการเมือง ซึ่งจะเข้าไปกำกับดูแลหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด แต่เอาเข้าจริง เมื่อเผชิญหน้ากับ ‘ตระกูล ส.’ ฝ่ายการเมืองก็ไม่มีหนทางเดินไปในทิศทางอื่น เพราะระบบ ‘คณะกรรมการ’ ที่อิงเสียงข้างมากได้พันธนาการเอาไว้ จนทำให้ ‘เสียงเดียว’ ในที่ประชุมไม่อาจแข็งขืนต่อ 12 เสียง ที่มาจากเครือข่ายอันเข้มแข็งของทางฝ่ายนี้
          ถึงแม้ว่าหากนับเอาตามมือที่มีเพียงแค่ 12 เสียง อาจไม่ถึงกึ่งหนึ่งของ 30 เสียง แต่ในทางปฏิบัติ นอกเหนือจาก 12 เสียง ก็มีเพียงแต่ผู้แทนจากสำนักงบประมาณ ที่คอยคัดค้าน หรือโต้แย้งความเป็นไปได้ในการใช้งบประมาณโดยผ่านระบบที่เรียกว่า ‘คณะกรรมการ’ ที่ว่า
          ผลที่ออกมาหลายโครงการจึงกลายเป็นความเคลือบแคลงว่า ที่อนุมัติไปนั้น ทำได้มากน้อยเพียงใด ขัดต่อระบบการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินหรือไม่
          และ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบก็คือ การอนุมัติโครงการต่างๆ นั้น เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนทั้งประเทศหรือไม่ ขณะเดียวกัน ใช้ดัชนีตัวไหนมาชี้วัดว่า จะดำเนินการโครงการเหล่านั้นต่อ หรือยกเลิกเพราะล้มเหลวในการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชน
          ในแง่ของการเมืองนั้น กระแสและมุมมองค่อยๆ ถูกปรับเปลี่ยนทีละน้อย ภาพลักษณ์ของเอ็นจีโอ ที่ไม่แสวงหาผลกำไรกำลังถูก ‘การเมือง’ เขม้นมองว่า มีเบื้องหลังที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้นหรือไม่
          ถึง แม้ว่าฝ่ายการเมืองในวันนี้ จะถูกตรึงด้วยหัวขบวนของเอ็นจีโอ ที่เปิดทางให้พึ่งพาอาศัยบารมีเพื่อดับกระแสร้อน และสร้างความปรองดองในบ้านเมือง
          แต่ก็น่าเชื่อว่า เมื่อใดที่กระทรวงสาธารณสุขถูกกลืนไปทั้งหมด ฝ่ายการเมืองเป็นเพียงพระอันดับในการขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขอย่างเด็ดขาด และกลไกเดียวกันนั้นกำลังจะเบนเป้าไปปรับเปลี่ยนองคาพยพอื่นๆ ที่วางเป้าหมายไว้แต่แรก ไม่ว่าจะเป็นระบบยุติธรรม ระบบการเมือง
          วันนั้นอาจจะเกิดความตระหนักว่า ระบบสาธารณสุขนั้นเป็นระบบที่เอื้อต่อการสร้างเครือข่าย โดยเฉพาะที่เรียกว่า เครือข่ายภาคประชาชน และไม่ใช่เรื่องยากที่จะให้เครือข่ายนี้ขับเคลื่อนไปในทุกทิศทาง แม้กระทั่งประกบ หรือปะทะกับภาคการเมือง หรือกระทั่งระบบราชการทั้งหมด
          ความ สำเร็จของ ‘ตระกูล ส.’ ที่ยึดกุมเม็ดเงินงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขในก่อนหน้านี้ และกำลังรุกคืบเอาส่วนแบ่ง จากราว 500 บาทต่อหัว ที่ได้ส่งไปยังโรงพยาบาลรัฐในต่างจังหวัด ผ่านรูปแบบของจำนวนครั้งในการรักษาพยาบาลเพื่อเข้ากองทุนตามร่างกฎหมายใหม่ จะยิ่งทำให้การบริหารงานโดยกระทรวงสาธารณสุขในรูปแบบเดิมเป็นไปอย่างยาก ลำบากมากยิ่งขึ้น
          ใน เมื่อต่างฝ่ายต่างอ้างถึงประชาชน ต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุมีผลของตนเองว่า ที่ทำไปนั้นเพื่อสุขภาพประชาชน เรา-ท่านทั้งหลาย จึงต้องใช้วิจารณญาณในการฟัง อ่าน ว่าสิ่งใดดีที่สุด เหมาะสมที่สุด
          ขณะ เดียวกันภายใต้หลักสากล และหลักการปกครองประเทศ แม้จะมีระบบเสียงข้างมากที่เข้มแข็ง แต่ก็ยังต้องมีระบบตรวจสอบที่ดีไว้รองรับ หาไม่แล้วเรื่องทุกเรื่องไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่ใด ‘วิกฤติ’ ก็จะยังคงเกิดขึ้นในที่นั้น นั่นย่อมหมายความว่า แม้เราจะเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่งได้ เราก็จะยังคงเผชิญวิกฤติใหม่กันอยู่ดี

//////////////////////////



คศน. มีชื่อเต็ม ๆ ว่า 'เครือข่ายร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่' เป็นความร่วมมือระหว่างหลายองค์กร เพื่อสานเครือข่ายและสร้างกระบวนการแบบใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพ 'ผู้นำ' แบบใหม่
          โครงการนี้อยู่ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. เริ่มขึ้นเมื่อปี 2552 หลังจากที่ได้หาแนวทางใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจน และได้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ก็นำมาซึ่งผลสรุปในการขับเคลื่อนกลไก ภายใต้การริเริ่มโดยการสร้างสุขภาวะ จึงได้แผนภูมิว่า หากจะเปลี่ยนประเทศไทยโดยผ่านระบบสาธารณสุขนั้น จะต้องมีส่วนใดบ้างที่จะต้องได้รับการปรับเปลี่ยน
          ดังแผนภูมิ (ทำเมื่อ 24 เมษายน 2553) นั้น ระบุว่า จะต้องจัดการปรับเปลี่ยนระบบสุขภาพ ระบบสื่อสารมวลชน ระบบการเมืองภาคประชาชน ระบบยุติธรรม และระบบคุ้มครองผู้บริโภค รวมไปถึงส่วนย่อยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากเป็นไปตามกำหนด การเปลี่ยนประเทศไทยน่าจะเกิดขึ้นได้ในปี 2563 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า


ที่มา : จากเอกสาร คศน. (เครือข่ายร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่)
http://www.wasi.or.th/wasi/index.php?page=news&group_=01&code=07&idHot_new=3275

65
เนื่องจากมีผู้ติดต่อสอบถามเข้ามามาก ขอประกาศดังนี้

          คำประกาศของสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย
                                        วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
             


          เราจะทำงานเพื่อให้เกิดระบบสาธารณสุขที่ดี และมีความเป็นธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน นี่คือ คำประกาศของพี่ๆ น้องๆ ชาวสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.ฯ
          ระบบสาธารณสุขของประเทศเรามีการพัฒนามามาก แต่ปัญหาก็สะสมอยู่ไม่น้อย เราในฐานะผู้ปฏิบัติงานได้รับรู้ และได้ประสบกับปัญหาต่างๆด้วยตัวของพวกเราเอง จึงได้รวมตัวกันเพื่อนำเสนอปัญหา แนวทางแก้ไข และแนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีงามในระบบสาธารณสุข
           หนึ่งในการเคลื่อนไหวของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.ฯที่เป็นข่าวทางสื่อมวลชนในช่วง ๖-๗ เดือนที่ผ่านมา คือ การออกมาเสนอความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เนื่องจากคณะทำงานของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.ฯ ได้ศึกษาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวแล้วพบว่า หากมีการบังคับใช้จะมีผลกระทบรุนแรงในวงกว้าง ต่อทั้งประชาชน บุคลากรด้านสาธารณสุข ระบบสาธารณสุข และระบบการเงินการคลังของประเทศ เห็นควรให้ถอนร่างพ.ร.บ.ฯ หรือชะลอการดำเนินการด้านรัฐสภาไว้ก่อน โดยเสนอให้มีการทำประชาพิจารณ์ในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั่วประเทศ และให้พิจารณาผลกระทบจะที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน รวมทั้งเสนอทางออกของปัญหานี้ด้วย ดังที่สื่อมวลชนได้รับทราบกันแล้ว
          ส่วนการเคลื่อนไหวที่เป็นข่าวในระยะนี้ที่มีการเสนอให้ปลดปลัดกระทรวงสาธารณสุขออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางด้านจริยธรรมนั้น ทางสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.ฯ ไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ หรือออกความเห็นใดๆ เพราะไม่ได้เป็นเคลื่อนไหวของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.ฯ แต่อย่างใด
          จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน




                                                         แพทย์หญิงพจนา กองเงิน
                           ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย
                                                                    (สพศท.)

66

สรุปผลการสัมมนาร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...

ของบุคลากรทางการแพทย์ในเขตภาคเหนือ

3 พฤศจิกายน 53 ณ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

 

ผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 300คน จากคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รพ.ชุมชน รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป ในเขตภาคเหนือ

ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตะแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด

ผลการลงประชามติ ไม่เห็นชอบร่าง พรบ.นี้ 100% โดยมีความเห็นว่าไม่ควรมีร่างพรบ.นี้ 65% และเห็นว่าควรนำไปปรับปรุงก่อน 35%

 

ความเห็นอื่นๆ ได้แก่ ควรใช้กฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น มาตรา 41 ตามพรบ.หลักประกันสุขภาพ, ร่างพรบ.นี้ไม่เป็นธรรมกับบุคลากรทางการแพทย์, คณะกรรมการควรเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านสาธารณสุข, ร่างพรบ.นี้จะทำลายระบบสาธารณสุข, ร่างพรบ.นี้ยังไม่มีความชัดเจนและมีวาระซ่อนเร้น เป็นต้น

                                                                                                                                                                                                                    นพ.ภีศเดช สัมมานันท์

สรุปการสัมมนา
--------------------------

สรุปผลการสัมมนาร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...

ของบุคลากรทางการแพทย์ในเขตภาคเหนือ

 3 พฤศจิกายน 53 ณ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

 

 การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาลเป็นสิ่งดี  แต่การช่วยเหลือจะเป็นช่วยเหลือในรูปแบบใดต้องพิจารณาให้เหมาะสมไม่จำเป็นต้องพิจารณาแต่เรื่องการเงินอย่างเดียว

ชื่อของร่างพรบ. บ่งบอกถึงผู้ร่างมีอคติต่อบุคลากรทางการแพทย์ เพราะใช้คำว่าคุ้มครอง ซึ่งต้องการสื่อว่า ผู้ป่วยเป็นผู้ถูกรังแก เอารัดเอาเปรียบจากคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็คือบุคลากรทางการแพทย์ เพราะเป็นผู้ทำให้ผู้ป่วยเสียหาย ทั้งๆที่ความจริงแล้วบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย มิได้มีเจตนาร้ายต่อผู้ป่วย และความเสียหายส่วนเกือบทั้งหมดเป็นเหตุสุดวิสัย

“สถานพยาบาล” ที่อยู่ภายใต้ร่างพรบ.นี้ ประกอบไปด้วยทั้งสถานพยาบาลรัฐและเอกชน รวมทั้งคลินิค ร้านขายยา และสถานพยาบาลอื่นๆ (มาตรา 3)

บุคลากรที่อยู่ภายใต้การกำกับของร่างพรบ. มีทั้งแพทย์ พยาบาล ทันตะแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด แม้แต่ เจ้าหน้าที่อนามัย อสม. และอื่นๆ (มาตรา 3)

ร่างพรบ.นี้มีการตัดสินถูกผิดการประกอบวิชาชีพของบุคลากรด้านสาธารณสุข

แม้ว่าจะกล่าวไว้ใน “มาตรา 5” ว่า “ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ... ไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด”

แต่ “มาตรา 6”  กล่าวว่า “บทบัญญัติในมาตรา 5 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้

                (1)           ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น ...

                (2)           ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้ ...

                (3)           ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุข  แล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต...”

        ซึ่งหมายความว่า จะให้เงินช่วยเหลือก็ต่อเมื่อความเสียหายนั้นไม่เข้าข่ายข้อแม้ตาม มาตรา 6 คือ ความเสียหายนั้นต้องไม่ได้เกิดขึ้นตามปรกติ หรือความเสียหายนั้นต้องหลีกเลี่ยงได้ หรือความเสียหายนั้นต้องไม่สามารถหายได้เป็นปรกติ  แสดงว่าก่อนการจ่ายเงินช่วยเหลือต้องมีการตัดสินมาตรฐานการรักษาพยาบาลของบุคลากรทางการแพทย์ หรือสถานพยาบาลก่อน

สัดส่วนคณะกรรมการและอนุกรรมการ ไม่เป็นธรรม

ในร่างพรบ.นี้มีคณะกรรมการและอนุกรรมการต่างๆ ได้แก่ “คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข”  “คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น” “คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย” และ “คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์” (มาตรา 7 12 และ 13) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้เสียหาย พัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือ เป็นต้น

แต่คณะกรรมการและอนุกรรมการเหล่านี้ กลับประกอบไปด้วยผู้ประกอบบุคลากรทางการแพทย์เป็นส่วนน้อย หรือไม่มีเลย ทั้งๆที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานทางด้านสาธารณสุข และพิจารณามาตรฐานการประกอบวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ และสถานพยาบาล

ดังนั้นถ้าตัดสินว่ามีการกระทำความผิด บุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะคณะกรรมการและอนุกรรมการที่ตัดสินถูกผิดส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางด้านการแพทย์ แต่ผลการตัดสินสามารถนำไปเป็นมูลฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลอาญา และอื่นๆได้

ใช้จ่ายงบประมาณของประเทศอย่างไม่เหมาะสม

“มาตรา 16  ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์การรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ประธานอนุกรรมการ หรืออนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และประโยชน์ตอบแทนอื่น...

“มาตรา  20  ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น... เรียกว่า “กองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข”...

                คณะกรรมการอาจจัดสรรเงินจากกองทุนที่ได้รับ...เป็นค่าใช้จ่ายในการบริการของสำนักงาน ...ได้แต่ไม่เกินร้อยละสิบต่อปี...”

“มาตรา 22  กองทุนประกอบด้วย

                (1)  เงินที่โอนมาจากเงินตามมาตรา  41 แห่งพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

                (2)  เงินที่สถานพยาบาลจ่ายสมทบ

                (3)  เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

                ...

                เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน”

เท่ากับจะมีกองทุนมหาศาลอยู่เป็นหมื่นเป็นแสนล้าน และไม่ต้องส่งคืนคลัง กองทุนจะเพิ่มขึ้นทุกปีและตรวจสอบยาก น่าเป็นห่วงที่คณะกรรมการสามารถกำหนดเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นๆได้เองตามสบาย และอาจนำเงินกองทุนนี้ไปใช้แสวงหาผลประโยชน์แอบแฝงอย่างอื่นได้ เช่น ซื้อหุ้นจากบริษัทของพวกพ้องตนเอง นำไปลงทุนอย่างไม่คุ้มค่าแต่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นการส่วนตัว เป็นต้น

มีการเลือกปฏิบัติกับบุคลากรทางการแพทย์

ตาม “มาตรา 21”  สถานพยาบาลไม่ว่าสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน รวมทั้งคลินิค ร้านขายยา และสถานพยาบาลอื่นๆ จะต้องจ่ายเงินเข้าสมทบในกองทุนนี้ และหากไม่ปฏิบัติตามก็จะมีการปรับในอัตราร้อยละสองต่อเดือน หรือถึงร้อยละยี่สิบสี่ต่อปี

แสดงว่าสถานพยาบาลทั้งหมดทั้งของรัฐ และเอกชน ต้องรับภาระในการจ่ายเงินเข้ากองทุนนี้ ทั้งๆที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือคือคนทั้งประเทศ แต่บุคลากรทางด้านการแพทย์ซึ่งเสียสละตนเองเพื่อผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถอยู่แล้ว กลับถูกผลักภาระให้ต้องมารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ก่อขึ้นอีก ทั้งภาระทางด้านการเงินซึ่งต้องจ่ายให้กองทุนนี้ และภาระด้านความรับผิดชอบทางกฎหมาย 

ผลเสียต่อส่วนรวม

ปัญหา แก่ประชาชน ได้แก่ หากผู้ประกอบวิชาชีพไม่กล้าปฏิบัติงานเต็มความสามารถเพราะไม่กล้าเสี่ยง โรคต่างๆที่เคยได้รับการรักษาด้วยวิธีหนึ่งก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปรักษาด้วย วิธีอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าแม้ว่าผลของการรักษาจะดีน้อยกว่าด้วยก็ตาม อาจมีการส่งต่อมากขึ้นจนคนไข้ไปแออัดอยู่ตามรพ.ใหญ่ๆ   เป็นต้น

ปัญหาต่อประเทศชาติ เช่น ถ้าคนเรียนแพทย์ ทันตะแพทย์ เภสัชกร ฯลฯ น้อยลง หรือลาออกเพิ่มขึ้น ก็จะไปซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเข้าไปอีก ยังไม่นับปัญหาการเงินระดับประเทศที่ต้องคอยป้อนเงินเข้าสู่กองทุนนี้ทุกปี จนประเทศชาติต้องสูญเสียเงินเป็นหมื่น เป็นแสนล้าน เป็นต้น

นพ.ภีศเดช สัมมานันท์

รพ.นครพิงค์ เชียงใหม่

คณะทำงาน พิจารณาร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ... ของแพทยสภา

ผู้สรุปผลการสัมมนา

67
กลุ่มที่ 1 ผู้เสียหายความเสียหายและการชดเชย
ประธาน นพ.อำนาจ กุสลานันท์ / เลขา นพ.ชาญฤทธิ์ ล้อทวีสวัสดิ์


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   ชื่อร่าง พ.ร.บ. ผู้ได้รับความเสียหาย หรือ ผู้ได้รับผลกระทบ   

2   หลักการ พ.ร.บ.
•   คุ้มครองเฉพาะผู้รับบริการ
•   คุ้มครองผู้ให้บริการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๐(๒)
•   คุ้มครองทุกฝ่ายที่เสียหาย   

3   นิยาม “ความเสียหาย”
•   ความเสียหายโดยสุดวิสัย
•   ความเสียหายจากความขาดแคลนของระบบ
•   ความเสียหายจากตัวโรคและการรักษาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
•   ความเสียหายจากการปฏิบัติตัวและสภาพสังขารของผู้ป่วย
•   ความเสียหายที่อาจถูกตีความนำมาใช้เบิกเงินช่วยเหลือได้ โดยผิดวัตถุประสงค์
•   ความเสียหายจากทุรเวช   

4   นิยาม “ผู้ได้รับความคุ้มครอง”
•   ผู้รับบริการสาธารณสุข /  ผู้ให้บริการสาธารณสุข
•   ประชาชนไทย / แรงงานต่างด้าว / นักท่องเที่ยว    

5   ระยะเวลาที่เกิดความเสียหาย ที่เหมาะสม
•   5 ปีตามระเบียบการเก็บเอกสารเวชระเบียนปกติ
•   10 ปีนับจากวันให้การรักษาพยาบาล
•   10 ปีนับจากวันที่รู้ถึงความเสียหาย(ไม่จำกัดอายุ)   

6   เงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม มาตรา ๔๑ ที่ถูกขยายขึ้นใน พ.ร.บ. นี้
•   จากเดิม 50,000/ 120,000/ 200,000 เพิ่มได้ตามมติกรรมการ / รมว.สธ.   

7   การไม่พิสูจน์ถูกผิดเหมาะสมกับกรณีทางการแพทย์หรือไม่
•   ในต่างประเทศให้พิสูจน์ถูกผิดแต่ไม่เอาโทษ ผลในมุมมองของผู้ป่วย   

8   กลไกการเบิกจ่ายที่ผูกกับมาตรฐานวิชาชีพฯ ที่เหมาะสมหรือไม่ ทั้งที่ความเสียหายอาจเกิดจากผู้ป่วย / โรค / ระบบที่แตกต่างกันได้ 

กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพฯ
ประธาน นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี / เลขา นพ.จรูญศักดิ์ นวลแจ่ม


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   ใช้มาตรฐานวิชาชีพ กับความเสียหาย ที่เบิกเงินได้จะเป็นปัญหาหรือไม่   

2   การพิสูจน์ความเสียหายของผู้เสียหายกับของผู้ประกอบวิชาชีพฯเข้าใจต่างกันจะเป็นปัญหาหรือไม่   

3   การจ่ายเงินเบื้องต้นช่วยเหลือให้ผู้เสียหายหากผู้ประกอบวิชาชีพฯ พิสูจน์ไม่ได้ใน 30 วันจะเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงหรือไม่   

4   กรณีเรียกผู้ประกอบวิชาชีพฯมาให้ข้อเท็จจริง และหากไม่มามีโทษจำคุกเหมาะสมหรือไม่   

5   กรณีเรียกผู้ประกอบวิชาชีพฯและสถานพยาบาลมาไกล่เกลี่ยและจ่ายเพิ่มเติมได้ทำให้กลไกทำงานซับซ้อนขึ้นหรือไม่   

6   กรณีประนีประนอมยอมความแล้วยังฟ้องต่อได้ภายหลังเหมาะสมหรือไม่   

7   กรณีไม่จ่ายเงินช่วยเหลือในกลุ่มได้มาตรฐานวิชาชีพฯ ทำให้แพทย์ที่ดีอาจถูกฟ้องขึ้นศาลได้เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับเงินชดเชย (เดิม ม.๔๑ จ่ายอยู่แล้ว)   

8   กรณีสถานพยาบาลต้องจ่ายเงินเข้าระบบตามจำนวนหัวและความเสี่ยงของผู้ป่วยทำให้ รพ.ที่ดูแลคนไข้มากต้องจ่ายเข้ากองทุนมากผิดหลักการรัฐสวัสดิการหรือไม่   

9   กรณีต้องทำรายงานส่งคณะกรรมการว่าปรับปรุงระบบแล้วทั้งที่มีหลายหน่วยงานควบคุมมาตรฐานอยู่ให้คณะกรรมการชุดนี้พิจารณาโดยไม่มีความรู้เฉพาะจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่   

10   กรณีการเก็บเอกสารเวชระเบียนโดยทั่วไป 5 ปีที่ต้องถูกปรับตามอายุความคดีที่อาจถูกฟ้องร้องได้   

11   ปัญหาต่อวิชาชีพพยาบาล   

12   ปัญหาต่อวิชาชีพเภสัชฯ   

13   ปัญหาต่อวิชาชีพทันตแพทย์   

14   ปัญหาต่อวิชาชีพกายภาพบำบัด   

15   ปัญหาต่อวิชาชีพเทคนิคการแพทย์   
   
กลุ่มที่ 3 กรรมการ กองทุน และ การจ่ายเงิน
ประธาน นพ.ชัยวัน เจริญโชคทวี  / เลขา นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   กองทุนยกมาจาก ม.๔๑ หรือไม่ครั้งเดียวหรือตลอดไป   

2   กองทุนจากการเก็บรายหัวของ รพ., คลินิก, สถานีอนามัย, ฯลฯ เหมาะสมหรือไม่    

3   กองทุนเก็บจากสถานพยาบาลเอกชนเหมาะสมหรือไม่   

4   การจ่ายเงินชดเชยควรให้ในภาครัฐ และ/หรือ ภาคเอกชน   

5   กรรมการกองทุนควรมีตัวแทนจากทั้ง 5 กระทรวง / 5 สภาวิชาชีพฯ หรือไม่   

6   สำนักงานเลขาของกองทุนควรอยู่ใน สธ. หรือเป็นอิสระ   

7   การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นควรเป็นประชาสงเคราะห์ผู้เสียหายทุกรายหรือไม่   

8   การจ่ายเงินชดเชยควรมีเฉพาะจากความผิดพลาดของระบบหลักหรือรวมทุรเวชด้วย   

9   การตรวจสอบกองทุนควรโปร่งใสให้ สตง. ดูแลโดยห้ามมอบให้บุคคลภายนอกตรวจสอบแทนหรือไม่   

10   เงินทุนเหลือต่อปีควรคืนคลังเพราะเป็นภาษีหรือให้ใช้สะสมต่อได้   

11   การไม่จ่ายเงินสมทบถูกปรับร้อยละ 24 ต่อปี ถูกดำเนินคดีปกครองและยึดทรัพย์ได้เหมาะสมหรือไม่   

12   การจ่ายเงินสมทบเป็นตามความเสี่ยงจำนวนคนไข้ และการพัฒนาความปลอดภัยเหมาะสมหรือไม่   

13   การให้ผู้อื่นเรียกร้องกองทุนได้แทนทายาทจะสร้างปัญหาหรือไม่   

14   การตัดสินจ่ายเงินกองทุนโดยใช้เสียงข้างมากแทนมาตรฐานวิชาการเหมาะสมหรือไม่   

15   การตั้งกรรมการชั่วคราวเป็นภาคประชาชน 6 ใน 11 คนเหมาะสมหรือไม่   

16   การไม่รับเงินชดเชยแล้วไปฟ้องคดีต่อได้โดยไม่ต้องคืนเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเหมาะสมหรือไม่   

17   การแพ้ชนะคดีในศาลโดยกองทุนตัดสินใจจ่ายเงินช่วยเหลือหรือไม่เพียงใดก็ได้เหมาะสมหรือไม่   

18   การจ่ายค่าเสียหายให้ผู้เสียหายในรายที่ศาลยกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยว่าผู้ให้บริการฯไม่ต้องรับผิดเหมาะสมหรือไม่   

19    อื่น ๆ    

กลุ่มที่ 4 คดีความและการร้องเรียน
ประธาน นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ / เลขา นพ.เมธี วงษ์ศิริสุวรรณ


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   การร้องเรียนคณะกรรมการและจำกัดเวลา 30 วันตัดสินนั้นเหมาะสมหรือไม่   

2   การรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วฟ้องต่อได้เหมาะสมหรือไม่   

3   การขอรับเงินชดเชยแล้วเปลี่ยนใจไม่รับ ขอไกล่เกลี่ยเพิ่มได้เหมาะสมหรือไม่   

4   การเรียกแพทย์และสถานพยาบาลมาไกล่เกลี่ยแล้วไม่พอใจสามารถยกเลิกฟ้องต่อได้เป็นธรรมหรือไม่   

5   การรับเงินทำสัญญาประนีประนอมแล้วให้กับมาฟ้องใหม่ได้ใน 3-10 ปีเหมาะสมหรือไม่   

6   การที่กฎหมายนี้ให้เงินช่วยเหลือแต่ไม่มีกลไกดการฟ้องร้องโดยคงสิทธิตามปกตินั้นเหมาะสมหรือไม่ และป้องกันกลุ่มฉ้อฉลฟ้องร้องอย่างไร   

7   การผูกการจ่ายเงินกับมาตรฐานทางการแพทย์  ทำให้ผู้ป่วยระแวงเก็บหลักฐานเตรียมไว้เผื่อฟ้องและหาข้อผิดพลาดให้ได้ก่อนเพื่อเป็นเหตุในการเรียกร้องค่าเสียหายได้  จะมีปัญหาต่อระบบหรือไม่   

8   การไม่จ่ายเงินช่วยเหลือในกรณีสุดวิสัยกับในกรณีเสียหายจากเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับมาตรฐานทางการแพทย์ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับเงินช่วยเหลือได้ จึงต้องไปฟ้องศาลต่อส่งผลให้คดีเพิ่มขึ้นหรือไม่   

9   ความผิดพลาดของผู้ประกอบวิชาชีพฯมีกลไกและการตัดสินถูกผิดอยู่แล้ว การพิจารณาของกรรมการชุดนี้ซ้ำซ้อนและหากผลไม่ตรงกันเนื่องจากอยู่ใน กฎหมาย  คนละฉบับจะทำอย่างไร อาจนำไปสู่การฟ้องศาลปกครองได้   

10   การเปิดช่องให้ใช้ใบประนีประนอมยอมความไปลดโทษในคดีอาญาเท่ากับกระตุ้นให้ฟ้องคดีอาญาบังคับคดีแพ่งด้วยหรือไม่  จะป้องกันอย่างไร   

11   การไม่พิสูจน์ถูกผิดโดยจ่ายค่าเสียหายย่อมไม่สามารถยุติความสงสัยที่จะนำคดีขึ้นฟ้องต่อศาลได้ ทางการแพทย์จึงควรต้องพิสูจน์ความผิดทุกครั้งเพื่อพัฒนาระบบแต่จะลงโทษหรือไม่ขึ้นกับปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่   

กลุ่มที่ 5 ความพร้อมและเหมาะสมของสังคม
ประธาน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์/ เลขา นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   ปัญหาภาระงานที่เกินจริงในภาครัฐจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์   

2   ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณและการขาดทุนของสถานพยาบาล   

3   ปัญหามาตรฐานการรักษาพยาบาลที่แตกต่างใน รพ.แต่ละระดับ   

4   ปัญหาความขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็น   

5   ปัญหาระบบการส่งต่อผู้ป่วยในประเทศไทย   

6   ปัญหาจำนวนผู้รับบริการเกินความสามารถของแพทย์ทั้งใน OPD และ IPD    

7   ปัญหาจำนวนเตียงของผู้ป่วยใน รพ.ที่มีน้อยกว่าผู้ป่วยจริงตามฤดูกาลซึ่งจะเข้าข่ายผิดมาตรฐานหากมีเตียงเสริมในรพ. ที่ผู้เสียหายจะสามารถเรียกร้องเงินช่วยเหลือได้   

8   ปัญหากระทรวงสาธารณสุขควรแสดงถึงข้อมูลข้อเท็จจริงของสถานพยาบาลในระดับที่เป็นปัญหาและมีความเสี่ยงจนนำไปสู่ความเสียหายต่อประชาชน จนเป็นเหตุให้เกิดกฎหมายใหม่  ข้อมูลทางสถิติและข้อเท็จจริงมีความสำคัญในการแก้ไขและพัฒนาเฉพาะจุดที่เป็นปัญหาจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่   

9   ปัญหาการแสดงถึงตัวเลขทางการเงินที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบที่ทำให้เกิดปัญหาและการใช้งบประมาณหากกฎหมายนี้ออกมาบังคับใช้ว่าจะจ่ายเงินในหมวดใดเป็นจำนวนเงินเท่าไร ระยะสั้นและระยะยาวเป็นอย่างไร และความคุ้มค่าในการแก้ปัญหาโดยการออกกฎหมายนี้อยู่ที่จุดใด ควรวิเคราะห์เสนอต่อสังคมก่อนหรือไม่   

กลุ่มที่ 6 กลไกช่วยเหลือประชาชนอื่นๆ
ประธาน นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ / เลขา พญ.ดวงจิตร สมิทธิ์นรเศรษฐ์


ลำดับ   รายละเอียดแนวทางพิจารณา   หมายเหตุ

1   การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายตาม ม.๔๑ ให้เหมาะสมมากขึ้น
•   เพิ่มเพดานวงเงิน
•   ขยายกลุ่มข้าราชการและประกันสังคม   

2   สร้างระบบรับเรื่องร้องเรียนและช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นรูปธรรม
•   ตั้งศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายทั้งผู้รับและผู้ให้บริการระดับประเทศ
•   เพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ไกล่เกลี่ยและรับเรื่องร้องเรียนของสถานพยาบาล   

3   สร้างระบบชดเชยของกลุ่มประกันสังคม   

4   สร้างระบบชดเชยของสวัสดิการข้าราชการ   

5   จัดตั้งศาลพิเศษทางการแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะและตัดสินคดีได้รวดเร็วและเป็นธรรมเช่นในต่างประเทศ   

6   ปรับปรุงสถานพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรมากในภาครัฐและดำเนินการแก้ไขโดยใช้กฎหมายและวงเงินช่วยเหลือที่มีอยู่ไปพัฒนาระบบ ให้มีบุคลากร เครื่องมือแพทย์เพียงพอต่อการให้บริการเพื่อลดปัญหาและแจ้งให้ประชาชนทราบ   

7   แก้ปัญหาสถานพยาบาลเอกชนที่มีความเสี่ยงสูงและมีเรื่องร้องเรียนมากซึ่งอยู่ภายใต้ พรบ.สถานพยาบาลฯ ให้พิจารณาเพิ่มหลักเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ตามปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยผ่านระบบต่างๆ ตามมาตรฐานที่รัฐต้องการ เช่น กำหนดให้มีการซื้อประกันเอกชนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในเงื่อนไขเดียวกับภาครัฐ เป็นต้น   

68
“มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

องค์ประกอบของเงื่อนไขในมาตรานี้คือ
๑) เป็น เจ้าพนักงาน
๒) ปฎิบัติ หรือ ละเว้นการปฎิบัติ
๓) มิชอบ หรือ โดยทุจริต (เจตนาพิเศษ)
๔) เพื่อให้เกิดความเสียหาย
๕) แก่ผู้ใด
 
๑) ปลัด หรือ รมต. เป็นเจ้าพนักงานหรือไม่....my opinion....คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2490 ได้อธิบายถึงความหมายของเจ้าพนักงาน ว่าหมายถึง “ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทย ให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทย”    ....รมต./ปลัด ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐ   และ การกระทำดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการ ดังนั้น ปลัด/รมต. เข้าข่ายองค์ประกอบข้อแรกของ ปอ. ๑๕๗
 
๒) ปฏิบัติ ....การยื่นหนังสือ การสรุปความเห็นเป็นการปฏิบัติ     ..... การไม่ยื่นรายละเอียดที่ถูกต้องและเป็นจริงเป็นการละเว้นปฎิบัติ....ดังนั้นน่าจะเข้าองค์ประกอบข้อ ๒
 
๓) โดยมิชอบ  ...เทียบเคียงฎีกา 1403/2521 “การกระทำโดยมิชอบนั้น เฉพาะตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นโดยตรงที่ได้รับมอบให้มีหน้าที่นั้นๆ ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานแล้ว ย่อมไม่มีความผิด”  ดังนั้น “โดยมิชอบ” น่าจะหมายความถึง โดยมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเจ้าพนักงานมีอยู่ตามกฎหมาย
    “มีเจตนาพิเศษ” ที่ต้องการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
    โดยทุจริต....ไม่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าการกระทำนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะ ให้ผู้อื่นเสียหายหรือไม่ แม้ไม่เกิดความเสียหายก็ยังคงถือว่าเป็นการกระทำความผิดได้
  ทั้งปลัด/รมต. น่าจะเข้าข่าย การกระทำโดยมิชอบ + ทุจริต ซึ่งเป็นองค์ประกอบข้อ ๓
 
๔) ความเสียหาย...รวมถึงความเสียหายในทุกๆด้านโดยไม่จำกัดเฉพาะความเสียหายที่เป็นทรัพย์สินเท่านั้น เช่น ชื่อเสียง
         บุคคลในข้อ ๕ น่าจะเข้าข่าย ถูกกระทำให้เกิดความเสียหาย  ซึ่งเป็นองค์ประกอบข้อ ๔ ของม. ๑๕๗ นี้
 
๕) แก่ผู้ใด....ใครก็ตามที่ถูกอ้างชื่อ ซึ่งเป็นได้ทั้ง บุคคล (พญ. พจนา etc.)  และ นิติบุคคล (แพทยสภา สภาการพยาบาล สมาคมรพ.เอกชน(+/-) etc.)  เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
         ปวอ. ม. ๒(๔) นิยามคำว่า ผู้เสียหายไว้ว่า หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้
         ผู้ใดนี้ไม่จำกัดว่าต้องเป็นรัฐ เป็นเอกชนก็ได้  ขอแต่ผู้กระทำ เป็นเจ้าพนักงานรัฐ ก็จะผิดตาม ม. ๑๕๗
         ดังนั้นทั้ง บุคคล/นิติบุคคล ที่ถูกอ้าง ก็เป็นผู้เสียหายตามมาตรานี้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบข้อสุดท้ายของความผิดฐานนี้
     
   ดังนั้นการยื่นหนังสือเท็จต่อวิปรัฐบาลน่าจะผิดตาม ม. ๑๕๗ นี้จริง
 
   เผลอ ๆ ยังเอาผิด คณะนิติศาสตร์ หรือ ใครก็ได้ที่อยู่ในห้องประชุมวันนั้น และเซ็นเอกสารรับรองว่าสิ่งที่รมต.เสนอเป็นความจริงน่าจะผิดฐาน "สมรู้ร่วมคิด" ตามกฎหมายอาญา ดังนี้
    ผู้กระทำผิดทางอาญาที่ต้องรับโทษ มี
    1. ตัวการ คือผู้ที่กระความผิด ณ ที่เกิดเหตุ หรือพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือการกระทำผิดทันที .... รมต. หรือ ปลัด
        มาตรา 83 "ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวาง โทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น"
 
    2. ผู้สนับสนุน คือ ผู้ที่อำนวยความสะดวกในการกระทำควาผิด ก่อน หรือ ขณะกระทำความผิด ... คนในห้องประชุมที่ลงนามรับรองเอกสาร หรือมีหลักฐานเป็นแถบบันทึกเสียง เช่น ตัวแทนคณะนิติศาสตร์ NGO หมอเทพ etc.
       มาตรา ๘๖ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือ ขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะไม่ได้รู้ถึงความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น
 
    3. ผู้ใช้ คือผู้ที่ ให้ผู้อื่นกระทำการแทนตนเอง รับผิดเสมือนตัวการครับ  .... รมต. หรือ ปลัด
   มาตรา ๘๔ ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญจ้างวาน  หรือ ยุยงส่งเสริม หรือวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด

โทษคือ จำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
 
มาตรานี้ เป็น "อาญาแผ่นดิน" ยอมความไม่ได้   ดังนั้น เมื่อฟ้องแล้ว ก็จะถอนฟ้องไม่ได้    แม้ผู้ฟ้องจะยอมแต่อัยการต้องดำเนินคดีต่อ   
 
ของแถม
มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จด ข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการซึ่งมี วัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 268 ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำ ความผิดตาม มาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือ มาตรา 267 ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ
   ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือ เป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเอง ให้ลงโทษตาม มาตรานี้ แต่กระทงเดียว

มาตรา 269 ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดย ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
   ผู้ใดโดยทุจริตใช้หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำความผิด ตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

69
แพทยสภา ขอเชิญประชุมสัมมนาสรุปปัญหาผลกระทบ และหาทางออกในความขัดแย้งของร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาูธารณสุข พ.ศ... ในวันพุธที่ 10 พ.ย. 2553
เวลา 08.30-16.30 น. ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อหาข้อสรุปปัญหาผลกระทบของร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
2. หาทางออก และแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมกับประชาชน

จึงขอเรียนเชิญท่าน (ประธานองค์กรแพทย์) หรือผู้แทน 6 ท่าน เข้าร่วมประชุมสัมมนาดังกล่าวโดยไม่เสียค่าลงทะเบียน และขอให้เบิกค่าพาหนะ ค่าที่พัก หรือเบี้่ยเลี้ยงจากต้นสังกัด

ช่วยเตือนกัน..... อย่าลืมเข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ คาดว่าหลายโรงพยาบาลคงได้หนังสือเชิญฉบับนี้กันแล้ว
ที่ไหนยังไม่เห็นหนังสือก็ตามเรื่องกันหน่อย...ห้ามพลาด

70

คำถามที่ต้องตอบ และคำตอบที่ต้องใคร่ครวญเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

          ท่ามกลางข่าวสาร ข้อมูล สองด้านที่ตรงกันข้าม จากนักเคลื่อนไหวภาคประชาชน และจากบุคลากรด้านสาธารณสุขในระยะเวลาเกือบครึ่งปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข คนทั่วๆไปที่ไม่ได้มีตัวร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ในมือ และไม่ได้หยิบขึ้นมาศึกษาอย่างจริงจังก็คงลังเลว่าอะไรเป็นอะไรกันแน่ กลุ่มไหนถูก กลุ่มไหนผิด บางคนก็ตัดสินไปตามกระแสข่าว คติ และอคติที่มีติดตัวมา เป็นการตัดสินใจตามอารมณ์ และความรู้สึก แม้แต่คนที่ตั้งใจหยิบร่างพ.ร.บ.ฯขึ้นมาอ่านมาพิจารณา แต่ถ้าไม่ได้เป็นผู้ที่อ่านกฎหมายรู้ ดูกฎหมายเป็น และไม่ได้มีความเข้าใจระบบสาธารณสุขดีพอ ก็ยากที่จะเข้าใจเนื้อหา และผลกระทบจากเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวได้อย่างลึกซึ้ง ผู้มีความรู้ด้านกฎหมายที่ไม่ได้มีความรู้ด้านสาธารณสุข คงรู้ความหมาย และเข้าใจถ้อยคำในร่างพ.ร.บ. แต่ก็คงขาดความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบด้านสาธารณสุข ถือได้ว่าเป็นการเข้าใจร่างพ.ร.บ.ฯแบบงูๆปลาๆ ในทำนองเดียวกันผู้ที่มีความรู้ด้านสาธารณสุขที่ไม่คุ้นกับภาษากฎหมาย และไม่ได้พยายามทำความเข้าใจ ไม่ได้ทุ่มเทเวลาศึกษาอย่างละเอียดทุกถ้อยคำ ก็อาจจะเข้าใจร่างพ.ร.บ.ฯแบบปลาๆงูๆ  จึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมจึงมีผู้คนตั้งคำถาม ว่าทำไมหมอๆถึงใส่ชุดดำ ชูป้ายคัดค้าน และทำไมนักเคลื่อนไหวจึงเอาคนพิการ คนป่วยออกมาชูป้ายสนับสนุนที่ข้างถนน เบื้องลึกเบื้องหลัง รวมทั้งแรงจูงใจของแต่ละฝ่ายคงมีให้วิเคราะห์ให้วิจารณ์กัน แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของบทความนี้ ไม่มีการพิสูจน์ถูกผิดกันที่นี่ แค่ลองมาดูข้อมูลแล้วมาตั้งคำถามกันดีกว่า

คำถามที่ต้องตอบ ก่อนคิดจะทำอะไรต่อไป

1. การเงินการคลัง
          จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เกี่ยวกับผู้ที่ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ซึ่งได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล (ตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)ในปี พ.ศ.2547 พบว่า มีการยื่นคำร้อง 99 ราย (มีการจ่ายเงิน 73 ราย) และในปี พ.ศ.2552 มีการยื่นคำร้องถึง 810 ราย (มีการจ่ายเงิน 660 ราย) และจากสถิติของประเทศสวีเดน(ซึ่งเป็นประเทศที่มีการอ้างถึงว่ามีการใช้กฎหมายลักษณะคล้ายร่างพ.ร.บ.ฯฉบับนี้) ก่อนเริ่มมีการออกกฎหมาย (ปี ค.ศ.1975) มีการยื่นคำร้องประมาณสิบรายต่อปี พอปีค.ศ. 1997 มีประมาณเก้าพันราย พอถึงปี ค.ศ.2004 มีการยื่นคำร้องมากถึงหนึ่งหมื่นราย นั่นคือ เป็นเกือบพันเท่าในระยะเวลายี่สิบกว่าปี ถ้าเอาข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ และของประเทศสวีเดน มาเขียนเป็นรูปกราฟ คงได้กราฟในลักษณะเดียวกัน คือ พุ่งขึ้นเป็นจรวด
             จากข้อมูลของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีกฎหมายลักษณะนี้  มีการยื่นคำร้องประมาณ 2,000 รายต่อประชากร 4 ล้านคนต่อปี ถ้าเอาประชากรประเทศไทยมาคิด จาก 63 ล้านคน ก็คงจะมีการยื่นคำร้องประมาณ สามหมื่นรายต่อปี
          จำนวนเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม มาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จ่ายสูงสุดรายละสองแสนบาท แต่ในร่างพ.ร.บ.ฯฉบับนี้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น เงินชดเชย และอาจมีเงินจากการไกล่เกลี่ยอีก โดยไม่กำหนดเพดาน และมีการคาดการณ์กันว่า เป็นหลักล้านบาทขึ้นไปต่อราย
          เอาตัวเลขที่คาดการณ์มาคิดดู ถ้ามีการใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้ ประเทศไทยคงมีการใช้จ่ายเนื่องจากผลของพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นหลักหมื่นล้านบาทในระยะเวลาไม่กี่สิบปีข้างหน้า

          ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีการฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์มากที่สุดในโลก นอกจากแพทย์จะต้องซื้อประกัน(สำหรับความผิดพลาดจากการตรวจรักษาคนไข้) เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกฟ้องร้องแล้ว ด้วยความกลัวการเป็นคดีความ แพทย์ยังป้องกันตัวเองด้วยการกระทำที่เรียกว่า การแพทย์เพื่อป้องกันตัวเองจากความผิดพลาด ( Defensive Medicine) ซึ่งมีสองลักษณะ ลักษณะแรก คือ การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือส่งเอกซเรย์มากเกินความจำเป็น เพียงเพื่อลดความกังวลของตัวเองโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ นั่นคือไม่เกิดประโยชน์ต่อคนไข้เลย   อีกลักษณะหนึ่งก็คือ หลีกเลี่ยง หรือปฏิเสธที่จะทำหัตถการ หรือตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ในสหรัฐอเมริกามีการศึกษาพบว่าค่าใช้จ่ายเนื่องจากการแพทย์เพื่อป้องกันตัวเองจากความผิดพลาด (Defensive Medicine) สูงมากถึงหลักแสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือประมาณสิบเปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของประเทศ
          ถ้ามีการใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีการคาดการณ์กันว่า จะเกิดการแพทย์เพื่อป้องกันตัวเองจากความผิดพลาด (Defensive Medicine)อย่างเต็มรูปแบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ งบประมาณภาครัฐที่ใช้ในด้านสาธารณสุขของประเทศไทยขณะนี้อยู่ในหลักแสนล้านบาทต่อปี นั่นหมายความว่า เงินประมาณหลักหมื่นล้านบาทจะถูกใช้ไปโดยเปล่าประโยชน์เพื่อการนี้

          คำถาม : ผลกระทบจากพ.ร.บ.ฉบับนี้ต่อระบบการเงินการคลังของประเทศเป็นอย่างนี้ รัฐบาลซึ่งเป็นผู้ดูแล และบริหารประเทศจะคิดอย่างไร

2. การเข้าถึงบริการ
           จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข( ปีพ.ศ.2553) ในส่วนของโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร)  ยังขาดแคลนแพทย์เกือบสี่พันคน ขาดแคลนพยาบาลสามหมื่นกว่าคน ขาดแคลนทันตแพทย์เกือบสี่พันคน และขาดแคลนเภสัชกรพันกว่าคน  นอกจากนี้โรงพยาบาลต่างๆจำนวน 570 แห่ง(จาก 830 แห่ง) มีรายรับต่ำกว่ารายจ่าย โรงพยาบาล 258 แห่งขาดสภาพคล่องด้านการเงิน และโรงพยาบาล 191 แห่งมีสถานะด้านการเงินในขั้นวิกฤต นี่คือความขาดแคลนทั้งด้านบุคลากร และด้านการเงินที่จะใช้เพื่อการสาธารณสุขของประเทศเราในปัจจุบัน
          แผนการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ได้มีการดำเนินมายาวนาน รัฐบาลได้สร้างโรงพยาบาลอำเภอแห่งแรกของประเทศขึ้นที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และได้เปิดให้บริการประชาชนในปี พ.ศ. 2495 หลังจากนั้นได้มีการสร้างโรงพยาบาลขึ้นเกือบทุกอำเภอทั่วประทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข โดยเอาบริการเข้าไปหาประชาชน แบบใกล้บ้านใกล้ใจ มีการพัฒนาขีดความสามารถของโรงพยาบาลอำเภอ(ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลชุมชน) มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนให้ได้มากที่สุด มีการลงทุนด้านสิ่งก่อสร้าง เครื่องมือแพทย์ และบุคลากร จนสามารถดูแลรักษาประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น  ยกเว้นเพียงการผ่าตัดใหญ่ๆ หรือโรคที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จึงจะส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งพัฒนาจากโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดที่ใหญ่ขึ้นมีขีดความสามารถในการดูแลรักษาประชาชนมากขึ้น ความจำเป็นในการส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ตัวจังหวัดก็น้อยลงเรื่อยๆ ประชาชนได้อาศัยโรงพยาบาลใกล้บ้านนี่แหละเป็นที่พึ่งพิงในยามเจ็บป่วย
           การพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศเรามีแนวทาง และดำเนินมาในลักษณะนี้จนกระทั่งเกิด”คดีร่อนพิบูลย์” ซึ่งเป็นการฟ้องร้องคดีอาญาต่อบุคลากรด้านสาธารณสุข เนื่องจากมีการผ่าตัดไส้ติ่งแล้วผู้ป่วยเสียชีวิตที่โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2545 และต่อมาเมื่อมีการตัดสินพิพากษาให้จำคุกแพทย์ท่านหนึ่งในคดีดังกล่าว ซึ่งส่วนหนึ่งของคำพิพากษา มีว่าแพทย์ท่านนั้นไม่ได้เป็น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็เหมือนเป็นการส่งสัญญาณให้บุคลากรด้านสาธารณสุขตระหนักว่า ถ้าไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าตรวจรักษา ปรากฏการณ์ที่มีคนเปรียบเทียบเหมือน “เขื่อนแตก” ก็เกิดขึ้น ผู้ป่วยไหลจากอำเภอต่างๆเข้าไปท่วมที่ตัวจังหวัด นั่นคือ แพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ลดบทบาท ลดขีดความสามารถ ลดหัตถการ ลดการผ่าตัดที่เคยทำมาตลอด โดยส่งตัวผู้ป่วยไปแออัดกันที่โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไปที่อยู่ในตัวจังหวัดซึ่งมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่ ระบบใกล้บ้านใกล้ใจที่เพียรสร้างกันมา ก็ถูกทำลายลง ทรัพยากรที่ลงทุนไปในโรงพยาบาลชุมชน เช่น ห้องผ่าตัด เครื่องมือแพทย์ก็ถูกทอดทิ้งไม่ได้ใช้ประโยชน์ ผลด้านตรงกันข้ามก็เกิดขึ้นในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป คือ ทรัพยากรที่จะใช้มีไม่เพียงพอ จนถึงทุกวันนี้สภาพการณ์ก็ยังเป็นแบบนี้
          ในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มี คำว่า มาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า หากพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ขึ้นมาจริงๆ จะเกิดปรากฎการณ์ “เขื่อนแตก” ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะสภาพปัจจุบัน ผู้ป่วยที่มาตรวจรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปมีจำนวนมากเกินกำลังของบุคลากรที่จะตรวจรักษาให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ มากเกินกว่าทรัพยากรทั้งทางด้านจำนวนเตียง ห้องผ่าตัด และเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลที่จะรองรับได้ การปรับให้ได้มาตรฐานจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน นั่นก็คือ ผู้ป่วยจำนวนที่เกินกำลัง เกินขีดความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ เกินกว่าทรัพยากรที่มีอยู่ จะถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ก็คงหนีไม่พ้นโรงพยาบาลใหญ่ๆที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ถ้าเป็นภาคกลางก็ต้องมาที่กรุงเทพมหานคร ถ้าเป็นภาคเหนือ ก็อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคอีสานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น และภาคใต้อยู่ที่จังหวัดสงขลา ภาพที่จะเกิดขึ้น คือ น้ำไหลจากอำเภอสู่จังหวัด ส่วนที่ท่วมล้นก็ไหลไปยังศูนย์กลางของภูมิภาค ประชาชนต้องเดินทางไปหาบริการไกลบ้าน เมื่อไกลบ้าน ภาระต่างๆจะตามมาให้ประชาชนเป็นผู้แบกรับ ผู้ที่แบกไม่ไหวก็ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้
          คำว่า แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้ทำให้เขื่อนขนาดเล็ก ขนาดกลาง (โรงพยาบาลชุมชน) ทั่วประเทศแตกมาแล้ว และคำว่า มาตรฐานวิชาชีพ ก็จะทำให้เขื่อนขนาดใหญ่ (โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป) ทั่วประเทศแตกได้อีกเช่นกัน

          คำถาม : ผลกระทบจากพ.ร.บ.ฉบับนี้ต่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขเป็นอย่างนี้ ประชาชนซึ่งเป็นผู้ใช้บริการจะคิดอย่างไร

3. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรด้านสาธารณสุข
           การที่ผู้ป่วยซึ่งมีความทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาหาหมอเพื่อรับการตรวจรักษาให้หาย หรือบรรเทาจากความทุกข์นั้น เป็นสิ่งที่ยอมรับกันอยู่แล้วว่าความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับหมอเป็นสิ่งสำคัญมาก  ความไว้วางใจ เชื่อใจซึ่งกัน และกันเป็นกุญแจดอกสำคัญของความสัมพันธ์ที่ดี ถ้าคนไข้ไม่ไว้ใจหมอ และหมอไม่วางใจคนไข้ การตรวจการวินิจฉัย และการรักษาโรคจะไม่ได้ผลดีอย่างที่มุ่งหวัง และอาจผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น รวมทั้งอาจเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ได้โดยง่าย  ความวิตกกังวลจะเกิดขึ้นกับทั้งหมอ และคนไข้  ภาวะตึงเครียดระหว่างคนไข้กับหมอไม่ส่งผลดีกับฝ่ายใดเลย
          มีการคาดการณ์กันว่า หากพ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ขึ้นมา จะมีผู้ยื่นคำขอเงินช่วยเหลือ และเงินชดเชยจากกองทุนที่เกิดจากพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อยๆ ความกังวล หรือหวาดเกรงว่าจะถูกร้องเรียน หรือฟ้องร้องของบุคลากรด้านสาธารณสุขก็จะมากขึ้นเป็นทวีคูณ ฝ่ายคนไข้มีเงินเป็นแรงจูงใจ ฝ่ายบุคลากรด้านสาธารณสุขมีความปลอดภัยจากคดีความเป็นสิ่งที่จะต้องปกป้อง ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อกัน ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน  การพึ่งพิงพึ่งพากัน ความดีงามเหล่านี้ที่มีมาในสังคมไทย และมีในวงการแพทย์ และสาธารณสุขที่บรรพบุรุษของเราปลูกฝังกันมาก็จะลดน้อยลง และหายไปในที่สุด สังคมที่เห็นเงินเป็นใหญ่จะเข้ามาแทนที่ สังคมที่เราอยู่จะมีแต่คนที่เห็นประโยชน์ของตนเป็นกิจที่หนึ่ง

          คำถาม : ผลกระทบจากพ.ร.บ.ฉบับนี้ต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรด้านสาธารณสุขเป็นอย่างนี้ บุคลากรด้านสาธารณสุข และผู้ป่วย หรือผู้ที่อาจจะต้องเป็นผู้ป่วยในวันข้างหน้าจะคิดอย่างไร

คำตอบที่ต้องใคร่ครวญโดยปราศจากอคติ
          ความคิดเห็นของคนเราเหมือนเรือที่ลอยลำในทะเล ซึ่งมีคลื่นคอยกระทบเรืออยู่เสมอ หากไม่ตั้งลำให้ดี ก็เอียงได้ คลื่นของความรักความชอบ คลื่นของความเกลียดความชัง คลื่นของความเกรงความกลัว และคลื่นของความไม่รู้ ความเขลา ทำให้เรือเอียงได้ทุกเมื่อ  ก่อนที่จะให้คำตอบ ขอให้ทุกคนได้ใคร่ครวญให้ดี ใช้ความคิดอย่างตรงไปตรงมา ใช้ความคิดในยามคลื่นสงบ ในยามที่เรื่อตั้งลำได้ตรง
          รัฐบาล ประชาชน และบุคลากรด้านสาธารณสุข น่าจะได้คำตอบที่ใคร่ครวญแล้ว น่าจะเห็นทิศทางที่เหมาะสมที่ประเทศชาติของเราควรจะมุ่งหน้าไป
          คุณล่ะมีคำตอบหรือยัง

..............................................................................

71
ทำไมจึงคัดค้านพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
และข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลผ่านประธานวิปรัฐบาล
จากสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)

เหตุผลในการคัดค้าน

1.ในหลักการและเหตุผลในการร่างกฎหมาย อ้างว่าจะช่วยลดการฟ้องร้อง แต่ความเป็นจริงจะทำให้มีการร้องเรียนและฟ้องร้องมากขึ้น เพราะมีกองทุนไว้ล่อใจ การร้องเรียนจะเริ่มจากขอเงินช่วยเหลือ อุทธรณ์คำสั่ง ร้องขอค่าชดเชย อุทธรณ์คำสั่ง ฟ้องแพ่ง ฟ้องอาญา แล้วกลับมาขอเงินจากกองทุนอีกครั้ง ถ้าศาลตัดสินให้ผู้ฟ้องไม่ได้รับเงินชดเชย
ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ก็ต้องฟ้องศาลปกครอง ถ้ารู้สึกว่าตนเองไม่ได้ความยุติธรรม
ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พ.ร.บ.นี้ กำหนดให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องรับภาระเกินสัดส่วน ขัดกับรัฐธรรมนูญ ละเมิดสิทธิบุคลากรทางการแพทย์

2..คณะกรรมการไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เป็นองค์ประกอบสำคัญ(มาตรา 7) และการตัดสินของคณะกรรมการใช้เสียงข้างมาก(มาตรา 11) ไม่ได้วิเคราะห์โดยอาศัยความรู้และหลักปฏิบัติทางการแพทย์ จึงไม่ยุติธรรมสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เพราะถูกเลือกปฏิบัติ

3. มาตรา 5 อ้างว่าไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด แต่ความจริงบุคลากรทางการแพทย์จะต้องส่งเอกสารและไปให้ถ้อยคำ แก่คณะกรรมการตามมาตรา 18 ถ้าไม่ไปต้องติดคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือถูกปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 46)

4.มาตรา 6 กำหนดว่า ถ้าเป็นเหตุสุดวิสัย แพทย์รักษาตามาตรฐานและความเสียหายนั้นไม่มีผลต่อการดำรงชีวิตตามปกติ จึงขัดกันกับมาตรา 5
 และหมายความว่ากรรมการตัดสินให้จ่ายเงิน แสดงว่าบุคลากรทำผิด เพราะมาตรา 6 บอกว่าถ้าไม่ผิด ไม่จ่าย เมื่อกรรมการตัดสินว่าผิด แพทย์ก็จะต้องถูกกรรมการสภาวิชาชีพสอบสวนอีก จะทำให้แพทย์ถูกสอบสวนหลายครั้งในเรื่องๆเดียว
นอกจากนั้น ยังมีมาตรา 34 ที่ให้ประชาชนเลือกจะไปฟ้องศาลถ้าประชาชนไม่พอใจการตัดสินของคณะกรรมการ(และอนุกรรมการพิจารณาเงินช่วยเหลือและชดเชยแล้ว ให้ยุติคดี วรรคสองเมื่อศาลตัดสินให้จ่ายเงินทดแทนแก่ผู้ฟ้อง คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยอาจพิจารณาจ่ายเงินจากกองทุนหรือไม่ก็ได้ (ทั้งๆที่คณะกรรมการกำหนดให้เก็บเงินจากสถานพยาบาลไปแล้ว) และวรรคสาม ถ้าศาลตัดสินว่าบุคลากรทางการแพทย์ไม่ผิด คณะกรรมการยังอาจพิจารณาจ่ายเงินค่าเสียหายหรือไม่ก็ได้
 ประชาชนมีโอกาสได้เงินตลอดทุกกระบวนการ คณะกรรมการสามารถพิจารณาจ่ายเงินได้ทั้งที่บุคลากรจะทำผิดหรือไม่ ส่วนบุคลากรแพทย์ เหมือนลูกแกะ รักษาผู้ป่วยไป 1 คน ก็ต้องวิตกทุกข์ร้อนว่า จะถูกหมาป่ามาขย้ำเมื่อไรก็ได้

5. ชื่อคณะกรรมการตามพ.ร.บ.นี้(มาตรา 7) คือคณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข แต่บุคลากรทางการแพทย์นั้นถูกกล่าวหาตั้งแต่ต้นว่า “เป็นผู้ทำความเสียหาย จนกว่าจะถูกพิสูจน์หลายขั้นตอนดังกล่าว”แล้ว จึงจะพ้นมลทิน ว่าไม่ใช่ “ผู้ทำให้เกิดความเสียหาย”
ถ้าท่านตกอยู่ในสภาพเช่นนี้แล้ว จะเกิดความรู้สึกอยากมี “ความสัมพันธ์ที่ดี”กับคนที่ทำให้เราต้องตกเป็น “ผู้ถูกกล่าวหาว่าทำให้เกิดความเสียหายหรือไม่?”

6.จากเหตุผลต่างๆดังกล่าวข้างต้น  แพทย์ก็จะไม่อยากเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง ก็จะส่งผู้ป่วยต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น ซึ่งผู้ป่วยเองจะเป็นผู้สูญเสียโอกาสในการที่จะได้รับการรักษาให้รอดชีวิตหรือก่อนที่โรคจะลุกลามร้ายแรง

7. ให้มีการตั้งกองทุนขึ้นตามมาตรา 20 และคณะกรรมการมีสิทธิใช้เงินกองทุนมาบริหารจัดการได้ไม่เกินร้อยละ 10 โดยคณะกรรมการจะเป็นฝ่ายกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาและระเบียบทุกชนิดในการรับเงิน จ่ายเงิน และการบริหารงาน
กรรมการตามบทเฉพาะกาลมาตรา 50 ก็คงจะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจเพราะมีเสียงข้างมากอยู่ในมืออยู่แล้ว

8. มาตรา 10(2)คณะกรรมการสามารถออกระเบียบกำหนดอัตราการเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาลเข้ากองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด
และมาตรา 21 กำหนดว่าถ้าสถานพยาบาลใดไม่ส่งเงินเข้าสมทบกองทุน หรือส่งช้า ส่งไม่ครบ จะถูกปรับร้อยละสองต่อเดือน เศษของเดือนให้คิดเป็นรายวันถ้ายังไม่ส่งให้ฟ้องศาลปกครอง และยังกำหนดว่าให้ศาลปกครองมีอำนาจพิพากษาและบังคับคดีมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อให้ขำระเงินนั้นได้
ถ้าไม่เรียกว่าเป็นพ.ร.บ.กรรโชกทรัพย์แล้วจะเรียกว่าอะไร โรงพยาบาลไหนมีผู้ป่วยมากก็ต้องจ่ายมาก โรงพยาบาลก็คงต้องพัฒนากลับหลัง คือไม่อยากบริการประชาชนเพิ่มขึ้น เพราะยิ่งทำมากก็เสี่ยงต่อความผิดมาก ต้องจ่ายเงิน”ค่าคุ้มครอง”มาก โรงพยาบาลของรัฐก็คงจะลดการให้บริการผู้ป่วยลงไปเรื่อยๆ
และพ.ร.บ.นี้มีอำนาจไปสั่งให้ศาลปกครองเปลี่ยนวิธีพิจารณาคดีปกครองได้ด้วย!

9.มาตรา 22 บอกว่าเงินกองทุนและดอกผล ไม่ต้องส่งเข้าคลัง
ถ้าพิจารณาตามสถิติแล้วกองทุนนี้โอนเงินมาจากมาตรา 41 เก็บเงินจากสถานพยาบาลล่วงหน้าประจำปี รวมเงินค่าปรับตามมาตรา 21 และดอกเบี้ยของกองทุนแล้ว จะเห็นว่าจำนวนเงินคงเป็นหลายพัน(หรือหมื่น)ล้านบาท คณะกรรมการคงจะได้ใช้เงิน 10% อย่างสบายๆ เพราะมีอำนาจ(มาตรา
10)กำหนดค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทางและอาจมีโบนัสด้วยก็ได้

10. มาตรา 25 กำหนดอายุความจากคดีแพ่ง 1 ปี ขยายเป็นสามปีและไม่เกิน10 ปี นับแต่วัน “รู้”ถึง ความเสียหาย และรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณสุข
เป็นการขยายอายุความไปได้ตลอดเวลาที่ผู้ป่วยหรือทายาท(ลูกหลาน) “อ้าง” ว่าเพิ่งรู้ว่ามีความเสียหายและรู้ตัวบุคลากรผู้ “ทำ” ให้เกิดความเสียหาย แล้วจะเอาอะไรมาพิสูจน์ว่า “รู้” เมื่อไร และที่อ้างว่า ไม่เพ่งโทษบุคคล ไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด จึงไม่เป็นความจริง (โกหกทั้งเพ)

11. มาตรา 27 คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นภายในเวลาไม่เกิน 60 วัน ถ้าพิจารณาไม่เสร็จในระยะเวลานี้ ให้ถือว่าคณะอนุกรรมการสั่งจ่ายเงินและถือว่าเป็นที่สุด
คณะอนุกรรมการทำงานช้า ไม่สามารถวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นตามเวลาที่กำหนด ทำให้ต้องจ่ายเงินจากกองทุนโดยอาจจะไม่ถูกต้องเหมาะสม แต่ไม่เห็นมีบทลงโทษคณะอนุกรรมการ?

12.มาตรา 28 ถ้าคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ไม่รับคำขอ ให้ส่งต่อให้คณะอนุกรรมการอุทธรณ์เลย
การกำหนดนี้ก็ประหลาดที่สุดในโลก ตัวเองตัดสินว่าไม่ให้เงินแล้ว ยังไม่แน่ใจ ต้องส่งไปให้คณะอนุกรรมการอีกชุดวินิจฉัยอีก แสดงว่าคณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ไม่มั่นใจในการตัดสินใจของตนเอง สมควรถูกปลดออก

13.คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยตามหลักความละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั้งนี้ ต้องทำให้เสร็จใน 60 วันหรือไม่เกิน 90 วัน

14.มาตรา 31 ถ้าผู้ร้องไม่พอใจกับจำนวนเงินที่ได้รับ ให้ยื่นอุทธรณ์ได้ หรือไปฟ้องศาลได้ตามมาตรา 34

15.คณะกรรมการสามารถกำหนดอัตราการจ่ายเงินได้เองตามม. 32 และมาตรา 23

16. มาตรา 33 เมื่อมีการตกลงยอมรับเงินชดเชยแล้ว ต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
แต่ถ้าไม่ยอมรับเงินชดเชยยังไปฟ้องศาลได้ตามมาตรา 34 และยังได้เงินช่วยเหลือก้อนที่ 1 ตามาตรา 35  เห็นอย่างนี้แล้วแพทย์คงอยากลาออกไปเป็นผู้ป่วยดีกว่า เพราะมีแต่ได้กับได้ เผลอๆอาจได้มรดกให้ลูกหลานมากกว่าการอดทนทำงานและอดออมมาตลอดชีวิต

17.มาตรา 37 หลังจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วผู้ป่วยเกิดรู้ว่าได้รับความเสียหายจากยาที่สะสมอยู่ในร่างกาย ก็ยังมีสิทธิไปร้องขอรับเงินชดเชยได้อีกโดยขยายเวลาไปถึง 3 ปีนับจากวันที่รู้ตัวถึงความเสียหายแบะรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณาสุข
ให้ย้อนไปอ่านคำวิจารณ์ในข้อ10

18.มาตรา 38 หากมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องการไกล่เกลี่ย ให้สำนักงานดำเนินการให้มีการไกล่เกลี่ยเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือเพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมกันในเรื่องอื่นนอกเหนือจากเงินค่าเสียหายตามพ.ร.บ.นี้
พระพุทธเจ้าช่วย ได้รับการดูแลรักษาแล้ว ได้เงินค่าเสียหายแล้วยังต้องให้อะไรเขาอีกล่ะ? แพทย์และสถานพยาบาลต้องเตรียมเงินไว้อีกต่างหาก เพื่อจ่ายหลังจากการไกล่เกลี่ย นอกเหนือจากค่าเสียหาย

19.มาตรา 39 สำนักงานยังต้องจ่ายค่าตอบแทนผู้ไกล่เกลี่ยด้วย
แพทย์และโรงพยาบาลรับผิดชอบทำงานแล้วต้องจ่ายเงินออกท่าเดียว

20.มาตรา 42 ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินชดเชยวิเคราะห์สาเหตุแห่งความเสียหายเพื่อแจ้งให้สถานพยาบาลพิจารณาหาแนวทางพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย รวมทั้งการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบริการสาธารณสุข แล้วให้สถานพยาบาลนั้นทำรายงานการปรับปรุงแก้ไขและส่งให้สำนักงานภายในหกเดือน
คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินชดเชยเก่งจังเลย ขนาดปลัดกระทรวงและหมอใหญ่ๆในกระทรวงสาธารณสุขยังวิเคราะห์สาเหตุและพัฒนาระบบไม่ได้เลย น่าให้คณะอนุฯชุดนี้มาบริหารกระทรวงสาธารณสุขแทนรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง และอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ คงทำให้ประชาชนปลอดภัยเต็มร้อยจากการไปรับบริการสาธารณสุข  กองทุนก็ไม่ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือและชดเชย คณะกรรมการก็จะมีเงินบริหารมากขึ้นและคงได้โบนัสก้อนโตกันทุกปี
มาตรา 42 วรรคสอง ยังกำหนดไว้ว่า เมื่อสถานพยาบาลได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามแนวทางในวรรคหนึ่งแล้ว คณะกรรมการอาจนำมาพิจารณากำหนดอัตราการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามมาตร 21 ในทางที่เป็นคุณให้แก่สถานพยาบาลนั้นก็ได้
พระพุทธเจ้าช่วย แล้วสถานพยาบาลที่ไม่เคยมีการร้องขอเงินช่วยเหลือและชดเชยนั้น จะได้รับการ “พิจารณากำหนดอัตราการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามมาตร 21 ในทางที่เป็นคุณให้แก่สถานพยาบาลนั้น” หรือไม่????

21. มาตรา 43 คณะกรรมการมีอำนาจสั่งจ่ายเงินกองทุน ให้สถานพยาบาลที่เสนอโครงการเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายของผู้รับบริการสาธารณสุขและกิจกรรมด้านการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
บทบัญญัติข้อนี้เอง อาจทำให้รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง และอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ฝันว่า จะหาเงินมาใช้ “พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข” เพราะนับแต่มีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 และสปสช.เป็นต้นมา กระทรวงสาธารณสุขขาดทั้ง เงินงบประมาณ ขาดคน ขาดสิ่งของวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ ขาดทุกๆอย่าง มีก็แต่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น ก็เลยหาทางร่วมมือกับเอ็นจีโอเขียนพ.ร.บ.นี้ เพื่อหวังเขียนโครงการเอาเงินจากกองทุนไปพัฒนาระบบตามมาตรา 43นี้เอง

22.มาตรา 45 เป็นมาตราที่กลุ่มผู้สนับสนุนพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... บอกว่า “ช่วยหมอ”
แต่ขอโทษเถอะ ถ้าอยากจะช่วยหมอจริงๆกรุณาอย่าฟ้องคดีอาญาเลย เพราะหมอจะตั้งใจรักษาท่านอย่างดีที่สุด ลองสมมติว่าตัวเองเป็นหมอ ที่ไม่มีโอกาสเลือกว่าจะรักษาผู้ป่วยรายใดหรือไม่ เพราะเขาถูกนำมาส่งตรงหน้าแล้ว อาการป่วยหนักจะตายมิตายแหล่ เป็นตายเท่ากัน จะรักษาก็อาจจะตาย 50%หรือฟื้น 50%ก็ได้ ถ้ามีพ.ร.บ.นี้ดังที่พรรณนามาโดยพิสดาร(แปลว่าละเอียด) และยังฟ้องคดีอาญาได้อีก ท่านจะเห็นว่ามาตรา 45 เป็นการ “ช่วยหมอ” หรือไม่
หมอก็คงจะต้อง “เลือกรักษา” ผู้ป่วยที่อาการไม่หนักและแน่ใจว่าไม่ตายในมือเรา ส่วนผู้ป่วยรายไหนที่หมอไม่แน่ใจ ก็ต้องบอกให้ญาติรีบหารถเอาไปส่งโรงพยาบาลอื่นๆ ที่อาจจะมีหมอเดี(กว่าเรา) ยาดี(กว่ารพ.เรา) และอุปกรณ์การแพทย์ที่ดี (กว่าของเรา) เพื่อผู้ป่วยจะได้ปลอดภัย
แต่ผู้ป่วยอาจทนพิษบาดแผลหรือพิษโรคร้ายไม่ไหว แล้วอาจตายบนรถขนส่งผู้ป่วย หมอจึงไม่กล้าแม้แต่จะให้รถของโรงพยาบาลไปส่งผู้ป่วย เดี๋ยวจะถูกร้องเรียนว่าตายบนรถอีก
ที่เขียนนี้ไม่ใช่ว่าหมอใจร้ายนะ แต่หมออยากให้ผู้ป่วยปลอดภัยและรอดชีวิต โดยหมอเองก็ปลอดภัยจากการร้องเรียนทุกขั้นตอนและปลอดภัยจากคดีอาญาด้วย

23.มาตรา 48 ให้โอนเงินตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาเป็นของกองทุน
และรัฐบาลยังยื่นขอแก้ไขมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้สอดคล้องกับมาตรา 48 ของพ.ร.บ.นี้ด้วย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งเลขาธิการสปสช.ยังบอกว่าขยายมาตรา 41 ไม่ได้
ถ้ารัฐบาลมีความจริงใจจะแก้ปัญหาและมีเสียงสส.ข้างมากในสภา จะแก้พ.ร.บ.อะไรก็แก้ได้ ถ้ามันเหมาะสมและเป็นธรรม คงไม่ต้องให้ประชาชนเสียเวลาทำมาหากิน วิ่งเข้าวิ่งออกสภา หรือทำเนียบรัฐบาล  และอื่นๆอย่างที่เป็นอยู่

24. มาตรา 50 ยังกำหนดกรรมการจากเอ็นจีโอ 6 ใน 11 คน เป็นกรรมการเสียงข้างมากในบทเฉพาะกาล อีกสามคนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ สื่อสารมวลชน และการเจรจาไกล่เกลี่ยสาธารณสุข
ยังไม่ได้กำหนดอีกสามคน ซึ่งคิดว่าอีแอบนี้คงเป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และนพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ผู้ร่างและแก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ฉบับของรัฐบาล ตามคำสั่งของเจ้านายซีกกระทรวงสาธารณสุขและเจ้านายซีกเอ็นจีโอ
แล้วจะให้บุคลากรทางการแพทย์เชื่อว่า เราจะสามารถไปแก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ในวาระกรรมาธิการได้หรือ?

ข้อเรียกร้องของสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท).

  1.ต้องการให้ถอนร่างหรือชะลอการนำพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ออกจากระเบียบวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำประชาพิจารณ์และตั้งกรรมการพิจารณาแก้ไขให้เกิดความสมานฉันท์จริงๆ ไม่ใช่รวบหัวรวบหางอย่างที่กระทรวงสาธารณสุขทำอยู่ เป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้จำยอมตามอำนาจของผู้บังคับบัญชา

   2.ให้รัฐบาลรีบเร่งพิจารณาแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 เพื่อให้ประชาชนพลเมืองไทยทุกคน มีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการได้รับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้งฉบับ โดยให้พลเมืองที่มีรายได้เหนือระดับความยากจนของกระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์กำหนดไว้ ต้องมีหน้าที่ร่วมจ่ายค่าบริการสาธารณสุขด้วย เพื่อให้ประชาชนเห็นคุณค่าของการรักษา รับผิดชอบการสร้างสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี และช่วยลดอัตราการใช้บริการสาธารณสุข จะทำให้โรงพยาบาลมีงบประมาณในการรักษาพยาบาลที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้พัฒนาการทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องถอยหลังเข้าคลอง เนื่องจาก สปสช.จำกัดงบประมาณและชนิดของยา  ทั้งๆที่การบริหารและการสั่งการของสปสช.นี้ อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของสปสช.ที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

   3. ควรแยกการบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุขออกจากกพ. เพราะปัจจุบันนี้ เนื่องจากนโยบายของกพ.ที่ จำกัดอัตรากำลังทำให้ต้องจ้างบุคลากรเป็นลูกจ้างชั่วคราวมาเป็นหลายสิบปี บุคลากรขาดขวัญและกำลังใจทำงาน  และกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้รับงบประมาณเงินเดือนและค่าตอบแทนข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดของกระทรวงโยตรง อันน่าจะผิดหลักการบริหารราชการแผ่นดิน สมควรได้รับการแก้ไข

  4.รัฐบาลควรตวจสอบว่าสปสช. สสส. สวรส. สช. และองค์การเภสัชกรรม ได้บริหารงานถูกต้องตามบทบาทหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหรือไม่ ใช้เงินงบประมาณถูกประเภทหรือไม่ และระหว่างหน่วยงานเหล่านี้ มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ (Conflict of interest)  มีการใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องหรือไม่ ควรตรวจสอบความซ้ำซ้อนของคณะกรรมการด้วย

.

72

           เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อน และสับสนเกี่ยวกับมติ และท่าทีของสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปแห่งประเทศไทยที่มีต่อร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ภายหลังจากที่มีข่าวของการประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุขเมื่อวันที่ ๑๒ และ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ทางสมาพันธ์ฯ จึงขอชี้แจงดังต่อไปนี้

          มติของสมาพันธ์ฯที่มีเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ มีขึ้นจากการประชุมสมาชิกทั่วประเทศเมื่อวันที่ ๓๐ ก.ค. ๒๕๕๓ โดยให้ถอนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มาศึกษาผลกระทบ และทำประชาพิจารณ์เสียก่อนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และให้เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง พร้อมกับเสนอให้มีการขยายความช่วยเหลือแก่ประชาชนโดยใช้ ม.๔๑ ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ สมาพันธ์ฯขอยืนยันตามมติดังกล่าว และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมติเป็นอย่างอื่นแต่อย่างใด

          ดังนั้นผลการประชุมของคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ที่อ้างว่า สมาพันธ์ฯได้เข้าประชุม และพิจารณาแก้ไขร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ มาตราต่างๆหลายมาตรา ร่วมกับตัวแทนฝ่ายเอ็นจีโอเพื่อนำไปพิจารณาแก้ไขในชั้นกรรมาธิการของสภานั้น จึงเป็นการคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง แพทย์ผู้เข้าร่วมประชุมกับตัวแทนฝ่ายเอ็นจีโอในบ่ายวันที่ ๑๒ ต.ค. ๒๕๕๓ และในวันที่ ๑๕ ต.ค. ๒๕๕๓ นั้น ได้ฝ่าฝืนข้อตกลงร่วมที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีกับกลุ่มแพทย์ และบุคลากรด้านสาธารณสุขที่จะจัดให้มีการประชุมแยกจากกัน
         
          ความคิดเห็นใดๆของแพทย์ผู้เข้าร่วมประชุมนั้น เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว มิได้เป็นตัวแทน และไม่ได้เป็นไปตามมติของสมาพันธ์ฯแต่อย่างใด

73

โดย สุจิตรา
ในตอนท้ายของบทความชื่อ “พ.ร.บ. คุ้มครองความเสียหายฯ กับผลกระทบด้านลบต่อสังคมในระยะยาว” ผู้เขียนได้เสนอการปฏิรูปกระบวนการออกกฎหมาย ประการที่หนึ่ง คือ ผู้ยกร่างกฎหมายและผู้เสนอร่างกฎหมายจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วน ได้เสียในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี
       
        ประการที่สอง คือ ห้ามออกกฎหมายในรูปแบบที่จะทำให้เกิดกองทุนโดยนำเงินมาจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดหรือบังคับให้องค์กรอื่นต้องเข้าร่วมสมทบเงินใน กองทุนนั้นๆ และ ประการสุดท้าย คือ (ร่าง) กฎหมายที่จะเสนอเป็นพระราชบัญญัติ ควรจะต้องเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเพื่อร่วมกันในการแสดงความคิดเห็นในแง่มุม ต่าง ๆ ก่อนที่จะเข้าสู่รัฐสภา
       
        ท่านผู้อ่านคงคิดว่าท่านคงไม่น่าจะเดือดร้อนอะไรกับการออกกฎหมายถ้าท่านเป็น คนดี (ผู้เขียนก็เหมือนทุกท่านที่เคยคิดและเชื่อเช่นนั้น) ความคิดดังกล่าวน่าจะถูกต้องถ้าบ้านเมืองของเรามีเฉพาะ ป.อาญา ป.แพ่ง ทั้งนี้ เพราะถ้าเราไม่ทำผิดกฎหมาย ไม่คิดร้ายต่อบ้านเมือง ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น เราก็ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าว
       
        แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง มีการออกกฎหมายหรือระเบียบมาบังคับใช้อย่างมากมายแทบจะทุกสัปดาห์ (ถ้าสภาไม่ล่ม) ได้มีการศึกษาพบว่า อย่างน้อยที่สุดประชาชนแต่ละคนจะต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายไม่น้อยกว่า 50 ฉบับ
       
        ผู้ที่เสนอร่างกฎหมาย หรือระเบียบนั้น นอกจากหน่วยงานราชการที่เสนอร่างกฎหมายเพื่อบังคับใช้ตามภาระหน้าที่ของ หน่วยงานนั้นๆ โดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเกี่ยวข้อง (เช่น พระราชกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากร) และกลุ่มบุคคล (ตามมาตรา 163 รัฐธรรมนูญปี 2550) ที่มีความประสงค์ดีต่อสังคม (แต่ “ความประสงค์ดี” ก็มิได้เป็นหลักประกันว่าผลของการบังคับใช้กฎหมายหรือระเบียบฉบับดังกล่าวจะ ได้ผลดีต่อสังคมในทุกด้านสมดัง “ความประสงค์ดี” เสมอไป เช่น พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งในอดีตนับแต่มีระบบโรงพยาบาลในประเทศไทยก็ไม่เคยมีโรงพยาบาลใดปฏิเสธการ รักษาคนไข้ไม่ว่าคนไข้คนนั้นจะยากดีมีจนอย่างไร โรงพยาบาลก็สงเคราะห์ทั้งสิ้น
       
        อีกทั้งก่อให้เกิดความเห็นใจในหมู่เหล่าคหบดีหรือผู้มีอันจะกินในละแวกนั้น หรือพื้นที่นั้นซึ่งก็จะร่วมกันบริจาคให้แก่โรงพยาบาลเพื่อให้โรงพยาบาล ดำเนินการอยู่ได้ รวมทั้งโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในฐานะ “พี่” ก็จะช่วยเหลือโรงพยาบาลขนาดเล็กในฐานะ “น้อง” ก่อให้เกิดระบบค่านิยม “เอื้ออาทร” ระหว่างโรงพยาบาลขนาดใหญ่-โรงพยาบาลขนาดเล็ก โรงพยาบาล-คนในพื้นที่ แพทย์ผู้ทำการรักษา-ผู้ป่วย คนยากจน-ผู้มีอันจะกิน
       
        แต่เมื่อมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์ในการที่จะให้ประชาชนเข้าถึงบริการ แต่กลับมุ่งเน้นให้บุคลากรและหน่วยงานมาสนใจเรื่องเงินเป็น “เรื่องหลัก” ซึ่งก็ทำให้ค่านิยมดังกล่าวของสังคมไทย “เสื่อม” หาย ไป ส่งผลกระทบในด้านลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย รวมทั้งส่งผลให้การเข้าถึงบริการ “ในหลายกรณี” ก็อาจลดน้อยลง ยกเว้นโปรแกรมที่ทาง สปสช. สนใจ
       
        สุดท้ายแล้วก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ระบบดังกล่าวไม่ได้มีส่วนในการทำให้โรงพยาบาลประสบภาวะขาดทุนถึง 191 แห่ง และปัญหาขาดแคลนบุคลากรพยาบาลวิชาชีพ) แล้ว ที่เหลือก็ได้แก่เหล่านักการเมือง และบุคคลหรือกลุ่มบุคคลทั้งในวงราชการและนอกวงราชการที่มีผลประโยชน์แอบแฝง ซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่สนใจ-เสนอร่าง-ผลักดันเฉพาะกฎหมายหรือระเบียบ ที่ตนเองและกลุ่มก้อนของตนเองจะได้
       
        ผลประโยชน์จากงบประมาณของแผ่นดิน จากทรัพยากรของชาติ จากทรัพย์ของผู้อื่น หรือผลประโยชน์จากการที่ตนได้เป็นกรรมการในคณะกรรมการตามกฎหมายนั้นๆ ซึ่งยังอำนาจและผลประโยชน์อันมหาศาลตามมา โดยอาศัยเสียง ส.ส.ที่อยู่ในอาณัติหรือสมาชิกพรรคซึ่งต้องยกมือตามมติพรรคและอาจมีค่า “ยกมือ” ซึ่งในหลายกรณีก็ใช้คนเพียงสองร้อยคนในการผ่านร่าง พ.ร.บ. ทั้งที่กระทบคนทั้งประเทศ
       
        (ตัวอย่างที่แสนจะน่าอิดหนาระอาใจ คือ การเสนอการแก้ไขวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรวนเวียนไปมาอยู่กับ เรื่องของเขตเดียวเบอร์เดียว-รวมเขตหลายเบอร์ พวงใหญ่-พวงเล็ก ฯลฯ โดยเอาประชาชนและหลักการต่างๆ ที่คิดขึ้นได้มาอ้าง ทั้งๆ ที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ หรือไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น หรือร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ที่ระบุชัดเจนถึงความต้องการของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่จะพยามยามจะผลักดัน กฎหมายและจะเข้ามาจัดการกองทุนมูลค่ามหาศาลในนามของคณะกรรมการและคณะอนุกรรม การ มาตราที่ชัดเจนมากคือ มาตรา 50 ในบทเฉพาะกาล)
       
        “กฎหมาย” มีส่วนอย่างมากในการกำหนดพฤติกรรมมนุษย์และทิศทางของสังคม รวมทั้งมีส่วนอย่างมากในการทำให้ “โลกร้อน” แทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีใครที่ไม่ถูกกฎหมายกระทำ กฎหมายเกี่ยวข้องกับเราทุกคน
       
        ในเมื่อเราทราบเช่นนี้ ทำไมเราจึงยังคงตายใจ นิ่งนอนใจ และให้อำนาจคนเพียงไม่เกิน 500 คน ที่เราเรียกว่า “ส.ส.” และ “ส.ว.” ทำหน้าที่พิจารณากฎหมายแทนเราทั้งหมด ทั้งที่กฎหมายหรือกฎระเบียบเหล่านั้นต้องมามีผลกับเราในฐานะประชาชน ทำไมเราในฐานะประชาชนจึงไม่เรียกร้องสิทธิในการร่วมพิจารณา ร่วมวิพากษ์วิจารณ์ “ร่างพระราชบัญญัติ” หรือ “ร่างพระราชกฤษฎีกา” ที่ สำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ร่างพระราชบัญญัติ” หรือ “ร่างพระราชกฤษฎีกา” ที่กระทบต่อคนหมู่มาก และที่อาจมีผลเปลี่ยนค่านิยมของสังคมไทย
       
        (ทั้ง นี้ไม่รวมถึงบางกรณี ได้แก่ เรื่องที่เร่งด่วน เรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือเรื่องที่ต้องปกปิดไม่สามารถแพร่งพรายแก่สาธารณชนก่อนเวลาได้ด้วยเหตุ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน อาทิ การลดค่าเงิน รัฐบาลจะออกเป็นพระราชกำหนดและมีผลบังคับใช้แล้วจึงจะนำเข้าสู่สภาเพื่อออก เป็น พ.ร.บ.ตามมาในภายหลัง)
       
        ก่อนที่ “ร่างพระราชบัญญัติ” นั้นจะเข้าสู่สภา หรือ “ร่างพระราชกฤษฎีกา” นั้นจะประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็น “ร่างพระราชบัญญัติ” หรือ “ร่างพระราชกฤษฎีกา” ที่เสนอโดยกลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานที่ประสงค์ดีแต่ “อาจ” คิดไม่รอบคอบ (เช่น ระเบียบกรมบัญชีกลางเรื่องการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในด้านนี้พุ่งจากสองหมื่นล้านบาทเป็นเจ็ดหมื่นล้านบาท รวมทั้งการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 2553 ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเรียนการสอนของโรงเรียนแพทย์และจะเป็นการ ผลักผลประโยชน์สู่เอกชน
       
        ส่วนโรงพยาบาลรัฐก็คงต้องคอยรับผู้ป่วยส่งต่อในกลุ่มที่โรงพยาบาลเอกชนมอง แล้วไม่คุ้ม) หรือ “ร่างพระราชบัญญัติ” หรือ “ร่างพระราชกฤษฎีกา” ที่เสนอโดยเหล่านักการเมืองหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีผลประโยชน์แอบแฝง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการมองถึงผลดีและผลกระทบในทุกด้านทุกมิติทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อดูถึงความซ้ำซ้อนหรือความขัดกันระหว่างกฎหมายที่จะออกใหม่และกฎหมายที่ มีอยู่แล้ว และเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับบ้านเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสังคมไทยในอนาคต
       
        ในอดีตสมัย “สร้างบ้านแปงเมือง” การสื่อสารและการไปมาหาสู่ยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก การโทรคมนาคมรวมทั้งโทรทัศน์ยังไม่มี หนังสือพิมพ์ก็ไม่ทั่วถึง การรับรู้เรื่องราวของบ้านเมืองรวมทั้งการร่วมแสดงความคิดเห็นก็คงเป็นไปได้ ยากในทางปฏิบัติ การศึกษาของประชาชนก็อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ เราจึงต้องอาศัยผู้แทนของเราในการทำหน้าที่พิจารณากฎหมายแทนเรา โดยอยู่บนสมมติฐานความเชื่ออย่างสนิทใจว่า ผู้แทนของเรานั้นเป็นคนดี
       
        แต่ในปัจจุบันการสื่อสารโทรคมนาคมในสังคมไทยแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีอุปสรรค เราสามารถที่จะทราบได้แม้กระทั่งว่า “แอนนี่” มีความสัมพันธ์กับใครบ้าง แม้ว่าเรื่องนั้นจะเพิ่งออกจากปากผู้ให้ข่าว เราได้ “เห็น” แม้กระทั่ง “คลิป” ของตำรวจที่ไม่เกี่ยวข้องกับเราและไม่รู้จักกับเรา (แต่เราสนใจ) เทคโนโลยีการสื่อสารจึงไม่ใช่ข้อจำกัดอีกต่อไป
       
        การศึกษาของประชาชนก็อยู่ในระดับที่สูงโดยดูได้จากการที่มีมหาวิทยาลัยในทุกจังหวัด และผู้ที่จบ “เพียงแค่” ระดับปริญญาตรีก็ยังต้องมาทำงานเป็นแคชเชียร์ในห้างสรรพสินค้า อีกทั้งเราเองก็เห็นซึ้งถึง “คุณภาพ” และ “คุณธรรม” ของ นักการเมืองบ้านเราทั้ง ส.ส. และ ส.ว.ทำไมเราไม่มา “สนใจ” ในเรื่องที่ต้องกระทบกับตัวเรา กระทบกับสังคมของเรา สังคมทั้งในปัจจุบันและสังคมในอนาคต ทำไมเราจึงไม่เรียกร้องสิทธินี้
       
        ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องกำหนดในรัฐธรรมนูญเพื่อให้ “ร่างพระราชบัญญัติ” หรือ “ร่างพระราชกฤษฎีกา” ที่ สำคัญต่างๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ร่างพระราชบัญญัติ” หรือ “ร่างพระราชกฤษฎีกา” ที่กระทบต่อคนหมู่มาก และที่อาจมีผลเปลี่ยนค่านิยมของสังคมไทย ยกเว้นเรื่องเร่งด่วน เรื่องที่เป็นความลับ เรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคง) ต้องเปิดให้ประชาชนได้ทราบ และมีสิทธิในการร่วมพิจารณา ร่วมวิพากษ์วิจารณ์ก่อนที่จะบรรจุข้าสู่วาระการพิจารณาของรัฐสภา
       
        ถึงเวลาหรือยังที่ประชาชนควรจะมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายก่อนเข้าสภา?

74

ขยะใต้พรมของพรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ

     จนถึงบัดนี้ (ตุลาคม ๒๕๕๓) ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า รัฐบาลโดยรัฐมนตรีสาธารณสุขจะเอาอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับกฎหมายนี้ ซึ่งทางผู้ผลักดันคงนึกไม่ถึงว่าจะโดนต่อต้านอย่างรุนแรงจากบุคลากรสาธารณสุขเช่นนี้ ความเชื่อมั่น ไม่กังวล ไม่แคร์และไม่เชื่อว่ากลุ่มบุคลากรสาธารณสุขโดยเฉพาะแพทย์จะรวมตัวกันและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อสู้กับกลไกของมูลนิธิที่ฝังรากลึกมานาน คงเปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย จนถึงบัดนี้เวลาล่วงผ่านมาไม่น้อยกว่า๖ เดือนนับแต่มีการเข้ายื่นต่อสภาเพื่อให้ผลักดันเป็นกฎหมาย ทางมูลนิธิคงนึกไม่ถึงว่ากิจกรรมทางการเมืองของ
มูลนิธิที่ไม่เคยถูกต่อต้านจะถูกเหยียบเบรกหัวทิ่มเช่นนี้ แต่เชื่อว่ามูลนิธิเองก็คงไม่ยอมแพ้อย่างเด็ดขาด เพราะหากแพ้ นั่นหมายถึงเครดิตที่มีอยู่ เงินทุนที่เคยได้รับการสนับสนุนจะมีปัญหา เพราะทำงานไม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายและอาจมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลครั้งใหญ่เกิดขึ้น การผลักดันแรกเริ่มด้วยการพยายามหว่านล้อมถึงหลักการและเหตุผลที่ดูสวยหรูต่อประชาชนที่ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย เปลี่ยนไปเป็นการขอให้แพทย์ที่อยู่ในกลุ่มสังกัดเดียวกับตนมาเป็นประชาสัมพันธ์ให้เพื่อทำให้ประชาชนไขว้เขว แพทย์เหล่านี้มีทั้งกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากฐานเสียงของมูลนิธิให้เป็นใหญ่เป็นโต และมีทั้งที่มีอำนาจบารมีมากพอที่จะสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิในทางอ้อม และในที่สุดเปลี่ยนไปเป็นการดิสเครดิตฝ่ายที่คัดค้านด้วยเหตุผลที่ดูไร้น้ำหนักและไม่ใช่ข้อเท็จจริง ไม่ว่าเรื่องนี้จะลงเอยเช่นไร ผู้เขียนรู้สึกว่าปัญหาในการทำความเข้าใจในเนื้อหาของกฎหมายนี้เป็นประเด็นหลักที่ทำให้หลายคนสับสน อีกทั้งการพยายามโฆษณาชวนเชื่อยิ่งทำให้เรื่องนี้ยากต่อการทำความเข้าใจ จึงขอสรุปเนื้อหาข้อเท็จจริงมาเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

หลักการที่สับสนของกฎหมายนี้และผลกระทบที่จะตามมา

     ผู้ผลักดันกฎหมายนี้ ตั้งconceptไว้ว่า การรักษาพยาบาล มีความหมายเท่ากับ การให้บริการ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีผู้ให้บริการคือเหล่าบุคลากรทางการแพทย์เป็นพ่อค้าแม่ค้า (ดังนั้น แพทย์ชายก็น่าจะเรียกว่า “ชายขายบริการ” ส่วนแพทย์หญิงหรือพยาบาลก็น่าจะเรียกว่า “....” ) และอาศัยสถานพยาบาลหรือคลินิกเป็นโรงงาน หรือหน้าร้าน (สถานที่ก่อเหตุ) ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดที่ล้อมาจาก พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคที่ตนมีส่วนผลักดันให้บังคับใช้กับการรักษาพยาบาลแทนที่จะเป็นสินค้าทั่วไป เช่น รถยนต์ บ้านพัก สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น

     ในขณะเดียวกันก็พยายามสร้างคำจำกัดความเกี่ยวกับ “ผลที่อาจเกิดได้จากการรักษาที่เป็นไปตามมาตรฐาน” เช่น ผ่าตัดแล้วติดเชื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือติดเชื้อเพราะผู้ป่วยมีเบาหวานอยู่เดิม ติดเชื้อเพราะแผลสกปรกตั้งแต่เกิดเหตุ ซึ่งทางการแพทย์ไม่เรียกว่า “ความเสียหาย” ให้กลายเป็นความเสียหายตามมาตรา ๕ และ ๖ ของกฎหมายนี้ เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับเงินเยียวยา (หลักล้านบาทขึ้นไป) และพยายามรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจว่า “ความเสียหาย”นี้เป็นอันเดียวกับ ความเสียหายในทางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้สามารถปรับไปใช้
กับคำว่า “ละเมิด” หรือ “Tort” และสามารถนำไปต่อยอดในการฟ้องร้องทางแพ่ง(พ่วงอาญา)ได้อีกชั้นหนึ่ง

     และเพื่อหลีกเลี่ยงการต่อต้านจากบุคลากรและประชาชน ก็พยายามรณรงค์ในทำนองว่า กฎหมายนี้ไม่พิสูจน์ผิดถูก ไม่เอาโทษใคร จึงตั้งกฎว่า “หากพิสูจน์ไม่ได้ ก็ให้ยกประโยชน์ให้ผู้ร้อง (เพราะผู้ร้องหรือโจทก์คือลูกค้าผู้มารับบริการ และ ลูกค้าย่อมถูกเสมอ!!) และให้กองทุนนำเงินภาษีอากรมาจ่ายเงินให้กับผู้ร้อง (ม. ๓๐ วรรคสาม) โดยเร็ว” และเช่นกัน ทางมูลนิธิเองก็รู้ดีว่าการพิสูจน์ทราบดังกล่าวทำได้ยาก และตนไม่มีความรู้เพียงพอ แต่เนื่องจากต้องการเข้ามาควบคุมเงินมหาศาลนี้ และสามารถรับผลประโยชน์ตอบแทนจากงบบริหาร (๑๐ %) ในมาตรา ๒๐ วรรคสอง ซึ่งประมาณการณ์ว่าน่าจะเป็นหลักร้อยล้านหรือพันล้านต่อปีในเวลาไม่นาน จึงอ้างต่อประชาชนว่า “กฎหมายนี้ไม่แพ่งโทษ(?) จึงไม่จำเป็นต้องมีผู้มีความรู้ในวิชาชีพแพทย์เข้ามาเป็นกรรมการให้มากความ (ม. ๗) หากจะมีก็ขอแค่มีพอ
เป็นพิธีไม่ให้กระดากอาย เช่น ปลัดกระทรวง หรืออธิบดี ซึ่งทางมูลนิธิรู้ดีว่า บุคคลเหล่านี้ไม่มีเวลาว่างมานั่งประชุมเหมือนทีมงานตน”

ใครได้ประโยชน์จากกฎหมายนี้

     แม้ NGOจะตีฆ้องร้องป่าวว่า ประชาชนและแพทย์ได้ประโยชน์จากกฎหมายนี้ แต่มาลองดูว่าใครกันแน่ที่จะเป็นผู้ได้ประโยชน์ตัวจริง

(๑) ผู้ร้องที่สามารถทำตนให้เป็นผู้เสียหายตาม ม. ๕ + ๖ ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้เสียหายตัวจริงในมุมมองทางการแพทย์ ดังได้กล่าวแล้ว และกลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดที่จะเข้ามาขอรับเงินจากกองทุนนี้ โดยกรรมการที่มีคนนอกเข้ามาทำตัวเป็นผู้ทรงความรู้ทางการแพทย์ในมาตรา ๗

(๒) ผู้ที่สามารถหลุดเข้ามาเป็นบอร์ด กรรมการ อนุกรรมการ ของกองทุน สามารถได้ประโยชน์จากงบบริหาร ๑๐ % (คาดว่าหลักร้อยหรือพันล้านบาท) ตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง แล้วบุคลากรทางการแพทย์ละจะได้ประโยชน์อะไร เท่าที่อ่านดูรายมาตรา ไม่พบว่ามีมาตราไหนที่ให้ประโยชน์ นอกไปจากคำโฆษณาชวนเชื่อว่า ไม่หาคนผิด ไม่ฟ้องแพทย์ ไม่ลงโทษอาญา ซึ่งจะกล่าวต่อไปว่าเท็จจริงอย่างไร
ส่วนสถานพยาบาลได้ประโยชน์หรือไม่นั้น ก็ไม่พบว่ามีคุณอะไรต่อสถานพยาบาล แต่กลับมีสิ่งที่ระบุไว้ใน ม. ๒๑ ว่าด้วยการจ่ายเงินสมทบ ดังนี้ “แพทย์หรือสถานพยาบาลใดยิ่งทำงานมาก ก็ยิ่งเสี่ยงมาก ยิ่งต้องจ่ายสมทบมากยิ่งมีโอกาสเสื่อมเสียชื่อเสียง” ดังนั้นหากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ อะไรจะเกิดขึ้นกับระบบสาธารณสุขไทยที่สมเด็จพระราชบิดาทรงวางรากฐานไว้ เพราะเชื่อแน่ว่าวิธีลดผลกระทบดังกล่าวที่ดีที่สุดคือ “คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด คือคนที่ไม่ทำอะไรเลย”

ทาสในเรือนเบี้ย!! ย้อนยุคกลับไปสู่ยุคก่อนเลิกทาส

     ทุกวันนี้บุคลากรทำงานเหมือนทาสอยู่แล้ว ผู้ป่วยหรือญาติร้อยพ่อพันแม่ มีทั้งคนดีและไม่ดี มีทั้งมีเหตุผลและเอาแต่ใจ เดินเข้ามาห้องฉุกเฉินตอนตีสอง บอกว่าขอรับยาแก้ปวดเมื่อย หากแพทย์ไม่ให้ก็จะต่อว่าอย่างรุนแรง หาว่ารักษาฟรีเลยดูถูกใช่ไหม จะร้องเรียนแพทย์ต่อสื่อมวลชนว่าใจดำ ไม่มีหัวใจมนุษย์ แต่เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องชิว..ชิว ไปเลย เพราะใน ม. ๔๖ ให้อำนาจของบอร์ดชุดนี้ในการสั่งล้มละลายสถานพยาบาล คลินิก ร้านยา ฯลฯ โดยอ้างว่าไม่ส่งเงินสมทบ หรือ สมทบล่าช้า หรือ ไม่ยอมจ่ายดอกเบี้ยสมานฉันท์ร้อยละ ๒๔ ต่อปี !!(ม. ๒๐) ให้กับกองทุนที่ตนดูแล ดังนั้นหากกฎหมายค้ำประกันเงินฝากไม่เกินล้านบาทต่อคนมีผลบังคับใช้เมื่อไร แนะนำให้เอาเงินที่เหลือไปฝากไว้ที่กองทุนนี้ ขอดอกเบี้ยสักครึ่งของเบี้ยปรับก็พอแล้ว

ผู้ทรงปัญญารู้แจ้งโดยไม่ต้องตั้งสติปัฏฐานสี่

     คณะกรรมการที่จะมาตัดสินผิดถูกในเรื่องการรักษาพยาบาลนั้น เกินกว่าครึ่งหรือเกือบทั้งหมดก็ว่าได้ ล้วนเป็นบุคคลที่ไม่มีสภาวิชาชีพทางการแพทย์รับรอง คำถามคือคนเหล่านี้มีปัญญารู้แจ้งในเรื่องทางการแพทย์ได้อย่างไรและตั้งแต่เมื่อใด และหากมีทำไมจึงไม่สวมหัวใจมนุษย์ลงมาช่วยกระทรวงสาธารณสุขในการตรวจรักษาผ่าตัดผู้ป่วยที่มีจำนวนมากมายทั่วไปประเทศ ในอัตราประชากร ๗๐ล้านคนต่อแพทย์ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ คน และนอกเหนือจากผู้ทรงปัญญารู้แจ้งใน ม. ๗ แล้ว ยังมีผู้ทรงปัญญารู้แจ้งอีกคือ กรรมการชั่วคราวในมาตรา ๕๐ ที่เต็มไปด้วย NGO จำนวนมาก บุคคลเหล่านี้ล้วนแต่มีอภินิหารและสามารถสั่งการให้สถานพยาบาลปรับปรุงวิธีการรักษาตามที่ตนเห็นชอบมิฉะนั้นจะใช้มาตรการทางการเงินมาเล่นงาน (ม. ๔๒)

ระบบศาลเตี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมาย

     พรบ.ฉบับ NGO นำเสนอ (ไม่ใช่ฉบับรัฐบาลที่มีDNAแฝงอยู่) ยังดึงเอาพรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมาใช้ ด้วยการร้องปากเปล่า ไม่ต้องวางเงิน และสั่งให้มีการจ่ายสินไหมชดเชยความเสียหายทางจิตใจ ดังนั้นสิ่งที่จะตามมาคือ เราจะเห็นผู้ร้องขอเงิน แสดงความทุกข์อย่างแสนสาหัส สุดจะบรรยาย เพื่อให้ได้สินไหมก้อนนี้ในอัตราที่สูงที่สุด และเช่นกัน เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ก็ยกประโยชน์ให้โจทก์ (ม. ๓๐ วรรคสาม) นอกจากนี้กฎหมายนี้ยังอนุญาตให้บอร์ดทำตัวเป็นศาลโดยเอา ปพพ. และ ปวพ. มาปรับใช้ในการจ่ายสินไหม แทนการใช้ดุลพินิจโดยศาลเอง (ม. ๓๐) ดังนั้นจึงเป็นที่น่าหวั่นเกรงว่าในอนาคต เราจะขาดแคลนผู้พิพากษาไปอีก เพราะบอร์ดชุดนี้มีอำนาจทั้งสั่งปรับ สั่งล้มละลาย สั่งจำคุก และหยิบเอา ปพพ.มาใช้โดยไม่ต้องจบนิติศาสตร์ เนติบัณฑิต และไม่ต้องสอบเป็นผู้พิพากษา
     ของแถมจากกฎหมายนี้คือ อนุญาตให้เอาคำสั่งทางปกครองของศาลปกครองมาใช้บังคับทางแพ่งโดยไม่ต้องร้องต่อศาลแพ่ง เพื่อให้สถานพยาบาลล้มละลายได้ รวมทั้งการยึดทรัพย์ ปิดสถานพยาบาล (ม. ๒๑)

การพัฒนาระบบความปลอดภัยฉบับ “สมพงษ์ เลือดทหาร”

     โฆษณาชวนเชื่ออีกอย่างของ NGOที่พูดเป็น motto ประจำไปแล้วคือ “กฎหมายนี้จะช่วยเพิ่มระบบความปลอดภัยให้ผู้ป่วย” ใครฟังก็ต้องชอบใจ เพราะที่ผ่านมา NGOรณรงค์ให้ประชาชนไม่ไว้วางใจบุคลากรทางการแพทย์และสภาวิชาชีพได้สำเร็จแล้ว (คล้ายกรณีม็อบการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเคลื่อนไหว) เราลองมาดูระบบความปลอดภัยที่ NGOเสนอให้กับประชาชนว่ามีอะไรบ้าง

(๑) การตัดสินผิดถูกในเรื่องทางการแพทย์ตาม ม. ๕ และ ๖ ทำโดยกรรมการในมาตรา ๗ ที่เต็มไปด้วยคนที่ไม่ต้องจบสายวิชาชีพทางการแพทย์ และตัดสินความถูกต้องทางการแพทย์ด้วยวิธียกมือเสียงข้างมาก (ม. ๑๑) (ดังนั้นเมื่อกฎหมายนี้ผ่านสภา น่าจะได้เห็นหลักสูตร “การเตรียมตัวเป็น NGO” เชื่อแน่ว่าจบมาแล้วจะมีงานทำ รายได้ดี มีอำนาจเหนือปลัด เหนือนักการเมือง แต่ไม่ต้องเลือกตั้ง ไม่ต้องถูกตรวจสอบ มีอาชีพรองรับมากมาย เช่น บอร์ดอัยการ บอร์ดผู้พิพากษา บอร์ดบัญชี บอร์ดตำรวจ บอร์ดวิศวกร บอร์ดสถาปนิก สารพัดบอร์ดวิชาชีพ หวังว่าบอร์ดเหล่านี้คงสามารถพัฒนาระบบความถูกต้องปลอดภัยให้กับวิชาชีพเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น และเมื่อกม.นี้ผ่าน แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาวิชาชีพทางการแพทย์ สภาวิชาชีพอัยการ ตำรวจ ผู้พิพากษา เหล่านี้คงต้องถูกยุบในไม่ช้าเพราะไม่มีงานจะทำ

(๒) บอร์ดที่มียีนNGOเป็นยีนเด่นสามารถออกคำสั่งให้สถานพยาบาลดำเนินกิจการในทางที่ตนเห็นว่าถูกต้องชอบพอ โดยอาศัย ม. ๔๒ที่มีอำนาจเงินมาใช้บังคับ เหมือนกับที่สปสช.กระทำกับสถานพยาบาลและบุคลากรทั่วประเทศในทุกวันนี้ ดังนั้นเมื่อกม.นี้ผ่าน สำนักงานประกอบโรคศิลป์ กระทรวงสาธารณสุข สารพัดองค์กรของรัฐที่ควบคุมมาตรฐานสถานพยาบาล คงตกงานเป็นแถว

สร้างหลักประกันในการเลี้ยงดูประชาชนตลอดชีพ

     นอกเหนือการรักษาฟรี ไม่มีเกี่ยงแล้ว ยังมีกลไกการให้เงินเลี้ยงดู (แถมการส่งเสริมการฟ้องร้อง) ดังนี้
(๑) เงินช่วยเหลือเบื้องต้นแบบด่วนได้ภายในไม่เกิน ๖๐ วัน ตาม ม. ๒๗ และเมื่อได้แล้ว ทุกคนต้องได้เงินก้อนต่อไปอีกสี่ก้อน

(๒) เงินชดเชยแบบทันใจ ตาม ม. ๓๐ ภายใน ๙๐ วัน (เฉพาะสองก้อนนี้ ไม่ต่ำกว่าหลักล้านบาท) หากได้ไม่มากพอตามที่ต้องการ ก็จะฟ้องแพ่งและอาญา แต่ไม่คืนเงินก้อนแรก แต่หากฟ้องแล้วตนแพ้ก็สามารถเปลี่ยนใจมารับเงินก้อนนี้ใหม่ได้อีก ตามม. ๓๔

(๓) เงินสะสมปันผลตาม ม. ๓๗ แบบไม่มีอายุความแน่นอน (นับแต่รู้ความเสียหาย) รับได้หลายครั้งจนกว่าจะตาย หากไม่ให้ก็จะฟ้องทั้งแพ่งและอาญา แต่ไม่คืนเงินสองก้อนแรก

(๔) เงินค่าทำสัญญาประนีประนอมใหม่หลังฉีกสัญญาเดิมไปแล้วตาม ม. ๓๘ หากให้ก็จะทำสัญญาประนีประนอมฉบับใหม่ (ม. ๓๙) หากไม่ให้ก็จะฟ้องทั้งแพ่งและอาญา แต่ไม่คืนเงินที่ได้ไปแล้ว

(๕) เงินค่าไถ่อิสรภาพ (Blackmail) ตาม ม. ๔๕ มิฉะนั้นจะร้องต่อศาลว่า “ผู้มีพระคุณที่ลงมือรักษาตนเองหรือญาติ” ไม่ยอมสำนึกผิด(ไหนว่าจะไม่หาคนผิด?) ไม่ยอมเยียวยา ห้ามศาลลดโทษอาญากฎหมายประชานิยมฉบับไหน ๆ ในโลกก็ไม่ดีเท่ากฎหมายที่ NGO สาขาประเทศไทยเสนอ เชื่อแน่ว่าNGO เหล่านี้คงมีตำแหน่งใหญ่โตในเวทีNGOโลกในไม่ช้า และนี่อาจจะเป็นกลไกการพัฒนาระบบความปลอดภัยแฝงที่พยายามนำเสนอ คือ “การให้เงินตลอดชีพ” เพื่อให้มีความปลอดภัยทางการเงินตลอดชีวิต รับรองว่า “คงไม่มีผู้ป่วยรายไหน ยอมพิการ ยอมตาย (แต่ยอมเจ็บนี่ไม่แน่)” เพื่อให้ได้เงินก้อนนี้ แต่ไม่รับรองว่าจะมีกรณี “ค้าประโยชน์จากความเจ็บ ความพิการ ความตาย ของญาติตนเอง” โดยผู้อนุบาล สามีภรรยาที่เลิกกันไปแล้ว หรือทายาทที่สาบสูญไปนานตาม ม. ๒๕ วรรคสอง

กฎหมายที่อายุความทางแพ่งยาวนานกว่าคดีอาญา ยิ่งกว่าคดีคอรัปชั่นทุจริต หรือ ฆ่าคนตายโดยเจตนา

     แทบทุกมาตราที่มีบัญญัติเรื่องอายุความ จะใช้คำว่า ทันทีที่รู้สึกตัว “รู้ถึงความเสียหาย”แทนคำว่า “นับแต่เกิดการกระทำ” หรือหนักไปกว่านั้น ในฉบับ NGO แท้ ๆ ยังระบุให้อายุความสะดุดหยุดลง (ม. ๓๘ วรรคสอง)แทนที่จะเป็น อายุความสะดุดหยุดอยู่ (ม. ๒๖) ซึ่งอันแรกจะเป็นการนับหนึ่งใหม่ อันหลังเป็นการนับต่อจากของเดิม นอกจากนี้ยังมีอายุความหยุดแล้วหยุดอีกตาม ม. ๔๐ หากต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามอายุความเจ็ดชั่วตระกูลนี้ สถานพยาบาล คลินิก ร้ายขายยา ต้องเก็บ
เอกสารทุกอย่างไว้ตลอดชีพของลูกค้า (ผู้รับบริการ) มิฉะนั้นอาจโดนปรับดอกเบี้ย ๒๔ % หรือหากเจ้าของกิจการ(ผู้อำนวยการ รมต. ปลัด ผู้บริหาร) หรือลูกจ้าง (บุคลากร)ละสังขารไปแล้ว อาจมีการตามไปสอบถามในสุขาวดี ก็เป็นได้ หรือหากไม่ได้เพราะอภิญญายังไม่แก่กล้า ก็ยกประโยชน์ให้ผู้ร้องตามมาตรา ๓๐

บอกว่าไม่แพ่งโทษใคร แต่บัญญัติเรื่องการเอาผิดเต็มไปหมด

     มุมมองของผู้ผลักดันกม.นี้ มองว่า บุคลากรทางการแพทย์ ล้วนแต่ผู้ต้องสงสัย ผู้ก่อเหตุร้าย ที่กระทำขึ้นภายในสถานพยาบาล โดยมีสภาวิชาชีพคอยสนับสนุน ดังนั้นต้องนำตัวมาลงโทษ ดังนี้
(๑) ม. ๒๕-นับแต่รู้ตัวผู้กระทำผิด (ผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย)
(๒) ม. ๓๗-นับแต่รู้ตัวผู้กระทำผิด
(๓) ม. ๔๕-ให้สำนึกผิด(ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าตนผิดหรือไม่) ต่อผู้ร้องขอเงิน หาไม่แล้วจะไม่ลดโทษอาญา

เงินของข้าใครอย่าแตะ-อ้อยเข้าปากช้าง

     เงินนี้มีที่มาที่สำคัญตาม ม. ๒๒ คือ เงินภาษีอากรของผู้เสียภาษี (ไม่เกิน ๑๐ % ของประชากร) กับเงินที่สถานพยาบาลเอกชนสมทบ ซึ่งความเป็นจริงคือเงินของประชาชนที่สถานพยาบาลบวกเพิ่มในค่ารักษา(แต่ร้านค้าประเภท พลังจักรวาล กดจุด คลายเส้นเอ็น สวนทวาร ทะลวงเส้นเลือด ไม่ต้องจ่ายสมทบ ไม่ต้องรับผิดตามกม.นี้ อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อกม.นี้มีผลบังคับใช้) ส่วนเงินบริจาคคงไม่มีใครใจดีให้ นอกนั้นก็อาจมีดอกเบี้ยมหาโหด(๒๔%ต่อปี) ที่รีดนาทาเร้นมาจากสถานพยาบาลอีกเช่นกัน (ซึ่งก็คือเงินภาษีและเงินผู้ป่วยเอง) นอกเหนือจะไปจ่ายเป็นค่าตึก ค่ารถประจำตำแหน่ง ค่าเบี้ยประชุมหลักหมื่นต่อสองสามชั่วโมง (บอร์ด สปสช.) ค่าน้ำมันรถ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าเครื่องบินไปดูงาน ค่าสนับสนุนการวิจัยของเครือข่ายตนเอง ทุนแก่เครือข่ายเพื่อจ้างทำวิจัยหรือร่างกฎหมายการแพทย์ ค่าสนับสนุนสื่อมวลชนในสังกัด แล้ว ห้ามใครมาแตะต้อง แม้แต่กระทรวงการคลังที่เป็นคนส่งเงินนี้มาสมทบ เพราะ ม. ๒๒ วรรคสอง บอกว่าห้ามเอาเงินคืน ให้แล้วให้เลย และม. ๒๓ อนุญาตให้นำไปหาประโยชน์อื่นใดได้เพิ่มเติมภายใต้ความเห็นชอบของกท.การคลัง (ซึ่งไม่มีเวลามากพอที่จะมาตรวจสอบ) เช่น ซื้อหุ้นแบบกบข.อุดหนุนสินค้าบริการของเครือข่ายพรรคพวกตนเอง

บทสรุป – พรบ. เงิน เงิน เงิน

     อ่านแล้วอ่านอีก ก็ไม่เข้าใจว่า พรบ.นี้จะบรรลุหลักการและเหตุผลที่โฆษณาสวยหรูได้อย่างไร หากจะมีใครได้ประโยชน์ชัด ๆ ก็คงไม่พ้น ผู้ผลักดันที่ได้หลายเด้ง เริ่มจากการได้เป็นบอร์ด กรรมการ อนุกรรมการ มีตำแหน่งมีหน้ามีตา แถมได้เงินมากกว่าบุคลากรที่หลังขดหลังแข็ง ทำงานแล้วโดนด่า เมื่อบอร์ดอนุมัติเงินให้ผู้ร้อง เขาและเธอเหล่านั้นก็จะกลายเป็นวีรสตรีวีรบุรุษในสายตาผู้ร้องขอ ซึ่งจะตามมาด้วยรางวัลบุคคลตัวอย่าง และแถมท้ายด้วยการเดินเข้าสภาผู้ทรงเกียรติด้วยการอ้างอิงผลงานอภิมหาประชานิยม แบบที่นักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต้องมาขอเป็นลูกศิษย์เรียนวิชา ส่วนประชาชนแน่นอนว่าได้เงินก้อนใหญ่ เพียงแค่เดินเข้าสถานพยาบาลแล้วตั้งข้อสงสัยเรื่องการรักษาพยาบาลไว้ก่อน (จับผิดการทำงาน) โดยไม่ต้องไปสนใจปัญหาข้อจำกัด ความขาดแคลนของระบบกระทรวงสาธารณสุขน่าจะได้รางวัลดีเด่น “รักษาฟรี งบประมาณจำกัด มาตรฐานสูง ไร้ปัญหา แต่หากเสียหายก็เลี้ยงดูตลอดชีพ โดยไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูก” เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

หมายเหตุ อ่านประกอบกับร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับ ครม.เสนอ
NGO หมายถึง NGO สายสาธารณสุขบางคน__

75
วันที่ 6 ตค 2553 ณ ห้องชัยนาทนเรนทร

ท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้มีการจ่ายเงินค่าตอบแทน รพศ/รพท. ต่อไป

โดยแหล่งที่มาของเงิน ให้เอามาจากเงินบำรุงของโรงพยาบาลไปก่อน(เหมือนเดิม)ในระยะเวลา 6 เดือน
(โรงพยาบาลที่มีปัญหาเงินบำรุง ก็อาจชะลอไว้ คือ ให้ติดบุคลากรไว้ก่อน)

หลังจากนั้นจะหาแนวทางหาแหล่งเงินสำหรับการนี้ต่อไป


หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 17