แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 460 461 [462] 463 464 ... 535
6916
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ในพื้นที่ประสบอุทกภัยในขณะนี้ มีผู้เป็นโรคน้ำกัดเท้าอันดับ 1 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งจะเกิดแผลเปื่อยง่าย แม้ทุก รพ.จะเร่งการผลิตยาน้ำกัดเท้าอย่างเต็มกำลัง แต่ก็ไม่เพียงพอ จึงแนะนำให้ประชาชนใช้สมุนไพรในครัวเรือนที่มีรสฝาด สามารถนำมาใช้ดูแลรักษาเบื้องต้นได้ อาทิ เปลือกมังคุดแห้ง นำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น สารส้ม นำไปตั้งไฟให้ร้อนจนเป็นผงขาวฟู และอาจจะใช้ดินสอพองผสมน้ำ นำมาใช้ได้ทันที ซึ่งทั้งหมดสามารถนำมาทาบริเวณที่เป็นได้วันละ 2 ถึง 3 ครั้ง ส่วนกรณีที่เป็นเชื้อราที่ง่ามเท้า สามารถนำสมุนไพร อาทิ ใบต้นกระเทียม ใบชุมเห็ดเทศ ใบทองพันชั่ง กระเทียม และข่าประมาณ 1 กำมือมาตำ พอกหรือทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง ติดต่อกันทุกวัน ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์

สำหรับผู้ที่เป็นโรคน้ำกัดเท้าระยะแรกที่มีคัน และอักเสบตามง่ามนิ้ว สามารถใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ อย่างขมิ้นชัน ไพร และพญายอได้ ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากหลีกเลี่ยงการโดนน้ำไม่ได้ อาจใช้ขมิ้นผง หรือขมิ้นแคปซูลโรยที่แผลก่อนได้ ซึ่งป้องกันการเปลือยของผิวได้ระดับหนึ่ง แต่หากผู้ป่วยที่มีแผลที่เท้าให้ รับประทานสารสกัดจากใบบัวบก จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

มติชนออนไลน์ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

6917
สธ.เปิดโรงพยาบาลสนามที่ปทุมธานี 2 จุด ส่งหน่วยแพทย์เคลี่อนที่ 22 ทีม รับมือวิกฤติน้ำท่วม

นายแพทย์สุริยะ  วงศ์คงคาเขต ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับผลการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประสบภัยในจังหวัดปทุมธานีในวันนี้( 20 ตุลาคม 2554)  ว่า   มีพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม 7 อำเภอ  ประชาชน 358,070 คน   ในจำนวนนี้อยู่ในวิกฤติรุนแรงต้องอพยพจำนวน 42 ตำบล ขณะนี้มีจุดอพยพ  62  แห่ง รวม 15,943 คน  ในจำนวนนี้เป็นจุดอพยพขนาดใหญ่ 13 แห่ง กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งหน่วยแพทย์ให้บริการตรวจรักษาเบื้องต้น พร้อมทั้งควบคุมป่องกันไม่ให้เกิดโรคระบาด

นายแพทย์สุริยะกล่าวว่า มีโรงพยาบาลถูกน้ำท่วม 2 แห่งต้องปิดให้บริการ คือ โรงพยาบาลสามโคก  และโรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว   โดยได้เปิดโรงพยาบาลสนาม 2 แห่ง คือที่ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี  มีทีมแพทย์จากกระทรวงกลาโหม รวม 6 คน พร้อมรถพยาบาล  และทีโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นทีมจากโรงพยาบาลสามโคกและโรงพยาบาลสุรินทร์      ส่วนโรงพยาบาลปทุมธานี น้ำท่วมหน้าโรงพยาบาลสูง 1 เมตร  ยังเปิดให้บริการปกติ โยใช้รถจีเอ็มซีของทหารบริการรับส่งเข้าออก   มีประชาชนตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกวันละประมาณ  450 ราย   มีผู้ป่วยในนอนรักษาทั้งหมด 118 ราย  ในจำนวนนี้เป็นทารกแรกเกิด 5  ราย  ผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 2 ราย  โดยได้ส่งต่อผู้ป่วยวันนี้  6  ราย ไปที่โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลวชิระ  โรงพยาบาลเด็ก และโรงพยาบาลปทุมเวช    โรงพยาบาลได้สำรองออกซิเจนเหลว ไว้ประมาณ 13,000 คิว สามารถใช้ได้ประมาณ 4 สัปดาห์ 

นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกน้ำท่วมอีก 3  แห่ง คือ  โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ โรงพยาบาลคลองหลวง และโรงพยาบาลธัญบุรี มีผู้ป่วยประมาณ 28 ราย อาการไม่รุนแรง   กระทรวงสาธารณสุขจะติดตามประเมินสถานการณ์ หากไม่ปลอดภัย  วางแผนย้ายผู้ป่วยออก

นายแพทย์สุริยะกล่าวอีกว่า  ตลอดวันนี้ หน่วยแพทย์ได้รับแจ้งการขอความช่วยเหลือทางหมายเลข 1669 จำนวน 340 สาย ส่วนใหญ่เป็นการอพยพผู้ป่วยที่อยู่ในบ้าน และเจ็บป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุ 90 สาย  โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการผู้ประสบภัยทุกพื้นที่ จำนวน 22 ทีม  มีผู้เจ็บป่วย 4,157 ราย   โรคที่พบ 5 อันดับน้ำกัดเท้า  ผื่นคันตามตัว  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไข้หวัด  ผิวหนังอักเสบ  ในด้านสุขภาพจิต พบผู้ประสบภัยมีความเครียด 2,670 ราย  โดยเครียดรุนแรง  11 ราย  มีอาการซึมเศร้า  205 ราย     เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 25 ราย  ให้คำปรึกษา  924 ราย  ให้ยาคลายเครียด   29  ราย 

กรุงเทพธุรกิจ 21 ตุลาคม 2554

6918
กองทัพไทย เผยแนวทางกู้วิกฤติบางบัวทอง เตรียมตั้งศูนย์ช่วยเหลือน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน วอนขอความร่วมมือประชาชนช่วยสมทบเรือกู้ภัย...

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม(ศปภ.) ศปภ.กองทัพไทย โดยพล.ท.จิรเดช สิทธิประณีต ผช.เสธ.ทหารฝ่ายกิจการพลเรือน พล.อ.ท.ธงชัย แฉล้มเขต รอง.ผอ.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทอ. พล.ร.ท.บงสุช สิงห์ณรงค์ หน.ศปภ.ทร.ฝ่ายพลเรือน และพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร. แถลงการณ์ถึงแผนการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จ.นนทบุรี โดยเฉพาะในพื้นที่อ.บางบัวทอง และอ.บางใหญ่ ที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างหนัก และระดับน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ทางกองทัพไทย โดยหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ(นปอ.)ทบ. พร้อมด้วยกำลังจากทร. ทอ. และสตช. ได้ประสานกับทางจ.นนทบุรี ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่บริเวณที่ทำการ อ.บางบัวทอง และจะจัดส่งเรือประมาณ 50 ลำ แบ่งสายเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ต้องการอพยพออกจากพื้นที่ที่ประสบภัย ตั้งแต่เวลา 21.00 น. วันที่ 20 ต.ค. เป็นต้นไป ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนที่ต้องการอพยพออกนอกพื้นที่ให้เตรียมตัวให้พร้อม และเมื่อได้ยินเสียงเรือ ให้ส่งสัญญาณแจ้งให้เจ้าหน้าที่ในเรือได้รับทราบ

ทั้งนี้ พล.ท.จิรเดช กล่าวว่า อย่างไรก็ตามเนื่องจากประชาชนผู้ประสบภัยมีจำนวนมาก เรือที่ทางกองทัพจัดเตรียมมานั้นอาจจะไม่เพียงพอ จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนที่มีเรือและมีจิตอาสา นำเรือมาร่วมลำเลียงพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนออกมายังที่ปลอดภัย โดยเรือที่จะเข้าร่วม ขอให้โทรแจ้งมาที่เบอร์ 02-504-3569 ส่วนประชาชนที่ต้องการจะอพยพ ขอให้ประสานมาที่เบอร์ 1131, 02-241-1709, 02-504-3569 และ 02-534-1911

ด้าน พล.ร.ท.บงสุช  กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. กองทัพเรือ โดยผบ.ทร.จะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการลอยน้ำที่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดไทรม้า จ.นนทบุรี เพื่อร่วมสนับสนุนปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว โดยจะมีหน่วยโรงพยาบาลเคลื่อนที่ พร้อมด้วยโรงพยาบาลทางน้ำมาคอยให้บริการพี่น้องประชาชนที่เจ็บป่วยที่อาศัยอยู่ตามลำน้ำ.

ไทยรัฐออนไลน์ 21 ตค 2554

6919
พบน้ำค้างทุ่งมีกว่าหมื่นล้านลูกบาศก์เมตร “อยุธยา”สูงสุดเกือบ 6 พันล้านลูกบาศก์เมตร.....


          กรมชลประทานได้รายงานสถานการณ์พื้นที่น้ำท่วมลุ่มน้ำภาคกลาง เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีปริมาณน้ำค้างทุ่ง รวม 11,746 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ในพื้นที่ทั้งหมด 5,859,263 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางฝั่งตะวันออก 4,340,044 ไร่ รวมปริมาณน้ำ 9,472 ล้าน ลบ.ม. และลุ่มน้ำฝั่งตะวันตก 1,519,219 ไร่ รวมปริมาณน้ำ 2,274 ล้านลบ.ม.

          กรมชลประทาน ได้จำแนกพื้นที่น้ำท่วม ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย และปริมาตรน้ำในแต่ละพื้นที่ ดังนี้.....

ลุ่มน้ำภาคกลางฝั่งตะวันออก

1.จ.สิงห์บุรี พื้นที่น้ำท่วม 392.92 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.6 เมตร ปริมาตรน้ำ 628.67 ล้าน ลบ.ม.

2.จ.อ่างทอง พื้นที่น้ำท่วม 520.91 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.63 เมตร ปริมาตรน้ำ 849.08 ล้าน ลบ.ม.

3.จ.อยุธยา พื้นที่น้ำท่วม 1,832.28 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.99 เมตร ปริมาตรน้ำ 5,646.24 ล้าน ลบ.ม.

4.จ.ปทุมธานี พื้นที่น้ำท่วม 355.70 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1 เมตร ปริมาตรน้ำ 365.70 ล้าน ลบ.ม.

5.จ.นนทบุรี พื้นที่น้ำท่วม 68.92 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.50 เมตร ปริมาตรน้ำ 34.46 ล้าน ลบ.ม.

6.กรุงเทพฯ พื้นที่น้ำท่วม 11.95 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.40 เมตร ปริมาตรน้ำ 44.78 ล้าน ลบ.ม.

7.จ.ลพบุรี พื้นที่น้ำท่วม 1,650 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.7 เมตร ปริมาตรน้ำ 2,887.5 ล้าน ลบ.ม.

8.จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่น้ำท่วม 751.43 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.40 เมตร ปริมาตรน้ำ 300.57 ล้าน ลบ.ม.

9.จ.ปราจีนบุรี พื้นที่น้ำท่วม 437.8 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.35 เมตร ปริมาตรน้ำ 153.23 ล้าน ลบ.ม.

10.จ.สมุทรปราการ พื้นที่น้ำท่วม 42.28 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.40 เมตร ปริมาตรน้ำ 18.11 ล้าน ลบ.ม.

ลุ่มน้ำภาคกลางฝั่งตะวันตก

1.จ.ชัยนาท พื้นที่น้ำท่วม 579.10 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.58 เมตร ปริมาตรน้ำ 914.98 ล้าน ลบ.ม.

2.จ.สุพรรณบุรี พื้นที่น้ำท่วม 1,307.86 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.75 เมตร ปริมาตรน้ำ 980.90 ล้าน ลบ.ม.

3.จ.นครปฐม พื้นที่น้ำท่วม 365.05 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.50 เมตร ปริมาตรน้ำ 183.03 ล้าน ลบ.ม.

4.จ.สมุทรสาคร พื้นที่น้ำท่วม 0.43 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 0.18 เมตร ปริมาตรน้ำ 0.08 ล้าน ลบ.ม.

          กรมชลประทานยังรายงานอีกว่าในลุ่มน้ำภาคเหนือตอนล่าง ยังเหลือน้ำค้างทุ่งอีกประมาณ 4,253 ล้าน ลบ.ม. โดยจังหวัดที่มีปริมาตรน้ำสูงสุด คือ จ.นครสวรรค์ ที่มีพื้นที่น้ำท่วม 1,787.70 ตร.กม. ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1.35 เมตร ปริมาตรน้ำ 2,403.94 ลบ.ม.
....................................................

แนวหน้า 20 ตค 2554

6920
กรุงเทพมหานคร (กทม.) ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของอ่าวไทย
แต่ในยุคดึกดำบรรพ์ ราว 12,000 ปีมาแล้ว พื้นที่ของกรุงเทพฯ จมอยู่ใต้ท้องทะเลอ่าวไทย เพราะอ่าวไทยในอดีตมีขอบเขตลึกเข้าไปในแผ่นดินที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยมีลายพระหัตถ์เล่าว่า "ขุดได้ซากปลาวาฬที่บางเขน ไม่ห่างสะพานพระราม 6 เท่าใดนัก"

เหตุที่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นทะเล เมื่อประมาณ 12,000 ปีมาแล้ว เพราะน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นมากจากน้ำแข็งละลาย ทำให้ท้องทะเลแถบอ่าวไทย มีขอบเขตกว้างขวางสูงขึ้นไปถึงลพบุรีหรือเหนือขึ้นไปอีก

ยุคดึกดำบรรพ์ที่บริเวณกรุงเทพฯ ยังจมเป็นพื้นท้องทะเลอ่าวไทย เขตป่าเขาลำเนาไพรโดยรอบอ่าวไทยมี "มนุษย์อุษาคเนย์" ร่อนเร่เป็นกลุ่มเล็กๆ กระจัดกระจายแสวงหาอาหารตามธรรมชาติด้วยเครื่องมือทำด้วยหินและไม้ บางทีก็เอาเรือไม้แล่นหาอาหารตามทะเลโคลนตม

มีเรื่องราวละเอียดอยู่ในหนังสือกรุงเทพฯ มาจากไหน? (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2548) จะสรุปสั้นๆ มาดังต่อไปนี้

"ทะเลโคลน" ก่อนมีกรุงเทพฯ

ทะเลอ่าวไทยยุคดึกดำบรรพ์ราว 12,000 ปีมาแล้ว มีขอบเขตกว้างขวางกว่าปัจจุบัน ดังนี้

ทิศเหนือ ทะเลสูงขึ้นไปถึงบริเวณ จ.ลพบุรี หรือเหนือขึ้นไปอีก

ทิศตะวันตก ทะเลเว้าเข้าไปถึงบริเวณ อ.เมือง และ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ต่ำลงมาที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ต่ำลงมาที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี และต่ำลงมาที่ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

ทิศตะวันออก ทะเลเว้าเข้าไปถึงบริเวณ จ.สระบุรี จ.นครนายก จ.ปราจีนบุรี และเว้าไปถึง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

เมื่อขอบเขตอ่าวไทยยุคดึกดำบรรพ์ล้ำเข้าไปมากกว่าปัจจุบัน แม่น้ำสายสำคัญๆ ที่ไหลลงทะเลจึงสั้นกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ คือ

ปากน้ำเจ้าพระยา อยู่บริเวณ จ.นครสวรรค์-ชัยนาท

ปากน้ำแม่กลอง อยู่ทาง จ.นครปฐม (แม่น้ำท่าจีนยังไม่มี)

ปากน้ำบางปะกง อยู่ทาง จ.นครนายก-ปราจีนบุรี

ปากน้ำป่าสัก อยู่ทาง จ.ลพบุรี เป็นต้น

ทะเลอ่าวไทยยุคดึกดำบรรพ์ที่กว้างขวางดังกล่าวมิได้อยู่คงที่ เพราะแผ่นดินโดยรอบงอกออกไปเรื่อยๆ ตามปรากฏการณ์ธรรมชาติ อันเป็นผลจากการทับถมของตะกอนหรือโคลนตมที่ล้นทะลักไหลมากับน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีอยู่รอบอ่าวไทย ยุคโน้น

ครั้นนานเข้าก็กลายเป็นทะเลโคลนตม ขยายพื้นที่กว้างออกไปเรื่อยๆ ช้าๆ ตามธรรมชาติ

ในที่สุดโคลนตมที่ถมทับกลับกลายเป็นดินดอน แผ่กว้างเป็น "แผ่นดินบก" สืบเนื่องจนปัจจุบัน

นอกจากจะถมทะเลให้เป็นแผ่นดินบกแล้ว โคลนตมจำนวนมหาศาลยังเป็นปุ๋ย ธรรมชาติดีที่สุด ที่ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวในสมัยหลังๆ

เมื่อตะกอนจากแม่น้ำทะลักออกมาทับถมนานนับพันปี ในที่สุดอ่าวไทยก็ค่อยๆ หดลง บริเวณที่โคลนตมตกตะกอนก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่

คนดึกดำบรรพ์ร่อนเร่ "ทะเลโคลน"

3,000 ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักถลุงเหล็กทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ มีชุมชน บ้านเมืองขนาดเล็กๆ เกิดขึ้นทั่วไป มีคนจากที่ต่างๆ เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนประเทศไทยมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

แต่บริเวณกรุงเทพฯ ยังเป็นทะเลโคลนตม จึงไม่มีคนตั้งหลักแหล่งถาวรได้ จะมีก็เพียงคนบางกลุ่มเคลื่อนไหวแสวงหาอาหารผ่านไปมา

ยุคสุวรรณภูมิ-ทวารวดี ยังไม่มีกรุงเทพฯ

สมัยแรกที่พุทธศาสนาจากชมพูทวีปแผ่มาถึง "สุวรรณภูมิ" หรือภูมิภาคอุษาคเนย์โบราณ เมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว หรือราว พ.ศ.500 กรุงเทพฯ ยังเป็นทะเลโคลนตมกว้างใหญ่ไพศาล

ต่อมาราวหลัง พ.ศ.1000 เริ่มเกิดรัฐยุคแรกๆ ที่รู้จักทั่วไปในชื่อรวมๆ กว้างๆ ว่า "ทวารวดี" บริเวณกรุงเทพฯ ก็ยังคงเป็นทะเลโคลนตมอย่างเดิม

แต่โคลนตมบางแห่งแข็งตัวเป็นผืนแผ่นดินมากขึ้น มีป่าชายเลน ไม้โกงกาง ฯลฯ แล้วมีแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่หลายสาขา เป็นเส้นทางคมนาคมออกสู่ทะเลอ่าวไทย ขยายขึ้นเรื่อยๆ บางแห่งเป็นที่ดอนสูง มีผู้คนตั้งหลักแหล่งประปรายเป็นหย่อมๆ ห่างไกลกัน

พบเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินและโลหะตกค้างฝังดินและจมโคลนตมอยู่บ้างไม่มากนัก แสดงว่ามีผู้คนยุคดึกดำบรรพ์ผ่านไปมาบ้าง

คนพื้นเมืองรุ่นแรก

ครั้นหลัง พ.ศ.1600 มีบ้านเมืองและรัฐรุ่นใหม่เติบโตขึ้นโดยรอบอ่าวไทย โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น รัฐอโยธยาศรีรามเทพ (ที่ต่อมาเป็นกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่ตอนบนของอ่าวไทยเหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป

ทางน้ำกว้างใหญ่ผ่านบริเวณกรุงเทพฯ (ที่ต่อไปอีกนานมากจะได้ชื่อว่าเจ้าพระยา) ไหลคดเคี้ยวเป็นรูปโค้งเกือกม้า (Oxbow Lake) นับเป็นแม่น้ำเก่าแก่ดั้งเดิมของกรุงเทพฯ

มีคนพื้นเมืองตั้งหลักแหล่งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนชายเลนบ้างแล้ว เช่น พวกพูดภาษาตระกูลมาเลย์-จาม กับชวา-มลายู จนถึงตระกูลมอญ-เขมร กับลาว-ไทย

กรุงเทพฯ อยู่ใต้ทะเลอ่าวไทย มีในแผนที่แสดงแนวชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยสมัยโบราณ เมื่อระหว่าง 6,000-3,000 ปีมาแล้ว (ดัดแปลงจาก Somboon Jarupongsakul, 1990, Geomorphology of the Chao Phraya Delta. Thailand, p. 63)

หน้า 20,มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2554

คอลัมน์ สุวรรณภูมิสังคมวัฒนธรรม
โดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ

6921
  ณ วันนี้เวลานี้ฉันเชื่อว่าชาวกทม.ส่วนใหญ่คงเตรียมอพยพ กั้นกระสอบทราย ก่อคันปูน ขนย้ายข้าวของหนีน้ำท่วม ที่ตอนนี้ได้เริ่มไหลบ่ามาท่วมถนนพระอาทิตย์หน้าออฟฟิศของฉันแล้ว
       
       งานนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงกึ๋นของรัฐบาลที่บ้อท่าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับศปภ.ที่มักจะออกมาให้ข่าวทำประชาชนสับสนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งสุดท้ายแล้วประชาชนตาดำๆอย่างเราๆท่านๆคงต้องพึ่งตัวเองเป็นดีที่สุด ต้องมีสติ ตื่นตัว แต่ไม่ตื่นตระหนก เพราะวันนี้แม้จะอยู่ในกรุงเทพฯก็มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมไม่แพ้กัน

       อย่างไรก็ตามหากมองจากลักษณะทางกายภาพของกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระ กอปรกับเป็นบริเวณที่ถูกน้ำทะเลหนุน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจุดที่มีร่องมรสุมพาดผ่าน ทำให้นับตั้งแต่ตั้งเมืองบางกอกหรือกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งสยามประเทศเมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว กรุงเทพฯได้ผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมมาหลายครั้งหลายคราด้วยกัน
       
       แต่ดูเหมือนว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในอดีตดูจะแตกต่างจากเหตุน้ำในวันนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะในอดีตกรุงเทพฯยังเป็นเมืองที่มากมายไปด้วยแม่น้ำลำคลอง วิถีชีวิตของผู้คนผูกพันกับสายน้ำทั้งการเกษตร การสัญจร มีการใช้เรือเป็นหลักในการสัญจรไปมาและติดต่อค้าขาย

       ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้กรุงเทพฯมีลักษณะของความเป็น“เมืองน้ำ” จนต่างชาติยกให้กรุงเทพฯเป็นดัง “เวนิสตะวันออก” แต่เมื่อบ้านเมืองเจริญ(ทางวัตถุ)ขึ้น ผู้คนหันไปเดินตามวิถีตะวันตกมากขึ้น วิถีชีวิตของชาวกรุงเทพฯก็ค่อยๆเปลี่ยนไป เปลี่ยนจากวิถีเมืองน้ำมาเป็นวิถี“เมืองบก” ที่ยังคงอยู่ในพื้นที่รับน้ำเช่นเดิม นั่นจึงทำให้ให้บริบทของเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯมีความแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย
       
       สำหรับเหตุน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯนั้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ได้เกิดขึ้นในทุกรัชกาล โดยมีการบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งแรกในสมัยพระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ ได้แก่

       สมัยรัชกาลที่ 1 : พ.ศ.2328 ระดับน้ำที่ท้องสนามหลวงสูงถึง 8 ศอก 10 นิ้ว วัดปริมาณน้ำภายในพระบรมมหาราชวังบริเวณพื้นท้องพระโรงพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานได้ถึง 4 ศอก 8 นิ้ว
       สมัยรัชกาลที่ 2 : วันที่ 28 ต.ค. 2362 ส่งผลให้เกิดปัญหาข้าวยากหมากแพง
       สมัยรัชกาลที่ 3 : วันที่ 4 พ.ย. 2374 น้ำท่วมกรุงเทพทั่วพระนคร และมากกว่าปี 2328
       สมัยรัชกาลที่ 4 : เกิดน้ำท่วมใหญ่ 2 ครั้ง วันที่ 25 พ.ย. 2402 และ วันที่ 1 พ.ย. 2410
       สมัยรัชกาลที่ 5 : วันที่ 13 พ.ย. 2422 น้ำท่วมสูงถึงขอบประตูพิมานไชยศรี(ประตูทิศเหนือ พระบรมมหาราชวัง)
       สมัยรัชกาลที่ 6 : พ.ศ. 2460 น้ำท่วมไปถึงลานพระบรมรูปทรงม้า ถึงขั้นมีการแข่งเรือได้
       สมัยรัชกาลที่ 8 : เกิดน้ำท่วมนานถึง 2 เดือน ปริมาณน้ำมากกว่าเมื่อปี 2460 เกือบเท่าตัว และในปี 2485 ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน น้ำท่วมบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า สูงถึง 1.50 ม. และท่วมนานถึง 3 เดือน รวมถึงพื้นที่สำคัญๆอีกหลายแห่งเช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถ.เยาวราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถ.ราชดำเนิน อนุสาวรย์ชัยสมรภูมิ พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น นับเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อมากักเก็บน้ำ

       มาในสมัยรัชกาลปัจจุบัน น้ำท่วมยังคงเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวกรุงเทพฯอย่างต่อเนื่อง
       
       ในพ.ศ.2518 : พายุดีเปรสชั่นได้พาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน จนเป็นเหตุให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมกรุงเทพฯ
       
       พ.ศ.2521 : พายุลูกใหญ่ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" ได้พาดผ่านพื้นที่ตอนบนลุ่มน้ำปริมาณสูง รวมไปถึงปริมาณน้ำจากแม่น้ำป่าสักไหลบ่าเข้าท่วมเป็นจำนวนมาก ทำให้ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯถูกน้ำท่วมไปโดยปริยาย

       พ.ศ.2523 : ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ทวีระดับความสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 ม. ระดับน้ำสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2 ม. ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพฯถึง 4 วัน 4 คืน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่
       
       พ.ศ.2526 : พายุหลายลูกพัดผ่านเข้าภาคเหนือ และภาคกลางในช่วงก.ย. - ต.ค. ทำให้น้ำท่วมในครั้งนี้ถือว่ารุนแรงมากอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวัดปริมาณฝนตลอดทั้งปีได้ 2,119 มม. จากค่าฝนเกณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 มม. ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯและปริมณฑล น้ำท่วมเป็นเวลานานที่สุดถึง 4 เดือน

       พ.ศ.2529 : ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันที่กรุงเทพฯในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะที่เขตราษฎร์บูรณะ ถ.วิภาวดีตั้งแต่ช่วงสะพานลอยเกษตรเข้าไป ย่านถ.สุขุมวิท ย่านรามคำแหง ย่านบางนา ทำให้การจราจรติดขัดมาก แต่อย่างไรก็ดีในครั้งนั้นอยู่ในช่วงที่น้ำทะเลไม่ได้หนุน ทำให้มีการระบายน้ำออกเป็นไปอย่างรวดเร็ว
       
       พ.ศ.2533 : เดือนตุลาคม พายุโซนร้อน "อีรา" และ "โลล่า" ได้พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพฯถึง 617 มม. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังสูงประมาณ 30-60 ซม. ในหลายพื้นที่ ทั้งบริเวณเขตมีนบุรี, หนองจอก, บางเขน, ดอนเมือง, บางกะปิ, พระโขนง, ลาดกระบัง, ลาดพร้าว, บึงกุ่ม และปริมณฑล โดยน้ำท่วมขังเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน

       พ.ศ.2537 : พายุฝนฤดูร้อน ถล่มกรุงเทพฯและปริมณฑล ในเดือนพฤษภาคม โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯมีปริมาณน้ำฝน 200 มม. ถือว่ามากที่สุดในประวัติการณ์ จนเรียกได้ว่าเป็น “ฝนพันปี” ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันที่บริเวณถ.จันทร์ เขตยานนาวา ถ.พหลโยธิน ตั้งแต่ย่านสะพานควาย ถ.ประดิพัทธ์ สวนจตุจักร ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซ.สุทธิสารตลอดทั้งซอย รวมไปถึงถ.วิภาวดีรังสิตและรัชดาภิเษก ถ.ลาดพร้าว ถ.สุขุมวิท ตั้งแต่ย่านพระโขนง จนถึงอ.สำโรง สมุทรปราการ ส่วนถ.สาธร โดยเฉพาะซ.เซ็นต์หลุยส์ มีน้ำท่วมขังมากที่สุดประมาณ 50 ซม. ส่งผลให้การจราจรเป็นอัมพาต เกิดไฟฟ้าดับหลายจุด สร้างความเดือดร้อนทั่วทุกพื้นที่
       
       พ.ศ.2538 : เกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง โดยพายุหลายลูกได้พัดผ่านทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพายุโอลิส ที่ถล่มกระหน่ำทำให้เกิดในตกหนักอย่างต่อเนื่องหลายวัน วัดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ได้สูงถึง 2.27 ม. เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (เท่าน้ำท่วมปี 2485) ทำให้คันกั้นน้ำริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาถูกน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่อย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝั่งธนบุรีระดับความสูงถึง 1 ม. รวมระยะเวลาน้ำท่วมประมาณ 2 เดือน การคมนาคมเป็นไปอย่างยากลำบากต้องอาศัยเรือในการเดินทาง เพราะเกือบจะทั่วทุกพื้นที่กลายเป็นคลองไปหมด อีกทั้งยังมีน้ำเหนือหลากเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดโดยรอบอีกด้วย

       พ.ศ.2539 : มีฝนตกหนักในภาคเหนือ และภาคกลาง ในช่วง พ.ย.ทำให้ระดับน้ำสูงล้นแนวป้องกันน้ำท่วมเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำฝั่งธนบุรี บริเวณ ถ.จรัญสนิทวงศ์ ถ.เจริญนคร ฝั่งพระนคร บริเวณ ถ.สามเสน ถ.พระอาทิตย์ ซึ่งน้ำได้ท่วมขังกินระยะเวลานาน 2 เดือน
       
       พ.ศ.2549 : เกิดอุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ ส่งผลให้หลายพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง ประกอบกับมีการผันน้ำเข้าเก็บกักเอาไว้ในพื้นที่ว่างเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำ ท่วมโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในหลายจังหวัดภาคกลาง แต่เมื่อจังหวัดนั้นๆไม่สามารถรับนํ้าได้ไหว นํ้าจึงไหลเข้าท่วมขังที่กรุงเทพฯ เกือบ 1 ม. นานกว่าสัปดาห์
       
       และในพ.ศ.2554 นี้ ถึงแม้ว่าน้ำจะยังไม่ทะลักเข้าท่วมกรุงเทพฯ แต่มีความเป็นไปได้สูงว่ากรุงเทพฯจะประสบปัญหาน้ำท่วม และอาจรุนแรงเทียบเท่าปี 2538 เลยก็ว่าได้ เพราะพื้นที่โดยรอบกรุงเวลานี้ได้จมอยู่ใต้น้ำกันหมดแล้ว เราๆชาวกรุงก็ต้องลุ้นกับอย่างอกสั่นขวัญแขวนกันว่ารัฐบาลชุดนี้จะจัดการกับวิกฤตอุทกภัยนี้อย่างไร อย่าดีแต่แถลงข่าวสร้างความสับสนให้ประชาชน จนประชาชนชาวไซเบอร์ต้องออกมาบอกว่า “รัฐบาลอย่าตกใจ ขอให้มีสติ ประชาชนจะดูแลท่านเอง!!”

       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
       
       ข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(18 ต.ค. 54) มีผู้เสียชีวิต 315 ราย สูญหาย 3 คน กระทบ 62 จังหวัด 621 อําเภอ ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 2,742,310 ครัวเรือน 8,795,516 คน
       
       สภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ โดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในวันนี้ (19 ต.ค. 54) น้ำขึ้น 2 ครั้ง ในเวลา 13.02 น. คาดว่าจะสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.03 ม. และในเวลา 20.19 น. คาดว่าจะสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.96 ม. และจากปริมาณการระบายน้ำในปัจจุบัน คาดว่าในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงในวันที่ 27-30 ต.ค. 54 จะสูงกว่าระดับทะเลปานกลางประมาณ 2.30-2.35 ม. ซึ่งระดับน้ำยังคงต่ำกว่าสันเขื่อนกันน้ำกรุงเทพมหานคร ซึ่งสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.50 ม.
       
       HotLine สายด่วนน้ำท่วม
       สำนักนายกรัฐมนตรี โทร.1111
       สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) โทร.1784
       บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี โทร.1669
       ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146
       ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1193
       การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690
       สายด่วน กฟภ. โทร.1129
       ท่าอากาศยานไทย โทร.0-2535-1111
       ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ โทร.0-2243-6956
       
 โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 ตุลาคม 2554

6922

บอร์ดองค์การเภสัชกรรมอ้างว่า องค์การฯ ทำให้รัฐประหยัดเงินค่ายาต้านเอดส์ได้ถึง 1 ล้านบาท

จริงอยู่แม้องค์การเภสัชกรรมจะสามารถผลิตยาต้านเอดส์และประหยัดเงินได้จริง แต่สิทธิพิเศษจากกฎหมายต่าง ๆ ขององค์การฯ เองก็สร้างปัญหาไว้หลายเรื่อง เช่น สิทธิพิเศษผูกขาดการขายยาให้แก่ส่วนราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 60 – 62 ดังนี้

ข้อ 62 การซื้อยาของส่วนราชการให้จัดซื้อตามชื่อสามัญ (generic name) ในบัญชียาหลักแห่งชาติตามที่คณะกรรมการแห่งชาติทางด้านยากำหนด โดยให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เว้นแต่ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ข้อ 61 การซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา เช่น ผ้าก๊อส สำลี หลอดฉียา เข็มฉีดยา เฝือก วัสดุ ทันตกรรม ฟิล์มเอกซเรย์ และเภสัชเคมีภัณฑ์ซึ่งองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตออกจำหน้ายแล้ว ให้จัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรม นอกจากส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้จัดซื้อจากโรงงานเภสัชกรรมทหาร ส่วนกรมตำรวจจะซื้อจากองค์การเภสัชกรรม หรือโรงงานเภสัชกรรมทหารก็ได้ โดยให้ดำเนินการด้วยวิธีกรณีพิเศษ แต่ทั้งนี้ราคายาที่องค์การเภสัชกรรม หรือโรงงานเภสัชกรรมทหารจำหน่ายต้องไม่สูงกว่าราคากลางของยาชื่อสามัญเดียวกันที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเกินร้อยละ 3

ข้อ 62 การซื้อยาตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งองค์การเภสัชกรรมมิได้เป็นผู้ผลิตแต่มีจำหน่าย ส่วนราชการจะจัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรม หรือผู้ขาย หรือผู้ผลิตรายใดก็ได้ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) การจัดซื้อโดยวิธีสอบราคา หรือประกวดราคาให้ส่วนราชการแจ้งให้องค์การเภสัชกรรมทราบด้วยทุกครั้ง และถ้าผลการสอบราคา หรือประกวดราคาปรากฎว่าองค์การเภสัชกรรมเสนอราคาเท่ากัน หรือต่ำกว่าผู้เสนอราคารายอื่น ให้ส่วนราชการซื้อจากองค์การเภสัชกรรม (2) การจัดซื้อโดยวิธีตกลงราคาหรือวิธีพิเศษ ให้ซื้อในราคาที่ไม่สูงกว่าราคากลางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ระเบียบข้างต้นที่เปิดโอกาสให้องค์การเภสัชกรรมมีความได้เปรียบเหนือบริษัทเอกชนอื่นๆ ในการจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ให้แก่หน่วยงานในภาครัฐ ในราคาที่สูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่นไม่เกินร้อยละ 3 นี้อาจดูไม่สมเหตุสมผลหรือไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในภาวะที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในภาวะขาดทุนจนแทบปิดกิจการ

อย่างไรก็ดี เรื่องสำคัญของสิทธิพิเศษในการจัดซื้อยังไม่เท่ากับเรื่อง สิทธิพิเศษขององค์การฯ ในแง่คุณภาพผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพราะสิทธิพิเศษขององค์การฯตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 13 (1) ที่ให้ยกเว้นไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม มาตรา 12 ที่ว่าห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำ หรือสั่งเข้ามาใน ราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 13* บทบัญญัติมาตรา 12 ไม่ใช้บังคับแก่ (1) การผลิตยาซึ่งผลิตโดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกัน หรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม

สิทธิพิเศษในเรื่องการผลิตและจัดจำหน่ายนี้ ทำให้องค์การฯ ไม่อยู่ในข่ายบังคับตาม พรบ. ยา ซึ่งหมายความว่า องค์การฯ ได้รับการยกเว้น 1) ไม่ต้องขึ้นทะเบียนยา 2) ไม่ต้องทำการศึกษาชีวสมมูล ((Bioequivalence Study) ซึ่งหมายถึงการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล (Comparative bioavailability) อัตราการดูดซึม (Rate) และปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด (Extent) ระหว่างผลิตภัณฑ์ยาทดสอบ (Test products) และผลิตภัณฑ์ยาอ้างอิง (Reference products) 3) ไม่ต้องปรับปรุงมาตรฐานการผลิต อีกทั้งยังสามารถที่จะโฆษณาโดยไม่ต้องขออนุญาต สิทธิพิเศษเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยไม่มีหลักประกันว่าจะได้รับยาที่มีคุณภาพ หรือความปลอดภัย เพราะเท่ากับว่าไม่มีการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานก่อนนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเลย

ข้อมูลข้างต้นอาจทำให้หลายคนเริ่มสงสัยในคุณภาพของยาจากองค์การ แต่บางคนก็อาจเห็นว่านี่เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ของกลุ่มของผู้เสียผลประโยชน์ มันเป็นไปได้ยากที่องค์การฯ จะผลิตยาที่ไม่มีคุณภาพ ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่พิสูจน์ว่า สิทธิพิเศษของการผลิตโดยไม่ต้องขึ้นทะเบียน และไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพที่จะทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ความเสี่ยงจริง ๆ ก็คือ ข้อมูลจาก “The Unraveling of Compulsory Licenses: Evidence from Thailand and India”, International Policy Network, May 18, 2007 โดย J. Norris ที่ว่า The Government Pharmaceutical Organization (GPO) In Thailand, the state-owned Government Pharmaceutical Organization (GPO) has been the main supplier of a triple dose antiretroviral (ARV) drug called GPO-Vir. The Global Fund to Fight HIV/AIDS had granted the GPO $133 million in 2003 to upgrade its plant to meet international quality standards for this drug. In October 2006, the Fund withdrew the remaining monies, citing the GPO’s failure to meet WHO standards. After four years of pre-testing, WHO still refused to list this drug in its pre-qualification program.

แปลได้ว่า หลังจากที่กองทุนโลกเพื่อต่อสู้โรคเอดส์ (The Global Fund to Fight HIV/AIDs) ได้ให้เงินองค์การเภสัชถึง 133 ล้านดอลลาร์ มาปรับปรุงโรงงานเพื่อให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติในการผลิต GPO-vir ในปี 2546 แต่ในปี 2549 พวกเขาก็ถอนการสนับสนุนทางการเงิน เพราะโรงงานขององค์การฯ ยังไม่สามารถผลิตยาให้ได้มาตรฐานของ WHO หลังการทดสอบอยู่นานถึง 4 ปี และองค์การอนามัยโลกก็ไม่อนุมัติให้ยา GPO-vir เข้าสู่ระบบ pre-qualification program ด้วย

นอกจากนี้ในการประชุม Thailand’s 10th National Seminar on AIDS ซึ่งจัดในกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “Thailand: HIV Drugs Losing their power”, CDC HIV/Hepatitis/STD/TB Prevention News Update, 2005. อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดีได้นำเสนอรายงานการศึกษาผู้ป่วย 300 รายที่ได้รับยาต้านเอดส์ที่ผลิตโดยองค์การเภสัชไว้ว่า 49 % ของผู้ป่วยดื้อต่อยา lamivudine, 39.6 % ดื้อต่อ stavudine และ 58 % ดื้อต่อ nevirapine การดื้อต่อยานี้ทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาที่มีราคาสูงขึ้นถึงเดือนละหมื่นบาท จากที่ใช้ขององค์การฯ เพียงเดือนละพันบาท ซ้ำร้ายการดื้อต่อยานี้ทำให้เชื้อในผู้ป่วยรายใหม่ดื้อต่อยา ARV ธรรมดาด้วย จึงทำให้ผู้ป่วยใหม่จำเป็นต้องเริ่มต้นรักษาด้วยยาราคาแพงตั้งแต่แรก

นอกจากนี้ การศึกษา Prevalence of antiretroviral drug resistance in treated HIV-1 infected patients: under the initiative of access to the NNRTI-based regimen in Thailand. จาก Department of Pathobiology โดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตีพิมพ์ใน J Chemother. 2007 Oct; 19(5):528-35. ยังพบว่า The frequency of antiretroviral drug resistance in treatment-failure HIV-1 infected patients has significantly increased over time from 68.5 % (382/558) during 2000-2002 to 74.9 % (613/818) during 2003-2004 (P<0.01). Resistance to NNRTI during 2003-2004 (59.2 %) was much higher than that during 2000-2002 (36.9 %; P<0.001). We showed that this correlated with an increase in the NNRTI-based regimen prescribed during 2003-2004, especially the Thai-produced combination pill, GPO-VIR. Our finding also showed that a high level of genotypic drug resistance is associated with GPO-VIR (40.8 % lamivudine, 40.6 % stavudine, 43.8 % nevirapine)

แปลได้ว่า การดื้อยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้น จาก 68.5 % ในระหว่างปี 2000-2002 เป็น 74.9 % ในระหว่างปี 2003-2004 การดื้อต่อ NNRTI ระหว่างปี 2003-2004 (59.2 %) สูงกว่าระหว่างปี 2000-2002 (36.9 %) การศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ของการดื้อยาที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากยาชุดที่มี NNRTI ซึ่งใช้ในระหว่างปี 2003-2004 จากองค์การเภสัชกรรม โดยเฉพาะยาชุดผสมที่เรียกว่า GPO-vir ซึ่งระดับการดื้อยาในชุดนี้สูงถึง 40.8-43.8 % เลยทีเดียว

เมื่อยาไม่เหมือนสินค้าโภคภัณฑ์ธรรมดาที่ใคร ๆ ก็ผลิตได้ การได้ยาที่มีราคาถูก แต่ใช้ไม่ได้ผล ไม่เพียงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายจากโรค ซ้ำยังอาจทำร้ายคนในครอบครัว และคนอื่น ๆ ด้วยจากการที่พวกเขาสามารถติดเชื้อที่ดื้อยาจนไม่สามารถที่จะรักษาได้อีกเลย

22 กันยายน 2011
‘หมอไท ทำดี’
....................................................................................
มาตรฐานโรงงานมิใช่มาตรฐานผลิตภัณฑ์(ยา)

จาก “คำถามเรื่องมาตรฐานยาที่องค์การเภสัชกรรมต้องตอบ” ตามมาด้วยคำถามอื่นๆ ที่ต้องอธิบาย “มาตรฐานโรงงานมิใช่มาตรฐานผลิตภัณฑ์”

Good Manufacturing Practice (GMP) หมายถึงหลักเกณฑ์หรือระบบที่ถูกนำมาปรับใช้ในการผลิตอาหารและสินค้าเวชภัณฑ์ อันประกอบไปด้วย การควบคุมคุณภาพ ระบบควบคุมการผลิตและการทดสอบเวชภัณฑ์หรือยา หรือส่วนประกอบของยา ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการวินิจฉัย และเครื่องมือทางการแพทย์

หลักการเบื้องต้นของ GMP คือ

    ขบวนการผลิตต้องชัดเจนและถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อค้ำประกันความสม่ำเสมอของการผลิต
    ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติจะต้องถูกกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรที่ปราศจากความคลุมเครือ
    ผู้ปฏิบัติการจะต้องได้รับการฝึกฝนให้ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ถูกเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัด
    การผลิตทุกครั้งต้องมีการบันทึกข้อมูลทุกขั้นตอน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปริมาณตามที่คาดหมาย
    หากผลลัพธ์แตกต่างจากที่คาดหมาย ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและบันทึกอย่างเป็นระบบ
    ใบบันทึกจากโรงงานในการผลิตทุกครั้งจะต้องถูกเก็บอย่างมีระบบ เข้าใจง่ายและตรวจสอบย้อนหลังได้โดยง่าย
    ระบบกระจายสินค้าต้องสั้นที่สุดเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์
    ระบบบันทึกการกระจายสินค้าต้องสามารถทำให้การเรียกคืนสินค้าเป็นไปได้โดยง่ายและรวดเร็ว
    ระบบตอบข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้า และการตรวจสอบสินค้าที่มีตำหนิ ต้องเหมาะสมและรวดเร็ว

แม้ว่า GMP จะเป็นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติ และพิสูจน์จากกลุ่มนักวิชาการทั่วโลกแล้วว่าสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย เป็นที่เชื่อถือยอมรับจากผู้บริโภค แต่ GMP ที่แต่ละบริษัทยึดถือไว้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ขบวนการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผลสูงสุดก็ยังคงมีระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน เช่น ตามมาตรฐานของคณะกรรมการองค์การอาหารและยา (อย), FDA USA, WHO จึงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากโรงงานที่ยึดมาตรฐานต่างกันมีคุณภาพที่ไม่เท่าเทียมกัน

อินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่ผลิตยาเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ และยาจากอินเดียก็กำลังขายอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ข้อมูลจากรายงาน Drug Registration: a necessary but not sufficient condition for good quality drugs – a preliminary analysis of 12 countries โดย Africa Fighting Malaria Working Paper เผยแพร่เมื่อ 1 ตุลาคม 2010 พบว่า ในแต่ละรัฐของอินเดียมีข้อกำหนด GMP ที่เป็นของตัวเองโดย The Mashelkar Report (2003) พบว่า มีเพียง 7 ใน 31 รัฐเท่านั้นที่อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการในการผลิตสินค้าของบริษัทยาต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีมาตรฐาน โดยรัฐที่มีชื่อเสียงดีที่สุดก็คือ Maharastra และ Andra Pradesh

การที่แต่ละรัฐกำหนดมาตรฐานโรงงานเองทำให้ผลิตภัณฑ์จากโรงงานในแต่ละรัฐมีความแตกต่างด้านคุณภาพอย่างมาก เช่นในปี 2008 องค์กรที่กำกับดูแลอาหารและยาของรัฐ Maharastra ซึ่งเป็นรัฐที่มีระบบการผลิตดีที่สุดได้สุ่มตัวอย่างยา 547 ตัวอย่างพบว่า 421 ตัวอย่างเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากรัฐ Himachal Pradesh, Karnataka และ Andhra Pradesh ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายาที่ขายในอินเดียในแต่ละรัฐก็มีการข้ามรัฐไปมา ส่วน Central Drugs Standard Control Organization (CDSCO) ที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางผู้ให้ทะเบียนผลิตภัณฑ์ก็ไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ครอบคลุมทุกรัฐอันเป็นผลมาจากการขาดกำลังคน

นอกจากอินเดียแล้ว ปัจจุบันจีนยังเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เป็นผู้ส่งออกยาเลียนแบบไปทั่วโลก จีนเป็นประเทศที่มีปัญหาเรื่องการรับรองคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพมาก ทั้งนี้เพราะพวกเขามีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผลิตภัณฑ์จำนวนน้อย ซ้ำยังยอมรับการคอร์รัปชั่นเพื่อออกใบอนุญาตด้วย ข้อมูลจาก China Daily เรื่อง Regulators struggle to tame fake medicine market ตีพิมพ์ 25 พฤษภาคม 2009 รายงานว่า ข้อมูลจาก State Food and Drug Administration (SFDA) ในปี 2007 พวกเขาพบยาที่จับกุมยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนได้มากถึง 329,613 ราย สินค้าพวกนี้ถูกผลิตตามบ้าน ส่วนข้อมูลจากรายงานดังอ้างถึงข้างต้นของ Africa Fighting Malaria พบว่า ในปี 2010 ทางการจีนห้ามบริษัทผลิตวัตถุดิบด้านยา 10 แห่งส่งออกวัตถุดิบด้านยาไปขายให้อินเดีย

คุณภาพของยาเลียนแบบในประเทศไทย ไม่เพียงอาจเป็นผลมาจากวัตถุดิบที่มีปัญหาจากอินเดียและจีนตามข้อมูลข้างต้นเท่านั้น ยังอาจมีปัญหาจากข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนยาที่อนุญาตให้ยาซึ่งขึ้นทะเบียนยาแล้วสามารถขายได้ตลอดไป โดยไม่จำเป็นจะต้องทำการขึ้นทะเบียนใหม่อีกเลยเหมือนอย่างประเทศอื่น ๆ ข้อมูลชี้ว่ายาถึง 230 ตำรับที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วเมื่อ 26 ปีก่อนยังคงขายอยู่ในประเทศไทย

จริงอยู่ กฎหมายไทยได้กำหนดให้ยาเลียนแบบที่ขึ้นทะเบียนในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมาจำเป็นต้องมีการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence Study) ซึ่งหมายถึงการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล (Comparative bioavailability) อัตราการดูดซึม (Rate) และปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด (Extent) ระหว่างผลิตภัณฑ์ยาทดสอบ (Test products) และผลิตภัณฑ์ยาอ้างอิง (Reference products) อันเท่าเป็นการรับรองว่ายาเลียนแบบนี้ให้ผลการรักษาเหมือนกับยาต้นแบบทุกประการก่อนขึ้นทะเบียน

ถึงกระนั้นก็ตาม องค์การเภสัชกรรมก็ยังได้รับสิทธิยกเว้นไม่จำเป็นต้องทำการศึกษา BE ส่งผลให้ยาจากองค์การฯ ที่ขายอยู่ในปัจจุบันหลายตัวโดยเฉพาะยาใหม่ ๆ ที่เพิ่งผลิตออกมาขาย 3-4 ปีนี้ เช่น Clindamycin (ยาปฏิชีวนะ), Sertaline (ยารักษาอาการซึมเศร้า), Glimepiride (ยาลดระดับน้ำตาลใช้รักษาโรคเบาหวาน) ล้วนยังไม่มีผลการศึกษา BE มานำเสนอเพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับแพทย์และคนไข้ในโรงพยาบาลของรัฐที่ถูกบังคับให้ใช้ยาเหล่านี้ตามข้อกำหนดของสถานพยาบาลของรัฐเลย

การที่โรงงานผลิตได้มาตรฐาน GMP มิได้หมายความว่าสินค้าที่ถูกผลิตจะเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานหรือเป็นยาจริง ๆ ยิ่งมาตรฐานการผลิตที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานกันเองด้วยแล้ว หรือในประเทศเดียวกันด้วยแล้ว โอกาสที่สินค้าจะไม่ได้มาตรฐานยิ่งมีมากขึ้น นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้นานาชาติถือเอา Bioequivalence Study (BE) ซึ่งเป็นตัววัดประสิทธิผลกับยาต้นแบบและระบบมาตรฐาน GMP ของ WHO เป็นหลักในการสื่อสารระหว่างกันในเรื่องของยาเลียนแบบเพื่อเป็นการค้ำประกันกับประชาคมโลกว่า สินค้านี้คือยาเลียนแบบที่มีคุณสมบัติเดียวกันกับยาต้นแบบซึ่งสามารถจะรักษาโรคให้หายขาดได้จริง ๆ มิเช่นนั้นแล้ว มันก็คือแป้งที่มีราคาแพงราวทองเลยทีเดียว

4 ตุลาคม 2011
‘หมอไท ทำดี’

thaipublica.org

6923

จากประเด็นปัญหาการบริหารจัดการของสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้การให้บริการด้านสุขภาพและหน่วยบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีปัญหาขาดทุนจำนวนมาก ต่อเรื่องนี้สำนักข่าวไทยพับลิก้าได้สอบถามกับ นายวิทยา แก้วภราดัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในช่วงปี พ.ศ.2552 และเคยเป็นประธานคณะกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถึงการบริหารจัดการของสปสช.ในฐานะประธานว่า สปสช. เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาทำหน้าที่เป็นเหมือนบริษัทประกัน รับเงินจากรัฐบาลไปประกันสุขภาพประชาชน 48 ล้านคน ที่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่ใช่แรงงาน โดยจ่ายให้คนเจ็บป่วยเป็นรายหัว ซึ่งสปสช.เป็นผู้บริหารเงินจ่ายแทนคน 48 ล้านคน

“ปัญหาของสปสช. ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคณะกรรมการบริหารมีความเป็นอิสระสูงมาก จนยากที่จะตรวจสอบ แม้ตำแหน่งรัฐมนตรีเมื่อเข้าไปอยู่ในวงล้อมของบอร์ดสปสช. ก็อาจตกอยู่ในที่นั่งลำบาก ผมไปนั่งในที่ประชุมสปสช. ผมคือรัฐมนตรี แล้วมีปลัดหนึ่งคน ที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง นั่งข้างผม นอกจากนั้นเป็นตัวแทนจากกลุ่มองค์กรต่างๆ และกลุ่มเอ็นจีโอซึ่งเขามาอยู่ก่อนผมนานมาก ผมเหมือนไปอยู่กลางวงล้อม เราก็ไม่ใช่หมอด้วย มาพูดภาษายาทีละตัว เราเป็นรัฐมนตรีก็มึนตึ๊บ เพราะโดยโครงสร้างรัฐมนตรีเป็นแค่ตัวกลางระหว่างองค์กรนี้กับรัฐบาล สปสช.มีความเป็นอิสระในการบริหารสูง ผมเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ลงไปในรายละเอียดเรื่องงบประมาณรู้แค่ว่างบแบ่งเป็นกี่หมวด ส่วนเรื่องบริหาร คณะกรรมการสปสช.เป็นคนจัดการ”

นายวิทยากล่าวว่าแม้จะไม่ได้เข้าใจภาษาหมอไปทั้งหมด แต่บางครั้งรัฐมนตรีที่ไม่ใช่หมอก็จำเป็นที่จะต้องคัดค้านคนเป็นหมอบ้าง”ช่วงที่ผมเป็นประธานมีเรื่องเดียวที่ผมเถียงเรื่องที่เขาขอปรับค่าบริหารจัดการขึ้นให้ได้ 3 % ของงบรวมที่ได้รับ ปีแรกเป็น 800 ล้านบาท ปีต่อมาเขาบอก 1,800 ล้านบาท ผมก็ถามว่าทำไมมันเพิ่มเยอะแบบนั้น ค่าบริหารองค์กรทำไมแพงเอาแค่จำเป็นก็พอ 800 ล้านบาท ขยับขึ้นเป็น 900 ล้านบาท เอาพอสมควร เราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเยอะขนาดนั้น แต่เขาก็พยายามอธิบายว่ามาตรฐาน 3 % มันเป็นหลักการบริหารองค์กรทั่วไป มาตรฐานสากลซึ่งผมไม่เห็นด้วย อันนี้เป็นการแย้ง ส่วนในรายละเอียดอื่นๆ ผมก็อยากให้เขาทำเต็มที่ เพราะงบประมาณเข้ามาเท่าไรเอาไปให้ประชาชน แต่การบริหารเงินไปสู่ประชาชนเป็นอำนาจของเขาหมด รัฐมนตรีไม่ได้เกี่ยว ถ้าหากจะให้ สปสช. มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแรกที่ควรจะเข้าไปดูคือ บอร์ดหรือคณะกรรมการสปสช.ทั้งหมด”

“ผมเข้าใจว่าต้องปรับระบบคณะกรรมการทั้งหมด และต้องมีการรายงานการใช้จ่ายเงินต่อองค์กรใดองค์กรหนึ่งซึ่งไม่ใช่องค์กรที่เป็นเครือข่าย วันนี้ สปสช. กลายเป็นสมาคม “ส” ไม่รู้กี่ “ส” เวียนกันเป็นกรรมการไปหมด โยกไปโยกมาจนผมมึนไปหมด ว่าไปที่นี่ก็เจอคนนี้มาที่นี่ก็เจอคนเดิม เราดูแล 4-5 “ส” ก็เสียวไปหมดมันมาชุดเดียวกันหมดทุก ส.” นายวิทยากล่าว

นายวิทยากล่าวต่อไปว่า”หากถามว่ากระบวนการคัดเลือกเพื่อเข้าสู่การเป็นคณะกรรมการควรจะทำอย่างไร ต้องยึดโยงจากประชาชนหรือไม่ โดยกฎหมายกำหนดให้มีตัวแทนจากองค์ภาคเอกชน นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งอนุกรรมการชุดต่างๆมากขึ้นกว่าเดิม ควรมีการตรวจสอบว่าเงินที่ใช้จ่ายเป็นอย่างไร สภาผู้แทนราษฎรจัดเงินให้ไปแต่ไม่ไปตรวจสอบ แต่ละปีๆ เป็นเท่าไร เพราะเป็นการเหมาจ่ายให้สปสช. เหลือแล้วไม่เคยคืน มีเพียงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง.) ที่ตรวจสอบ ซึ่งเป็นการรายงานสภาเพื่อทราบ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลยเมื่อเห็นความผิดปกติ ปัญหาจริงๆ เป็นเพราะนักการเมืองกับข้าราชการกลัวเอ็นจีโอเพราะเขามีเครือข่าย อย่าขัดใจเขา”

ส่วนประเด็นงบประมาณที่บริหารงานจนโรงพยาบาลรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขหลายแห่งประสบภาวะขาดทุน และมีหนี้เพิ่มขึ้น นายวิทยาให้ความเห็นว่า “ผมว่าต้องทบทวนการใช้เงินกองทุนสปสช. ว่าเราใช้เงินได้ตามเป้าประสงค์หรือเปล่า ต้องตีแผ่เงินของสปสช. ว่ามีเท่าไร จ่ายยังไงไม่เพียงพอ ซึ่งรัฐบาลปล่อยให้โรงพยาบาลรัฐเจ๊งไม่ได้หรอก เพราะเขาไม่ได้ทำธุรกิจ เราให้เขารักษาฟรี ส่วนเงินบำรุงโรงพยาบาลที่เอาไปจ้างพนักงาน ไปจ้างแพทย์ พยาบาลที่ยังไม่ได้บรรจุ ก็ใช้เงินบำรุงไป ดังนั้นต้องดูว่าเงินที่สปสช.ดูแลมันอยู่ตรงไหน ถ้าไม่พอขอรัฐบาลเพิ่ม สิ้นปีเหลือเงินเท่าไหร่ มีการใช้จ่ายอะไรที่ผิดปกติมากไปไหม เบี้ยประชุมแพงไปไหม ก็ต้องตรวจสอบได้”

นายวิทยายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า”บริการสาธารณสุขของไทยมีปัญหามากตอนนี้ เพราะระบบโรงพยาบาลมีปัญหา ทั้งโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ แออัดยัดเยียด โรงพยาบาลอำเภอเริ่มง่อยเปลี้ยเพราะแพทย์ไม่กล้ารักษาผู้ป่วย กลัวโดนฟ้อง ใช้วิธีส่งต่อไปยังโรงพยาบาลใหญ่ ผมคิดว่าต้องพัฒนาโรงพยาบาลหลักให้รับมือได้ โรงพยาบาลจังหวัดทั่วประเทศปัจจุบันคนไข้ล้น ขณะที่โรงพยาบาลอำเภอ 800 โรง ผมเข้าใจว่าล้นสัก 200 อีก 600 ว่างเตียงไม่เต็ม และบางจังหวัดที่ไม่ได้งบลงทุนไปนานๆ คนไข้ก็ล้น เช่นมี 100 เตียง แต่มีผู้ป่วยนอนรักษา 140 คน ผมคิดว่าต้องปรับโรงพยาบาลพวกนี้ให้รับมือให้ได้”

อนึ่งนายวิทยารับตำแหน่งรัฐมนตรี่ว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ 1 ปี 10 วัน และได้ลาออกจากตำแหน่งกรณีมีข่าวการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข โดยผลการสอบสวนชี้ว่านายวิทยามีข้อบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งส่อไปในทางทุจริต นายวิทยาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง

    อำนาจเลขาธิการสปสช.อนุมัติครั้งละ 1,000 ล้านบาท

    สำหรับข้อมูลของสปสช.นั้นในสมัยที่นายมงคล ณ สงขลา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ออกประกาศให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)มีอำนาจอนุมัติการจัดหาพัสดุตามโครงการพิเศษที่คณะกรรมการเห็นชอบ เช่น การจัดหายาต้านไวรัสเอดส์ จากองค์การเภสัชกรรมการ ครั้งหนึ่งในวงเงินไม่เกิน 1,000 ล้านบาท โดยประกาศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2550

    ประกาศดังกล่าวเป็นแก้ไขข้อบังคับของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ทำได้โดยคณะกรรมการสปสช. ซึ่งมีอำนาจแก้ไขได้ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 ตามมาตรา 18 (6) โดยคณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการรักษาเงินกองทุน รวมทั้งการจัดการผลประโยชน์ตามมาตรา 40

    แหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลว่าในระเบียบเดิมนั้นเลขาธิการสปสช. มีอำนาจอนุมัติเงินครั้งหนึ่งในวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท และประธานกรรมการครั้งหนึ่งในวงเงิน 100 ล้านบาท เมื่อนายมงคลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีนายไพจิตร ปวะบุตร เป็นเลขาธิการสปสช. และมีกรรมการอื่นๆ อาทิ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน เป็นกรรมการ และเป็นประธานอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์ ได้เสนอให้มีการแก้ไขข้อบังคับดังกล่าว

    “การแก้ไขกฏระเบียบเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ลองคิดดูว่าเลขาธิการสปสช.มีอำนาจมาก สามารถเซ็นต์อนุมัติได้ถึง 1,000 ล้านบาทในแต่ละครั้ง มีอำนาจมากกว่านายกรัฐมนตรีเสียอีก เป็นการอนุมัติการจัดหาพัสดุตามโครงการพิเศษที่คณะกรรมการเห็นชอบ เช่น การจัดหายาต้านไวรัสเอดส์ จากองค์การเภสัชกรรมการ ครั้งหนึ่งในวงเงินไม่เกิน 1,000 ล้านบาท เพราะในช่วงนั้นมีการผลักดันเรื่องซีแอลยาป้องกันโรคเอดส์ และนพ.วิชัย นั่งเป็นประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรมจนถึงปัจจุบันก็นั่งอยู่ และกฎหมายสปสช.ไม่ได้ให้อำนาจในการจัดซื้อเวชภัณฑ์หรือยาแต่อย่างใด ที่สำคัญสปสช.อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีสาธารณสุขเท่านั้น ไม่ต้องขึ้นกับหน่วยงานใดๆ เลย”แหล่งข่าวกล่าว

    ประกาศแก้ไขข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

    แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าแม้กฎหมายจะกำหนดให้มีการตรวจสอบการบริหารเงินและการดำเนินงานของโดยให้แต่ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งตามมาตรา 21 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 แต่อนุกรรมการชุดนี้จะต้องทำตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

    นอกจากนี้สปสช.ในช่วงนั้นมีคำสั่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ 9/2550 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 11 คณะ แต่ละคณะมีกรรมการตั้งแต่ 9 –22 คน การประชุมแต่ละครั้งจ่ายเบี้ยประชุม 12,000 – 15,000 บาท/คน/ครั้ง ประชุมเดือนละครั้ง ซึ่งกรรมการทั้ง 11 ชุดนี้ จะเป็นกรรมการไขว้กันไปมา อย่าง คณะอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์ มีนพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธาน มีศ.(พิเศษ)ไพจิตร ปวะบุตร เป็นรองประธาน ขณะที่คณะอนุกรรมการงบลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีศ.(พิเศษ)ไพจิตร ปวะบุตรเป็นประธาน มีนพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นรองประธาน เป็นต้น“

    แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าคณะอนุกรรมการที่มีบทบาทสำคัญคือคณะอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์ มีนพ.วิชัย โชควิฒนเป็นประธาน มีหน้าที่ พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะนำเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, กำกับติดตามการบริหารงานและส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งอนุมัติกรอบและแผนการพัฒนาโครงสร้างระบบงานและอัตรากำลังของสปสช., แต่งตั้งคณะทำงานที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น และปฏิบัติภารกิจอื่นๆตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมอบหมาย

    นอกจากนี้ในปี 2552 คณะกรรมการสปสช.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาในการเข้าถึงของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อาศัยอำนาจมาตรา 20 ให้มีหน้าที่ 1.พัฒนาแนวทางและกลไกการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาการเข้าถึงของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2.ดำเนิกนารคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นตามข้อ 1 และเสนอให้กระทรวงทรวงหรือกรมที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเพื่อแก้ปัยหาในการเข้าถึงของประชาชน

    “เลขาธิการสปสช.มีอำนาจมากในการอนุมัติเงินตามที่บอร์ดสปสช.เสนอ ซึ่งสูงกว่านักการเมืองมาก อย่าง นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมต.คลัง ได้มีคำสั่ง 1050/2554 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 ให้นายบุญช่วย เตริยาภิรมย์ รมช.คลังสั่งและปฏิบัติราชการแทนรมต.คลัง โดยอนุมัติการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีการพิเศษในวงเงิน 250 ล้านบาท และการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างนอกจากวิธีพิเศษและวิธีการพิเศษ ครั้งหนึ่งวงเงิน 500 ล้านบาท โดยอาศัยอำนาจพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน สำหรับส่วนราชการในสังกัดได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และรัฐวิสาหกิจในสังกัด ได้แก่โรงงานยาสูบ โรงงานไพ่ องค์การสุรา ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย”

    แหล่งข่าวได้ตั้งข้อสังเกตว่าพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้อำนาจกับคณะกรรมการมากมาย โดยระบุว่าให้เป็นไปตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ วิธีการที่คณะกรรมการกำหนด อาทิ มาตรา 6,7,8,17,21,37,40,41

    นอกจากนี้ในเรื่่องผลตอบแทนเจ้าหน้าที่มีโบนัสทุกปี และเลขาธิการเงินเดือน 300,000 บาท ส่วนผู้อำนวยการสำนักงานเขต เงินเดือน 150,000 บาท รวมทั้งมีการใช้งบประชาสัมพันธ์ค่อนข้างมาก

    สำหรับคณะกรรมการสปสช.ประกอบด้วย

    1.รัฐมนตรี่ว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ

    2.ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ

    3.ผู้แทนเทศบาลหนึ่งคน องค์การบริการส่วนจังหวัดหนึ่งคน องค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งคน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นหนึ่งคน โดยให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทคัดเลือกกันเอง

    4.ผู้แทนองค์กรเอกชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกำไรและดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้องค์กรละหนึ่งคน โดยคัดเลือกกันเองในแต่ละกลุ่มให้เหลือกลุ่มละหนึ่งคน และให้ผู้แทนดังกล่าวเลือกกันเองให้เหลือจำนวนห้าคน และองค์กรเหล่านี้ดำเนินการกิจกรรมไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และได้มาขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานก่อนครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการคัดเลือกกรรมการ ถ้าองค์กรใดดำเนินกิจกรรมหลายกลุ่ม ให้ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สิทธิคัดเลือกกรรมการกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

    องค์กรในข้อ 4 ได้แก่ ก.งานด้านเด็กและเยาวชน ข.งานด้านสตรี ค.งานด้านผู้สูงอายุง.งานด้านคนพิการหรือผู้ป่วยจิตเวช จ.งานด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเรื้อรังอื่น ฉ.งานด้านผู้ใช้แรงงาน ช.งานด้านเกษตรกร ฌ.งานด้านชุมชนกลุ่มน้อย

    5.ผู้แทนประกอบอาชีพด้านสาธารณสุข จำนวนห้าคน ได้แก่ผู้แทนแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา และสมาคมโรงพยาบาลเอกชนด้านละหนึ่งคน

    6.ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านประกันสุขภาพ การแพทย์ และสาธารณสุข การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การเงินการคลัง กฏหมายและสังคมศาสตร์ ด้านละหนึ่งคน

    แหล่งข่าวกล่าวว่าส่วนใหญ่กรรมการที่มาประชุมเป็นประจำคือกรรมการตามข้อ4-5-6 ที่เหลือส่งตัวแทน หรือไม่ได้มาร่วมประชุมแต่อย่างใด ทั้งๆที่การบริหารงานสปสช.วงเงินเป็นแสนล้านบาทและเป็นเรื่องเฉพาะทาง พร้อมตั้งข้อสังเกตุว่ากรรมการในข้อ 4 ให้เลือกกันเอง และไม่ต้องเสนอครม.เหมือนกรรมการข้อ 6 และกฏหมายมาตรา 17 ระบุว่าให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานที่ประชุมไม่มาหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

thaipublica.org 17 ตุลาคม 2011

6924
 รพ.พระนครศรีอยุธยาเ ริ่มเปิดบริการผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ส่วนที่ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ คาด จะเริ่มเปิดรับผู้ป่วยได้ใน วันที่ 21 ตุลาคม 2554 นี้
       
       วันนี้ (19 ต.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมผู้บริหารส่วนกลาง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ผ่านระบบวิดีโอ ที่กรมการแพทย์ โดยได้ติดตามสถานการณ์ และความคืบหน้าการช่วยเหลือประชาชน ที่จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ และอุทัยธานี
       
       นายวิทยา กล่าวว่า ผลการประชุมพบว่า ทุกจังหวัดดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ 9 ข้อ อย่างน่าพอใจ ในส่วนของโรงพยาบาล (รพ.) ที่ถูกน้ำท่วม 2 แห่ง คือ รพ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับรายงานจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลว่าเจ้าหน้าที่ได้กู้โรงพยาบาลได้แล้ว ระบบไฟฟ้า น้ำประปาใช้การได้ เริ่มเปิดให้บริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉินตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยบริการที่ชั้น 2 ของอาคารผู้ป่วยนอก ซึ่งได้จัดทำสะพานไม้ เข้าออกโรงพยาบาล เนื่องจากระดับน้ำท่วมยังสูง และอีก 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ ล่าสุด เมื่อเช้าวันนี้ระดับน้ำท่วมลดลง ยังท่วมที่พื้นอาคารผู้ป่วยนอกสูงประมาณ 20 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่เร่งทำความสะอาด ตรวจสอบความพร้อมอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ต่างๆ สูบล้างบ่อน้ำใต้ดิน เพื่อเตรียมพร้อมการรับผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล คาดว่า จะพร้อมรับได้ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป ส่วนบริการผู้ป่วยนอกและฉุกเฉิน ขณะนี้ยังตั้งจุดบริการที่บริเวณสี่แยกทางไปจังหวัดพิษณุโลกมีผู้ป่วยวันละ 500-600 รายจะคงให้บริการไปจนถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2554
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า สำหรับที่จังหวัดปทุมธานีและนนทบุรี ซึ่งอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ได้กำชับให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดจัดบริการดูแลให้ทั่วถึง ทั้งผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ และผู้พิการ โดยที่จังหวัดปทุมธานี ให้แบ่งพื้นที่ดูแลออกเป็น 2 โซน คือโซนตะวันออก และโซนตะวันตก เนื่องจากพื้นที่กว้างและมีประชาชนจำนวนมาก เพื่อให้การดูแลอย่างทั่วถึง
       
       นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยในกทม.และปริมณฑล ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในกทม.สำรองเตียงว่างร้อยละ 5หรือประมาณ 1,500 เตียง และในวันนี้ได้สั่งการให้โรงพยาบาลในจังหวัดใกล้เคียงรอบรัศมีกทม. ให้สำรองเตียงว่างไว้ร้อยละ 5 ด้วย เพื่อรองรับผู้ป่วยจาก กทม.ซึ่งได้แก่ รพ.ราชบุรี, รพ.พหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี, รพ.สมุทรสาคร, รพ.สมุทรสงคราม, รพ.ระยอง, รพ.มหาราช นครราชสีมา, รพ.ฉะเชิงเทรา, รพ.นครนายก และ รพ.ชลบุรี

ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 ตุลาคม 2554

6925
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขบ่งชี้ว่า ประ​เทศ​ไทยมี​ผู้ติด​เชื้อ 600,000-700,000 ราย ​โดยอยู่​ใน กทม. 50,000-60,000 ราย ​และพบว่าร้อยละ 15 ของ​ผู้ติด​เชื้อ​ใน กทม. อายุต่ำกว่า 25 ปี นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มคนอายุน้อยกว่า 25 ปี ติด​โรคทาง​เพศสัมพันธ์​และ​การตั้งครรภ์​ไม่พร้อม ขณะ​เดียวกันบริ​การทางสุขภาพทาง​เพศของวัยรุ่น​ในกรุง​เทพฯ ยัง​ไม่​เอื้อ​ความสะดวก​ให้​แก่​ผู้รับบริ​การ ​ทั้งค่า​ใช้จ่าย ระยะทางที่ต้อง​เดินทาง ​และทัศนคติของ​ผู้​ให้บริ​การ รวม​ทั้ง​เป็นบริ​การที่​แก้ปัญหา​เฉพาะจุด ขาด​ความ​เป็น​เครือข่ายที่จะรองรับปัญหาที่ซับซ้อนของวัยรุ่น​ได้

​โครง​การ​เลิฟ​แคร์ "กล้ารัก กล้า​เช็ก" ​จึง​เกิดขึ้น​เพื่อร่วมกันจัดบริ​การด้านสุขภาพทาง​เพศที่​เป็นมิตรกับวัยรุ่น ​โดย​ให้​การตรวจรักษา​เกี่ยวกับ​โรคติดต่อทาง​เพศสัมพันธ์ ​เอดส์ ​การคุมกำ​เนิด ​และตรวจมะ​เร็งปากมดลูก ​โดย​เน้น​ให้บริ​การกับกลุ่มวัยรุ่นอายุ 12-24 ปีที่มีวิถีชีวิตที่​เสี่ยงต่อ​การ​เผชิญปัญหาด้านสุขภาพทาง​เพศ ​โรคติดต่อทาง​เพศสัมพันธ์​และ​เอดส์ ​เริ่ม​ในพื้นที่กรุง​เทพฯ ​เมื่อกลางปี 2551 ​เป็น​ความร่วมมือกับคลินิก​เอกชน

ภาย​ใต้สำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (สปสช.) ​และศูนย์บริ​การสาธารณสุข 3, 4 ​และ 9 สังกัดของสำนักอนามัย กรุง​เทพมหานคร รวม​ทั้งหมด 14 ​แห่ง ​โดยปี 2552 ​เริ่มขยายบริ​การอีก 3 จังหวัด คือ นครสวรรค์ ศรีสะ​เกษ ​และอุบลราชธานี ภาย​ใต้ชื่อคลินิกร่วมกันว่า "Love Care Stations"

สามารถ​โทร.​เข้า Call Center คุยกับ​เจ้าหน้าที่​หรืออาสาสมัคร​เลิฟ​แคร์ ​โทรศัพท์ 08-5340-0043 ตั้ง​แต่ 4 ​โมง​เย็น​ถึง​เที่ยงคืนทุกวัน.

ไทย​โพสต์  19 ตุลาคม 2554

6926
อย.​เปิด​ให้​ผู้ประกอบ​การที่ผลิตยา​และ​เวชภัณฑ์มาขออนุญาตนำ​เข้าสินค้าชนิด​เดียวกัน​ได้ หวัง​แก้ปัญหาสินค้าขาด​แคลน ​เนื่องจาก​โรงงาน​ในประ​เทศผลิต​ไม่​ได้ ​เพราะปัญหาน้ำท่วม

นพ.พิพัฒน์ ยิ่ง​เสรี ​เลขาธิ ​การคณะกรรม​การอาหาร​และยา ​เปิด​เผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรม​การอาหาร​และยา (อย.) ​เปิด​ให้​ผู้ประกอบ​การผลิตภัณฑ์อาหาร ยาบางประ​เภท ​และ​เวชภัณฑ์ต่างๆ ที่​ได้รับ​ความ​เสียหายจากสถาน​การณ์น้ำท่วมจน​ไม่สามารถ​เปิดสาย​การผลิต​ได้ ก่อ​ให้​เกิดภาวะสินค้าขาดตลาด ดังนั้น​จึงขอ​ให้​ผู้ ประกอบ​การที่​ได้รับผลกระทบดังกล่าวมายื่น​ความจำนงขออนุญาตนำ​เข้าผลิตภัณฑ์​ในประ​เภท​และชนิด​เดียวกันกับที่บริษัทผลิตอยู่​ในปัจจุบันมา​ใช้ทด​แทน ​โดยระบุรายละ​เอียดผลิตภัณฑ์ ​และประ​เทศที่จะนำ​เข้า​ให้กับ อย.​โดย​เร็ว ​เพื่อดำ​เนิน​การ​เสนอ​ให้รัฐมนตรีว่า​การกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา​ให้​ความ​เห็นชอบ​ในหลัก​การต่อ​ไป

​เลขาธิ​การ อย. กล่าวต่อ ว่า ​ทั้งนี้ ​ผู้ประกอบ​การสามารถติดต่อสอบถามข้อมูล​ได้ที่สำนักยา หมาย​เลข​โทรศัพท์ 0-2590-7439 สำนักอาหาร หมาย​เลข​โทรศัพท์ 0-2590-7442 กองควบคุม​เครื่องมือ​แพทย์ หมาย​เลข​โทรศัพท์ 0-2590-7251 กลุ่มควบคุม​เครื่องสำ อาง หมาย​เลข​โทรศัพท์ 0-2590-7441 ​และกลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย หมาย​เลข​โทรศัพท์ 0-2590-7440 ทุกวัน ​ในวัน​และ​เวลาราช​การ.

​ไทย​โพสต์  19 ตุลาคม 2554

6927
    จ.นนทบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในเขตอำเภอบางบัวทอง จ.นนทบุรี พบว่าระดับน้ำในวันนี้เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากพนังกั้นน้ำน้ำที่บริเวณวัดละหารแตก และยังมีมวลน้ำจากจังหวัดปทุมธานีไหลมาสมทบจนทำให้น้ำทะลักแนวคันกั้นน้ำชุมชนริมคลองบางบัวทองและประตูระบายน้ำคลองพระยาบรรลือเข้ามาสมทบอีก จึงทำให้ระดับน้ำที่ท่วมอยู่แล้วในวันนี้ มีปริมาณสูงขึ้นไปอีกกว่า 1.50 เมตรแล้ว
    ในเขตชุมชนบางบัวทองในวันนี้ ทำให้โรงพยาบาลชลลดา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนและตั้งอยู่ในตัวชุมชนเทศบาลเมืองบางบัวทอง ขนาด 30 เตียง ต้องเร่งอพยพผู้ป่วยที่มานอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 10 คน ออกจากโรงพยาบาลทั้งหมดอย่างเร่งด่วน โดยต้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทหาร นำรถจีเอ็มซีมาลำเลียงผู้ป่วยออกไป เนื่องจากระดับน้ำที่ท่วมสูงได้ไหลทะลักเข้าไปในโรงพยาบาลสูงกว่า 30 เซนติเมตรแล้ว ทางโรงพยาบาลจึงต้องทำการปิดระบบไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้น จึงไม่สามารถเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยได้แล้ว และเตรียมปิดโรงพยาบาลลงในวันนี้อย่างไม่มีกำหนดจนกว่าสถานการณ์น้ำจะคลี่คลาย

เนชั่นทันข่าว 19 ตค. 2554

6928
ที่บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ขณะนี้ รถแบคโฮ กำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อเร่งเสริมคันดินบริเวณด้านหน้าของโรงพยาบาล ให้มีความสูงมากกว่าถนนพหลโยธิน

     โดย นายสมศักดิ์ มั่นสกุล หัวหน้าหน่วยงานรักษาความปลอดภัย โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) กล่าวว่า วันนี้ ภารกิจสำคัญคือ การเสริมแนวคันดินรอบโรงพยาบาล และมหาวิทยาลัย ให้มีความสูง 2.50 เมตร จากพื้นผิวถนน

     ทั้งนี้ นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า แนวคันดินที่ทำ พื้นที่ฐานล่างจะมีความกว้างอยู่ที่ 2.50 เมตร ถึง 3 เมตร ส่วนด้านบนมีความกว้าง 1.20 เมตร นอกจากนี้ ในส่วนของบริเวณทางเข้าออกของโรงพยาบาล ก็ได้มีการก่ออิฐเสริมขึ้นมา เพื่อป้องกันน้ำที่อาจจะเข้ามาได้ แต่เปิดไว้เฉพาะทางฉุกเฉินเท่านั้น

แนวหน้า 19/10/2011

6929
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลาประมาณ 20.30 น.วันนี้(18 ต.ค.) บริเวณด้านหน้าทางเข้านิคมอุตสาหกรรมนวนคร อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ในขณะนี้ได้มีระดับน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมจนถึงพื้นผิวการจราจรด้านนอกแล้ว ขณะที่พื้นที่บริเวณโดยรอบนั้นค่อนข้างมืด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้ตัดไฟทั้งหมด ซึ่งเกิดความโกลาหลขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้ประกาศให้ประชาชนออกจากพื้นที่ ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งที่กลับจากการทำงานนอกพื้นที่ไม่สามารถเข้าไปเก็บสัมภาระด้านในได้ จำเป็นต้องเดินฝ่าความมืดออกมาเพื่อเตรียมเดินทางต่อไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวตามจุดต่างๆ

          ขณะที่ น.พ.ธีรวุฒิ กวีธนมณี ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโรงพยาบาลนวนคร จ.ปทุมธานี เปิดเผย ว่า ขณะนี้ได้สั่งปิดโรงพยาบาลนวนครแล้ว พร้อมทั้งเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ติดค้างอยู่อีกกว่า 10 คน ไปยังที่โรงพยาบาลนวนคร 2 อยุธยา เนื่องจากน้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่บริเวณชั้น 1 ของโรงพยาบาล ส่งผลให้เครื่องปั่นไฟภายในนั้นไม่สามารถใช้การได้

แนวหน้า 18/10/2011

6930
นอกจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ กรมอุตุวิทยา แจ้งเตือนว่าฤดูหนาวในปีนี้กำลังจะเริ่มแล้ว ในช่วงกลางเดือน ต.ค. - เดือนก.พ.55 และจะมีอากาศหนาวเย็นกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้เราต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมสู้โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะโรคหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ พร้อมทั้งศึกษาวิธีดูแลรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง และคนในครอบครัวได้ด้วยสมุนไพรไทย
       
       ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร จากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระอภัยภูเบศร กล่าวว่า ทั้งจากอุทกภัยน้ำท่วมและอากาศที่เริ่มเย็นลงในช่วงนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง โดยให้สังเกต อาการที่เกิดกับร่างกาย โรคหวัด จะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ไอ จาม น้ำมูกไหล อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย เบื่ออาหาร หรือ มีไข้ร่วมด้วย เราสามารถใช้สมุนไพรไทยที่หาง่ายใกล้ตัว ดังนี้ ฟ้าทะลายโจร โดยตำรับยาไทย มีขนาด และวิธีการใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อการรักษา 4 วิธี คือ ยาชง ใช้ใบ 5-7 ใบ จะเป็นใบสดหรือแห้งก็ได้ แต่ใบสดจะมีสรรพคุณดีกว่า เติมน้ำเดือดลงไปจนเกือบเต็มแก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงหรือพอให้ยาอุ่นแล้วรินน้ำกิน ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร
       
       ยาต้ม ใช้ฟ้าทะลายโจรทั้งต้นและใบจำนวน 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3-4 แก้ว ให้เดือดนาน 10-15 นาที ถ้าต้มให้เดือดไม่นานพอ ยาจะมีกลิ่นเหม็นเขียว กินยาก ควรกินยาในขณะที่น้ำยาอุ่น กินครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร สามารถกลบรสขมได้ด้วยการกินของรสเปรี้ยว เค็มตาม
       
       ยาเม็ด นำมาทำเป็นยาเม็ดได้ด้วยการเด็ดใบสดมาล้างให้สะอาด ตากแดด 1-2 วัน จนใบแห้งกรอบสีเขียวเข้ม บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นกินขณะที่ยังเปียกอยู่จะขมมาก กินครั้งละ 5-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร
       
       ยาแคปซูล ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากเนื่องจากสะดวก ด้วยการเอาผงยาที่ได้เหมือนยาเม็ดมาปั้นเล็กๆ ใส่แคปซูลเพื่อช่วยกันรสขมของยา แคปซูลที่ใช้ ให้ใช้ขนาดเบอร์ ๐ หรือประมาณ 400-500 มิลลิกรัมของผงแห้ง กินครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร

       การใช้ฟ้าทะลายโจรที่ให้ผลดีและออกฤทธิ์ได้เร็วที่สุดในการแก้ไข้หวัดคือถ้าเริ่มรู้สึกว่าครั่นเนื้อครั่นตัวทำท่าว่าจะเป็นไข้ ให้รีบรับประทานทันที
       
       ฟ้าทะลายโจรนอกจากจะมีสรรพคุณในการลดไข้ แก้หวัดแล้ว ยังเป็นสมุนไพรที่สามารถรักษาอาการท้องเสียโดยไม่ทำให้หยุดถ่ายทันทีได้ วิธีใช้คือเมื่อเริ่มมีอาการให้รีบผสมผงเกลือแร่ดื่มทันทีไม่ควรรับประทานยาแก้ท้องเสียหรือยาปฏิชีวนะ แล้วใช้ฟ้าทะลายโจรขนาด 2 กรัมต่อวันแบ่งให้ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน ฟ้าทะลายโจรจะทำให้การขับถ่ายเป็นปกติและมีประสิทธิภาพในการรักษาดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ ยกเว้น ในรายที่ติดเชื้ออหิวาตกโรค ควรนำส่งโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลโดยด่วน
       
       ขิง สมุนไพรในครัว ก็นำมาใช้แก้หวัดได้ เราสามารถทำน้ำขิง พิชิตหวัด และแก้ไอ ตามตำรายาพื้นบ้านไทย ได้ไม่ยากนัก ด้วยการใช้ขิงแก่สดล้างสะอาดทุบให้พอบุบ โดยไม่ต้องขูดเปลือกทิ้ง ประมาณ 1 ถ้วย น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำสะอาด 3 ลิตร ต้มให้เดือดแล้วลดไฟลง เคี่ยวด้วยไฟอ่อนไปเรื่อยๆ จนน้ำขิงกลายเป็นสีเหลือง เติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งตามใจชอบ เพียงเท่านี้เราก็จะได้เครื่องดื่มที่มีสรรพคุณต้านหวัดได้
       
       กระเทียม สมุนไพร สารพัดประโยชน์ คู่ครัวไทยอีกหนึ่งตัว เพียงรับประทานกระเทียมสดเป็นประจำสามารถป้องกันหวัดและลดระยะเวลาการเป็นหวัดได้ ในฤดูกาลที่มีการระบาดของหวัดควรรับประทานกระเทียมในรูปแบบต่างๆเป็นประจำ กระเทียมช่วยทำให้การหายใจโล่งขึ้นอีกด้วย
       
       ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ยังแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคหวัดอย่างง่ายๆ ด้วยการทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ใช้ผ้าปิดปากเวลาไอจาม ล้างมือให้สะอาด ใช้ช้อนกลาง รวมทั้ง พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานเครื่องเทศที่มีรสเผ็ดร้อน สมุนไพรที่มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อย่าง ตระไคร้ กระเพรา บัวบก พลูคาว หรือ หอมแดง หอมใหญ่ ผักชีฝรั่ง ใบหม่อน และใบฝรั่ง ที่อุดมด้วยสาร Queritin รวมทั้งผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงๆ อย่าง มะขามป้อม มะนาว ส้ม ผลยอ หรือ ผลไม้ที่มีสีแดง เป็นสมุนไพรที่ควรจะนำมารับประทานเป็นประจำในช่วงนี้ และ ดื่มน้ำอุ่นมากๆ นอกจากนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการได้รับแสงแดดบ้างจะช่วยเพิ่มวิตามินดี ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันดีขึ้น

       นอกจากนี้ยังมีการใช้สมุนไพรทาภายนอก หากถูกแมลงสัตว์กัดต่อย มีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณถูกกัดต่อย ควรรีบทำความสะอาด และใช้สำลีหรือผ้าก๊อซชุบน้ำสมุนไพรที่มีความเป็นกรด เช่น น้ำมะนาว น้ำส้ม มะขามเปียกโปะไว้ หรือ นำส่วนที่ถูกกัดจุ่มไว้จนกว่าจะหายปวด ซึ่งพิษของสัตว์มีพิษทุกชนิดเป็นสารพวกโปรตีนจึงถูกทำลายได้ด้วยสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งในสมัยก่อนนิยมใช้เขาสัตว์ ขนเม่น เปลือกหอย หรืออะไรที่มีแคลเซียมฝนกับน้ำมะนาว ทาบ่อยๆ หรือใช้ มะขามเปียกผสมปูนแดงเล็กน้อย ทาแปะไว้ ซึ่งหลังถูกกัดต่อยควรรีบทำทันทีก่อนที่พิษจะก่อให้เกิดการอักเสบมากขึ้น หรืออาจใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบตำพอก เช่น ใบเสลดพังพอนทั้งตัวเมียและตัวผู้ ใบตำลึง ใบรางจืด ตำหรือปั่นให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยพอกไว้ หรือ สามารถใช้ใบรางจืดประมาณ 7-10 ใบต้มน้ำกิน แต่ถ้ามีอาการมากควรใช้การตำหรือปั่นใส่น้ำซาวข้าวกินด้วย เพื่อลดความรุนแรง
       
       สมุนไพรจำพวก ตะไคร้หอม ใบกระเพรา ใบเสลดพังพอนตัวผู้หรือตัวเมีย ตำ คั้นน้ำ หรือ นำไปตากในที่ร่มแล้วบดเป็นผง นำมาทาตัวเพื่อป้องกันยุงกัดได้ ยุง เป็นสัตว์พาหะที่มักจะมาพร้อมกับน้ำท่วมขัง หากยุงกัดเป็นตุ่ม บวม แดง ให้ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบทาบริเวณที่เป็น ที่นิยมคือ ปูนแดง ซึ่งได้จากปูนขาวผสมกับขมิ้น หรืออาจใช้ผงขมิ้นละลายน้ำ ขมิ้นเป็นสีย้อมอาจทำให้เลอะเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าได้ เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้ภูมิปัญญาไทยดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวเบื้องต้นได้
       
       หากต้องการสอบถามเรื่องการใช้สมุนไพรเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร 037-211-288-9 ทุกวันในเวลาราชการ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 ตุลาคม 2554

หน้า: 1 ... 460 461 [462] 463 464 ... 535