ผู้เขียน หัวข้อ: “เบี้ยประชุม”คณะอนุกรรมการ กสทช. ครั้งละหมื่นห้า  (อ่าน 1003 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
พลิกระเบียบ กสทช.ดูค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ รับเบี้ยประชุมครั้งละหมื่นห้าเทียบองค์กรอิสระ ป.ป.ช.-ศาลรัฐธรรมนูญ-กกต. 


ค่าตอบแทนรายเดือนของคณะกรรมการ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (ซุปเปอร์บอร์ด) ของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ประกาศใหม่ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.57 ประธานกรรมการได้รับเดือนละ 225,000 บาท กรรมการได้รับค่าตอบแทนรายเดือนในอัตราเดือนละ 180,000 บาท เพิ่มขึ้น 87.5% จากเดิมประธานรับ 105,000 บาท กรรมการเพิ่มขึ้น 80% จากเดิมรับ 80,000 บาท

เลขาธิการ กสทชได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 300,000 บาท และมีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนประจำปีในอัตราไม่เกินร้อยละสิบของค่าตอบแทนคงที่ที่เลขาธิการได้รับ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผลการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินของคณะกรรมการ

(อ่านประกอบ:“เงินเดือน-ค่าตอบแทนพิเศษ”ผู้บริหาร-ขรก. 5 องค์กรอิสระ เทียบ กสทช.)

ค่าตอบแทนของคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน กสทช. เป็นอย่าง?

พลิกระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการประชุม ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานพ.ศ. 2554 ในข้อ 14 กำหนดให้อนุกรรมการและผู้ทำงานให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุม ดังนี้

(1) คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งเพื่อให้คำปรึกษา เสนอแนะ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญพิเศษระดับสูง มีผลงานและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ให้ได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ15,000 บาท

(2) คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือให้มีหน้าที่พิจารณา ศึกษาและเสนอความเห็น หรือดำเนินการตามนโยบายหรือยุทธศาสตร์อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ให้ได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ 8,000 บาท

(3) คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งนอกเหนือจาก (1) และ (2) ให้ได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ5,000 บาทให้คณะทำงานมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมในอัตรากึ่งหนึ่งของคณะอนุกรรมการตาม (1) (2) และ (3)แล้วแต่กรณีข้อ 15 ประธานอนุกรรมการหรือหัวหน้าคณะทำงาน มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเบี้ยประชุมที่อนุกรรมการหรือผู้ทำงานนั้นมีสิทธิได้รับแล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ประธานอนุกรรมการหรือหัวหน้าคณะทำ งานไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้

ให้อนุกรรมการหรือผู้ทำงานที่ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทนประธานอนุกรรมการหรือหัวหน้าคณะทำงาน ได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานอนุกรรมการหรือหัวหน้าคณะทำงาน ตามที่กำหนดในวรรคหนึ่งแล้วแต่กรณี

ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2554 พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรีประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

เท่าอัตราสูงสุดครั้งละ 15,000 บาท

ถ้าเทียบกับองค์กร อิสระ อาทิ ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยค่าตอบแทนอนุกรรมการ พ.ศ.2543 กำหนดค่าเบี้ยประชุมอนุกรรมการ รายครั้งเฉพาะที่มาประชุม ครั้งละ 1,000 บาท แต่รวมแล้วเดือนละไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท

ต่อมาวันที่ 10 มี.ค.52 นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ออกระเบียบกำหนดใหประธานคณะอนุกรรมการหรืออนุกรรมการที่เป็นบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่ กรรมการ ป.ป.ช. ข้าราชการสํานักงาน ป.ป.ช. ข้าราชการหรือพนักงานซึ่งมาช่วยราชการสํานักงาน ป.ป.ช. พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานหรือลูกจ้างของสํานักงาน ป.ป.ช. มีสิทธิได้รับค่าพาหนะในการเดินทางมาประชุมนอกเหนือจากค่าตอบแทนอนุกรรมการเพิ่มเติมอีกในอัตราวันละ 800 บาท

ขณะที่ ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ พ.ศ.2557   กำหนดให้กรรมการที่ปรึกษา  กรรมการ อนุกรรมการที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง เฉพาะที่มาประชุม  และให้ได้รับเบี้ยประชุมแต่ละคณะเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวัน ทั้งนี้วันละไม่เกิน 2 คณะ

กรรมการที่ปรึกษาและกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ 1,000 บาท อนุกรรมการที่ปรึกษาและอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ 500 บาท

กรรมการที่ปรึกษา กรรมการ อนุกรรมการที่ปรึกษา อนุกรรมการ  เลขานุการและผูัช่วยเลขานุการ ซึ่งมิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า  ของอัตราเบี้ยประชุมแล้วแต่กรณี

ประธานกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมไม่เกิน 12,500 บาท ต่อเดือน  ประธานอนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมไม่เกินทั้งสิ้น 6,500 บาท ต่อเดือน

กรรมการที่ปรึกษา กรรมการ เลขานุการของคณะกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 บาท ต่อเดือน

อนุกรรมการที่ปรึกษา อนุกรรมการ เลขานุการของคณะอนุกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการของอนุกรรมการ ให้ได้รับเบี้ยประชุมทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ต่อเดือน

สำหรับ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กรรมการ การเลือกตั้ง เพิ่งออกระเบียบว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ อนุกรรมการ หรือผู้ทำงาน ฉบับที่ 3 เมื่อ 18 มี.ค.57  กำหนดค่าตอบแทนเบี้ยประชุม ประธานกรรมการ 6,000 บาท กรรมการ 5,000 บาท เลขาฯและผู้ช่วยเลขาฯ 1,500 บาท

เห็นได้ว่า เบี้ยประชุม  กสทช.จ่ายกันมากสุด


วันอาทิตย์ ที่ 15 มิถุนายน 2557
http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/30431-poe.html

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
เทียบ“เงินเดือน-ค่าตอบแทนพิเศษ”ผู้บริหาร-ข้าราชการ องค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ -ป.ป.ช.-กกต.-ผู้ตรวจการแผ่นดิน-สตง. กับ คนใน กสทช. เลขาฯ จิ๊บๆ รับแค่ 300,000 บาท

“เงินเดือน”ของผู้บริหารและข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สูงกว่าเงินเดือนของผู้บริหารและข้าราชการสำนักงานองค์กรอิสระ ขณะที่ “ค่าตอบแทนพิเศษ” ของข้าราชการองค์กรอิสระแต่ละแห่งก็มีจำนวนไม่เท่านั้น โดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีอัตราสูงกว่า ป.ป.ช.และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำมาข้อมูลมาเปรียบเทียบดังนี้

@ ป.ป.ช. รองเลขาฯ13,000 บาท

เริ่มจาก สำนักงาน ป.ป.ช. ยุคนายโอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. วันที่ 30 มิ.ย.2543 ได้ออกระเบียบค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ข้าราชการของสำนักงาน ป.ป.ช. (ยกเว้นเลขาธิการ ป.ป.ช.ซึ่ง ประธาน ป.ป.ช.กำหนดค่าตอบแทนพิเศษไว้ต่างหาก) แบ่งเป็น 10 ระดับ ได้ค่าตอบแทนพิเศษ ระดับละ 1,000 บาท เช่น ระดับ 1 ได้ 1,000 บาท ระดับ 3 ได้ 3,000 บาท ระดับ 5 ได้รับ 5,000 บาท ระดับ 10 ขึ้นไป ได้รับ 10,000 บาท

วันที่ 26 พ.ค.2551 นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน กรรมการ ป.ป.ช. ได้ออกระเบียบ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํานักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551  โดยปรับเพิ่ม ระดับละ 300 บาท ระดับ 1 จากเดิมได้ 1,000 บาท เพิ่มเป็น 1,300 บาท ระดับ 2 จากเดิม 2,000 บาท เพิ่มเป็น 2,600 บาท ระดับ 3 จาก 3,000 บาท เพิ่มเป็น 3,900 บาท ระดับ 4 จากเดิม 4,000 บาท เพิ่มเป็น 5,200 บาท ระดับ 5 จากเดิม 5,000 บาท เพิ่มเป็น 6,500 บาท ระดับ 6 จากเดิม 6,000 บาท เพิ่มเป็น 7,800 บาท ระดับ 7 จากเดิม 7,000 บาท เพิ่มเป็น 9,100 บาท ระดับ 8 จากเดิม 8,000 บาท เพิ่มเป็น 10,400 บาท ระดับ 9 จากเดิม 9,000 บาท เพิ่มเป็น 11,700 บาท ระดับ 10 จากเดิม 10,000 บาท เพิ่มเป็น 13,000 บาท ยกเว้นตำแหน่งเลขาธิการ ประธาน ป.ป.ช.กำหนดค่าตอบแทนพิเศษไว้ต่างหาก

ต่อมาวันที่ 22 ม.ค.2552 นายปานเทพ ประธาน กรรมการ ป.ป.ช. ได้ออกระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํานักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 ได้แบ่งเป็น บริหาร อำนวยการ วิชาการ และประเภททั่วไป โดยประเภทบริหาร รองเลขาฯ ได้ 13,000 บาท ผู้ช่วยเลขาฯ ได้ 11,700 บาท ผู้อำนวยการ 11,700 บาท ประเภทวิชาการ ระดับผู้ทรงคุณวุฒิ 13,000 บาท ระดับปฏิบัติการ 3,900 บาท และประเภทปฏิบัติงานน้อยสุดได้ 2,600 บาท (ดูตาราง)

ส่วน“ลูกจ้าง”เดิม ปี 2544 กำหนดให้ค่าครองชีพคนละ 500 บาทต่อเดือน ต่อมาวันที่ 26 พ.ค.2551 นายปานเทพ ประธานกรรมการ ป.ป.ช ออกระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพของลูกจ้างสำนักงาน ป.ป.ช. (ฉบับที่ 3) กำหนดให้ค่าครองชีพคนละ 2,500 บาท ต่อเดือน

ส่วนตำแหน่ง “เลขาธิการ” ในยุคนายโอภาส เป็นประธาน ป.ป.ช.ได้กำหนดค่าตอบแทนพิเศษเดือนละ 30,000 บาท   ตอมา วันที่ 26 พ.ค.51 นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ได้ออกระเบียบกำหนดค่าตอบแทนพิเศษ เลขาธิการ ป.ป.ช.เป็น 33,300 บาท ต่อเดือน
       

@ รองเลขาฯ กกต.เงินเดือนรวมเกือบแสน

ขณะที่ สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อัตราเงินเดือนใหม่คลอดเมื่อ เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง 2556 โดยปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือน และบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของพนักงานสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งใหม่ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556

1.ตำแหน่งบริหารระดับสูง
(1) รองเลขาธิการ/ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนา การเมืองและการเลือกตั้ง/ผู้ทรงคุณวุฒิและตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่า อัตรา เงินเดือนขั้นต่ำ 55,880 บาท ขั้นสูง 82,510 บาท เงินประจำตำแหน่ง 17,000 บาท
(2) ผู้อำนวยการสำนัก/ผู้ตรวจการ/ผู้ตรวจสอบภายใน/ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด/ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเทียบเท่า อัตราเงินเดือนขั้นต่ำ 48,260 บาท ขั้นสูง 82,510 บาท เงินประจำตำแหน่ง 12,000 บาท

2.ตำแหน่งบริหารระดับกลาง
(1) รองผู้อำนวยการสำนัก/ผู้เชี่ยวชาญ และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่า
(2) ผู้อำนวยการฝ่าย/ศูนย์/สำนักงาน/ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด/ผู้ชำนาญการและตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่า ขั้นต่ำ 36,820 บาท ขั้นสูง 69,700 บาท เงินประจำตำแหน่ง 10,000 บาท

3.ตำแหน่งปฏิบัติงาน
(1) ปฏิบัติงานระดับกลาง ขั้นต่ำ 19,500 บาท ขั้นสูง 51,400 บาท
(2) ปฏิบัติงานระดับต้น ขั้นต่ำ 11,300 บาท ขั้นสูง 30,630 บาท
ตำแหน่งพนักงานปฏิบัติงานระดับต้นต่ำสุด 11,300 บาท สูงสุด 30,630 บาท
ตำแหน่งพนักงานปฏิบัติงานระดับกลาง ต่ำสุด 19,500 บาท สูงสุด 51,400 บาท
ตำแหน่งพนักงานบริหารระดับกลาง ต่ำสุด 36,820 บาท สูงสุด 69,700 บาท
ตำแหน่งพนักงานบริหารระดับสูงต่ำสุด 48,260 บาท สูงสุด 82,510 บาท
ขณะเดียวกันได้ปรับอัตราเงินเดือนของลูกจ้างประจำด้วยเช่นกัน
ลูกจ้างประจำ ขั้นต่ำ 10,120 บาท สูงสุด 24,830 บาท

หมวดแรงงานคนงาน ได้แก่ คนยาม - พนักงานบันทึกข้อมูล- คนสวน- นักการภารโรง ขั้นต่ำ 10,120 บาท สูงสุด 19,200 บาท

หมวดกึ่งฝีมือ ได้แก่ พนักงานบริการ ขั้นต่ำ 11,300 บาท สูงสุด 20,380 บาท

หมวดฝีมือ ได้แก่ พนักงานขับรถยนต์ พนักงานบันทึกข้อมูลต่ำสุด 11,300 บาท สูงสุด 21,170 บาท

ถ้ารวมเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ รองเลขาธิการ/ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนา การเมืองและการเลือกตั้ง/ผู้ทรงคุณวุฒิและตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่า ขั้นสูง 82,510 บาท เงินประจำตำแหน่ง 17,000 บาท รวมเป็นเงิน 99,510 บาท

นอกจากนี้ยังมีค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) สำหรับพนักงานและลูกจ้างประจําปีละหนึ่งครั้ง ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ของปีที่ได้รับค่าตอบแทนพิเศษนั้นเป็นต้นไป (ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานและลูกจ้างประจํา ผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงหรือใกล้ถึงขั้นสูงของตําแหน่ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖)

@ขรก.สตง.น้อยสุด 5,000-7,000 บาท

สำหรับ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ในยุคนายปัญญา ตันติยวรงค์ เป็นประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.44 ได้ออกระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยเงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับค่าตอบแทนพิเศษคนละ 2,000 บาทต่อเดือน (แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่ได้ตามมาตรฐาน)

ต่อมาวันที่ 17 มิ.ย.45 นายปัญญาได้ออกระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยเงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ (ยกเลิกฉบับแรก)ให้ ข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรับค่าตอบแทนพิเศษคนละ 4,000 บาท ต่อเดือน

ต่อมา 4 พ.ค.48 นายนรชัย ศรีพิมล ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ออกระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๘ แบ่งเป็น3 กลุ่ม
(1) ข้าราชการระดับ 3-5 ให้รับในอัตราเดือนละ 5,000 บาท
(2) ข้าราชการระดับ 6-8 ให้รับในอัตราเดือนละ 6,000 บาท
(3) ข้าราชการระดับ 9-11 ให้รับในอัตราเดือนละ 7,000 บาท

ส่วน “ลูกจ้าง”นั้นวันที่ 30 ก.ย.45 ได้ออกระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยเงินตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๔๕ ได้ค่าตอบแทนคนละ 1,000 บาท ต่อเดือน ต่อมาวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 นายนรชัย ศรีพิมล ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ออกระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ลูกจ้างสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษจากงบประมาณรายจ่ายของสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินในอัตราคนละ 2,500 บาทต่อเดือน

@ศาลรัฐธรรมนูญแจกพิเศษขั้นละ 2,000 บาท

วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทน ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกประกาศระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ การแต่งตั้งที่ปรึกษา เลขานุการ ผู้เชี่ยวชาญประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรม การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างอื่นๆรวม 9 ฉบับ (อ่านประกอบ: “ค่าตอบแทน”ที่ปรึกษาศาล รธน.-ขรก.-ลูกจ้างทุกตำแหน่ง ย้อนหลัง 1 เม.ย. ) อาทิ

ตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ อัตราเงินตอบแทนพิเศษต่อเดือน 33,000 บาท
ที่ปรึกษาสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ 25,000 บาท
รองเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ 25,000 บาท
ระดับ 10 อัตราเงินตอบแทนพิเศษต่อเดือน 20,000 บาท
ระดับ 9 จำนวน 18,000 บาท
ระดับ 8 จำนวน 16,000 บาท
ระดับ 7 จำนวน 14,000 บาท
ระดับ 6 จำนวน 12,000 บาท
ระดับ 5 จำนวน 10,000 บาท
ระดับ 4 จำนวน 8,000 บาท
ระดับ 3 จำนวน 6,000 บาท
ระดับ1-ระดับ 2 จำนวน 4,000 บาท

ค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้าง (1) ลูกจ้างชั่วคราว ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 4,500 บาท
(2) ลูกจ้างประจําที่พ้นทดลองการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 5,500 บาท
(3) ลูกจ้างประจําที่รับราชการเกิน 5 ปี ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 6,500 บาท
(4) ลูกจ้างประจําที่รับราชการเกิน 10 ปี ให้ได้รับในอัตราเดือนละ 7,500 บาท”

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ประจําตําแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่เกินคนละ 1 อัตรา ค่าตอบแทน 29,000 บาท ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 21,300 บาท

พนักงานขับรถยนต์ประจําตําแหน่ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คนละไม่เกิน 1 อัตรา ค่าตอบแทน เป็นรายเดือน 15,000 บาท ค่าตอบแทนพิเศษ 4,000 บาท

มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557

@พนักงาน สนง.ผู้ตรวจฯ 4,000 บาท-เงินเดือนเลขาฯ 1.4 แสน

ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินนั้น นางผาณิต นิติฑัณฑ์ประภาศ ประธาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ออกระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าด้วยเงินเพิ่มพิเศษค่าครองชีพพนักงานและลูกจ้างประจํา พ.ศ. ๒๕๕๖ วันที่ 18 ม.ค.56 ให้พนักงานและลูกจ้างสํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินมีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม

พิเศษค่าครองชีพคนละ 4,000 บาท ต่อเดือน

ตำแหน่ง “เลขาธิการ” ระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดินว่าด้วยการแต่งตั้งเลขาธิการสํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๓ วันที่ 6 พ.ค.53 กำหนด เงินเดือน 86,620 บาท เงินประจำตำแหน่ง 25,000 บาท เงินเพิ่มพิเศษ 25,000 บาท รวม 136,620 บาท

วันที่ 10 มิ.ย.54 ปราโมทย์ โชติมงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ออกระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๔ กำหนดอัตราเงินเดือน ตำแหน่งบริหาร ตำแหน่งวิชาการ และตำแหน่งปฏิบัติการ อาทิ
ตำแหน่งบริหาร เลขาธิการ 90,960 บาท เงินประจำตำแหน่ง 25,000 บาท เงินเพิ่มพิเศษ 25,000 บาท รวม 140,960 บาท รองเลขาธิการ เงินเดือนขั้นต่ำ 38,960 บาท ขั้นสูงสุด 81,620 บาท เงินประจำตำแหน่ง 17,000 บาท เงินเพิ่มพิเศษ 17,000 บาท

ตำแหน่งวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รองเลขาธิการ เงินเดือนขั้นต่ำ 38,960 บาท ขั้นสูงสุด 81,620 บาท เงินประจำตำแหน่ง 15,000 บาท เงินเพิ่มพิเศษ 15,000 บาท

ตําแหน่งปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่อาวุโสระดับสูง เงินเดือน 56,270 บาท เงินประจำตำแหน่ง 5,000 บาท เงินเพิ่มพิเศษ 5,000 บาท ส่วนลูกจ้างเงินเดือนขั้นต่ำ 7,595 บาท ขั้นสูง 28,890 บาท (ดูตาราง)


@ คน กสทช.เงินเดือน สูงปรี๊ด-เลขาฯฟัน 300,000บาท

เงินเดือนข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๕ กำหนด 3 กลุ่มคือ

1.ตำแหน่งบริหาร รองเลขาธิการ เงินเดือนระหว่าง 165,000 - 275,000 บาท ผู้อำนวยการกลุ่มงา(ระดับ บ2) 85,000 -200,000 บาท ผู้อำนวยการส่วน (ระดับ บ3) 30,000 -100,000 บาท
2.ตำแหน่งวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (ระดับ ช1) 165,000-275,000 บาท ผู้เชี่ยวชาญ (ระดับ ช2) 85,000-200,000 บาท ผู้ชำนาญการ (ระดับ ช3) 30,000 -100,000 บาท
3.ตำแหน่งปฏิบัติการ พนักงานปฏิบัติการระดับสูง (ระดับ ก1) 30,000 -100,000 บาท พนักงาน
ปฏิบัติการระดับกลาง (ระดับ ก2) 15,000- 55,000 บาท และ พนักงานปฏิบัติการระดับต้น (ระดับ ก3) 9,000 -35,000 บาท (ดูตาราง)


ขณะที่เงินเดือนตำแหน่ง “เลขาธิการ” กสทช. พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการ กสทช. ได้ออกระเบียบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 55 กำหนดเงินเดือน เลขาธิการ 300,000 บาท และมีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนประจําปีในอัตราไม่เกินร้อยละสิบของค่าตอบแทนคงที่ที่เลขาธิการได้รับ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอื่น อาทิ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับผู้ดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง

ถ้าเปรียบเทียบ“ค่าตอบแทนพิเศษ”ต่อเดือนระหว่าง ข้าราชการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กับ สำนักงาน ป.ป.ช. และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน พบว่า “ค่าตอบแทนพิเศษ”ของ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สูงกว่า ป.ป.ช.และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เช่น

ตำแหน่งระดับบริหาร เลขาฯ ป.ป.ช. รับค่าตอบแทนพิเศษ เดือนละ 33,300 บาท รองเลขาฯ ป.ป.ช. 13,000 บาท ระดับปฏิบัติงานต่ำสุด 2,600 บาท เลขาฯผู้ตรวจการแผ่นดินรับค่าตอบแทนพิเศษเดือนละ 25,000 บาท ขณะที่เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ 33,000 บาท รองเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ 25,000 บาท ระดับ 1-ระดับ 2 จำนวน 4,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ค่าตอบแทนพิเศษทั้ง 3 องค์กรได้มากกว่า ข้าราชการ สตง. สูงสุดระดับ 9-11 ซึ่งรับในอัตราเดือนละ 7,000 บาท

ส่วน “เงินเดือน”ระหว่าง ข้าราชการ กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน กับ คน กสทช. นั้น ตำแหน่งรองเลขาฯ กกต.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งต่ำสุด 72,880 บาท สูงสุด 99,510 บาท รองเลขาฯผู้ตรวจรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ต่ำสุด 55,960 บาท สูงสุด 98,620 บาท

ขณะที่ รองเลขาฯ กสทช. ขั้นต่ำ 165,000 บาท สูงสุดอยู่ 275,000 บาท

ตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดิน เงินเดือนละประมาณ 1.4 แสนบาท ขณะที่ เลขาธิการ กสทช. เดือนละ 3 แสนบาท

เลขาฯ 2 องค์กรนี้ (อาจรวมถึง เลขาฯ ป.ป.ช. กกต.) ห่างกันไม่มาก แค่เดือนละ 1.6 แสนบาท (เท่านั้น)

วันพฤหัสบดี ที่ 12 มิถุนายน 2557
http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/30348-monny.html