ผู้เขียน หัวข้อ: เผยเยาวชนป่วยกามโรค สูงกว่า 40%  (อ่าน 770 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
เผยเยาวชนป่วยกามโรค สูงกว่า 40%
« เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2012, 20:53:34 »
 สสส.จับมือ 9 หน่วยงานใน จ.อุดรธานี MOU พัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนด้านสุขภาวะทางเพศ เน้นยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ป้องกันท้องไม่พร้อม สสจ.อุดรฯ เผยเยาวชน มี SEX-ท้องไม่พร้อมเพิ่ม แถมป่วยกามโรคสูงกว่า 40% รองจากกลุ่มขายบริการ ด้าน สสส.หนุนอุดรฯ เป็นจังหวัดต้นแบบแก้ท้องไม่พร้อม เชื่อชุมชน-ท้องถิ่นร่วมมือช่วยแก้ปัญหาได้ เร่งสร้างระบบให้การช่วยเหลืออย่างเป็นมิตร
       
       วันนี้ (27 พ.ย.) ที่โรงแรมประจักษ์ตราดีไซน์โฮเต็ล จ.อุดรธานี ในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของเยาวชนด้านสุขภาวะทางเพศ จังหวัดอุดรธานี โดย นายชยพล ธิติศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ จ.อุดรธานี ทำให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรเข้ามาทำงานและศึกษาต่อจำนวนมาก ความหนาแน่นของประชากรก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย รวมทั้งปัญหาการท้องไม่พร้อมในกลุ่มเยาวชน ซึ่งการแก้ปัญหาจำเป็นต้องทำทั้งทางตรง และทางอ้อม ครอบคลุมทั้งครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียนและชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำสตรี จิตอาสาทุกคน และโดยเฉพาะตัวเด็กและเยาวชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เยาวชนได้รับความยอมรับ สามารถพัฒนาทักษะชีวิต และมีความนับถือตนเอง โดยมีครอบครัว และเครือข่ายทางสังคมในพื้นที่คอยสนับสนุนผ่านกิจกรรมต่างๆ และฝ่ายสุขภาพช่วยจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตร และมีระบบให้คำปรึกษา-ดูแลช่วยเหลือ-ฟื้นฟู เมื่อประสบปัญหาตั้งแต่ระดับชุมชน ตำบล อำเภอ และจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

   
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
       นพ.สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง 9 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุดรธานี หน่วยงานด้านการศึกษา และภาคีเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนสถานศึกษาและหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ โดยมียุทธศาสตร์การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตเยาวชนที่มุ่งลดปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ 5 ด้าน ได้แก่ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม, การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย, การกระทำความรุนแรงทางเพศ, การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการติดเชื้อ HIV
       
       นพ.สัญชัย กล่าวว่า จากการสำรวจพฤติกรรมทางเพศในเยาวชน ระดับ ม.2, ม. 5 และอาชีวศึกษาปีที่ 2 ระหว่างปี2552-2554 พบว่า นักเรียนชาย ม.2 ร้อยละ 5.9 เคยมีประสบการณ์ทางเพศ ขณะที่นักเรียนชายชั้น ม.5 มีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 23.8 และนักเรียนอาชีวศึกษาชายชั้น ปวช.ปีที่ 2 ร้อยละ 67.0 ส่วนนักเรียนหญิง ม.2 ร้อยละ 3 เคยมีประสบการณ์ทางเพศ ในขณะที่นักเรียนหญิง ชั้น ม.5 อยู่ที่ร้อยละ 13.7 และนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง ชั้น ปวช.ปีที่ 2 ร้อยละ41.2 เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว เมื่อสำรวจอัตราป่วยกามโรคในอายุ 15-19 ปี เมื่อปี 2551 พบถึงร้อยละ 42.44ของการป่วยกามโรคทั้งหมด โดยพบว่า นักเรียน นักศึกษา ป่วยเป็นอันดับสองรองจากพนักงานบริการ โดยชายติดจากแฟน คู่รัก ร้อยละ55.79 หญิงติดเชื้อกามโรคจากแฟน ร้อยละ 52.63 รองลงมาติดจากหญิงบริการ โดยหญิงที่ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี พบการติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 0.6
       
       “ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2554 อัตราการคลอดของวัยรุ่นหญิง (อายุ 15-19 ปี) อยู่ที่ 69.8 คน ต่อวัยรุ่นหญิง 1,000 คน เพิ่มจากปี 2543 ที่มีอัตราการคลอดอยู่ที่ 31.1 คน ต่อ 1,000 คน โดยใน จ.อุดรธานี อัตราการคลอดของวัยรุ่นหญิง อยู่ที่ 31.26 - 42.86 คน ต่อ 1,000 คน โดยมีอัตราการคลอดในวัยรุ่นสูงใน4 อำเภอได้แก่ อ.หนองแสง อ.สร้างคอม อ.กุมภวาปี และ อ.หนองวัวซอ”นพ.สัญชัย กล่าว
       
       ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า จังหวัดอุดรธานี ได้รับการพัฒนาให้เป็นจังหวัดต้นแบบบูรณาการการทำงานระหว่างทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของเยาวชนด้านสุขภาวะทางเพศ ผ่านโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของเยาวชนด้านสุขภาวะทางเพศ ที่ สสส.สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการของทุกภาคส่วนในทุกระดับ และเน้นความสำคัญของการทำงานในระดับตำบลในการจัดการสุขภาพต้นแบบด้านสุขภาวะทางเพศในเยาวชน ดังนี้

1.พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาสำหรับเยาวชน
2.พัฒนารูปแบบการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ด้วยข้อมูลข่าวสาร
3.พัฒนาระบบและรูปแบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรแก่เยาวชน
4.สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเยาวชน และ
5.พัฒนารูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการขยายผลภารกิจให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    27 พฤศจิกายน 2555