ผู้เขียน หัวข้อ: แบงก์ชาติเจอมนุษย์เงินเดือนเหลื่อมล้ำ ดร.แปดหมื่น-ป.ตรีหมื่นแปด-สายอาชีวะมาแรง!  (อ่าน 1060 ครั้ง)

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
ธปท.เจอความเหลื่อมล้ำค่าจ้างคนไทย เผยสิ้นปี 2554 โดยเฉลี่ยปริญญาเอกรับอื้อเดือนละ 80,000 บาท ขณะที่ปริญญาตรีเฉลี่ยค่าจ้างแรงงานอยู่ที่ 18,843 บาท แรงงานไร้การศึกษาแค่ 4,789 บาทต่อเดือน ส่วนมัธยมปลายสายอาชีวะรายได้ดี เงินเดือนแซงระดับอนุปริญญา
       
       ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานตัวเลขค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานไทยเฉลี่ยสิ้นปี 2554 ที่ผ่านมา แยกตามการศึกษา และสาขาอาชีพ โดยแยกค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานไทยตั้งแต่ไม่มีการศึกษา จนถึงปริญญาตรีเฉลี่ยทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ พบว่า ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานที่ไม่มีการศึกษา ณ สิ้นปี 2554 อยู่ที่ 4,789.17 ต่อเดือน ขณะที่แรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 5,734 บาทต่อเดือน สำหรับแรงงานที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีค่าจ้างเฉลี่ยรายเดือนอยู่ที่ 6,089.98 บาท ส่วนแรงงานที่มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ได้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่ 6,972.18 บาทต่อเดือน
       
       ด้านค่าจ้างแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลายนั้นจะแยกเป็น 3 ประเภท โดยค่าจ้างแรงงานของผู้จบมัธยมปลายสายอาชีวะจะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดที่ 12,500.59 บาท ส่วนแรงงงานที่จบมัธยมปลายสายสามัญจะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่ำที่สุด 7,863.45 บาทต่อเดือน ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในสายวิชาการศึกษา ซึ่งหมายถึงด้านวิเคราะห์ วิจัย วางแผนพัฒนา เทคโนโลยีในการศึกษา จะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อเดือนที่ 7,960.42 บาท
       
       สำหรับแรงงานระดับอนุปริญญามีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมทุกประเภทอยู่ที่ 11,209.59 บาทต่อเดือน โดยค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของผู้จบสายสามัญมีรายได้เฉลี่ยสูงอยู่ที่ 13,647.59 บาทต่อเดือน สายอาชีวศึกษากลายเป็นสายที่ได้ค่าจ้างเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 11,054.49 บาทต่อเดือน ขณะที่สายวิชาการการศึกษามีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 11,443.89 บาทต่อเดือน
       
       เมื่อสำรวจถึงค่าจ้างแรงงานระดับปริญญาตรี พบว่าแรงงานในระดับปริญญาตรีสิ้นปี 2554 มีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 18,210.34 บาท แยกเป็น สายวิชาการมีค่าจ้างเฉลี่ย 17,882.10 บาทต่อเดือน สายวิชาชีพมีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน 17,032.20 บาท โดยในระดับปริญญาตรีนั้น สายวิชาการการศึกษาขึ้นมาเป็นสายที่มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 22,796.45 บาทต่อเดือน
       
       อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยระหว่างผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี กับสูงกว่าปริญญาตรีจะเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยแบบก้าวกระโดด โดยจากค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยในปี 2554 ของแรงงานระดับปริญญาตรีที่ 18,843.53 บาทต่อเดือน เมื่อขึ้นมาเป็นแรงงานระดับปริญญาโทจะมีค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 33,881.35 บาทต่อเดือน และหากเป็นแรงงานระดับปริญญาเอกค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนจะขึ้นไปที่ 80,288.83 บาท
       
       การสำรวจค่าจ้างแรงงาน จำแนกตามอาชีพทุกระดับการศึกษานั้น อาชีพผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโส และเอกชนระดับผู้จัดการ มีค่าจ้างแรงงานสูงที่สุดเฉลี่ยที่ 26,360.33 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 21,984.92 บาทต่อเดือน ช่างเทคนิคสาขาต่างๆ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องมีค่าจ้างเฉลี่ยที่ 16,264.77 บาทต่อเดือน ขณะที่เสมียนมีค่าจ้างเฉลี่ย 12,532.73 บาทต่อเดือน พนักงานบริการและพนักงานขายในร้านค้า และตลาดสด มีค่าจ้างเฉลี่ย 8,806.28 บาทต่อเดือน ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง มีค่าจ้างเฉลี่ย 7,502.91 บาทต่อเดือน ผู้ปฏิบัติการเครื่องจักรโรงงาน และเครื่องจักร รวมทั้งการประกอบมีค่าจ้างเฉลี่ย 7,504.97 บาทต่อเดือน อาชีพขั้นพื้นฐาน 5,038.08 บาทต่อเดือน และอาชีพอื่นๆ 13,388.81 บาทต่อเดือน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 เมษายน 2555