แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 377 378 [379] 380 381 ... 535
5671
1.“สุรพงษ์” เตรียมชง ครม.ไฟเขียวนาซาใช้สนามบินอู่ตะเภา 26 มิ.ย. หลังนาซาขู่ถอนตัว ด้านผู้ตรวจการแผ่นดิน ชี้ ต้องให้รัฐสภาพิจารณาก่อน!

       เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือกรณีองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือนาซา ขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อดำเนินกิจกรรมของนาซา สำหรับผู้ที่เข้าร่วมหารือ ได้แก่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ,พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพ
       
       ทั้งนี้ ก่อนเข้าประชุม พล.อ.อ.สุกำพล ยืนยันว่า การที่นาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาจะไม่ส่งผลเสียหรือกระทบต่อความมั่นคงของไทย และไม่มีนอกมีในอย่างที่หลายฝ่ายวิตก “ไม่ต้องกลัวเรื่องที่บินถ่ายรูปแล้วเก็บข้อมูลของเราไป เพราะดาวเทียมมีอยู่เต็มไปหมด ถ้าอยากจะได้ภาพที่ชัดเจนก็เสียเงินนิดหน่อย ใช้เว็บไซต์กูเกิลสบายมาก...” ส่วนที่มีข่าวว่า การอนุญาตให้นาซาเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภา เพื่อแลกกับการที่สหรัฐฯ จะให้วีซ่าแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนั้น พล.อ.อ.สุกำพล รีบบอกว่า เป็นไปไม่ได้ เป็นเรื่องตลก พวกที่ออกมาพูดเช่นนี้เป็นพวกที่ทำให้รัฐบาลเสีย
       
       ขณะที่นายสุรพงษ์ เผยเหตุที่นาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาว่า เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา นาซาได้ทำหนังสือมาถึงกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอสำรวจเมฆสำหรับใช้ในการพยากรณ์อากาศ จากนั้นฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แสดงความเป็นห่วงกรณีที่เครื่องบินของนาซาต้องบินผ่านประเทศเพื่อนบ้านด้วย จึงได้ให้นาซาไปเจรจากับเพื่อนบ้านก่อน ปรากฏว่าไม่มีประเทศใดคัดค้าน นาซาจึงทำหนังสือมาถึงตนเมื่อต้นเดือน มิ.ย. และว่า นาซาต้องการใช้สนามบินอู่ตะเภาแค่ 2 เดือน คือ ส.ค.-ก.ย. โดยจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยขึ้นบินด้วย เพื่อเอาตัวอย่างของเมฆไปวิเคราะห์
       
       ทั้งนี้ หลังประชุมกับนายกรัฐมนตรีเสร็จสิ้น นายสุรพงษ์แถลงว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการและจะเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในวันที่ 19 มิ.ย. นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้ตั้งคณะทำงานเพื่อตกลงรายละเอียดและรูปแบบการทำงานร่วมกัน รวมถึงเที่ยวบินที่จะบินผ่านน่านฟ้าไทยข้ามไปประเทศกัมพูชาและสิงคโปร์ด้วย ไม่เท่านั้น ที่ประชุมยังหารือถึงการตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติระดับภูมิภาค ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว ซึ่งทุกเหล่าทัพก็เห็นชอบในหลักการ โดยเบื้องต้นจะตั้งศูนย์แบบไม่ถาวร และมีเจ้าหน้าที่ประจำตลอดเวลาช่วงที่เกิดภัยพิบัติ
       
       ด้านนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พยายามชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ หากอนุญาตให้นาซาใช้สนามบินอู่ตะเภาว่า ทำให้เรารู้เกี่ยวกับเมฆและฝนในระดับสูง นอกจากนี้ยังได้ความรู้เรื่องฝุ่นละอองในบรรยากาศและเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน พร้อมย้ำว่า ไม่มีอะไรต้องห่วงเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง และไม่มีประเทศไหนในโลกที่จะไม่ร่วมมือกับนาซา
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า หลายฝ่ายได้ออกมาคัดค้านการที่นาซาจะขอใช้สนามบินอู่ตะเภา โดยแกนนำพรรคประชาธิปัตย์หลายคน ยืนยันว่า เรื่องนี้เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ต้องให้รัฐสภาเห็นชอบก่อน พร้อมจี้ให้ ครม.เปิดเผยรายละเอียดที่จะให้นาซาใช้สนามบินอู่ตะเภา ขณะที่นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็เห็นเช่นเดียวกันว่า การจะให้นาซาใช้สนามบินอู่ตะเภา รัฐบาลต้องเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2 ว่าด้วยสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพราะเป็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติที่อาจไปอยู่ในอาณัติของต่างชาติ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลกำลังให้สหรัฐฯ เข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศไทยอีกครั้ง
       
       ด้านนางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว.พิษณุโลก ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การต่างประเทศ วุฒิสภา ยืนยันเช่นกันว่า เรื่องนาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาควรเข้าที่ประชุมรัฐสภา เพราะขนาดเรื่องไทยจะเพิ่มเส้นทางการบิน ยังต้องนำเข้าพิจารณาในรัฐสภา แล้วนี่จะมีการบินสำรวจสภาพภูมิอากาศที่ต้องบินผ่านน่านฟ้าของหลายประเทศ ยิ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐสภาจะต้องพิจารณาก่อน
       
       ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. ไม่มีวาระพิจารณาเรื่องนาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา แต่อย่างใด โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บอกว่า จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษารายละเอียดก่อน หากชัดเจนเมื่อใด จึงจะนำเข้า ครม. ส่วนขั้นตอนใดที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้รัฐสภารับทราบ ก็จะทำ
       
       อย่างไรก็ตาม สถานทูตสหรัฐฯ ได้นำหนังสือของนาซามาแจ้งให้ไทยทราบว่า หากรัฐบาลไทยไม่สามารถหาข้อยุติเรื่องสนามบินอู่ตะเภาได้ภายในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ เพราะปัญหาในประเทศ นาซาก็เข้าใจ และจะขอถอนตัว เพราะไม่สามารถขนอุปกรณ์มาเตรียมพร้อมได้ทัน
       
       ด้านนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกอาการเหมือนไม่อยากให้นาซาถอนตัว จึงรีบออกมาบอกว่า จะเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม ครม.ในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ จะเอาหรือไม่เอา เรื่องจะได้จบ
       
       ด้าน พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ได้ออกมาเตือนรัฐบาลอย่าไว้ใจสหรัฐฯ เพราะเรื่องความมั่นคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในประเทศไทยได้ พร้อมยกตัวอย่างว่า เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์สึนามิครั้งใหญ่ สหรัฐฯ อ้างว่าจะนำเครื่องบินไปรับผู้ประสบภัย แต่กลับนำไปสำรวจและถ่ายภาพฐานทัพของฝ่ายตรงข้าม สร้างความไม่พอใจให้ประเทศคู่ขัดแย้งกับสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ยังมีความพยายามจะเข้ามาขอใช้พื้นที่ในไทยเป็นที่ตั้งการต่อสู้เชิงยุทธศาสตร์ระหว่างตะวันตกกับตะวันออก เช่น เคยขอเช่าเกาะภูเก็ต แต่กองทัพเรือไม่อนุญาต
       
      2.“สุเทพ” แฉ “ทักษิณ” ส่งคนมาเจรจาให้หยุดขวางแก้ รธน.-ออก พ.ร.บ.ปรองดองฯ แลก ปชป.ได้ร่วมรัฐบาล ด้าน “เพื่อไทย” เล็งฟ้องหมิ่น!

       สัปดาห์ที่ผ่านมา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ได้ออกมาแฉว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ส่งคนกลางมาเจรจากับตน เพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์เลิกขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการออก พ.ร.บ.ปรองดองฯ แลกกับการดึงพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล
       
       ปรากฏว่า คำพูดของนายสุเทพ ส่งผลให้แกนนำพรรคเพื่อไทยออกมาโวยวายเป็นการใหญ่ หาว่านายสุเทพกุเรื่อง โดยนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ท้าให้นายสุเทพโชว์หลักฐานออกมาว่า พ.ต.ท.ทักษิณส่งใครมาเจรจา อย่าพยายามสร้างเครดิตให้ตัวเองด้วยการเล่นการเมืองแบบเก่าบิดเบือนข้อมูล
       
       ขณะที่นายสุเทพ แย้มว่า การเจรจาเกิดขึ้นหลายครั้ง ผ่านคนกลางที่ให้ความเคารพคุ้นเคยกันดี ครั้งแรกมาขอให้ตนเดินทางไปดูไบ แต่ได้ปฏิเสธไป จากนั้นส่งคนมาประสานให้เจอในสถานที่แห่งหนึ่ง “ครั้งหลังเขาเปิดเผยเจตนาว่าจะคุยเรื่องขอให้ยุติการต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการออก พ.ร.บ.ปรองดองฯ ผมก็ได้ปฏิเสธไป เพราะส่วนตัวไม่ไว้วางใจ พ.ต.ท.ทักษิณอีกต่อไปแล้ว หลังจากเคยรับปากผมหลายเรื่อง แต่ไม่เคยทำตามที่รับปากไว้เลยสักเรื่อง”
       
       นายสุเทพ ยังเล่าต่อว่า เมื่อไม่นานมานี้คนเดิมได้มาเจรจามาอีก บอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณอยากพบ ถ้าไม่สะดวก ให้ไปคิดว่าจะมาร่วมรัฐบาลกันหรือไม่ จะเลือกกระทรวงไหนไปบริหารให้บอกมา ขออย่างเดียวอย่าคัดค้านร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มาจับมือกันแก้ปัญหาก่อน เพื่อให้บ้านเมืองสงบ พอรัฐบาลอยู่ครบ 4 ปี ค่อยเลือกตั้งต่อสู้กันใหม่ แต่ตนได้ปฏิเสธไปทันที
       
       ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ไปถามเรื่องดังกล่าวกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกเพียงว่า ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้ และไม่น่าเป็นไปได้
       
       ด้านนายสุเทพ ออกมาแย้มอีกว่า พ.ต.ท.ทักษิณส่งคนมาเจรจาตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.พ.2555 หลังน้ำท่วม แต่ไม่ใช่คนในพรรคเพื่อไทย โดยเป็นสุภาพสตรีชั้นสูง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในสังคม 2 คน ส่วนอีกคนเป็นสุภาพบุรุษ ซึ่งได้ไปพบที่บ้านบุคคลดังกล่าว โดยบุคคลดังกล่าวทำหน้าที่วิ่งไปวิ่งมาระหว่างตนกับ พ.ต.ท.ทักษิณหลายครั้ง กระทั่งมีการเจรจาครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายสุเทพ ยังบอกด้วยว่า ทุกครั้งที่ได้รับการติดต่อจากบุคคลดังกล่าว ตนได้แจ้งให้หัวหน้าพรรคและผู้ใหญ่ในพรรคทราบ
       
       ด้านนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันว่า เรื่องที่นายสุเทพพูดเป็นเรื่องเท็จ และ พ.ต.ท.ทักษิณได้แต่หัวเราะเมื่อทราบเรื่องนี้ ขณะที่นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ท้าให้นายสุเทพและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไปสาบานที่วัดพระแก้วพร้อมกับตนและ ส.ส.พรรคเพื่อไทยในวันที่ 20 มิ.ย. หากไม่ไป แสดงว่าที่พูดมาเป็นเรื่องโกหก
       
       ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนด(20 มิ.ย.) นายพร้อมพงศ์และ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจำนวนหนึ่งได้ไปรอเก้อ เพราะนายสุเทพไม่ได้เดินทางมาแต่อย่างใด ทั้งนี้ นายพร้อมพงศ์ เผยว่า ได้สาบานต่อวัดพระแก้วว่า หากสิ่งที่ทำเป็นเรื่องถูกต้อง ขอให้พรรคเพื่อไทยเจริญรุ่งเรืองและเป็นรัฐบาลตลอดไป หากสิ่งที่นายสุเทพพูดไม่จริง เป็นเกมการเมืองเพื่อทำลายพรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ขอให้พรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพ และนายอภิสิทธิ์ ไม่เจริญรุ่งเรืองทางการเมือง และเป็นฝ่ายค้านตลอดไป นายพร้อมพงศ์ ยังบอกด้วยว่า สัปดาห์หน้าจะไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดีนายสุเทพข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236
       
       3.กกต.แจกใบแดง “การุณ” ฐานใส่ร้าย “แทนคุณ-ปชป.” เตรียมส่งศาลฎีกาฯ ชี้ขาด ด้าน “เพื่อไทย” เล็งส่ง “จตุพร” เลือกซ่อม!


       เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ประชุมพิจารณากรณีนายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.เขต 12 พรรคเพื่อไทย ถูกกล่าวหาว่าโฆษณาใส่ร้ายนายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขตดอนเมือง พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 3 และ 12 มิ.ย.2554 นอกจากนี้ยังมีการปราศรัยใส่ร้ายในลักษณะเดียวกันที่ตลาดโกสุมรวมใจ เขตดอนเมือง โดยใส่ร้ายนายแทนคุณและพรรคประชาธิปัตย์ว่า “พรรคการเมืองเก่าแก่ นักการเมืองรุ่นใหม่ ถือแปรงทาสีปราศรัยทุกครั้ง ชุมนุมทุกครั้ง เอาเงินมาแจก เกณฑ์คนไปฟังการปราศรัยที่ตลาดสะพานใหม่ รายละ 300 บาท”
       
       ทั้งนี้ กกต.พิจารณาแล้วมีมติเสียงข้างมากให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง) นายการุณ โดยหลังจากนี้ กกต.จะยกร่างคำวินิจฉัยเพื่อเสนอศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งพิพากษาต่อไป
       
       ขณะที่นายการุณ เผยความรู้สึกหลังทราบมติ กกต.ว่า ตอนนี้ยังรู้สึกสบายๆ เพราะเคยเจอเหตุการณ์หนักกว่านี้ ก็ยังยิ้มได้ และจะเดินหน้าทำงานต่อไปไม่ว่าจะมีตำแหน่งหรือไม่มีก็ตาม นายการุณ ยังย้ำด้วยว่า การปราศรัยของตน ไม่ได้ระบุตัวบุคคล
       
       ด้านนายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขตดอนเมือง พรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า หากศาลฎีกาฯ วินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตนก็พร้อมสู้เต็มที่ และคงต้องดูว่าพรรคเพื่อไทยจะส่งใครลงสมัครแทนนายการุณ และว่า ขณะนี้รู้สึกกังวลเรื่องความปลอดภัย เพราะคดียิงนายชุติเดช สุวรรณเกิด หัวคะแนนของตน ยังไม่มีความคืบหน้า ขณะที่ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวลือว่า หลังจากนายชุติเดชแล้ว รายต่อไปจะเป็นตน จึงต้องระวังตัวมากขึ้น พร้อมยอมรับว่า ที่ผ่านมามีการข่มขู่เข้ามาเป็นระยะๆ แต่ไม่รู้สึกท้อถอย
       
       ขณะที่พรรคเพื่อไทยยังไม่มีความชัดเจนว่าจะส่งใครลงสมัครรับเลือกตั้งแทนนายการุณ แต่นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้ออกมาบอกว่า หากศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีมติเช่นเดียวกับ กกต. จะเสนอให้พรรคส่งนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งแทนนายการุณ พร้อมเชื่อว่า นายการุณจะไม่ขัดข้อง เพราะถือว่าเป็นนักต่อสู้เช่นเดียวกัน
       
       ด้านนายการุณ ส่งสัญญาณไม่มีปัญหาหากนายจตุพรจะลงสมัครรับเลือกตั้งแทนตน เพราะนายจตุพรเป็นพี่ตนและเป็นพวกเดียวกัน แต่ต้องมีการพูดคุยกันก่อน นายการุณ ยังเชื่อด้วยว่า ตนยังมีโอกาสต่อสู้ในชั้นศาลฎีกาฯ เพราะดูจากมติ กกต.แล้ว ยังมีเสียงแตกอยู่ 2 เสียง
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ได้ออกมาเผยว่า ตนเป็นเสียงข้างน้อยที่ไม่ได้ให้ใบแดงนายการุณ เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมากรณีมีการพูดจาใส่ร้ายกันทางการเมือง กกต.จะยกคำร้องทุกครั้ง โดยเฉพาะการใส่ร้ายกันของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ เพื่อไทยและประชาธิปัตย์ การให้ใบแดงนายการุณด้วยข้อกล่าวหาใส่ร้ายครั้งนี้จึงถือเป็นครั้งแรก
       
       ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาเตือนความจำนางสดศรีว่า ไม่ทราบว่านางสดศรีได้ดูประวัติหรือยังว่าเคยให้ใบแดงเรื่องแบบนี้มาก่อน เพราะนายธานินทร์ ใจสมุทร อดีต ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ เคยโดนใบแดงข้อหาปราศรัยใส่ร้ายมาแล้ว นอกจากนี้กฎหมายยังระบุชัดว่า พฤติกรรมใดที่เป็นการสร้างความเข้าใจผิด ทำให้เกิดผลกระทบต่อคะแนนนิยมของผู้สมัคร ถือเป็นการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ไม่เท่านั้น เวลาผู้สมัครรับเลือกตั้งทำอะไรเองแล้วผิดกฎหมาย มักจะโดนใบแดง ไม่ใช่โดนใบเหลือง ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน ดังนั้นนางสดศรีไม่ควรให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนกับประชาชน “คำพูดของนางสดศรีนั้น จะมีคนนำไปใช้ประโยชน์อย่างแน่นอน... จึงอยากให้ กกต.ออกมาชี้แจง ไม่เช่นนั้นคนจะสับสน กลายเป็นว่ามีมติออกมาแล้ว เสียงข้างน้อยออกมาอธิบาย แต่เสียงข้างมากไม่อธิบาย”
       
      4. ศาล รธน. ยื่นศาลอาญาถอนประกัน “จตุพร” คดีก่อการร้าย หลังดูหมิ่น-ข่มขู่ศาล ด้านเจ้าตัว ขู่ดำเนินคดีตุลาการสัปดาห์หน้า!

       จากกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มคนเสื้อแดงที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. โดยปราศรัยโจมตีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีมติรับคำร้องเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้วินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่ พร้อมมีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระ 3 ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย โดยนายจตุพรได้กล่าวหาว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพราะไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัย นอกจากนี้แกนนำเสื้อแดงบางคน เช่น นายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก ยังประกาศบนเวทีในลักษณะข่มขู่คุกคามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยการบอกเบอร์โทรศัพท์และบ้านพักของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและครอบครัวด้วยนั้น
       
       ปรากฏว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ส่งตัวแทนไปยื่นคำร้องต่อศาลอาญา เพื่อให้มีการเพิกถอนคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุพรในคดีก่อการร้าย โดยศาลอาญาได้รับคำร้องไว้ พร้อมออกหมายเรียกนายจตุพรมาสอบถามข้อเท็จจริงในวันที่ 23 ก.ค.เวลา 09.00น.
       
       ด้านนายจตุพร ไม่พอใจพร้อมประกาศว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิยื่นเรื่องถอนประกัน เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดี และว่า ตนจะไปแจ้งความผิดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในสัปดาห์หน้า ข้อหากระทำการขัดรัฐธรรมนูญ
       
       ขณะที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกมาชี้แจงว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้สั่งให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไปยื่นคำร้องต่อศาลอาญากรณีดังกล่าว แต่สำนักงานศาลฯ คงทำไปตามหน้าที่ที่เห็นว่าควรต้องมีการดูแลความปลอดภัยของตุลาการทุกคน “ผมเข้าใจว่าเพื่อให้ตุลาการทำหน้าที่ด้วยความราบรื่น ไม่ถูกข่มขู่คุกคาม จึงจำเป็นต้องดูแลไม่ให้ตุลาการถูกข่มขู่ เพราะนายจตุพรและพวกได้มีการปราศรัยข่มขู่ที่รัฐสภา อีกทั้งเมื่อไม่นานมานี้ คนรถของผมเองก็ได้รับโทรศัพท์ข่มขู่ว่าจะพาคนมาบุกที่บ้าน สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจึงห่วงความปลอดภัย”
       
       ด้านนายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา พูดถึงการรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ใช่คู่ความ แต่คำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญเสนอมานั้น มีผลกระทบต่อสังคม และพฤติการณ์ของนายจตุพรตามที่ร้องมา ก็มีการเผยแพร่ทางสื่อมวลชน ถือว่าเข้าข่ายข้อกำหนดในการประกันตัว ถึงศาลรัฐธรรมนูญไม่ยื่นคำร้องมา ศาลอาญาก็มีสิทธิเรียกตัวนายจตุพรมาสอบสวนได้
       
       อย่างไรก็ตาม นายทวี ส่งสัญญาณเหมือนกับว่าอาจจะไม่มีการถอนประกันนายจตุพรตามที่ศาลรัฐธรรมนูญยื่นคำร้อง “ไม่มีการตั้งธงว่าจะถอนประกันนายจตุพร เพราะการถอนประกันอาจเกิดปัญหาตามมาแบบกรณีที่เคยถอนประกัน แล้วนายจตุพรติดคุก ออกมาเลือกตั้งไม่ได้ จนโดนตัดสิทธิ แต่จะพิจารณาถึงข้อแม้ในการประกันตัวและความเสียหายที่เกิดขึ้น”
       
       5. ศาลเยาวชนฯ ยังไม่อ่านคำพิพากษาคดี “แพรวา” ซิ่งซีวิคชนรถตู้ดับ 9 ศพ นัดคู่กรณีไกล่เกลี่ย 2 ก.ค.!


       เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่อัยการคดีเยาวชนและครอบครัว 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.แพรวา (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 18 ปี เป็นจำเลย ในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายต่อร่างกายบาดเจ็บสาหัส ทรัพย์สินเสียหาย และข้อหาใช้โทรศัพท์ขณะขับรถยนต์
       
        ทั้งนี้ อัยการยื่นฟ้องสรุปว่า เมื่อคืนวันที่ 27 ธ.ค.2553 จำเลยได้ขับรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นซีวิค ทะเบียน ฎว 8461 กรุงเทพมหานคร ขึ้นทางยกระดับโทลล์เวย์มุ่งหน้าถนนดินแดงด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจำเลยได้กระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังหรือใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอ โดยจำเลยไม่ขับรถในช่องทางซ้าย เมื่อมาถึงบริเวณแยกทางลงบางเขน ช่วงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำเลยได้เปลี่ยนช่องทางจากขวาสุดมาทางซ้าย และได้เปลี่ยนกลับไปยังช่องทางขวาอีกครั้ง เป็นเหตุให้รถของจำเลยพุ่งเข้าชนรถตู้โดยสาร ที่วิ่งระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทำให้รถตู้เสียหลัก หมุนไปชนขอบกั้นทางโทลล์เวย์พลิกคว่ำ คนขับรถตู้และผู้โดยสารกระเด็นออกจากตัวรถตกจากทางด่วนเสียชีวิตรวม 9 ศพ และบาดเจ็บสาหัสอีกจำนวนหนึ่ง ส่วนรถของจำเลยแฉลบเลยจากรถตู้ไปประมาณ 50 เมตร นอกจากนี้ ก่อนเกิดเหตุ จำเลย ยังได้ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถด้วย โดยมีหลักฐานเป็นรายงานการใช้โทรศัพท์มือถือของจำเลย ซึ่งในชั้นสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธทั้ง 2 ข้อหา
       
        ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ยังไม่สมควรมีคำพิพากษา และได้เสนอแนะให้ทั้งสองฝ่ายใช้วิธีไกล่เกลี่ยเรื่องค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวกลาง พ.ศ.2553 มาตรา 132 โดยนัดให้ทั้งสองฝ่ายมาไกล่เกลี่ยอีกครั้งในวันที่ 2 ก.ค. เวลา 09.00น. หากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ ศาลจะมีคำพิพากษาต่อไป
       
        หลังศาลยังไม่อ่านคำพิพากษา นพ.กฤช รอดอารีย์ บิดานายเกียรติมัน รอดอารีย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว ยอมรับว่าผิดหวังที่ศาลยังไม่อ่านคำพิพากษา พร้อมย้ำว่า คดีนี้ ตนไม่ได้หวังเรื่องสินไหมทดแทน แต่อยากให้มีการรับผิดชอบต่อสังคม อยากให้มีการตัดสินตามความผิดของจำเลยมากกว่า

ASTVผู้จัดการออนไลน์    25 มิถุนายน 2555

5672
1. ครม. ถอย ยอมนำเรื่องนาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเข้าสภา ด้านนาซาประกาศถอนตัว-ไม่สัญญา ปีหน้ามาอีก!

       ความคืบหน้ากรณีองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(นาซา) ขอเข้าใช้พื้นที่สนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรีในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ โดยอ้างว่าเพื่อดำเนินกิจกรรมสำรวจเมฆสำหรับใช้ในการพยากรณ์อากาศ แต่หลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงว่าอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เพราะสหรัฐฯ อาจมีเป้าหมายทางทหารเพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของจีน ดังนั้นการจะอนุญาตให้นาซาเข้าใช้สนามบินอู่ตะเภา รัฐบาลต้องเสนอเรื่องดังกล่าวให้รัฐสภาพิจารณาก่อนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ขณะที่แกนนำในรัฐบาลหลายคน อ้างว่าเรื่องดังกล่าวไม่เข้าข่ายมาตรา 190 แค่ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติก็เพียงพอ โดยเตรียมดันเข้าที่ประชุม ครม.วันที่ 26 มิ.ย. เนื่องจากทางนาซาประกาศว่า หากรัฐบาลไทยให้คำตอบไม่ทันวันที่ 26 มิ.ย. นาซาคงต้องถอนตัว เพราะไม่สามารถขนอุปกรณ์มาเตรียมพร้อมได้ทัน
       
       ปรากฏว่า ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ได้มีมติเห็นชอบให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งจะเปิดประชุมในวันที่ 1 ส.ค. เพื่อให้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงและอภิปรายแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 พร้อมมอบหมายให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการะทรวงการต่างประเทศ อธิบายให้ทางสหรัฐฯ เข้าใจ
       
       ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บอกว่า แม้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 190 แต่เมื่อมีเสียงทักท้วงจากหน่วยงานที่ตรวจสอบและฝ่ายค้าน จึงควรใช้กลไกของรัฐสภาในการตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส
       
       ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้ว่า การที่รัฐบาลจะนำเรื่องนาซาเข้าที่ประชุมรัฐสภาตามมาตรา 179 ถือว่าไม่เกี่ยวอะไรกับมาตรา 190 เพราะแม้รัฐบาลจะเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 179 แต่ถ้าต่อไปมีการไปทำความตกลงก็ผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 อยู่ดี
       
       ทั้งนี้ หลัง ครม.มีมติให้นำเรื่องนาซาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเข้าที่ประชุมรัฐสภาในเดือน ส.ค. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้โทรศัพท์รายงานผลให้นางคริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยทราบ และให้ช่วยแจ้งนาซาฝ่ายไทยด้วย พร้อมหวังว่านาซาจะเข้าใจและกลับมาสำรวจวิจัยตามโครงการดังกล่าวที่ประเทศไทยในปีหน้า นายสุรพงษ์ ยังโยนความผิดให้พรรคประชาธิปัตย์ด้วยว่า “ถ้าปีนี้น้ำท่วมหนัก ฝ่ายค้านต้องเป็นผู้รับผิดชอบที่นำเรื่องนาซามาเป็นประเด็นทางการเมือง จนทำให้ประเทศไทยต้องเสียโอกาส”
       
       ด้านนายวอลเตอร์ บราโนห์เลอร์ โฆษกสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย แถลงเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ว่า นาซาไม่สามารถรอการตัดสินใจของฝ่ายไทยได้ เนื่องจากการศึกษาสภาพอากาศต้องทำในเดือน ส.ค.และ ก.ย.เท่านั้น ส่วนจะกลับมาดำเนินโครงการนี้อีกครั้งในปีหน้าหรือไม่นั้น ยังเร็วเกินไปที่จะพูด นายวอลเตอร์ ยังบอกด้วยว่า “เป็นเรื่องน่าเสียดายที่โอกาสสำคัญของนักวิทยาศาสตร์จากทั้งนาซาและฝ่ายไทยจะได้ร่วมงานกัน เพื่อจัดเก็บข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ต้องสูญเสียไป เพราะโอกาสนี้เป็นโอกาสสำคัญต่อทั้งไทย สหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ด้วย”
       
       หลังนาซายกเลิกใช้สนามบินอู่ตะเภา แกนนำพรรคเพื่อไทย โดยนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค ได้ประกาศจะฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์พยายามขัดขวางไม่ให้นาซาเข้าใช้สนามบินอู่ตะเภา พร้อมชี้ว่า โครงการร่วมมือระหว่างนาซากับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(สทอภ.) หรือจิสด้า มีขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ย.2553 สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์แล้ว แต่กลับไม่มีการนำเรื่องเข้า ครม. ถือว่านายอภิสิทธิ์และคุณหญิงกัลยาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ดังนั้นตนจะยื่นฟ้องในสัปดาห์หน้า เพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง
       
       ด้านนายราเมศ รัตนะเชวง ในฐานะทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาท้าให้นายพร้อมพงศ์รีบแจ้งความดำเนินคดีนายอภิสิทธิ์และคุณหญิงกัลยา พรรคจะได้แจ้งความกลับนายพร้อมพงศ์ ฐานแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท ถือเป็นการแลกกันคนละหมัด
       
       ขณะที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า การขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเพิ่งเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนี้ สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความรู้และบุคลากรทั่วไป ไม่มีการพูดถึงการตรวจสภาพอากาศโดยการใช้สนามบินอู่ตะเภาแต่อย่างใด ดังนั้นความล้มเหลวที่เกิดขึ้นต้องโทษรัฐบาลนี้ ไม่ใช่มาโยนความผิดให้ฝ่ายค้าน
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้นาซาจะยกเลิกการขอใช้สนามบินอู่ตะเภาแล้ว แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังยืนยันจะนำเรื่องนาซาเข้าที่ประชุมรัฐสภาในเดือน ส.ค. เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการอนุมัติให้นาซาใช้สนามบินอู่ตะเภานั้น ต้องให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาหรือแค่ ครม.เห็นชอบก็พอ จะได้นำไปเป็นข้อมูลหากนาซามาขอใช้สนามบินอีก
       
       ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้แสดงความหวังเช่นกันว่าปีหน้านาซาจะมาขอใช้สนามบินอู่ตะเภาอีก พร้อมชี้ การที่รัฐบาลไม่สามารถให้นาซาใช้สนามบินในปีนี้ได้ เพราะคนในชาติบางส่วนพยายามไม่เข้าใจ “ผมเชื่อว่าทุกคนหวังดีกับประเทศชาติ วันที่ประชุมหารือกัน นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการเหล่าทัพก็อยู่ด้วย ได้ข้อสรุปว่าถ้าดีก็นำไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือการนำเข้า ครม.แล้วทำข้อตกลงกับสหรัฐอเมริกา แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะคนในชาติบางส่วนพยายามไม่เข้าใจ จึงทำให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลำบาก...”
       
       2. “จตุพร” บุกศาล รธน.ยื่นหนังสือจี้ชี้แจง พร้อมขู่ หากถูกถอนประกัน จะอดข้าวประท้วง ด้าน “เสื้อแดง” ฮึ่ม ชุมนุมใหญ่!

       ความคืบหน้ากรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) และผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ไม่พอใจที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญยื่นคำร้องต่อศาลอาญาขอให้เพิกถอนคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุพร หลังขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มเสื้อแดงที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 7 มิ.ย.โดยกล่าวหาโจมตีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่มีอำนาจรับคำร้องเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้วินิจฉัยตามมาตรา 68 พร้อมกันนี้นายจตุพร ยังประกาศจะแจ้งความเอาผิดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ยื่นถอนประกันตนด้วย ขณะที่มีข่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะออกเอกสารชี้แจงเรื่องดังกล่าวในวันที่ 25 มิ.ย.นั้น
       
       ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด(25 มิ.ย.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ออกเอกสารชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นถอนประกันนายจตุพรแต่อย่างใด โดยให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่างๆ ปรากฏอยู่ในคำร้องแล้ว และศาลอาญาได้มีคำสั่งนัดสอบถามจำเลยในวันที่ 23 ก.ค. เมื่อคำร้องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอาญาแล้ว สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจึงของดให้ความเห็นกรณีดังกล่าว เพื่อไม่เป็นการก้าวล่วงอำนาจศาล และให้การพิจารณาเป็นไปตามกฎหมาย
       
       ด้านนายจตุพร ประกาศ จะเดินทางไปศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 26 มิ.ย. เพื่อสอบถามเรื่องที่ยื่นถอนประกันตน รวมทั้งกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนได้แจ้งความดำเนินคดีตนข้อหาหมิ่นประมาทเมื่อวันที่ 27 ต.ค.2553 โดยที่ตนไม่รู้มาก่อน เมื่อตุลาการเป็นคู่ฟ้องกับตน จะทำให้การยื่นถอนประกันตนไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
       
       ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ดักคอนายจตุพรว่า จะไปศาลรัฐธรรมนูญแบบไหน ไม่ควรใช้วิธีเอามวลชนไปกดดันข่มขู่ศาล พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้มีความพยายามจะลากศาลมาเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐบาลและกลุ่ม นปช.เพื่อปูทางนำไปสู่การลดอำนาจตุลาการ เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “หากเราให้ศาล ซึ่งเป็นองค์กรอยู่เหนือการเมือง ถูกลากเข้าสู่ความขัดแย้ง จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้สังคมขาดที่พึ่ง และมีความสุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความรุนแรงได้”
       
       ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนด(26 มิ.ย.) นายจตุพรได้เดินทางไปศาลรัฐธรรมนูญพร้อมด้วยนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และคนเสื้อแดงนับร้อยคน จากนั้นได้ยื่นหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงการยื่นถอนประกันตน
       
       นายจตุพร เผยด้วยว่า ได้ขอให้ศาลตอบข้อสงสัยต่อไปนี้ 1.สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจใดในการยื่นคำร้องถอนประกันตน 2.มีข้อความใดของตนที่เป็นการข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ และ 3.ศาลรัฐธรรมนูญมีความเป็นกลางในการพิจารณาและวินิจฉัยคดีหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยแจ้งความดำเนินคดีตน โดยคดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน นายจตุพร ยังประกาศด้วยว่า หากผมถูกจองจำโดยไม่ได้กระทำผิด ผมจะเดินเท้าจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อที่จะมาขึ้นรถของกรมราชทัณฑ์ที่ศาลอาญา และจะอดข้าวตั้งแต่วันแรกที่ถูกจองจำ ซึ่งมีทางเดียวที่จะเอาผมออกจากเรือนจำได้ คือร่างที่ไร้วิญญาณ ผมยอมยกอิสรภาพ แต่ไม่ยอมที่จะยกความเป็นมนุษย์ให้”
       
       ด้านสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ออกมาชี้แจงหรือตอบโต้นายจตุพรแต่อย่างใด ขณะที่นายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ โฆษกกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองประธาน นปช.ได้ออกมาขู่ศาลอาญาว่า หากมีการถอนประกันนายจตุพรเมื่อไหร่ กลุ่มคนเสื้อแดงพร้อมจะออกมารวมตัวครั้งใหญ่ เพื่อถามหาความเป็นธรรมและความถูกต้องให้กับนายจตุพรแน่นอน “ผมมองว่าขณะนี้เริ่มมีกระบวนการจ้องล้มรัฐบาล เริ่มจากกระบวนการถอนประกันนายจตุพรก่อน ซึ่งต้องไม่ลืมว่า นายจตุพรเป็นเหมือนกล่องดวงใจและเป็นหัวหมู่ทะลวงฟันคนสำคัญของกลุ่มคนเสื้อแดง ...หากนายจตุพรถูกถอนประกันจริง สถานการณ์ทางการเมืองอาจจะส่อเค้าบานปลายได้”
       
      3. “ขุนค้อน” เสนอถอน กม.ปรองดอง หวั่นวุ่นหลังเปิดสภา ด้าน “อภิสิทธิ์” รีบหนุน ขณะที่ “บิ๊กบัง-ชุมพล” ส่งสัญญาณเห็นด้วย!

       เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร พูดถึงกรณีที่วงเสวนาของอดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ระบุว่า หลังเปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 1 ส.ค.สถานการณ์การเมืองจะรุนแรงขึ้นว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติบรรจุอยู่ในวาระการประชุมวาระแรก ซึ่งส่วนตัวเห็นว่ายังไม่ควรนำเรื่องนี้ขึ้นมาหารือ ควรยื้อออกไปก่อน เพราะอยากให้มีการประชาเสวนาสักระยะหนึ่ง ส่วนจะถอนร่างดังกล่าวออกไปก่อนหรือไม่นั้น นายสมศักดิ์ บอกว่า ขึ้นอยู่กับสมาชิกในที่ประชุมจะพูดคุยกัน ซึ่งน่าจะคุยกันได้ และว่า ตนได้คุยเรื่องนี้กับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ บ้างแล้ว
       
       ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ไปถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงแนวคิดของนายสมศักดิ์ที่เห็นว่าควรถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ออกไปก่อน ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า เป็นเรื่องของสภา คงต้องให้สภาเป็นผู้พิจารณา ขณะที่ พล.อ.สนธิ บอกว่า ยังไม่ได้คุยกับประธานสภาฯ เรื่องการถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ คุยกันแค่ว่า หากจะให้กฎหมายปรองดองเดินหน้าได้ ต้องเป็นไปตามแนวทางของสถาบันพระปกเกล้าที่เสนอให้จัดเสวนาหรือทำโพลล์สำรวจความคิดเห็นประชาชนก่อน เพื่อดูการตอบรับของสาธารณชนว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็ว่าตามนั้น พล.อ.สนธิ ยังเชื่อด้วยว่า “หากเปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 1 ส.ค.มีแนวโน้มสูงที่จะเลื่อนกฎหมายปรองดองออกไป แต่ต้องพูดคุยกับผู้ร่วมเสนอกฎหมายปรองดองก่อน”
       
       ด้านนายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย บอกว่า การถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ออกจากวาระการประชุมสภา ไม่สามารถทำได้ทันที ต้องฟังเสียงที่ประชุมว่าจะถอนหรือเลื่อนร่างดังกล่าวหรือไม่ ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และแกนนำ นปช. บอกว่า ทางพรรคเพื่อไทยยังไม่ได้มีการหารือเรื่องร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ แต่ส่วนตัวแล้วได้ทั้ง 2 แบบ จะให้ถอนหรือไม่ถอนก็ได้
       
       ส่วนท่าทีของพรรคชาติไทยพัฒนานั้น นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรค บอกว่า เรื่องปรองดองไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย เปิดสภาแล้วยังไม่ต้องพูดถึงก็ได้ ควรทำประชาเสวนาตามข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าก่อน
       
       เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ได้ออกมาสนับสนุนและขอบคุณที่ประธานสภาเห็นว่า การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองต่อไปจะทำให้เกิดความขัดแย้ง ควรใช้เวลาทบทวนเพื่อให้เกิดการพูดคุยในสังคมก่อน
       
       ขณะที่นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) บอกว่า เรื่องร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล เป็นเรื่องที่ ส.ส.ต้องไปคุยกันเอง การจะถอนหรือไม่ถอนร่างฯ ขึ้นอยู่กับเจ้าของร่างทั้ง 4 ฉบับ ทั้งนี้ สัปดาห์หน้าวิปรัฐบาลจะหารือเรื่องดังกล่าว
       
      4. ศาลแพ่ง ยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว “จอดำ” หวั่น “ยูฟ่า” ระงับสัญญาณช่อง 3-5-9 ทำคนทั้ง ปท.อดดูยูโร!


       เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ศาลแพ่งได้มีคำสั่งยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวคดีที่ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กับพวกรวม 5 คน ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรทัศน์ระบบฟรีทีวี ระบบเคเบิล ระบบดาวเทียม และกล่องจีเอ็มเอ็ม แซท เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของทีวีสีช่อง 3 ,กองทัพบก เจ้าของสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ,บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เจ้าของโมเดิร์นไนน์ทีวี และบริษัท จีเอ็มเอ็ม จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลยที่ 1-4 เรื่องละเมิดและผิดสัญญา พร้อมขอคุ้มครองฉุกเฉินให้มีการแพร่ภาพการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 (ฟุตบอลยูโร) ทันทีจนกว่าจะหมดรายการในวันที่ 2 ก.ค.
       
       ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การจะสั่งคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้น นอกจากศาลจะต้องพิจารณาประโยชน์ของคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว ยังต้องพิจารณาประโยชน์และความเสียหายของผู้บริโภคอื่นหรือผลกระทบต่อสวนรวมอย่างรอบด้านด้วย ดังนั้นการมีคำสั่งใดใดของศาล จึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และสิทธิของผู้บริโภคทั่วไปกับประโยชน์และสิทธิของปัจเจกชนในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอำนาจตามกฎหมายในการจำหน่าย จ่ายโอน หรือกันสิทธิของตนด้วย
       
       และเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงแล้ว ศาลเห็นว่า ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังสามารถรับชมการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลดังกล่าวจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ,5 และ 9 ได้โดยผ่านสายอากาศรับสัญญาณทั่วไป หรือโดยช่องทางอื่น เช่น อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวในส่วนของจำเลยที่ 1-3 ทางสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป(ยูฟ่า) ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลไทย อาจใช้เป็นข้ออ้างเรื่องลิขสิทธิ์ให้บริษัท จีเอ็มเอ็มระงับการส่งสัญญาณให้แก่สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ,5 และ 9 ได้ ซึ่งจะเกิดความเสียหายมากกว่า เพราะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทันทีก็คือ ไม่ใช่แค่โจทก์ทั้งห้า และผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรทัศน์ทำนองเดียวกับโจทก์ทั้งห้า เท่านั้นที่จะไม่ได้ดูการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลดังกล่าว แต่ยังจะลุกลามไปถึงผู้บริโภคทั้งประเทศที่อาจจะอดดูเช่นกัน
       
       ไม่เท่านั้น ยังจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของไทยในสายตาประชาคมโลก เรื่องการรับรองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และอาจส่งผลไปถึงการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬารายการอื่นๆ รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในอนาคตด้วย ซึ่งยากที่จะเยียวยาแก้ไข
       
       เมื่อศาลพิเคราะห์ผลได้ผลเสียของผู้บริโภคโดยรวมและความเสียหายที่จะเกิดกับจำเลยทั้งสี่ แล้วเห็นว่า ยังไม่สมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจารณา จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ทั้งห้า
       
      5. ไทย-กัมพูชา ตกลงถอนทหารพ้นพระวิหาร เพื่อเปิดทางให้อาเซียนเข้าสังเกตการณ์ตามคำสั่งศาลโลกแล้ว!

       เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานจากกรุงพนมเปญว่า พล.อ.เนียง พัท เลขานุการรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา และ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เสนาธิการทหารของไทย ได้เปิดแถลงร่วมกันหลังเสร็จสิ้นการหารือของคณะทำงานร่วมที่กรุงพนมเปญ โดย พล.อ.เนียง พัท บอกว่า การประชุมเป็นไปอย่างฉันมิตร และได้ข้อสรุปที่ดี โดยทั้งไทยและกัมพูชาตกลงที่จะถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่เขตปลอดทหารชั่วคราวบริเวณปราสาทพระวิหาร ตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ไอซีเจ) เพื่อเปิดทางให้ทีมสังเกตการณ์จากอาเซียนเข้าไปประจำการในพื้นที่ดังกล่าว
       
        อย่างไรก็ตาม ก่อนจะมีการถอนทหาร จะให้ศูนย์ปฏิบัติการเก็บกู้กับระเบิดทั้งของไทยและกัมพูชาประชุมร่วมกันที่กรุงเทพฯ ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.ค.เพื่อหารือและวางมาตรการร่วมกันในการเก็บกู้กับระเบิดในพื้นที่ดังกล่าวภายใน 30 วัน ก่อนจะมีการถอนกำลังทหารออกมา
       
        ด้าน พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เสนาธิการทหารของไทย พูดถึงผลการหารือกับ พล.อ.เนียง พัท ว่า เป็นไปด้วยดี และแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือที่ดีระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 กรกฎาคม 2555

5673
1. “ในหลวง” เสด็จฯ ทางชลมารคทรงเปิด 5 โครงการชลประทาน ด้าน ปชช.รับเสด็จเนืองแน่นสองฝั่งเจ้าพระยา!
       
       เมื่อวันที่ 7 ก.ค. เวลาประมาณ 16.30น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จลงจากที่ประทับชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ไปยังท่าเทียบเรือเพื่อประทับเรืออังสนา ที่กองทัพเรือจัดถวายเป็นเรือพระที่นั่ง เสด็จฯ ไปทรงเปิดโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 5 โครงการ ที่บริเวณหน้ากรมชลประทาน เขตดุสิต กรุงเทพฯ พร้อมทอดพระเนตรสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ประสบอุทกภัยเมื่อปี 2554
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ และทรงมีพระพักตร์ผ่องใส ทรงแย้มพระสรวลและโบกพระหัตถ์ให้ประชาชนที่พร้อมใจกันใส่เสื้อสีชมพูมารอรับเสด็จอย่างเนืองแน่นตลอดสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงบริเวณเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี นอกจากนี้พระองค์ยังทรงยกกล้องขึ้นถ่ายรูปพสกนิกรเป็นระยะๆ ยังความปลาบปลื้มแก่ประชาชนเป็นอันมากที่เห็นพระองค์ทรงมีพระวรกายแข็งแรง โดยประชาชนต่างเปล่งเสียง “ทรงพระเจริญ” ดังกึกก้องตลอดเส้นทางที่พระองค์เสด็จฯ ผ่าน
       
       ทั้งนี้ เมื่อเสด็จฯ ถึงหน้ากรมชลประทานแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลถวายรายงาน จากนั้นมีการแสดงสื่อผสม “น้ำสร้างชีวิต” บนเรืออังสนา กระทั่งเวลา 20.23น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระหัตถ์บนแท่นตราสัญลักษณ์โครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก ,โครงการประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต จ.นครพนม ,โครงการประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ จ.นครศรีธรรมราช ,โครงการอุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ จ.กาฬสินธุ์ และโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก
       
       หลังจากทรงเปิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 5 โครงการแล้ว พระองค์ได้ทอดพระเนตรวีดิทัศน์บรรยากาศสดจากทั้ง 5 จังหวัดที่ร่วมกันแปรอักษรคำว่า “ทรงพระเจริญ” เมื่อการแสดงจบลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ กลับโรงพยาบาลศิริราชในเวลาประมาณ 20.30น.
       
      2. ศาล รธน.ไต่สวนกรณีแก้ รธน.มาตรา 291 แล้ว นัดวินิจฉัย 13 ก.ค.นี้ ขณะที่ “เฉลิม-เสื้อแดง” ขู่ ตัดสินไม่เข้าทาง มีม็อบใหญ่!

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอถอนตัวจากองค์คณะ ทำให้องค์คณะที่จะพิจารณาคดีนี้เหลือ 8 คน
       เมื่อวันที่ 5-6 ก.ค. ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดไต่สวนกรณีที่ศาลฯ รับวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ของรัฐบาลซึ่งเป็นการแก้ไขทั้งฉบับ เท่ากับเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 นั้น เป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
       
       โดยวันแรก(5 ก.ค.) เป็นการไต่สวนฝ่ายผู้ร้องก่อนจำนวน 7 ปาก แบ่งเป็นผู้ร้อง 5 คน ประกอบด้วย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา ,นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ,นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ,นายวรินทร์ เทียมจรัส อดีต ส.ว.สรรหา ,นายบวร ยสินทร และพยานฝ่ายผู้ร้องอีก 2 คน คือ นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ ส.ว.สรรหา
       
       ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดประเด็นการพิจารณาในการไต่สวนไว้ 4 ประเด็น คือ 1.อำนาจในการฟ้องร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสอง 2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ 3.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ และ 4.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสามและวรรคท้าย อันเป็นเหตุให้พรรคการเมืองถูกยุบพรรคหรือไม่
       
       สำหรับการไต่สวนวันแรกกินเวลากว่า 7 ชั่วโมง โดยผู้ร้องและพยานต่างยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 ของรัฐบาลที่ดำเนินมาจนถึงวาระ 3 แล้วนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 โดยนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 แก้ไขได้เพียงบางมาตรา ไม่สามารถแก้ไขทั้งฉบับอย่างที่รัฐบาลดำเนินการอยู่
       
       ขณะที่นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ยืนยันเช่นกันว่า มาตรา 291 ไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หากจะแก้ไข ต้องลงประชามติก่อนว่า จะให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวของประเทศที่ผ่านการลงประชามติ และถือเป็นสัญลักษณ์ของกระบวนการใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงของประชาชนเป็นครั้งแรก “ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญคราวนี้ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์และขัดกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เขียนในวรรคสองของมาตรา 291 ขัดที่ให้อำนาจ ส.ส.และ ส.ว.ใช้ดุลพินิจทำลายล้างสิ่งที่ประชาชนเจ้าของอำนาจได้ลงประชามติ”
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการไต่สวนวันแรก นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้แจ้งให้ผู้ร้องและผู้ถูกร้องทราบว่า มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขอถอนตัวจากองค์คณะ 1 คน คือ นายจรัญ ภักดีธนากุล เหตุที่ขอถอนตัวเนื่องจากไม่สบายใจหลังถูกนายชูศักดิ์ ศิรินิล ผู้แทนผู้ถูกร้องของพรรคเพื่อไทย พาดพิงระหว่างซักค้าน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ว่า นายจรัญเคยระบุเมื่อครั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ว่า ให้รับร่างรัฐธรรมนูญไปก่อนจะได้หลุดพ้นจาก คมช.และการรัฐประหาร พร้อมบอกด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ไม่ยาก แก้ไขแค่มาตราเดียว
       
       ซึ่งนายจรัญได้ชี้แจงกลางห้องพิจารณาคดีว่า “ผมพูดตอนนั้นว่าถ้าไม่ได้รัฐธรรมนูญ 2550 เราจะไม่พ้นจากระบอบปฏิวัติรัฐประหาร ดังนั้น น่าจะต้องรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ไปก่อน แล้วถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมก็แก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่ไม่ได้บอกว่าแก้มาตราเดียวแบบยกเลิกทั้งฉบับ” ทั้งนี้ การที่นายจรัญชี้แจงดังกล่าว ทำให้ตัวเองรู้สึกไม่สบายใจ เพราะหากตัดสินคดีต่อไป อาจทำให้สาธารณชนรู้ความเห็นของนายจรัญล่วงหน้าได้ จึงขอถอนตัว ซึ่งองค์คณะพิจารณาแล้วอนุญาต จึงเหลือองค์คณะเพียง 8 คนที่จะวินิจฉัยคดีนี้ โดยในการพิจารณาคดีจะต้องมีองค์คณะไม่น้อยกว่า 5 คน
       
       สำหรับการไต่สวนวันที่สอง(6 ก.ค.) เป็นการไต่สวนผู้ถูกร้องจำนวน 8 ปาก ประกอบด้วย นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา ,นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ,นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ,นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ,นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา ,นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ,นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะผู้แทนนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ครม.มอบหมายให้มาชี้แจง
       
       ทั้งนี้ ก่อนที่การไต่สวนจะเริ่มขึ้น นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่ามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขอถอนตัวจากองค์คณะอีก 3 คน คือ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ ,นายนุรักษ์ มาประณีต และตน โดยนายสุพจน์และนายนุรักษ์ขอถอนตัวเนื่องจากเคยเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ที่ประชุมไม่อนุญาต เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะอนุญาตได้ เนื่องจากได้รับการยกเว้นไปแล้วตามข้อกำหนด ส่วนตนขอถอนตัวเนื่องจากถูกเผยแพร่คลิปในเว็บไซต์ยูทูบว่าเคยพูดอย่างนั้นอย่างนี้เมื่อปีก่อน จึงเกรงว่าจะใกล้เคียงกับกรณีนายจรัญที่ขอถอนตัวไปก่อนหน้า แต่ที่ประชุมไม่อนุญาตให้ตนถอนตัว เพราะเห็นว่าไม่ใกล้เคียงกรณีนายจรัญ
       
       สำหรับประเด็นที่ผู้ถูกร้องให้การต่อศาลฯ นั้น ต่างยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่ได้ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย พร้อมชี้ว่า รัฐธรรมนูญ 2550 มีปัญหา เพราะขาดความเป็นประชาธิปไตย ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ก็ยืนยันว่า ตนไม่เคยคิดล้มล้างการปกครอง พร้อมย้ำว่า หลัง ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ตนจะตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลางจริงๆ มาช่วยวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญไปแก้ไขเรื่องการปกครองและรูปแบบของรัฐหรือไม่
       
       ด้านนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ซักถามนายสมศักดิ์กรณีที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจมีการลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งนายสมศักดิ์ ตอบไม่เคลียร์ โดยนายวสันต์ ถามว่า พระราชอำนาจไม่ได้มีเฉพาะในหมวด 2 แต่มีกระจายอยู่ทั่วรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย พระราชอำนาจโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ถ้ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชอำนาจจะถือว่าเป็นหมวดพระมหากษัตริย์หรือไม่ ซึ่งนายสมศักดิ์ ตอบว่า ความเห็นตน หลักการปกครองประชาธิปไตย มีหลักสำคัญ 3 ประการ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ตรงนี้ไม่น่าไปแตะต้อง ส่วนประเด็นอื่นพิจารณาตามความเหมาะสม
       
       ทั้งนี้ หลังใช้เวลาไต่สวนฝ่ายผู้ถูกร้องนานกว่า 10 ชั่วโมง ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดฟังคำวินิจฉัยในวันที่ 13 ก.ค.นี้ เวลา 14.00น. พร้อมเปิดโอกาสให้คู่กรณีสามารถยื่นคำแถลงปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรได้ภายในวันที่ 11 ก.ค. หากไม่ยื่นจะถือว่าไม่ติดใจ
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังการไต่สวนแล้วเสร็จ พรรคเพื่อไทยและกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้ออกมาส่งสัญญาณเชิงข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยเข้าทางที่ตนต้องการ โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ บอกว่า หากคำวินิจฉัยของศาลทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ยอมรับ จะมีการออกมาเคลื่อนไหวจำนวนมาก แต่จะรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ พร้อมอ้างว่าตนไม่ได้ขู่ แต่สถานการณ์มันเป็นแบบนั้น
       
       ขณะที่นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช.แถลงว่า การเมืองเวลานี้อยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลม ขอให้คนเสื้อแดงเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา รอการนัดหมายจากแกนนำเพื่อเคลื่อนไหวต่อไป พร้อมประกาศว่า หากฝ่ายอำมาตย์ใช้อำนาจมิชอบ คนเสื้อแดงก็จะไม่ยอมรับ
       
       3. ปชป. แฉคลิปเสียง “ขุนค้อน” กล่อม “ทักษิณ” ถอยแก้ รธน.-พ.ร.บ.ปรองดองฯ ชั่วคราว เพื่อรักษาอำนาจไว้!

       เมื่อวันที่ 4 ก.ค. นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) และนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดรายการ “สายล่อฟ้า” ออกอากาศผ่านทีวีดาวเทียมช่องบลูสกายแชนแนล โดยนำคลิปเสียงนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ที่กล่าวในงานวันเกิดเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ความยาวประมาณ 25 นาทีมาเปิดในรายการ ซึ่งเนื้อหาในคลิปเป็นการเล่าของนายสมศักดิ์เกี่ยวกับเบื้องหลังที่รัฐบาลยอมถอยเรื่องการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระ 3 รวมทั้งการชะลอการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งคาดว่านายสมศักดิ์ได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟัง
       
       ทั้งนี้ เนื้อหาในคลิปนอกจากสะท้อนชัดเจนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีบทบาทอย่างมากในพรรคเพื่อไทยและมีบทบาทในการเดินหน้าเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญและการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ แล้ว ยังสะท้อนด้วยว่า นายสมศักดิ์พยายามเดินเกมเพื่อให้รัฐบาลอยู่ในอำนาจได้นานๆ ด้วยการชะลอเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญและเรื่อง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ไว้ชั่วคราว 3-6 เดือน แล้วค่อยผลักดันเข้าสภาใหม่ “...ผมพูดเป็นหมื่นทีเรื่อง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ผมก็พูดกับท่านไปหมื่นที ผมบอกว่าทนลำบากมาตั้ง 5 ปี แล้วจะลำบากต่ออีก 3 เดือน 6 เดือน มันจะเป็นอะไร ...เพราะฉะนั้น 1 ส.ค.นี้ ถอน พ.ร.บ.ปรองดองฯ ออกไป แล้วไปประชาเสวนาหาทางออกทุกตารางนิ้วทั่วประเทศไทย แล้วใช้สื่อของรัฐโหมประโคมความจริงวันนี้ แล้วอาศัยประชาชนเป็นกำแพงพิงฮะ... แล้วประชาชนทั้งประเทศจะเป็นเกราะคุ้มกันให้เราได้อย่างดีครับ แล้วถึงเวลานั้น ใช้เวลา 3 เดือน 6 เดือน เอา พ.ร.บ.ปรองดองฯ กลับเข้ามา(ในสภา) ประชาธิปัตย์มึงจะเอายังไง แล้วเสื้อเหลืองมึงจะเอายังไง สรุปแล้วครับ ทนลำบากมา 5 ปีแล้ว ลำบากต่ออีกสัก 6 เดือนจะเป็นอะไรครับ ...หัวใจสำคัญของพรรคเพื่อไทยนาทีนี้ ผมพูดกับผู้บริหารพรรคกับกรรมการยุทธศาสตร์ พูดกับคนทางไกลนับครั้งไม่ถ้วน ผมบอกว่าท่องไว้เป็นคาถาเลย หัวใจสำคัญของพรรคเพื่อไทยคือ การบริหารชัยชนะให้เป็นชัยชนะที่ยั่งยืน รักษาอำนาจรัฐเอาไว้ครับ” นายสมศักดิ์ ยังพูดในคลิปด้วยความภาคภูมิใจในบทบาทของตนที่สามารถโน้มน้าวให้ พ.ต.ท.ทักษิณเห็นคล้อยตามกับเหตุผลที่ควรชะลอเรื่องแก้รัฐธรรมนูญและร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ไว้ชั่วคราวได้
       
       ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ พูดถึงคลิปดังกล่าวว่า เป็นการสารภาพของนายสมศักดิ์ ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่า พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลไม่เคยก้าวข้ามพ้น พ.ต.ท.ทักษิณ และอยู่ภายใต้การบงการของ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงขอเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับผิดชอบต่อคลิปดังกล่าว และยอมรับความจริงว่าตัวเองเป็นแค่หุ่นเชิดให้พี่ชายและทำงานตามใบสั่งเท่านั้น
       
       นายชวนนท์ ยังบอกด้วยว่า จะปรึกษาฝ่ายกฎหมายว่าจะนำคลิปดังกล่าวไปประกอบการยื่นถอดถอนนายสมศักดิ์ออกจากตำแหน่งประธานรัฐสภาหรือไม่ นอกจากนี้อาจยื่นคลิปดังกล่าวเป็นหลักฐานเพิ่มเติมต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อประกอบการวินิจฉัยคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองด้วย และอาจยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินให้พิจารณาเรื่องจริยธรรมของนายกรัฐมนตรี รวมทั้งจะพิจารณาด้วยว่าสามารถนำไปสู่การยุบพรรคเพื่อไทยได้หรือไม่ กรณีพรรคเพื่อไทยถูกบงการโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่ถูกต้องโทษห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
       
       ด้านนายสมศักดิ์ ได้ออกมายอมรับว่าเป็นเจ้าของเสียงในคลิปจริง โดยพูดคุยกับญาติพี่น้องเป็นการภายใน นึกไม่ถึงว่าจะหลุดออกมา พร้อมยืนยันว่า เนื้อหาในคลิปไม่มีอะไรน่าเสียหาย เพราะตนมีความบริสุทธิ์ใจ ทำอะไรก็ยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
       
      4. ไฟไหม้โรงกลั่นน้ำมันบางจากกลางกรุง สูญ 100 ล้าน ด้านปลัดอุตสาหกรรม สั่งปิดตรวจสอบ 30 วัน!

       เมื่อวันที่ 4 ก.ค. เวลาประมาณ 07.30น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในโรงกลั่นน้ำมันบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ซอยสุขุมวิท 64 เขตพระโขนง กทม. จุดเกิดเหตุอยู่บริเวณหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 โดยเปลวเพลิงได้ลุกไหม้เป็นกลุ่มควันดำพวยพุ่งจากหอแยกน้ำมันก๊าดในหน่วยกลั่นดังกล่าว รวมทั้งมีเสียงระเบิดจากจุดเกิดเหตุประมาณ 2-3 ครั้ง
       
        หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่วิศวกรรมโรงกลั่นน้ำมันบางจากได้ปิดวาล์วท่อแยกส่งน้ำมันก๊าดพร้อมหยุดระบบการเดินเครื่องส่งน้ำมันดิบทั้งระบบ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะฉีดน้ำและโฟมหล่อเลี้ยงจุดเพลิงไหม้ กระทั่งเวลาผ่านไปเกือบ 2 ชั่วโมง จึงสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้
       
        ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ได้เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมเยี่ยมประชาชนในชุมชนใกล้โรงกลั่นน้ำมัน พบว่าส่วนใหญ่มีอาการแสบตา แสบคอ และคลื่นไส้จากการสำลักควัน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เผยด้วยว่า หลังจากนี้จะหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะย้ายโรงกลั่นน้ำมันหรือคลังแสงออกจากพื้นที่ กทม. เพราะขณะนี้พบว่าพื้นที่ที่มีการตั้งโรงกลั่นหรือคลังแสงมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น เกรงว่าจะสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
       
        ขณะที่นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) พูดถึงเหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันครั้งนี้ว่า ได้เกิดประกายไฟไปติดบริเวณหน่วยย่อยของโรงกลั่นซึ่งรองรับน้ำมันจากหน่วยกลั่นหลัก สาเหตุเกิดจากการรั่วของท่อส่งน้ำมัน ซึ่งต้องตรวจสอบว่ารั่วเพราะอะไร แต่ยืนยันว่ามลพิษทางอากาศไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
       
        นายอนุสรณ์ เผยด้วยว่า หน่วยกลั่นน้ำมันของบริษัทบางจากมี 3 หน่วย โดยหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 1 ปิดไม่ได้ใช้งานแล้ว หน่วยกลั่นที่ 2 มีกำลังผลิต 40,000 บาร์เรลต่อวัน ส่วนหน่วยกลั่นที่ 3 มีกำลังผลิต 80,000 บาร์เรลต่อวัน และว่า “หลังจากนี้บริษัทจะหยุดทำการผลิต 1 สัปดาห์ เพื่อตรวจสอบความเสียหาย ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ จะเปิดหน่วยกลั่นที่ 2 ต่อไป ส่วนเรื่องน้ำมันขาดแคลนนั้นไม่ต้องกังวล ทางบริษัทมีโรงกลั่นน้ำมันในพื้นที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ,จ.สมุทรสาคร ,จ.เชียงใหม่ และ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อผลิตน้ำมันและส่งให้ลูกค้าแทนไปก่อน และจะนำเข้าน้ำมันเพื่อผลิตให้ทันกับที่ลูกค้าต้องการ”
       
       ส่วนมูลค่าความเสียหายครั้งนี้ นายอนุสรณ์ คาดว่าไม่น่าเกิน 100 ล้านบาท พร้อมคาดว่าจะใช้เวลาซ่อมแซมโรงกลั่นประมาณ 2- 3 เดือน นายอนุสรณ์ ยังยืนยันด้วยว่า จะไม่มีการย้ายโรงกลั่นออกนอก กทม. เพราะบริษัทตั้งอยู่ที่นี่มา 50 ปีแล้ว และใช้เงินลงทุนไปหลายหมื่นล้านบาท
       
        ด้านนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า ได้สั่งให้โรงกลั่นน้ำมันบางจากปิดตรวจสอบหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 เป็นเวลา 30 วัน ส่วนหน่วยกลั่นที่ 2 ให้ปิดตรวจสอบ 7 วัน จนกว่าจะมั่นใจในความปลอดภัย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 กรกฎาคม 2555

5674
1. “ในหลวง” ทรงพระประชวร เลื่อนเสด็จฯ เขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี ไม่มีกำหนด!
       
       เมื่อวันที่ 13 ก.ค.สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 52 เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 12 ก.ค. หลังมีพระอาการกระตุกที่พระหัตถ์ข้างขวา พระหทัยเต้นเร็วกว่าปกติเล็กน้อย ด้านคณะแพทย์ได้ถวายการตรวจพระสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบว่า บริเวณใต้เยื่อหุ้มพระสมองชั้นนอกด้านซ้ายมีพระโลหิตซึมเล็กน้อย จึงได้ถวายพระโอสถทางหลอดพระโลหิต หลังจากนั้นพระอาการกระตุกของพระหัตถ์ข้างขวาได้หายไป
       
       สำหรับพระอาการช่วงเช้าวันที่ 13 ก.ค.คณะแพทย์รายงานว่า พระหัตถ์ข้างขวาเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ ไม่มีพระอาการกระตุก ขณะที่การเต้นของพระหทัยและความดันพระโลหิตเป็นปกติ ทั้งนี้ คณะแพทย์ได้ขอพระราชทานให้งดพระราชกิจสักระยะหนึ่ง ล่าสุด(14 ก.ค.) สำนักพระราชวัง ได้ออกแถลงการณ์ความคืบหน้าพระอาการประชวรว่า คณะแพทย์รายงานว่า พระหัตถ์ข้างขวาเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ คณะแพทย์ได้ขอถวายพระโอสถทางหลอดพระโลหิตต่อไปจนกว่าจะครบกำหนด ส่วนพระอาการทั่วไปเป็นที่พอใจของคณะแพทย์ โดยความดันพระโลหิต การเต้นของพระหทัยและการหายพระทัยเป็นปกติ รวมทั้งทรงบรรทมได้
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ได้นำแถลงการณ์ไปติดไว้บริเวณชั้น 1 ศาลาศิริราช 100 ปี ได้มีประชาชนจำนวนมากไปมุงอ่านแถลงการณ์ด้วยความเป็นห่วง พร้อมอธิษฐานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้หายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว
       
       ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ได้รับการประสานจากนายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนหมายกำหนดการเสด็จฯ เยี่ยมโครงการศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 15 ก.ค.ออกไปอย่างไม่มีกำหนด
       
       สำหรับโครงการศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ซึ่งเดิมพื้นที่โครงการเป็นฟาร์มปศุสัตว์และปลูกพืชไร่ แต่ที่ดินถูกชะล้างพังทลาย ทำให้หน้าดินเสียหาย และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ไม่สามารถปลูกพืชได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริให้ใช้หญ้าแฝกมาช่วยในการป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ทั้งยังใช้หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำด้วย
       
      2. ศาล รธน. ชี้ แก้ ม. 291 ไม่ล้มล้างการปกครอง แต่แก้ทั้งฉบับไม่ได้ ให้ทำประชามติก่อน ด้าน “นปช.” จี้สภาเดินหน้าลงมติวาระ 3!

       เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 13 ก.ค. ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดอ่านคำวินิจฉัยกรณีมีผู้ร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ของรัฐบาลซึ่งผ่านการลงมติในที่ประชุมรัฐสภาวาระ 2 ไปแล้วนั้น เข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 หรือไม่ ซึ่งทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้องต่างเดินทางมาร่วมฟังคำวินิจฉัยโดยพร้อมเพรียงกัน โดยผู้ร้อง ได้แก่ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ,นายวรินทร์ เทียมจรัส อดีต ส.ว.สรรหา ,นายบวร ยสินทร ประธานเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบัน ส่วนผู้ถูกร้อง ได้แก่ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานรัฐสภา ,นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ,นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้าจะถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัย นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง ได้ออกมาพูดปลุกระดมข่มขู่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการดำเนินการเพื่อล้มล้างการปกครอง พวกตนก็เตรียมพร้อมอยู่แล้ว และขอให้คนเสื้อแดงร่ำลาครอบครัวเอาไว้ได้เลย เพราะจะเป็นการต่อสู้แบบแตกหักอย่างแน่นอน เพราะหากศาลวินิจฉัยเช่นนั้น ประชาชนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และสนับสนุนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คงจะไม่รับฟังคำตัดสินครั้งนี้ และจะดำเนินการไปสู่การจับกุมศาล หากตำรวจไม่กระทำตาม ประชาชนก็จะดำเนินการเอง
       
       ร้อนถึงผู้เกี่ยวข้อง ต้องเพิ่มความเข้มในการรักษาความปลอดภัยให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยทางตำรวจถึงกับมีการเตรียมเฮลิคอปเตอร์ไว้เพื่อนำตุลาการศาลฯ ออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด หากเกิดเหตุฉุกเฉินหลังอ่านคำวินิจฉัย
       
       ทั้งนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้แบ่งการวินิจฉัยเป็น 4 ประเด็น ประเด็นแรก ผู้ฟ้องมีอำนาจในการฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 หรือไม่ ซึ่งศาลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลมีอำนาจในการรับคำร้องไว้วินิจฉัย เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ให้สิทธิแก่ผู้ทราบการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 68 สองประการ คือ 1.สามารถยื่นให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และ 2.ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยกเลิกการกระทำดังกล่าวได้โดยตรง ซึ่งศาลฯ เห็นว่าการแปลความแบบนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
       
       ประเด็นที่สอง การแก้ไขมาตรา 291 ที่เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ สามารถทำได้หรือไม่ ศาลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การตรารัฐธรรมนูญ 2550 ได้ผ่านการทำประชามติ จึงถือว่าประชาชนเป็นผู้สถาปนารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ดังนั้นแม้การแก้ไขจะเป็นอำนาจของรัฐสภา แต่การยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตรา 291 เพราะควรให้ประชาชนลงประชามติก่อนว่าสมควรจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หรือให้อำนาจรัฐสภาดำเนินการแก้ไข
       
       ประเด็นที่สาม การแก้ไขมาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ ศาลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 เป็นไปเพื่อให้มีวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราและปรับปรุงโครงสร้างการเมืองใหม่ให้มีประสิทธิภาพและแก้ไขข้อบกพร่องในตัวรัฐธรรมนูญเอง และหากพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ได้มาจากการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว เห็นว่ายังไม่มีข้อเท็จจริงที่จะล้มล้างการปกครอง โดยเป็นการคาดการณ์และความห่วงใยของผู้ร้องที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งยังห่างไกลที่จะเกิดขึ้น ประกอบกับในการไต่สวน ผู้ถูกร้องได้เบิกความยืนยันว่าไม่มีเจตนาล้มล้างการปกครอง และให้คำมั่นว่าจะดำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
       
       อย่างไรก็ตาม ศาลฯ เห็นว่า หาก ส.ส.ร.ร่างรัฐธรรมนูญที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้งประธานรัฐสภาและรัฐสภาก็มีอำนาจยับยั้งให้รัฐธรรมนูญตกไปได้ ขณะที่ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวก็สามารถยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการตามมาตรา 68 ได้
       
       ทั้งนี้ เมื่อศาลฯ เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ยังไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ศาลจึงไม่พิจารณาประเด็นที่สี่ที่ว่าจะนำไปสู่การยุบพรรคหรือไม่ โดยมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้ง 5 ราย
       
       ด้านทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ได้แถลงในเวลาต่อมาว่า ประเด็นเรื่องศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัยหรือไม่ เป็นมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 ที่เห็นว่าศาลมีอำนาจรับคำร้อง โดยเสียงข้างน้อยที่เห็นว่าศาลฯ ไม่มีอำนาจรับคำร้อง คือ นายชัช ชลวร ส่วนประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่นั้น เป็นมติเอกฉันท์ 8 เสียงที่เห็นว่ายังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง
       
       หลังรู้ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะ 1 ในผู้ร้อง บอกว่า ฝ่ายผู้ร้องพอใจกับคำวินิจฉัยของศาล เพราะเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการยับยั้งกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ พร้อมชี้ว่า คำวินิจฉัยของศาลยังทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เตรียมเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาในวาระ 3 เป็นอันตกไปด้วย ซึ่งหากรัฐบาลต้องการเดินหน้าแก้ไข ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด โดยต้องทำประชามติหรือแก้ไขเป็นรายมาตราโดยสมาชิกรัฐสภาเอง
       
       ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) บอกว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญส่งผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ของรัฐบาลเดินหน้าไม่ได้ เพราะถือว่าศาลได้สั่งให้ยุติการลงมติในวาระ 3 แล้ว
       
       ส่วนท่าทีของแกนนำพรรคเพื่อไทยนั้น นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้ออกปากชมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่ามีความกล้าหาญและความยุติธรรม พร้อมบอกว่า ตนมีความเชื่อมั่นมาตลอดอยู่แล้วว่าศาลจะให้ความเป็นธรรม
       
       ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาคุยโวว่า คาดไว้ไม่ผิดว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องออกมาแบบนี้ พร้อมขอบคุณศาลที่ให้ความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ร.ต.อ.เฉลิม อ้างว่า ฟังคำวินิจฉัยของศาลแล้วยังไม่แน่ใจว่าจะให้ลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระ 3 ได้หรือไม่
       
       ด้านนายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล ยอมรับว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญส่งผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่ค้างอยู่ในวาระ 3 เป็นอันตกไป และ ส.ส.ร.ก็จะไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม นายอุดมเดชยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญยังต้องเดินหน้าต่อไป แต่เป็นการแก้ไขในบางประเด็นเท่านั้น
       
       ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร อ้างว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ชัดเจนค จึงได้ให้ฝ่ายกฎหมายของสภาฯ ไปศึกษารายละเอียดคำวินิจฉัยของศาลฯ อีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่ารัฐสภาต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป พร้อมขีดเส้น ต้องได้ข้อสรุปก่อนเปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 1 ส.ค.นี้
       
       ส่วนท่าทีของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายสนธิ ลิ้มทองกุล 1 ในแกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่า พันธมิตรฯ เคารพคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ให้มีการแก้ไขมาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และว่า หลังจากนี้จะเดินหน้าคดีที่พันธมิตรฯ ได้ฟ้องร้องนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ส.ส.-ส.ว.รวม 416 คนต่อไป ตราบใดที่ยังไม่ล้มเลิกความคิดที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือเอาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเข้าที่ประชุมสภา
       
       ขณะที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายพันธมิตรฯ บอกว่า รับได้กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมชี้ ขณะนี้หลักเกณฑ์ได้ถูกจารึกไว้แล้วว่า หากมีใครจะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อาจเป็นการล้มล้างการปกครองเมื่อใด ประชาชนทุกคนสามารถยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ โดยไม่ต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดอีกต่อไป “เพราะฉะนั้นมันไม่หมูแล้วสำหรับรัฐบาลชุดนี้ ที่จะทำอะไรตามใจชอบ อยู่ๆ ฉันจะออกกฎหมายปรองดอง ฉันจะแก้รัฐธรรมนูญ มันไม่หวานหมูเหมือนที่เขาคิด... ถ้าจะแก้ตามแบบที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องการก็ทำไม่ได้แล้ว ถ้าทำ ก็จะไปร้องอีก หากล้มล้างมาตรา 309 จะยอมเหรอ จะฟอกผิด ให้การกระทำของ คตส.เป็นโมฆะ แล้วจะได้ไม่ต้องติดคุก 2 ปี ได้เงิน 4.6 หมื่นล้านบาทคืน อย่างนี้เราก็ไม่ยอม เราก็ไปค้าน”
       
       ด้านนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาแถลงว่า พรรคฯ จะประชุมในวันที่ 16 ก.ค.นี้ เพื่อหาทางออกหลังทราบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยมี 3 แนวทาง 1.เดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระ 3 ต่อไป 2.ทำประชามติ ซึ่งในมาตรา 291 ไม่ได้ระบุว่าต้องทำประชามติ แต่ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่า “ควรทำประชามติ” จึงไม่แน่ใจว่าคำว่า “ควร” จะต้องทำหรือไม่ทำ และ 3.แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่ง ส.ส.หลายคนเสนอว่า ถ้าจะแก้ ก็ควรแก้มาตรา 68 เป็นมาตราแรก โดยตนจะเสนอให้ประชาชนยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดได้เท่านั้น ไม่สามารถยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้อีกต่อไป
       
       ขณะที่แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เช่น นางธิดา ถาวรเศรษฐ ,นายจตุพร พรหมพันธุ์ ฯลฯ ได้เปิดแถลงยุให้สภาเดินหน้าโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระ 3 ต่อไป พร้อมอ้างว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจมาบอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องทำประชามติ เพราะการที่ประชาชนเลือกพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลตามที่ประกาศว่าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญ ถือเป็นการทำประชามติของประชาชนทั้งประเทศแล้ว นายจตุพร ยังขู่จะนำมวลชนออกมาเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าต่อไปได้ด้วย “เบื้องต้นสถานการณ์รัฐบาลปลอดภัย คือพรรคเพื่อไทยไม่ถูกยุบ แต่วาระ 3 ยังเดินต่อไม่ได้ ซึ่งแกนนำ นปช.จะต้องไปปรึกษาหารือหามาตรการดำเนินการต่อไป คาดว่าถ้ามีการนัดหมายในครั้งต่อไป จะเป็นการรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่ที่จะมีมวลชนเข้าร่วมหลายล้านคน”
       
       3. ผู้ตรวจการแผ่นดิน สรุปผลสอบ “ปู ว.5 โฟร์ซีซั่นส์” ไม่ส่อชู้สาว พร้อมชี้ โครงการ “บ้านหลังแรก” ไม่เอื้อ บ.เอสซีฯ

       เมื่อวันที่ 13 ก.ค. นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย รองเลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แถลงผลวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีมีผู้ร้องเรียนว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่เข้าประชุมสภา โดยเดินทางไปทำธุระส่วนตัว ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน และฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 รวมทั้งกรณีที่นายกฯ และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถูกร้องเรียนว่าเดินทางไปพบนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในเวลาราชการ ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ อันอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล และอาจขัดต่อจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 279 ซึ่งจากการสอบสวนข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า นายกฯ ไม่ได้ขาดประชุมสภา เพราะช่วงแรกของการประชุม ไม่มีประเด็นที่นายกฯ ต้องชี้แจง เมื่อมีงานในความรับผิดชอบที่ต้องเร่งรัดแก้ปัญหา จึงไม่ได้อยู่ร่วมประชุม แต่เมื่อเสร็จภารกิจก็กลับมาร่วมประชุมสภา จึงไม่มีพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่านายกฯ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551
       
       ส่วนข้อร้องเรียนที่ว่านายกฯ ไปพบนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์พร้อมนายกิตติรัตน์ อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน สรุปว่า ไม่ปรากฏหลักฐานที่นำไปสู่การได้ประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใด จึงไม่อาจถือว่าเป็นการฝ่าฝืนเช่นกัน รวมทั้งไม่พบว่าการไปโรงแรมดังกล่าว เป็นการกระทำที่ส่อไปในทางชู้สาวตามที่มีผู้ร้องเรียน ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงวินิจฉัยให้ยุติการพิจารณาเรื่องดังกล่าว
       
       สำหรับกรณีที่มีผู้ร้องเรียนว่า นโยบายบ้านหลังแรกของรัฐบาล นายกฯ อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะเอื้อประโยชน์ให้บริษัท เอสซีแอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชินวัตร ถือว่าผิดมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วพบว่า โครงการบ้านหลังแรกริเริ่มโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นการกำหนดตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนบริษัท เอสซีแอสเสทฯ จะได้ประโยชน์เพียง 9 โครงการ ที่มีราคาขายยูนิตละไม่เกิน 5 ล้านบาท 409 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าเพียงร้อยละ 4.39 ของมูลค่าโครงการที่เปิดขายในปี 2554-2555
       
       ทั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถือหุ้นในบริษัท เอสซีแอสเสทฯ ร้อยละ 0.85 ซึ่งไม่เกินกว่าที่ พ.ร.บ.จัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 กำหนดไว้ที่ร้อยละ 5 ดังนั้นการถือหุ้นของ น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์แต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงต่างๆ ยังไม่อาจสรุปได้ว่านายกฯ มีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงวินิจฉัยให้ยุติการพิจารณา โดยได้มีหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัยทั้ง 2 กรณีให้นายกรัฐมนตรีและผู้ร้องทราบแล้วเมื่อวันที่ 12 ก.ค.
       
       4. ศาล พิพากษาจำคุก “จตุพร” 6 เดือน รอลงอาญา 2 ปี คดีหมิ่น “อภิสิทธิ์” ตีตนเสมอเจ้า!

       เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ศาลอาญา ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เป็นจำเลย ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ,328 และ 332
       
        ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า ขณะเกิดเหตุ โจทก์เป็นนายกรัฐมนตรี จำเลยเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน โดยจำเลยได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 13 ม.ค.2552 ว่า “...โจทก์ออกมานั่งทำตัวเสมอกับพระเจ้าแผ่นดิน” ซึ่งศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การแถลงข่าวของจำเลยไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตหรือติชมด้วยความเป็นธรรม แต่เป็นการใส่ความโจทก์ จึงพิพากษาจำคุก 6 เดือน และปรับ 50,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาย่อในหนังสือพิมพ์มติชนและผู้จัดการรายวัน เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่าย
       ด้านนายจตุพร กล่าวหลังฟังคำพิพากษาว่า ตนน้อมรับคำพิพากษา แต่จะหารือกับทนายความเพื่อใช้สิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อไป เพราะคดีหมิ่นประมาทที่มีกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ มีผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ และไม่กังวลคดีอื่นที่ถูกนายอภิสิทธิ์ฟ้องหมิ่นประมาท เพราะตนพูดไปตามหลักฐานและเอกสาร พร้อมเชื่อว่า วันหนึ่งนายอภิสิทธิ์อาจตกเป็นจำเลยบ้างก็ได้

ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 กรกฎาคม 2555

5675

ตัวแทนชาวสาธารณสุขมอบดอกใม้ให้กำลังท่าน รมว.สาธารณสุข เพื่อผลักดันให้มีการบรรจุพี่น้องของเราเป็นข้าราชการ(โดยเร็ว) ช่วงบ่าย วันอังคารที่ 10 กค หน้าสำนักงาน สปสช.


แถมเรื่องซี 8 ของพยาบาล และออกจาก กพ. รวมทั้ง DRG.v.4-5


ตัวแทนมาจากหลายโรงพยาบาล


ชาวโรงพยาบาลสมุทรสาคร (ตอนนี้ไปไหน ใครๆก็เกรง)
ไม่เชื่อดูลิงค์นี้ http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=4864.0


ชาวโรงพยาบาลปทุมธานี (เอาคนตัวใหญ่ๆมาหลายคน)


ชาวโรงพยาบาลสมุทรปราการ (มาถึงก่อนใครๆ)


ชาวโรงพยาบาลราชบุรี (เอาทีมต้อนรับแขกมาด้วย ชุดสวยสีม่วง)


เฮฮาเมื่อพบคนคุ้นเคยกัน

5676
เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-ผลการศึกษาขององค์การว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ “โออีซีดี” ระบุ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทยติด “อันดับ 10 ของโลก” และ “อันดับ 1 ในอาเซียน”ในฐานะเมืองใหญ่ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และถือเป็นเมืองสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งยวดต่อภัยคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และการทำลายล้างของคลื่น “สตอร์ม เซิร์จ” โดยคาดว่า มูลค่าทรัพย์สินในกรุงเทพฯที่สุ่มเสี่ยงต่อหายนะดังกล่าว อาจพุ่งสูงถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 34.9 ล้านล้านบาท) ในปี ค.ศ.2070 หรืออีก 58 ปี นับจากนี้
       
        รายงานขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศดังกล่าวซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1961 และมีฐานอยู่ที่กรุงปารีสของฝรั่งเศสระบุว่ามีเมืองท่ามากกว่า 130 แห่งทั่วโลกที่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อภัยคุกคามจากเหตุน้ำท่วมเพราะคลื่น “สตอร์ม เซิร์จ” , ภัยคุกคามจากพายุ รวมถึง การที่ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น และมีอุณหภูมิอุ่นขึ้นกว่าปกติ ซึ่งทางโออีซีดีระบุว่า กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ ที่ขาดการวางแผนด้านการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และยังมีการบริหารจัดการในเชิงโครงสร้างที่ “ย่ำแย่” ซึ่งแน่นอนว่า จะยิ่งส่งผลให้มีคนกรุงเทพฯต้องตกอยู่ในความเสี่ยงจากภัยคุกคามดังกล่าวมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับในอีกหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก
       
        ผลการศึกษาขององค์การระหว่างประเทศซึ่งมีสมาชิก 34 ชาติดังกล่าวระบุว่า เมืองหลวงของไทยซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคนซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกขนานนามว่า “เวนิสตะวันออก” แห่งนี้ อาจตกอยู่ในอันตรายจากภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกมากขึ้น ซึ่งภายในปี ค.ศ. 2070 ประชากรของกรุงเทพฯ ไม่ต่ำกว่า 5.1 ล้านคนจะตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจาก “สารพัดภัยธรรมชาติ” ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์คลื่นซัดกระหน่ำชายฝั่ง น้ำท่วม หรือ พายุ
       
        ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินในเมืองหลวงของไทยที่สุ่มเสี่ยงถูกทำลาย ก็คิดเป็นวงเงินมหาศาลถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 34.9 ล้านล้านบาท และทำให้กรุงเทพฯกลายเป็นมหานครที่เสี่ยงต่อภัยคุกคามจากสภาพอากาศโลกมากที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก แต่เป็นเมืองที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       
        ด้านโฮเซ อังเฆล กูร์เรีย อดีตนักการทูตชาวเม็กซิกัน วัย 62 ปี ในฐานะเลขาธิการใหญ่ของโออีซีดี ออกมาเปิดเผยว่า เหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้วและสร้างความเสียหายเป็นวงเงินมากกว่า 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.43ล้านล้านบาท) นั้น ถือเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า นับจากนี้เมืองหลวงของไทยจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
       
        ทั้งนี้ รายงานของโออีซีดีระบุว่า 10 เมืองใหญ่ของโลกที่สุ่มเสี่ยงจะถูกทำลาย หรือเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกมากที่สุด คือ เมืองไมอามี มลรัฐฟลอริดา ของสหรัฐฯ, นครกว่างโจว ของจีน, มหานครนิวยอร์กและเมืองนวร์ก ของสหรัฐฯ, เมืองโกลกาตาหรือกัลกัตตาของอินเดีย,นครเซี่ยงไฮ้ของจีน , เมือง มุมไบของอินเดีย, เมืองเทียนจินหรือเทียนสินของจีน, กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น, เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน และปิดท้ายด้วยกรุงเทพมหานครของไทย ในอันดับที่ 10

ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 กรกฎาคม 2555

5677
สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีมติให้เสนอชื่อ รศ.นพ.นิเวศน์ นันทจิต เป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เตรียมเสนอชื่อเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คนต่อไป
       
       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ศุภชัย เชื้อรัตนพงษ์ เลขานุการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดเผยว่าตามที่สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามความในข้อ 6 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2554 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา บัดนี้ คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว และได้นำเสนอที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการประชุมครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2555 เพื่อให้สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่พิจารณาแนะนำ ผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวนหนึ่งชื่อ ผลการพิจารณาของที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีมติให้เสนอชื่อ รองศาสตราจารย์ นพ.นิเวศน์ นันทจิต เป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะได้เสนอชื่อเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อไป
       
       สำหรับรศ.นพ.นิเวศน์ นันทจิต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สองสมัย มีผลงานวิชาการโดดเด่นนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและบริการผู้ป่วย ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนศึกษาของนักศึกษาแพทย์ ซึ่งสามารถสอบได้อันดับต้น ๆ ของประเทศ ส่งผลให้โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับรางวัลมากมายทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ


ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 กรกฎาคม 2555

5678
“...อัตราเดียว 30 บาทไม่ใช่คำตอบของการร่วมจ่าย คนรายได้ปีละล้านก็จ่าย 30 บาท เท่าที่รายได้เท่าค่าแรงขั้นต่ำ เช่นนี้ไม่อาจเรียกว่าความเป็นธรรม...”
       
       นโยบาย 30 รักษาทุกโรค ที่ทำให้คนไทย 99% มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของวงการสุขภาพไทยและบทเรียนสำคัญในระดับนานาชาติ เป็นผลงานในความทรงจำของพรรรคไทยรักไทย
       
       นโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรคได้เริ่มขึ้นในปี 2543 และการเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท ถูกยกเลิกไปในสมัยรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งในมุมหนึ่งเพื่อทำลายสัญลักษณ์ของพรรคไทยรักไทย แต่ก็มีส่วนสำคัญในการทำงานนโยบายหลักประกันสุขภาพนั้นเป็นนโยบายแห่งชาติที่ทุกพรรคการเมืองต้องสนับสนุน แต่แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับมารื้อฟื้นการเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาทกลับมาใหม่ ชวนให้วิเคราะห์ดูว่าเก็บแล้วจะได้อะไร
       
       หากพิจารณาไตร่ตรองเหตุผลอย่างรอบคอบต่อการเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาทนั้น ก็มีประโยชน์อย่างน้อย 3 ประการ
       
       หนึ่ง สามารถเพิ่มเงินรายได้ให้สถานพยาบาลของรัฐปีละ 2,000 ล้านบาท แต่หากมองลึกลงไปเงินจำนวนนี้สำหรับรัฐบาลนั้นหาไม่ยาก เพียงแค่รัฐบาลเพิ่มภาษีเหล้าเบียร์สุราอีกสัก 5% รายได้จากภาษีเหล่านี้ก็มากกว่า 5,000 ล้านบาทแล้ว ไม่เห็นจำเป็นที่จะต้องมาให้โรงพยาบาลต้องมาปวดหัว และทะเลาะกับคนไข้โดยไม่จำเป็น มีภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยสินค้าที่ทำลายสุขภาพอีกมากที่รัฐบาลหารายได้เพิ่มได้ นั่นคือเป้าหมาย โดยไม่ต้องมาเอาเงินออกจากกระเป๋าคนจน
       
       สอง เป็นการร่วมจ่ายเพื่อให้เกิดการมาใช้บริการที่โรงพยาบาลอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ข้อนี้มีเหตุผลมากที่สุด แต่ปัจจุบันความแออัดของโรงพยาบาล ที่ทำให้ผู้ป่วยต้องรอนานก็เป็นเครื่องกรองอย่างดีที่หากไม่ป่วยพอประมาณไม่มีใครอยากจะมาโรงพยาบาลมารอสองสามชั่วโมงหรือทั้งวันหรอก คนที่มานั่งรอส่วนใหญ่ก็คนจนทั้งนั้น จนแล้วต้องมานั่งรอนาน ขาดรายได้แล้วยังต้องมาจ่ายสามสิบบาทอีก หากรัฐบาลคิดถึงเรื่องการร่วมจ่ายจริงๆแล้ว หลักของการร่วมจ่ายคือรวยมากจ่ายมาก จนระดับหนึ่งได้รับการยกเว้น อัตราเดียว 30 บาท ไม่ใช่คำตอบของการร่วมจ่าย คนรายได้ปีละล้านก็จ่าย 30 บาท เท่าที่รายได้เท่าค่าแรงขั้นต่ำ เช่นนี้ไม่อาจเรียกว่าความเป็นธรรม
       
       สาม เป็นการฟื้นฟูความทรงจำของประชาชนต่อนโยบาย 30 รักษาทุกโรคของพรรคไทยรักไทยในอดีต หรือพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน หากนี่คือเหตุผลที่แท้จริง เหตุผลนี้คือเหตุผลที่ยืนอยู่บนความทุกข์ของคนจน คนที่เป็นฐานเสียงสำคัญของรัฐบาล แม้ว่าโดยหลักการคนจน เด็ก ผู้สูงอายุและผู้พิการ จะได้รับการยกเว้นการเก็บ 30 บาทก็ตาม แต่คนจนกี่คนที่ได้รับการยกเว้น อะไรที่เรียกว่าจน คนที่รับค่าแรงวันละ 30 บาทจนไหม ยากลำบากในการตีความ เงินส่วนนี้ควรจะเป็นเงินค่าขนมของลูกของหลาน มากกว่ามาตอบสนองนโยบายเพียงเพื่อจะเอาสัญลักษณ์แห่ง 30 บาทกลับคืนมา
       
       สรุปจากเหตุผลทั้ง 3 ประการแล้ว ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะดันทุรังเก็บ 30 บาทไปอีกทำไม เรื่องดีๆ มีมากมายที่น่าทำ แต่ไม่ทำ เรื่องแค่จะเอาโลโก้ 30 กลับมา แต่ไม่มีผลดีอื่นใดเลยกลับผลักดัน เช่นนี้แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะฉลาดน้อยไปไหม จะกลับมาเก็บสามสิบบาทอีกทำไม คิดสั้นๆ ไปหรือเปล่า นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทยกล้าๆ ตัดสินใจยกเลิกไปเลย ก่อนที่จะสายเกินไป เพราะจะให้รัฐมนตรี วิทยา บุรณศิริ มากลืนน้ำลายตนเองนั้น แม้อยากกลืนก็ทำไม่ได้

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 กรกฎาคม 2555

5679
“สุรวิทย์” ชี้ ยกเลิกวิธีสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส.เดิม ไม่ได้ล้างบางใคร อยากให้เปิดกว้าง
       
       นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรียกเลิกมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 27 ก.ย.2537 เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และไม่อนุมัติรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ตามที่ สวรส.ได้เสนอก่อนหน้านี้ พร้อมอนุมัติรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ใหม่แทน ว่า มติ ครม.เดิม ได้กำหนดเกณฑ์การสรรหาตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ว่า เมื่อครบวาระ ให้มีการจับสลากออก 3 คน และให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เหลืออยู่พิจารณาเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มเติมจนครบ 7 คน จากนั้นจึงเสนอคณะกรรมการ สวรส.เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งต่อไป ซึ่งวิธีดังกล่าว ตนเห็นว่า เป็นวิธีที่ไม่เปิดกว้าง และทำให้ได้คณะกรรมการเดิมกลับมาดำรงตำแหน่งซ้ำ จึงขอให้ ครม.ยกเลิกมติ ครม.เดิม เพื่อให้การสรรหาเปิดกว้าง
       
       “การขอให้ยกเลิกมติ ครม.เดิม และเสนอรายชื่อคณะกรรมการใหม่ ยืนยันว่า ไม่ได้ต้องการล้างบางใคร แต่วิธีการเดิมถือว่า ไม่เปิดกว้าง และทำให้ได้คนเดิมๆ เข้ามาทำงานวนไปมา ซึ่งตนถือว่ามีอำนาจในการดูแล สวรส.และเห็นว่า ไม่ถูกต้องที่การสรรหาจะใช้วิธีเดิม จึงเสนอให้ยกเลิกมติครม.เดิม และเสนอรายชื่อใหม่” นพ.สุรวิทย์ กล่าว
       
       สำหรับบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อในตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้แก่ 1.ศาสตราจารย์ ภิเศก ลุมพิกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 ศาสตราจารย์ ชัยเวช นุชประยูร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบำบัดโรคมะเร็ง ศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์ 3.นายประยูร กุนาศล อดีตอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ 4.ศาสตราจารย์ อมร ลีลารัศมี ศาสตราจารย์ระดับ 11 ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 5.นายบุญปลูก ชายเกตุ อดีตเลขาธิการ ก.พ.6.นายนิพนธ์ ฮะกีมี รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 7.นางสาวรพีสุภา หวังเจริญรุ่ง นักวิจัยอาวุโส ผู้ช่วยผู้อำนวยการมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค.2555 เป็นต้นไป ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิที่ สวรส.ได้เสนอให้ ครม.อาทิ ศ.นพ.ประเวศ วสี นพ.มงคล ณ สงขลา ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นพ.วิจิตร ศรีสุพรรณ เป็นต้น


ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 กรกฎาคม 2555

5680


อยู่ๆเจ้ากระทรวงสาธารณสุขก็ประกาศเริ่มโครงการไข่แลกยาเก่าทั่วประเทศ (1) โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการนี้จังหวัดละ 100,000 บาท โดยนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้บอกว่ายาเก่าที่นำมาแลกนั้น ต้องเป็นยาแผนปัจจุบันทุกชนิด โดยที่โรงพยาบาลต่างๆของกระทรวงสาธารณสุขจะแจกไข่คืนให้แก่ครอบครัวที่นำยาไปแลก ครอบครัวละ 5 ฟองเป็นอย่างน้อย โดยกล่าวว่าข้อมูลล่าสุดคนไทยใช้ยาเฉลี่ยปีละ 100,000 ล้านบาท การให้ประชาชนนำยาเก่ามาแลกไข่ ก็เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้มีความตระหนักในการใช้ยา และใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพต่อการรักษาอาการเจ็บป่วย

และในเวลาไม่นาน ก็มีข่าวจากกระทรวงสาธารณสุขว่า หลังจากเปิดโครงการรับแลกยาเก่ากับ “ไข่ใหม่” ในเวลาแค่ 4 วัน คือวันที่ 2-5 ก.ค.นั้น (2)พบว่ามีประชาชนเอายามาแลกไข่ถึง 18.2 ล้านเม็ด โดยกลุ่มใหญ่จะเป็นยากลุ่มยารักษาโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง และยาลดไขมัน มีถึง 40% นอกนั้นเป็นยากลุ่มแก้หวัด แก้ไอ  ซึ่งพบว่าจังหวัดในภาคอีสานมีการเอายามาคืนมากที่สุด ซึ่งยังไม่มีการแยกว่าเป็นยาที่หมดอายุหรือไม่  โดยรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.นิทัศน์ รายวา ได้กล่าวว่า ยาที่หมดอายุจะเอาไปทำลาย ส่วนยาที่ยังไม่หมดอายุ จะมีการหารือว่าจะเอายาเหล่านี้ไปใช้ใหม่หรือไม่ และจะมีการพิจารณาว่าจะขยายโครงการเพิ่มหรือไม่ หรือจะทำโครงการในเขตกทม.เพิ่มหรือไม่

 การที่ประชาชนเอายามาแลกไข่ถึง 18.2 ล้านเม็ดในเลาเพียง 4 วันนี้ น่าเสียดายที่กระทรวงสาธารณสุขไม่ทำแบบสอบถามว่า ทำไมประชาชนจึงมียาเหลือเยอะ ครอบครัวหนึ่งๆเอายามาคืนเฉลี่ยครอบครัวละกี่เม็ด ทำไมจึงมียาเหลือ? ไม่กินยาตามสั่ง หรือกินยาแล้วอาการไม่ดี ก็ย้ายหมอ/ย้ายโรงพยาบาลไปขอยาใหม่ แล้วยาที่เอามาคืนนี้ เก็บไว้อย่างถูกวิธีหรือไม่ เช่นต้องเก็บในที่เย็น (ไม่ร้อนจัด) เก็บไว้ในซองยากันแสง หรือเก็บไว้ในซองยาอื่น (ชื่อยาที่ซองกับเม็ดยาเป็นคนละอย่างกัน)
 เพราะเมื่อไม่สอบถามคนที่เอายามาคืนแล้ว กระทรวงสาธารณสุขจะรู้ได้อย่างไรว่า ทำไมจึงมียาเหลือเยอะมากขนาดนี้ อยากจะให้กระทรวงถามด้วยว่า ยาจำนวน 18.2 ล้านเม็ดนี้ มาจากยาของประชาชนกี่คน? อย่างน้อยก็พอจะรู้ได้ว่า เฉลี่ยแล้วแต่ละคนเอายาไป”ทิ้งเฉยๆ” โดยไม่กินคนละกี่เม็ด จะได้รู้ว่าที่กล่าวว่าคนไทยกินยาปีละ100,000 ล้านบาทนั้น คนไทยเอายาไปทิ้งไว้จนหมดอายุปีละกี่ล้านบาท?

ที่สำคัญก็คือ ทำไมกระทรวงสาธารณสุขไม่สำรวจว่า เป็นยาอะไรบ้าง อย่างละกี่เม็ด เป็นราคาเม็ดละกี่บาท รวมแล้วเป็นมูลค่าของยาที่ประชาชนเอาไปทิ้ง(เก็บไว้เฉยๆโดยไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์) นั้นมีมูลค่ากี่ร้อยกี่พันล้านบาท  ทั้งนี้ เพื่อจะได้รู้ว่างบประมาณค่ารักษาประชาชนที่ต้องจ่ายไปปีละเกือบสองแสนล้านบาทนั้น ได้”ทิ้งไป”โดยหาประโยชน์อันใดมิได้ เพราะการที่ประชาชนใช้ยาอย่างทิ้งๆขว้างๆ

แต่นี่ได้ข่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขจะเอายาหมดอายุไปเผาทิ้ง (รีบทำลายหลักฐานการใช้ยาฟุ่มเฟือยเสียแล้ว) แล้วกระทรวงสาธารณสุข เสียงบประมาณค่าไข่ อีก 100.000คูณด้วย 77 จังหวัด เป็นเงิน อีก 7,700,000 บาทโดยไม่ได้ข้อมูลกลับมาเลยว่า ประชาชนคนไทยที่ยากจน ยอมเสียเวลาเอายาเก่าไปแลกไข่ใหม่(มาปรุงอาหารกิน) นั้น ได้ทิ้งยาไปมีมูลค่ามากมายมหาศาลแค่ไหน?

  และจาก ข้อมูลของเว็บ Thai Clinic.com (3) จากประสบการณ์จากหมอในรพ.แห่งหนึ่ง บอกว่า มีประชาชนประมาณ 200 คนเอายามาแลกไข่คืนประมาณ 3 ลัง และพบว่าในจำนวนยาที่หมดอายุนั้น ยังเป็นแผงยาที่เรียบร้อย ยังไม่มีการแกะเอายาไปกินเลย

มีความเห็นหนึ่ง (ความเห็นที่ 4)ใน (3) บอกว่า จะไปเปิดร้านอาหารบุฟเฟต์ ให้คนมากินฟรีไม่อั้น  แล้วก็ขอกลับไปกินต่อที่บ้านได้อีกไม่อั้น เนื่องจากพนักงานประจำห้องอาหารไม่กล้าขัดใจคนที่มากิน เพราะเดี๋ยวจะถูกคาดโทษ ส่วนอาหารที่เอาไปกินที่บ้านเหลือเท่าไร ไม่ว่าจะบูดเน่าอย่างไรก็สามารถเอามาแลกนมกล่องหรือข้าวสารที่ร้านได้อีก  เดี๋ยวจะเชิญสื่อต่างประเทศมาดูงาน บอกว่าเป็นร้านที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก

   ความเห็นนี้ช่างเหมือนความเห็นของเจ้ากระทรวงสาธารณสุขจริงๆ ตามข่าวใน(4)ที่มีข่าวว่านายวิทยา บูรณศิริ เสนอให้ระบบหลักประกันสุขภาพไทยเป็นแบบอย่างให้แก่ประเทศอาเซียน โดยในข่าวกล่าวว่าประเทศเวียตนาม ลาว ฟิลิปปินส์ เตรียมนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

  คำว่า “ประยุกต์” นี่เป็นคำสำคัญที่สุดที่ประเทศอาเซียนจะต้อง “เข้าใจ” ว่าพวกเขาควรดูประเทศไทยเป็นแบบอย่างได้ แต่อย่าทำอย่างที่ประเทศไทยทำ เพราะจะประสบหายนะในไม่ช้า ได้แต่หวังว่าประเทศเขาจะมีผู้นำทางสาธารณสุขที่ “ฉลาดและวางแผนงานอย่างสมเหตุสมผล” คือไม่ทำอย่างประเทศไทย ที่เงินงบประมาณก็มีน้อย แต่โฆษณาว่าจะรักษาฟรีทุกโรค แจกยาฟรีไม่อั้น (แต่ยาจะดีมีมาตรฐานหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ยามีมากก็เก็บเอาไว้มาแลกไข่ไปกินได้อีก
 และในขณะเดียวกันรัฐมนตรีคนนี้เอง ก็มาบ่นว่าคนไทยกินยามากที่สุดในโลก จ่ายค่ายาแพงที่สุดในโลก แต่ยังไม่เห็นมีมาตรการอะไรที่จะทำให้คนไทยตระหนักถึง “คุณค่าและราคาของยารวมทั้งตระหนักถึงความรับผิดชอบในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วย เพื่อจะได้ประหยัดงบประมาณในการรักษาได้”

 ความผิดเพี้ยนของระบบสาธารณสุขไทย ที่ประเทศอาเซียนไม่ควรทำตามก็คือ

1.ไม่ส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเท่าที่ควร ทำให้อัตราการเจ็บ(อุบัติเหตุ) และการป่วย(เป็นโรค) ต่างๆมีแต่เพิ่มขึ้น ตามสถิติของกระทรวงสาธารณสุข

2.เอาใจประชาชน 48 ล้านคนด้วยการบอกว่า รักษาฟรีทุกโรค  โดยไม่เป็นความจริง เนื่องจากมีอีกหลายโรคที่ถูกจำกัดรักษา

3.ประชาชนไปโรงพยาบาลมากขึ้นจนถึงปีละ 200 ล้านครั้ง เนื่องจากประชาชนส่วนมากที่ได้รับรู้สิทธิว่าจะได้ฟรีทุกอย่างเมื่อไปโรงพยาบาล จึงพากันไปโรงพยาบาลมากขึ้น เป็น และขอยาไปไว้ที่บ้านเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เอาไปกินเอง เอาไปแจกเพื่อนบ้าน และเอาไปเหน็บไว้ข้างฝา โดยไม่คิดว่า “ยานี้มีต้นทุนที่ต้องมีคนจ่ายค่ายา”
คำกล่าวในข้อนี้ไม่ไกลจากความจริง เนื่องจากว่าเมื่อมีโครงการเอายาเก่าไปแลกไข่ใหม่เพียง 4 วัน มีประชาชนเอายาไปแลกไข่ได้ถึง 18.2 ล้านเม็ด ถ้าเปิดให้แลกยาอีกจนครบ 1 เดือน อาจจะได้ยาเก่าอีกประมาณ100 ล้านเม็ด นับเป็นมูลค่าอีกกี่ร้อยล้านบาทก็ยังคำนวณไม่ได้

ถ้าประชาชนต้องจ่ายค่ายาเอง เช่นผู้ที่ไปโรงพยาบาลเอกชน มักจะบอกหมอว่า หมออย่าสั่งยาไปมากนัก เอาแค่พอจำเป็นในการรักษาอาการป่วยคราวนี้ก็พอ เนื่องจากเห็นว่า ถ้าขอให้หมอสั่งยามาก ตัวเองก็ต้องจ่ายเงินมาก
ฉะนั้น ระบบบัตรทอง 30 บาทและกระทรวงสาธารณสุขควรร่วมมือกัน ในการจัดทำโครงการป้องกันการที่จะจ่ายยาให้ประชาชนเอาไปทิ้งๆขว้างๆแบบที่ผ่านมาในรอบ 10ปี โดยการให้ประชาชนมีส่วนรับผิดชอบ “ค่ายาหรือค่าบริการสาธารณสุข”บ้าง เพื่อให้ประชาชนรู้ว่า “การบริการสาธารณสุขและยานั้นมีต้นทุนที่ต้องจ่าย” ถ้าประชาชนไม่ต้องจ่ายเอง ก็ต้องเอาเงินจากภาษีของประชาชนนั่นเองมาจ่าย

4.ไม่มีเงินซื้อยาราคาสูง ที่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหรือรักษายุ่งยากรุนแรง/ซับซ้อน จากการที่ประชาชนได้รับยาไปมากเกินความจำเป็นที่จะต้องใช้ ทำให้ไม่มีงบประมาณพอที่จะซื้อยา “ราคาสูง”  ทำให้สปสช.เป็นผู้ “จำกัดรายการยาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาโรคเหล่านั้น” ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เป็นโรคร้ายที่คุกคามชีวิต ไม่ได้รับการรักษาหรือยาที่ดีตามมาตรฐานการแพทย์ในปัจจุบัน เช่นการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยไตวาย ฯลฯ และอีกหลายๆโรค ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ “สูญเสียโอกาสได้รับการรักษาที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือรอดชีวิต” เนื่องจากการออก “ระเบียบในการจำกัดวิธีการรักษาหรือการใช้ยาของผู้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”

  เท่านี้ยังไม่พอ ผู้บริหารและผู้มีส่วนร่วม “ออกแบบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ยังพยายามที่จะไป “ชักชวน” ผู้บริหารกองทุนอื่นคือ “ประกันสังคมและสวัสดิการการรักษาข้าราชการ” ให้กลับมาใช้วิธีการออกระเบียบการรักษาและกำหนดรายการยา ให้ “เลวลงเหมือนกับรายการของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”อีกด้วย
ทั้งนี้เห็นได้จากการที่สปสช.ประกาศให้ประชาชนทั้งใน 3 ระบบไปรับการรักษาฉุกเฉินได้เหมือนกันหมด แต่จ่ายเงินค่ารักษาเพียง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เหมือนกับที่สปสช.เคยทำมากับโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข แต่ก็คอยดูก็แล้วกันว่าผู้บริหารโรงพยาบาลที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ยังจะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนเหมือนผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขไปได้อีกกี่มากน้อย? เดี๋ยวคงจะมีการเอะอะโวยวายขึ้นมาในไม่ช้า เพราะทุกสิ่งมี “ต้นทุนค่าใช้จ่าย” ทั้งสิ้น

5. ความขาดแคลนทรัพยากรหรือปัจจัยในการบริหารจัดการด้านการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข ความผิดเพี้ยนของระบบสาธารณสุขไทยยังมีอีกมากมาย ขอยกตัวอย่างที่สำคัญอีกตัวอย่างหนึ่ง กล่าวคือ กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงที่มีภารกิจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการในการจัดให้มีสถานบริการสาธารณสุขที่ดี มีมาตรฐานให้เพียงพอแก่ความจำเป็นของประชาชน แต่กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงเดียวที่ขาดปัจจัยทุกอย่างที่จำเป็นที่สุดในการดำเนินงานตามภารกิจหลักดังกล่าว ได้แก่
   5.1 ขาดเงินงบประมาณที่เพียงพอ เหมาะสม ในการบริหารจัดการ
   5.2 ขาดบุคลากรที่เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ
   5.3 ขาดอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ เทคโนโลยี ยาและเวชภัณฑ์ ที่เหมาะสม ในการจัดบริการให้ดี มีมาตรฐานและความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย

  ทั้งนี้การเขียนปัญหาสำคัญในข้อ5 นี้ ผู้อ่านบางคนอาจจะกล่าวหาว่าผู้เขียนมีอคติกล่าวหาลอยๆโดยไม่มีหลักฐาน(ตัวเลข)เชิงประจักษ์(Evidence-based) มาแสดง ผู้เขียนก็ขอชี้แจงว่า สิ่งที่ผู้เขียนกล่าวถึงนี้ เป็นความจริงที่ทุกคน “เห็นได้””ด้วยตนเอง เหมือนกับที่ทุกคนเห็นว่าดวงอาทิตย์ต้องขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวมาทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นข่าวสารที่มีการกล่าวถึงในทุกๆสื่อในสังคม และทุกๆคนที่มีความจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขต้องเห็น “ประจักษ์” ด้วยตนเองแล้วว่า มีผู้ป่วยไปรอรับการตรวจรักษาอย่าง “เบียดเสียดยัดเยียดจนล้นโรงพยาบาล” มีผู้ป่วยที่ ต้องนอนเตียงเสริม เตียงแทรก นอนบนเปลเข็นตามระเบียง หน้าบันได หน้าห้องส้วม หรือต้องปูเสื่อนอน หรือต้องตระเวนหาเตียงนอนรักษาหลายสิบแห่ง กว่าจะได้เตียงนอน หรืออาจต้องไปรอพบแพทย์ 5-6 ชั่วโมง เพื่อจะให้แพทย์ได้ตรวจสัก 2-3 นาที ฯลฯ

   สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้( และยังไม่ได้กล่าวอีกมากนั้น )ผู้เขียนต้องการชี้ให้ประชาชนที่จำเป็นต้องไปรับการตรวจรักษาสุขภาพในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขได้รับทราบ จะได้ไปเรียกร้องให้ผู้แทน(สส.)ของท่าน ไปเสนอให้รัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้สั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้อยู่ในการกำกับของท่าน คือปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมมือกันแก้ไขและพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขและการประกันสุขภาพ โดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางกล่าวคือ ให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาตามมาตรฐานการแพทย์ที่ดี มีมาตรฐาน มีเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสม ได้รับการรักษาอย่างเอาใจใส่ตามมาตรฐานทางการแพทย์และการพยาบาลจากบุคลากรทุกประเภท

ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับความเสียหายจากการไปตรวจรักษาในสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน  โดยการแก้ไขปัญหาในข้อ 5คือการขาดแคลนทั้งหมด และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค และช่วยกันรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของตนเองบ้าง ยกเว้นผู้ยากจน/พิการ/ไร้ความสามารถ

  ถ้าเขียนแบบนี้ ก็อาจจะมีคนบางกลุ่มออกมา “อ้างว่า” ต้องการได้รับการรักษาฟรีเหมือนกันหมด ไม่ต้องการ “การให้ทานเฉพาะคนจน ต้องการความเสมอภาค/เท่าเทียม โดยการให้ทุกคนไม่ต้องจ่ายเหมือนกัน” นั้น  ผู้เขียนก็จะบอกตามเหตุผลที่กล่าวมาทั้ง 5 ข้อว่า การให้ฟรี 48 ล้านคน (ไม่ใช่ทุกคน) นั้น ก็ได้ก่อให้เกิดความผิดเพี้ยนและความเสียหายดังที่ทุกคนเห็นอยู่แล้ว และการที่คนจนและด้อยโอกาสในสังคม ต้องได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษนั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เหมือนกับการจ่ายภาษีรายได้ที่คนจนไม่ต้องจ่ายแต่คนมีรายได้มากก็ต้องจ่ายนั่นเอง
ความเสมอภาคและเป็นธรรมในสังคมนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสังคมต้องช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม เพื่อช่วยให้เขาอยู่ในสังคมได้ตามสบายพอควรแก่อัตภาพ ไม่ใช่ปล่อยให้เขาตกอยู่ในสภาพด้อยโอกาสต่อไป สังคมจึงจะเกิดความเป็นธรรมและสันติสุข
   
เอกสารอ้างอิง 1. http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9550000080451
สธ.พร้อมเริ่มโครงการ”ไข่แลกยาเก่า”ต้นเดือนก.ค.นี้
2. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000082813
อีสานแชมป์คืนยาแลกไข่ สธ.เตรียมเผายาหมดอายุ 13 ก.ค.นี้
3. http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1341585832
ขอไว้อาลัยกับนโยบายยาเก่าแลกไข่ไก่
4. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000082998
สธ.ชูระบบสุขภาพไทยเป็นแบบอย่างอาเซียน



พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
7 ก.ค. 55

5682
สธ.อาเซียนเตรียมจับมือพัฒนาสุขภาพประชาชนในภูมิภาค พร้อมผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้าสู่เวทีโลก รวมถึงการควบคุมโรคไม่ติดต่อ โรคเอดส์ และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ จี้ FTA ต้องเพิ่มมาตรการทางสุขภาพด้วย
       
       วันนี้ (5 ก.ค.) ที่โรงแรมโมเวนพิค อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 11 อย่างเป็นทางการ ในหัวข้อ ประชาคมอาเซียน 2558 : โอกาสและความท้าทายด้านสุขภาพ โดยมีรัฐมนตรีสาธารณสุข 10 ประเทศเข้าร่วมประชุม ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ลาว พม่า และ กัมพูชา นอกจากนี้ ยังมี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ร่วมประชุมด้วย
       
       นายวิทยา กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพหลักและพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขของประเทศอาเซียน ใน 5 วาระ ได้แก่ 1.การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อลดความรุนแรงและโรคแทรกซ้อน 2.การควบคุมบุหรี่ สุรา โดยเฉพาะมาตรการเรื่องภาษี เรื่องข้อตกลงการค้าเสรี เรื่องการห้ามทำซีเอสอาร์ (CSR) ของบริษัทบุหรี่ สุรา และการควบคุมบุหรี่เถื่อน 3.การสร้างประกันสุขภาพถ้วนหน้า 4.การลดปัญหาโรคเอดส์ และ 5.ความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายการฝึกอบรมด้านระบาดภาคสนาม ซึ่งไทยเป็นผู้ริเริ่มในการควบคุมป้องกันโรคระบาดต่างๆ
       
       นายวิทยา กล่าวอีกว่า รัฐมนตรีสาธารณสุขในกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมที่จะร่วมมือ และพัฒนาสุขภาพประชาชนในภูมิภาคอย่างจริงจังใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1.การร่วมผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปสู่การประชุมผู้นำในเวทีอาเซียนซัมมิต (ASEAN Summit) และสมัชชาสหประชาชาติ การจัดตั้งเครือข่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอาเซียนบวก 3 คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี โดยไทยรับเป็นประเทศหลัก 2.การร่วมกันดำเนินการอย่างเข้มแข็งตามข้อตกลงสหประชาชาติ เรื่องโรคไม่ติดต่อภายใต้ตัวชี้วัด และเป้าหมายที่กำหนดจากองค์การอนามัยโลก โดยมุ่งเน้นทั้งมาตรการที่ดำเนินการเฉพาะบุคคล ครอบครัว และมาตรการที่มีผลทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำหนดพฤติกรรมสุขภาพ 3.การร่วมมือกันดำเนินการอย่างเข้มแข็งและจริงจังในการบรรลุข้อตกลงด้านการควบคุมโรคเอดส์ให้เข้าสู่การเป็นศูนย์ คือ ไม่มีการกีดกันผู้ติดเชื้อ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ และไม่มีคนตายจากโรคเอดส์ และ 4.การร่วมมือการอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการจัดการกับปัญหาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ รวมทั้งโรคสำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรียดื้อยา โดยจะต้องเน้นเรื่องการรณรงค์กำจัดรากของปัญหา การจัดหาและการใช้ยา รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายนักระบาดวิทยาในอาเซียนที่ไทยเป็นหลัก
       
       ด้าน นายสุรินทร์ กล่าวว่า การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจและการค้า อาจนำไปสู่โรคที่อยู่ในการเฝ้าระวังขององค์การอนามัยโลก จำนวน 4 โรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอดและช่องทางเดินหายใจ และโรคระบบทางเดินอาหาร เนื่องมาจากความมั่งคั่งร่ำรวย และผลจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การรับประทานอาหารแปรรูป ที่ไม่มีสารอาหารเหลืออยู่ โดยพบว่า ประชากร 600 ล้านคนในภูมิภาคอาเซียน มีการเสียชีวิตจากสาเหตุทั้งหมดรวม 4 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 60 เสียชีวิต เพราะโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ที่มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 57 ล้านคน เสียชีวิตเพราะโรคไม่ติดต่อ จำนวน 36 ล้านคน นอกจากนี้ การเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย นิวซีแลนด์ มีประเด็นต้องระวัง โดยจากนี้ แต่ละประเทศในอาเซียน นอกจากจะขอให้พิจารณาเรื่องข้อตกลงทางการค้าแล้ว จะต้องเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นความปลอดภัยด้านสุขภาพด้วย เพื่อให้เป็นข้อตกลงทางการค้าที่ปลอดภัยทางสุขภาพด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 กรกฎาคม 2555

5683
สธ.เผยยอดคืนยาแลกไข่ 4 วัน ได้ 18.2 ล้านเม็ด พบอีสานคืนยามากสุด เตรียมแยกยาหมดอายุส่งเผาอยุธยา 13 ก.ค.นี้ ส่วนยาที่ยังใช้ได้ เตรียมวางแผนนำกลับมาใช้ใหม่ ไม่ฟันธงขยายโครงการหรือไม่
       
       นพ.นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการไข่แลกยา ว่า หลังจากเปิดโครงการไข่แลกยาเก่า ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค.-5 ก.ค. ได้รับข้อมูลจากจังหวัดต่างๆ เบื้องต้น พบว่า มีประชาชนนำยามาคืน 18.2 ล้านเม็ด โดยส่วนใหญ่จะเป็นยากลุ่มรักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และยาลดไขมัน ซึ่งเฉพาะยา 3 กลุ่มนี้ มีถึง 40% นอกนั้น เป็นยากลุ่มแก้หวัด แก้ไอ โดยภาคอีสานมียอดการนำยามาคืนมากที่สุด และภาคใต้มีการคืนยาน้อยที่สุด สอดคล้องกับจำนวนประชากร อย่างไรก็ตาม หลังจากเก็บรวบรวมยาทั้งหมดแล้ว จะมีการแบ่งยาที่หมดอายุ และไม่หมดอายุ โดยยาที่หมดอายุ จะนำไปเผาทำลายในวันที่ 13 ก.ค.นี้ ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
       
       นพ.นิทัศน์ กล่าวต่อว่า สำหรับยาที่ยังสามารถใช้ได้ จะมีการหารือเพื่อวางแผนนำยากลุ่มดังกล่าวไปใช้ใหม่ และจะมีการพิจารณาว่าจะขยายโครงการเพิ่มหรือไม่ หรือจะทำโครงการรับยาคืนในเขตกทม.หรือไม่ ซึ่งจะนำเข้าที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 9 ก.ค.นี้

ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 กรกฎาคม 2555

5684
ครบ 3 เดือนแล้ว สำหรับเวลาทดลองระบบนโยบายรวม 3 กองทุน ที่เริ่มเปิดบริการสาธารณสุขเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาได้ทุกที่ตามสะดวก โดยไม่ต้องถูกถามสิทธิ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 นับว่า ที่ผ่านมา มีการสะท้อนปัญหาจากทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการอยู่ไม่น้อย แม้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะระบุว่าประชาชนพึงพอใจกับการให้บริการ แต่กลับพบว่ามีการเรียกเก็บเงินค่ารักษา ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนขอให้มีการทบทวนอัตราบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินเสียใหม่ เป็นต้น
       
       โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะที่เสมือนหน่วยงานที่ซื้อบริการสุขภาพ ได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากภาค รพ.เอกชน โดยเลือกสำรวจพื้นที่หน่วยบริการในภาคเหนือ รพ.ราชเวช จ.เชียงใหม่

       ศ.นพ.ชาลี พรพัฒน์กุล ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลราชเวช เชียงใหม่ เปิดเผยว่า รพ.ราชเวชฯ อยู่ในเครือของบริษัท ศิริเวช เมดิคอล จำกัด มีขนาด 150 เตียง มีโครงการพิเศษหลายสาขา อาทิ คลินิกมะเร็งลำไส้ระยะแรกเริ่ม คลินิกผู้สูงอายุ คลินิกโรคไต คลินิกโรคหัวใจ ฯลฯ โดยเน้นที่มาตรฐานการแพทย์ระดับสากล และด้วยความพร้อมด้านบริการดังกล่าว จึงสามารถสนองตอบการบริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุนของรัฐบาลได้อย่างสะดวก โดยปัจจุบัน รพ.มีการบริการผู้ป่วยนอกประมาณ วันละ 700-800 ราย ขณะที่ผู้ป่วยในมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 10-15% หลังจากที่ รพ.เริ่มเปิดบริการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย คือ เร่งรักษาผู้ป่วยให้พ้นภาวะวิกฤต ภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนส่งต่อ รพ.ต้นสังกัด
       
       ส่วนประเภทการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ผู้ป่วยมารับบริการนั้นมีความหลากหลาย เช่น การฆ่าตัวตาย กล้ามเนื้อหัวใจตายและวายเฉียบพลัน มีแผลไฟไหม้จากไฟฟ้าช็อต เลือดออกในสมองจากอุบติเหตุทั่วไป รวมทั้งสิ้น 22 ราย รักษาหายและกลับบ้านได้ 5 ราย ส่งต่อ รพ.ต้นสังกัด 9 ราย และเสียชีวิต 8 ราย ส่วนอัตราการเบิกจ่ายตั้งแต่เริ่มบริการ 1 เม.ย.-25 มิ.ย.มียอดค่าใช้จ่าย ประมาณกว่า 1 ล้านกว่าบาท จำนวนที่เบิกได้จาก สปสช.ประมาณ 320,000 กว่าบาท ส่วนต่างที่ยังเบิกไม่ได้ประมาณ 689,000 บาท ผู้ป่วยอาการไม่หนักแต่มาขอใช้บริการ ประมาณ 4 ราย
       
       “ปัญหาการเบิกจ่ายในส่วนดังกล่าว มีสาเหตุหลายอย่าง ทั้งกรณีที่ ผู้ป่วยซึ่งมีอาการไม่หนักมารับบริการมากถึง 4 ราย, ผู้ป่วยมาขอใช้สิทธิในภายหลังจากที่เข้ามาด้วยสิทธิอื่น เช่น มาด้วยสิทธิชำระเงิน แต่ มาขอเปลี่ยนเป็น สิทธิฉุกเฉิน และที่เหลือจะเป็นปัญหาการส่งต่อกับไม่ทราบสิทธิ์ ไม่ทราบชื่อของผู้ป่วยแต่ก็ต้องทำหน้าที่บริการต่อไป ในฐานะสถานพยาบาล แต่อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ค่า DRG ที่ สปสช.จ่ายให้ประมาณ 10,500 บาท ยังถือว่าน้อยมาก จึงอยากให้พิจารณาปรับเปลี่ยนราคาดังกล่าวให้เหมาะสม แต่ในส่วนของการบริการแม้จะมีปัญหาเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นการดำเนินงานภายใต้มาตรฐานการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและคืนคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วย” ศ.นพ.ชาลี แจกแจง
       
       ด้าน พญ.เขมรัสมี ขุนศึก-เม็งราย ที่ปรึกษาอาวุโส สปสช.เสริมว่า ความก้าวหน้าบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินฯ ยังถือว่าเริ่มต้น ดังนั้นเรื่องของปัญหาต่างก็ย่อมเกิดขึ้นบ้าง แต่ก็จะพยายามหาทางปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น โดยการประเมินเบื้องต้นในภาพรวมทั้งประเทศ ตั้งแต่ เริ่มให้บริการ 1 เม.ย.ถึง วันที่ 13 มิ.ย.55 ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ 2,353 คน ใน 191 รพ.เอกชน ใน 50 จังหวัด แบ่งเป็นบริการผู้ป่วยนอก 28% และผู้ป่วยใน 72 %โดยใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร 42% และต่างจังหวัด 58% เฉลี่ยผู้รับบริการวันละ 32 คน ซึ่งการให้บริการตามโครงการนี้สามารถช่วยชีวิตประชาชนได้ 92.6% และช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ต้องจ่ายหากไม่มีโครงการนี้ได้ถึง 56.34 ล้านคน โดยรัฐบาลเสียค่าใช้จ่าย 27.39 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างที่สปสช.รอเรียกเก็บเงินที่สำรองจ่ายไปก่อนจากสำนักงานประกันสังคม 1.8 ล้านบาท และจากกรมบัญชีกลาง 7.5 ล้านบาท
       
       “อย่างไรก็ตาม กรณีของ รพ.ราชเวชเชียงใหม่ ถือว่า เป็น รพ.เอกชนที่ให้ความร่วมมือกับการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลได้ดี และสนองตอบนโยบายได้ชัดเจน แต่กรณีของปัญหาและอุปสรรคที่พบนั้น สปสช.จะเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพต่อไป” พญ.เขมรัสมี ทิ้งท้าย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 กรกฎาคม 2555

5685
กองทัพเรือจัดงาน “รำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ครบรอบ 119 ปี” ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า จ.สมุทรปราการ เพื่อเป็นการบอกเล่าประวัติศาสตร์สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมชมกิจกรรมต่างๆ มากมาย 13-14 ก.ค. นี้
       
       วันนี้ (4 ก.ค.) กองทัพเรือ ร่วมกับจังหวัดสมุทรปราการ ชมรมคนรักษ์ป้อมพระจุลจอมเกล้า จัดแถลงข่าวงาน “รำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ครบรอบ 119 ปี” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 13-14 ก.ค. 55 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยทางกองทัพเรือจะจัดให้มีพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลเนื่องในวันวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมของเหล่าบรรพชนผู้กล้าเป็นประจำทุกปี และวันที่ 13 ก.ค. นี้จะครบ 119 ปี ของวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 ในงานจะจัดพิธีสดุดีวีรชน พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศล และพิธีย่ำพระสุรีย์ศรี ซึ่งเป็นพิธีที่คล้ายกับการสวนสนามเพื่ออำลาชีวิตราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง โดยจะทำในเวลาใกล้ค่ำ ผู้มาร่วมงานสามารถชมความงามจากไฟประดับและแสงของพระอาทิตย์ อีกทั้งยังมีการเสวนาวิกฤตการ ร.ศ.112 การจัดงานนิทรรศการ การแสดงของวงดุริยางค์ การประกอบอาวุธและการจำหน่ายสินค้า OTOP ของสมุทรปราการ

       สำหรับวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยชาติตะวันตกได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเชีย ฝรั่งเศสเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาในอินโดจีนมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าเหตุการณ์ไม่น่าไว้วางใจ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันประเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2436 เรือรบฝรั่งเศสได้รุกล้ำผ่านสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา จึงเกิดการยิงต่อสู้กันที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า แต่ในที่สุดเรือรบฝรั่งเศสก็แล่นมาถึงกรุงเทพฯ ครั้งนั้น ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้รัฐบาลไทย ยอมยกดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับตน ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนครั้งสำคัญที่สุด คือ ดินแดนลาวเกือบทั้งหมด รวมทั้งแคว้นสิบสองจุไทยไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 กรกฎาคม 2555

หน้า: 1 ... 377 378 [379] 380 381 ... 535