ผู้เขียน หัวข้อ: “วิทยา” เผย ปชช.เต็มใจร่วมจ่าย นโยบายร่วมจ่าย 30 บาท  (อ่าน 890 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9787
    • ดูรายละเอียด
  “วิทยา” พอใจการร่วมจ่าย 30 บาท ชี้ ปชช.เต็มใจ ระบุ จ.ประจวบคีรีขันธ์-ระนอง ร่วมจ่าย 100% ย้ำไม่มีการบังคับ พร้อมผุด 3 แผนงานที่เร่งขับเคลื่อนในปีงบ 56
       
       วันนี้ (9 ต.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารระดับสูง สธ.พร้อมด้วย นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ สธ. นายแพทย์ ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ว่า ในเดือนตุลาคม 2555 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 นั้นที่ประชุมได้พิจารณา 2 เรื่อง ได้แก่ แผนการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพและป้องกันโรคประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ สนองนโยบายของนายกรัฐมนตรี ซึ่งในปีงบประมาณ 2556 นี้ สธ.จะจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลทั้งระบบให้ชัดเจนและมีคุณภาพ สร้างมาตรฐานการบริการสุขภาพให้กับประชาชน โดยจะตั้งคณะกรรมการขึ้น 1 ชุด เพื่อติดตามเรื่องปัญหาของโรงพยาบาลที่บริการแล้วติดลบหรือขาดทุน จัดทำปรับแผนฟื้นฟู บทบาทของผู้ตรวจสอบ พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้ ปลัด สธ.จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหารโรงพยาบาล เพื่อเป็นปรับองค์กรให้มีระบบดีขึ้น ดูแลองค์กรตัวเองได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการร่วมจ่าย 30 บาท ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2555 ผลการดำเนินการ 1 เดือนที่ผ่านมา เป็นที่น่าพอใจ ประชาชนยินดีจ่าย โดยทั่วประเทศมีผู้มีสิทธิ์หลักประกันสุขภาพใช้บริการทั้งหมด 8 แสนกว่าราย ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 เป็นผู้ที่ได้รับยา และมีผู้ที่ยินดีร่วมจ่าย ร้อยละ 47 รวมเงินที่ได้รับ 4.9 ล้านกว่าบาท มีจังหวัดที่ผู้มีสิทธิ์ยินดีร่วมจ่าย 100 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง รองลงมาคือ พระนครศรีอยุธยา แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ได้ให้สถานพยาบาลทุกแห่งถือปฏิบัติต่อไป และให้เพิ่มการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การร่วมจ่ายจะไม่มีการบังคับแต่ประการใด
       
       “งานขับเคลื่อนที่จะเน้นหนักในปีงบประมาณ 2556 คือ

1.การสร้างนำซ่อม เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งสถานการณ์ที่ผ่านมาพบว่า คนไทยป่วยจากโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย รวม 17 ล้านกว่าคน ค่ารักษาประมาณปีละ 3 แสนล้านบาท

2.การดูแลประชาชนทุกกลุ่มอายุเพิ่มขึ้น ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี เช่นกลุ่มแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี วัยรุ่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ

3.คือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางรักษาพยาบาลและการผลิตบุคลากรการแพทย์ สนับสนุนด้านเศรษฐกิจประเทศ รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย โดยตั้งคณะทำงานติดตามคุณภาพและรูปธรรมของนโยบายทุกเรื่อง”นายวิทยา กล่าว
       
       ด้าน นายแพทย์ ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภายใน 3 เดือนนี้ จะเร่งจัดจัดทำแผนส่งเสริมป้องกันโรคแผนพัฒนาระบบริการรักษาพยาบาลในแต่ละเครือข่ายบริการ ซึ่งขณะนี้ทั่วประเทศได้จัดไว้ 12 เครือข่าย เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการใกล้บ้านที่สุด แผนกำลังคนที่เหมาะสมให้แล้วเสร็จ และใช้เป็นกรอบปฏิบัติตั้งแต่ปีใหม่ เป็นต้นไป สำหรับการส่งเสริมป้องกันโรคของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มนั้น ได้ให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขร่วมกับหน่วยวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข ทบทวนสถานการณ์ และข้อเสนอในการแก้ปัญหา จากนั้นจะหารือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อระดมงบประมาณใช้ดำเนินงานทุกพื้นที่

ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 ตุลาคม 2555